คัมภีร์ภควัทคีตา

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 3 กันยายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์
    คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

    กลุ่มที่ 1 คัมภีร์ปุราณะ มี 18 เล่ม
    คือรวมความรู้ของชาวฮินดูโบราณ เรื่องราวการกำเนิดเทพเจ้า ปรัชญา ศาสนา ประวัติศาสตร์ การครองโลกของพระมนู 14 องค์ ประวัติของสุริยวงศ์และจันทรวงศ์ เป็นคัมภีร์ที่ดำเนินเรื่องด้วยพระผู้เป็นเจ้า 3 องค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ

    กลุ่มที่ 2 คัมภีร์พระเวท มี 4 เล่ม ได้แก่
    1. ฤคเวท - ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า
    2. สามเวท - ใช้สวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแด่พระอินทร์และคำสวดขับกล่อมเทพเจ้า
    3. ยชุรเวท - วิธีประกอบพิธีการบวงสรวงต่างๆ
    ยชุรเวท ยังแบ่งออกเป็นอีกสองสายคือ กฤษณยชุรเวท (ยชุรเวทดำ) และ ศุกลยชุรเวท (ยชุรเวทขาว)
    4. อาถรรพ์เวท - รวมคาถาอาคม เวทมนต์ต่างๆ
    กลุ่มที่ 3 คัมภีร์อุปนิษัท
    อธิบายสาระสำคัญของปรัชญา อธิบายธรรมชาติ จักรวาล วิญญาณ
    ปรัชญาสำหรับมนุษย์ กฏแห่งกรรม และหลักปฏิบัติต่างๆ

    กลุ่มที่ 4 คัมภีร์ตันตระ
    มาจากคำสนทนาระหว่างพระศิวะกับพระแม่ทุรคา ว่าด้วยการสร้างโลก การสร้างสรรพสิ่ง ความพินาศของโลก และการบูชากราบไหว้พระเป็นเจ้า วิธีการบรรลุเข้าถึงสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ การบรรลุเข้าถึงอิทธิฤทธิ์ 6 และการเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้า 4 วิธีด้วยการบำเพ็ญสมาธิภาวนา คัมภีร์ตันตระนี้ ภายหลังก่อให้เกิดลัทธิ ศักติ หรือลัทธิที่บูชาเทพเจ้าฝ่ายหญิง ทั้ง 3 คือ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สุรัสวตี

    กลุ่มที่ 5 มหากาพย์ มี 2 เรื่อง คือ
    1. รามายณะ
    ชาวไทยรู้จักกันดีในชื่อ "รามเกียรติ์" เรื่องราวการต่อสู้ของพระราม และทศกัณฑ์ ฝ่ายเทพเจ้า ฝ่ายยักษ์ ฝ่ายวานร และฝ่ายมนุษย์ เนื้อเรื่องแฝงไว้ด้วยคุณธรรมและปรัชญามากมาย
    2. มหาภารตะ <--------------
    หลักปรัชญาของศาสนาพราหมณ์จาก พระกฤษณะ อันเป็นอวตารแห่ง พระวิษณุ
    และในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ นี้เอง ที่มีคัมภีร์เล่มหนึ่งบรรจุไว้ภายในด้วย ชื่อคัมภีร์ "ภควัทคีตา" ซึ่งก็คือคัมภีร์ที่เราจะมาศึกษากันต่อไปนั่นเอง
    <table bgcolor="#cccccc" cellpadding="5" cellspacing="5" width="850"> <tbody><tr> <td class="middledetails" align="center" bgcolor="#bcbcbc" height="440" valign="middle" width="33%">[​IMG]
    เจ้าชายอรชุน และ พระนารายณ์ปางเปิดโลก
    ส่วนสำคัญที่สุดของมหากาพย์ มหาภารตะ
    ที่ก่อให้เกิดคัมภีร์ ภควัทคีตา อันศักดิ์สิทธิ์ : wikipedia </td> <td class="middledetails" align="left" bgcolor="#e1e1e1" valign="middle" width="67%"> ภควัทคีตา คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนาฮินดู
    ภควัทคีตา อ่านว่า "พะ-คะ-วัด-คี-ตา" หมายถึง "บทเพลงแห่งพระเป็นเจ้า" เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    ที่เล่าเรื่องโดย ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส โดยฤาษีตนนี้ ได้เล่าเรื่องราวของมหาภารตะให้แก่ พระพิฆเนศ และพระพิฆเนศก็ได้จดจาร บันทึกไว้เป็นตัวอักษร ก่อเกิดเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูใช้ปฏิบัติกันจวบจนปัจจุบัน
    ***คัมภีร์ภควัทคีตา ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันแทบจะไม่เหลือแล้ว ลองหาอ่านได้ตามหอสมุดแห่งชาติ (ห้องหนังสือศาสนา) โบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า และหอสมุดโบราณต่างๆ***

    มหาภารตะ เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก (ยาวกว่า สามก๊ก อีเลียด Oddysey และ The Cantos รวมกัน) มีเนื้อหาที่ซับซ้อนมาก ให้ความรู้ครบถ้วนทุกศาสตร์ในโลก ทั้งเรื่องราวของเทพปกรณัม นิทาน บทกวี คติสอนใจ หลักปรัชญา หลักการสู้รบ ภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต ศิลปะ ประเพณีของอินเดีย การเมือง และมีเรื่องย่อยๆ แทรกอยู่อีกมากมาย สามารถแยกเรื่องย่อยๆเหล่านั้นมาเป็นหนังสือได้อีกหลายร้อยเล่ม จนมีคำกล่าวยกย่องไว้ว่า..

    ...สิ่งใดไม่มีกล่าวไว้ในมหาภารตะ...สิ่งนั้นไม่มีในโลก!!!

