ความรู้ึสึกในณานจริงๆนี่ เเท้จริงเป็นอย่างไรครับ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 5 กันยายน 2010.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,732
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    สวัสดีครับทุกคน ผมผ่านการปฏิบัติธรรมมาพอสมควรเเล้ว อ่านมาก็เยอะ เเต่หลายๆอย่าง ผมก็ยังไม่เข้าใจไปหมดอยู่ดี นี่จึงเป็นเหตุของที่มาในกระทู้นี้ครับ คือผมอยากทราบว่า เวลาเรานั่งสมาธิอยู่นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราถึงณานเเล้ว ? อาการของผมอย่างนี้ถือว่าอยู่ในณานไหม ?

    1. ตอนผมนั่งสมาธิ ผมจะสงบมากๆ สงบจนไม่คิดอะไรในสมองเลย คือมีเเต่ความมืดดําข้างหน้า ไม่ก็ถ้าผมจับภาพพระพุทธรูปหรือศพของตัวเอง ผมก็จะทรงภาพได้ตลอดเวลา ในกรณีนี้ถือว่าผมอยู่ในณานเเล้วไหมครับ ?

    2. ตอนที่เรานั่งสมาธิเเล้วไม่คิดอะไรเลยในหัวจนสงบมากๆ สงบจนรู้สึกเหมือนจิตของเราทะลุเข้าไปในภาพ background ดําๆคือเหมือนตัวเรากําลังเข้าไปใน background ดําๆจนเเนบสนิิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผมไม่รู้จะอธิบายยังไง เเต่เวลาที่ผมนั่งเเล้วถึงตอนสงบมากๆ ผมจะเป็นอย่างนี้ครับ อาการนี้ถึงณานรึยัง ? คือไม่รู้ที่อธิบายไปนี่ ทุกคนจะเข้าใจไหม คือมันเหมือนกับเราดูหนัง 3 มิติ เเล้วตัึวเรามันกลายเป็นเนื้อเดียวกันกับ background ดําๆที่เราเห็นตอนเราหลับตาทําสมาธิครับ เเนะนําด้วยครับทุกคน อนุโมทนาครับ
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ดีครับ ที่มีคำถาม เกิดขึ้น เพราะแสดงถึงความใฝ่ รู้ และ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง คือ รู้่ก็ว่ารู้ ไม่รู้ก็ว่าไม่รู้

    ก่อนอื่น ต้องอธิบายก่อนว่า ฌาณ นั้นมี 2 แบบ คือ โลกุตระฌาณ หรือ ฌาณของพระอริยะเจ้า หรือ กัลยาณปุถุชน ผู้อบรมความเห็นให้ตรง แม้ว่ายังไม่ถึงพระอริยะ แต่ก็ ทำฌาณ ได้ถูกต้อง อันเป็นสัมมาสมาธิ

    ฌาณ อีกรูปแบบหนึ่ง คือ โลกียฌาณ หรือ ฌาณของบุคคล ที่ไม่ได้ศึกษาธรรมของพระอริยะเจ้า อาศัย กำลังจิต ข่ม ให้จิตสงบตัวลงไป อาศัยศีลเป็นเกราะ ไม่ให้จิตกำเริบ แต่ ปราศจากปัญญา ฌาณ ในรูปแบบที่ 2 นี้จึง เปรียบเหมือนหินทับหญ้า เพราะใช้กำลังจิตกดทับลงไป ไม่ให้ จิตแสดงตัวออกมา

    ฌาณที่ถูกต้องนั้น จะไม่แบกขันธ์ 5 มาทำฌาณด้วย ดังนั้น แทนที่จะแบกขันธ์ 5 มาแล้ว กดขันธ์ 5 นั้น ก็ใช้การ สลัดคือ ขันธ์ 5 ก่อน แล้ว กำหนดรู้เพียง คำบริกรรม
    ดังนั้น พระศาสดา จึงกล่าว ให้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ( นิวรณ์ และ อกุศลจิตต่างๆ ) เมื่อ จิตเบาตัวลงไป เพราะอาการสงัดนั้น จึงใช้ใจนี้ ตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรม อันเป็น วิตก วิจารณ์

