...ความตายเหมือนเปลี่ยนรถ...พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 4 สิงหาคม 2009.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ปัญญา คือ อะไร
    ปัญญา คือ ความรอบรู้ในขันธ์ 5
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง
    เช่นเมื่อพิจารณากาย ก็รู้ว่า
    กายไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    กายเป็นเพียงวัตถุก้อนหนึ่ง แยกต่างหากจากจิต
    เหมือนรถกับคนขับรถ
    ถ้ามีปัญญาเห็นอย่างนี้แล้ว ความตายก็ไม่มี
    มีแต่การเปลี่ยน เหมือนเปลี่ยนรถ
    เมื่อรถเสียแล้ว เก่าแล้ว พังแล้ว
    ถ้าคนขับมีเงินมีทอง
    ก็ไม่ต้องเสียใจกับ รถคันเก่า
    ทิ้งรถเก่าเสีย ซื้อรถใหม่ที่ดีกว่า
    ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเสียใจ..... เราซื้อรถใหม่เลย สบายใจดี
    แต่มีปัญหาว่า บางคนไม่มีเงิน ซื้อรถใหม่ไม่ได้
    หรืออาจจะซื้อได้แต่รถจักยานเท่านั้น

    สมัยก่อนมีรถ ตอนนี้ไม่มีแล้ว
    อาจจะต้องเดินเท้าเปล่า ลำบากหน่อย
    นี่สำคัญ จิตของเราก็เหมืนกัน
    ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า จิตรวยด้วยอริยทรัพย์
    มีคุณงามความดีมาก
    ย่อมจะรู้สึกว่า ความตาย คือ มรณภาพ
    คือ การเสียสละร่างกายนี้ เราคือใจคือจิต
    ความตายเป็นเรื่องของกาย
    กายแก่แล้ว เสียแล้ว พังแล้ว ตายแล้ว
    ญาติพี่น้องที่ยังอยู่ ก็เอาไปเผาทิ้ง
    เราเสียสละกายได้ด้วยความสบายใจ ความตายจึงไม่น่ากลัว

    ความตายเป็นเพียงการเปลี่ยนที่อยู่
    คล้ายกับไปเที่ยวต่างประเทศที่ไม่เคยไป
    พี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่พากันร้องไห้
    แม่ของเรา พ่อของเรา ลูกของเรา
    เพื่อนของเราตายแล้ว พากันร้องไห้
    แต่สำหรับคนที่เข้าใจธรรมะ
    คนที่มีกำลังใจดี คนที่ไม่ประมาท
    เจริญศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว
    และมีความมั่นใจว่า เราทำดีมามากแล้ว
    ใจของเราย่อมปลอดภัยแล้ว
    ก็คล้ายกับว่า เรานั่งเครื่องบินไปต่างประเทศ
    ไปเที่ยวไม่กลับนี่แหละ
    คนที่ส่งร้องไห้ แต่เราสบายใจ
    ไปแล้วมีคนต้อนรับ คนต้อนรับก็พากันดีใจ
    เราอาจจะเกิดในตระกูลที่ดีขึ้น ดีกว่าเดี๋ยวนี้
    พ่อแม่ญาติพี่น้องดีใจต้อนรับ

    สรุปแล้ว การปฏิบัติทั้งหมด ก็เพื่อจะไม่กลัวตาย
    ยอดของการปฏิบัติ ก็คือตรงนี้
    ถ้าเราพิจารณาธรรมะลักษณะอย่างนี้ ก็จะมีกำลังใจ
    จงสนใจศึกษาธรรมะในลักษณะเช่นนี้มากขึ้นๆ
    เพื่อให้ใจสบายนี่แหละ

    เมื่อเราปฏิบัติธรรมมากขึ้น เข้าใจตัวเองมากขึ้นเพียงใด
    ย่อมจะสบายใจมากขึ้นๆ เพียงนั้น................. เอวัง


    ...
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    "เคยทุกข์แทบจะตายไหม" ท่านอาจารย์ถาม
    ถ้าทุกข์หรือหดหู่ ให้รู้อยู่ว่าทุกข์หรือหดหู่ ไม่ต้องปรุงแต่ง
    ให้อดทนเพ่งความทุกข์ความหดหู่ใจอยู่อย่างนั้น
    ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
    ประคับประคองจิต ไม่ให้เอียงไปทางซ้าย ไม่ให้เอียงไปทางขวา
    ทำใจให้เป็นกลางๆ
    กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น นั่งก็รู้ เดินก็รู้
    กำหนดไป กำหนดไป ก็จะรู้ชัดขึ้นๆ
    จะเห็นเป็นความว่าง ต่างหาก


