คุณคิดอย่างไรกับ “ธรรมศาสตร์โมเดล” แก้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย obs2553, 22 ตุลาคม 2011.

?
  1. เห็นด้วย

    0 vote(s)
    0.0%
  2. ไม่เห็นด้วย

    0 vote(s)
    0.0%
  1. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    แนะ “ธรรมศาสตร์โมเดล” แก้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2554 13:49 น.

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td align="center" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"><tbody><tr><td align="center" valign="Top" width="600">[​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">แบบจำลอง 3 มิติ แนวคิด "ธรรมศาสตร์โมเดล" โดยแฟนเพจ "ขบวนการเสรีไทยเฟซบุ๊ค" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำคันกั้นน้ำเป็นชั้นๆ และปล่อยน้ำให้ท่วมในพื้นที่บางส่วน จะช่วยป้องกันกรุงเทพฯ ชั้นในได้ </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="5" align="center" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    จากที่เคยวิเคราะห์ว่าโอกาส น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ 50-50 มาถึงวันนี้สถานการณ์ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นแล้ว เลขาฯ "มูลนิธิสืบ" ออกมาแนะรัฐบาลให้ทำหน้าที่ "ตัดสินใจ" โดยใช้ "ธรรมศาสตร์โมเดล" เอาน้ำกั้นน้ำ ลดความแรงของกระแสน้ำ ทะยอยปล่อยให้มีเวลาการเคลื่อนย้ายและอพยพ พร้อมดึงนักวิชาการรุ่นพี่มาร่วมอธิบาย



    ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เผยแพร่คลิปผ่านยูทูปแนะนำวิธีแก้วิกฤตน้ำท่วมอีกครั้งเมื่อค่ำวันที่ 20 ต.ค.54 โดยหวังให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ "ตัดสินใจ" เพื่อป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน วิธีเบี่ยงน้ำของนายกฯ ไม่น่าจะ "เอาอยู่" และคันรังสิต -นครนายกไม่น่ารับปริมาณน้ำมากๆ ไหวแล้ว และจะทำให้เกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน ซึ่งเขาให้ความเห็นว่า หากเกิดน้ำท่วมหมดทุกพื้นที่จะไม่เหลือ "พื้นที่แห้ง" สำหรับบัญชาการ ไม่มีโรงพยาบาลสำหรับช่วยผู้คน และจะเกิดความโกลาหล หากรักษากรุงเทพฯ ชั้นในไว้ได้น่าจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยรวมมากกว่า


    วิธีที่ศศินเสนอคือใช้ "ธรรมศาสตร์โมเดล" ที่เสนอโดย อภิชาติ สุทธิศิลธรรม หรือ “ลุงมูซา” ซึ่งจบปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมเคมี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยโมเดลดังกล่าวช่วยให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบความสำเร็จในการป้องกัน น้ำท่วมจากการทำคันกั้นน้ำ แล้วปล่อยน้ำเข้าเป็นชั้นๆ ตามคันกั้นน้ำ เพื่อให้ “น้ำต้านน้ำ” และป้องกันคันกั้นน้ำพังจากระดับน้ำที่สูงเกิน

    แนวคิดดังกล่าวเมื่อเสนอใช้กับกรุงเทพฯ ซึ่งคิดว่าจะได้ผลเช่นเดียวกันนี้ จะทำให้มีพื้นที่ที่ต้องยอมให้น้ำท่วม แต่การสร้างคันกั้นน้ำลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้เรารักษาระดับน้ำไว้ได้ และมีเวลาในการเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลต้องบริหารจัดการ และให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงยอมรับว่ารัฐบาล "เอาไม่อยู่" และต้องมีการชดเชยความเสียตามความเป็นจริง

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="600"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline"> อภิชาติ สุทธิศิลธรรม</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td height="5" align="center" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    คลิปเสนอแนวคิด "ธรรมศาสตร์โมเดล" โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

    <iframe src="http://www.youtube.com/embed/bmI5WnecYdA?rel=0" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" width="420"></iframe>
     
  2. ballbkkno1

    ballbkkno1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +28
    ไม่รู้สถานการณ์ตอนนี้เป็นยังไงนะครับ แต่ต้นแบบ


    น้ำทะลักเข้าธรรมศาสตร์ รังสิตแล้ว เร่งอพยพนศ.



