ขอทุกคนร่วมนำแบบอย่างของพ่อหลวง(ปฏิบัติบูชาพ่อหลวงใน5ธคครับ)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย pat3112, 2 ธันวาคม 2008.

  1. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์

    “สัจจบารมี” เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมี ซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จออกบวช จนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

    คำว่า “สัจจะ” หมายถึง “จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์ จริงวาจา คือ พูดจริง” และ “จริงการ คือ ทำจริง” ส่วนคำว่า “บารมี” หรือ “ปารมี” มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ “อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด” และ “คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง”

    “สัจจบารมี” จึงหมายความว่า “บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง” นอกจาก “สัจจบารมี” แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กัน เสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ “อธิษฐานบารมี”

    คำว่า “อธิษฐาน” หมายถึง “ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน” คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า “สัตย์” ซึ่งเรียกรวมกันว่า “สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้งสัตย์อธิษฐาน”

    ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อในคำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติอย่างจริงจัง

    พระสูตร หรือ พระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธีมงคลต่างๆ เป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือ การกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี เช่น บทสวดที่ว่า นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวดได้ถือปฏิบัติตามข้อความ หรือ สัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะต้องมีความเคารพเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น

    การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงในเรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจ เช่น อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันว่า “คาถา (นกคุ่ม) ดับไฟ”

    บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่ง ในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้ และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์ จึงได้ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม

    พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีต เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบรังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความตายอยู่ในรัง

    ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มีอยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิดผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศ วิหาร ได้ทรงแปลมีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า “คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจกิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำสัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและบิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลงมากก็สงบ ประหนึ่งเปลวไฟที่ตกถึงน้ำ สิ่งใดเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี นี้เป็นสัจจบารมีของเรา”

    ผู้ที่สามารถรักษาสัจจวาจาได้จนเป็นนิสัย ก็เท่ากับผู้นั้นได้มีโอกาสบำเพ็ญ สะสมสัจจบารมีของตนให้มากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อนำมาประกอบกับอธิษฐานบารมี บารมีที่ได้สะสมไว้ทั้งสองประการย่อมมีพลังรุนแรงแสดงผลให้ได้ทันตาเห็น ดังที่ได้แสดงไว้ในบทสวดวัฏฏปริตรดังกล่าวข้างต้น

    เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๐ ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่น่าระทึกใจยิ่งครั้งหนึ่งคือ ภัยพิบัติที่เกิดแก่หลายจังหวัดในภาคใต้ตอนบน อันเนื่องจากพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” พัดผ่าน พายุนี้ได้เริ่มก่อตัวในทะเลจีนตอนใต้ห่างจากแหลมญวนไม่มากนัก โดยเริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ มาเป็นดีเปรสชันเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ แล้วได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

    ต่อจากนั้นได้แปรสภาพเป็นพายุ ไต้ฝุ่นมีความเร็วสูงสุดรอบศูนย์กลางประมาณ ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เคลื่อนที่ผ่านแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย มุ่งหน้าเข้าสู่บางจังหวัดในภาคใต้ตอนบนซึ่งได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร ลักษณะการก่อตัว ความรุนแรง และทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุใต้ฝุ่นนี้คล้ายกับพายุใต้ฝุ่น “เกย์” ซึ่งได้เคยก่อภัยพิบัติ ให้แก่จังหวัดเหล่านี้มาแล้วอย่างมหาศาลเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒

    ด้วยความเป็นห่วงใยต่อพสกนิกรที่พำนักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่พายุ “ลินดา” จะเคลื่อนที่ผ่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวจึงได้ทรงเฝ้าติดตามสังเกตการณ์การก่อตัว การเปลี่ยนแปลงของพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” ตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด

    คำพยากรณ์ ที่ได้รับรายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาทั่วโลกระบุอย่างแน่ชัดว่า ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ตามเวลาท้องถื่น ๑๙.๐๐ น. พายุนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด ๑๐.๘ องศาเหนือ ลองจิจูด ๑๐๐.๘ องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดที่จุดศูนย์กลางรุนแรงถึง ๗๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ ๑๑ นอต หรือ ๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตรงเข้าสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และชุมพร โดยอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ ๒๘ กิโลเมตร และจะเคลื่อนที่ถึงฝั่งภายใน ๑ ชั่วโมงเศษเท่านั้น หากเป็นเช่นคำพยากรณ์ ทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ชุมพรคงจะถูกกวาดล้างโดยพายุใต้ฝุ่น “ลินดา” จนหมดสิ้น สิ่งบอกเหตุดังกล่าวนี้ จึงได้สร้างความกังวลและความเคร่งเครียดพระทัยให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง

    แต่โดยที่มิได้คาดคิด อีกไม่กี่นาทีก่อนที่จะเคลื่อนที่มาถึงฝั่ง พายุนี้ได้กลับอ่อนกำลังลงโดยฉับพลัน มาเป็นพายุโซนร้อนมีความเร็วสูงสุดที่จุดศูนย์กลางเพียง ๕๐ นอต หรือ ๙๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ทั้งทิศทางการเคลื่อนที่กลับเบี่ยงเบนขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย และถึงฝั่งที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เวลา ๐๒.๐๐ น. จังหวัดสุราษฎร์ธานีและชุมพรจึงได้รับภัยพิบัติจากพายุนี้ไม่รุนแรงนัก ดูจะเป็นการผิดปกติอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันของพายุไต้ฝุ่นใน ลักษณะนี้

    เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ถ้าพายุยังเคลื่อนที่อยู่เหนือพื้นน้ำทะเลหรือมหาสมุทร พายุนั้นจะเพิ่มความแรง ความเร็วที่จุดศูนย์กลางมากยิ่งขึ้น และจะลดลงเมื่อเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งแล้ว พายุโซนร้อน “ลินดา” นี้ก็เช่นกัน เมื่อเคลื่อนที่พ้นจากประเทศไทยลงสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย ก็ได้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้นตามลำดับ แปรสภาพกลับไปเป็นพายุไต้ฝุ่น หรือ ไซโคลน อีกครั้งหนึ่งในวันเวลาต่อมา

    เหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาดูแล้ว จะไม่แตกต่างกับเหตุการณ์ที่ได้มีแสดงไว้ในวัฏฏปริตร จึงน่าจะยืนยันได้ว่า การที่พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ได้เปลี่ยนทิศทางโดยกระทันหันเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นเป็นผลมาจากพลังสัจจบารมี และอธิษฐานบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงสะสมมาตั้งแต่ในอดีต พระชาติ และที่ได้ทรงบำเพ็ญสะสมเพิ่มเติมขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างยิ่งใหญ่มหาศาลในพระชาติปัจจุบันได้ส่งเสริมกันจนเป็นพลังที่รุนแรง สามารถมีส่วนช่วยให้ประเทศชาติพสกนิกรรอดพ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติในครั้ง นั้นได้

    ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่ได้มีพระมหากษัตราธิราชซึ่งทรง สมบูรณ์ด้วยพระบารมี และทศพิธราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกเราเหลือคณานับ

    ดังนั้นในวโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่านที่จะ เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเรา ชาวไทยทุกคนจะร่วมกันตั้งสัตยาธิษฐาน ด้วยการระลึกถึงคุณธรรมที่เป็นความจริงต่างๆ ซึ่งตนได้บำเพ็ญมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา เป็นต้น เป็นสัจจบารมี แล้วตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรว่า ขอให้สัจจบารมีที่ตนได้บำเพ็ญมาโดยตลอดนั้น จงบังเกิดเป็นพระราชกุศลให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป
    โดยwww.agaligo.com

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญสุขภาพแข็งแรง สมปารถนาทุกประการ มีแต่พระเกษมสำราญโดยเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2008
  2. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    [FONT=&quot]บทสนทนาจอมปราชญ์[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ถามหลวงตามหาบัวฯ เรื่องพุทธภูมิ[/FONT]

    [FONT=&quot]เป็นบทความที่พิมพ์ในนิตยาสารน่านฟ้า[/FONT]
    [FONT=&quot]ปีที่ [/FONT]1 [FONT=&quot]ฉบับที่ [/FONT]8 [FONT=&quot]ประจำเดือนธันวาคม [/FONT]2550 [FONT=&quot]หน้า [/FONT]18

    [FONT=&quot]เนื่องในวโรกาสมหามิ่งมงคลของชาวไทยทั้งชาตินิตยสารน่านฟ้าขออาราธนาบทสนทนา[/FONT] [FONT=&quot]ที่เหนือคำบรรยาย ที่เล่าโดย พระอาจารย์ภูสิต (จันทร์) ขันติธโร[/FONT] [FONT=&quot]เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน[/FONT] [FONT=&quot]ในสมัยที่ท่านเป็นพระอุปัฏฐากองค์หลวงตา ณ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี[/FONT] [FONT=&quot]ในขณะนั้น...[/FONT]

    "...[FONT=&quot]เหตุการณ์ที่น่าทึ่งที่สุดคือ เมื่อปี พ.ศ.[/FONT]2531 [FONT=&quot]เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จไปนิมนต์หลวงตาไปในงานในวัง[/FONT] [FONT=&quot]ปกติหลวงตาท่านไม่ค่อยไปไหน แต่ตอนที่พระเจ้าอยู่หัวฯ ไปนิมนต์[/FONT] [FONT=&quot]ท่านไปนิมนต์ด้วยพระองค์เอง เรายังจำได้.. วันนั้นเป็นวันที่ [/FONT]7 [FONT=&quot]มกราคม[/FONT] 2531 [FONT=&quot]เป็นปีเฉลิมราชรัชมังคลาภิเษกที่ทรงครองราชย์มากกว่ากษัตริย์ใดในประวัติ[/FONT] [FONT=&quot]ศาสตร์ไทย ท่านนิมนต์หลวงตาเข้าวัง มาเป็นขบวนใหญ่[/FONT] [FONT=&quot]หลวงตาท่านจะอยู่ที่กุฏิ ท่านให้เราควบคุมดูแลญาติโยม ดูแลพวกทหารที่มา[/FONT] [FONT=&quot]พระเจ้าอยู่หัวฯ จะเสด็จมาตอน [/FONT]6 [FONT=&quot]โมงเย็น[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อขบวนพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาถึง เรายืนตรงนี้ ผู้ว่าฯ[/FONT] [FONT=&quot]สายสิทธิ์ยืนตรงนี้ หมออวย แล้วใครต่อใครยืนเป็นแถวรอรับเสด็จ[/FONT] [FONT=&quot]แล้วท่านก็ขึ้นไปข้างบนซึ่งหลวงตารอท่านอยู่แล้ว ส่วนเราก็อยู่ตรงบันได[/FONT] [FONT=&quot]ส่วนหลวงตาอยู่ข้างบน ที่ขึ้นไปก็มีพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จครบหมดเลย[/FONT] [FONT=&quot]พระราชินี พระบรมฯ พระเทพฯ เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ[/FONT] [FONT=&quot]หมดทั้งครอบครัวเพื่อจะนิมนต์หลวงตาไปงานพิธีในวัง[/FONT]

    [FONT=&quot]พอพระองค์ท่านกราบหลวงตาเสร็จ ท่านก็ถวายคำถามแรก (พระเจ้าอยู่หัวเรียกหลวงตาว่า "หลวงปู่")[/FONT] "[FONT=&quot]หลวงปู่... สาวกภูมิกับพุทธภูมิต่างกันอย่างไร"[/FONT] [FONT=&quot]โอ้... พระเจ้าอยู่หัวฯ ถามปัญหาหลวงตาขนาดนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]หลวงตาตอบว่า...[/FONT] "[FONT=&quot]พุทธภูมิ ก็เหมือนดั่งเรานั่งรถไฟ[/FONT] [FONT=&quot]นั่งรถไฟไปเชียงใหม่หรือนั่งรถไฟไปอุดรนั่นแหละพุทธภูมิ[/FONT] [FONT=&quot]แต่ถ้าเรานั่งจักรยานมาหรือนั่งมอเตอร์ไซค์[/FONT] [FONT=&quot]ขี่มอเตอร์ไซค์ไปนั่นแหละ...สาวกภูมิ[/FONT] [FONT=&quot]เพราะฉะนั้นการเป็นพุทธภูมิก็คือการนำคนไปได้เยอะๆ[/FONT] [FONT=&quot]ส่วนสาวกภูมินั้นนำไปได้น้อยๆ ไม่ได้มากนัก อย่างเก่งก็ [/FONT]1 [FONT=&quot]คน หรือ [/FONT]3-4 [FONT=&quot]คน[/FONT] [FONT=&quot]ก็ว่ากันไป นั่นคือสาวกภูมิ เข้าใจไหมล่ะพ่อหลวง"[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเจ้าอยู่หัวฯ ตอบหลวงตาว่า "เข้าใจแล้วหลวงปู่ แล้วนิพพานเป็นอย่างไรนะ หลวงปู่"[/FONT]

    [FONT=&quot]หลวงตาตอบ :[/FONT] "[FONT=&quot]อ้อ พ่อหลวงเหมือนพ่อหลวงมาวัดป่าบ้านตาดนี่แหละ[/FONT] [FONT=&quot]รู้ไหมว่าวัดป่าบ้านตาดอยู่ตรงไหน อยุ่บนกุฏินี่เหรอ[/FONT] [FONT=&quot]วัดป่าบ้านตาดอยู่ไหนล่ะ แต่พอพระมหากษัตริย์มาถึงนี่แล้ว[/FONT] [FONT=&quot]บริเวณนี้ทั้งหมดคือวัดป่าบ้านตาดนี้แหละ[/FONT] [FONT=&quot]แต่จะชี้ลงไปว่าที่กุฏิอาตมาก็ไม่ใช่ ที่กุฏิพระก็ไม่ใช่ ที่ศาลาก็ไม่ใช่[/FONT] [FONT=&quot]ไม่ใช่ทั้งหมด แต่เมื่อรวมกันทั้งหมดในกำแพงวัดนี้นี่แหละคือวัดป่าบ้านตาด[/FONT] [FONT=&quot]นี่แหละพระนิพพานก็มีความหมายแบบเดียวกัน"[/FONT]