    เห็นว่าความทุกข์ก็ดี ความหดหู่ก็ดี เป็นสักแต่ว่าความรู้สึกเท่านั้น
    ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เป็นเพียงอุปาทานเท่านั้น
    อุปาทานว่าเราหดหู่ อุปาทานว่าเราทุกข์นั่นแหละ
    จริงๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลงได้ และจะเปลี่ยนไปเอง
    เมื่อมีอารมณ์ใหม่เข้ามาแทนที่
    เพราะมันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เราทุกข์ เราหดหู่ เพราะอุปาทาน ความยึดมั่นนั่นแหละ

    อาศัยความอดทน อดกลั้น ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนา
    เพ่งพิจารณาความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
    แล้วความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกหดหู่ใจ ก็จะเปลี่ยนไปเอง
    เพราะ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    แล้วเราจะรู้ชัดขึ้นๆ

    ความหดหู่เป็นอาคันตุกะ
    เขามาเยี่ยมเฉยๆ แล้วก็ไป ไปแล้วก็มาใหม่
    ถ้าเราหยุด วางเฉย เขาก็อยู่ไม่ได้
    อย่าเพลิดเพลินกับการตามอารมณ์นะ
    แขกมาหา จะไล่เขาไปก็ไม่ได้ เดี๋ยวเขาจะโกรธเอา
    ต้อนรับก็ไม่ได้ เขาจะอยู่เลย
    เราเฉยเสีย เขาก็จะไปเอง
    เพราะเขาเป็นอาคันตุกะ ไม่ใช่ผู้อยู่ประจำ

    ถ้าเขามาก็รู้ว่า อ้อ เขามาแล้ว กำหนดรู้ แล้วก็เฉย
    ทำใจให้เป็นอุเบกขา ทำใจให้เป็นกลางๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย

    ไม่ตกใจ ไม่กลัว ไม่รังเกียจ
    เอาก็ไม่ใช่ ไม่เอาก็ไม่ใช่
    กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ
    จุดหมาย คือความไม่มีทุกข์ และจิตที่สงบ สะอาด สว่าง


    ให้เอาทุกข์เป็นอาจารย์
    อย่ารังเกียจทุกข์นะ อย่าหนีทุกข์นะ อย่ากลัวทุกข์

    ทุกข์นั่นแหละเตือนเราไม่ให้ประมาท
    ให้เกิดปัญญา ให้รู้ ให้เห็น ตามความเป็นจริง ให้เห็นสัจธรรม

    ยิ่งทุกข์มากยิ่งดี เมื่อผ่านไปได้ ต่อไปก็ไม่ต้องกลัวอะไร
    ต้องอดทนต่อสู้ ด้วยจิตใจที่กล้าหาญ
    ทุกข์ที่ไหน กำหนดดูที่นั่น
    ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ต้องตามรู้ ตามศึกษา
    ค้นหาดูทุกข์
    ดูๆ ไปก็จะพบตัณหา อุปาทาน

    ตัณหา อุปาทาน นี่แหละ ทำให้เป็นทุกข์
    ตัณหา อุปาทาน นี่แหละ ปิดบังไม่ให้เห็นทุกข์
    เป็นทุกข์ แต่ไม่เห็นทุกข์
    เราจึงต้องทำจิตใจให้เข้มแข็ง มุ่งหน้าเข้าไป (พิสูจน์) ดู จึงจะเห็นทุกข์
    เมื่อเห็นแล้วก็จะรู้แจ้ง
    เกิดญาณทัสสนะ ทั้งรู้ ทั้งเห็น ตามความเป็นจริงว่า

    ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
    ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่
    ทุกข์เท่านั้นดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับ


    สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
    เมื่อวางเฉยได้ วางทุกข์ได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
    ทุกข์ก็จะไม่มี หรือมีเหมือนไม่มี