    น้ำทะลักเข้าธรรมศาสตร์ รังสิตแล้ว เร่งอพยพนศ.


    น้ำทะลักเข้าม.ธรรมศาสตร์ รังสิต บางส่วน ต้องอพยพคนไปยิมฯหนึ่ง : มติชนออนไลน์


    http://mgr.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134817
     
  3. pattarawat

    pattarawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,671
    ค่าพลัง:
    +7,982
    ไม่ได้โหวตนะ แต่ส่วนตัวคิดว่า โมเดลนี้ถูกต้องตามทฤษฎีทุกอย่าง
    แต่ในสภาพจริง มันมีบ้านคน อาคาร หน่วยงาน วางอยู่กระจัดกระจาย
    ผมว่า ปล่อยเถอะ ณ เวลานี้ ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ก่อนที่จะหนักกว่านี้
    เพราะจะมีน้ำเหนือกมาสมทบอีก
     
  4. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,865
    วิธีนี้จะใช้ได้ต่อเมื่อมวลน้ำด้านในด้านนอกคั้นกั้น มีปริมาณต่างกันไม่มากนัก

    แต่ปัจจุบันปริมาณน้ำต่างกันเป็นร้อยเท่า ไม่ต้องคำนวณก็รู้ว่า "ไม่มีทางรอด"

    แนะนำให้ไปหาวิธีเร่งระบายน้ำให้เร็วที่สุดดีกว่า ไม่มีทางเลือกอื่นๆอยู่แล้ว
     
  5. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    ดูภาพถ่ายจากดาวเทียม กท.เป็นแอ่งกะทะ ยังไงก็เหมือนสร้างคันกั้นในแอ่งกะทะ ปีหน้าก็อาจโดนอยู่ดี ทางที่ดีหาวิธีย้ายเมืองมิดีกว่าหรือ ลองคิดนอกกรอบดูสักครั้งหน่อยไหม อจ.ข้าจะว่าไง
     
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก

    - มีการพังกระสอบทรายโดยคนในพื้นที่...ล่าสุดดอนเมือง

    - รัฐ...ไม่มีการชดเชยผู้ประสบภัยอย่างเป็นธรรม...จ่ายเหมา 5000 แล้วจบ

    - ต้นแบบ...ที่เสนอแผนนี้...คันกั้นน้ำยังแตก

    - น้ำมาแรงเกินกว่าคันจะเอาอยู่...เพราะน้ำที่ลงมามันเคลื่อนที่ (ไม่นิ่ง)...น้ำระหว่างคันกั้นน้ำเป็นน้ำนิ่ง...มีแรงต้านไม่พอ...การสอบทราย Flexible ไม่พอ


    *** อธิบายเพิ่มเติม ***

    แรงดันน้ำที่ปะทะกระสอบ...เกิดจากมวลของน้ำที่มีมาก...แล้วดันกระสอบให้ทะลายออกไป...แรงดันสูงสุดจึงอยู่ที่ฐานกระสอบ (เราจึงวางฐานกระสอบให้กว้าง)

    เมื่อน้ำเข้ามาในลักษณะค่อยๆเข้า...จะเหมือนน้ำในเขื่อน...คือ...น้ำในอ่างของเขื่อนมันนิ่ง...การเสริมเขื่อนให้ฐานกว้าง...หรือเอาน้ำมาช่วยดันจึงทำได้

    แต่น้ำในสถานะการณ์ที่เราพบอยู่นี้เป็นน้ำไหล...และมีมวลขนาดใหญ่...ระดับน้ำไม่สูงมากเพียง 1-5 เมตร...แต่เพราะมันเคลื่อนที่...และมีมวลมาก

    - โมเมนต์ตั้มจึงมาก (m.v)

    - เกิดแรงกระทำที่ตัวกระสอบทรายมาก = (m.a)

    หากจะต้านแรงดันของน้ำ (action = reaction) ต้องใช้มวลน้ำ (ระหว่างคันกั้นน้ำ) ให้ใหญ่พอที่จะหยุดการเคลื่อนที่ของน้ำที่ไหลมา...และทำให้น้ำที่ปะทะหยุดนิ่ง (มวลน้ำน้อยทำให้ reaction ไม่พอ)

    กระสอบทรายต้องเสริมด้วยวัสดุกันน้ำซึม...เพื่อให้คันกั้นน้ำเป็น รูปแบบ uniform มากที่สุด...หากมีจุดอ่อน...ก็จะถูกทะลายได้ง่าย


    .