    [FONT=&quot]และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอบารมีหลวงตาช่วยต่ออายุให้แม่หลวง[/FONT] ([FONT=&quot]คือสมเด็จย่า) ตอนนั้นสมเด็จย่าทรงประชวรอยู่[/FONT] [FONT=&quot]หลวงตาท่านก็ตอบปฏิเสธเลยว่า... "พ่อหลวงนั่นแหละก็จัดการเองได้ ขอเองได้"[/FONT] [FONT=&quot]ท่านว่างั้นนะ... "พ่อหลวงก็สามารถจัดการได้เอง" ท่านบอกไปเลยนะว่า...[/FONT] [FONT=&quot]ให้พระเจ้าอยู่หัวขอเอง จัดการเอง จัดการเองอาตมาต่อให้ไม่ได้หรอก[/FONT]

    [FONT=&quot]พระเจ้าอยู่หัวฯ ได้กราบลาว่า "เอาล่ะ ได้เวลาแล้ว จะกลับแล้ว ท่านหลวงปู่มีอะไรจะบอกไหม"[/FONT]

    [FONT=&quot]หลวงตาท่านได้เทศน์สั้นๆ ว่า "การเป็นพุทธภูมิ[/FONT] [FONT=&quot]สร้างบารมีเพื่อความเป็นพุทธะ พอจบพุทธภูมิได้ก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าก็มีพุทธกิจ [/FONT]5 [FONT=&quot]คือ ตอนเช้าบิณฑบาต ตอนบ่ายสอนคหบดีมนุษย์ทั่วไป[/FONT] [FONT=&quot]ตกเย็นสอนนักบวช สมณะชีพราหมณ์ ตอนกลางคืนแก้ปัญหาเทวดา[/FONT] [FONT=&quot]พอมาตอนเช้ามืดเล็งญาณดูสัตว์โลก[/FONT] [FONT=&quot]สัตว์โลกตัวไหนมีกิเลสเบาบางพอที่จะบรรลุธรรมได้[/FONT] [FONT=&quot]ท่านก็จะเล็งญาณดูรีบไปโปรดก่อน[/FONT] [FONT=&quot]พระพุทธเจ้าสร้างบารมีพุทธภูมิจนได้เป็นพระพุทธเจ้า[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็มีพระพุทธกิจ [/FONT]5 [FONT=&quot]อย่างนี้ แต่...[/FONT] [FONT=&quot]ไม่รู้ว่าพ่อหลวงแม่หลวงของประเทศไทยปรารถนาอะไร[/FONT] [FONT=&quot]ทำงานกันจนไม่มีเวลาจะพักผ่อน..เอาล่ะๆ ... อาตมาจะให้พร"[/FONT]

    [FONT=&quot]พอฟังมาถึงตรงนี้นะ เรายังจำได้แม่น เพราะพระเจ้าอยู่หัวฯ[/FONT] [FONT=&quot]ท่านถามเรื่องพุทธภูมิ เสร็จแล้วพอท่านจะลากลับ[/FONT] [FONT=&quot]หลวงตาท่านสรุปให้เสร็จสรรพเลย...[/FONT] [FONT=&quot]ไม่รู้ว่าพ่อหลวงแม่หลวงของไทยทำงานปรารถนาความเป็นอะไร...[/FONT] [FONT=&quot]ทำงานกันจนไม่มีเวลาพักผ่อน... เอาล่ะๆ ...อาตมาจะให้พร[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อพระเจ้าอยู่หัวท่านเสด็จลงมา ท่านก็ตรัสว่า[/FONT] [FONT=&quot]อยากให้ท่านอาจารย์อยู่กับหลวงตาไปนานๆ ...เราก็ได้ตอบท่านว่า[/FONT] [FONT=&quot]เจริญพร...มหาบพิตร อาตมาก็อยากจะอยู่[/FONT] [FONT=&quot]แต่ถ้าถึงเวลาที่อาตมาจะต้องเอาตัวเองให้รอด อาตมาก็ขอเอาตัวเองให้รอดก่อน[/FONT] [FONT=&quot]เพราะทุกอย่างเป็นเหตุเป็นผล ถึงเวลาไปก็ต้องไปเหมือนกัน[/FONT] [FONT=&quot]แล้วพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็บอกขอทำบุญกับหลวงตา [/FONT]200,000 [FONT=&quot]ถวายอาจารย์ [/FONT]20,000 [FONT=&quot]แล้วท่านก็ถามว่าพระที่อยู่ในวัดนี้กี่รูป เราก็ตอบท่านทั้งหมด [/FONT]29 [FONT=&quot]รูปรวมหลวงตานั่นแหละ... ท่านจึงถวายให้รูปล่ะ [/FONT]2,000 "[FONT=&quot]แล้วปัจจัยจะให้ไว้กับใคร" ท่านถาม...ท่านหยิบออกมาให้เลยนะ ท่านผู้ว่าฯ[/FONT] [FONT=&quot]ยังรับมือสั่น พระเจ้าอยู่หัวไม่เพียงมากราบหลวงตา[/FONT] [FONT=&quot]ท่านมาที่วัดท่านยังมาทำบุญกับพระด้วยปัจจัยที่เตรียมพร้อมจากพระหัตถ์ของ[/FONT] [FONT=&quot]ท่านเอง จากนั้นพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็เสด็จออกไปเยี่ยมประชาชนแล้วก็ขึ้นรถไป[/FONT]

    [FONT=&quot]นั่นแหละเราได้ฟังมา เรื่องของพุทธภูมิ เรื่องของพระโพธิสัตว์[/FONT] [FONT=&quot]สาวกภูมิกับพุทธภูมิต่างกันอย่างไร เสร็จแล้วพอตอนจบขอพร[/FONT] [FONT=&quot]หลวงตาท่านก็สรุปและให้พร จึงบอกได้ว่าเป็นบทสนทนาของจอมปราชญ์...[/FONT]

    <!--[if gte vml 1]><v:shape id="Picture_x0020_6" o:spid="_x0000_i1025" type="#_x0000_t75" alt="http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/%E3%B9%CB%C5%C7%A7%A1%D1%BA%CB%C5%C7%A7%B5%D2%C1%CB%D2%BA%D1%C7%20%AD%D2%B3%CA%D1%C1%BB%D1%B9%E2%B9.jpg" style='width:372.75pt;height:243pt;visibility:visible;mso-wrap-style:square'> <v:imagedata src="file:///C:\Users\k\AppData\Local\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image002.jpg" o:title="%E3%B9%CB%C5%C7%A7%A1%D1%BA%CB%C5%C7%A7%B5%D2%C1%CB%D2%BA%D1%C7%20%AD%D2%B3%CA%D1%C1%BB%D1%B9%E2%B9"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->

    ..........................

    [FONT=&quot]จากคำบอกเล่าของ ท่านอาจารย์ภูสิต เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงตาบัวฯ (วัดเสือ จ.กาญจนบุรี)
    [/FONT]ที่มา
    http://larndham.net/index.php?showtopic=32818&st=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    ในหลวงของเรา...มหากษัตริย์ยอดกตัญญู <hr style="" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message --> [​IMG]

    มหากษัตริย์ยอดกตัญญู
    โดย พ.อ. (พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน


    ลูกๆ ทุกคน...ก็ได้รู้กันแล้วว่า
    ความหวังของแม่ ที่มีต่อลูก ๓ หวังคือ


    ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
    ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
    เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
    หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ

    ทีนี้...มาดูตัวอย่างบ้าง...บุคคลที่เป็นยอดกตัญญู
    ที่ประทับใจอาจารย์มากที่สุด คือใคร ทราบไหม ?
    คือคนในภาพนี้...ในหลวงของเรา
    ในหลวง...นอกจากจะเป็นยอดพระมหากษัตริย์ของโลก
    ...เป็น THE KING OF KING แล้ว
    ในหลวงของเรา ยังเป็นกษัตริย์ยอดกตัญญูด้วย

    ความหวังของแม่...ทั้งสามหวัง
    ในหลวงปฏิบัติตามได้ครบถ้วน...สมบูรณ์
    เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดให้แก่พวกเรา
    ในหลวงทำกับแม่ยังไง ?
    ตามอาจารย์มา...อาจารย์จะฉายภาพให้เห็น...