    อย่าคิดว่าเราทุกข์
    ทุกข์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ทุกข์
    ทุกข์ไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในทุกข์
    ทุกข์เขาก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้น
    กำหนดรู้ทุกข์ที่ตั้งอยู่
    กำหนดรู้ทุกข์ที่ดับไป
    ทำอย่างนี้เราก็สามารถรับทุกข์ได้
    ทุกข์แค่ไหนก็รับได้
    ต้องอดทนนะ คนมีปัญญาทนทุกข์ได้


    ถ้าเรายังเป็นทุกข์ ก็ยังใช้ไม่ได้ ยังผิดอยู่
    ให้พิจารณาอริยสัจ 4 เสมอๆ
    ถ้าเรายังเป็นทุกข์ แสดงว่าเราไม่มีสัมมาทิฏฐิ
    เวลาทุกข์เกิดขึ้นให้ดูเข้าข้างใน (ดูจิต)
    อย่าไปดูข้างนอก อย่าไปโทษคนโน้นคนนี้
    ให้ดูกายกับใจของเรานี่แหละ
    ดูให้เห็นว่าตัณหา อุปาทาน นี้แหละเป็นตัวต้นเหตุให้ทุกข์เกิด
    เป็นมาร เป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุด
    ให้มีขันติ อดทนสู้อารมณ์นั้นๆ

    ตามรู้อารมณ์นั้นๆ
    รู้แล้วก็ไม่หวั่นไหว
    ไม่เดือดร้อนเป็นทุกข์
    รู้แล้วไม่หลง ไม่ติด
    มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน


    นั่นแหละ พระพุทธเจ้าอยู่ที่นี่เอง
    ไม่ต้องไปหาที่ไหน
    แม้จะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันก็ยอม
    ต้องเอาชนะให้ได้
    อาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอาวุธ
    ดูให้เห็น อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ ความไม่แน่นอน


    ------------------------------------------------
    คัดลอกบางส่วนจาก....หนังสือพลิกนิดเดียว
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    มูลนิธิมายา โคตมี
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ด่ามา ไม่ด่าตอบ

    สมัยพุทธกาล พระภิกษุองค์หนึ่งทูลถามพระพุทธเจ้า
    ว่า...มีคนคนหนึ่งมีนิสัยขี้โกรธมาก มีอะไรไม่ถูกใจ ไม่ชอบหน้า
    ใครก็ด่าๆ พวกเรารำคาญจริงๆ จะทำอย่างไรดี.....


    พระองค์สอนว่า....ความโกรธเหมือนการทำอาหารให้
    คนอื่นกิน ถ้าเขาไม่กินก็ต้องกินเอง ทำเองกินเองนั่นแหละ...
    ถ้าเราไม่ชอบก็อย่าสนใจ เฉยเสียเท่านั้นเอง ตบมือข้างเดียว
    ไม่ดังหรอก.....

    เขาโกรธเขาด่าเรา เราเป็นทุกข์...นั่นแหละ เรากินอาหาร
    ที่เขาปรุงให้แล้ว ผลก็คือทุกข์ด้วยกันทั้งคู่...


    เมื่อเรากินของเขาแล้ว...ก็ต้องทำอาหารให้เขากินบ้าง
    ก็คือเราก็โกรธเขา ด่าเขากลับไปบ้าง...กลับไปกลับมาอยู่อย่าง
    นี้หลายภพหลายชาติไม่รู้จักจบสิ้น นี่คือชีวิตของสัตว์และมนุษย์...





    ขอขอบพระคุณที่มาก : จากหนังสือ ผิดก่อน-ผิดมาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนา ภาชนะที่ไม่เหมาะแก่การใช้งานก้ต้องเปลี่ยน
    กายที่สร้างขึ้นด้วยกรรมนี้ก้เช่นกัน เป็นเพียง องคืประกอปของ กรรม
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    โอปนยิโก
    <hr style="" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message -->

    คนเราถ้ามีโอปนยิกธรรม จิตใจก็เป็นธรรมคุณ เป็นจิตใจที่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อใจเป็นธรรม เห็นอะไรๆ ก็โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ใจ เช่น ธรรมดาเมื่อเห็นรูปด้วยตา บางทีเห็นว่ารูปนั้นสวย จิตก็ปรุงไป เกิดราคะ เกิดความยินดีพอใจ อยากได้เป็นของเรา