    มหาภารตะเป็นเรื่องราวความขัดแย้งของพี่น้องที่สืบเชื้อสายเดียวกัน 2 ตระกูล ระหว่าง ตระกูลปาณฑพ กับ ตระกูลเการพ โดยทั้ง 2 ตระกูลก็เป็นพี่น้องที่สืบเชื้อสายมาจาก ท้าวภรต แห่งกรุงหัสตินาปุระมาด้วยกัน เหตุขัดแย้งบานปลาย นำไปสู่มหาสงครามอันยิ่งใหญ่ ณ ทุ่งกุรุเกษตร เพื่อแย่งชิงราชสมบัติและแย่งกันปกครองแผ่นดิน มีพรรคพวกพันธมิตรของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมหาศาล คือมหากาพย์แห่งการสู้รบระหว่างฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม
    </td> </tr> </tbody></table> <table bgcolor="#cccccc" cellpadding="5" cellspacing="5" width="850"> <tbody><tr> <td class="middledetails" align="left" height="268" valign="middle"> ตัวเอกสำคัญที่สุดของมหากาพย์ภารตะ คือ เจ้าชายอรชุน (เจ้าชายฝ่ายตระกูลปาณฑพ) และ พระกฤษณะ ซึ่งพระกฤษณะก็ คือ 1 ใน 10 ปางอวตารของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ อันสูงสุดของศาสนาพราหมณ์นั่นเอง พระกฤษณะเป็นที่ศรัทธานับถือของชาวฮินดู ในลัทธิที่นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่ในตรีมูรติ (นอกจากพระกฤษณะ หรือ ปางกฤษณาวตาร นี้แล้ว ยังมี ปางรามาวตาร โดยอวตารเป็น พระราม ใน มหากาพย์รามายณะ หรือ ชื่อไทยคือ รามเกียรติ์ ที่เรารู้จักกันดี และอีกอวตารคือ ปางพุทธาวตาร หรือ พระพุทธเจ้า ซึ่งก่อให้เกิดศาสนาพุทธในภายหลังนั่นเอง... ซึ่งทั้ง 3 ปางนี้ก็เป็นปางอวตารที่ยิ่งใหญ่ของพระวิษณุที่ชาวฮินดูนับถือมากที่สุด)

    หลักปรัชญาใน ภควัทคีตา ที่ปรากฏอยู่ภายในมหากาพย์มหาภารตะนั้น คือปรัชญาที่เกิดขึ้นจากการสนทนาระหว่าง พระกฤษณะ กับ เจ้าชายอรชุน ในระหว่างการเข้าสู่สนามรบ โดยพระกฤษณะก่อนหน้านั้นเป็น สารถีผู้ขี่ม้า ให้แก่เจ้าชายอรชุน ได้เปิดเผยสถาวะที่แท้จริงของตนในภายหลังให้อรชุนได้ประจักษ์ ว่าตนเป็น พระวิษณุอวตาร และได้แสดงธรรมเปิดเผยคำสอนแก่อรชุน อันประกอบไปด้วยความจริงแห่งโลก จักรวาล ธรรมชาติของชีวิต การปฏิบัติตนเป็นโยคี การหลุดพ้น และการเดินทางสู่สภาวะอันเป็นนิรันดร์
    </td> </tr> <tr> <td class="middledetails" align="center" bgcolor="#bcbcbc" height="221" valign="middle"><table cellpadding="15" cellspacing="5" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="251">ปรัชญาใน ภควัทคีตา ได้กลายมาเป็นคำสอนที่ชาวอินเดียผู้นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่ง ยึดเป็นข้อปฏิบัติด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า อันจะทำให้ตนหลุดพ้นบ่วงและพันธนาการอันชั่วร้ายทั้งปวง

    มหาตมะ คานธี ผู้นำอินเดีย คือบุคคลที่นำเอาหลักปรัชญาจาก ภควัทคีตา มาใช้จนเห็นผลชัดเจนที่สุด...ในบรรดาศิลปิน นักปราชญ์ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีชื่อเสียงของโลกหลากหลายอาชีพ ก็ได้ใช้ปรัชญาในคัมภีร์นี้ นำไปต่อยอดความรู้ของตน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานอันยิ่งใหญ่.....บุคคลชั้นนำในแวดวงธุรกิจ ตลอดจนนักการเมือง ผู้นำประเทศที่มีชื่อเสียงของโลกหลายท่าน ก็ได้ใช้หลักปรัชญาใน ภควัทคีตา มาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจและปกครองประเทศอยู่มากมาย

    .....บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าถึงหลักธรรมคำสอนในภควัทคีตา และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ยากเย็น.....</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td class="middledetails" align="left" bgcolor="#e2e2e2" height="427" valign="middle" width="100%">คัมภีร์ภควัทคีตา และ มหากาพย์มหาภารตะ แม้จะเป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยอวตารของ พระวิษณุ ซึ่งเป็นเทพคนละฝ่ายกับ พระศิวะ และ พระพรหม อันเป็น 3 มหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ก็ตาม แต่ชาวฮินดูทุกฝ่าย ก็ได้ยึดเอาหลักปรัชญาและคำสอนในภควัทคีตาและมหาภารตะ มาใช้ยึดเหนี่ยวและปฏิบัติในชีวิตประจำวันตราบจนสิ้นลมหายใจ ไม่ว่าตนจะนับถือพระวิษณุ พระศิวะ หรือพระพรหมเป็นใหญ่ก็ตาม เฉก เช่นเดียวกับผู้ที่นับถือพระวิษณุ หรือพระพรหมเป็นใหญ่ ก็ล้วนต้องบูชาพระพิฆเนศอันเป็นบุตรของพระศิวะก่อนการบูชาพระวิษณุหรือพระ พรหมตามหลักปฏิบัติที่มีมาแต่โบราณ นั่นหมายถึงต่างฝ่ายต่างก็ให้ความเคารพในมหาเทพอันสูงสุดของอีกฝ่าย

