ความตายเหมือนเปลี่ยนรถ (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 10 พฤศจิกายน 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]

    ปัญญา คือ อะไร
    ปัญญา คือ ความรอบรู้ในขันธ์ 5
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง
    เช่นเมื่อพิจารณากาย ก็รู้ว่า
    กายไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    กายเป็นเพียงวัตถุก้อนหนึ่ง แยกต่างหากจากจิต
    เหมือนรถกับคนขับรถ
    ถ้ามีปัญญาเห็นอย่างนี้แล้ว ความตายก็ไม่มี
    มีแต่การเปลี่ยน เหมือนเปลี่ยนรถ
    เมื่อรถเสียแล้ว เก่าแล้ว พังแล้ว
    ถ้าคนขับมีเงินมีทอง
    ก็ไม่ต้องเสียใจกับ รถคันเก่า
    ทิ้งรถเก่าเสีย ซื้อรถใหม่ที่ดีกว่า
    ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเสียใจ..... เราซื้อรถใหม่เลย สบายใจดี
    แต่มีปัญหาว่า บางคนไม่มีเงิน ซื้อรถใหม่ไม่ได้
    หรืออาจจะซื้อได้แต่รถจักยานเท่านั้น

    สมัยก่อนมีรถ ตอนนี้ไม่มีแล้ว
    อาจจะต้องเดินเท้าเปล่า ลำบากหน่อย
    นี่สำคัญ จิตของเราก็เหมืนกัน
    ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า จิตรวยด้วยอริยทรัพย์
    มีคุณงามความดีมาก
    ย่อมจะรู้สึกว่า ความตาย คือ มรณภาพ
    คือ การเสียสละร่างกายนี้ เราคือใจคือจิต
    ความตายเป็นเรื่องของกาย
    กายแก่แล้ว เสียแล้ว พังแล้ว ตายแล้ว
    ญาติพี่น้องที่ยังอยู่ ก็เอาไปเผาทิ้ง
    เราเสียสละกายได้ด้วยความสบายใจ ความตายจึงไม่น่ากลัว

    ความตายเป็นเพียงการเปลี่ยนที่อยู่
    คล้ายกับไปเที่ยวต่างประเทศที่ไม่เคยไป
    พี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่พากันร้องไห้
    แม่ของเรา พ่อของเรา ลูกของเรา
    เพื่อนของเราตายแล้ว พากันร้องไห้
    แต่สำหรับคนที่เข้าใจธรรมะ
    คนที่มีกำลังใจดี คนที่ไม่ประมาท
    เจริญศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว
    และมีความมั่นใจว่า เราทำดีมามากแล้ว
    ใจของเราย่อมปลอดภัยแล้ว
    ก็คล้ายกับว่า เรานั่งเครื่องบินไปต่างประเทศ
    ไปเที่ยวไม่กลับนี่แหละ
    คนที่ส่งร้องไห้ แต่เราสบายใจ
    ไปแล้วมีคนต้อนรับ คนต้อนรับก็พากันดีใจ
    เราอาจจะเกิดในตระกูลที่ดีขึ้น ดีกว่าเดี๋ยวนี้
    พ่อแม่ญาติพี่น้องดีใจต้อนรับ

    สรุปแล้ว การปฏิบัติทั้งหมด ก็เพื่อจะไม่กลัวตาย
    ยอดของการปฏิบัติ ก็คือตรงนี้
    ถ้าเราพิจารณาธรรมะลักษณะอย่างนี้ ก็จะมีกำลังใจ
    จงสนใจศึกษาธรรมะในลักษณะเช่นนี้มากขึ้นๆ
    เพื่อให้ใจสบายนี่แหละ

    เมื่อเราปฏิบัติธรรมมากขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้นเพียงใด
    ย่อมจะสบายใจมากขึ้นๆ เพียงนั้น................. เอวัง



    ที่มา
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=574
     

แชร์หน้านี้

Loading...