ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ)


    [​IMG]
    เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม

    ทรงของเจดีย์แบบนี้ค่อนข้างสูง เกิดจากส่วนล่างในผังแปดเหลี่ยมซึ่งซ้อนกันเป็นชุดขึ้นไป ต่อจากนั้นเป็นบัวปากระฆังรองรับทรงระฆังกลม ขนาดของทรงระฆังค่อนข้างใหญ่แต่บางองค์ก็ย่อมลงบ้าง ขึ้นอยู่กับแบบอย่างและทรวดทรงโดยรวมซึ่งแปลกแตกต่างกันไปหลายลักษณะ


    เป็นเจดีย์ที่เล็กกว่าเจดีย์องค์อื่น แต่ไม่ทราบว่าเล็กกว่าเจดีย์คู่หน้าวัดหรือไม่ เพราะเจดีย์คู่หน้าวัดนั้นไม่เหลือโครงสร้างให้เห็นเลยค่ะ


     
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) มีทรงเจดีย์หลากหลาย

    จากหนังสืองานช่างหลวง แห่งแผ่นดิน ศิลปะอยุธยา ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ

    พบว่ารูปทรงเจดีย์ในสมัยอยุธยาจะมีลักษณะทั้งสิ้น 6 แบบ

    ๑. เจดีย์ทรงปรางค์

    ๒. เจดีย์ทรงระฆัง

    ๓. เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม

    ๔. เจดีย์ทรงปราสาทยอด

    ๕. เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม

    ๖. เจดีย์ทรงเครื่อง

    วัดวรเชษฐ์มีครบทุกทรงเจดีย์ ยกเว้นทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม (บางครั้งก็เรียกทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม เช่น เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองค่ะ)

    คิดว่าเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม คงจะเกิดในสมัยพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นไป สำหรับสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมในวัดวรเชษฐ์จึงไม่ใช่เจดีย์แต่เป็นช่องกระจกรอบลานประทักษิณขององค์พระปรางค์ประธาน


    วัดวรเชษฐ์นี้จึงเป็นชุมนุมของทรงเจดีย์เกือบทุกประเภทค่ะ เพื่อให้สมกับความยิ่งใหญ่ของวัด

    พูดถึงศิลปะ อาจจะน่าง่วงนอนสักหน่อยแต่ก็สำคัญค่ะ บางทีสิ่งเหล่านี้อาจนำมาซึ่งการหาข้อสรุปเกี่ยวกับวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างถวายพระเชษฐาของพระองค์ และสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ก็ได้
     
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เจดีย์คู่ วัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ) บอกความเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้าง

    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER>วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่บนเนินเขาแก้ว ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง ฯ ใต้วัดข่อยเขาแก้วไปประมาณ ๑,๒๐๐ เมตร มีซากพระอุโบสถซึ่งผูกพัทสีมาสองชั้น ทำให้เข้าใจว่าเป็นวัดหลวงมาแต่เดิม มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ กำแพงด้านในทำเป็นช่องเล็ก ๆ เต็มไปหมดทั้งสี่ด้าน ช่องเหล่านี้คล้ายกับช่องสำหรับตามประทีปที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี

    สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช น่าจะโปรดให้สร้างเฉลิมพระเกียรติที่ทรงตีเมืองเชียงใหม่ได้ หลังจากเสด็จกลับจากเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๒๐๕ รูปทรงลักษณะของพระอุโบสถ และกำแพงแก้วที่ยังเหลืออยู่เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา




    <CENTER>[​IMG]

    </CENTER>เจดีย์คู่ ในบริเวณวัดสมเด็จพระนารายณ์ มีวิหารน้อยอยู่อีกแห่งหนึ่งสร้างในสมัยอยุธยา ต่อจากวิหารน้อยออกไปมีเจดีย์ฝีมือช่างสมัยอยุธยาสร้างคู่กันสององค์ ที่ฐานเจดีย์มีช่องสำหรับตามประทีปโดยรอบ แสดงว่าน่าจะเป็นสิ่งที่สร้างหรือปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ทำเป็นเจดีย์คู่กันนั้น สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมเห็นจะมีเจดีย์คู่สร้างไว้แต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อคราวตีได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาเป็นของไทย ของเดิมคงชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระนารายณ์ จึงโปรดให้บูรณะใหม่ แล้วทำช่องตามประทีปไว้ที่ฐานเจดีย์ ตามแบบที่พระองค์โปรดก็ได้

    ต่อจากเจดีย์คู่มีเจดีย์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมอีกองค์หนึ่ง องค์เจดีย์หักพังหมด สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเข้าพระทัยว่า น่าจะเป็นของสมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงสร้างไว้ แต่ครั้งตีเมืองเชียงใหม่ได้ในปี พ.ศ.๒๐๘๘ และต่อมาพระมหากษัตริย์ไทยจึงทรงถือเป็นเยี่ยงอย่างสร้างกันในสมัยต่อ ๆ มา ปรากฎว่ามีเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงตีได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาเป็นของไทยครบทุกรัชสมัย

    สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงพระชนม์อยู่ หากตามประวัติศาสตร์พงศาวดารที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้นั้นเป็นจริง เท่ากับเจดีย์ทรงนี้เป็นแบบพระราชนิยมของพระองค์ท่านในการสร้างเพื่ออุทิศให้กับสมเด็จพระราชบิดาและพระราชมารดา

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เชียงใหม่เป็นประเทศราชปี พ.ศ. ๒๑๓๙ ได้นำพระเมงทุลอง พระโอรสของพระเจ้ามังนรธาช่อ พระเจ้าเชียงใหม่ มาเลี้ยงเป็นองค์ประกันเหมือนกันที่พระองค์ท่านเคยไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดี พระเมงทุลอง ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๑ กลางเขาดอยทุลอง (ดอยหลวง หรือ ดอยอินทนนท์ ในปัจจุบัน) ปีที่มาเป็นองค์ประกันจึงมีพระชนม์มายุ ๑๘ พรรษา

    เจ้าแม่วัดดุสิต ประสูติประมาณปี พ.ศ. ๒๑๒๘ (ความเห็นทางสายธาตุ) ห่างกันอยู่ ๗ ปีกับพระเมงทุลอง

    กลับมาที่พระเจดีย์คู่ หากสามารถระบุว่าเจดีย์คู่ที่สร้างไว้ที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ก็อนุมานได้ว่า สมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงถ่ายทอดพระราชนิยมของสมเด็จพระนเรศวรในการสร้างเจดีย์คู่แบบเดียวกับที่สร้างที่วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาเป็นต้นแบบที่สร้างที่วัดวรเชษฐ์ ของพระองค์

    นี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งหลักฐานของการเป็นวัดอันสำคัญยิ่งในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่องค์สมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างถวาย

    ทางสายธาตุคิดว่า ประเด็นนี้จะช่วยให้ท่านผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสะสางประวัติศาสตร์ของวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ)สามารถนำมาศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำมาประกอบการรับรองความเป็นวัดวรเชษฐ์ ของแท้ ฟันธง ทิ้งธง ชนธง แบกธง ปักธงค่ะ


    เห็นไหมเอ่ย ศิลปะนี้สำคัญจริงๆ บ่งบอกอะไรต่ออะไรให้เราได้แม้จะไม่ได้เขียนไว้ในพงศาวดาร :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2009
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทางสายธาตุว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีบุคคลตัวอย่าง ที่คนสมัยนี้จะให้ทับศัพท์ว่า IDOL อยู่สองพระองค์

    หนึ่งนั้นคือ ผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนอง ผู้มีความกล้าหาญ ฉลาดหลักแหลม เก่งในเชิงรบ

    สองนั้นก็คือ สมเด็จพระชัยราชาธิราช ผู้ทรงมีพระมารดาเป็นเจ้านายสายราชวงศ์พระร่วงและทรงเป็นพระญาติกับทั้งสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระชัยราชาธิราชก็ทรงเป็นนักรบที่เก่งมากเหมือนพระเจ้าบุเรงนอง หากพระชัยราชาธิราชไม่สิ้นพระชนม์เสียก่อน ก็ไม่แน่ว่าพระเจ้าบุเรงนองจะเจอคู่ต่อสู้สำคัญทีเดียว

    ประเด็นที่ทางสายธาตุเคยเปิดไว้นานมาแล้วก็คือ ทางสายธาตุเชื่อว่าพระราชมารดาของพระเจ้ามังนรธาช่อ น่าจะเป็นพระธิดาของพระนางจิรประภาอันเกิดจากสมเด็จพระเจ้าชัยราชาธิราช คราวที่พระองค์ได้ขึ้นไปตีเชียงใหม่ เมื่อพระธิดาเติบใหญ่ต้องไปเป็นมเหสีพระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ ที่เชียงใหม่เสียเมืองให้พม่า เจ้านางองค์นี้น่าจะเป็นเจ้านางมิ่งแก้ว ที่ปรากฏชื่อในพงศาวดารพม่า พระเจ้ามังนรธาช่อเป็นพระโอรสของพระเจ้าบุเรงนองกับเจ้านางมิ่งแก้ว จึงได้รับพระบรมราชโองการจากพระเจ้าบุเรงนองให้กลับมาครองเมืองเดิมของพระมารดา แต่ประวัติศาสตร์ล้านนา อย่างที่เคยบอก ทางสายธาตุขอหมอบค่ะ ไม่เข้าใจภาษาคำเมืองหนึ่ง โยงใยเรื่องไม่ประติดประต่อ อ่านแล้วขอหมอบเจ้า...