    ชาวฮินดูผู้ใด ที่เข้าถึงปรัชญาอันสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ได้อย่างลึกซึ้งแล้ว ผู้นั้นจะไม่มีการแยกฝ่ายแล้วว่า ฝ่ายไหนเป็นใหญ่ มหาเทพองค์ไหนสูงกว่า เพราะพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ต่างก็ได้รวมกันเป็นหนึ่ง หรือเป็น พระตรีมูรติ อันเป็นความยิ่งใหญ่สมบูรณ์เหนือสิ่งอื่นใดในจักรวาลแล้วนั่นเอง!!
    ******เมื่อได้ศึกษาปรัชญาและคำสอนในภควัทคีตาแล้ว... พฤติกรรมการนับถือลัทธิทรงเจ้าและการหลงเชื่อร่างทรงของทุกท่านก็จะมลายหายไป พฤติกรรมการนับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ของท่านในแบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไป...และค้นพบว่าตัวท่านเองได้เกิดปัญญา เกิดสติ มองเห็นดวงไฟสุกสว่าง จุดประกายนำทางชีวิตของท่านไปสู่ความเจริญ ก่อเกิดความสำเร็จและความสุขอันแท้จริง!!!
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table cellpadding="5" cellspacing="5" width="100%"> <tbody><tr> <td class="middledetails" align="center" bgcolor="#ffffff" height="637" valign="middle">(โศลกที่ 7 - ส่วนหนึ่งจากภควัทคีตา)

    คาระพันยา โดโชพะฮะทะ สวาบฺาวะฮา
    พริชชฺชามิ ทวาม ดฺารมะ สัมมูดฺะ เชทาฮา
    ยัช ชฺเรยะฮา สยาน นิชชิทัม บรูฮิ ทันนะเม
    ชีชายัส เทฮัม ชาธิ มาม ทวามะ พระพันนัม


    คำแปล - บัดนี้...ข้าพเจ้ารู้สึกสับสนในหน้าที่ของตน เนื่องจากความอ่อนแอในสภาวะเช่นนี้ ขอพระองค์โปรดชี้ทางแก่ข้าพเจ้าด้วย
    ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ขอเป็นสาวกของพระองค์
    ดวงวิญญาณของข้าพเจ้ายอมศิโรราบแด่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดชี้นำทางด้วยเถิด!!

    .........................................................................................................................................................................

    (การบำเพ็ญตบะธรรม - คำสอนส่วนหนึ่งจากภควัทคีตา)

    การบูชาเทพเจ้า
    สมณะ พราหมณ์ อาจารย์ นักปราชญ์,
    การเป็นผู้มีกายอันสะอาด, การมีความซื่อตรง, การควบคุมตนให้อยู่ในกรอบแห่งวัตร,
    การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น....สิ่งเหล่านี้คือ ตบะธรรมที่แสดงออกทางกาย...

    การพูดจาไม่สร้างความเดือดร้อน, พูดคำสัตย์, พูดจาไพเราะอ่อนหวาน,
    พูดจาที่เป็นประโยชน์....สิ่งเหล่านี้คือ ตบะธรรมที่แสดงออกทางวาจา...

    การทำจิตให้ผ่องใส, การเป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน, การเป็นผู้มีจิตใจสงบเยือกเย็น,
    การข่มใจให้ปกติเมื่อประสบกับอารมณ์....สิ่งเหล่านี้คือ ตบะธรรมที่แสดงออกทางใจ...

    ผู้ปฏิบัติตนให้บำเพ็ญอยู่ในตบะดังกล่าว
    ทั้งตบะทางกาย วาจาและใจแล้ว

    ผู้นั้นคือบุคคลประเสริฐ ย่อมประสบสุขและสำเร็จในทุกสิ่งที่ปรารถนา...!!!</td> </tr> <tr> <td class="middledetails" align="center" bgcolor="#ffffff" height="77" valign="middle">บทแรก - ก่อนดำเนินเรื่องภควัทคีตา</td> </tr> <tr> <td class="middledetails" align="center" bgcolor="#ffffff" valign="middle"><table border="1" width="100%"> <tbody><tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td colspan="5" height="46">ภควัทคีตา บทที่ 1</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 1</td> <td width="20%">โศลก 2</td> <td width="20%">โศลก 3</td> <td width="20%">โศลก 4</td> <td width="20%">โศลก 5</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 6</td> <td width="20%">โศลก 7</td> <td width="20%">โศลก 8</td> <td width="20%">โศลก 9</td> <td width="20%">โศลก 10</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 11</td> <td width="20%">โศลก 12</td> <td width="20%">โศลก 13</td> <td width="20%">โศลก 14</td> <td width="20%">โศลก 15</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 16</td> <td width="20%">โศลก 17</td> <td width="20%">โศลก 18</td> <td width="20%">โศลก 19</td> <td width="20%">โศลก 20</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 21</td> <td width="20%">โศลก 22</td> <td width="20%">โศลก 23</td> <td width="20%">โศลก 24</td> <td width="20%">โศลก 25</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 26</td> <td width="20%">โศลก 27</td> <td width="20%">โศลก 28</td> <td width="20%">โศลก 29</td> <td width="20%">โศลก 30</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 31</td> <td width="20%">โศลก 32</td> <td width="20%">โศลก 33</td> <td width="20%">โศลก 34</td> <td width="20%">โศลก 35</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 36</td> <td width="20%">โศลก 37</td> <td width="20%">โศลก 38</td> <td width="20%">โศลก 39</td> <td width="20%">โศลก 40</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 41</td> <td width="20%">โศลก 42</td> <td width="20%">โศลก 43</td> <td width="20%">โศลก 44</td> <td width="20%">โศลก 45</td> </tr> <tr class="middledetails" align="center" valign="middle"> <td width="20%">โศลก 46</td> <td width="20%">โศลก 47</td> <td width="20%"> </td> <td width="20%"> </td> <td width="20%"> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]
    ภาพสงครามการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และ ฝ่ายอธรรม ส่วนหนึ่งจากมหากาพย์มหาภารตะ : wikipedia
    ................................................................................................................................................................................................................................................

    [​IMG]
    พระกฤษณะ อวตารของพระวิษณุ เป็นสารถีผู้ขี่ม้าของ เจ้าชายอรชุน ในมหากาพย์มหาภารตะ
    ................................................................................................................................................................................................................................................

    [​IMG]
    รูปภาพจาก...image from krishna.com
    ................................................................................................................................................................................................................................................

    [​IMG]
    รูปภาพจาก...image from krishna.com
    ................................................................................................................................................................................................................................................