    ก็จะเห็นได้ว่า ความสงบ ที่ทำตอนแรก นั้น อาศัย สติปัญญา และ มรรค ขัดเกลา ก่อน ทั้งขัดเกลา ความเห็น ( ทุกสภาวะของใจ เป็น อนัตตา ไม่มีประโยชน์ที่จะ ถือตาม)
    คำพูด วิถีชีวิต การเลี้ยงชีพ ความขยันหมั่นเพียร ความมีสติ

    เมื่อจิต เริ่มสงัดจาก กาม และ อกุศล จึง กระทำ คำบริกรรม ให้ มีวิตก และ วิจารณ์
    ปีติ สุข และ เอกคตา เกิด

    นี่แหละ จึงเรียกว่า องค์ฌาณ ที่ถูกต้อง


    อาการก็คือ เมื่อ จิตไม่แบกขันธ์ 5 จิตจะเบา มีเอกคตาจิต มีสุขเกิดขึ้น กับจิต จิตนิ่งอยู่เป็นหนึ่งอยู่ นี่คือ อาการแห่งปฐมฌาณ
     
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เข้ามาสาธุกับท่านขันธ์ครับ..สงัดจาก กาม คำนี้นี่เองผมชักจะเข้าใจอาการตนเองแล้วครับ ว่าอะไรๆที่มันเกิดกับผมถึงมั่วไปหมด แล้วเกิดมาได้อย่างไร
     
  4. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    สำหรับผมนะครับ
    เมื่อจิตหลุดจากความปรุงแต่งดิ้นรนฟุ้งซ่าน จิตมีวิตก ก็รู้ว่ามีวิตก จิตมีวิจารณ์ก็รู้ว่ามีวิจารณ์เมื่อไม่ยึดไม่ติดในวิตกวิจารณ์นั้น วิตกวิจารณ์นั้นก็ดับไป จิตจะรู้จะเห็นถึงปิติ
    เมื่อไม่ยึดไม่ติดในปิตินั้น จิตจะเห็นสุข เมื่อไม่ยึดไม่ติดในสุข จิตจะเห็นเป็นอุเบกขาเป็นเอกัคตาอยู่อย่างนั้น
    สงสัยว่าจิตเป็นเอกัคตาจริงหรือไม่ ให้ลองกำหนดจิตลงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ฝืนธรรมชาติหากเป็นได้ย่อมถึงเอกัคตาแห่งจิต เมื่อลองแล้วใจดิ้นรนปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จิตยึดจิตติดอยู่ในความดิ้นรนปรุงแต่งฟุ้งซ่านนั้น จิตก็ตกจากการรู้ทั้งหลาย จิตที่ดิ้นรนปรุงแต่งฟุ้งซ่านก็กลับไปเป็นทุกข์ได้ดังเดิม
    สำหรับผม หากถึงไหนหรือไม่ถึงไหน หากจิตตกจากการเป็นผู้รู้แล้วยึดแล้วติด จิตจะยังปรุงแต่งฟุ้งซ่านเป็นทุกข์ได้อยู่เสมอ
    ถึงจุดไหนหากมีสติ หรือรู้ลงเป็นเครื่องกั้นแห่งความยึดติดจิตจะเห็นทุกข์ได้ ไม่เข้าไปรวมกับความดิ้นรนปรุงฟุ้งซ่านอันเป็นทุกข์นั้นนั้น
    สำหรับผม
    อนุโมทนากับทุกท่านครับ
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ฌานนี่ ส่วนตัวผมเป็นอย่างนี้ครับ

    อย่างแรก กดขันธ์ลงไปเลย บริกรรมไปแน่น ๆ อย่างเดียว แล้วดิ่งไปเลย ไม่สนอะไรทั้งนั้น
    อย่างสอง ใส่การพิจารณาลงไปด้วยในขณะที่บริกรรม อะไรที่เป็นอุปสรรค (นิวรณ์) ก็พยายามสลัดมันออกไป

    เวลาทำก็ไม่ไปตั้งธงว่าจะเป็นอย่างหนึ่งหรือสอง ขึ้นกับปัจจัย ขึ้นกับกำลังในขณะนั้น ซึ่งแบบแรกถ้าปัญญานำ ทำไปแค่ไหน ทำไปกี่ครั้งก็จะพบว่ามันตัน หาอะไรกับมันไม่ได้เลย ยกเว้นเป็นเครื่องสุข พักใจ สะสมกำลัง และส่วนตัวผมพบว่าการถ้าทำแบบที่สองได้นี่ สามารถตักตวงความสุขที่ได้จากสมาธิได้มากกว่าครับ