    อ้างอิงวิกิพีเดีย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2009
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เมื่อเช้าเจอในหนังสือ งานช่างหลวง แห่งแผ่นดิน ศิลปะอยุธยา ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุม สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ ที่หน้า 48

    พบว่ามีภาพ Layout วัดวรเชษฐารามในเมืองมี เห็น LAYOUT ฐานที่วางเจดีย์สององค์อยู่หน้าโบสถ์ ด้วย น่าสนใจอีกแล้ว

    วางประเด็นน่าสนใจไว้ก่อนกลับบ้าน



    กลับมาดูหนังสืออีกครั้ง มีจริงๆด้วยค่ะ ต้องเห็นของจริงจึงจะรู้ว่าแผนผัง สี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในมีวงกลม 2 วงนั้นหมายถึงฐานที่มีเจดีย์สององค์หรือไม่

    อ่านจากแผนผัง เรื่องการวาง โบสถ์ ของทั้งสองวัดแตกต่างกัน

    1 วัดวรเชษฐาราม วางโบสถ์ไว้ด้านหน้าเจดีย์ทรงกลม
    2 วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) วางโบสถ์ไว้หลังพระปรางค์ประธาน

    เรื่องตำแหน่งโบสถ์แตกต่างกัน


    ตอนแรกคิดว่ารอบลานประทักษิณที่เคยเห็นเป็นช่องตามประทีปนั้น แท้จริงแล้วกรมศิลปากรอาศัยบูรณะให้รูปทรงเจดีย์ทรงอยู่ได้ จึงทำเหมือนซุ้มเล็กๆเรียงไปตามลานประทักษิณ แท้จริงแล้วต้องทำเป็นช่องกระจกย่อมุมไม้สิบสองไปรอบลานประทักษิณจึงจะตรงตามศิลปะลวดลายประดับดั้งเดิมค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2009
  6. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐาราม (ในเกาะ)





    [​IMG]
    [​IMG]
    วัดวรเชษฐาราม

    สร้างวัดอยู่บนพื้นราบ เหมือนที่วัดเจ้าชาย ซึ่งสร้างแบบนี้จะสร้างห้องใต้ดินไม่ได้ คือใต้ฐานเจดีย์ประธานทำประโยชน์อื่นไม่ได้ ต้องใช้เก็บในเจดีย์อย่างเดียว เหมือนที่วัดเจ้าชาย ที่ถูกลักลอบขุดพระพิมพ์ต่างๆไปมาก แต่คนที่ทำผิดเหล่านี้ชาวบ้านแถววัดเจ้าชายก็เล่ากันว่าคนทำล้วนเจอกรรมถึงกับฆ่าตัวตายกันหมด มีคนหนึ่งมาผูกคอตายใต้ต้นไม้ในวัดเลย

    วัดที่จะต้องมีทหารตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทำกรรมฐานจำนวนมาก เพราะทหารโบราณปฎิบัติธรรมทุกคน เพื่อให้รอดปลอดภัยเมื่อต้องออกรบ จะนั่งกันที่ไหน นั่งในโบสถ์สมัยนั้นก็นั่งได้สักร้อยคน ที่เหลือนั่งตามสบายนอกโบสถ์หรือเปล่า

     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ทางสายธาตุอยากหาข้อมูลให้หมดข้อสงสัยกันไปเลยว่า ที่ไหนกันแน่ที่น่าจะเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    แม้ว่าจะมีข้อมูลในทางกายละเอียดของหลายคนเล่าให้ฟัง หรือสัมผัสได้ ซึ่งถ้าเป็นจริงก็ต้องมีวัตถุ หรือศิลปะ อันประกอบได้อย่างลงตัว

    ไม่อยากให้ใครต้องมาเคลือบแคลงสงสัยว่าวัดไหนกันแน่ จะได้มาถวายสักการะพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวรได้อย่างถูกต้องและมากันให้มากเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่านด้วย

    ตอนนี้ข้อมูลวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) สอดคล้องมากกว่า วัดวรเชษฐาราม หลายประเด็น ส่วนประเด็นที่เกิดแย้งขึ้นมาเช่นเจดีย์คู่หน้าวัด จะหาคำตอบมาให้อีกครั้ง จะได้ทิ้งกันขาดไปเลยเรื่องที่กรมศิลปากรยังสงสัยนะคะ ^^
     
  8. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดป่าแก้ว ในความเห็นของ น. ณ ปากน้ำ

    ความหมายของวัดป่าแก้ว วัดป่าแก้วในอยุธยา เดิมเข้าใจกันว่าคือ วัดใหญ่ชัยมงคล แต่ต่อมาในภายหลังมีหลักฐานได้ตรวจสอบรู้ชัดกันแล้วว่า ด้วยธรรมเนียมการสร้างวัดป่าแก้วที่อยู่ในเขตอรัญญิกนั้น ล้วนอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองใหญ่ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างเช่น

    กรุงสุโขทัย แถบอรัญญิกของอาณาบริเวณ วัดป่าแก้ว จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
    เมืองสวรรคบุรี วัดป่าแก้วเขตอรัญญิก คือวัดแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตก
    เมืองเชียงใหม่ วัดป่าแก้วเรียกว่า วัดป่าแดง อยู่ในแถบอรัญญิก ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง
    เมืองราชบุรี วัดป่าแก้วอรัญญิกของราชบุรี
    เมืองสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ

    สำหรับวัดป่าแก้วเขตอรัญญิกของอยุธยา ปัจจุบันทราบกันว่าแท้จริงแล้วว่า คือ วัดหนึ่งที่ถูกปล่อยให้รกร้าง และเรียกว่า วัดประเชด หรือชื่อ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดทางทิศตะวันตก นอกกำแพงเมือง ด้านวังหลัง ออกไปประมาณ ๔ กิโลเมตร
    สาเหตุที่วัดป่าแก้วหรือวัดประเชดนี้ได้รกร้างไป สันนิษฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการสถาปนาวัดไชยวัฒนารามนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตก เป็นวัดอรัญญิกฝ่ายซ้าย อันเป็นวัดใหญ่ที่มีอาณาบริเวณโตมาก พร้อมทั้งได้ย้ายให้พระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประจำวัดไชยวัฒนารามด้วย วัดอยู่ติดกับแม่น้ำตรงข้ามกับกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา การไปมาหาสู่โดยสะดวก จึงเป็นวัดป่าแก้วไปโดยปริยาย

    ดังนั้น ความไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย อันเนื่องมาจากเอกสารหนังสือต่าง ๆ ถูกทำลายเสียหายไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ หากเรายังพอสืบเสาะข้อมูลจากเอกสารที่ยังพอหลงเหลือ และเอกสารของชาวชาติที่ได้จดบันทึกไว้พอจะมีหลักฐานบ้าง ให้ศึกษาและเชื่อมต่อให้ดี ๆ ก็จะพบสิ่งที่หายไป สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ อยากเห็นว่าอะไรคือความจริง
    ความจริงที่ว่านี้คือ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) เดิมชื่อ วัดประเชด มีสาระสำคัญเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากเป็นวัดที่สมเด็จพระพนรัตน์ (สมเด็จแตงโม) พระมหาเถรคันฉ่อง พระอาจารย์ประจำอยู่ในฐานะสมเด็จพระสังฆราชด้านอรัญญวาสี และที่สำคัญวัดประเชด หรือวัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) นี้ เป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานการถวายพระเพลิง ตลอดจนสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    ชื่อวัดวรเชษฐ์ซึ่งปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่า มิได้ระบุตำแหน่งของวัดวรเชษฐ์ให้มีความชัดเจนด้วยการกำหนดทิศหรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ จากพระราชประวัติของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่านั้น กล่าวว่า“ เมื่อพระเอกาทศรถได้ครองราชย์สมบัติแล้ว จึงให้ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระเชษฐาธิราช แล้วทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลถวายพระเชษฐาธิราช วัด ๑ พระราชทานนามว่า วัดวรเชษฐ์”

    ข้อมูลจากหนังสือศิลปะกับโบราณคดีในสยาม ของสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ หน้าที่ ๙๑ – ๙๒ โดย น. ณ ปากน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ กล่าวไว้ว่า “ วัดวรเชษฐาราม มีอยู่สองแห่ง คือ วัดวรเชษฐาราม ซึ่งอยู่ใกล้วัดวรโพธิ์ กับ วัดวรเชษฐาราม กลางทุ่งประเชด นอกตัวเกาะอยุธยาทางทิศตะวันตก

    เมื่อตรวจดูโบราณสถาน เห็นว่าวัดกลางทุ่งประเชดเป็นวัดเก่ามีเจดีย์กลมทรงสูงองค์หนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดเป็นเจดีย์ก่ออิฐ ไม่สอปูนแบบอโยธยาและมีปรางค์เป็นหลักของวัด แม้องค์ปรางค์จะก่อด้วยเทคนิคสอปูนหนาแสดงว่ามาปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เชื่อแน่ว่าข้างในจะต้องเป็นปรางค์เก่าของวัดนั้น ซึ่งต่อมาชำรุดมาก พังลงมาสมัยอยุธยาตอนปลายจึงไปซ่อมขึ้นใหม่

    ส่วนวัดวรเชษฐ์ ซึ่งตั้งอยู่หลังพระราชวังหลวงนั้น มีเจดีย์แบบลังกาเป็นหลักของวัด และพระอุโบสถก็ก่อสร้างด้วยเทคนิคของอยุธยาสมัยกลาง ใบเสมาก็เป็นใบเสมาต้นของอยุธยาตอนกลาง จึงเชื่อแน่ว่าวัดวรเชษฐาราม ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถสร้างอุทิศให้แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”


    ข้อมูลจากรายงานการขุดแต่งวัดวรเชษฐ์ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน้าที่ ๑ – ๒ กล่าวประเด็นคัดลอกความมาได้ว่า

    “ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้จัดทำแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาพบว่า โบราณสถานทั้งหมดภายในเกาะเมือง และนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มีจำนวนประมาณ ๕๓๐ แห่ง แบ่งออกเป็น ๗ เขต สำหรับแผนแม่บทฉบับดังกล่าวใช้สำหรับเขตที่ ๑ คือ พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๑,๘๑๐ ไร่ ส่วนอีก ๖ เขต พื้น