    [​IMG]
    พระกฤษณะ (ขวา) เปิดเผยภาวะที่แท้จริงของตนว่าคือ พระวิษณุอวตาร (ด้านหลัง)ในลีลาลักษณะ นารายณ์เปิดโลก อันยิ่งใหญ่ ให้ประจักษ์แก่ เจ้าชายอรชุน (ซ้าย)
    และได้แสดงธรรมแก่เจ้าชายอรชุนท่ามกลางสงคราม ก่อให้เกิดปรัชญาแห่งจักรวาล คือ คัมภีร์ภควัทคีตา อันยิ่งใหญ่
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    '''ภควัทคี ตา(Bhagavad Gita) เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะ(Mahabharata) ได้รจนาโดยท่านฤาษีวฺยาส (Vayasa) ซึ่งมีจุดประสงค์เช่นเดียวกันกับท่านฤาษีวาลมิกิ(Valmiki) ผู้รจนามหากาพย์รามายณะ(Ramayana) หรือรามเกียรติ์ คือ

    ''''''''''ฤาษีทั้ง ๒ ท่าน มีความเห็นว่าการศึกษาให้ลึกซึ้งในคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อุปนิษัท นั้นสำหรับบุคคลสามัญธรรมดา หรือชาวบ้านทั่วไปในอินเดียนั้น ให้เข้าใจถ่องแท้นั้นทำได้ยากยิ่ง

    ''''''''''เพราะคัมภีร์พระเวท หรือคัมภีร์อุปนิษัท กล่าวถึงส่วนนามธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นสภาวะที่ละเอียดที่บรรยายถึงธรรมชาติสูงสุดและความเป็นไปอย่างถ่องแท้ ของจักรวาล

    ''''''''''การที่ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ก็คือ การเขียนรจนาเป็นกาพย์เรื่องราวเป็นรูปธรรม บุคคลาธิษฐานเพื่อปลูกฝังศีลธรรม การประพฤติตนให้ถูกต้อง ผ่านความประทับใจในตัวละครที่รจนาขึ้นมาโดยอาศัยข้อมูลประวัติศาสตร์จริงของ อินเดียมาบางส่วนเพื่อดำเนินเรื่อง โดยให้ผู้อ่านสามารถเกิดการซึมซับธรรมะในส่วนนามธรรม จากความประทับใจเนื้อหานั้นโดยไม่ต้องท่องจำ สู่วิถีชีวิต คุณธรรมสู่ความดีงาม

    ''''''''''มหากาพย์ภารตะเป็นเรื่องราว การต่อสู้กันเองของชาวอารยันหลังจากยึดอินเดียได้จากชนเผ่าพื้นเมืองดราวิ เดียนแล้วอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สงครามนี้เป็นการต่อสู้กันระหว่างตระกูลปาณฑพ(Pandavas) กับตระกูลเการพ(Kurus) ซึ่งเป็นพี่น้องกันเอง จนเกิดเป็นสงครามที่กุรุเกษตรทางภาคเหนือใกล้กับกรุงเดลลีเก่า ครั้งนี้กษัตริย์อารยันทั่วอินเดียได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย แสดงถึงสภาพของอินเดียในขณะนั้นที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจกัน

    ''''''''''ภควัทคีตา ถือเป็นตอนสำคัญในเนื้อเรื่อง เนื้อความเป็นอนุศานส์การสนทนาระหว่างพระกฤษณะกับพระอรชุน ก่อนประกาศสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร คำสนทนานั้นพระกฤษณะได้อธิบายถึงความจริงของจักรวาล ความมีอยู่ ความเป็นไป และความที่จะเป็นของสิ่งต่างๆในจักรวาล.. เพื่อให้พระอรชุนเข้าใจในข้อเท็จจริงอันเป็นสัจธรรม ความเข้าใจในสัจธรรมนี้จะเป็นรากฐานแห่งความเห็น การคิด การตัดสินใจในการกระทำต่างๆได้ตามหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมถูกต้องตามหลักแห่ง สัจธรรม กฏแห่งธรรม(กรรม)

    [​IMG]

    พระกฤษณะตรัส...
    ''''''''''อรชุน เราจะบอกญาณอันเป็นความรู้ที่เร้นลับที่สุดแก่เธอผู้เป็นคนน่ารัก เมื่อเธอรู้สิ่งนี้แล้วเธอจะสามารถพ้นจากความบาปได้ สิ่งนี่เป็นราชาแห่งวิทยา เป็นราชาแห่งความเร้นลับ เป็นยอดแห่งผู้ที่ชำระตนจะสามารถรับรู้ได้โดยธรรมและญาณทัศนะที่ถูกต้อง ปฏิบัติง่ายไม่เสื่อมคลาย ผู้ที่ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ย่อมไม่บรรลุถึงเรา และจะกลับไปสู่หนทางมฤตยูของวัฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

    ''''''''''จักรวาลทั้งหมดถูกตัวเราที่ ไม่ปรากฏรูปร่างห่อหุ้มเอาไว้ สรรพสิ่งทั้งหลายดำรงอยู่ในตัวเรา แต่ตัวเราหาได้อยู่ในสรรพสัตว์ไม่ นี่คือความเร้นลับอันศักดิ์สิทธิ์ จงรู้ไว้เถิดว่าตัวเรา ซึ่งเป็นพระเจ้า เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง และสรรพสัตว์ทั้งปวง และค้ำจุนสรรพสิ่ง และสัตว์ทั้งปวง แต่ตัวเราหาได้อยู่ในสิ่งเหล่านี้ไม่ อุปมาดุจลมพายุใหญ่ที่พัดอยู่เสมอ และพัดไปทุกหนทุกแห่ง พร้อมทั้งหอบเอาสิ่งต่าง ๆ ไปด้วยกับลมนั้น

    ''''''''''เมื่อถึงเวลาสิ้นยุค เราจะใช้ประกฤติ หรือ พลังของเรา ทำให้สรรพสิ่งรวมกันคล้ายเมล็ดพืช และเมื่อเราเริ่มยุคใหม่ เราจะให้กำเนิดสิ่งเหล่านี้ใหม่อีกด้วยสิ่งนี้ โดยให้มายา เป็นผู้ปกครองสรรพสิ่ง เราผู้เป็นเจ้าของย่อมสร้างสรรพสิ่งครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ตัวเราไม่ยึดติดกับผลของกรรมเลย เราจึงไม่ถูกผูกมัดด้วยกรรม เพราะ มายา และปัญญา ล้วนเป็นพลังของเรา และเราใช้พลังนี้ทำให้สิ่งที่เราสร้างอยู่ในการดูแลของเรา เหมือนลมที่ใคร่จะพัดไปทางไหน ก็จะไปทางนั้น จักรวาลย่อมเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุนี้