    <table id="ncode_imageresizer_warning_1" class="ncode_imageresizer_warning" width="182"><tbody><tr><td class="td1" width="20">[​IMG]</td><td class="td2">Click this bar to view the full image.</td></tr></tbody></table>[​IMG]

    [​IMG]

    หวังที่ ๑ ยามแก่เฒ่า...หวังเจ้า...เฝ้ารับใช้...


    ****************************************

    ใครเคยเห็นภาพที่สมเด็จย่า
    เสด็จไปในที่ต่างๆ แล้วมีในหลวง...ประคองเดินไป
    ตลอดทาง...เคยเห็นไหม...? ใครเคยเห็น...
    กรุณายกมือให้ดูหน่อย...ขอบคุณ...เอามือลง

    ตอนสมเด็จย่าเสด็จไปไหนเนี่ย...มีคนเยอะแยะ...
    มีทหาร...มีองครักษ์...มีพยาบาล...
    ที่คอยประคองสมเด็จย่าอยู่แล้ว
    แต่ในหลวงบอกว่า...

    “ไม่ต้อง...คนนี้...เป็นแม่เรา...เราประคองเอง”

    *****************************************

    ตอนเล็กๆ แม่ประคองเรา...สอนเราเดิน
    หัดให้เราเดิน...เพราะฉะนั้น ตอนนี้แม่แก่แล้ว...
    เราต้องประคองแม่เดิน เพื่อเทิดพระคุณท่าน...
    ไม่ต้องอายใคร...

    เป็นภาพที่...ประทับใจมาก...
    เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านกตัญญูต่อแม่...
    ประคองแม่เดิน ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จ...
    สองข้างทาง ฝั่งนี้ ๕,๐๐๐ คน ฝั่งนู้น... ๘,๐๐๐ คน

    ยกมือขึ้น...สาธุ แซ่ซ้อง...สรรเสริญ
    “กษัตริย์ยอดกตัญญู...”
    ในหลวง...เดินประคองแม่...คนเห็นแล้ว...เขาประทับใจ
    ถ่ายรูป...เอามาทำปฎิทิน...
    เอาไปติดไว้ที่บ้าน เพื่อแสดงความเคารพ...กราบไหว้...

    ลองหันมาดูพวกเรา...ส่วนใหญ่ เวลาออกไปไหน
    แต่งตัวโก้...ลูกชาย...แต่งตัวโก้...
    ลูกสาว...แต่งตัวสวย...
    แต่เวลาเดิน...ไม่มีใครประคองแม่...
    กลัวไม่โก้...กลัวไม่สวย
    ข้าราชการ...แต่งเครื่องแบบเต็มยศ...
    ติดเหรียญตรา...เหรียญกล้าหาญ...เต็มหน้าอก...
    แต่เวลาเดิน...ไม่กล้าประคองแม่...
    กลัวไม่สง่า...กลัวเสียศักดิ์ศรี...
    ประคองแม่...เป็นเรื่องของคนใช้...
    หลายคน...ให้ประคองแม่...ไม่กล้า ทำอาย...

    [​IMG]
    [​IMG]

    เวลาทำดี...ไม่กล้าทำ...อาย
    เวลาทำชั่ว...กล้า...ไม่อาย...
    ใครเห็นภาพนี้ที่ไหน...กรุณาซื้อใส่กรอบ...
    แล้วเอาไปแขวนไว้ที่บ้าน...
    เอาไว้สอนลูก เห็นภาพชัดเจนไหมครับ ?
    เท่านั้น...ยังน้อยไป...มาดูภาพที่ชัดเจนกว่านั้น...

    หลังงานพระบรมศพสมเด็จย่า...เสร็จสิ้นลงแล้ว
    ราชเลขา...ของสมเด็จย่า...มาแถลงในที่ประชุม...
    ต่อหน้าสื่อมวลชน...ว่า...ก่อนสมเด็จย่า
    จะสิ้นพระชนม์ปีเศษ ตอนนั้นอายุ ๙๓
    ในหลวง...เสด็จจากวังสวนจิตร...
    ไปวังสระปทุมตอนเย็นทุกวัน

    ไปทำไมครับ...? ไปกินข้าวกับแม่...
    ไปคุยกับแม่...ไปทำให้แม่...ชุ่มชื่นหัวใจ...
    พอเขาแถลงถึงตรงนี้ อาจารย์ตกตะลึง..

    โอ้โห!ขนาดนี้เชียวหรือในหลวงของเรา
    เสด็จไปกินข้าวมื้อเย็นกับแม่...
    สัปดาห์ละกี่วัน...ทราบไหมครับ?
    พวกเราทราบไหมครับ...สัปดาห์ละกี่วัน?...๕ วัน...

    มีใครบ้างครับ...? ที่อยู่คนละบ้านกับแม่
    แล้วไปกินข้าวกับแม่...สัปดาห์ละ ๕ วัน หายาก...

    ในหลวง มีโครงการเป็นร้อย...
    เป็นพันโครงการ...มีเวลาไปกินข้าวกับแม่...
    สัปดาห์ละ ๕ วัน พวกเราซี ๗ ซี ๘ ซี ๙
    ร้อยเอก...พลตรี...อธิบดี...ปลัดกระทรวง
    ไม่เคยไปกินข้าวกับแม่...บอกว่า...งานยุ่ง

    แม่บอกว่า...ให้พาไปกินข้าวหน่อย...
    บอกว่าไม่มีเวลา จะไปตีกอล์ฟ...
    ไม่มีเวลาพาแม่ไปกินข้าว...
    แต่มีเวลาไปตีกอล์ฟ...เห็นตัวเองหรือยัง...?

    พ่อแม่...พอแก่แล้ว ก็เหมือนไม้ใกล้ฝั่ง...
    ฝนตก...น้ำเซาะ...อีกไม่นานโค่น...
    พอถึงวันนั้น...เราก็ไม่มีแม่ให้กราบแล้ว...

    ในหลวงจึงตัดสินพระทัย...ไปกินข้าวกับแม่
    สัปดาห์ละ ๕ วัน เมื่อตอนที่สมเด็จย่าอายุ...๙๓

    สัปดาห์หนึ่งมี ๗ วัน ในหลวงไปกินข้าวกับแม่ ๕ วัน
    อีก ๒ วันไปไหนครับ...?
    ดร.เชาว์ ณ ศีลวันต์...องคมนตรี บอกว่า...

    ในหลวง...ถือศีล ๘ วันพระ...
    ถือศีล ๘ นี่ยังไง...?
    ต้องงดข้าวเย็น...เลยไม่ได้ไปหาแม่...
    วันนี้เพราะถือศีล อีกวันหนึ่งที่เหลือ...
    อาจจะกินข้าวกับพระราชินี...กับคนใกล้ชิด
    แต่ ๕ วัน...ให้แม่ เห็นภาพชัดแล้วใช่ไหม...?