    ทีนี้ถ้าใจของเราเป็นธรรมแล้ว พอเห็นรูปสวยก็โอปนยิโก น้อมเข้ามาดูกาย พิจารณากาย เห็นกายตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร พิจารณาตั้งแต่เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ของตนเอง หรือพิจารณาข้างในกายว่า มีกระดูกบ้าง เลือดบ้าง น้ำเหลือง น้ำหนองบ้าง ตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่าร่างกายของมนุษย์นี้ล้วนเป็นปฏิกูล ของเน่าเปื่อยสกปรกเหมือนกันทั้งหมด เห็นเป็นอสุภะบ้าง เป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ บ้าง ทำให้สามารถระงับราคะ ระงับตัณหา คือความยินดีรักใคร่ในรูปลงเสียได้ หรือถ้าเห็นรูปไม่สวย เห็นใครทำอะไรน่าเกลียด ก็โอปนยิโก พิจารณาว่าลักษณะอย่างนี้น่าเกลียดจริงๆ ไม่น่าศรัทธาเลย เราก็ดูว่าเรามีลักษณะอย่างนี้บ้างหรือไม่ ธรรมดาก็มีกันทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง เราต้องรีบตั้งสติเตือนตัวเองว่า ลักษณะอย่างนี้ไม่น่าทำ ไม่ควรทำ เราอย่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ น้อมเข้ามาดูตัวเองพัฒนาตัวเอง ไม่คิดฟุ้งซ่าน ไม่คิดอัตตาตัวตน ว่าเขาว่าเรา เขาไม่น่าเป็นคนอย่างนั้น เขาไม่น่าทำอย่างนั้น คิดอะไรๆ ไปสารพัดอย่าง ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดกิเลส ความจริงคนอื่นๆ ไม่สำคัญ สำคัญที่เรานี่แหละ ให้เราพัฒนาตัวเอง ระวังกิเลสตัณหาของตัวเอง ชำระจิตใจตัวเองไปเรื่อยๆ

    เสียงที่ได้ยินทางหูก็เหมือนกัน ใครพูดน่าเกลียด คำนินทาหรือดูหมิ่นดูถูก ใครด่าเรา พูดไม่ถูกใจเรา เราเกิดความไม่พอใจ เกิดความไม่สบายใจ เมื่อใจเป็นธรรมแล้วจะยกขึ้นพิจารณาทันทีว่า ความไม่พอใจเกิดขึ้นเพราะอะไร สาวหาสาเหตุ เหตุก็อยู่ที่ใจ เราจะเห็นกิเลสตัณหาที่ใจของเราเอง จะพบว่าทุกข์อยู่ที่ใจของเราเอง เหตุก็อยู่ที่ใจของเรานี่แหละ คำพูดของเขา การกระทำของเขาเป็นเพียงปัจจัย เราควรพิจารณาเหตุผลและปัจจัย พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อทุกข์เกิดขึ้นให้ระงับเหตุ ตัณหาเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล คำนินทาเป็นปัจจัย ไม่ใช่ไปเปลี่ยนปัจจัย ไม่ให้เขาพูด ไม่ให้เขาทำ พระพุทธองค์ไม่ให้สนใจปัจจัย ไม่ให้สนใจที่คนอื่นมากนัก เพราะเราจะไปแก้คนอื่นทั้งโลกเพื่อให้เขาทุกคน ทำทุกอย่างให้เราพอใจ ให้เราสบายใจไม่ได้ดอก ต้องแก้ที่ใจเรา แก้ที่ตัวเรา แก้ที่ความคิดของเราเอง "อัตตนา โจทยัตตานัง" ให้กล่าวโทษโจทย์ความผิด ตรวจความผิดของตัวเอง และหมั่นแก้ไขเสมอๆ อย่าไปเสียเวลากล่าวโทษและพยายามแก้ไขที่คนอื่นเลย นี่เป็นการเข้าใจตามอริยสัจสี่ เป็นโอปนยิโก