    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  7. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ปิดโหวตไปนานแล้ว แต่พึ่งเข้ามาอ่านทบทวน

    ขอขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นค่ะ
     
  8. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    ไม่อยากตั้งกระทู้ใหม่ ขอเอาบทความน่าสนใจมาเพิ่มรวมไว้ด้วย

    มหาอุทกภัย ...น้ำเปลี่ยนเมือง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 18:22

    กทม.ยึดวิกฤติน้ำท่วม รื้อผังเมืองรวมใหม่ คุมการพัฒนาไม่ให้หนาแน่น หลังเห็นปัญหาปลูกสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ
    [​IMG]
    [FONT=&quot]มหาอุทกภัย[/FONT][FONT=&quot]ที่คนไทยเผชิญหน้ามาหลายเดือนติดต่อกัน ได้สร้างบทเรียนให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในพื้นที่กทม[/FONT][FONT=&quot].และ ปริมณฑลที่เป็นใจกลางเศรษฐกิจและการติดต่อการค้าของประเทศรวมถึงมีชุมชนที่ อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ทั้งคอนโดมิเนียมกลางเมือง และโครงการบ้านจัดสรรชานเมืองและในปริมณฑล ที่ยังขยายตัวเป็นดอกเห็ด สาเหตุจากการตัดถนนใหม่ๆ และโครงการรถไฟฟ้า ทำให้การคมนาคมสะดวกรวดเร็ว แต่อีกด้านหนึ่งการขยายตัวกลับไม่คำนึงถึงความเสี่ยงของอุทกภัย[/FONT]
    [FONT=&quot]
    ความเสียหายที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้กทม[/FONT]
    [FONT=&quot].ต้องกลับมาทบทวนข้อกำหนดให้สิทธิประโยชน์การพัฒนาที่ดิน 500 เมตร เกาะแนวรถไฟฟ้า เกรงหากปล่อยให้ขยายตัวในเส้นทางชานเมือง ยิ่งเร่งให้เกิดหมู่บ้านจัดสรร และชุมชนหนาแน่น เพิ่มความเสี่ยงปัญหาน้ำท่วมมากในอนาคต

    [/FONT]
    [FONT=&quot]ม[/FONT][FONT=&quot].ร.ว.เปรมศิริ เกษมสันต์[/FONT][FONT=&quot] ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร กล่าวว่ากทม[/FONT][FONT=&quot].อยู่ ในขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไขผังเมืองรวมฉบับใหม่ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ต้องหันมาทบทวนเรื่องการให้สิทธิประโยชน์บาง พื้นที่ เพื่อให้เมืองขยายสู่พื้นที่รอบนอกมากขึ้น โดยเฉพาะร่างผังเมืองรวมกทม.ฉบับปัจจุบันที่อนุญาตให้ที่ดินที่อยู่ในรัศมี 500 เมตร จากแนวรถไฟฟ้าสามารถพัฒนาโครงการประเภท ทาวน์เฮาส์ บ้าน ตึกแถว อาคารพาณิชย์ พื้นที่พาณิชยกรรม อาคารอยู่อาศัย รวมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตรได้ [/FONT][FONT=&quot]แม้เส้นทางรถไฟฟ้าเหล่านั้นจะวิ่งผ่านพื้นที่ผังสีเดิม ซึ่งกำหนดให้สร้างได้เฉพาะบ้านเดี่ยว[/FONT][FONT=&quot] จึง อาจเปิดช่องให้เกิดโครงการหมู่บ้านจัดสรรใหม่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากแนวรถไฟฟ้ามุ่งหน้าออกสู่พื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯในหลายเส้นทาง ที่เกิดขึ้นแล้วคือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่ บางบัวทอง
    [/FONT]
    [FONT=&quot]"ในอนาคตจะเกิดโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย เชื่อมไปถึงจังหวัดในเขตปริมณฑล เช่น นนทบุรี ปทุมธานี ซึ่งหลายพื้นที่ เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม หากผังเมืองรวมอนุญาตให้สร้างหมู่บ้านได้ ในรัศมี 500 เมตร จากรถไฟฟ้า อาจเกิดโครงการหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมาก ในเขตพื้นที่บางใหญ่ และพื้นที่อื่นๆ ซึ่งจะกลายเป็นการพาประชาชนไปเจอน้ำท่วมได้ เราจึงต้องทบทวนกันใหม่[/FONT][FONT=&quot]" ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกล่าว[/FONT]

