จิต คืออะไร อยู่ที่ใด และธรรมชาติของจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 13 กรกฎาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิต คืออะไร อยู่ที่ใด และธรรมชาติของจิต<SCRIPT language=javascript>//---- Choice of variables ----glow_color="#FED586"glow_min=2glow_max=5glow_speed=100//---------The description---------/*glow_color - color of the glowglow_min - minimal sizeglow_max - maximal sizeglow_speed - the glow speed*///----------------------------------function f_glow(){ glow_size+=glow_const if (glow_size>glow_max || glow_size<glow_min) glow_const*=(-1) document.all.glow_text.style.filter = "glow(color="+glow_color+", strength="+glow_size+")"}if(document.all){glow_const=1; glow_size=glow_min; document.all.glow_text.style.width="100%"; setInterval("f_glow()",glow_speed)} </SCRIPT>


    <TABLE style="MARGIN-TOP: 0px; MARGIN-BOTTOM: 0px; MARGIN-LEFT: 0px; LINE-HEIGHT: 200%; FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'" borderColorDark=#79052c width="100%" align=center borderColorLight=#804000 border=0><TBODY><TR><TD width=365 height=28> กระดานธรรม ๑
    </TD><TD vAlign=center align=middle width=491 height=28>
    </TD><TD vAlign=bottom align=right width=358 height=28>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เป็นที่สงสัย ใคร่รู้ของปุถุชนมาแต่โบราณกาล ตลอดทุกยุคสมัย เพราะความต้องการใคร่รู้ว่า จิตบ้าง วิญญาณบ้างเป็นอะไร อยู่ที่ใด เพื่อหวังเข้าใจบ้าง หวังควบคุมและบังคับจิตหรือวิญญาณได้บ้าง หวังใช้ประโยชน์จากจิตบ้าง หวังในภพภูมิหรือชาติหน้าบ้าง หรือแม้แต่นักปฏิบัติธรรมเพื่อหวังประโยชน์ไปในทางดับทุกข์อันดีงาม ดังนั้นจึงมีผู้พยายามแสวงหาคำตอบเหล่านี้ทั้งทางด้านปัญญา สมาธิ และไสยศาสตร์ วิทยาศาสตร์มาเป็นเวลาช้านานมาโดยตลอด จนกล่าวว่าเป็นปัญหาโลกแตก จึงไม่มีผู้ใดสามารถตอบปัญหานี้ได้อย่างถูกต้องดีงาม จนกระทั่งบังเกิดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้นที่ได้ทรงหงายของที่คว่ำอยู่ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ด้วยการตามประทีปในที่มืด ด้วยเห็นว่าผู้มีจักษุคือปัญญาคงเห็นได้ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ด้วยพระมหากรุณาคุณอันยิ่งนั่นเอง
    จิตนั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร อยู่ที่ใดแล้ว โดยไม่เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แล้ว ก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวแสดงไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ" อันเป็นส่วนหนึ่งของ"คำสอนของฮวงโป"เช่นกัน
    "จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งที่เห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่ลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้" (จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม, น.๔๒๓)
    จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ที่บ้างก็เรียกกันว่ามโน บ้างก็เรียกว่าหทัย บ้างก็เรียกว่ามนายตนะ บ้างก็เรียกว่ามนินทรีย์ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณ ฯ. หลายท่านพยายามหาว่า จิตคืออะไร? เป็นอะไร? อยู่ที่ใด? บ้างก็ว่าเจตภูต บ้างก็ว่าปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวแสวงหาภพใหม่หรือที่เกิดบ้าง บ้างก็ว่ากายทิพย์ บ้างก็ว่าคือสมอง บ้างก็ว่าหัวใจ บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางอก บ้างก็ว่าอยู่ที่กลางศูนย์กาย บ้างก็ว่ากลางหน้าผาก บ้างก็ว่าเกิดมาแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ. ล้วนแล้วแต่ปรุงแต่งกันไปต่างๆนาๆ กล่าวคือเป็นไปตามความเชื่อที่ถ่ายทอดหรือสืบต่อกันมา หรือตามความเข้าใจของตัวของตน ตามอธิโมกข์ ฯ. จึงต่างล้วนตกลงสู่หลุมพรางของความผิดพลาด หรือมายาของจิตทันที จึงเป็นไปดังคำกล่าวข้างต้นที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโลได้กล่าวไว้นั่นเอง