    วันนี้จะใช้คัดลอกและแปะ เพราะเจ็บนิ้วไม่สามารถพิมพ์สัมผัสได้ ทางสายธาตุเป็นล็อคอินที่เป็นคนละคนกับ ล็อกอินมณีรัตนา ในกระทู้อ้างอิงข้างล่างนี้นะคะพูดในเรื่องเดียวกันคือ วัดวรเชษฐ์ แต่ว่าพูดถึงด้วยแง่มุมที่แตกต่างกันนะคะ ทางสายธาตุเพิ่งมาสนใจเรื่องวัดวรเชษฐ์ปีนี้เองค่ะ

    www.pantown.com/board.php?id=20365&area=3&name=board4&topic=25&action=view
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2009
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดป่าแก้ว ในความเห็นของ น. ณ ปากน้ำ

    ข้อมูลจากรายงานการขุดแต่งวัดวรเชษฐ์ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน้าที่ ๑ – ๒ กล่าวประเด็นคัดลอกความมาได้ว่า

    “ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้จัดทำแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาพบว่า โบราณสถานทั้งหมดภายในเกาะเมือง และนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มีจำนวนประมาณ ๕๓๐ แห่ง แบ่งออกเป็น ๗ เขต สำหรับแผนแม่บทฉบับดังกล่าวใช้สำหรับเขตที่ ๑ คือ พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๑,๘๑๐ ไร่ ส่วนอีก ๖ เขต พื้นที่มีโบราณสถานสำคัญที่ควรจะได้รับการอนุรักษ์เร่งด่วน นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสามารถพิจารณาดำเนินการได้ก่อน

    สำหรับวัดวรเชษฐ์ (นอกเมือง) เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันในวงวิชาการว่า จะเป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือไม่ เพราะมีวัดที่ใช้ชื่อ “วรเชษฐ์” เหมือนกัน ๒ แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ภายในตัวเมืองใกล้พระราชวังหลวง วัดนี้ขุดแต่งบูรณะแล้วและหลักฐานที่พบก็แสดงให้เห็นว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ด้วย ดังนั้นหากมีการขุดค้น-ขุดแต่ง เมื่อศึกษาทางโบราณคดีที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเมือง) คงจะได้หลักฐานที่นำไปสู่การวิเคราะห์เรื่อง “วัดวรเชษฐ์” ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

    อีกประการหนึ่งวัดวรเชษฐ์ ( นอกเมือง ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตกริมถนนสายอยุธยา-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๓) สภาพโบราณสถานยังคงมีพระปรางค์และเจดีย์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้วัดนี้โดดเด่นเป็นจุดสังเกตประจำเมืองที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้เดินทางผ่านไปมาเช่นเดียวกับเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคลเป็นจุดสังเกตด้านทิศตะวันออก และเจดีย์ภูเขาทองเป็นจุดสังเกตด้านทิศเหนือ

    งานที่ควรจะกระทำต่อเนื่องหลังจากการอนุรักษ์วัดวรเชษฐ์ คือการอนุรักษ์แนวถนนโบราณ ถนนเส้นนี้คงจะสร้างขึ้น เพื่อเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดวรเชษฐ์โดยเฉพาะแนวถนนเริ่มจากริมน้ำเจ้าพระยา (ระหว่างวัดราชพลีกับวัดกษัตราธิราช) ตรงสู่วัดวรเชษฐ์ ถนนกว้างราว ๒๐ เมตร ถมดินสูงอาจปูด้วยอิฐ ปัจจุบันแนวถนนเส้นนี้บางส่วนถูกแนวถนนใหม่สร้างทับ บางส่วนถูกประชาชนบุกรุกเข้าไปสร้างที่พักอาศัย การดำเนินการอาจจะต้องย้ายแนวถนนปัจจุบันให้พ้นเขตถนนโบราณและชดเชยบ้านเรือนราษฎรซึ่งจะต้องทำแผนในระยะต่อไป”


    หากเมื่อครั้งนั้นวัดไชยวัฒนารามได้ดึงความรุ่งเรืองไป บัดนี้วัดวรเชษฐ์จึงควรกลับคืนสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้งเสียที
     
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดป่าแก้ว ในความเห็นของ น. ณ ปากน้ำ

    หนังสือเมืองโบราณของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ เรื่อง “ศิลปะสมัยพระเจ้าปราสาททอง ” เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๗ เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน ๒๕๒๔ หน้า ๖๐ ดังนี้

    “วัดไชยวัฒนารามเป็นการอวดศักดิ์ศรีของศิลปะอยุธยารุ่นปลายของสมัยกลางแสดงความงามและใหญ่โตเหลือที่พรรณนา วัดนี้เป็นวัดของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีส่วนวัดป่าแก้วเดิมก็คือวัดวรเชษฐ์อยู่กลางทุ่งประเชด ทางทิศตะวันตก นอกตัวเมืองวัดวรเชษฐ์มีปรางค์ใหญ่เป็นหลักของวัดและมีเจดีย์ทรงสูงก่ออิฐไม่สอปูนปรากฏอยู่ด้วย เจดีย์องค์นี้คล้ายเจดีย์วัดกระซ้าย เป็นเจดีย์แบบอโยธยาแสดงว่าบนโคกนี้เคยเป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยอโยธยา พอสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้วใช้เป็นที่เผาศพเจ้าแก้วเจ้าไทยแล้วสถาปนาเป็นวัดป่าแก้ว ด้วยอยู่ทางทิศตะวันตกนอกตัวเมืองห่างออกไปเกือบสองกิโลเมตรแล้วสร้างศิลปวัตถุไว้มาก เนื่องจากเป็นวัดสำคัญเป็นที่สถิตของพระเถระผู้ใหญ่คือพระพนรัต อันเป็นสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ทั้งยังเป็นอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดินตลอดมาหลายสมัย จึงมีการสร้างถนนและพูนดินสูงและกว้างใหญ่จากวัดธรรมาราม อันเป็นท่าน้ำไปจนสู่วัดป่าแก้ว สำหรับเคลื่อนราชรถ และผู้คนจะไปนมัสการพระที่วัดนั้น

    เมื่อกล่าวถึง ผังเมืองโบราณ และประเพณีเก่านิยมให้วัดป่าแก้ว หรือวัดฝ่ายอรัญญิกต้องอยู่นอกเมืองไปทางทิศตะวันตกระยะทางไม่เกิดสองหรือสามกิโลเมตร และได้ยกตัวอย่างประกอบไว้ด้วย แต่เพราะว่ามีผู้เชื่อถือในคำสันนิษฐานเดิมว่าวัดใหญ่ชัยมงคลคือวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นการผิดพลาดด้วยเหตุผลหลายประการ

    ประการแรกวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนทรง ๘ เหลี่ยมเป็นของสมัยอโยธยา

    ประการที่สองวัดนี้ตั้งอยู่ผิดทิศผิดตำแหน่งที่จะเป็นวัดป่าแก้วคืออยู่ทิศตะวันออก ตามหลักแล้วต้องอยู่ทิศตะวันตกตายตัว ดังที่ต่าง ๆ ต่อไปนี้ วัดอรัญญิกของราชบุรี, วัดอรัญญิกของสุโขทัย, วัดป่าแดงอันเป็นฝ่ายอรัญญิกของเชียงใหม่, วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี), วัดแก้วของสรรคบุรี เป็นต้น เหล่านี้คือเมืองโบราณสำคัญที่เก่าแก่ขนาดที่เคยมีเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ปกครองมาก่อน ย่อมจะมีระบบแบบแผนเหมือนกัน

    เหตุไฉนกรุงศรีอยุธยาจึงผ่าเหล่าผ่ากอผิดเพศเพียงแห่งเดียว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ และที่จริงตำแหน่งทิศตะวันตกนอกเกาะกรุงศรีอยุธยาก็มีวัดใหญ่โตรุ่นอยุธยาตอนต้นอยู่แล้ว ที่เราเรียกว่าวัดวรเชษฐ์อยู่กลางทุ่งประเชดทั้งยังจองถนนใหญ่จากชายฝั่งไปถึงตัววัด เพื่อสะดวกในยามหน้าน้ำ กษัตริย์เจ้านายและไพร่พลจะได้ไปมาหาสู่โดยสะดวก เห็นโดยข้อสรุปว่า วัดป่าแก้วก็คือวัดกลางทุ่งประเชดนี้เอง

    และวัดนี้นี่แหละที่พระมหาจักรพรรดิ กับพรรคพวกได้ไปเสี่ยงเทียน แข่งบุญวาสนากับขุนวรวงศาธิราช ซึ่งท่านคายชานหมากปาไปจนเทียนดับกลายเป็นฤกษ์ดี เพราะเป็นที่เร้นลับไกลจากผู้คนมาก เรื่องวัดป่าแก้วกรุงศรีอยุธยานี้ ข้าพเจ้าเขียนไว้หลายครั้ง แต่ก็จำเป็นจะต้องเขียนให้ปรากฏอีกครั้งหนึ่ง เพราะยังมีคนไปตื่นหลง ๆ กับวัดใหญ่ชัยมงคลกันมากนัก ทั้งนี้ด้วยอิทธิพลของคำสันนิษฐานเดิมอันผิดพลาดเลยทำให้ผู้คนหลงผิดกันไป ข้าพเจ้านั้นออกบุกสำรวจด้วยตนเอง และลูบคลำต่อโบราณสถานนั้นเกิน ๕ ครั้งขึ้นไป ได้เห็นความใหญ่โตกว้างขวางและสิ่งก่อสร้างอันประณีตที่แสดงความสำคัญอย่างเยี่ยมยอด ถูกต้องตามตำแหน่งวัดป่าแก้วทุกประการ จึงขอยืนยันไว้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยังความถูกต้องให้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย”

