จิตที่ต้องศึกษา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 16 กรกฎาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ผู้ที่ต้องการ "ดับกิเลส" จริง ๆ

    รู้ ว่า จะต้อง "อบรม" เจริญกุศล ทุกประการ

    ไม่ใช่บำเพ็ญ " ทาน" อย่างเดียว

    แล้ว เก็บ "อกุศลอย่างอื่น" ไว้.!



    .



    บางท่าน ก็ "อยากสงบ"


    เพราะ รู้สึก ว่า....วันหนึ่ง ๆ

    มีความรู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวายมาก

    คิด เรื่องนั้น ก็ โกรธ........คิด เรื่องนี้ ก็ ยุ่ง.

    มีแต่ เรื่อง...เดือดร้อน รำคาญใจ.



    เพราะว่า

    ไม่ได้ "พิจารณาจิต" ในขณะนั้น.!

    แต่ว่า

    "พิจารณาบุคคล" ซึ่ง ท่านโกรธ.!



    เมื่อ พิจารณาบุคคลอื่น ในทางที่ทำให้เกิด อกุศลจิต

    "จิต" ก็ย่อมกระสับกระส่าย กระวนกระวาย เดือดร้อน.



    เมื่อรู้ ว่า กำลังเดือดร้อน...ก็อยากสงบ.

    แต่ ไม่รู้ ว่า

    ถ้า ไม่โกรธ.....ขณะนั้น ก็ไม่เดือดร้อน.!



    .



    ขณะที่โกรธ ไม่สบายใจ เดือดร้อน กังวลใจ ฯ


    ขณะนั้น......"จิต" เป็น อกุศล

    เป็น "สภาพธรรม" ที่เป็นโทษ.



    .



    ฉะนั้น

    ถ้าขณะใด....โกรธ แล้ว ระลึกได้.!


    และ พิจารณาบุคคลอื่น

    ในทางที่ทำให้เกิด "เมตตา" บ้าง กรุณาบ้าง

    มุทิตาบ้าง อุเบกขาบ้าง............


    ก็ย่อม "สงบ" ได้ ทันที.!


    เพราะว่า

    ขณะที่ "จิต" ประกอบด้วย ความเมตตา ความกรุณา

    หรือ มุทิตา อุเบกขา...........

    ขณะนั้น....."จิต" เป็น กุศล.



    .



    ที่ เป็น "กุศล"

    เพราะว่า....ปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ

    ขณะนั้น.........."จิต" จึง สงบ.!



    .



    "กุศลจิต" ทุกขณะ......สงบ.!



    .



    ฉะนั้น


    เมื่อต้องการ "ดับกิเลส" จริง ๆ

    จึงต้อง เจริญกุศล ทุกประการ

    ไม่ใช่เพียง ทานกุศล เท่านั้น.!
    ข้อความในอัฏฐสาลินี

    อรรถกถา ธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์

    แสดง "ลักษณะของจิต" ประการที่ ๒ ว่า.......



    อีกอย่างหนึ่ง....เพราะเหตุว่า ศัพท์ ว่า "จิตฺตํ" นี้

    ทั่วไป แก่ จิตทุกดวง.


    ฉะนั้น ใน คำ ว่า "จิตฺตํ" นี้


    โลกิยกุศลจิต อกุศลจิต มหากิริยาจิต

    จึงชื่อว่า "จิต"

    เพราะ

    "สั่งสมสันดานของตน...ด้วยสามารถแห่งชวนวิถี"



    .



    คำ ว่า "สันดาน" ในภาษาไทย

    มาจาก คำ ภาษาบาลี ว่า "สนฺตาน" หรือ "สนฺตติ"

    ซึ่ง หมายถึง

    "การเกิด-ดับ-สืบต่อกัน"



    .



    จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

    จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    เป็น "วิบากจิต"

    ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต.!

    จึง "ไม่สังสมสันดาน"





    .



    จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

    จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    เป็น "ผลของอดีตกรรม"



    .