    ส่วนของเจ้าของกระทู้ แนะนำว่าอย่าไปอยากรู้อยากเห็นอะไร อย่าไปเพ่งที่ตามาก พยายามวางใจให้อยู่ที่คำบริกรรม อยู่ที่ลม หรืออยู่ที่ท้องยุบพอง จะไปได้เร็วกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]

    สัมมาสมาธิ

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔


    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌานตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลยคงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่างเป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจแต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p></O:p>
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
     
  7. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อนุโมทนาครับคุณ วิญญาณนิพพาน อย่างไรก็ดียังมีใจใฝ่ปฏิบัติครับ
     
  8. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,732
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาเเนะนําครับ ส่วนคุณ jinny95 อิๆๆ คือผมไม่ได้อยากไปรู้หรือเห็นอะไรครับ เเต่พอดีผมฝึกมโนมยิทธิด้วยคือ ผมจะบริกรรมพุทโธก่อนซักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะตามด้วยนะมะพะธะครับ เรื่องนิมิตนั้น ขอเรียนตามตรงว่า ผมผ่านช่วงนั่งเเล้วเห็นนิมิตมานานพอสมควรเเล้ว ตอนเเรกที่เห็นนิมิต ยอมรับว่าตื่นเต้นครับ เเต่จากที่ได้ศึกษามา หลวงพ่อจะสอนไม่ให้ยึดติดในนิมิต หลังจากนั้น ผมก็ไม่ได้สนใจอะไรอีก จะเห็นหรือไม่เห็นก็ไม่ได้ใส่ใจ เเต่ก็ยอมรับว่า ลึกๆเเล้ว จิตของคน พอนั่งๆเเล้วไม่ได้เห็นอะไรที่เคยเห็น มันจะเกิดอาการเสียดาย อันนี้ยอมรับครับว่าเป็น ฮ่าๆๆ เเต่เป็นช่วงเเรกๆครับ ตอนนี้เฉยๆเเม้จะมีเเทรกเข้ามาบ้างเป็นระยะๆเเต่ผมจะไม่ใส่ใจมัน ตกลง รบกวนท่านผู้รู้ทุกคนช่วยตอบคําถาม 1 เเละ 2 ของผมหน่อยสิครับ ผมเเค่อยากรู้ครับว่า จริงๆอาการของผมนั้นถึงณานรึยัง ? จากที่เคยศึกษามานั้นคงจะถึงเเล้วเพราะผ่านช่วงเห็นนิมิตมาเเล้ว เเต่ผมเคยสอบถามบางคน บางท่านก็บอกว่าผมถึงณาน 4 เเล้ว บางท่านก็บอกผมถึงปฐมณาน ผมเลยไม่รู้ตกลงผมอยู่ณานไหนกันเเน่ ? เเต่จริงๆ ผมไม่ได้สนใจนะว่าจะถึงณานไหน เเต่เพียงเเค่อยากรู้ว่า อาการในคําถาม 1 2 ของผม มันอยู่ในช่วงณานอะไร ? ตามนี้ครับ อีกอย่างคือที่ผมเคยศึกษามา ผมรู้ว่า ณานนั้นจะตัดตัวลงไปเรื่อยๆ คือ ถ้าณาน 1 ก็จะมีห้าตัวหรือหกตัวนี่ล่ะ ( ผมจําไม่ได้ว่าเรียกว่าอะไรบ้าง เดี๋ยวต้องไปหาอ่านทบทวนใหม่ หากผิดขออภัย ) คือมีพวกเอกัคคตา ( หากเขียนผิด ขออภัยครับ ) อุเบกขา วิตก วิจารณ์อะไรพวกนี้ ส่วนณาน 4 ที่เขาว่ากันว่า ลมหายใจจะหายไปจนทําให้หลายๆคนที่เจออาการนี้เข้าไปจะกลัวตายจนเลิกทําสมาธิต่อ ณาน 4 นั้นมีตัวเดียวหรือสองตัว ไม่รู้ ผมจําไม่ได้ รู้สึกจะมีเอกัคคตา เหลืออยู่ตัวเดียวรึเปล่า ? ยังไงรบกวนท่านผู้รู้ชี้เเนะหน่อยครับ อนุโมทนาครับทุกคน