    [FONT=&quot]อย่างไรก็ดี การพัฒนาที่อยู่อาศัยในรัศมีรถไฟฟ้า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผังเมืองรวม กทม. เพียง ผังเดียว แต่ยังครอบคลุมไปถึงผังเมืองจังหวัดปริมณฑลในพื้นที่ต่อเนื่องด้วย และล่าสุด สำนักผังเมืองฯได้ประชุมหารือกับผู้เกี่ยวข้อง ในการวางผังเมืองของจังหวัดในปริมณฑลแล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งต้องประชุมร่วมกันต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ปัญหาหนึ่งที่พบ คือ ผังเมืองรวมแต่ละจังหวัด มีผลบังคับใช้คนละช่วงเวลากัน บางผังอยู่ในช่วงร่างใหม่พร้อมๆ กับของ กทม. แต่บางผังก็ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ดังนั้นการปรับรายละเอียดในผัง จำเป็นต้องทำร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมในระยะยาว “[/FONT]

    [FONT=&quot] ส่วนการปรับผังสี ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ม.ร.ว.เปรมศิริ กล่าวว่า ในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่มีการปรับเปลี่ยนในส่วนของสีในแต่ละพื้นที่มากนัก แม้จะมีปัญหาน้ำท่วมใหญ่ก็ตาม เพราะร่างผังเมืองรวม กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 3) ได้กำหนดให้พื้นที่วงแหวนรอบนอก ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในปัจจุบัน เช่น เขตทวีวัฒนา บางบอน บางขุนเทียน คลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง เป็นพื้นที่สีเขียว (ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม) และสีเขียวลายขาว (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) ซึ่งหมายถึงกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำอยู่แล้ว

    [/FONT][FONT=&quot] ส่วนความต้องการของเอกชน ที่ต้องการให้ปรับอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน ([/FONT][FONT=&quot]Floor Area Ratio หรือ FAR) จากร่างผังเมืองรวมปัจจุบันที่กำหนดให้อยู่ที่ 10 เท่า เพิ่มเป็น 15 เท่า และความต้องการของสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ต้องการให้ เหลือเพียง 8 เท่า ม.ร.ว.เปรมศิริ กล่าวว่า หากให้ปรับเหลือ 8 เท่าจะยินดีมาก แต่หากให้ปรับเพิ่มเกินกว่า 10 เท่า คงทำไม่ได้ เพราะการปรับเพิ่มในส่วนนี้ จะทำให้มีคนอยู่อาศัยในอาคารหนึ่งอาคารมากขึ้น เมื่อมีคนมากก็จะมีรถมาก มีปัญหาเรื่องที่จอดรถและปัญหาการจราจรภายในซอยและบนท้องถนนตามมา
    [/FONT]
    [FONT=&quot] กรณีที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอให้ขยายรัศมีการพัฒนาที่อยู่อาศัยในรัศมีรถไฟฟ้าจาก 500 เมตร เป็น 1[/FONT][FONT=&quot],000 เมตร เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยราคาถูกในบริเวณใกล้ รถไฟฟ้าได้มากขึ้น ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่า ต่อให้ขยายพื้นที่รัศมีออกไปเป็น 1,000 เมตร ก็ไม่น่าจะช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้ เพราะเชื่อว่าโครงการที่ได้ชื่อว่าใกล้รถไฟฟ้า ถึงอย่างไรก็คงขายแพง ต่อให้เป็นรัศมีที่ห่างออกไปอีกก็ตาม[/FONT]
    [FONT=&quot] สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ให้คณะกรรมการพิจารณา 300 ความเห็นที่เสนอมาเมื่อวันที่ 25 ส.ค. เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับแก้ต่อไป ซึ่งหากเป็นไปได้ ต้องการให้ผังเมืองฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในปี 2555 แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะสามารถออกบังคับใช้ได้ทัน เพราะในขั้นตอนการจัดทำผังนั้น ยังต้องผ่านการพิจารณาอีกหลายขั้นตอน โดยเมื่อสรุปความเห็นแล้ว ยังต้องส่งเรื่องไปยังคณะที่ปรึกษาผังเมืองรวมกทม. และอาจยังต้องมีการปรับแก้ผังเมืองรวมเพิ่มเติม อย่าง ไรก็ตามหากผังเมืองรวมเสร็จไม่ทันเดือนพ.ค. 2555 ทางสำนักฯ จะต่ออายุผังเมืองรวมฉบับปัจจุบันครั้งที่ 2 เพื่อยืดอายุผังเมืองฉบับปัจจุบันออกไปอีก 1 ปี