    [​IMG]

    [​IMG]

    ตอนนี้เราขยับเข้าไปใกล้ๆ หน่อย
    ไปดูตอนกินข้าว...ทุกครั้ง...ที่ในหลวงไปหาสมเด็จย่า...
    ในหลวงต้องเข้าไปกราบ ที่ตัก...
    แล้วสมเด็จย่า...ก็จะดึงตัวในหลวง...เข้ามากอด...
    กอดเสร็จก็หอมแก้ม...

    ใครเคยเห็นภาพ สมเด็จย่า...หอมแก้มในหลวงบ้าง...?
    ภาพนี้...ถ้าใครมี...ต้องเอาไปใส่กรอบ
    เป็นภาพความรักของแม่...ที่มีต่อลูก...อย่างยอดเยี่ยม

    ตอนสมเด็จย่า...หอมแก้มในหลวง...
    อาจารย์คิดว่า แก้มในหลวง...คงไม่หอมเท่าไร...
    เพราะไม่ได้ใส่น้ำหอม
    แต่ทำไม...สมเด็จย่าหอมแล้ว...ชื่นใจ...

    เพราะท่านได้กลิ่นหอม...จากหัวใจในหลวง
    หอมกลิ่นกตัญญู


    ไม่นึกเลยว่า...ลูกคนนี้ จะกตัญญูขนาดนี้
    จะรักแม่มากขนาดนี้

    ตัวแม่เองคือ สมเด็จย่า...ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์
    เป็นคนธรรมดา...สามัญชน...เป็นเด็กหญิงสังวาลย์
    เกิดหลังวัดอนงค์...เหมือนเด็กหญิงทั่วไป...
    เหมือนพวกเราทุกคนในที่นี้
    ในหลวงหน่ะ...เกิดมาเป็นพระองค์เจ้า เป็นลูกเจ้าฟ้า
    ปัจจุบันเป็นกษัตริย์...เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่เหนือหัว

    แต่ในหลวง...ที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน...
    ก้มลงกราบ...คนธรรมดา...ที่เป็นแม่

    หัวใจลูก...ที่เคารพแม่...กตัญญูกับแม่อย่างนี้
    หาไม่ได้อีกแล้ว...คนบางคน...พอเป็นใหญ่เป็นโต
    ไม่กล้าไหว้แม่...เพราะแม่มาจากเบื้องต่ำ...
    เป็นชาวนา...เป็นลูกจ้าง...ไม่เคารพแม่...ดูถูกแม่

    แต่นี่...ในหลวง เทิดแม่ไว้เหนือหัว...นี่แหละครับความหอม

    นี่คือเหตุที่สมเด็จย่า...หอมแก้มในหลวงทุกครั้ง...
    ท่านหอมความดี...หอมคุณธรรม
    หอมกตัญญู...ของในหลวง

    หอมแก้มเสร็จแล้ว...ก็ร่วมโต๊ะเสวย...
    ตอนกินข้าวนี่...ปกติ...แค่เห็นลูกมาเยี่ยม...ก็ชื่นใจแล้ว...

    นี่ลูกมากินข้าวด้วย...โอย...ยิ่งปลื้มใจ

    [​IMG]

    [​IMG]

    แม่ทั้งหลาย...ลองคิดดูซิ...
    อะไรอร่อยๆ ในหลวงจะตักใส่ช้อนแม่...
    อันนี้อร่อย...แม่ลองทาน...
    รู้ว่าแม่ชอบทานผัก... หยิบผักมาม้วนๆ ใส่ช้อนแม่...
    เอ้าแม่...แม่ทานซะ...ของที่แม่ชอบ
    แทนที่จะกินแค่ ๓ คำ ๔ คำ
    ก็เจริญอาหาร...กินได้เยอะ
    พราะมีความสุขที่ได้กินข้าวกับลูก
    มีความสุขที่ลูกดูแล...เอาใจใส่...

    กินข้าวเสร็จแล้ว...ก็มานั่งคุยกับแม่...
    ในหลวงดำรัสกับแม่ว่ายังไง...ทราบไหม...?

    ตอนในหลวงเล็กๆ... แม่เคยสอนอะไรที่สำคัญ...
    “อยากฟังแม่สอนอีก”
    เป็นยังไงบ้าง...? เป็นกษัตริย์...ปกครองประเทศ
    ...อยากฟังแม่สอนอีก...

    พวกเรา เป็นยังไง...?
    เราคิดว่า...เรารู้มาก...เราเรียนสูง...
    เรามีปริญญา...แม่จบ ป.๔

    เวลาแม่สอน...ตะคอกแม่ ตวาดแม่ กระทืบเท้าใส่แม่
    เบื่อจะตายอยู่แล้ว...รำคาญ...พูดจาซ้ำซาก...
    เมื่อไหร่จะหยุดพูดซะที...เราเหยียบย่ำ หัวใจแม่...

    พอสมเด็จย่าสอน... ในหลวงจะเอากระดาษมาจด...
    มีอยู่เรื่องหนึ่ง...ที่จำได้แม่น...
    สมเด็จย่า...เล่าว่า ตอนเรียนหนังสือที่ Swiss
    ในหลวงยังเล็กอยู่...เข้ามาบอกว่า...อยากได้รถจักรยาน
    เพื่อนๆ เขามีจักรยานกัน

    แม่บอกว่า... “ลูกอยากได้จักรยาน...
    ลูกก็เก็บสตางค์...ที่แม่ให้ไปกินที่โรงเรียนไว้ซิ” ...
    เก็บมาหยอดกระปุก...วันละเหรียญ...สองเหรียญ...
    พอได้มากพอ ก็เอาไปซื้อจักรยาน...

    นี่คือสิ่งที่แม่สอน... แม่สอนอะไร...ทราบไหมครับ...?

    ถ้าเป็นพ่อแม่บางคน... พอลูกขอ...
    รับกดปุ่ม ATM ให้เลย ประเคนให้เลย...
    ลูกก็ฟุ้งเฟ้อ...ฟุ่มเฟือย...เหลิง...และหลงตัวเอง
    พอโตขึ้น...ขับรถเบนซ์ชนตำรวจ...ก็ได้...
    ยิงตำรวจ...ยังได้...เพราะหลงตัวเอง...
    พ่อตนใหญ่ เห็นไหม...?
    ตามใจ เทิดทูน จนเสียคน...

    [​IMG]

    [​IMG]

    แต่สมเด็จย่านี่...เป็นยอดคุณแม่...
    สร้างคุณธรรมให้แก่ลูก...ลูกอยากได้...
    ลูกต้องเก็บสตางค์ที่แม่ให้...ไปหย่อนกระปุก...

    แม่สอน ๒ เรื่อง
    คือ...ให้ประหยัด...ให้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง


    ใครสอนลูกให้ประหยัดได้...
    คนนั้นกำลังมอบความเป็นเศรษฐีให้แก่ลูก


    พอถึงวันปีใหม่...สมเด็จย่าก็บอกว่า...
    “ปีใหม่แล้ว...เราไปซื้อจักรยานกัน...”
    “เอ้า...แคะกระปุก...ดูซิว่ามีเงินเท่าไหร่...?”
    เสร็จแล้ว...สมเด็จย่าก็แถมให้...ส่วนที่แถมนะ...
    มากกว่าเงินที่มีในกระปุกอีก...