    ''''''''''คนเขลาที่ไม่รู้ภาวะอัน ประเสริฐของตัวเรา เขาย่อมดูแคลนตัวเราเมื่ออยู่ในร่างมนุษย์ ว่าเราจำกัดด้วยพุทธิ ปัญญา และ ฤทธิ์อำนาจ และเมตตา เขาผู้มีความหวังอันสูญเปล่า มีกรรมทั้งปวงที่สูญเปล่า มีความรู้อันสูญเปล่า จึงหันไปรับมายาหรือความจอมปลอมจากตัณหาและอหังการเยี่ยงปีศาจเอาไว้ แต่ยอดคนทั้งหลายย่อมอาศัยเรา และบูชาเราด้วยใจไม่วอกแวก เพราะเขารู้จักเรา ผู้เป็นบิดา เป็นมารดา เป็นมิตร ผู้อุ้มชู และบรรพบุรุษของโลกนี้ เราเองคือพระเวท เราเองคือเป้าหมาย เราเองคือเสาค้ำจุนจักรวาล เราเองเป็น แดนเกิด และ แดนดับ ของสิ่งทั้งหลาย เราเป็นผู้ให้ความร้อน เย็น เป็นที่ตั้ง และเป็นที่เก็บ เป็นเมล็ดพืชแรกของสรรพสิ่ง เป็นชีวิต เป็นความมตะ และ อมตะ

    เมื่อเราอยู่ในฐานะของสิ่งที่อยู่ (สัต) เราก็คือ
    รูปปรากฏแห่งจักรวาลทั้งมวล
    เมื่อเราอยู่ในฐานะของสิ่งที่ไม่อยู่ (อสัต) เราก็คือ
    ความว่างอันสงัดยิ่งนัก เป็นโมกษะ

    ''''''''''อรชุน ไม่ว่าเธอจะทำอะไร จะบริโภคอะไร จะบูชาอะไร และจะถวายอะไร จะบำเพ็ญตบะหรือทำอะไรก็ตาม จงมอบสิ่งนั้นให้แก่เรา แล้วเธอจะพ้นจากพันธะของกรรม ไม่ว่าผลดีหรือชั่ว เธอจะต้องสละผลทุก ๆสิ่งให้แก่เราจนหลุดพ้นแล้ว เธอก็จะบรรลุถึงตัวเราได้ ตัวเราเป็นผู้เสมอภาคต่อสรรพสัตว์ ความเกลียดใครและความรักใครไม่มีในเรา ผู้ใดคบเราด้วยความรักและภักดี ผู้นั้นจะอยู่ในเรา และเราจะอยู่กับผู้นั้น ผู้ใดบาปหนาสักเพียงไรในสายตาโลกก็ตาม หากเขาสละกรรมและภักดีต่อเราด้วยความรัก เราก็จะถือว่าเขาเป็นคนดี เพราะเขามีความตั้งใจชอบ เขาจะกลายเป็นผู้เที่ยงธรรม และได้รับสันติเป็นนิจ ดังนั้น จงถือตัวเราเป็นที่พึ่ง และเจ้าจะบรรลุต่อเราได้...

    มหากาพย์อินเดีย เรื่อง “มหาภารตยุทธ์” เป็นสงครามของพวกอารยัน ภายหลังที่ปราบชนพื้นเมืองได้

    ''''''''''ภายหลังที่ตระกูลอารยันต่างๆ เข้าปกครองอินเดียชมพูทวีปพิชิตชนพื้นเมืองเบ็ดเสร็จ ก็แตกความสามัคคีแย่งความเป็นใหญ่ในหมู่วงศาคณาญาติ คือ ตระกูลเการพ(Kaurav) และตระกูลปาณฑพ(Pandav) ทั้ง ๒ ตระกูล ยกกำลังเข้าต่อสู้กันติดต่อกันมานับพันปี มีทหารล้มตายในการสู้รบของทั้ง ๒ ฝ่ายนับเป็นแสนคน ฝ่ายพวกปาณฑพ ถือเสมือนว่าเป็นตัวแทนฝ่ายธรรมะ มีพระอรชุนเป็นจอมทัพ ฝ่ายกองทหารเการพ ถูกกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายอธรรม มีท้าวภูษมะเป็นจอมทัพ ต่อมาพระกฤษณะซึ่งเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ ยกกองทัพเพื่อเข้าไกล่เกลี่ยปรองดองให้เลิกทัพ ยุติสงคราม แต่ทั้ง ๒ ตระกูลไม่ยอมแพ้กัน พระกฤษณะไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรจึงให้ทั้ง ๒ ฝ่ายเลือกที่จะตัดสินใจเอง ฝ่ายเการพเลือกเอากองทัพอันเกรียงไกรของพระกฤษณะ ฝ่ายปาณฑพอรชุนเลือกเอาพระกฤษณะทรงเป็นสารถีขับรถศึกให้

    [​IMG]
    แผนที่ภูมิศาสตร์ในยุคมหาภารตะ ประเทศอินเดีย(ชมภูทวีป)

    ''''''''''ก่อนที่ ๒ ตระกูลพวกอารยันเข้าทำสงครามห้ำหั่นกัน พวกอารยันเหล่านี้ ได้บุกรุกเข้ามาแย่งดินแดนของพวกชนเผ่ามองโกลซึ่งอยู่ในตระกูลทิเบต-จีน รวมถึงพวกไตอาหมซึ่งอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนอินเดียด้วย

    ''''''''''พวกอารยันเรียกชนชาติผิว เหลืองเผ่ามองโกลทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพูดภาษาตระกูล ทิเบต-จีน ว่าพวกกีราต พวกอารยันถือว่าชาวกีราตมีฐานะทางสังคม เป็นพวกไพร่ พวกทาส ที่เจ้านายอารยันอาจนำตัวไปอุทิศถวายเทวะ หรือทำพลีกรรมอย่างไรก็ได้