    ฉะนั้นเมื่อเกิดทุกข์เกิดความไม่พอใจขึ้น ให้รีบสำรวมกายวาจา สำรวมกายให้เรียบร้อย วาจาให้ระงับ รีบอบรมจิตใจให้ คิดถูกคิดดี เพื่อระงับกิเลสตัณหาของตัวเอง คนอื่นช่างเขา ให้น้อมเข้ามาพิจารณาว่า คำนินทาสรรเสริญเป็นโลกธรรม 8 เป็นของธรรมดาประจำโลก แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์โลกถึงปานนั้น ก็ยังไม่พ้นคนนินทา และพระองค์อาจจะเป็นผู้หนึ่งที่ถูกนินทามากที่สุดในโลกก็ได้ ฉะนั้นการที่เราถูกนินทาจึงเป็นเรื่องธรรมดา สำหรับผู้ที่ทำงานรับผิดชอบมาก มีหน้าที่การงานสูง ยิ่งจะต้องถูกนินทามากขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อเขานินทาว่าเราทำผิด ทำไม่ดี เราก็รับฟังด้วยใจเป็นกลางๆ และพิจารณาดูว่า เราไม่ดีหรือทำผิดตามที่เขาพูดหรือเปล่า ถ้าเห็นว่าเขาพูดถูก เราก็ขอบคุณเขา และนำมาแก้ไขตัวเอง ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นว่าเราไม่ได้ผิดตามที่เขาพูด ก็เมตตาสงสารเขา เพราะเขาไม่รู้จริง เราไม่ต้องโกรธเขา "สิขีภูโต" เอาตนเป็นพยานของตน แม้แต่รอบด้านจะนินทาเรา ถ้าเราไม่ผิด ปกติเราก็จะทุกข์มาก ทำใจไม่ได้คือไม่เชื่อธรรมะ เชื่อคำพูดของคนอื่น แต่ถ้าใจเป็นธรรมะจริงๆ เราก็ไม่หวั่นไหวไม่เสียใจ ให้น้อมเข้ามาดูใจเราว่า เรายังทุกข์ยังโกรธเขาอยู่หรือเปล่า ถ้ายังทุกข์อยู่ก็พยายามระงับเหตุ คือตัณหาอุปาทานที่ใจเรานี่แหละ ทุกข์เกิดเพราะเหตุปัจจัยพอดีกัน ถ้าเราระงับเหตุได้ ถึงแม้จะยังมีปัจจัย คือยังมีคำนินทาอยู่ เราก็ไม่เป็นทุกข์

    ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศลมูลนอนนิ่งอยู่ในสันดาน อยู่ในจิตใจของคนเรา นี่คือมูลเหตุของทุกข์ เมื่อมีปัจจัยมาจากภายนอก เช่น รูปไม่สวย คำพูดไม่ไพเราะ มากระตุ้นก็ปรุงขึ้นมา ถ้าเราได้สติปุ๊บ พอเกิดทุกข์หรือยินร้าย หรือเกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น หรือเกิดอารมณ์แล้ว ต้องรีบโอปนยิโก น้อมเข้ามาหาเหตุที่ใจเรา ไม่ต้องนึกถึงเขา เพราะนึกถึงเขาก็เกิดเรา เกิดเป็นอัตตาตัวตน เขาไม่ดีขนาดไหนไม่สำคัญ อย่าปล่อยจิตใจเราให้ฟุ้งซ่านออกไป

    จิตคิดมากก็เกิดปฏิกิริยาออกทาง หน้าตา วาจา กาย จนรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ไม่ได้ ธรรมดาเราน่าจะรักษากายวาจาให้เรียบร้อยได้ ยิ่งรักษาใจได้ ศีลจะยิ่งสมบูรณ์ขึ้น ทำใจเฉยได้ เรียกว่าศีลเป็นปกติ กาย วาจา จิต เรียบร้อย ศีลหนักแน่นเหมือนศิลา ถูกนินทาด่าว่าก็ทำใจเฉยได้ ใจเป็นศีล ฉะนั้นไม่ว่าจะเห็นรูปที่สวย ไม่สวย เห็นคนทำดี ทำชั่ว ได้ยินเสียงสรรเสริญ เสียงนินทา เสียงที่ไพเราะ เสียงที่ไม่ไพเราะ กลิ่นที่เหม็น หอม ชิมรสที่อร่อย ไม่อร่อย สัมผัสที่กาย เกิดสุขเวทนา ทุกขเวทนา อะไรๆ ก็แล้วแต่ ก็มีแต่โอปนยิโกน้อมเข้ามาดูตัวเองพัฒนาตัวเอง ละความชั่ว บำเพ็ญความดี ยังประโยชน์ให้เกิดแก่ตัวเองฝ่ายเดียว เอากำไรไปเรื่อยๆ