    เมื่อ "กรรมใด" สุกงอม

    พร้อมที่จะให้ผล..........

    คือ

    ประกอบ พร้อม ด้วยปัจจัย ต่าง ๆ


    เมื่อนั้น

    "วิบากจิต" ประเภทต่าง ๆ.....ก็เกิดขึ้น

    และ กระทำกิจต่าง ๆ เฉพาะของตน ๆ

    (ไม่ซ้ำกันเลย)

    เช่น

    จิตเห็น จิตได้ยิน....เป็นต้น.



    .



    "วิบากจิต"

    ไม่สังสมสันดาน.


    เพราะว่า "วิบากจิต" แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น

    เพราะ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม...ที่สะสมมาแล้ว นั้นเอง

    ที่ "เป็นปัจจัย" ทำให้ "วิบากจิต" แต่ละขณะนั้น เกิดขึ้น.!


    ฉะนั้น

    เมื่อ "วิบากจิต"ใด...เกิดขึ้น และ ดับไปแล้ว

    "วิบากจิต" นั้น

    ไม่เป็นเหตุให้ วิบากจิตใด ๆ เกิดขึ้นอีกเลย.!



    .



    เพื่อที่จะ "เข้าใจลักษณะของจิต" ประการที่ ๒

    ที่ว่า

    โลกิยกุศลจิต อกุศลจิต มหากิริยาจิต

    ชื่อว่า "จิต"

    เพราะ

    "สั่งสมสันดานของตน ด้วยสามารถแห่งชวนวิถี"

    ก็ต้องเข้าใจ "วิถีจิต" ก่อน

    ว่า

    "วิถีจิต"

    คือ จิต ประเภทไหน.!

    เกิดขึ้นเมื่อไร.!

    และ

    ต้องเข้าใจ "ชวนวิถี"





    .



    "ชวนวิถี"

    คือ

    "ขณะที่จิตสั่งสมสันดานของตน"

    ซึ่งเป็น

    โลกิยกุศลจิต บ้าง...อกุศลจิต บ้าง

    และ สำหรับ พระอรหันต์...ก็เป็น มหากิริยาจิต.


    เพราะถึงแม้ว่า

    จะได้บรรลุอริยสัจจ์ เป็นพระอรหันต์ แล้ว

    ก็ต้องเป็น พระอรหันต์ ที่มี กาย วาจา ใจ

    ที่ต่าง ๆ กัน

    ตาม "การสั่งสมสันดานของจิต"

    ที่ ต่าง ๆ กัน นั่นเอง.!



    .



    ฉะนั้น

    จึงต้องเข้าใจ "ความหมาย" ของ คำ ว่า "วิถีจิต"

    ว่า


    "วิถีจิต".......ไม่ใช่ "ปฏิสนธิจิต"


    "วิถีจิต".......ไม่ใช่ "ภวังคจิต"


    "วิถีจิต".......ไม่ใช่ "จุติจิต"



    จิตใด ก็ตาม.......

    ที่ไม่ใช่ "ปฏิสนธิจิต"

    ไม่ใช่ "ภวังคจิต"

    และ ไม่ใช่ "จุติจิต"


    จิตอื่น...นอกจากนี้

    ต้อง เป็น "วิถีจิต"

    ทั้งหมด.!



    .



    ในภพหนึ่ง ชาติหนึ่ง

    (..........ที่ได้เกิดแล้ว)


    "ปฏิสนธิจิต"

    ต้องเกิดขึ้น เพียงขณะเดียว เท่านั้น.!


    คือ


    ขณะที่ "ปฏิสนธิจิต"....กระทำกิจ

    สืบต่อจาก"จุติจิต" ของชาติก่อน.



    เพียงขณะเดียว เท่านั้น.!

    ที่ เป็น........"ปฏิสนธิจิต"



    .



    ขณะที่ "ปฏิสนธิจิต" เกิดขึ้น

    และ กระทำกิจ.


    ขณะนั้น..........

    ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส

    และ ไม่รู้ สิ่งที่กระทบสัมผัส ใด ๆ ทั้งสิ้น.!



    .



    "ปฏิสนธิจิต"

    เป็น..."วิบากจิต"

    เป็น..."ผลของกรรม"



    "ปฏิสนธิจิต"

    ที่เกิดในภูมิมนุษย์

    เป็น....."กุศลวิบากจิต"

    เป็น....."ผลของกุศลกรรม"



    .



    เมื่อ "ปฏิสนธิจิต" ดับไปแล้ว

    "กรรมนั้น" ไม่ได้ให้ผล เพียงทำให้ "ปฏิสนธิจิต" เกิดขึ้น

    เท่านั้น.!

    แต่

    "กรรมนั้น" ก็ยังเป็น "ปัจจัย"

    ที่ทำให้ "วิบากจิต" ประเภทเดียวกัน เกิดขึ้น

    และ ทำ "ภวังคกิจ"

    สืบต่อ ดำรงภพชาติ ของการเป็นบุคคลนั้น

    จนกว่าจะ....จุติ.



    ขณะที่ยังไม่จุติ นั้น.


    "ภวังคจิต"....เกิด-ดับ ๆ

    กระทำกิจ สืบต่อ...ดำรงความเป็นบุคคลนี้ไว้

    ในขณะนั้น....ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น

    ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

    และ ไม่ได้คิดนึก.



    .



    ฉะนั้น

    ขณะใด....ที่เป็น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต

    ขณะนั้น.....ไม่ใช่ "วิถีจิต"



    .



    ขณะที่กำลังหลับสนิท (ไมฝัน)

    ขณะนั้น.......

    ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส

    ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

    และ

    ไม่ได้คิดนึก.



    .



    ขณะที่กำลังหลับสนิท (ไม่ฝัน)

    ขณะนั้น.....

    "ภวังคจิต" กำลังเกิด-ดับ สืบต่อกันไปเรื่อย ๆ

    จนกว่าจะ "ฝัน"

    หรือ "ตื่นขึ้นมา"


    เมื่อ ตื่นขึ้นมา...แล้ว

    ก็ ต้องเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง

    รู้สิ่งกระทบสัมผัสทางกายบ้าง หรือ คิดนึกบ้าง

    ตามเหตุ ตามปัจจัย.

    คือ "รู้อารมณ์" ต่าง ๆ ที่ปรากฏ.....ในโลกนี้.


    หมายความว่า


    ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส

    รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย และ คิดนึกทางใจ

    ก็ต้อง "รู้อารมณ์" ที่ปรากฏ ในโลกนี้

    ตามเหตุ-ตามปัจจัย.!


    (แล้วแต่ว่า ขณะนั้น...สภาพใดกำลังปรากฏ กับ จิตใด

    ทางทวารใด ทวารหนึ่งใน ๖ ทวาร.)



    .



    ขณะที่ "วิบากจิต" เกิดขึ้น

    กระทำ.........."ปฏิสนธิกิจ"

    กระทำ............."ภวังคกิจ"

    กระทำ................"จุติจิต"


    คือ ขณะที่ "จิต" กระทำกิจทั้ง ๓ กิจ นี้

    ขณะนั้น............

    "อารมณ์ในโลกนี้".....ไม่ ปรากฏ เลย.!



    "อารมณ์" ต่าง ๆ ที่ปรากฏ ในโลกมนุษย์.


    "อารมณ์" นั้น มี "ลักษณะ" อย่างไร

    ก็ไม่ปรากฏ ทั้งสิ้น.........ถ้าขณะนั้น

    เป็น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต.!



    .



    ถ้า ขณะนี้.....ใครกำลังหลับ.!


    ก็จะไม่เห็นเลย ว่า ในที่นี้ มีใครบ้าง.!

    มีเสียงอะไรบ้าง.!

    มีกลิ่นอะไรบ้าง.!

    เย็น-ร้อน ประการใด.!

    เป็นต้น.



    .



    ฉะนั้น

    โลกนี้....ไม่ ปรากฏ กับ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต.!