     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    จากสำเนาเอกสาร เรื่อง ๔๐๑ ปี วันสวรรคต พระนเรศวร วีรกษัตริย์รักชาติซึ่งเป็นบทคำกล่าวของพิธีกรตอนหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัดวรเชษฐ์ ดังนี้ “วัดวรเชษฐ์ ขณะสถานที่สวรรคตยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอยู่บริเวณไหนกันแน่ การค้นคว้าหาพื้นที่ถวายพระเพลิง การเคลื่อนพระบรมศพ ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าตั้งอยู่บริเวณใด แต่เป็นที่เชื่อกันว่า “วัดวรเชษฐาราม” (นอกเกาะ) ซึ่งดูตามชื่อและหลักฐานที่ปรากฏในกฎหมายพระเอกาทศรถ เพื่อการถวายพระเพลิงและเก็บพระอัฐิ อีกทั้งลักษณะของปรางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลของเขมร ม.จ.ชาตรี เฉลิมยุคล บอกว่า มีการสันนิษฐานกันว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ปลงพระศพของสมเด็จพระนเรศวร เพราะมีถนนโบราณออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่นำพระโกศมาตามประเพณีต้องวนเวียนก่อน ๓ รอบ ก่อนจะนำขึ้นมาปลงพระศพ”

    ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา ๔๑๗ ปี กล่าวว่า “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีความเห็นว่า พระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างพระมงคลบพิตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และเฉลิมพระเกียรติให้แก่สมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นพระเชษฐาและเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่แก่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งนอกจากสร้างวัดวรเชษฐารามมหาวิหารอันเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี ให้แล้ว”

    (วัดวรเชษฐารามหลังพระราชวังหลวงข้างวัดวรโพธิ์เป็นวัดเล็กนิดเดียวดูไม่สมพระเกียรติยศเลย ถ้าเป็นจริงน่าจะเป็นวัดวรเชษฐ์ ริมทุ่งประเชด นอกเกาะเมือง) ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา ๔๑๗ ปี แลหลังครั้งบ้านเมืองดี ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ แต่ง ชมรมเด็ก หน้า ๒๑๘ ปรากฏชื่อวัดวรเชษฐ์ ในลำดับที่ ๔ อยู่ในกลุ่มวัดร้างด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่นเดียวกับวัดกระชาย(วัดเจ้าชาย) ซึ่งเป็นทะเบียนวัดร้างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) ได้ทำการสำรวจไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ (ร.ศ.๑๒๑) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาโบราณบุราณุรักษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ออกทำการสำรวจวัดในพระนครศรีอยุธยา ได้จัดทำบัญชีวัดร้างในอำเภอรอบกรุง (นอกเกาะเมือง) โดยใช้เกาะเมืองเป็นหลักแล้วประกอบทิศทั้งสี่เป็นหลัก ได้แบ่งกลุ่มวัดร้างไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบัน วัดวรเชษฐ (เกาะนอก) กำลังเป็นที่รู้จักในบรรดาศรัทธาธรรมผู้สนใจปฏิบัติกรรมฐานจึงขอเชิญชวนท่านผู้ใฝ่ธรรมเข้าร่วมการบวชเนกขัมมะปฎิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติบูชาพระคุณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดวรเชษฐ์ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

    ทางสายธาตุคิดว่าหากลูกหลานไทยไปสักการะระลึกถึงพระองค์ท่านกันมากๆ บ้านเมืองจะสงบได้เพราะจะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สู้ฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ กอบกู้บ้านเมืองให้ลูกหลานอยู่กันมาอย่างร่มเย็น
     
  12. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    วัดวรเชษฐ์ กับ วัดใหญ่ชัยมงคล

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR width="100%"><TD colSpan=2>วัดวรเชษฐ์ กับ วัดใหญ่ชัยมงคล


    ข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวข้องกับวัดวรเชษฐ์ และวัดใหญ่ชัยมงคล

    ปัญหาที่ตั้งของวัดวรเชษฐ์ ที่ปรากฏชื่อในคำให้การชาวกรุงเก่าว่าควรตั้งอยู่ที่ใดกันแน่สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาศึกษาว่าที่ใดน่าจะเป็นไปได้มากกว่ากัน แม้กระทั้ง น. ณ ปากน้ำซึ่งเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดี ในชั้นต้นท่านยังให้ข้อสันนิฐานว่าวัดป่าแก้วก็คือวัดใหญ่ชัยมงคล แต่ภายหลังจากที่ท่านได้สำรวจอย่างละเอียดและได้ทำการศึกษาครบถ้วนแล้วทำให้ท่านได้เปลี่ยนข้อสันนิษฐานจากเดิมเป็นว่าวัดป่าแก้วที่มีชื่อในพระราชพงศาวดารรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นปัจจุบันก็คือ วัดวรเชษฐ์ ซึ่งอยู่ในเขต ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แห่งนี้นี่เองแต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จึงสมควรเพิ่มข้อมูลให้มีข้อมูลของเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลเพิ่มขึ้น คณะศึกษาได้ศึกษาเพิ่มเติมตามที่ น. ณ ปากน้ำ กล่าวน่าสนใจมากเพราะปัจจุบัน คนไทยสับสนกันมาก เจดีย์วัดวัดใหญ่ชัยมงคลมีความเป็นมาอย่างไรแน่ พอรวบรวมได้ดังนี้

    ๑ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าของสำนักพิมพ์จดหมายเหตุ (เลขที่ ๕๓/๗๑๓ หมู่บ้านมิตรประชา ซ. ๑๔ หมู่ ๓ ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทร. ๕๘๔๕๘๗๗ กด ๑) เรื่องมหาเจดียสถาน หน้า ๑๙๒ ในข้อที่ ๘ ดังนี้

    “ข้อ๘.พระรัตนมหาธาตุ พระเจดีย์ใหญ่ พระรามาธิบดีทรงสร้าง(เห็นจะเป็นวัดใหญ่ไชยมงคล)”


    ๒ในหนังสือเมืองโบราณของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ เรื่อง “ ศิลปะสมัยพระเจ้าปราสาททอง” เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๗ เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน ๒๕๒๔ หน้า ๕๑ ดังนี้
    </TD></TR><TR width="100%"><TD width="90%"></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR width="100%"><TD colSpan=2>“หลังวัดพนัญเชิงมี เจดีย์ สถานตั้งอยู่กลางเมือง นครตรงนี้มีลำน้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกเป็นคูเมืองโอบวัดพนัญเชิงเรื่อยไปจนถึงปากน้ำแม่เบี้ย มีเรื่องเล่าถึงความเป็นไปของนครแห่งนี้ในพงศาวดารเหนือ โบราณสถานที่กล่าวอ้างถึงก็มีตัวตนจริง และล้วนเก่าก่อนกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น นครนี้ร้างโรยไปด้วยสาเหตุใดไม่มีใครทราบเลย คงปรากฏเจดีย์สถานเช่น เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดเก่าอีกเป็นเรือนร้อย ดังเจดีย์ก่ออิฐทรง ๘ เหลี่ยมไม่สอปูนด้วยเทคนิคที่ร่วมสมัยกับอู่ทอง ผิดรูปแบบกับศิลปะอันปรากฏในตัวเกาะในกรุงศรีอยุธยา”


    ๓ ในหนังสือศิลปะโบราณคดีในสยาม ของสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ เลขที่ ๘๖๐ – ๘๖๒ วังบูรพา กรุงเทพมหานคร เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ หน้าที่ ๙๒ – ๙๓ ดังนี้


    “ข้อ ๘. คลองปะจาม เป็นคลองอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเกาะอยุธยาทางทิศใต้ หรืออยู่ทางทิศเหนือของวัดพุทไธสวรรค์เป็นคลองเก่าแก่เข้าใจว่าจะเป็นคูเมืองโบราณด้วยทางทิศตะวันออกของคลองนี้ มีเมืองโบราณรุ่นทวารวดีหลายแห่งเช่นวัดพระยากง วัดพระยาพาน เป็นต้น และในพระราชพงศาวดารสมัยต้น ระบุไว้ชัดเจนว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองเก่าเรียกว่าเมืองปทาคูจาม คลองคูจามเข้าใจว่าจะเอาชื่อมาจากเมืองปทาคูจามนั่นเอง เพราะบางปากของชาวบ้านก็เรียกกันว่าคลองปะจาม พระราชพงศาวดารกล่าวถึงเมืองปทาคูจามในแผ่นดินพระเจ้ารามพระราชโอรสของพระราเมศวรดังนี้

    จึ่งพระยารามผู้เป็นพระราชบุตรได้ครองราชย์สมบัติ ได้ห้าปี สมเด็จพระยารามเจ้ามีความพิโรธแก่เจ้าพระยามหาเสนาบดี, ดำรัสสั่งให้คุมตัวเอาไป เจ้าพระยาเสนาบดีหนีรอดไปอยู่ฝากปทาคูจาม จึงให้เชิญสมเด็จพระอินทราชา ณ เมืองสุพรรณบุรีเสด็จเข้ามาถึง จึ่งเจ้าพระยามหาเสนาบดี ยกเข้าปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้, จึงเชิญสมเด็จพระอินทราชาขึ้นครองราชย์สมบัติในศักราช ๗๖๓ ปีมะเส็ง ตรีศก, ให้สมเด็จพระยาราชไปกินเมืองปทาคูจาม

    เมืองปทาคูจามนี้จะอยู่ฝั่งตะวันตกหรือออกของคลองคูจาม ข้อนี้ยังเป็นปัญหาอยู่แต่เท่าที่ตรวจสอบ สำรวจพื้นที่แถบนั้นอย่างละเอียด เห็นว่าแถบฝั่งตะวันออกของคลองมีวัดวาอารามคับคั่งกว่า และโบราณสถานเท่าที่พบก็เก่ากว่ากรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น บางทีฝั่งนี้จะเป็นเมืองปทาคูจามละกระมัง เพราะภูมิทำเลเหมาะสมกล่าวคือ ทางทิศเหนือกับทิศตะวันออกมีแม่น้ำขนาบสองด้าน ส่วนคลองคูจามก็โค้งไปบรรจบกับแม่น้ำทั้งสองด้าน ทำให้ตัวเมืองคล้ายรูปวงกลม ดังปรากฏในแผนที่ของหมอแกมเฟอร์ ซึ่งเห็นได้ชัด”