    มีเมตตา...ให้เงินลูก...ให้...ไม่ได้ให้เปล่า...
    สอนลูกด้วย...สอนให้ประหยัด สอนว่า...อยากได้อะไร...
    ต้องเริ่มจากตัวเรา...
    คำสอนนั้น...ติดตัวในหลวงมาจนทุกวันนี้...

    เขาบอกว่า...ในสวนจิตรเนี่ย...
    คนที่ประหยัดที่สุด...คือ...ในหลวง...
    ประหยัดที่สุด...ทั้งน้ำ...ทั้งไฟ...
    เรื่องฟุ้งเฟ้อ...ฟุ่มเฟือย...ไม่มี
    ...เป็นอันว่า...ภาพนี้ชัดเจน

    [​IMG]


    [​IMG]

    หวังที่ ๒ ยามป่วยไข้...หวังเจ้า...เฝ้ารักษา


    *************************************

    ดูว่าในหลวงทำกับแม่ยังไง...?
    สมเด็จย่า...ประชวรอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช...
    ในหลวงไปเยี่ยมตอนไหนครับ...?

    ไปเยี่ยมตอน ตี ๑ ตี ๒ ตี ๔ เศษๆ...จึงเสด็จกลับ...
    ไปเฝ้าแม่วันละหลายชั่วโมง...

    แม่...พอเห็นลูกมาเยี่ยม...ก็หายป่วยไปครึ่งหนึ่งแล้ว...

    ทีมแพทย์ที่รักษาสมเด็จย่า...เห็นในหลวงมาเยี่ยม
    มาประทับ ก็ต้องฟิต...ตามไปด้วย
    ต้องปรึกษาหารือกันตลอดว่า
    ...จะให้ยายังไง...จะเปลี่ยนยาไหม...?
    จะปรับปรุงการรักษายังไง...ให้ดีขึ้น...
    ทำให้สมเด็จย่า...ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น...
    เห็นภาพไหม...?

    กลางคืน...ในหลวงไปอยู่กับสมเด็จย่า...
    คืนละหลายชั่วโมง...ไปให้ความอบอุ่นทุกคืน

    ลองหันมาดูตัวเองซิ...ตอนพ่อแม่ป่วย...
    โผล่หน้าเข้าไปดูหน่อยนึง
    ถามว่า...ตอนนี้...อาการเป็นยังไง...?

    พ่อแม่...ยังไม่ทันได้ตอบเลย
    ฉันมีธุระ งานยุ่ง ต้องไปแล้ว...โผล่หน้าไปให้เห็น
    พอแค่เป็นมารยาท...แล้วก็กลับ...
    เราไม่ได้ไปเพราะความกตัญญู...
    เราไม่ได้ไปเพื่อทดแทนพระคุณท่าน...น่าอายไหม...?

    ในหลวง...เสด็จไปประทับกับแม่...
    ตอนแม่ป่วย...ไปทุกวัน...ไปให้ความอบอุ่น...
    ประทับอยู่วันละหลายชั่วโมง...นี่คือ...สิ่งที่ในหลวงทำ

    คราวหนึ่ง...ในหลวงป่วย...สมเด็จย่า...ก็ป่วย...
    ไปอยู่ศิริราช...ด้วยกัน...อยู่คนละมุมตึก...
    ตอนเช้า...ในหลวงเปิดประตู...แอ๊ด..........ออกมา...
    พยาบาลกำลังเข็นรถสมเด็จย่า
    ...ออกมารับลมผ่านหน้าห้องพอดี

    ในหลวง...พอเห็นแม่...รีบออกจากห้อง...
    มาแย่งพยาบาลเข็นรถ
    มหาดเล็ก...กราบทูลว่า ไม่เป็นไร...ไม่ต้องเข็น
    มีพยาบาลเข็นให้อยู่แล้ว
    ในหลวงมีรับสั่งว่า...
    แม่ของเรา...ทำไมต้องให้คนอื่นเข็น
    เราเข็นเองได้...


    นี่ขนาดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน...เป็นกษัตริย์...
    ยังมาเดินเข็นรถให้แม่
    ยังมาป้อนข้าว...ป้อนน้ำให้แม่...
    ป้อนยาให้แม่ให้ความอบอุ่นแก่แม่...เลี้ยงหัวใจแม่...
    ยอดเยี่ยมจริงๆ...เห็นภาพนี้แล้ว...ซาบซึ้ง...

    [​IMG]

    [​IMG]

    หวังที่ ๓ เมื่อถึงยาม...ต้องตาย...วายชีวา...


    **************************************
    หวังลูกช่วย...ปิดตา...เมื่อสิ้นใจ

    **************************************

    วันนั้น...ในหลวง...เฝ้าสมเด็จย่า
    อยู่จนถึงตี ๔ ตี ๕ เฝ้าแม่อยู่ทั้งคืน...
    จับมือแม่...กอดแม่...ปรนนิบัติแม่
    ...จนกระทั่ง “แม่หลับ...” จึงเสด็จกลับ...

    พอไปถึงวัง...เขาโทรศัพท์มาแจ้งว่า...
    สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์...
    ในหลวง...รีบเสด็จกลับไป...ศิริราช...
    เห็นสมเด็จย่านอนหลับตาอยู่บนเตียง...
    ในหลวงทำยังไงครับ...?

    ในหลวงตรงเข้าไป...คุกเข่า...
    กราบลงที่หน้าอกแม่...พระพักตร์ในหลวง...
    ตรงกับหัวใจแม่...
    “ขอหอมหัวใจแม่...เป็นครั้งสุดท้าย...”
    ซบหน้านิ่ง...อยู่นาน...
    แล้วค่อยๆ...เงยพระพักตร์ขึ้น...น้ำพระเนตรไหลนอง...

    ต่อไปนี้...จะไม่มีแม่ให้หอมอีกแล้ว...
    เอามือ...กุมมือแม่ไว้ มือนิ่มๆ ...
    ที่ไกวเปลนี้แหละที่ปั้นลูก...จนได้เป็นกษัตริย์...
    เป็นที่รักของคนทั้งบ้านทั้งเมือง...ชีวิตลูก...แม่ปั้น...

    มองเห็นหวี...ปักอยู่ที่ผมแม่...
    ในหลวงจับหวี...ค่อยๆ หวีผมให้แม่
    ...หวี...หวี...หวี...หวี...ให้แม่สวยที่สุด...
    แต่งตัวให้แม่... ให้แม่สวยที่สุด...
    ในวันสุดท้ายของแม่...


