~* ชีวิตเหมือนพยัพแดด *~

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ~:*พนมวัน*:~, 15 กรกฎาคม 2012.

  1. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    http://www.youtube.com/watch?v=ZsA055I_QrM&feature=youtu.be

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=1oBdN1qbc5Y&feature=related"]http://www.youtube.com/watch?v=1oBdN1qbc5Y&feature=related[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=G7rQ735WXXY&feature=relmfu"]http://www.youtube.com/watch?v=G7rQ735WXXY&feature=relmfu[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=xEpJcS_dXXo&feature=relmfu"]http://www.youtube.com/watch?v=xEpJcS_dXXo&feature=relmfu[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=281A7ImTrXI&feature=related"]http://www.youtube.com/watch?v=281A7ImTrXI&feature=related[/ame]


    [​IMG]

    ชีวิตเหมือนพยัพแดด..บทเรียนชีวิต จากพระภิกษุณี สุโพธา


    จำนวนพระภิกษุณีสายศรีลังกาในเมืองไทย ปัจจุบัน (๒๕๕๓) มีเพียง ๒๐ รูปเท่านั้น กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทุกภาค และสามารถติดต่อเชื่อมโยงถึงกันได้เสมอ ผู้หญิงไทยที่ต้องการบวชเป็นพระ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังต้องอาศัยรับการบวชจากพระอุปัชฌาย์สายศรีลังกาอยู่ แต่ไม่นานนี้หรอก เราจะได้เห็นการบวชภิกษุณีในเมืองไทย

    คณะพระภิกษุสงฆ์ทางศรีลังกาท่านให้การสนับสนุนผู้หญิงให้ได้บวชเป็นพระได้อย่างดี เป็นเพราะท่านอ้างถึงพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี ฯ “ ( พระไตรปิฎก เล่ม๗ จุลวรรค ข้อ๕๑๙ หน้า๒๑๑)แต่ที่คณะพระภิกษุสงฆ์ไทยยังไม่สามารถให้การสนับสนุนผู้หญิงได้บวชนั้นก็เพราะติดอยู่กับคำสั่งของสมเด็จพระสังฆราชใน พ.ร.บ.สงฆ์ตั้งต่ปีพ.ศ.๒๔๗๑ ที่สั่งห้ามมิให้พระภิกษุให้การบรรพชาอุปสมบทแก่ผู้หญิงเป็นภิกษุณี สามเณรี หรือสิกขมานา

    [​IMG]

    รายละเอียดเรื่องความถูกต้องแห่งการบวชพระภิกษุณีนั้นได้ถูกเขียนถึงไว้อย่างมากแล้วในปัจจุบันโดย หลวงแม่ธัมมนันทา (ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ท่านเป็นนักวิชาการที่ค้นคว้าเรื่องการบวชภิกษุณีจากทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทางโบราณคดี ฯ ท่านยืนยันเหมือนอย่างที่นักวิชาการอื่นๆเห็นตรงกันว่า ภิกษุณีสงฆ์มีการบวช สืบทอดตั้งแต่พุทธกาลจนถึงปัจจุบันไม่เคยขาดสาย ท่านเขียนไว้หลายที่แล้วอย่างละเอียดลออ หลวงพี่ก็จะไม่เขียนซ้ำ

    [​IMG]

    แน่นอนว่า ในพระไตรปิฎกมีบอกเล่าเรื่องราวของพระภิกษุณีเก่งๆไว้มากมายหลายองค์ในยุคพุทธกาล แต่ทว่าพระภิกษุณีกลับถูกละเลย ที่จะกล่าวถึงในตำรับตำราโบราณของพุทธศาสนาที่เขียนขึ้นภายหลังพุทธกาล ซึ่งนี้เองได้สร้างความเข้าใจผิดให้คนยุคหลังว่า อินเดียไม่สามารถสืบทอดพระภิกษุณีไว้ได้ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระภิกษุณีในอินเดีย ได้สืบทอดมายาวนานนับพันปี นักโบราณคดี ได้ค้นพบหลักฐานหลายชิ้น ที่แสดงถึงการมีอยู่ของพระภิกษุณีในอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน

    [​IMG]