    ''''''''''คัมภีร์มหาภารตะ(Mahabharat) กล่าวถึงกีราตว่าเป็นพวกอยู่ทางเทือกเขาหิมาลัยตะวันออกในแคว้นวิเทหะ ภีมะเป็นวีรบุรุษตระกูลปาณฑพได้มาปราบหัวหน้าชนชาติกีราต ได้ถึง ๗ ชนเผ่า ในสงครามชิงอำนาจระหว่าง ๒ ตระกูลใหญ่ของอารยัน คือ ปาณฑพ กับเการพ ณ ทุ่งกุรุเกษตร พวกกีราตและจีนถูกกวาดต้อนให้เข้าร่วมรบด้วยและล้มตายเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามแน่นอนที่สุดฝ่ายธรรมะจะต้องชนะฝ่ายอธรรม

    อ้างอิงเนื้อหาจาก หนังสือ สยำกุก-นครวัด กองทัพศรีวิชัย ผู้เขียน ชำนาญ สัจจะโชติ,พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จัดจำหน่ายโดยบริษัทงานดี(๐-๒๕๘๐-๐๕๕๙)


    ความหมายของ“โมกษะ”

    ........"ผู้ใดซึ่งหลุดพ้นจากความ ปรารถนาทั้งมวล กระทำกิจทุกประการด้วยความไม่ยึดครอง ปราศจากความยึดในตัวตน และความเป็นของตน ผู้นั้นถึงซึ่งความสงบสุข

    ............ เมื่อถึงซึ่งสภาวะนี้แล้ว จะปราศจากความงุนงง ลังเลและความสงสัยใดๆ ผู้มั่นคงอยู่ในสภาวเช่นนั้น แม้ในวาระสุดท้ายของความตาย ผู้นั้นก็ถึงซึ่งความสงบสันติสุขอันเป็นความสงบสูงสุดของพระเจ้า”


    และ * ไวศษิกะ-เวทานตะ-สางขยะ ดังกล่าวอยู่ในหลักทรรศนะ ๖ (The Darshanas)
    ........ไวเศษิกะ กล่าวถึงโมกษะว่า “ความติดข้องเนื่องมาจากอวิชชา คือ ความไม่รอบรู้ และโมกษะเนื่องจากความรอบรู้... เมื่อจิตหลุดพ้นจากอิทธิพลของสภาวะทางกายและทางอารมณ์ และได้ประสบสภาวะธรรมชาติอันบริสุทธิ์ สภาวะนั้นคือ โมกษะ ซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัวเอง หมดสิ้นจากทุกข์ทั้งมวลโดยสิ้นเชิง จิตทุกดวงย่อมมีสภาวะธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามแบบเฉพาะของตน”

    ........เวทานตะ อธิบายถึงโมกษะว่า “โมกษะคือ สภาวะสงบ ประณีต ลุ่มลึกที่ไม่อาจบรรยายได้ เป็นสภาวะที่ไม่แตกแยกเป็นสอง ไม่สามารถหาคำมากล่าวขานหรือบ่งชี้ได้ สาระแห่งคุณสมบัติก็คือความเชื่อมั่นแห่งความเป็นหนึ่งเดียวของทุกสิ่งในโลก นี้... มายาคือสภาวะลวงที่ปรุงแต่งขึ้นเคลือบและปกคลุมสิ่งจริงแม้สิ่งเดียวนั้นไว้ อันเนื่องจากหน้าที่ของมายา ทำให้จิตแต่ละดวงเชื่อว่าเขาคือคนละสิ่งคนละอันกัน มีความแตกต่างกันมิใช่สิ่งเดียวกัน โมกษะคือสภาวะที่จิตแต่ละดวงนั้นตระหนักแล้วและทำสภาวะของตัวเองให้เหมือน กับสภาวะของพรหมันได้ แต่มิใช่เข้ารวมอยู่ในพรหมัน”

    ........ฐานคติของสางขยะเหมือนความ เชื่อของเวทานตะ ตรงส่วนที่ว่า “โมกษะคือการทำสภาวะจิตให้หลุดพ้นจากการจำกัดของกาลเวลา เป็นสภาวะที่เหมือนของความบริสุทธิ์เฉพาะตน ในสภาวะนั้นจะไม่มีความรู้สึกในความเป็น “ฉัน” หรือ “ของฉัน” และนี่คือสภาวะสูงสุดของโยคี นักปฏิบัติ และนั่นคือโมกษะ เป็นสภาวะที่หลุดพ้นจากระบบของกายและจิตที่ปรุงแต่ง


    ........ในคัมภีร์อุปนิษัทกล่าวถึง โมกษะ ไว้ว่า “แก่นแท้ของชีวิตซึ่งอุบัติขึ้นเป็นชีวิตแล้วก็อยู่ภายใต้ข้อจำกัด และเป็นที่รวมของทุกข์ทั้งปวง แต่สิ่งเหล่านี้ก็ถูกกำจัดออกได้จนบรรลุโมกษะ ได้รับอิสระหลุดพ้นจากตัณหาและความโง่เขลาทั้งปวง นั่นก็คือแก่นแท้จากพรหมันถึงซึ่งพัฒนาที่สมบูรณ์ถึงสภาวะเดิมของตัวมันเอง”

    ........สาระแห่งหลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความรู้แจ้ง(โมกษะ) คงอยู่บนแกนของหลักที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
    1. การทำให้เกิดความรู้แจ้งในสัจจะ (หลักทางปัญญา)
    2. การบูชาด้วยการสละตัวตน (หลักการกระทำ) ละความยึดถือในความรู้สึกที่เป็นของตัว ของตน
    3. การทำสมาธิ (หลักการทำจิตสงบ)


    _________________________________

    มหาภารตยุทธ
    ศานติบรรพ : อนุศาส์น


    ลักษณะทางแห่งความเสื่อม และความเจริญของจิตวิญญาณ

    ........ความกำหนัด ความมุ่งร้าย ความหลง ความระเริง ความเศร้าโศก ความถือตัว ความโกรธ ความเย่อหยิ่ง
    ความเกียจคร้าน ความริษยา เหล่านี้เป็นลักษณะผู้ที่ดำเนินทางแห่งความเสื่อม