    จิตนั้น ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสังขาร อันคือสิ่งปรุงแต่งหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้น แล้วย่อมเป็นไปภายใต้กฎพระไตรลักษณ์ที่ว่า ย่อมมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ในที่สุด ไม่ใช่ตัวใช่ตน หรือไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเป็นอนัตตา เพราะเกิดมาแต่การที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันหรือมาประชุมกันชั่วขณะหนึ่งหรือระยะเวลาหนึ่ง จึงเกิดจิตหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา ดังเช่น ตา กระทบ รูป ย่อมเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา อันคือจิตหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา กล่าวคือเมื่อเกิดการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายในในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ จิตหรือวิญญาณหนึ่งๆก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา จิตจึงมีสภาพที่เกิดดับ เกิดดับๆๆ...เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา อันเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ นั่นเอง ดังแสดงไว้ในชาติธรรมสูตร
    ชาติธรรมสูตร
    [๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี
    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเกิด(คือชาติ)เป็นธรรมดา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็นธรรมดาคืออะไรเล่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส(ผัสสะ) มีความเกิด(ของจิตหรือวิญญาณหนึ่งขึ้น จนยังให้เกิดเวทนาขึ้นด้วย)เป็นธรรมดา
    (กล่าวคือเกิดแต่เหตุปัจจัยดังนี้ ตา [​IMG] รูป [​IMG] จักษุวิญญาณ [​IMG]จักษุผัสสะ[​IMG]...จิตหนึ่งก็มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วยังให้เกิดเวทนาเป็นธรรมดา)

    (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๘)
    ในอายตนะหรือทวารอื่นๆในผู้ที่ยังดำรงขันธ์อยู่ ก็เป็นเฉกเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อ หู กระทบ เสียง ย่อมเกิดโสตวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา แล้วย่อมเกิดการผัสสะกันเป็นธรรมดา จิตหนึ่งจึงย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา, เมื่อ คิดหรือธรรมารมณ กระทบกับ ใจ ย่อมเกิด มโนวิญญาณ หนึ่งขึ้นจากการกระทบกันเป็นธรรมดา จิตหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน แล้วย่อมดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ. ดังนั้นจิตจึงเกิดแต่หตุต่างๆอันหลากหลาย มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน และยังครอบคลุมหมายรวมไปถึงอายตนะภายนอกหรืออารมณ์คือสิ่งต่างๆที่ไปกระทบสัมผัสอีกด้วยคือเหล่าอายตนะภายนอกทั้ง ๖ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยใจ) ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป รูปหรือภาพที่เห็นอันทำหน้าที่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น ก็ย่อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของจิต กล่าวคือมีอิทธิพลหรือเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ, จิตนั้นถ้าแยกออกมาเป็นกองเป็นกลุ่มหรือเป็นขันธ์ อย่างง่ายที่สุดก็มีถึง ๔ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งแต่ละกองหรือแต่ละขันธ์นั้น ก็ล้วนเป็นสังขาร-สิ่งปรุงแต่ง อันเกิดมาแต่เหตุปัจจัยต่างๆอีกมากหลายมาปรุงแต่งกันเช่นกัน จึงต่างล้วนเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยหนึ่งของจิตโดยทางอ้อมอีกด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันแปรปรวนได้มากหลายดังนี้ จึงย่อมมีความแปรปรวนง่ายดายเป็นที่สุด คือย่อมแปรปรวนไปตามเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันเหล่านั้นด้วย จึงมีพระพุทธดำรัสไว้ว่า
    เราไม่เล็งเห็นสิ่งอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่จะเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิตเลย
    (เอกนิบาต ๒๐/๙)
    จิตมีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
