ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ควรให้ทานในเขตไหน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 2 ธันวาคม 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน พระผู้มี
    พระภาคตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดีในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑
    พระอเสขะ ๑ ดูกรคฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานใน
    เขตนี้

    ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
    ประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
    "ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณาของทายก
    ผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้นเป็นผู้ตรงทั้งทางกาย ทางวาจา
    และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายกผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มี
    ผลมาก" ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    หน้าที่ ๕๙/๒๙๐ ข้อที่ ๒๘๐
     
  2. 789654561

    789654561 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +333
    โอนี่ท่านหมายเอาแต่พระอริยเจ้าเลยนะคะ ที่สมควรกับหารให้ทาน อานิสสงค์ไม่มีประมาณ
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๗. สีลสูตร

    [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร
    ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของ
    โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึง
    พร้อมด้วยศีล
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุติ
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
    ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้
    ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ


    จบสูตรที่ ๗

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๑๑๘/๔๐๗ ข้อที่ ๑๐๗
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ชัปปสูตร

    [๔๙๗] ครั้งนั้นแล ปริพาชกผู้วัจฉโคตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้
    ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณ
    โคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราคนเดียว ไม่ควรให้แก่คนอื่นๆ พึงให้แก่สาวกของเรานี้แหละ
    ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของคนอื่นๆ ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ที่ให้แก่คนอื่นๆ หามีผล
    มากไม่ ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ที่ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ หามีผลมากไม่


    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชนเหล่าใดได้กล่าวไว้เช่นนี้พระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เรา
    คนเดียว ไม่ควรให้แก่คนอื่นๆ พึงให้ทานแก่สาวกของเรานี่แหละ ไม่ควรให้แก่สาวกของคนอื่น
    ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ที่ให้แก่คนอื่นหามีผลมากไม่ ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น
    มีผลมาก ที่ให้แก่สาวกของคนอื่นหามีผลไม่ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส
    ไม่พูดตู่ท่านพระโคดมด้วยคำไม่เป็นจริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การ
    คล้อยตามคำพูดที่ชอบธรรมไรๆ ย่อมไม่มาถึงฐานะที่น่าติเตียนแหละหรือ เพราะข้าพระองค์ไม่
    ประสงค์ที่จะพูดตู่ท่านพระโคดม


    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ ผู้ใดพูดว่า พระ
    สมณโคดมตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราคนเดียว ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ หามีผลมาก
    ไม่ ดังนี้ผู้นั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด ทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง


    ดูกรวัจฉะ
    ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกระทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่างเป็นโจรดักปล้น
    วัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ย่อมทำอันตรายแก่บุญของทายก ๑ ย่อมทำอันตราย
    แก่ลาภของปฏิคาหก ๑ ตนของบุคคลนั้น ย่อมเป็นอันถูกกำจัดและถูกทำลายก่อนทีเดียวแล ๑

    ดูกรวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจร
    ดักปล้นวัตถุ ๓ อย่างนี้ดูกรวัจฉะ ก็เราพูดเช่นนี้ว่าผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะ หรือน้ำล้างขันไป
    แม้ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำคลำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้านด้วยตั้งใจว่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้

    ดูกรวัจฉะเรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้าง
    ภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ จะป่วยกล่าวไปไยถึงในสัตว์มนุษย์เล่า
    ดูกรวัจฉะ
    อีกประการหนึ่ง เราย่อมกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ท่านผู้มีศีลมีผลมาก ที่ให้ในคนทุศีล หาเหมือน
    เช่นนั้นไม่
    ทั้งท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ละองค์ ๕ เหล่าไหน
    ได้ คือ ละกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ ท่านผู้มี
    ศีลละองค์ ๕ นี้ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน คือ ประกอบด้วยศีลขันธ์ที่เป็นของ
    พระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ที่เป็น
    ของพระ อเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสน
    ขันธ์ที่เป็นของพระอเสขะ ๑ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านที่
    ละองค์ ๕ ได้ ประกอบด้วยองค์ ๕ ดังกล่าวมามีผลมาก ฯ


    โคอุสุภะที่เขาฝึกแล้ว นำธุระไป สมบูรณ์ด้วยกำลัง ประกอบด้วยเชาว์
    อันดี จะเกิดในสีสรรชนิดใดๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง
    สีตามธรรมชาติของตนสีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิลาปก็ดี
    ชนทั้งหลายย่อมเทียมมันเข้าในแอก ไม่ต้องใฝ่คำนึงถึงสีสรรของมัน
    ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ที่ฝึกตนดีแล้วมีวัตรเรียบ
    ร้อย ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดแต่คำสัตย์ มีใจประกอบ
    ด้วยหิริ ละชาติ และมรณะได้ มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระลงแล้ว
    พ้นกิเลส ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง ดับสนิท
    แล้วเพราะไม่ถือมั่น ย่อมจะเกิดได้ในสัญชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน
    บรรดาสัญชาติเหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
    จัณฑาลและคนเทขยะมูลฝอย ในเขตที่ปราศจากธุลีนั้นแล ทักษิณาย่อม
    มีผลมาก ส่วนคนพาล ไม่รู้แจ้ง ทรามปัญญา มิได้สดับตรับฟัง ย่อม
    พากันให้ทานในภายนอก ไม่เข้าไปหา สัตบุรุษ ก็ศรัทธาของผู้ที่เข้าไปหา
    สัตบุรุษ ผู้มีปัญญายกย่องกันว่าเป็นปราชญ์ หยั่งรากลงตั้งมั่นใน
    พระสุคต และเขาเหล่านั้นย่อมพากันไปเทวโลก หรือมิฉะนั้นก็เกิดใน
    สกุลในโลกนี้ บัณฑิตย่อมบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    หน้าที่ ๑๕๕/๒๙๐ ข้อที่ ๔๙๗
     

แชร์หน้านี้

Loading...