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๔ ในหนังสือคู่มือท่องเที่ยว – เรียนรู้ อยุธยา ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ และวิไลรัตน์ ยังรอด เรียบเรียง บริษัท ออฟเช็ทครีเอชั่น จำกัด พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้าที่๓๘

    กล่าวถึงวัดใหญ่ชัยมงคลว่า “ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดแห่งนี้อาจมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “วัดป่าแก้ว” สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๙๐๐ หลังจากการขุดพระศพของเจ้าแก้ว เจ้าไท ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยโรคห่าขึ้นมาฌาปนกิจแล้ว

    นอกจากนี้ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพยังทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จร่วมรบในสงครามยุทธหัตถีไม่ทัน มีความผิดต้องโทษประหาร สมเด็จพระวันรัตน์ ซึ่งประทับอยู่ที่วัดแห่งนี้จึงทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้พร้อมกับทูลให้สร้างพระเจดีย์เป็นที่ระลึกและเฉลิมพระเกียรติแทนเรียกว่า “เจดีย์ชัยมงคล” ต่อมาการเรียกชื่อวัดเปลี่ยนไป มีการนำชื่อสามัญที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหญ่” มารวมกับชื่อ “เจดีย์ชัยมงคล” ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงสันนิษฐานไว้ กลายเป็นวัดใหญ่ชัยมงคลในที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านยังไม่เชื่อว่าวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบันนี้ จะหมายถึงวัดป่าแก้วดังที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯทรงสันนิษฐานไว้”


    นอกจากนั้นในหน้าที่ ๓๙ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การก่อสร้างองค์ระฆังใช้วิธีเรียงอิฐเป็นห้องคล้ายโดม นักวิชาการบางท่านเสนอแนะว่าเป็นเทคนิคการก่อสร้างแบบเปอร์เชีย ซึ่งกรุงศรีอยุธยาได้รับมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ด้วยเหตุนี้เจดีย์องค์นี้จึงน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งแตกต่างจากข้อสันนิษฐานเดิมที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวร”

    เรื่องเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คณะได้มีโอกาสพบกับ ดร.สุวิชญ์ รัศมิภูติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร ท่านได้กรุณาเล่าให้คณะฟังที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๐ เวลาประมาณ ๑๐๓๐ นาฬิกา ท่านกล่าวว่า “ ในคราวซ่อมเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลผมได้มีโอกาสเข้าไปภายในองค์เจดีย์ ภายในองค์เจดีย์นั้น มีเจดีย์ทรงลังกาอีกองค์หนึ่ง แต่เล็กกว่า” คณะได้ถามว่าเคยทราบมาว่าระหว่างการซ่อมเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลได้เคยมีการกล่าวกันว่าได้พบว่ามีจารึกคาถาบทหนึ่งชื่อ คาถาพาหุง ซึ่งเป็นบทที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงโปรด และทรงสวดบทนี้อยู่เสมอ แม้ตอนจะทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชก็ทรงใช้ ไม่ทราบว่าได้เห็นหรือไม่ ท่านตอบว่า “ ไม่เห็นว่ามีคาถาบทดังกล่าวว่ามีอยู่ในเจดีย์ ”

    ดังนั้นสิ่งที่เคยทราบกันมาก็อาจไม่จริง นอกจากนั้นยังนำมาผูกกับเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่าหลังจากทรงมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชแล้วทรงสร้างเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลโดยผูกกับคาถาบทพาหุง ซึ่งคาถาบทนี้ในศรีลังกา ก็ มี การสวดเช่นกัน มีความไพเราะมาก คาถานี้มีมานานแล้ว และได้เผยแพร่มาสู่กรุงศรีอยุธยา แล้วสืบทอดออกไปทั่วในหนังสือสวดมนต์ ซึ่งถือว่าเป็นบทที่สำคัญบทหนึ่ง หากท่านได้อ่านมาแล้วทั้งหมด จะพอสรุปได้ว่าเมืองปทาคูจามมีเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางเมือง ก็คือเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล อีกทั้งรูปแบบของศิลปะการก่อสร้างก็ไม่ใช่ของกรุงศรีอยุธยา จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่ได้ทรงสร้างเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล ตามเอกสารบางฉบับ ยังทราบอีกว่าเป็นเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางเมืองปทาคูจาม ดังนั้นพอจะเห็นลาง ๆ แล้วว่าอะไรเป็นอะไร ท่านต้องสรุปเอง หรือไปศึกษาเพิ่มเติม

    คัดจาก หนังสือ “วาระสุดท้ายและสิ่งที่เป็นอมตะ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อยู่ที่ไหน”

    โดยได้รับอนุญาตเผยแพร่ จากหลวงปู่สิงห์ทน นราสโภ พระอาจารย์วิชชนันท์ มหาปุญโญ

    และ พล.ต. พิจิตร ขจรกล่ำ (ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก)

    เรื่องคาถาพาหุงฯในวัดใหญ่ชัยมงคล ทางสายธาตุไม่มีความเห็นเพราะทางสายธาตุก็เป็นนับถือหลวงพ่อจรัญเช่นกัน ขอไม่ออกความเห็นตรงนี้ค่ะ

    วัดพนัญเชิง เคยใช้ชื่อเดิมว่า วัดเจ้าพระนางเชิง ที่นายจ๊าก มิใช่สะกดอย่างนี้ต้องอย่างนี้ ฌาคส์ เดอร์ ครู๊ทส์ ชาวเบลเยี่ยม ทำงานให้บริษัทโปรตุเกส เข้ามาสยาม 8 เดือน ในปีพ.ศ. 2139 เล่าว่า พระนเรศวรทรงสร้างพระองค์ใหญ่ไว้กลางแจ้งที่บริเวณวัดเจ้าพระนางเชิงแห่งนี้ ทางสายธาตุกำลังหาต้นฉบับจดหมายนายจ๊ากอยู่

    ติดเรื่องเจดีย์คู่หน้าวัดวรเชษฐาราม(ในเมือง)ไว้ก่อนนะคะ ยังหารูปไม่ได้ ซึ่งอาจต้องแวะไปชมสถานที่จริงตามวาระที่จะไปอยุธยาครั้งหน้า หน้าหนาว

    ผู้อ่านคงจะงงว่าวัดป่าแก้ว กับวัดวรเชษฐ์(นอกเกาะ)จะสรุปแล้วคือวัดเดียวกันใช่หรือไม่ ทางสายธาตุก็ยังงงอยู่ ตอนนี้ความเห็นส่วนตัว สรุปว่าเป็นวัดวรเชษฐ์ ที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว

    และจากหลักฐานการเป็นวัดป่าแก้ว ก็เห็นด้วยมาตั้งแต่เริ่มเขียนกระทู้นี้ น่าจะอยู่สักหน้า 6 หน้า 7 ของกระทู้นี้ ที่ทางสายธาตุเชื่อว่าที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) นี้เป็นวัดป่าแก้ว

    ตอนนี้เพียงแต่ขอติดไว้ก่อนที่จะต้องสรุปว่า วัดป่าแก้ว กับ วัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) เป็นวัดเดียวกัน เพราะยังไม่เข้าใจว่าทำไมวัดที่สำคัญมากๆ สองวัด จะเป็นวัดเดียวกันได้ ???
     
  13. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เครื่องยศคชภรณ์ช้างต้น


    การสร้างเครื่องยศคชาภรณ์ช้างต้น


    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีกระแสพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรสร้างเครื่องยศคชาภรณ์ช้างต้นชุดใหม่ เพื่อพระราชทานพระเสวตอดุลยเดชพาหนฯ ในเบื้องต้นอธิบดีกรมศิลปากรได้มอบหมายให้ สำนักช่างสิบหมู่ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างเครื่องยศคชาภรณ์ช้างต้นให้เป็นไปตามแบบแผนราชประเพณี ในการนี้ ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ได้กำหนดให้ กลุ่มประณีตศิลป์และการช่างไทย เป็นผู้จัดสร้าง ขั้นตอนดำเนินงานดังนี้


    ๑. สำรวจและรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ

    ๒. เขียนแบบ ออกแบบ และขยายแบบเท่าจริง

    ๓. จัดทำต้นแบบขนาดเท่าจริงด้วยวัสดุผสม

    [​IMG]

    ภาพตัวอย่างส่วนประกอบคชาภรณ์

    เมื่อจัดสร้างเครื่องยศคชาภรณ์ฯ ต้นแบบเป็นชุดลำลองเสร็จแล้ว ในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อธิบดีกรมศิลปากรได้นำคณะช่างไป ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อทดลองแต่งเครื่องคชาภรณ์ชุดลำลอง เมื่อทดลองแต่งและปรับสัดส่วนได้ตามขนาดร่างกายของพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ จนดูเหมาะสมงดงามดีแล้ว ได้วัดขนาดงาทั้ง ๒ ข้าง เพื่อจัดทำวลัยงาเพิ่มเติม ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่ง และก่อนที่คณะทำงานจะเดินทางกลับ อธิบดีกรมศิลปากรได้มอบผ้าปกกระพองลำลองไว้กับ นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ และนายวุฒิได้มอบหางจามรีสีขาว ซึ่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศเนปาล จัดหาส่งมาเพื่อให้กรมศิลปากรใช้ทำพู่หู และพู่ประดับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ แทนของเดิมซึ่งชำรุดและเก่ามาก



    ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรได้รับทราบจาก นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทอดพระเนตรและพิจารณาแบบจำลองแล้ว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างได้ตามรูปแบบที่ทำลำลองไว้นั้น คณะช่างจึงเริ่มต้นดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้วัสดุและวิธีการสร้าง ดังต่อไปนี้