    (ธรรมบท ๒๕/๑๗)
    "ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะเข้าใจไปยึดถือว่าร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน (webmaster - ขยายความว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นความเข้าใจที่ผิดก็ตาม แต่ก็)ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ยังปรากฎให้เห็นว่าดำรงอยู่(webmaster - ขยายความว่า คงทนอยู่ไม่ได้อย่างแท้จริง อยู่ได้)เพียงปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ - ๔ - ๕ ปีบ้าง ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ - ๔๐ - ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้ ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (webmaster - ขยายความว่า เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆ อยู่ทั้งในขณะตื่น และแม้ขณะหลับไป เช่นการฝัน)"
    (อัสสุตวตาสูตร)
    (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖ หัวข้อที่ ๒๓๑)
    จิตหนึ่งนี้ ตลอดจนสังขารทั้งปวง จึงมีการแปรปรวนหรือเปลี่ยนแปลง เกิดดับ เกิดดับๆๆๆ....อยู่ตลอดเวลา ตามเหตุอันมาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง เฉกเช่นดัง เงา
    เราก็รู้อยู่อย่างตำใจ ว่ามีจิต แต่ไฉนจึงกล่าวว่าไม่มีตัวไม่มีตน , ไม่ใช่ของตัวของตน อย่างแท้จริง เหตุเพราะจิตนั้นอุปมาเหมือนดังเงา อันไม่มีตัวตน,ไม่ใช่ตัวใช่ตน อย่างเป็นแก่นแกนถาวรแท้จริง จึงไร้แก่นสารหรือสาระอย่างแท้จริงที่จะไปยึดหรือไปอยากให้เป็นทุกข์ ดังเช่น ถ้าถามว่ามีเงาไหม ทุกคนก็ต้องตอบว่ามี ก็เพราะเห็นอยู่ทั้งตำตาและตำใจแท้ๆ แต่ถึงจะมีก็จริงอยู่ แต่ก็อยู่ในสภาวะที่ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง ตามกฏพระไตรลักษณ์ นั่นเอง เพราะเงาล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม กล่าวคือ มีเหตุต่างๆอันมี วัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง มาเป็นปัจจัยกัน
    เงา นั้นก็ไม่มีใน วัตถุทึบแสง
    เงา นั้นก็ไม่มีใน แสงหรือแสงแดด
    เงา นั้นก็ไม่มีใน พื้นที่รับแสง
    แต่เมื่อเหตุทั้ง ๓ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกันตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม กล่าวคือ วัตถุทึบแสงมาบังกั้นแสงที่ตกกระทบบนพื้นที่รับแสงึงเกิด สังขาร - สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น จากเหตุทั้ง ๓ มาเป็นปัจจัยกัน จึงเกิดสิ่งที่เราเรียกกันโดยภาษาสมมติหรือสมมติสัจจะว่า เงา ขึ้น อันเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่เป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา ที่หมายถึงเมื่อเหตุปัจจัยครบดังนี้ ก็ย่อมต้องเกิดขึ้น จะไปห้ามไม่ให้เกิด,ไม่ให้เป็นก็ไม่ได้ เมื่อเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการจะพบว่า เมื่อเหตุต่างๆอันคือวัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง ที่มาเป็นปัจจัยแก่กันและกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่งเหล่านั้น เมื่อเหตุตัวใดตัวหนึ่งซึ่งต่างก็ย่อมล้วนเป็นสังขารอันไม่เที่ยงเช่นกัน มีอาการแปรปรวนหรือดับหรือสูญไป เงาอันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม ย่อมต้องเกิดอาการแปรปรวน หรือดับไป กล่าวคือขึ้นอยู่หรืออิงอยู่กับเหล่าเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันนั้นนั่นเอง เงาอันเป็นสังขารจึงมีการแปรปรวน หรือการเกิดดับๆๆๆ...เป็นไปตามเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ภายใต้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นไปเช่นดั่งจิต ที่ก็เป็นไปตามเหตุที่มาเป็นปัจจัยต่อกันและกันดังเช่นเงานั่นเอง ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันก็ไม่เกิด ดังนั้นการพยายามหาตัวหาตนของจิต หรือไล่จับจิตหรือวิญญาณ จึงเป็นการพลัดหลงสู่วังวนของความคิด หรือมายาของจิต จึงอุปมาได้ดั่งการพยายามวิ่งไล่จับเงา อันย่อมไม่มีวันประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเนิ่นนานสักกี่ร้อยภพ กี่พันชาติ ก็ตามที