    เช่น ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชที่กล่าวถึงคณะภิกษุและภิกษุณีสงฆ์ , การบริจาคของคนโบราณก็คล้ายๆกับยุคนี้ คือจะจารึกชื่อผู้บริจาค เราจึงพบแท่งเสาหินที่สลักชื่อพระภิกษุณีผู้บริจาคสร้างสถูปไว้ด้วยช่วง ประมาณพ.ศ.๔๐๐-๖๐๐ หรือเช่นพระพุทธรูปทองเหลืองมีสลักชื่อพระภิกษุณีผู้บริจาคไว้พร้อมระบุพ.ศ.๑๐๘๒ เรายังมีหลักฐานที่เป็นชิ้นเป็นอันแบบนี้อีกมากที่ขัดแย้งต่อคำกล่าวที่ว่า ”ภิกษุณีหมดไปตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว”


    [​IMG]

    หลวงพี่อยากเล่าสั้นๆ เกี่ยวกับสายการบวชภิกษุณีอย่างนี้นะ เริ่มจากพระนางปชาบดีโคตมีเป็นพระภิกษุณีองค์แรกที่ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าด้วยพิธีกรรมที่เรียบง่ายเหลือเกิน เพียงแค่เอ่ยปากว่ารับที่จะปฏิบัติตามครุธรรม๘เท่านั้น พระพุทธเจ้าก็รับรองการเป็นพระของท่านแล้ว ส่วนสาวๆที่ติดตามมาจำนวนมาก ในอรรถกถาว่า๕๐๐นาง พระพุทธเจ้าท่านให้ไปบวชกับพระภิกษุสงฆ์

    ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช อินเดียไปเผยแพร่พุทธศาสนาในศรีลังกา แล้วผู้หญิงศรีลังกาขอบวชพระบ้าง ก็ได้รับการบวชจากคณะพระภิกษุณีสังฆมิตตาซึ่งเป็นลูกสาวของพระเจ้าอโศกนั่นเอง ภายหลังศรีลังกาถูกศาสนาอื่นรุกรานอย่างหนัก พระภิกษุและภิกษุณีขาดสูญหมดทั้งคู่ แต่โชคดีที่ศรีลังกาเคยไปเผยแพร่และบวชพระภิกษุณีไว้ให้ที่เมืองจีนก่อนตัวเองจะหมด จีนเองก็หวิดๆจะหมดไปช่วงยุคคอมมิวนิสต์ไล่ฆ่าพระ

    [​IMG]

    ครั้งนั้นพวกพระภิกษุณีไม่ดื้อ พอเขาจะฆ่าก็หนีไปอยู่เกาะไต้หวัน ส่วนพระภิกษุจำนวนไม่น้อยยอมตาย ไม่ยอมหนี ท่านแมนสุดๆ ก็เลยมรณภาพกันไปเป็นจำนวนมาก บางส่วนหนีไปที่หลัง ก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระภิกษุณีที่หนีไปก่อน ดังนั้น ที่ไต้หวันภิกษุและภิกษุณีเขาสามัคคีกัน ร่วมมือทำงานให้สังคมให้พระศาสนาเป็นทีมเวอร์คอย่างดี และทั้งภิกษุและภิกษุณีที่หนีรอดมาได้จึงปักหลักอยู่ที่ไต้หวันถึงทุกวันนี้

    ในปี๑๙๙๘ ศรีลังกาต้องการมีพระภิกษุณี จึงได้มาขอบวชภิกษุณีต่อจากไต้หวัน เพราะสืบค้นชัดเจนแล้วว่าเป็นสายการบวชเดียวกัน โดยมีพระภิกษุศรีลังกาบวชให้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ครบสงฆ์ ๒ ฝ่ายตามที่หลายคนเรียกร้อง

    [​IMG]

    หลวงพี่คิดว่าภิกษุณีไม่ใช่ไดโนเสาร์นะ จะได้หมดแล้วหมดเลย แต่ภิกษุณีคือรูปแบบการบวชที่พระพุทธเจ้าประทานให้แก่ผู้หญิง ที่หัวใจถึงพร้อมกับการบวช พระภิกษุณีที่เคยมีมาแล้ว หากคิดว่าขาดสูญไปบางช่วงบางตอน ทำไมเราไม่ช่วยกันรื้อฟื้นขึ้นมาบนเงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อพระวินัย