    ผ้าปกกระพอง ทำด้วยผ้าเยียรบับลายทองพื้นแดง เย็บเป็นแผ่นรูปทรงคล้ายกลีบบัว ชายขอบผ้าทำเป็นริ้วลายทองพื้นเขียวอยู่ด้านใน พื้นแดงอยู่ด้านนอก ๒ ริ้ว ขลิบริมด้วยดิ้นเลื่อม ขนาดความกว้างของผ้าตรงรูปฐานกลีบบัว ยาว ๘๒ ซ.ม. ความยาวจากฐานกลีบบัวจรดปลายปลายแหลมของกลีบบัวยาว ๕๕ ซ.ม. ส่วนฐานของกลีบบัวเชื่อมต่อกับตาข่ายแก้วกุดั่น


    ตาข่ายแก้วกุดั่นหรืออุบะแก้วกุดั่น ทำด้วยลูกปักแก้ว (เพชรรัสเซีย) เจียระไน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๒ ม.ม. จำนวน ๘๑๐ เม็ด เจาะรูตรงกลาง ร้อยด้วยสายทองคำถัก แบบที่เรียกว่า สร้อยหกเสา เริ่มต้นทำเป็นตาข่ายโดยการร้อยลูกปัดแก้ว จำนวน ๙ ลูก แล้วผูกเป็นจุดเชื่อมตาข่าย ร้อยลูกปัดแก้วอีก ๙ ลูกผูกติดกับฐานกลีบบัวผ้าปกกระพองเป็นช่วง ๆ รวม ๙ ช่วงเรียงไปตลอดความยาวของฐานกลีบบัว แถวที่ ๒ เริ่มต้นจากกึ่งกลางของช่วงแรกซึ่งเป็นจุดเชื่อมร้อยลูกปัด ๙ ลูก แล้วผูกไว้ทำต่อไปเช่นนี้ให้เป็นตาข่ายรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือที่เรียกกันว่า อุบะหน้าช้าง มีความยาวด้านละ ๑๐๐ ซ.ม. เท่ากันทั้งสองด้าน ระยะจากปลายยอดสามเหลี่ยมถึงฐานกลีบบัว กว้าง ๘๗ ซ.ม. จุดที่สายทองคำถักร้อยลูกปัดแก้วประสานตัดกันเป็นตาข่าย ทุกจุดประดับด้วยดอกลายประจำยามทองคำประดับพลอยสีเขียว สีแดง และสีขาว ขนาดกว้างด้านละ ๕ ซ.ม. ห้อยด้วยพวงอุบะทองคำประดับพลอยสีแดง และสีขาว ยาว ๑๐ ซ.ม. มีจำนวนรวม ๔๗ จุด และยังได้เพิ่มอุบะที่ตาข่ายแก้วเจียระไนตรงจุดที่ต่อกับผ้าปกกระพองอีก ๒ แถว


    พู่หูทำด้วยขนหางจามรีสีขาวบริสุทธิ์ เป็นเครื่องประดับทรงพู่ใช้ห้อยจากผ้าปกกระพอง ลงมาอยู่ส่วนหน้าของใบหูทั้งสองข้าง ในการประกอบเป็นตัวพู่ หรือลูกพู่ เบื้องต้นต้องทำแกนด้วยผ้าขาวเป็นรูปดอกบัวตูม มีเชือกหุ้มผ้าตาดทองต่อจากขั้วแกน เพื่อใช้ผูกกับผ้าปกกระพอง ต่อจากนั้นเย็บขนจามรีประกอบเข้ากับแกนที่เตรียมไว้ จำนวน ๒ พู่ พู่หรือลูกพู่นี้เมื่อเย็บขนจามรี เสร็จแล้วจะมีรูปทรงคล้ายดอกบัว มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่วนที่กว้างที่สุด ๒๖ ซ.ม.


    ผ้าคลุมพู่ทำด้วยผ้าเยียรบับรูปดาวหกแฉก ใช้คลุมบนขั้วพู่จามรี โดยเจาะรูตรงกลางเพื่อใช้เป็นที่ร้อยเชือก ขอบผ้าริมนอกขลิบด้วยผ้าตาดทอง ริมในขลิบด้วยผ้าสีแดง


    จงกลพู่ เป็นส่วนที่ใช้ครอบบนขั้วพู่ทับอยู่บนผ้าคลุมพู่ ทำด้วยทองคำบุดุนลงยาสีเขียว และสีแดง ทำเป็นลายดอกบัวคว่ำ ปลายกลีบดอกบานออกเล็กน้อย ลักษณะรูปทรงคล้ายกรวย ตัวจงกลพู่ยาว ๑๒ ซ.ม. ปากจงกลพู่เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง ๘.๐๒ ซ.ม. โคนจงกลพู่เจาะรูเป็นที่ร้อยเชือกจากขั้วพู่ เส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง ๑.๐๘ ซ.ม. ความยาวของพู่หูจากปลายจงกลถึงปลายแหลมของตัวพู่ประมาณ ๕๒ ซ.ม. เส้นรอบวงของพู่ประมาณ ๗๖ ซ.ม.


    [​IMG]

    เสมาคชาภรณ์ สร้อยคอ และวลัยงา


    เสมาคชาภรณ์เป็นจี้หรือเครื่องประดับรูปใบเสมาสำหรับร้อยสายสร้อยผูกคอ ขนาดกว้าง ๑๑.๐๕ ซ.ม. ยาว ๑๔.๐๕ ซ.ม. ทำด้วยทองคำลงยา ด้านหน้าบุดุนเป็นรูปพระราชลัญจกร พระมหามงกุฎอุณาโลม ยอดพระมหามงกุฎเปล่งรัศมี ด้านข้างพระมหามงกุฎกระนาบด้วยลายช่อดอกลอยใบเทศ มีลายประดับรับส่วนล่าง กรอบใบเสมาบุดุนเป็นลายรูปพญานาค ๒ ตัว ใช้หางเกี้ยวกัน ส่วนบนของใบเสมาตีปลอก บุ ดุนลายลวดลายลงยา มีลูกปัดทองทรงกลมกลวงสำหรับสอดร้อยด้วยสายสร้อยทองคำ ลูกปัดทั้งสองมีขนาดกว้าง ๒ ซ.ม. ยาว ๒ ซ.ม.


    สร้อยคอหรือสายสร้อยผูกคอทำด้วยทองคำ เป็นรูปห่วงเกลียวมีเส้นผ่าศูนย์กลาง สายเกลียวประมาณ ๑.๑ ซ.ม. ความยาวของสายสร้อย ๒๘๕ ซ.ม

    ตาบ หรือ ตาบทิศเป็นเครื่องประดับติดอยู่กับพานหน้า และพานหลัง ทำด้วยทองคำบุดุนฉลุลายดอกประจำยามประดับพลอยสีเขียว สีแดง และสีขาว รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ ๗ ซ.ม. สำหรับประดับพานหน้า ส่วนที่อยู่ใกล้กับไหล่ ๒ ข้าง และประดับพานหลัง ส่วนที่อยู่ใกล้ตะโพก ๒ ด้าน รวม ๔ ดอก


    วลัยงา หรือ สนับงาเป็นเครื่องประดับงา ใช้สวมงาทั้ง ๒ ข้าง ๆ ละ ๓ วง รวม ๖ วง ทำด้วยทองคำบุดุนประดับพลอยสีเขียว สีแดง และสีขาว


    สำอางเป็นห่วงคล้องอยู่ส่วนท้ายช้างใต้โคนหาง เพื่อยึดกับพานหลัง ทำด้วยทองเหลืองชุบทอง มีลายประดับทำด้วยวิธีพิมพ์แกะลายบริเวณที่เป็นรูปขอ ก่อนนำไปหล่อ ขนาดสำอาง กว้าง ๓๓ ซ.ม. ยาว ๓๖ ซ.ม.


    ทามคอ พานหน้า พานหลัง โยงพานหลัง และสายรัดประคนทำด้วยผ้าถักแบบสายพานหุ้มด้วยผ้าตาดทอง มีห่วงโลหะชุบทองเป็นตัวเกี่ยวประสานผูกด้วยเชือกหุ้มผ้าตาดทองทุกเส้น


    [​IMG]
    พนาศเป็นผ้าคลุมหลังช้าง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยผ้าเยียรบับ ท้องผ้า เป็นลายทองพื้นเหลือง ตามสีประจำวันพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้อมด้วยผ้าตาดทองพื้นแดงด้านหลังผ้าเยียรบับต้องใช้ผ้าซับกาวรีดทับเพื่อไม่ให้ริมผ้าหลุด ชายขอบผ้าชั้นนอกทั้ง ๔ ด้านขลิบด้วยดิ้นทอง ๒ ชั้น และปิดทับรอยต่อของผ้าตาดเป็นขอบชั้นในส่วนชายผ้า ๒ ด้านที่ห้อยลงมาอยู่ข้างท้องช้างนั้น ตรงกลางท้องผ้าติดคันชีพ ทำเป็นกระเป๋าผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้ม ขนาดกว้าง ๒๙ ซ.ม. ยาว ๓๖ ซ.ม. ขลิบริมด้วยดิ้นทองทั้ง ๔ ด้าน ตรงกลางปักลายพระราชลัญจกรพระมหามงกุฎอุณาโลมด้วยไหมเหลือง ที่คันชีพทั้ง ๒ ข้าง ติดเม็ดดุมทำด้วยแก้วเจียระไนสายคล้องดุมทำด้วยทองคำ ขอบชายผ้าต่อจากคันชีพลงไปมีผ้าระบายซ้อน ๓ ชั้น แต่ละชั้นขลิบด้วยดิ้นทองตกแต่งด้วยตุ้งติ้งประกอบชายผ้าทั้ง ๓ ชั้น

    เครื่องยศคชาภรณ์ช้างต้นชุดใหม่ที่สร้างเสร็จนี้ มีส่วนที่ทำด้วยทองคำน้ำหนักรวม ๕,๙๙๓.๒๗ กรัม หรือประมาณ ๖ กิโลกรัม