    ........การให้อภัย ความหนักแน่น การไม่ปองร้าย ความเยือกเย็น ความสัตย์ ความซื่อตรง การเอาชนะอินทรีย์ทั้งหก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ความอ่อนโยน ความละอายต่อบาป ความไม่เรรวน กระละเว้นความชั่วร้าย ความไม่วุ่นวาย ความสันโดษทางกายและจิต การพูดจาอ่อนหวาน การไม่เบียดเบียน การไม่อิจฉา เหล่านี้เป็นลักษณะผู้ที่ดำเนินทางแห่งความเจริญ

    ยอมตายเพื่อธรรมะ ดีกว่าได้ชัยชนะด้วยการทำบาป

    ความโลภเป็นบ่อเกิดแห่งบาปทั้งปวง ผู้ที่จะชนะตนเองได้ต้องเอาชนะความโลภของตนเสียก่อน

    เมื่อใดที่เราย่นความอยากเข้าตัวของเราได้ ดุจเดียวกับที่เต่าหดหัวเข้ากระดองของมัน
    เมื่อนั้นเราจะพบแสงสว่างและความสูงส่งแห่งจิตวิญญาณ

    ........ตัณหาคือความอยาก เป็นบ่อเกิดแห่งอกุศลกรรมทั้งปวง ความอยากก่อให้เกิดความโลภ ความโลภก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดและเลห์เหลี่ยมทั้งหลายทั้งปวงลักษณะหน้า ไหว้หลังหลอก อหังการ ความอาฆาต ความหลงผิดในความรู้ ความหลงผิดในชาติกำเนิด ความหลงผิดในทรัพย์สินศฤงคาร เป็นอาทิเหล่านี้ล้วนมีกำเนิดจากความโลภ ความโลภ มีให้เห็นในทุกแห่งหนไม่เลือกว่าในเด็กในหนุ่มสาว และในผู้ใหญ่ ความโลภซ่อนตัวมาแม้แต่ในเสื้อคลุมของศาสนา

    ความโลภมีมากเท่าใด ความไม่รู้จริง(อวิชชา)มีมากเท่านั้น
    หมดความโลภจึงจะหมดความไม่รู้จริง

    ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยให้แสงสว่างได้ยิ่งเท่าความรู้
    ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยขัดถูและเกลากิเลสได้เหมือนความสัตย์
    ไม่มีสิ่งใดที่เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ถนัดได้เท่าราคะ
    ไม่มีสิ่งใดที่ให้ความสุขเหมือนการเสียสละเพื่อผู้อื่น

    เมื่อยามมีสุข ไม่ควรจะเต้นตื่นฉันใด เมื่อยามมีทุกข์ภัยก็ไม่ควรจะโศกเศร้าฉันนั้น

    ความรู้จริงเป็นรากฐานของสรรพชีวิต

    ........ความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อความรู้นั้นช่วยให้ผู้รู้มีความประพฤติดี และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เป็นนิตย์

    ........................


    ........มหาภรตยุทธ มีชื่อเดิมว่า "ชัย" เป็นเนื้อหาของราชวงศ์ภรต ต้นกำเนิดราชวงศ์ในอินเดีย "ชัย" หรือมหาภารตะ กล่าวถึงการสู้รบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในหมู่ราชวงศาคณาญาติหมู่กษัตริย์ อารยัน หลังจากครอบครองอินเดียได้โดยเบ็ดเสร็จจากชนเผ่าพื้นเมืองเดิมดราวิ เดียน(ฑราวิท) เป็นเนื้อหาการอวตารของกฤษณาวตาร ตามลัทธิความเชื่อไวษณพนิกาย ที่ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ เนื้อหารจนาเพื่อสอนอนุชนรุ่นหลังในศาสตร์ต่างๆ คือ สัจจวาจา ธรรมยุทธ์ และธรรมศาสตร์ เป็นต้น

    ........ส่วนรามเกียรติ์ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนยุคมหาภารต เป็นเนื้อหาการอวตารของรามาวตาร ตามลัทธิความเชื่อไวษณพนิกาย ที่ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ เป็นเนื้อหาตอนที่ พระรามลงมาปราบพวกยักษ์ ซึ่งในประวัติศาสตร์อินเดียแท้จริงนั้น คือ พวกชนเผ่าพื้นเมืองเดิมดราวิเดียน(ฑราวิท) เมื่อชนะแล้วจึงแบ่งชนชั้นด้วยวรรณะ(สีผิว) โดยผู้ที่รุกรานคือผู้รับชัยชนะเป็นผู้กำหนด และจารึกประวัติศาสตร์ เนื้อหาต่อเนื่องศึกษาได้จาก ลิงค์ด้านล่าง..
    ถอดรหัส รามาวตาร ธรรมจักร ธรรมศาลา ~ ถอดรหัส รามาวตาร

    เมื่อ 19 ม.ค.2002 BBC มีการรายงานข่าวการค้นพบเมืองใต้สมุทรโดยทีมงานสมุทรศาสตร์อินเดีย(NIOT) สถาบันวิจัยทางทะเลอินเดีย
    จากหลักฐานต่างๆที่ค้นพบแล้วปรากฏว่า เป็นเมืองที่มีอารยธรรมเก่าแก่ย้อนหลังไปประมาณ ๙,๕๐๐ปี
    ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่กว่ากว่า อารยธรรมฮารัปา-โมเฮนโจดาโร
    BBC News | SOUTH ASIA | Lost city 'could rewrite history'

    มีการตั้งข้อสังเกตว่าจากหลักฐานที่ค้นพบนั้นโยงใยไปถึงเมืองDwaraka(ทวารกา หรือทวารวดี) ซึ่งตามมหาภรตยุทธกล่าวไว้ว่าเป็นเมืองของพระศรีกฤษณะ
    ซึ่งตอนท้ายของมหาภารตยุทธ ผู้รจนากล่าวไว้ว่า เมืองทั้งเมือง และผู้คนได้จมลงไปภายใต้น้ำทะเลโดยภัยพิบัติชนิดฉับพลัน