    เงา เมื่อเป็นสังขารสิ่งที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นชนิดหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้น จึงย่อมต้องเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ เกิดแต่เหตุปัจจัยมาเนื่องสัมพันธ์กัน ชั่วขณะหรือระยะหนึ่งเท่านั้น สังขารจึงมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปเป็นที่สุด เป็นอนัตตา ไม่เป็นแก่นไม่เป็นแกนอย่างแท้จริง เพราะคงทนอยู่ไม่ได้ และควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามใจปรารถนา <SCRIPT language=JavaScript><!-- JavaScript// - JavaScript - --></SCRIPT>เป็นไปหรืออิงตามเหตุปัจจัยหรือหลักปฏิจจสมุปบันธรรม จิตก็เป็นเช่นดังเงานั้นนั่นเอง ดังนั้นการพยายามหาตัวจิตหรือนิยามของจิตอย่างเฉพาะเจาะจง ก็จะเป็นการตกสู่หลุมพรางของความคิดหรือมายาของจิตทันที ดังนั้นการที่ไปยึดหรือไปอยากใดๆในผลอันเกิดแต่จิตอันไม่เที่ยง ผลอันเกิดขึ้นมาแต่เหตุที่ไม่เที่ยงนั้น ผลก็ย่อมไม่เที่ยงไปด้วย จึงย่อมต้องเกิดทุกข์ขึ้นในที่สุดจากการเสื่อม การสูญเสีย ความอาลัย ความอาวรณ์ ความคำนึงถึงต่างๆ เพราะอำนาจพระไตรลักษณ์เป็นที่สุด
    จิต จึงไม่มีตัวตนเป็นแก่นเป็นแกน เป็นมายาเหมือนดั่งเงานั่นเอง เกิดแต่เหตุปัจจัยดุจดั่งเงา เมื่อขาดเหตุปัจจัยก็ดับไป จิตจึงมีสภาวะเกิดดับ..เกิดดับ เหมือนดัง เงา ดังนี้
    อายตนะภายนอก [​IMG] อายตนะภายใน [​IMG] วิญญาณ หรือก็คือ จิตหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป เป็นไปตามธรรมหรือตามการกระทบของอายตนะในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือมีชีวิตินทรีย์อยู่ กล่าวคือเป็นไปดังพระสูตรที่ได้ตรัสแสดงไว้ดังนี้
    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    วิญญาณ(หรือจิต)อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ (ได้เกิดขึ้น กล่าวคือเกิดรู้แจ้งในอารมณ์อันคือรูป หรือรับรู้ในรูป)
    วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์อันคือเสียง หรือรับรู้ในเสียง)
    วิญญาณ อาศัยฆานและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ (รู้แจ้งในกลิ่น หรือรับรู้ในกลิ่น)
    วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ (รู้แจ้งในลิ้น หรือรับรู้ในลิ้น)
    วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ (รู้แจ้งในกาย หรือรับรู้ในกาย)
    วิญญาณ อาศัยมนและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ (รู้แจ้งในธรรมารมณ์ หรือรับรู้ในธรรมารมณ์)
    เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ
    ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้
    ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า
    ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า
    ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย
    ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ
    ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    จิตนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน เกิดดับ เกิดดับ...ขึ้นตามเหตุปัจจัยการกระทบกันดังข้างต้นในมหาตัณหาสังขยสูตร จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเรา จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนาอย่างแท้จริง ที่หมายถึงเมื่อกระทบกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายในในผู้ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตินทรีย์อยู่ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ แต่เพราะความที่ไปควบคุมเหตุบางประการได้ระยะหนึ่งเท่านั้ัน จึงเกิดมายาหลอกลวงจิตให้เห็นผิดไปว่าควบคุมบังคับมันได้ จิตจึงแปรปรวนไปตามเหตุหรือสิ่งที่กระทบสัมผัสอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ โดยอาศัยส่วนหนึ่งของกายเป็นประตูหรือทวารเชื่อมอีกด้วยโดยอายตนะภายในต่างๆนั่นเอง และกายก็ยังเป็นแหล่งแสดงผลของจิตอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นแม้แต่กายจริงๆแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งหรือเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตอีกด้วย ตลอดจนขันธ์ต่างๆของจิตเองอันมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ต่างก็ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้นเช่นกัน จึงต่างก็ล้วนมีเหตุมีปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง จิตจึงเป็นสิ่งที่แปรปรวน ลึกลับสุดหยั่ง และควบคุมบังคับได้ยาก เพราะเกิดแต่เหตุปัจจัยมากหลายดังที่กล่าวมา และยังมีมายาของจิตนั่นเองที่พยายามเสกสรรปั้นแต่งด้วยอำนาจของตัณหาอันยังให้เกิดอุปาทานให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง
    ด้วยธรรมชาติของชีวิตดังนี้นี่เอง เมื่อใจคิดนึกปรุงแต่ง กล่าวคือฟุ้งซ่าน ก็ย่อมเกิดจิตต่างๆขึ้นเป็นธรรมดา และเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา ดังได้กล่าวโดยละเอียดไว้แล้วในขันธ์ ๕ ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงจำเป็นต้องมีสติรู้เท่าทันจิต กล่าวคือจิตสังขารที่ครอบคลุมทั้งเวทนาและจิตสังขารคิด แล้วหยุดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งเสีย กล่าวคือเมื่อยังปรุงแต่งฟุ้งซ่านอยู่ย่อมยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้นได้เป็นธรรมดา
    ดังนั้นเราจึงพอให้แค่ความหมายแก่จิต เพียงเพื่อใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกันว่า
    จิต คือ องค์ประกอบอันสำคัญยิ่งของชีวิตทั้งหลาย ส่วนที่นอกเหนือไปจากส่วนรูปหรือรูปขันธ์(ร่างกายหรือตัวตน) แต่ถึงกระนั้นกายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตอีกด้วย หรือ
    จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ กล่าวคือ สภาวธรรมของชีวิตที่รับรู้อารมณ์ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่กระทบ, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ;
    ส่วนคำถามที่ว่า จิตอยู่ที่ไหน? นั้น เป็นคำตอบเดียวเช่นกับเงานั่นเอง กล่าวคือจิตไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นอนัตตาเหมือนดังเงาดังที่กล่าวข้างต้น เมื่อมีเหตุเป็นปัจจัยกัน จิตหนึ่งก็เกิดขึ้น ไม่มีเหตุก็ไม่เกิด จึงอิงหรือขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง กล่าวคือในผู้มีชีวิตินทรีย์อยู่ เมื่ออายตนะภายนอกกระทบหรือประจวบกับอายตนะภายใน จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    จิตหรือวิญญาณ จึงเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ดีแล้ว ในมหาตัณหาสังขยสูตรตอนหนึ่งว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
    เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี
    ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมปิฏก ก็ได้กล่าวถึงจิตไว้ดังนี้
    "จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
    เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์.

    ส่วนคัมภีร์อภิธรรมรุ่น
    อรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน ๘๙ หรือโดยพิสดารมี ๑๒๑ เรียกว่า จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
    แบ่ง โดย
    ชาติหรือลักษณะของการเกิดแบบต่างๆ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐;
    แบ่ง โดย
    ภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)."
    ดังคำอรรถกถาธิบายข้างต้น จะเห็นการจำแนกจิต จิต โดยตามความเป็นจริงแล้วจึงเกิดได้หลายดวงหรืออาการในชั่วขณะหนึ่งเช่นกัน ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และในขณะเดียวกันนั้นหูก็กระทบในเสียงก็ย่อมมีจิตอีกดวงย่อมเกิดขึ้นร่วมด้วยเป็นธรรมดา และถ้าในขณะนั้นธรรมารมณ์(เช่นคิด)กระทบใจ ก็ย่อมมีอีกจิตหนึ่งร่วมเกิดขึ้นด้วยอีกเป็นธรรมดา ฯ. จึงเกิดจิตได้หลายดวงหรืออาการในขณะหนึ่งๆ เพียงแต่ว่าจิตดวงใดเด่นหรือเป็นเอกอยู่ในขณะนั้นๆ หมายถึงแสดงอาการออกมาอย่างเด่นชัดที่สุดในขณะนั้นๆนั่นเอง อุปมาได้ดังพลุที่ยิงขึ้นท้องฟ้าในงานเทศกาล อันย่อมประกอบด้วยพลุจำนวนมากนับสิบนับร้อย แต่ ณ ขณะหนึ่งๆนั้น ย่อมมีพลุที่งามเด่นในสายตาอยู่หนึ่ง แต่แล้วต่างก็ล้วนต้องดับไปเป็นที่สุด จิตก็เป็นไปเช่นดังพลุ [​IMG] หรือดังเงาที่กล่าวข้างต้นนั่นเอง