    เป็นภาพที่ประทับใจอาจารย์ที่สุด...
    เป็นสุดยอดของลูกกตัญญู...
    หาที่เปรียบไม่ได้อีกแล้ว...
    กษัตริย์...ยอดกตัญญู

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    คัดลอกจาก....
    หนังสือเรื่องหยุดความเลว...ที่...ไล่ล่าคุณ
    โดย พันเอก (พิเศษ) ทองคำ ศรีโยธิน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    <table id="ncode_imageresizer_warning_2" class="ncode_imageresizer_warning" width="262"><tbody><tr><td class="td1" width="20">[​IMG]</td><td class="td2">Click this bar to view the full image.</td></tr></tbody></table>[​IMG]
    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6811
     
  4. pat3112

    pat3112 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    373
    ค่าพลัง:
    +2,904
    พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว (พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร) <hr style="" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message --> <table id="ncode_imageresizer_warning_3" class="ncode_imageresizer_warning" width="236"><tbody><tr><td class="td1" width="20">[​IMG]</td><td class="td2">Click this bar to view the full image.</td></tr></tbody></table>[​IMG]

    พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร


    ด้วยพระเมตตาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย พระองค์ประดุจพระผู้สร้างแผ่นดิน ทรงเป็นดั่งผู้มอบชีวิต มอบความรุ่งเรือง มอบความเจริญงอกงามภายในหัวใจคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นแรงบันดาลใจจุดประกายพลังแผ่นดิน

    หากเราได้มีโอกาสศึกษาพระบรมราโชวาท แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เราจะเข้าใจได้อย่างแจ่มชัดด้วยคำสอนที่พระองค์ทรงพระราชทานให้แต่ละข้อแต่ ละอย่างนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พระองค์ทรงไตร่ตรองพิเคราะห์ถึงปัญหานั้นอย่างถ่องแท้ แล้วว่า จะเป็นหนทางแห่งการแก้ปัญหาการดับทุกข์ได้ด้วยสมาธิ

    ธรรมดาสภาวะจิตอันเป็นสมาธินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากการบังคับควบคุม เกิดขึ้นจากความผ่อนคลาย หรือเกิดขึ้นจากภาวะคับขันต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้า จะทำให้ต้องเร่งรวบรวมสติให้มั่น ไม่ว่าสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างไร สมาธิ เป็นของดี เป็นของที่เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน เป็นของที่มีอยู่ในกายและในจิตอันพร้อมเป็นของเข้าใจได้ เป็นของเข้าใจง่าย และใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย และความเข้าใจอันแจ่มชัดที่แสดงให้เห็นว่า สมาธิเองก็มิใช่ของที่เกิดขึ้นโดยลำพังหรือใช้โดยลำพัง

    แต่สมาธิที่ดีจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มาก หากผู้ใช้สมาธิรู้จักการปฏิบัติอันถูกต้อง ถูกต้องทั้งแก่ตนแลถูกต้องทั้งแก่ผู้อื่น ดังที่ได้ศึกษาจากรอยพระจริยวัตรแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช อันได้แสดงไว้ถึงเรื่องราวของ “พระสมาธิ”

    <table id="ncode_imageresizer_warning_1" class="ncode_imageresizer_warning" width="251"><tbody><tr><td class="td1" width="20">[​IMG]</td><td class="td2">Click this bar to view the full image.</td></tr></tbody></table>[​IMG]
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน


    ผู้ที่เคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานหรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องประทับอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คงจะได้เห็นด้วยความพิศวงกันทุกคนว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นเมื่อทรงนั่งลงแล้ว จะประทับอยู่ในพระอิริยาบถนั้นตั้งแต่เริ่มพิธีไปจนกระทั่งจบ ไม่ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถเลย นอกจากนั้น ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างกระฉับกระเฉงต่อเนื่อง ไม่มีพระอาการที่แสดงว่าทรงเหนื่อย หรือทรงเบื่อเลย ผมเคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่งในกรุงเทพมหานคร พิธีนั้นยาวถึงประมาณ ๔ ชั่วโมง และมีบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเฝ้าฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวนหลายพันคน ได้เห็นเหตุการณ์เช่นว่านั้น แต่ผมได้เห็นมากกว่านั้นคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับไปถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานในตอนค่ำวันนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงออกพระกำลังบริหารพระวรกายด้วยการวิ่งในศาลาดุสิตาลัย อีก

    ในการประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติด้วยพระอาการที่แสดงว่าเอาพระทัยจดจ่ออยู่กับพระ ราชกรณียกิจนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรงเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เช่น ในการทรงดนตรี (ที่ใครๆ มักจะนึกว่าเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย) เป็นต้น ผมเคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงดนตรีตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง โดยทรงนั่งไม่ลุกเลยแม้แต่จะเพื่อเสด็จฯ ไปห้องสรง ในขณะที่นักดนตรีอื่นๆ ลงกราบแล้วถอยหลังลุกไปเข้าห้องน้ำกันเป็นครั้งคราวทุกคน ในการทรงเรือใบก็เช่นเดียวกัน ทรงจดจ่ออยู่กับการบังคับเรืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ครั้งหนึ่งเสด็จฯ ออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นเรือใบเข้าฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯ อยู่ ด้วยความฉงนว่า เสด็จฯ กลับเข้าฝั่งเพราะเรือใบพระที่นั่งแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวล์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น

    แสดงว่าการทรงดนตรีก็ดี ทรงเรือใบก็ดี สำหรับพระเจ้าอยู่หัวเป็นงานอีกชนิดหนึ่ง ที่จะต้องทำด้วยความจดจ่อและต่อเนื่องไปจนกว่าจะเสร็จเหมือนกัน พระราชกรณียกิจอื่นๆ ทั้งน้อยและใหญ่ ทรงปฏิบัติแบบเดียวกัน คือด้วยการเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทำๆ หยุดๆ เพราะฉะนั้นจึงจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้นสำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วน ใหญ่

    ผมไปรู้เอาหลังจากที่เข้ารับราชการในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำอยู่ได้ ไม่นานว่า ที่ทรงสามารถจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจทุกชนิดได้เช่นนั้นก็เพราะพระสมาธิ

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัตร
    ในวันที่โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราช



    ผมไม่ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มฝึกสมาธิตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หลังจากทรงผนวชแล้ว ประทับจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๑๕ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ ทรงเลือก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เมื่อครั้งยังเป็นพระโสภณคณาภรณ์) ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะทรงมีเวลาน้อยแต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย อย่างเคร่งครัด และคงจะได้ทรงฝึกเจริญพระกรรมฐานในโอกาสนั้นด้วย

    เมื่อผมเข้าไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ปรากฏว่า การศึกษาและปฏิบัติสมาธิหรือกรรมฐานในราชสำนักกำลังดำเนินอยู่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเป็นประจำ และข้าราชสำนัก ข้าราชบริพารหลายคน ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารก็กำลังเจริญรอยพระยุคลบาทอยู่ด้วยการฝึกสมาธิอย่าง ขะมักเขม้น

    ผมไม่ได้ตั้งใจจะหัดสมาธิ แม้จะเคยศึกษามาก่อนโดยเฉพาะจากหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แต่ระหว่างการตามเสด็จฯ โดยรถไฟ จากกรุงเทพมหานครไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ การเดินทางไกลกว่าที่ผมคาดคิด หนังสือเล่มเดียวที่เตรียมไปอ่านฆ่าเวลาบนรถไฟ ก็อ่านจบเล่มเสียตั้งแต่กลางทาง ขณะนั้นผมเห็นนายทหารราชองครักษ์ประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยร่วม กันสองนาย ใช้เวลาว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ ผมจึงลองทำดูบ้างโดยใช้อานาปานสติ (คือกำหนดรู้แต่เพียงว่ากำลังหายใจเข้าและหายใจออก) อันเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และท่านอาจารย์พุทธทาสแนะนำ ปรากฏว่าจิตสงบเร็วกว่าที่ผมคาด แลเห็นนิมิตเป็นภาพสีสวยๆ งามๆ มากมาย และเป็นเวลาค่อนข้างนานด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดสมาธิและกลายเป็นอีกผู้หนึ่งที่ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำ มาจนทุกวันนี้