    .



    แต่ ขณะที่ไม่ได้หลับสนิท

    ขณะนั้น..........จำ เรื่องของ โลกนี้ ได้

    จำบุคคลต่าง ๆ และ จำเรื่องราวต่าง ๆ

    ในโลกนี้ได้.


    แต่ ขณะที่หลับสนิท.....ขณะนั้น เป็น "ภวังคจิต"

    ขณะนั้น

    ตัดขาด จาก "อารมณ์" ต่าง ๆ ในโลกนี้ ทั้งหมด.!


    ไม่รู้ ว่า ตัวเอง เป็นใคร

    อยู่ที่ไหน มีความเกี่ยวข้อง.....เป็นญาติมิตรกับใคร

    มีทรัพย์สมบัติ....ยศฐาบรรดาศักดิ์ อย่างใด

    หรือ มีทุกข์ มีสุข อย่างใด.!



    .



    ขณะที่ "เห็น".....ขณะนั้น ไม่ใช่ "ภวังคจิต"

    แต่ เป็น "วิถีจิต"......ที่เกิดขึ้น ทำกิจ "เห็น"

    คือ "เห็น"....สิ่งที่ปรากฏ (เฉพาะ) ทางตา.



    .



    "จิต" ใด ๆ ก็ตาม

    ที่เกิดขึ้น เห็น รู้ ยินดี พอใจ ฯ

    ในสิ่งที่เกิดขึ้น และ ปรากฏ......

    ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.


    "จิต" ขณะนั้น ๆ เป็น "วิถีจิต"



    .



    เช่น ขณะที่ได้ยินเสียง

    แล้วเกิดความพอใจ หรือ ไม่พอใจ ในเสียง ที่ได้ยิน นั้น.


    ขณะนั้น ไม่ใช่ "ภวังคจิต"

    แต่ ขณะนั้น เป็น "วิถีจิต"



    .



    "จิตทุกขณะ"

    ที่เกิดขึ้น และ รู้แจ้งอารมณ์ คือ รูป (รูปารมณ์)

    ที่ปรากฏทางตา.....เป็น จักขุทวารวิถีจิต.


    .


    "จิตทุกขณะ"

    ที่เกิดขึ้น และ รู้แจ้งอารมณ์ คือ เสียง (สัทธารมณ์)

    ที่ปรากฏทางหู.....เป็น โสตทวารวิถีจิต.


    .


    "จิตทุกขณะ"

    ที่เกิดขึ้น และ รู้แจ้งอารมณ์ คือ กลิ่น (คันธารมณ์)

    ที่ปรากฏทางจมูก....เป็น ฆานทวารวิถีจิต.


    .


    "จิตทุกขณะ"

    ที่เกิดขึ้น และ รู้แจ้งอารมณ์ คือ รส (รสารมณ์)

    ที่ปรากฏทางลิ้น.....เป็น ชิวหาทวารวิถีจิต.


    .


    "จิตทุกขณะ"

    ที่เกิดขึ้น และ รู้แจ้งอารมณ์ คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว

    ที่ปรากฏทางกาย.....เป็น กายทวารวิถีจิต.


    .


    และ

    "จิตทุกขณะ"

    ที่เกิดขึ้น และ รู้แจ้งอารมณ์ คือ ธรรมารมณ์

    ที่ปรากฏทางใจ.....เป็น มโนทวารวิถีจิต.



    .



    "นามธรรม"


    ที่เกิด-ดับ เป็นปกติ........ตามความเป็นจริง

    ในชีวิตประจำวัน

    เป็น "ภวังคจิต" ที่เกิด-ดับ-สลับกับ "วิถีจิต"



    .



    "วิถีจิต"


    เมื่อ เกิดขึ้น ต้อง รู้อารมณ์ ที่ปรากฏ ทางทวารต่าง ๆ

    แล้วแต่ ว่า จะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

    ทางกาย หรือ ทางใจ.
     

แชร์หน้านี้

Loading...