    ปล. รบกวนช่วยตอบ 1 กับ 2 หน่อยครับ ผมจะได้กระจ่างใจซักที ขอบคุณครับ เจริญในธรรมครับทุกคน
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ลองไปเทียบดูเองนะครับ

    ถ้าทำด้วยความอยากได้ อยากเป็น อยากเห็น ก็ระวังหน่อยครับ มันเป็นจะเป็นมิจฉาสมาธิ มันจะไม่ก้าวหน้าเอา และจะเกิดความยึดมั่นถือมันผิดเอาได้ แต่ถ้าสลัดนิวรณ์ออกไปได้ ฌานย่อมเกิด ญานย่อมเกิด เป็นธรรมชาติของมัน วิธีทำก็ให้เอาองค์ธรรม เอานิวรณ์นั่นแหล่ะเป็นองค์ธรรม วิตก วิจาร ไปก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010
  10. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,166
    สำหรับผมนะ
    เมื่อไม่ไหลไปตามความฟุ้งซ่านทั้งหลาย ก็เห็นก็วางวิตกกวิจารณ์ลงได้ใจจะตื้นตัน จนความตื้นตันวางลง ใจจะสุข เมื่อสุขวางลง ใจก็เห็นเป็นอุเบกขาแต่อย่างเดียวอยู่อย่างนั้น (ด้วยอย่างอื่นวางไปหมดก่อนแล้ว)เห็นเป็นอุุเบกขาอยู่แต่อย่างเดียวเป็นเอกัคตา แม้เมื่อเลิกนั่งแล้วอุเบกขานั้นก็ยังติดไปได้อีกนานค้างไปอยู่อย่างนั้นเป็นเหมือนกันไหมความสงบที่ว่านั้นนะครับ ถ้าใช่มันจะถูกทำลายได้ด้วยความคิดหรือใจที่ไปติดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเป็นเหมือนกันไหมครับ

    ข้อ1กับ2นั้น ฌานผมไม่นับที่ภาพที่สิ่งที่เห็นถ้าจะนับผมขอนับที่สงบ ถ้าสงบแน่นิ่งไม่พบความฟุ้งซ่านลังเลสงสัย วิตกวิจารณ์ปิติสุขไม่ติดค้างในดังกล่าวนี้แล้ว มีแต่อุเบกขาอันเป็นความสงบอันแท้อยู่อย่างเดียว ก็ขอกล่าวว่าเป็นฌาน 4 ครับ กำลังมากน้อยก็ตามที่ตั้งแห่งเอกัคตานั้น

    แต่ถ้าจะให้สิ้นสงสัย เมื่อจิตถึงฌาน 4 แล้วต้องประกอบด้วย เอกัคตา คือเป็นอยู่อย่างนั้นอยู่อย่างเดียวได้ นำมาลองได้กับสิ่งที่เรียกว่าไม่ธรรมดา เช่นเชื่อว่าหลอดจะตั้งอยู่กลางน้ำได้ ด้วยเชื่อว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอยู่อย่างเดียว ก็จะสำเร็จได้ตามกำลังนี้ละ
    แต่จะลองหรือ เสี่ยงนะ บารมีไม่พอ ทรงไว้ไม่ได้ เสื่อมลง น่าเสียดายนะ
    ลองแล้ว เสื่อมมาแล้ว ก็ไอ้เพราะลองเพราะสงสัยนี่ละมันลากกันไปจนได้ ก็ไปตกอยู่ในความดิ้นรนปรุงแต่งฟุ้งซ่านนี่ละ พลาดเลย มีเป็นใช้ ใช้เป็นหมด
    ถ้าได้แล้วอยากเก็บของดีนี้ไว้สะสมไปเรื่อยๆจนมีกำลังมากพอ เป็นไปอย่างนั้นได้จนเป็นธรรมดาก็เป็นประโยชน์ได้
    สำหรับผม เป็นแค่ความเห็น ผิดถูกขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

    ได้แล้วเสื่อมก็เหมือนไม่ได้
    ได้แล้วไม่เสื่อมก็เหมือนไม่ได้
    ได้ไม่เสื่อม เสื่อมไม่ได้ มีค่าเท่ากัน ก็ไม่ได้ ก็ไม่เสื่อมอีก
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เอาลักขณูปนิชฌานซิ ประหารกันไปเลย ^-^
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ
    คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์มั่นคง เข้าถึงระดับฌานตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่

    แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อนมาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรงท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ อุปจารสมาธิระดับสุดท้ายเมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมีความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไรอารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็นฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ

    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก
    คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่นนอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่งอยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลยคงภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัดอาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง

    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไปบางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆอารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิตมีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิตอนนี้อารมณ์คิด คือความรู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌานที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริงไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง

    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไปทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอกที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมากเป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม

    ๔.อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึงฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่างเป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลาหน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะกำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไปเลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ

    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจแต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิตไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยกกันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมีเสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก

    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายในกำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่าเสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียดเป็นอย่างนี้

    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌานเหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป <O:p></O:p>


    ..
    อนุโมทนา
     
  13. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,732
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ขอบคุณพี่ Phanudet ทุกคนเเละพี่ ปุณฑ์ จากที่ผมอ่านเเล้วเหมือนผมจะอยู่ในณานที่สองเพราเคยผ่านช่วงคําภาวนาหายไปมานาน น่าจะปีกว่าเเล้ว ทุกวันนี้ ตอนปฏิบัติ ผมว่าผมไม่ได้คิดอะไรนะ คือมันสงบ นิ่งๆ เเต่ก็ยังไม่เคยถึงตอนที่ลมหายใจเเ่ผ่วเบาจนหายไปซักที ไม่รู้ ชาตินี้จะมีบุญถึงกับเขาบ้างไหม ? เเต่ยังไงจะพยายามต่อไปครับ ยังไงผมไม่ิทิ้งการปฏิบัติอย่างเเน่นอนครับ อ้อ สรุปเเล้ว อาการที่ผมเคยผ่านมาก็มีเห็นนิมิต อาการปีติเช่น ตัวเบาเหมือนจะลอย นํ้าตาไหล ขนลุกซู่ๆทั่วร่างกายเเละร่างกายโยกคลอนไปมา เเล้วก็คําภาวนาหายไปครับ ส่วนเรื่องนิมิต อันนี้ไม่เเน่ใจว่าเห็นนิมิตก่อนคําภาวนาหายรึเปล่า เเต่ทุกวันนี้ ผมก็ยังเห็นนิมิตอยู่ครับเเต่ไม่มากเหมือนตอนที่สงบมากๆเเบบในอดีตเเล้ว มีช่วงก่อนหน้านี้ที่ผมสงบมากๆ คือตอนนั้นศีลครบหมดเป๊ะๆ ใจมันคิดถึงเเต่นิพพานอย่างเดียว ช่วงนั้นจะเห็นนิมิตเยอะมาก มีทั้งภาพเเละเสียง จริงๆผมไม่ค่อยอยากจะเล่าเรื่องนี้นัก เเต่ผมอยากจะศึกษาเเบบถูกๆ ไม่อยากเดินผิดๆ เลยต้องขอเล่าอาการที่เคยเกิดกับตัวเองทั้งหมดให้ทุกคนฟัง พี่ๆน้องๆในนี้จะได้เเนะนําผมถูกครับ ไม่งั้น เดี๋ยวคิดเองเออเองจะหลงเข้ารกเข้าพง กู่ไม่กลับคงไม่ดีเเน่ๆ ขอบคุณครับทุกคน เจริญในธรรมครับ

    ปล. อ้อ ขอถามเพื่ิมเติมอีกอย่างหนึ่งครับ คือคนที่ถึงณาน 4 บางคนจิตจะหลุดออกจากร่าง คือผมอยากทราบว่า ถ้าเราถึงณาน 4 เเล้ว เเต่เราไม่ได้ฝึกถอดจิต คือเน้นไปที่การนั่งให้สงบเเละวิปัสสนาเฉยๆ ถ้าเราไม่ได้ต้องการถอดจิตหรือฝึกถอดจิต พอเราถึงณาน 4 เเล้ว จิตมันจะหลุดออกจากร่างเองรึเปล่าครับ ? หรือจะหลุดได้ เราต้องฝึกถอดด้วยโดยตรงถึงจะหลุดออกมาได้ ? ขอคําเเนะนําด้วยครับทุกคน อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ทำต่อไปน้อง...อย่าไปถามมาก.....คนที่ตอบเขาทำได้หรือไม่...เธอจะรู้ไม......ถ้าเขาทำได้...ต่อให้บอกเธอ...เธอทำไม่ได้...เธอก็ไม่มีวันรู้ได้....

