ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่ห้าเรื่อง "วิญญาณ"

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ชัยบวร, 6 มิถุนายน 2012.

  1. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ขันธ์ 5หรือ เบญจขันธ์ อธิบายในส่วนที่ห้าเรื่อง " วิญญาณ"
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ลงไว้เพื่อการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์ เพื่อเป็นหนทางในการเข้าใจและเข้าถึง เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังต่างประเทศ (มีภาษาอังกฤษประกอบ) รายละเอียดจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวมซึ่งบัญญัติเรียกว่าบุคคลสัตว์ตัวตนเรา-เขาเป็นต้นส่วนประกอบห้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต (The Five Groups of Existence; Five Aggregate)

    วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการได้ยิน การเห็น เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6 (consciousness) แบ่งได้ 3 ประการ

    วิญญาณ 6 (consciousness; sense - awareness)

    1. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือ รู้รูปด้วยตา เห็น (eye - consciousness)
    2. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู ได้ยิน (ear - consciousness)
    3. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก ได้กลิ่น (nose - consciousness)
    4. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น รู้รส (tonque - consciousness)
    5. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกกายสัมผัส (body - consciousness)
    6. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ รู้ความนึกคิด (mind - consciousness)

    ยังไม่หมดนะครับ ยังมีอีก 2 ประการ ก็คือ เจตสิก 52 และ จิต 121 อีก นอกจากนี้ยังเกี่ยวพันธ์กับ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน และวิญญาณฐิติ 7 (ในส่วนวิญญาณฐิติ 7 ได้ลงไว้แล้วใน "สัญญา" แต่จะขยายความเพิ่มเล็กน้อย)

    ในส่วนเรื่อง "สังขาร" จะเห็นว่าผมไม่ได้ลงไว้อีกประการหนึ่งก็คือ เจตนา 6 หรือสัญเจตนา 6 ซึ่งเป็นธรรมที่มีความสำคัญ ธรรมะหมวดนี้จะนำมาลงไว้สำหรับในโอกาสต่อไปครับ

    ธรรมะของพระพุทธศาสนา [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    <TABLE id=post6229167 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_6229167 class=alt1>ต่อนะครับ....

    เจตสิก 52 ธรรมที่ประกอบกับจิต สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกับจิต อาการและคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต (mental factors; mental concomitants)

    จิต 89 หรือ จิต 121 ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ สภาพที่นึกคิด ความคิด ใจ วิญญาณ (mind; thought; consciousness; a state of consciousness)

    จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน หทัย วิญญาณ เป็นต้น คำเหล่านี้ีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป

    เนื่องจากทั้งสองประการมีรายละเอียดมากมาย จึงยังไม่ลงไว้ตอนนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับจิตมีลำดับชั้นตั้งแต่ล่างสุด (อกุศล) มากุศล ไปจนสูงสุด ซึ่งยากมาก ต้องทำความเข้าใจและเข้าถึงอย่างมากมาย จากตัวเลขที่แสดงไว้ก็คือการแบ่งประเภทออกมานั่นเอง เช่น เจตสิก 52 แบ่งได้ 52 ประการ จิต 121 ก็คือ แบ่งได้ 121 ประการนั่นเองครับ ด้วยเหตุนี้ถ้ามีโอกาสจะลงรายละเอียดไว้ครับ

    ธรรมะของพระพุทธศาสนา [​IMG] ยังมีอีกนะครับ [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->


    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2><SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("6229167")</SCRIPT></TD><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt1 align=right>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ต่ออีกหน่อยนะครับ...

    ความเกี่ยวข้องของจิต (ใจ , วิญญาณ) กับ ภพ 3 ภูมิ 4

    ภพ 3 ภาวะชีวิตของสัตว์ โลกที่เป็นอยู่ของสัตว์ (existence; sphere) ธรรมะของพระพุทธศาสนา

    1. กามภพ ภพที่เป็นกามาวจร ภพของสัตว์ผู้ยังเสวยกามคุณคืออารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง 5 ไอ้แก่ อบายภูมิ 4 เช่น นรก อสุรกาย เป็นต้น มนุษยโลก และกามาวจรสวรรค์ทั้ง 6 (the Sense - Sphere)

    2. รูปภพ ภพที่เป็นรูปาวจร ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาณ ได้แก่ พรหมทั้ง 16 (the Form - Sphere; Fine - Material Sphere)

    3. อรูปภพ ภพที่เป็นอรูปาวจร ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาณ ได้แก่อรูปพรหม 4 (the Formless Sphere ; Immaterial Sphere)