    [/FONT][FONT=&quot] ขณะที่นักวิชาการมองว่าสอดคล้องกันว่าถึงเวลาที่ร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ จะต้องควบคุมการพัฒนาไม่ให้หนาแน่น เนื่องจากพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มนุษย์ไม่สามารถฝืนธรรมชาติ หากปล่อยให้การใช้ที่ดินไม่สอดคล้องกับภูมิประเทศต่อไป และมีสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ จะส่งผลให้ภัยพิบัติสร้างความเสียหายซ้ำรอยเดิม

    [/FONT] [FONT=&quot]รุจิโรจน์ อนามบุตร[/FONT][FONT=&quot] อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน คณะทำงานผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร บอกว่า กทม.กำลังร่างผังเมืองรวมที่ประกาศใช้ในปี 2555-2559 ซึ่งจะกำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยในเขตอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจะอยู่ชั้นใน เช่น เกาะรัตนโกสินทร์ ถัดออกมาจะเป็นเขตพาณิชยกรรม เช่น สีลม สยาม และถัดออกมา เป็นที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และจากนั้นเป็นชานเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม เช่น มีนบุรี พุทธมณฑล ทวีวัฒนา ซึ่งขณะนี้ ได้รับฟังความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องไปแล้ว อยู่ระหว่างประมวลคำร้องของผู้ที่ไม่เห็นด้วย โดยผู้ร้องมีทั้งเจ้าของที่ดินและผู้พัฒนาที่ดิน ซึ่งส่วนมากเห็นว่าการทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครครั้งนี้ จำกัดสิทธิการพัฒนาที่ดินของผู้ประกอบการมากเกินไป

    [/FONT] [FONT=&quot] โดยจุดเปลี่ยนของผังเมืองใหม่มี 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งจะกำหนดพื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์พาณิชยกรรมชานเมือง ที่เป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าและรถเมล์เพื่อให้ผู้อาศัยอยู่ชานเมือง ไม่ต้องเข้ามากลางเมืองเพื่อซื้อสินค้า ซึ่งจะรองรับการสร้างศูนย์การค้า ร้านอาหารและโรงมหรสพได้มาก โดยจากการสอบถามผู้ประกอบการพบว่าค่อนข้างพอใจ 2.พื้นที่ กลางเมืองจะให้อาคารมีความสูงมากขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและทำให้ไม่ต้องขยายออกมาชานเมืองมากนัก 3.พื้นที่ชานเมือง เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย จะรักษาให้ไม่ให้หนาแน่น หรือกระจายตัวมาก เพราะหากหนาแน่นจะต้องลงทุนโครงสร้างมาก

    [/FONT][FONT=&quot] ร่างผังเมืองกรุงเทพมหานครนี้ ต้องสามารถรองรับปัญหาน้ำท่วมได้ เป็นเป้าหมายที่รุจิโรจน์ บอกว่า แนวคิดให้พื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ มีการพัฒนาที่เบาบางลง และให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมจะช่วยบรรเทาปัญหาไปได้ ซึ่ง การยกร่างผังเมืองครั้งนี้ก็จะสอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยต้องการให้พื้นที่ดังกล่าว ไม่ต้องมีการก่อสร้างมาก และให้บ้านชายเมืองมีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ผู้อยู่ในเขตชานเมืองต้องยอมรับว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในข่ายที่น้ำจะท่วม