    เมื่อความทราบถึงพระกรรณว่าผมเริ่มปฏิบัติสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกรุณาพระราชทานหนังสือ และแถบบันทึกเสียงคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ลงมา และบางครั้งก็ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำรัสแนะนำด้วยพระองค์เอง ผมจึงได้รู้ว่า พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัวนั้นก้าวหน้าไปแล้วเป็นอันมาก รับสั่งเล่าเองว่าแม้จะทรงใช้อานาปานสติเป็นอุบายในการทำสมาธิ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงสามารถที่จะกำหนดพระอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ได้แต่ลำพัง ต้องทรงนับกำกับ

    วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้ หายใจเข้าครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สอง นับสอง หายใจเข้าครั้งที่สาม นับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้า นับห้า หายใจออกครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจออกครั้งที่สอง นับสอง หายใจออกครั้งที่สาม นับสาม หายใจออกครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจออกครั้งที่ห้า นับห้า

    เมื่อถึงห้าแล้ว หากจิตยังไม่สงบ ก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหาห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้นจนกว่าจิตจะสงบ รับสั่งว่า ที่เห็นพระองค์ประทับอยู่นิ่งๆ นั้น พระจิตทรงอยู่กับหนึ่งเข้าหนึ่งออกตลอดเวลา


    <table id="ncode_imageresizer_warning_2" class="ncode_imageresizer_warning" width="251"><tbody><tr><td class="td1" width="20">[​IMG]</td><td class="td2">Click this bar to view the full image.</td></tr></tbody></table>[​IMG]
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ทรงประทับหน้าใบเสมาพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
    เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙



    พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องสมาธิ ด้วยการรวบรวมและประมวลคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่านแล้ว ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานประมวลคำสอนนั้นแก่ผู้ที่ทรงทราบว่ากำลังปฏิบัติ สมาธิอยู่ ครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาพระราชทานแถบบันทึกเสียงของ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ให้ผม รับสั่งว่า เป็นบันทึกเสียงการแสดงธรรมเรื่องฉฉักกสูตร (คือพระสูตรว่าด้วยธรรมะ หมวด ๖ รวม ๖ ข้อ ซึ่งอธิบายความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวมีตนของสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนา และตัณหา พระสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน) และทรงแนะนำให้ผมฟังธรรมบทนั้น

    ผมรับพระราชทานแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นมาแล้ว ก็เอาไปใส่เครื่องบันทึกเสียงและเปิดฟัง ฟังไปได้ไม่ทันหมดม้วนก็ปิด แล้วก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ฟังอีก หลังจากนั้นไม่นานนัก ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ฟังเทปของสมเด็จฯ แล้วหรือยัง เป็นอย่างไร ผมไม่อาจจะกราบบังคมทูลความอันเป็นเท็จได้ ต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่าฟังได้ไม่ทันจบม้วนก็ได้หยุดฟังเสียงแล้ว

    ตรัสถามต่อไปถึงเหตุผลที่ผมไม่ฟังให้จบ และผมก็จำเป็นต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่า สมเด็จฯ ท่านเทศน์ฟังไม่สนุก พูดขาดเป็นวรรคๆ เป็นห้วงๆ เนื่องจากสมเด็จฯ พิถีพิถันในการใช้ถ้อยคำและประโยคเทศน์ของท่านนั้น ถ้าเอามาพิมพ์ก็จะอ่านได้สบายกว่าฟัง

    พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ที่ฟังสมเด็จฯ เทศน์ไม่รู้เรื่องนั้นก็เพราะคิดไปก่อนหรือไม่ว่า สมเด็จฯ ท่านจะพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ครั้นท่านพูดช้ากว่าที่คิด หรือพูดออกมาแล้วไม่ตรงกับที่คาดหมายจึงเบื่อ เมื่อผมนิ่งไม่กราบบังคมทูลตอบ ก็ทรงแนะนำว่าให้กลับไปฟังใหม่ คราวนี้อย่าคิดไปก่อนว่าสมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร สมเด็จฯ หยุดก็ให้หยุดด้วย

    ผมกลับมาทำตามพระราชกระแสรับสั่ง เปิดเครื่องบันทึกเสียงฟังเทศน์ของสมเด็จฯ จากแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นใหม่ตั้งแต่ต้น ฟังด้วยสมาธิ สมเด็จฯ หยุดตรงไหน ผมก็หยุดตรงนั้น และไม่คิดๆ ไปก่อนว่า สมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร คราวนี้ผมฟังได้จนจบและเห็นว่าจริงดังพระราชดำรัส แถบบันทึกเสียงม้วนนั้น เป็นม้วนที่ดีที่สุดม้วนหนึ่ง

    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ-พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ณ พระตำหนักบัญจบเบญจมา เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙



    ครั้งหนึ่ง หลังจากที่นั่งสมาธิแล้ว ผมได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูลประสบการณ์ที่ได้ขณะทำ สมาธิ ผมกราบบังคมทูลว่า ขณะที่นั่งสมาธิครั้งนั้น รู้สึกว่าตัวเองลอยขึ้นจากพื้นสูงประมาณศอกหนึ่ง ทีแรกก็ยังไม่รู้สึกอะไรแต่ครั้นหัวเริ่มคล้อยลงไปข้างหน้า ทำท่าเหมือนจะตีลังกา ผมก็ตกใจและต้องเลิกทำสมาธิ

    พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ถ้าหากสติยังอยู่ ยังรู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ควรจะเลิก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนั้น

    อีกครั้งหนึ่ง หลังจากทำสมาธิแล้ว ผมกราบบังคมทูลว่า พอจิตสงบผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเลื่อนต่ำลงไปในท่อขนาดใหญ่ และที่ปลายท่อข้างล่างผมแลเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แสดงว่าท่อยาวมาก กลัวจะหลุดออกจากท่อไป ผมก็เลยเลิกทำสมาธิ

    รับสั่งเช่นเดียวกันว่า หากยังรู้ตัว (มีสติ) อยู่ ก็ไม่ควรเลิก ถึงหากจะหลุดออกนอกท่อไปก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่สติยังอยู่และรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับตน ต่อมาภายหลังจากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน และโดยเฉพาะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนให้ “ดำรงสติให้มั่น” ในเวลาทำสมาธิ

    ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว เคยตรัสเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังทรงทำสมาธิอยู่ พระจิตสงบและเกิดนิมิต ในนิมิตนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรเห็นพระกร (แขนท่อนล่าง) ลอกออกทีละชั้นๆ ตั้งแต่จากพระตจะ (หนัง) ลงไปจนถึงพระอัฐิ (กระดูก)

    พระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่าง ทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนักในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ได้โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว อันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น

    ในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นพระ ประมุข และในฐานะที่ทุกคนมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงเมืองไทยนี้ให้เป็นที่ร่มเย็นของ เรา และของลูกหลานของเรา จึง สมควรที่เราจะเจริญรอยประพฤติตามพระยุคลบาทด้วยการศึกษาและปฏิบัติสมาธิกัน อย่างจริงจัง และนำสมาธิมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวของเรา

    [​IMG]
    พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
    ประทับในพระตำหนักปั้นหยา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙

    คัดลอกมาจาก ::
    http://www.ybat.org/
     
  5. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    อนุโมทนาค่ะ ถ้าลูกๆทุกคนทำตามพระองค์ท่าน ประเทศไทยคงสงบสุขมากขึ้นและเป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...