    ภูมิ 4 ชั้นแห่งจิต ระดับจิตใจ ระดับชีวิต (planes of consciousness; planes of existence; degrees of spiritual development) ธรรมะของพระพุทธศาสนา

    1. กามาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม ระดับจิตใจที่ยังปรารถนากามเป็นอารมณ์ คือยังเกี่ยวข้องกับกามคุณ ระดับจิตใจของสัตว์ในกามภพทั้ง 11 ชั้น (Sensuous Plane)

    2. รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป ระดับจิตใจที่ปรารถรูปธรรมเป็นอารมณ์ ระดับจิตใจของท่านผู้ได้ฌาณหรือผู้อยู่ในรูปภพทั้ง 16 ชั้น (Form - plane)

    3. อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเทื่ยวอยู่ในอรูป ระดับจิตใจที่ปรารถอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ระดับจิตใจของท่านผู้ได้อรูปฌาณ หรือผู้อยู่ในอรูปภพทั้ง 4 ชั้น (Formless - plane)

    4. โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นจากโลก ระดับแห่งโลกุตตรธรรม ระดับจิตใจของพระอริยเจ้าอันพ้นแล้วจากโลกียภูมิ 3 ข้างต้น ชั้นที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏะ ระดับที่ไม่ถูกจำกัด (Supramundance plane):cool::cool::cool: Infinity

    ธรรมะของพระพุทธศาสนา :d ยังมีอีกนะครับ
     
  4. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ต่ออีกนะครับ...

    อายตนะภายใน 6 ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน (internal sense - fields)

    1. จักขุ ตา the eye
    2. โสตะ หู the ear
    3. ฆานะ จมุก the nose
    4. ชิวหา ลิ้น the tongue
    5. กาย the body
    6. มโน ใจ the mind

    ทั้ง 6 อย่างนี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุ เป็นเจ้าการในการมองเห็น เป็นต้น

    อายตนะภายนอก 6 ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก (external sense - fields)

    1. รูปะ รูป สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือ สี (form; visible objects)
    2. สัททะ เสียง (sound)
    3. คันธะ กลื่น (smell; odour)
    4. รสะ รส (taste)
    5. โผฏฐัพพะ สัมผัสทางกาย สิ่งที่ถูกต้องกาย touch; tangible objects)
    6. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดกับใจ สิ่งที่ใจนึกคิด (mind - objects)

    ทั้ง 6 อย่างนี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ 6 คือ เป็นสื่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง

    ขยายความ เบญจขันธ์นี้เป็นในส่วนของการเวียนว่ายในวัฏฏะ ถ้าเป็น นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ 1 (the Unconditioned State) จะเป็นโลกุตตรธรรม เรียกว่า นิพพาน เป็น ขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5 นั่นเอง ซึ่งจะต้องอาศัยธรรมในหมวดอื่น ๆ อีก เช่น ศิล สมาธิ สติ และปัญญา เพื่อการดับกิเลส และกองทุกข์

    ยังมีสภาวะธรรมอีกอย่างหนึ่งที่ไม่นับเนื่องใน วิญญาณฐิติ 7 ก็ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌาณอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือ ภพของผู้เข้าถึงฌาณนี้ ผู้รู้ธรรมกล่าวว่า เป็นภพของการใกล้เคียงนิพพาน แต่ไม่ใช่นิพพาน

    ธรรมะของพระพุทธศาสนา :d

    ที่กล่าวทั้งหมดเป็นเพียงประมวลธรรมบางส่วนที่ต้องอาศัยความเข้าใจและเข้าถึงตั้งแต่ระดับล่างไปจนสูงสุด ยังมีธรรมะอีกมากมายหลายหมวดที่จะต้องอาศัยอิงกัน มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมะเหล่านี้เป็นเพียงบัญญัติให้เข้าใจ ธรรมเหล่านี้ยังจะต้องขยายความในส่วนของตัวธรรมเองอีกมากมาย บัณฑิตย่อมเข้าใจได้ไม่ยาก ธรรมเหล่านี้คือธรรมะของพระพุทธศาสนา เป็นของชาวพุทธทุกท่าน ทั้งในปัจจุบันกาล และอนาคตกาล เฉพาะแค่หมวดธรรมที่มากมายนี้ก็สามารถใช้อธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกใบนี้ได้อย่างสบาย ๆ บัณฑิตย่อมเข้าใจได้ไม่ยาก....และสามารถกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาสอนอะไร ? อย่างไร ? สวัสดี yimm
     

แชร์หน้านี้

Loading...