    [​IMG]

    พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ


    เมื่อคณะช่างดำเนินการสร้างเครื่องยศคชาภรณ์ช้างต้น สำหรับพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ตามแบบเรียบร้อยแล้ว วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อธิบดีกรมศิลปากรได้นำคณะทำงาน พร้อมด้วยเครื่องยศคชาภรณ์ฯ ชุดใหม่ไป ณ โรงช้างต้น พระราชวังไกลกังวล เพื่อทดลองแต่งให้พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ พร้อมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยเป็นรายชิ้นให้ครบถ้วน จนกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องยศคชาภรณ์ช้างต้นที่งดงาม แต่งได้เหมาะสมกับร่างกายที่สมบูรณ์ใหญ่โตของพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกประการ


    นำเรื่องรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยมาลง คิดว่าเจ้าพระยาปราบหงสาวดีคงจะเคยได้รับเครื่องยศชนิดนี้เช่นกันค่ะ

    http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/08/06/entry-1
    </TD></TR></TBODY>
    </TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2009
  14. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อ่านหนังสือ จิ้มก้องและกำไร การค้าไทย-จีน 2195-2396 ผู้แต่ง ดร.สารสิน วีรผล ตามหาตระกูลตัน (เจ้าขรัวเงิน มีต้นตระกูลเป็นอัครมหาเสนาบดี มาจากกรุงปักกิ่ง ราชวงศ์หมิง) ตัน เป็นภาษาฮกเกี้ยน ตั้ง อ่านแบบแต้จิ๋ว เฉิน อ่านแบบจีนกลาง

    อ่านเอาความ แต่อ่านยากเหมือนกันเล่มนี้ ภาษาวิชาการ อ่านหน้า 40 พบข้อความกล่าวถึงตระกูลตั้ง (ซึ่งในแผ่นทองจารึกผู้ถวายพระพิมพ์ทองคำในกรุวัดราชบูรณะ มีคนตระกูลตั้งจารึกไว้ด้วย)

    เก็บไว้คุยพร้อมๆกับเรื่องลายดอกโบตั๋นบนเครื่องทอง และการบูรณะวัดราชบูรณะ ประกอบแผนที่โบราณ หลังจากจบเรื่องพระปรางค์ก่อนนะคะ

    ขอคุยเรื่องความเป็นวัดป่าแก้วนะคะ ถ้าอ่านตรงนี้

    วัดป่าแก้ว คือวัดที่เป็นวัดที่พระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประจำ ? หากวัดใดเป็นวัดที่พระเจ้าอยู่หัวอาราธนาพระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประทับก็จะเป็นวัดป่าแก้วหรือ? โดยอยู่ในเงื่อนไขสำคัญที่วัดนั้นจะต้องอยู่ด้านตะวันตกของกรุง ตามนิยามวัดป่าแก้วประจำกรุง หากมีอีกวัดหนึ่งอยู่ด้านตะวันตกของกรุงศรีฯ แล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาพระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประทับ วัดดังกล่าวนี้ก็จะมีความเป็นวัดป่าแก้วใช่หรือไม่คะ ยังขบไม่แตกว่าวัดป่าแก้วของเมืองแต่ละเมืองนั้นมีเพื่อจุดประสงค์อะไรค่ะ สมมติคุณสมบัติความเป็นวัดป่าแก้วจะติดตามองค์พระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่าประทับวัดไหนเป็นจริง ก็จะหาข้อสรุปได้ง่ายขึ้นน่ะค่ะ
     
  15. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    Pagode Royale


    [​IMG]
    ด้านตะวันตกที่เขียนว่า Pagode Royale เป็นภาษาฝรั่งเศส แต่ถ้าดูแผนที่ลักษณะเดียวกัน (มีหลายรูปที่รูปร่างแผนที่เหมือนกัน)

    ดูหนังสือกรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง หน้า 80 ตำแหน่ง Pagode Royale เขียนไว้ในภาษาดัตช์ ว่า Koninglyke Pagode

    ซึ่งคำว่า Koning แปลว่า King เดาคำว่า Koninglyke Pagode ว่า King's Pagoda แสดงถึงว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์สยาม

    ในฝั่งตะวันตกที่มีประวัติในพงศาวดารว่าบรรจุพระบรมอัฐิของกษัตริย์ในเจดีย์ ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีวัดใด นอกจากวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระเชษฐา

    ถ้าวัดนี้ถูกระบุได้ชัดเจนว่าเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้าง พระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชย่อมสถิตย์อยู่ที่นี่

    เจ้าแก้วกับเจ้าไท ที่พระเจ้าอู่ทองทรงพระราชทานเพลิงพระศพที่นี่ พระอัฐิของทั้งเจ้าแก้วและเจ้าไท ก็ยังเรียกว่า King ไม่ได้เพราะพระองค์ทั้งสอง ยังไม่ได้เป็น King

    หากลงเรื่องพระปรางค์ ได้จบเมื่อใด จะห่างหายไปอีกพักนะคะ เพราะจะเข้าสู่เรื่องใหม่ เรื่องของทองและภาพเขียน ซึ่งตอนนี้ข้อมูลพอมีแล้วแต่ยังไม่ตกตะกอน

    เรื่องแรงบันดาลพระทัยสมเด็จพระเอกาทศรถทรงสร้างทรงพระปรางค์เป็นประธานวัดวรเชษฐ์ ก็ยังหาไม่ได้ค่ะ อีกทั้งทำไมจึงสร้างโบสถ์หลังพระปรางค์ก็ยังหาไม่ได้ แต่พอจะรู้ๆว่า สมัยก่อนนั้นทหารตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวไปวัดกันเยอะ ลานหน้าพระปรางค์นั้น นั่งปฎิบัติธรรมได้หลายร้อยจนถึงหลักพันคนได้ และใต้ฐานพระปรางค์ มีบันไดลงห้องใต้ดินพระปรางค์ ซึ่งใต้พระปรางค์ก็ยังเหมือนห้องโถงใหญ่ที่พอจะทำพระราชพิธี เป็นการส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ได้ดีกว่า เจดีย์ที่วัดวรเชษฐาราม ที่ตั้งอยู่บนพื้นดินเฉยๆ


    ข้อมูลแวดล้อมอื่นๆเรื่องการสร้างเจดีย์ทรงพระปรางค์ มีดังนี้

    ปี พ.ศ. 2145 ในพงศาวดารบันทึกไว้สั้นๆว่า สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปลพบุรี ที่ลพบุรีนี้มีพระปรางค์ศิลปะขอมเยอะ เช่นวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี ลายที่ประดับพระปรางค์วัดนี้ที่ลพบุรีก็เป็นศิลปะจีน แต่ไม่มีลายประดับปูนปั้นบัวมีไส้ (เชียง-เป่า-ฮวา)ที่พบที่วัดวรเชษฐ์ พระองค์ท่านจะประทับใจปราสาทขอมสมัยทวาราวดีเหล่านั้นหรือไม่ จนนำมาซึ่งการกลับมานิยมเจดีย์ทรงพระปรางค์อีกครั้ง ?

    เจดีย์ทรงปรางค์ แข็งแรงกว่าเจดีย์ทรงระฆัง ยอดเจดีย์ระฆังมักจะหักอย่างรวดเร็ว แบบอย่างทรงพระปรางค์ของขอมนี้คงทนกว่า ?

    วัดพระศรีมหาธาตุ ที่พิษณุโลก ก็สร้างเป็นพระเจดีย์เป็นทรงพระปรางค์ แต่มีอุโบสถอยู่หน้าพระเจดีย์ ตรงนี้ทางสายธาตุว่าเป็นไปได้มากที่สุด เพราะทรงผูกพันกับวัดนี้ พระเอกาทศรถก็ทรงผูกพันกับที่นี่เช่นกัน สร้างตามที่วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ?


    เรื่องเกี่ยวกับวัดวรเชษฐ์ ที่ยังหาข้อมูลไม่พบคือ

    1.เจดีย์คู่หน้าวัดวรเชษฐารามมีหรือไม่ และเป็นทรงเดียวกันกับที่วัดวรเชษฐ์หรือไม่ ? ทรงเดียวกับที่วัดสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดตาก หรือไม่

    2.ทำไมพระปรางค์อยู่หน้าโบสถ์ เหตุผลเรื่องการใช้พื้นที่อย่างที่เดาไว้ หรือเหตุผลคติความเชื่อทางศาสนา หรือความนิยม หรือเป็นความพิเศษเฉพาะที่วัดวรเชษฐ์ที่เดียว ?