    [​IMG]
    เมืองใต้ทะเลที่ค้นพบอยู่ใกล้อ่าวแคมเบย์

    [​IMG]
    แผนที่อินเดียยุคมหาภารตะ

    รายละเอียด: http://www.morien-institute.org/uwnews2002.html#cambay

    และอิทธิพลของอารธรรมอินเดียที่ได้ขยายขอบเขตมาสู่สุวรรณภูมินี้เอง
    จากความประทับใจในแง่อารยธรรมทำให้แถบถิ่นนี้มีการนำชื่อของเมือง ชื่อคน ชื่อภูเขา สถานที่ต่างๆ จากวรรณคดีต่างๆของอินเดีย เช่น รามายณะ ,มหาภารตยุทธ สมัยพุทธกาล
    มาตั้งชื่อคนและสถานที่ที่สุวรรณภูมิ(สยาม)ภาคกลาง ภาคใต้ด้วย เช่น ทวารวดี ,อโยธยา ,ภูเขาคิชกูฏ ,ภูเขาพระสุเมรุ ชื่อคนเช่น ปรเมศ, ปรเมศวร,กฤษณะ, วิษณุ ,ราม, รามา, มนู ,ลักษมี ,สีดา...ฯลฯเป็นต้น
    โดยที่ชื่อคนบางชื่อยังทันสมัยอยู่ แต่บางชื่อก็ไม่ใช้กันในยุคสมัยนี้แล้วเช่นกัน
     
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <table align="center" border="0" cellpadding="3" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr bgcolor="#ffffcc"><td valign="center">
    </td></tr> <tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> <table align="left" bgcolor="#f5f5f5" border="0" cellpadding="2" cellspacing="2"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td align="center">
    </td></tr></tbody></table>
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> "ภควัทคีตา" แปลว่า บทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า
    เป็นชื่อคัมภีร์สำคัญหนึ่งของศาสนาฮินดูนิกายไวษณพที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด เชื่อกันว่าผู้รจนาคัมภีร์นี้คือ "ฤาษีเวทวยาส" หรือเรียกอีกชื่อว่า "กฤษณะ ไทวปายนวยาส" ผู้รจนามหากาพย์ "มหาภารตะ" และคัมภีร์นี้ก็เป็นบรรพหนึ่งของมหากาพย์นั้น เรียกชื่อว่า "ภีษมพรรพ"

    ได้แก่บรรพที่ "ศรี กฤษณะ" (ถือกันว่าเป็นนารายณ์อวตารปาง กฤษณาวตาร) ผู้เป็นทั้งพระสหายและสารถีรถศึกของ "เจ้าชายอรชุน" ตอบปัญหาและอธิบายความถวายเจ้าชายอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ ขณะทรงหดหู่และท้อถอยพระทัยที่ต้องนำทัพออกทำสงครามชิงเมืองกับเจ้าชายทุร โยชน์ เจ้าชายฝ่ายเการพ แห่งจันทรวงศ์เช่นกัน เพราะทรงเห็นว่าล้วนเป็นพระญาติกันทั้งสิ้น

    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> ภควัทคีตา มี 18 อัธยายะ
    หรือบท 1.อรชุนวิษาทโยคะ (ความท้อถอยของอรชุน) 2.สางขยโยคะ (หลักทฤษฎี) 3.กรรมโยคะ (หลักปฏิบัติ) 4.ชญาณกรรมสันยาสโยคะ (หลักจำแนกญาณ) 5.กรรมสันยาสโยคะ (หลักว่าด้วยการสละกรรมและการประกอบกรรม) 6.ธยานโยคะ (หลักการเข้าฌาน) 7.ชญาณโยคะ (หลักญาณ) 8.อักษรพรหมโยคะ (หลักว่าด้วยพรหมไม่เสื่อมเสีย) 9.ราชวิทยาราชคุยหโยคะ (หลักว่าด้วยเจ้าแห่งวิทยาและเจ้าแห่งความลึกลับ) 10.วิภูติโยคะ (หลักทิพยศักดิ์) 11.วิศวรูปทรรศนโยคะ (หลักว่าด้วยการเห็นธรรมกาย)


    12.ภักติโยคะ (หลักความภักดี) 13.เกษตรชญวิภาคโยคะ (หลักจำแนกร่างกายและผู้รู้ร่างกาย) 14.คุณตรัยวิภาคโยคะ (หลักจำแนกคุณ 3) 15.ปุรุโษตตมโยคะ (หลักว่าด้วยบุรุษประเสริฐ) 16.ไทวาสุรสัมปทวิภาคโยคะ (หลักว่าด้วยการจำแนกเทวสมบัติและอสูรสมบัติ) 17.ศรัทธาตรัยวิภาคโยคะ (หลักจำแนกศรัทธา 3) 18.โมกษสันยาสโยคะ (หลักว่าด้วยการสละที่เป็นปฏิปทาแห่งโมกษะ)
    </td></tr></tbody></table></td></tr><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="2" cellspacing="2" width="95%"><tbody><tr><td class="A2" valign="top"> คัมภีร์ภควัทคีตาว่าด้วยหลักธรรม 2 ประการ
    คือ หลักอภิปรัชญา ว่าด้วยเรื่องอาตมันว่ามีสภาพเป็นสัตว์ที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีใครฆ่าหรือทำลายได้ และหลักจริยศาสตร์ ว่าด้วยธรรมะหรือหน้าที่ของกษัตริย์ คือหน้าที่รบเพื่อทำลายล้างอธรรม และผดุงศีลธรรมโดยไม่หวังผลตอบแทน


    บทสนทนาโต้ตอบระหว่างศรี กฤษณะกับเจ้าชายอรชุน ถ่ายทอดโดย "สญชัย" เสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฎร์ พระราชาพระเนตรบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ โดยมหาฤษีเวทวยาสเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สญชัย เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูลพระเจ้าธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ ถ้อยคำที่สญชัยเรียบเรียงทูลดังกล่าว ให้ชื่อกันภายหลังว่า ภควัทคีตา
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    ที่มา
    http://www.siamganesh.com/BhagavadGita.html
    http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?t=229
    http://variety.teenee.com/foodforbrain/460.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...