    ตำราทุกสิ่งมีอยู่อย่างละเอียดแล้ว..พระไตรก็มีให้ยืนยัน.....สอบกับตัวเองได้เลย.....ไม่ต้องไปถามใคร....

    จริงๆพี่ว่าที่เหมาะกับเรา....น่าจะทำแบบ....ไม่หวัง.....จะไปได้ดีกว่ามานั่งตรึกว่าถึงใหนขั้นใหน.....เพราะไอ่การตรึกนี่หละตัวขวาง......หลวงพ่อท่านสอนแบบละเอียดเอาไว้เพื่อให้ได้เข้าใจตามหลักและวิธี...สำหรับผู้ที่ต้องการความละเอียดสูง....เช่น พวก พุทธถูมิ เป็นต้น เพื่อใช้ในการสอนคน.(หรือสำหรับผู้ที่ได้มาชินแล้ว...จึงแบ่งเพื่อให้เรียกสถาวะถูก...ตามแบบฉบับของพระพุทธองค์ที่ทรงสอนไว้)....ถ้าสำหรับเราก็เอาแบบดะไปเลย......ไม่ต้องไปตั่งท่านับ.....มันจะง่ายกว่านะ.....หลวงพ่อพุธท่านก็สอนอย่างนี้นะ....เล่นมันไป.....ท่านจะไม่เน้นย้ำละเอียดเหมือนหลวงพ่อ....เพราะผู้ที่มีความเชี่ยวชาญยังน้อยอยู่...จะไปติดได้ง่าย.....แต่หลวงพ่อท่านละเอียดยิบ.....

    กลัวทำไมจิตมันจะหลุด...ทำให้มันได้จนหลุดก่อนค่อยกลัว.....ถ้ามันหลุดแล้วมันตาย....อย่างน้อยไม่พลาดเทวโลก(อันนี้ถ่อมนะ..จริงๆ พรหม)..ดีกว่าตายอย่างไม่มีสติ...การปฏิบัติมันต้องเอาจริง....ถ้ากลัวตาย....แสดงว่า ปัญญาวิปัสสนาในกายานุปัสสนาที่เราฝึก ยังไม่แน่นจริง.....ของอย่างนี้เลิกพูดกัน....ท่านว่ายังใช้ไม่ได้....กลัวทำไม....ตายตอนนั้นก็พรหม....เกิดเป็นคน เป็นทุกข์ กิน ขี้ เยี่ยว ป่วย เจ็บ แก่....


    จงจำไว้เสียว่า..."ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป"......." และจงจำไว้ว่าถ้าไม่ผิดตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้...ไม่มีวันหลงทาง ".........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฌานหนึ่ง วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคตา
    รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก... ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลยคงภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด

    ฌานสอง ปิติ สุข เอกัคตา
    คำภาวนาหายไป บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่ามากท่านก็คงไม่ผิด เมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆอารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิตมีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิตอนนี้อารมณ์คิด คือความรู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา

    ฌานสาม สุข เอกัคตา
    เกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ... แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไปทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอกที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมากเป็นพิเศษ


    ฌานสี่ เอกัคตา
    อย่าลืมว่าเมื่อถึงฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่างเป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป

    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจแต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิตไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยกกันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้น เมื่อมีเสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก

    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายในกำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่าเสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียดเป็นอย่างนี้

    __

    ... ฌานสี่บางท่านมีความสว่างโพลงอยู่นานตามกำลัง หรือบางท่านมืดไปเลย แต่มีความรู้สึกถึงกำลังที่มาก การถอดจิตหรือดับรูปขันธ์ไปกำหนดรู้โดยจิตเองนั้นต้องถึงฌานสี่ แม้เป็นฌานโลกีย์ก็มีกำลังมาก พอหลุดจากรูปขันธ์แล้ว บางทีก็เข้าไปรู้เห็นโลกอื่น จากที่อ่านด้านบน... ไม่แน่ใจว่าเมื่อถอดจิตแล้วการเข้าออกระหว่างฌานจะเป็นฌานสี่อย่างหยาบหรือตกมาฌานสาม หรือเข้าออกระหว่างฌานหนึ่งถึงสี่ด้วยความชำนาญ เพราะคนที่คล่องชำนาญฌาน จะกำหนดจิตได้ คือเพ่งไปที่สิ่งนั้นด้วยอารมณ์เป็นหนึ่ง ต้องแนบแน่นจริงๆ หากเป็นนิมิตก็เป็นนิมิตที่แนบแน่น (คนทั่วไปความคิดจะแตกซ่าน ไม่เป็นหนึ่งคิดเรื่องนี้ไปเรื่องนั้นไปเรื่องโน้นไม่เป็นสมาธิค่ะ)