    [/FONT]
    [FONT=&quot]" [/FONT][FONT=&quot]หากผังเมืองไม่มากำหนดเช่นนี้ และปล่อยให้ทุกคนพัฒนาที่ดินตามใจชอบ จะทำให้มีอาคารเต็มไปหมด ซึ่งความจริงแล้วภาครัฐควรเข้มงวดการพัฒนาที่ดินในเขตเกษตรกรรมมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาสังคมพูดถึงสิ่งแวดล้อมน้อย จึงผ่อนปรน ซึ่ง เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่าเมื่อเกิดวิกฤติธรรมชาติแล้วสร้างความเสียหาย จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ผังเมืองจะมองเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ถูกต้อง มากขึ้น โดยคำนึงว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ต้องมีน้ำหลาก แม้จะมีการร้องคัดค้านว่า พื้นที่ชานเมืองที่กำหนดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ควรอนุญาตให้พัฒนาที่ดินได้มากขึ้น แต่หากผังเมืองปล่อยให้สร้างได้มาก จะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและเจ้าของที่ดินจะเสียหาย จึงเป็นหน้าที่ของผู้วางผังเมือง ที่จะกำหนดว่าเขตดังกล่าว เป็นทางน้ำหลากตามธรรมชาติที่ฝืนไม่ได้ "

    [/FONT][FONT=&quot] ขณะเดียวกันรุจิโรจน์ ยังกล่าวถึงพฤติกรรมของการซื้อขายที่ดินว่า ที่ผ่านมาผู้พัฒนาที่ดินจะซื้อที่ดินน้ำท่วมที่มีราคาถูก แล้วนำดินมาถม จึงเกิดปัญหาขวางทางน้ำ ซึ่งในกทม.มีจุดขวางทางน้ำหลายแห่ง รวมถึงในปริมณฑล เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ในอดีตเป็นหนองงูเห่า เป็นแหล่งซับน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำเข้ามามากก็มีโอกาสที่สนามบินจะถูกน้ำท่วม จึงควรมีการออกแบบให้น้ำไหลผ่านได้ ดัง นั้นผู้พัฒนาที่ดินในเขตน้ำท่วม ควรร่วมกันรับผิดชอบ เช่น ชี้แจงให้ผู้ซื้อทราบ หรือการทำบ่อหน่วงน้ำ เพื่อให้น้ำค่อยๆ ระบายออกจากพื้นที่ ซึ่งการก่อสร้างอาคารที่เบาบางจะทำให้มีช่องว่างให้ดินซับน้ำฝนที่ตกลงมา

    [/FONT][FONT=&quot] "ปัญหาน้ำท่วมในกทม.เกิดจากการไม่ดูสภาพภูมิประเทศให้เหมาะสมกับการใช้ที่ดิน เช่น การถมที่ให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศตามใจชอบ แบบไม่ดูผลกระทบและมองเฉพาะผลกำไรทางธุรกิจ ซึ่งหลายพื้นที่มีการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม เช่น พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ลุ่ม ไม่เหมาะกับการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็มีการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมมานาน" รุจิโรจน์ กล่าว

    [/FONT][FONT=&quot] อย่างไรก็ตามวิกฤติน้ำท่วมในปัจจุบัน จะเป็นโอกาสที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้มาร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันว่า ปัญหาเกิดจากอะไร หากสภาพภูมิประเทศอยู่ติดริมแม่น้ำ ก็ต้องยอมรับว่าจะมีความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ 10 ปี 1 ครั้ง และต้องมีระบบชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดการน้ำ โดย ต้องมีการถกเถียงกันว่า จะเก็บน้ำหรือปล่อยน้ำกันอย่างไรเพราะบาง พื้นที่ปลูกข้าวได้ปีละ 4 ครั้ง แต่บางพื้นที่ปลูกข้าวได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งหัวใจสำคัญต้องมองเรื่องความเสมอภาคทางสิ่งแวดล้อม

    [/FONT][FONT=&quot] "การบริหารจัดการน้ำที่โปร่งใส และเสมอภาค แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการชี้แจงความจริงเกี่ยวกับการจัดการน้ำ เพราะอาจกังวลว่าจะเกิดความขัดแย้ง แต่เชื่อว่าหากมีความโปร่งใสจะไม่เกิดปัญหาขัดแย้งเหมือนประชาชนจังหวัด ชัยนาทกับสุพรรณบุรีที่เริ่มมีความขัดแย้งกัน เพราะไม่มีระบบบริหารจัดการ และไม่มีการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบที่ยอมรับได้ ทำให้มีการใช้อำนาจมาบริหารจัดการน้ำซึ่งเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะเท่ากับให้ผู้ที่มีพวกมากมากำหนดแผนการจัดการน้ำ " รุจิโรจน์ สรุป [/FONT]
     
