ข้อเตือนใจนักบวช

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย aprin, 26 พฤศจิกายน 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ข้อเตือนใจนักบวช

    อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร ( พระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต)


    ธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ 10 ประการ<O:p</O:p
    1. เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ <O:p</O:p
    2. การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น <O:p</O:p
    3. อากัปกิริยาอย่างอื่น อันเราควรทำมีอยู่ <O:p</O:p
    4. เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีล หรือไม่ <O:p</O:p
    5. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีล หรือไม่ <O:p</O:p
    6. เราจะต้องพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น <O:p</O:p
    7. เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน ...... เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น <O:p</O:p
    8. วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่ <O:p</O:p
    9. เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่า หรือไม่ <O:p</O:p
    10. ญาณทัสสนะวิเศษ อันสามารถกำจัดกิเลส เป็นอริยะ คืออุตตริมนุสสธรรมอันเราได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือหนอ<O:p</O:p
    นิรยวรรค ที่ 22 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ ภิกษุบริโภคยังดีกว่า
    ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นจะประเสริฐอะไร.

    @ หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด
    คุณเครื่องเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำไม่ดี
    (หมายถึงนักบวชที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม - ธัมมโชติ)
    ย่อมคร่าเขาไปนรก ฉันนั้น.

    นีตเถรคาถา (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา)

    @ คนโง่เขลา มัวแต่นอนหลับตลอดทั้งคืน
    และคลุกคลีอยู่ในหมู่ชน ตลอดวันยังค่ำ
    เมื่อไรจักทำที่สุดแห่งทุกข์ (พระนิพพาน - ธัมมโชติ) ได้เล่า.

    ยโสชเถรคาถา (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา)

    ภิกษุอยู่รูปเดียวย่อมเป็นเหมือนพรหม
    อยู่สองรูปเหมือนเทวดา
    อยู่สามรูปเหมือนชาวบ้าน
    อยู่ด้วยกันมากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น.....

    อรรถกถา ที่ 3 (ธัมมัฏฐวรรค ที่ 19 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือพูดมาก ว่า"เป็นผู้ทรงธรรม"
    ส่วนผู้ใด เรียนคาถาแม้คาถาเดียว แล้วแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย (บรรลุมรรคผล - ธัมมโชติ)
    ผู้นั้นชื่อว่าผู้ทรงธรรม.

    บัณฑิตวรรค ที่ 6 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าวนิคคหะชี้โทษ
    ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต
    เพราะว่าเมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษที่ลามก.

    อรรถกถาที่ 8 (มลวรรค ที่ 20 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ความเพียรเครื่องเผากิเลสควรทำในวันนี้ ทีเดียว
    ใครพึงรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้
    เพราะว่าความผัดเพี้ยนด้วยความตาย ซึ่งมีเสนาใหญ่นั้น ไม่มีเลย
    มุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนั้น
    มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ตลอดกลางวันและกลางคืน
    นั้นแล ว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ.

    สัพพกามเถรคาถา (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา)

    @ เบญจกามคุณอันน่ารื่นรมย์ใจเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
    ที่มีปรากฏอยู่ในรูปร่างหญิง ย่อมล่อลวงปุถุชนให้ลำบาก
    เหมือนพรานเนื้อแอบดักเนื้อด้วยเครื่องดัก
    พรานเบ็ดจับปลาด้วยเบ็ด
    บุคคลจับวานรด้วยตัง ฉะนั้น.

    ตัณหาวรรค ที่ 24 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติประมาท
    เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น.

    @ หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว
    ย่อมกระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้ว ฉะนั้น.

    สุขวรรค ที่ 15 (พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี
    ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ย่อมไม่มี สุขอื่นจากความสงบย่อมไม่มี.

    อรรถกถาที่ 8 (นาควรรค ที่ 23 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

    @ บรรพต พึงเป็นของล้วนด้วยทองคำที่สุกปลั่ง
    แม้ความที่บรรพตนั้น (ทวีขึ้น) เป็นสองเท่า
    ก็ยังไม่เพียงพอแก่ (ความต้องการของ) บุคคล (เพียง) คนหนึ่ง
    บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติแต่พอสม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...