    ตอนถอดจิตน่ะฌานสี่ แต่ระหว่างที่ท่องไปด้วยจิต ไม่แน่ใจเท่าไหร่

    catt26
     
  16. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    เข้าฌานคือเพ่ง คือ เปลี่ยนจุดรู้
    อธิบายง่ายๆ เช่น เวลาโกรธเราจับกสิณสีเขียวแล้ว อารมณ์โกรธมันหายไป
    มันเกี่ยวกันไหม สีเขียวกับโกรธ คำตอบคือไม่เกี่ยวแต่อารมณ์โกรธมันถูกไม่รู้

    เช่นยืนโหนรถเมล์เมื่อย เราก็ฟังเพลงเปลี่ยนจากรู้เมื่อยเป็นเพลินเพราะ จิตไปจับที่เพลงแทนจิตรู้ที่เมื่อยกาย คือเอาสุขมาดับทุกข์นั้นแหละ ซึ่งที่จริงมันไม่ใช่มันต้องรู้ว่าทุกข์นั้นไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่น

    นี่เข้าฌานเป็นแบบนี้แต่มันไม่ได้รู้ตามจริง จึงไม่เกิดปัญญาพ้นโลก

    ฌานคือฝึกจิตให้มีกำลังในเบื้องต้น เพื่อจิตตั้งมั่นไม่ไหลไปตามอารมณ์ที่เกิด

    สติที่ต่อเนื่องนั้นจะเห็นความไม่เที่ยงของทุกข์ อันนี้หมดเรื่อง

    ฝึกชำนาญแล้วจับลมไม่กี่ทีนี่ต้องอารมณ์ดับ ความคิดดับ เวทนาดับ ต้องได้ขนาดนี้

    แม้แต่ผมเองฌานผมเข้มขนาด
    เคยผัสสะกระทบสัญญากระทบไม่หวั่นไหว จะไม่มีความรู้สึกเกิดเลย
    ผมอยู่มาตั้งหลายเดือนนั้นแหละนึกว่าหมดเรื่อง
    นี่ที่เค้าว่าระวังหินทับหญ้า

    คือต้องดูใจตัวเองด้วย มีอยากไหม มีพอใจ ไม่พอใจไหม
    ซึ่งอันนี้ก็รู้อยู่แก่ใจตัวเองนะครับ

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010
  17. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ผม ก็เป็นเเบบคุณ วิญญาณพระนิพาน ครับ เหมือนกันเลย
    เเต่ มันไม่สว่างครับ ดำมืด ลมหายใจ ก็เเทบจะไม่มี เบามากๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  20. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,732
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    เปล่าครับพี่ Phanudet พี่ผมถามนี่เพราะอยากรู้ไว้เป็นวิทยาทานครับ ไม่อยากรู้เเบบผิดๆ เพราะบางที ถ้าเราอยู่ในมิจฉาทิฏฐิเเล้วไปคิดเองเออเองว่ามันกําลังเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เเล้วเดี๋ยวเกิดไปเผยเเพร่เเบบผิดๆให้คนอื่นต่อ เดี๋ยวจะไปกันใหญ่ ผมเลยมาถามอะครับ ไม่ต้องห่วงครับ ผมไม่ยึดติดเเน่นอน จริงๆเวลาผมทําสมาธิ ผมไม่ได้มานั่งคิดว่าวันนี้จะได้ขั้นไหน เเต่พอดีที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาคือ วันนั้นนั่งๆอยู่เเล้วมันนึกขึ้นมาไ้ด้ พอดีก่อนหน้านี้ ผมไปคุัยเรื่องธรรมกับเพื่อนเก่าด้วย เขาพูดของเขาออกมา ผมฟังดูเเล้วไม่น่าจะถูกต้องเท่าไร ผมเลยมาตั้งกระทู้ถามก่อน เผื่อวันหลังจะได้เเนะนําเขาได้ เพราะผมก็ไม่อยากให้ใครหลงผิดเหมือนกัน ตามนี้ครับ เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...