  9. ฟาสิรี

    ฟาสิรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2011
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +729
    ในหลวงทรงดำรัสว่า . อย่าไปปิดกั้นน้ำ ให้ปล่อยมันไป " ความเห็นส่วนตัวผมว่านี่คือจริงแท้แน่นอนที่สุด ถ้าน้ำจำนวนขนาดนั้น อะไรก็ขวางมันไม่ได้ครับ นอกจากรีบหาทางให้มันลงทะเลโดยเร็ว ลองย้อนไปดูพระรราชดำรัสครับ พระองค์ไม่เคยตรัสว่าให้เราทำคันกั้นน้ำสักครั้ง มีแต่ทรงบอกว่า ให้เราหาข่องทางให้น้ำลงทะเลไป ... ท่านตรัสมาตลอด 30 กว่าปีแล้ว ก็ยังไม่เห็นผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปเป็นร่าง มัวแต่ไปหาทางปิดกั้นน้ำอยู่นั่นแหละ...
     
  10. คิดได้แค่นี้

    คิดได้แค่นี้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +352
    ฝากคนกทม ทุกท่านนะครับ
    น้ำไปเป็นแผ่นมหึมามหาศาลไปเรื่อยๆ ไม่เคยหยุด เคลื่อนไปวันละ2-3 กิโลแต่ไม่เคยหยุด
    จากวังน้อยเป็นต้นมาไม่เคยหยุด ตอนนี้กำลังจะถึงแยกลาดพร้าว ใครจะทำให้เค้าหยุดได้ ไม่มีหรอก เค้าจะลงทะเลเท่านั้น แต่กทม.ทั้งเมืองขวางอยู่

    ตรงไหนมีอุปสรรคมากเค้าก็ไปช้า ตรงไหนอุปสรรคน้อยก็ไปไว
    เค้าไปเป็นแผ่นทั้งกว้างทั้งใหญ่ทั้งยาวทั้งมหาศาลกลืนกินไปทีละน้อย

    ส่วนการจัดการน้ำทุกกรณีคือการจัดการน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ทุกสาย
    แล้วน้ำทั้งแผ่นที่เคลื่อนไปคุณจัดการยังไงหละ คุณไม่สามารถทำให้แผ่นน้ำกว้างใหญ่มโหฬารนั้นรวบรวมเป็นแม่น้ำเป็นเส้นเพื่อให้คุณจัดการได้นะ
    ถ้าทำได้นั่นหละน้ำจะไม่ท่วม นั่นหละจะผันน้ำไปทางไหนตามใจคุณ

    คุณไปทำให้น้ำทั้งแผ่นมโหฬารนั้นรวบเป็นแม่น้ำเพื่อให้คุณบริหารจัดการไม่ได้นะสิ

    ถ้าแผ่นน้ำมหึมานี้มันจะหยุดมันคงหยุดอยู่ที่วังน้อยแล้ว ไม่เลย มันกลืนกินต่อมา
    ทั้งนวนคร รังสิต ดอนเมือง ทำไมมันไม่หยุด
    ก็คุณบริหารจัดการแผ่นน้ำทั้งผืนไม่ได้นะสิ คุณบริหารได้เฉพาะในลำคลอง ในคูในแม่น้ำต่างๆ

    ผมว่าคุณคงมองภาพออกแล้ว ด้วยความเคารพ.....

    ปล..คุณทำให้น้ำทั้งแผ่นมหึมานี้รวบเป็นเส้นให้คุณจัดการไม่ได้คุณจะบริหารอะไร คุณก็บริหารน้ำในคลองไปอยากจะเปิดประตูกี่เซนตามใจคุณ
    แผ่นน้ำผืนยักษ์นี้เค้าจะไปด้วยตัวเค้าเอง ช้าๆๆแต่ชัวร์
    เค้าเคยสนใจประตูน้ำเมื่อไหร่ เค้าเคยสนใจว่าตรงไหนจะแตกจะพังซะที่ไหน เค้าไปอยุธยาเค้าก็กลืนอยุธยา
    เค้าไปปทุม ปทุมธานีก็หายไป เค้าไปนนท์บุรี นนท์บุรีก็หายไป เค้าเคยสนใจประตูน้ำของพวกคุณเมื่อไหร่ คุณจะซ่อมคันแตกหรือไม่ซ่อมมีผลอะไรกับเค้า สุดท้ายเค้าจะโอบล้อมคุณอยู่กลางผืนน้ำกว้างใหญ่
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...