    เงานั้นเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น วัตถุทึบแสง และแสง เมื่อสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือเหตุ มีอาการแปรปรวนอันใดเป็นธรรมดา เงานั้นก็ต้องแปรปรวนหรืออิงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยนั้นๆ มิสามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนา เพราะแปรปรวนหรืออิงกับเหตุอันมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันเหล่านั้นเป็นธรรมดาอย่างจริงแท้แน่นอน ไม่มีตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง จิตก็เช่นเดียวกัน แต่เงานั้นเมื่อมีอาการแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแล้ว เป็นทุกข์ไหม? ย่อมไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาทะยานอยากหรือไม่อยากใดๆในเงานั้นนั่นเอง อันเป็นสิ่งที่เราพึงต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นเช่นนั้นต่อจิตหรือผลของจิตเช่นกัน
    เนื่องจากจิตเกิดแต่เหตุได้มากหลาย มาเป็นปัจจัยกัน จิตจึงกวัดแกว่ง แปรปรวนได้ง่าย ควบคุมบังคับได้ยาก จึงต้องหัดควบคุมจิตไม่ให้กวัดแกว่ง แปรปรวน หรือฟุ้งซ่าน เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการฝึกจิตให้มีสติ ระลึกรู้เมื่อปรุงแต่ง และมีปัญญาอย่างแจ่มแจ้งไม่คิดนึกปรุงเพราะรู้เข้าใจว่า ถ้าคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านเสียแล้วย่อมก่อให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นนั่นเอง
    [​IMG]
    [​IMG]ธรรมชาติของจิตและนํ้า ในทัศนะของผู้ขียน
    อันเป็นสภาวะโดยปกติธรรมชาติ(ปรมัตถ์)ที่เป็นจริงอยู่เช่นนี้
    (เพื่อให้เห็นจิต เป็นรูปธรรมหรือภาพพจน์ได้ชัดเจนขึ้น)
    ธาตุจิตนั้นเปรียบประดุจดั่งธาตุนํ้า
    นํ้านั้นไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต สามารถแผ่ขยายหรือแปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมหรือภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, ฝ่ายจิตนั้น ก็ไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต แปรปรวนไปตามอารมณ์ [สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือสัมผัสในขณะนั้น ] หรือก็คือสิ่งแวดล้อมอันได้แก่อายตนะภายนอก เช่น รูป เสียง ฯ. ที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)นั่นเอง
    นํ้าอันเป็นวัตถุธาตุประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งคือ H และ O กล่าวคือมีอะตอมของ H 2 อะตอม และ O เป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เกิดสิ่งที่เราเรียกว่านํ้า, ฝ่ายจิต แม้เป็นนามธรรม แต่ก็เป็นสังขารหรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นเช่นกัน จึงเกิดมาแต่เหตุมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เฉกเช่นนํ้านั่นเอง และประกอบด้วยเหตุปัจจัยยิ่งมากหลายมาประชุมกันชั่วขณะหรือระยะหนึ่ง จิตประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ชีวิตินทรีย์ การกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายในอันเป็นส่วนหนึ่งของกาย ตลอดจนอารมณ์(สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือกระทบสัมผัส เช่น รูป เสียง กลิ่น...)และปัจจัยต่างๆอีกมากมาย
    นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, ธรรมชาติของจิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่า แต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรมนอนเนื่องอยู่(อาสวะกิเลสอันเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชายังให้เกิดสังขารต่างๆ)หรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง [​IMG], อันคือย่อมต้องหมุนไปตามภวจักรปฎิจจสมุปบาท เหมือนดังโลกย่อมหมุนรอบตัวเองนั่นเอง คือเป็นไปตามสังขารที่สั่งสมอบรมไว้อันเกิดขึ้นแต่อาสวะกิเลสร่วมด้วยอวิชชา
    ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงกระทำหรือปฏิบัติฉันใด, จิตจักยกระดับให้สูงขึ้นเป็นโลกุตระ คือสภาวะเหนือจากทางโลกๆได้ ก็ย่อมต้องการการพยายามปฏิบัติฉันนั้น,
    การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นต้องใช้ความคิดหาวิธีการและการปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่นคิดใช้เครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง แล้วปฏิบัติดั่งนั้น จึงย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการคิดเพื่อการปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,
    ธรรมชาติของนํ้า เดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนฉันใด, จิตย่อมเดือดพล่าน เร่าร้อน เพราะไฟ อันร้อนแรงของกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เผาลนฉันนั้น อันล้วนมักเกิดจากเวทนาของการคิดปรุงแต่ง
    นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกเจือปน บดบังหรือครอบงําด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน
    จึงช่างพ้องเหมาะสมกับคำว่า นํ้าจิต หรือนํ้าใจ เสียนี่กระไร
    พนมพร
    [​IMG]
    เปรียบเทียบสภาวธรรมของจิตกับนํ้า
    ความทุกข์ - จิตอันขุ่นมัวเศร้าหมองด้วยกิเลสและเดือดพล่านด้วยตัณหาความทะยานอยาก เปรียบประดุจ นํ้าอันขุ่นมัวที่ต้มเดือดพล่าน เมื่อดื่มเข้าไปย่อมเกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจต่อความร้อนอันเดือดพล่านนั้นเป็นธรรมดา และย่อมไม่อร่อยด้วยสิ่งเจือปนอันแสนระคาย
    นิโรธ - หรือสภาวะนิพพาน หรือตทังคนิพพานหรือสภาวะจิตปลอดจากทุกข์ ปลอดจากความเผาลนกระวนกระวาย เปรียบประหนึ่ง นํ้าธรรมดาอันสะอาดบริสุทธิไร้สิ่งปรุงแต่งหรือปราศจากสิ่งขุ่นมัว เมื่อดื่มเข้าไปจึงมีแต่คุณประโยชน์ล้วนสิ้นต่อชีวิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
    ความสุข - สภาวะจิตของความสุข และหมายรวมถึงฌานหรือสมาธิ อันอิ่มเอิบ ซาบซ่าน เปรียบประดุจ นํ้าอันเย็นฉํ่าอันยังมีสิ่งขุ่นมัวปะปนอยู่บ้าง แม้เมื่อดื่มเข้าไปย่อมยังความอิ่มเอิบซาบซ่านเป็นธรรมดา จึงย่อมเป็นที่ถูกใจของปุถุชน แต่ก็ยังมีโทษเพราะยังมีสิ่งเจือปนแอบแฝงอยู่นั่นเอง ตลอดจนเมื่อความเย็นซาบซ่านเหล่านั้นหายไปก็เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวาย คำนึงถึง อยากได้อีกเป็นธรรมดา ตลอดจนเมื่อบริโภคมากเกินไปหรือบริโภคในบางสภาวะก็ก่อให้เกิดโทษทุกข์ภัยจากความเย็นอันอิ่มเอิบซาบซ่านจนเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา
    พนมพร
    [​IMG]
    หมายเหตุ webmaster - คำอุปมาอุปไมย ที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือคำสอนของฮวงโป ได้กล่าวถึงจิตไว้ว่า "สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้" ดังยกมากล่าวไว้ข้างต้น มักมีผู้ไปเข้าใจผิดๆ ไปคิดไปยึดความว่างนั้นอย่างเป็นอรูปฌานไปเสีย คือไปทำให้ว่างๆจากความคิดความนึกทั้งปวง ซึ่งถ้าว่างต้องว่างจากราคะ โทสะ โมหะหรือว่าว่างจากการคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง, จึงเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงตามที่หลวงปู่ได้สื่อไว้ เพราะความหมายที่แท้จริงย่อมหมายถึง แสดงจิตนี้เป็นเสมือนความว่าง เพราะความเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนอย่างแท้จริงหรือสภาวะอนัตตา ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยประชุมกันชั่วขณะ แล้วก็ดับไป จึงย่อมไม่มีตัวตนเป็นก้อนเป็นมวลเป็นฆนะอย่างแท้จริง จึงไร้ขอบเขตหรือรูปร่างลักษณะให้วัดหยั่งหรือจับต้องได้ ดังเช่นความว่าง ความว่างเปล่า หรือเงาทั้งปวงนั่นเอง
    [​IMG]
    พุทธพจน์
    จิตนี้ประภัสสร(ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา
    มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติเดิมแท้ของมันเองนั้น ผ่องใสหรือบริสุทธิ์ มิได้แปดเปื้อนสกปรกหรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามาภายหลัง กล่าวคือ เหล่ากิเลสได้เข้ามาเจือปนเสีย ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจด จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ กล่าวคือเพียงแต่นำออกเสียซึ่งกิเลสนั่นเอง"
    [​IMG]
    จิตตสังขาร
    จิตไม่มีตัวไม่มีตน เกิดแต่เหตุปัจจัย ดุจดั่งเงา ก็จริงอยู่ แต่สามารถเห็นจิตตสังขารได้ด้วยสติและปัญญา
     

แชร์หน้านี้

Loading...