    โอปนิยิโก คือ การน้อมเข้ามาสู่ใจ เป็นกระบวนการของจิตที่พิจารณาตามกระแสของอริยสัจ 4 หรือปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทนี่ให้ทบทวนบ่อยๆ ตั้งแต่ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส คอยตั้งสติทวนกระแสของปฏิจจสมุปบาท ไม่ให้ไหลไปตามวัฏฏสงสาร ตั้งสติได้ตรงไหน เมื่อไร ก็ทวนกระแสเมื่อนั้นตรงนั้น ถ้าสติปัญญาว่องไว เมื่อผัสสะเกิดขึ้นทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็รู้ทันทีว่า สักแต่ว่ารูป สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่ากลิ่น สักแต่ว่ารส สักแต่ว่ารู้สัมผัสทางกาย สักแต่ความคิด คิดอะไรก็รู้ สักแต่ว่ารู้ เวทนา ตัณหาก็ไม่เกิด "สักแต่ว่า" เป็นเรื่องของปัญญา เป็นวิปัสสนา ถ้าจับผัสสะไม่ทัน เมื่อเกิดความรู้สึกชอบไม่ชอบ เป็นเวทนา ถ้าปรุงแต่งต่อไปก็จะเกิดตัณหาอุปาทาน อันเป็นตัวทุกข์ ตามกระแสของปฏิจจสมุปบาท และถ้าคิดๆ ต่อไปก็จะเกิดเป็นภวะ เป็นภพ ถ้าปรุงๆ ต่อไปมากขึ้นๆ จนเกิดเป็นเรื่องราวก็จะเป็นชาติ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาสก็จะตามมามากมาย ฉะนั้นเมื่อความรู้สึก คือเวทนาเกิดขึ้น พยามยามให้เห็นว่าเป็นอนิจจัง ปล่อยวางเสีย อย่ายึดมั่นถือมั่น ทุกข์ก็ไม่เกิด

    สอนใจตัวเองด้วยคำที่หลวงพ่อสอนง่ายๆ ว่า "ชอบหรือไม่ชอบ อย่ายึดมั่นถือมั่น" พยายามจับความรู้สึกแล้วก็ปล่อย หรือเมื่อทุกข์เกิดแล้ว ก็น้อมเข้ามาดูใจตัวเอง สาวหาเหตุของทุกข์ตามปฏิจจสมุปบาท หรืออริยสัจ 4 ก็จะพบตัณหาอุปาทาน ให้พยายามทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท เพื่อระงับเหตุ คือตัณหาอุปาทาน ทุกข์ทั้งหลายก็จะดับไป การทวนกระแสนี้คือ การดำเนินตามมรรค จึงควรที่เราจะพยายามตั้งมรรคตลอดเวลา

    โดย นายเต้ �ͻ���� - ����͡����
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2009
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    นายเต้<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_171831", true); </SCRIPT>
    คนคุ้นเคย

    [​IMG]
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สักกายะทิฐิ นี้ ระได้ก้ไม่กลัวตาย จะเปลี่ยนซักกี่ครั้งก้เหมือนกัน ยังต้องแบกรับ ขันธ์ เอาไว้
    ละออกเสียได้ ขันธก้เบาบาง สร้างอีกไม่มาก ไม่เกิน 7 ชาติ บรรลุธรรม อนุโมทนา
     
  8. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    จะ Print ไปแปะที่ประตูทางเข้าบ้าน จะเข้าจะออกจะได้อ่านก่อน
    ช่วยเตือนสติทีแท้ อนุโมทนากับพี่จินแน่ ด้วยนะคิ
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    สุดยอดของการเปรียบเทียบครับ อ่านเเล้วสว่างเลยครับ เจริญในธรรมครับ จขกท
     
  11. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ตายไปแล้วน่าจะไปดี..............ถ้าไม่ดีป่านนี้พวกที่ตายคงหนีกลับมาเล่าให้ฟังบ้างแล้ว ยังไม่เคยซะด้วยซี ถึงอย่างไรก็ไม่พ้นหรอก วันไหนเท่านั้นแหละ........

    ความตายเหมือนเปลี่ยนรถ คิดได้อย่างนี้ก็ดีไปอย่าง ไม่เครียด.
     

แชร์หน้านี้

Loading...