    ขอเวลาหาข้อมูลนะคะ คงต้องใช้เวลาพักหนึ่ง



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • juthia1764.jpg
      juthia1764.jpg
      ขนาดไฟล์:
      289.8 KB
      เปิดดู:
      11,837
  16. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ^^ เพิ่งจะทราบที่คุณพิชญ์ เคยถามว่าเคยเห็นทางสายธาตุสมัครเป็นสมาชิกเวปนี้นานแล้ว ทางสายธาตุถึงบางอ้อแล้ว มีล็อกอิน ที่ชื่อ มณีรัตนา พูดเรื่องวัดวรเชษฐ์ เมื่อสักปีหรือสองปีก่อนนี่เอง บางอ้อ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD id=username_box vAlign=top width="100%">[​IMG][​IMG]

    มณีรัตนา [​IMG]

    สมาชิก




    </TD></TR></TBODY></TABLE>กิจกรรมล่าสุด: 19-01-2009 02:17 PM






    <FIELDSET class=statistics_group><LEGEND>Total Posts</LEGEND>
    </FIELDSET> <FIELDSET class=statistics_group><LEGEND>Total Groans</LEGEND>
    </FIELDSET> <FIELDSET class=statistics_group><LEGEND>Total Thanks</LEGEND>
    </FIELDSET> <FIELDSET class=statistics_group><LEGEND>General Information</LEGEND>
    • กิจกรรมล่าสุด: 19-01-2009 02:17 PM
    • วันที่สมัคร: 24-02-2006
    </FIELDSET> <FIELDSET class=statistics_group><LEGEND>Donation System</LEGEND>
    • Current Month:
    • Current Year:
    • Since Start:
    </FIELDSET>



    <SCRIPT type=text/javascript> <!-- var vbseo_opentab=document.location.hash;vbseo_opentab = vbseo_opentab.substring(1,vbseo_opentab.length);vBulletin.register_control("vB_TabCtrl", "profile_tabs", "" ? "" : vbseo_opentab, "&raquo;", "profile.php?u=2&do=loadtab&tabid={1:tabid}"); //--> </SCRIPT>

    [​IMG] Mini Statistics

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width="100%"><DL class="smallfont list_no_decoration profilefield_list"><DT class=shade>วันที่สมัคร <DD>24-02-2006 <DT class=shade>Total Posts <DD>9 </DD></DL></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขออภัย ไม่รู้เรื่องนี้จริงๆทำให้หลายคนสับสน ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2552 ทางสายธาตุยังเล่นในเวปไซด์พันธ์ทิพย์อยู่ ในนามล็อกอิน สโมสร สหแมวสากล ซึ่งเปลี่ยนมาจาก ล็อกอิน dokbotan (เอาสัมผัสที่ได้จากสมาธิมาตั้งชื่อล็อคอินตัวเองเมื่อ 2 ปีก่อน) คุยแต่เรื่องแมว แมว แมว เท่านั้น ไม่ค่อยได้คุยเรื่องอื่น ปีนี้จำเป็นต้องเข้าเวปนี้เพราะเบื่อว่าคนไทยแบ่งสีเสื้อกัน เอาสีเป็นเหมือนธงประเทศของตนไปแล้ว สีนั้นอาณาเขตนั้น สีนี้อาณาเขตนี้ เบื่อคนไทยไม่รักกัน เบื่อเศรษฐกิจตกต่ำเพราะการเมืองอ่อนแอ ต้องการจะไปฟ้องพระสยามเทวาธิราช จึงมีคนแนะนำให้ไปวัดวรเชษฐ์ (นอกเกาะ) บอกว่าพระนเรศวรนั้นท่านเป็นพระสยามเทวาธิราช ว่าจะไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 แต่ป๋า google โชว์รูปอันวังเวงของวัดวรเชษฐ์ให้ชม ทางสายธาตุเลยกลัวไปแล้วจะมีผีตามกลับบ้านค่ะ

    จนล่วงไปอีกกว่าอาทิตย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปดลใจพี่สะใภ้ให้มาชวนว่าไปด้วยกันไม่ต้องกลัว จิตของพี่สะใภ้เขาบอกว่ายังไงๆ เราก็ต้องไป จึงตกลงใจวันนั้นไปด้วยกันทั้งหมด 5 คน ไปวัดนี้วันแรก 11 มกราคม 2552 ก่อนวันบวงสรวงใหญ่ที่จะจัดในวันที่ 12 มกราคม 2552 หนึ่งวัน

    ทางสายธาตุไม่เคยร่วมสนทนาเรื่องวัดวรเชษฐ์และเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาก่อนจนกระทั่งหลังวันที่ 11 มกราคม เป็นต้นมานะคะ เกิดกรุงเทพฯ โรงพยาบาลศิริราช เด็กเทพฯโดยกำเนิด
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434

    [​IMG]
    อ่านแผนที่ตามกำลังที่ทางสายธาตุจะอ่านได้นะคะ

    A : Rue des Maures = Street of Moors = ถนนสายมัวร์ (แขกมัวร์)

    B : Rue Napetat = Na Pratat street = ถนนหน้าพระธาตุ (ตอนแรกเดาว่า มหาธาตุ แต่คิดว่า หน้าพระธาตุ น่าจะตรงกว่า และ napetat ไม่มีคำแปลในภาษาฝรั่งเศส)

    C : Rue da Barcalon = Street of Praklang = ถนนพระยาพระคลัง (ถนนนี้มีตึกสองข้าง เป็นแหล่งห้างร้านหรูหา ในแผนที่เขียนว่า street of barzarr แสดงไว้ในอีกแผนที่หนึ่ง บ้านพระยาพระคลัง (ปาน) อยู่หลังตึกบาร์ซาร์เหล่านี้ ทางเข้าอยู่ระหว่างตึกสองตึก เปิดช่องเป็นซอยเข้าบ้านอยู่ไม่ลึก ปัจจุบันคือบริเวณพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา และเป็นบ้านเดิมของเจ้าแม่วัดดุสิต)

    D. Rue au feu = Street to fire = ถนนไปยังไฟ (ไปหน้าทุ่งพระเมรุหรือเปล่าไม่แน่ใจค่ะ

    E. Rue des elephans = Street of Elephants = ถนนของช้าง (ถนนช้างเดินละมั้งคะ คงต้องบดอัดอย่างดี ไม่งั้นจะเป็นหลุมเป็นบ่อ)

    F. Rue de Palais = Street of the Palace = ถนนพระบรมมหาราชวัง

    E. Rue Chinoise = Chinese streets = ถนนคนจีน (เหมือนเยาวราช ในกรุงเทพฯ มั้งคะ ว่าไหมคะ)

    H. Pagode de la Reine = Pagoda of the Queen = พระเจดีย์ของพระราชินี

    J. Pagode Chinoise = Chinese pagoda = เจดีย์ของคนจีน (เป็นย่านถนนตาล ตอนนี้เข้ามาอยู่ในความสนใจของทางสายธาตุ เพราะหาที่เก็บกระดูก ไจ้เซี่ยง อยู่)

    K. Ancien Quartier des Francoise = Ancient District of French = ตำบลเก่าแก่ของชาวฝรั่งเศส (แต่ว่า มีใครหาในแผนที่เจอบ้างว่า K อยู่ไหน ทางสายธาตุหาคนตาลายก็ยังไม่เห็นเลย)

    อ่านเอาสนุกๆ ถือว่าพาเที่ยวนะคะ ^^






     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    Rue des Bazars

    [​IMG]


    สยามหรือยูเดีย (Siam, o' Iudia) แผนที่กรุงศรีอยุธยาโดยวินเซนโซ โคโรเนลลี (Vincenzo Coronelli) นักบวชและนักเขียนแผนที่ชาวอิตาลี่ พิมพ์ที่กรุงเวนิส ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ. ๒๒๓๙ ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา เป็นแผนที่กรุงศรีอยุธยาที่ปรับปรุงใหม่จากแผนที่ Siam ou Iudia โดยกูร์โตแล็ง (ภาพจากห้องสมุดส่วนบุคคล ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช)


    กลางพระนครจะเห็นตึกมีหลังคาแดงๆ เรียงไปสองแถว จากด้านใต้ไปจนจะถึงพระบรมมหาราชวัง หรือ Rue des Bazars ถนนสายบาร์ซ่าร์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บนถนนพระยาพระคลัง ส่วนถนนมหารัฐยา คิดว่าเส้นที่ขนานกันแต่อยู่ด้านตะวันตกของถนนพระยาพระคลัง ไว้สำหรับให้ขบวนพระราชพิธี หรือขบวนรัฐพิธี ​
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แผนที่ในจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์

    [​IMG]

    จะมีคำอธิบายมากขึ้นกว่ารูปสีด้านบน แผนที่นี้บันทึกไว้ในหนังสือ A Historical Relation of the Kingdom of Siam หรือจดหมายเหตุเดอ ลา ลูแบร์ ฉบับแปลภาษาอังกฤษ แผนที่กรุงศรีอยุธยาแผ่นนี้มีความสมบูรณ์ด้อยกว่าแผนที่ในจดหมายเหตุฉบับภาษาฝรั่งเศส เพราะขาดรายละเอียดบริเวณเหนือเกาะกรุงศรีอยุธยา​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,920
    ค่าพลัง:
    +6,434
    กระทู้หนักวิชาการไปหน่อยนะคะ ถ้าถามว่าจิตลึกๆอยากเขียนทำไมก็คง ตามดูว่ามีหลักฐานจริงไหม หาหลักฐานอะไรประกอบความเชื่อได้บ้าง

    และที่สำคัญอยากให้วัดวรเชษฐ์ หมดจากปัญหารุมเร้าทั้งเรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่มีส่วนราชการสามฝ่ายครอบครองอยู่

    การปกครองของคณะสงฆ์แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายปกครองที่แต่งตั้งมา กับฝ่ายปฎิบัติตั้งใจทำงานสนองพระคุณสมเด็จพระนเรศวร (ปัญหาลึกๆ ไปหารายละเอียดกันได้ที่วัดนะคะ)

    ปัญหาการถือครองที่ดินอย่างผิดกฏหมายของชี (ท่านหนึ่ง)และการรุกรานด้วยกำลังในบางครั้ง

    ปัญหาของการไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนกิจการในพุทธศาสนา จากคนต่างศาสนาในพื้นที่การเปิดเครื่องเสียงดังมากเข้ามารบกวนการปฎิบัติธรรม

    ปัญหากรมศิลปากรไม่ยอมรับว่าวัดนี้เป็นวัดสำคัญของสมเด็จพระนเรศวร

    วัดนี้ยังต้องฝ่าฟันอีกมาก ตราบใดความจริงยังไม่กลับคืน บางทีตราบนั้นบ้านเมืองก็จะยังไม่สงบก็ได้นะคะ

    ไม่รู้สุดท้ายผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ก็พยายามจะรณรงค์ช่วยทางวัด โดยร่วมกับศิษยานุศิษย์ของพระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภไปจนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือดูแลจากทางภาครัฐอย่างเป็นทางการค่ะ

    ขอร่วมอนุโมทนากับทุกคน ทุกท่านที่ช่วยวัดด้วยดีค่ะ

    [MUSIC]http://www.oknation.net/blog/home/video_data/962/962/video/669/669.wma[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...