    บางกระแสยืนยันว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่อยากให้ผู้หญิงบวช หลวงพี่กลับคิดตรงข้าม เพราะในพระไตรปิฎกตอนหนึ่ง เล่าถึงสิกขมานารูปหนึ่ง จะเดินทางไปรับการอุปสมบทในที่แห่งหนึ่ง ค่อนข้างไกล นางรู้ว่าจะมีอันตรายแก่นางบนเส้นทางนั้น พระภิกษุณีอีกรูปจึงไปทูลพระพุทธเจ้า ท่านจึงอนุญาตการอุปสมบทแบบใช้ทูต คือส่งนางภิกษุณีผู้ฉลาดเดินทางไปรับการอุปสมบทแทน แล้วกลับมาบอกสิกขมานาผู้ต้องการบวช แค่นี้ก็เป็นพระได้แล้ว

    [​IMG]

    จากเรื่องนี้เราจะเห็นถึงหัวใจของพระพุทธองค์ที่มีความเรียบง่ายในเรื่องรูปแบบหรือพิธีกรรม ขณะเดียวกันก็ยังแสดงออกถึงความเมตตาของพระพุทธองค์ที่มีต่อผู้หญิงด้วย และการบวชแบบนี้ท่านอนุญาตไว้โดยไม่ระบุวันหมดอายุ ยังไม่เคยถูกยกเลิก หากปัจจุบันใครคิดว่าตนจะมีอันตรายระหว่างการเดินทาง ก็ยังสามารถใช้การบวชแบบทูตนี้ได้อยู่

    จริงๆ แล้ว หากเราจะบวชโดยสงฆ์ฝ่ายเดียวก็ย่อมได้ โดยอนุโลมตามนางสากิยานีทั้ง ๕๐๐ ที่ติดตามพระนางปชาบดีโคตมีมาบวช ขณะนั้นยังไม่มีพระภิกษุณี ผู้หญิงจึงขอบวชจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว แต่เนื่องจากยุคนี้เรามีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ก็ล้วนมาจากสมาชิกของสังคมเดียวกับเรา ซึ่งเราจะเมินเฉยต่อความเห็นต่างเหล่านั้นไปทันทีก็ไม่ได้

    [​IMG]

    เรื่องครุธรรม ๘ เอง ก็ถูกกล่าวอ้างขึ้นมาว่า เพราะพระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้ผู้หญิงบวช จึงบัญญัติครุธรรม ๘ ขึ้น นั่นก็เป็นความคิดเห็นของคนๆ หนึ่งซึ่งมีสิทธิจะคิดอย่างไรก็ได้ทั้งนั้น หลวงพี่เอง ก็มีสิทธิคิดได้เหมือนกันว่า พระพุทธเจ้าท่านลองใจท้าทายหัวใจผู้หญิง ว่าแน่วแน่กับการบวชขนาดใหน ท่านทดสอบการถือตัวถือตนของผู้หญิงที่จะบวช ถ้าลดมานะความถือตัว (Ego) ไม่ได้ ก็บวชไม่ได้

    [​IMG]

    ครุธรรม๘ ถ้ามองเผินๆ เหมือนพระพุทธเจ้าท่านกดขี่ทางเพศ โดยทางวิชาการแล้วมองลึกๆ ถึงบริบทสังคมอินเดียยุค๒พันกว่าปีจะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านบัญญัติครุธรรม๘ขึ้นก็เพื่อเอื้อต่อความมั่นคงแห่งพระภิกษุณี เมื่อศาสนาพุทธเป็นศาสนาแรกในโลกที่ยอมรับศักยภาพในการบรรลุธรรมของผู้หญิง

    และศาสนาพุทธเป็นศาสนาแรกในโลกที่อนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้เหมือนกับผู้ชาย ท่ามกลางการเหยียดเพศในสังคมพราหมณ์ที่เข้มข้นในยุคนั้น พระพุทธองค์มีความจำเป็นในการต้องประนีประนอมภิกษุณีกับสภาพสังคมยุคนั้น ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของพระภิกษุณีเอง

    ท่านบอกไว้เหมือนกันว่าผู้หญิงบวชแล้วจะมีปัญหา อายุพระศาสนาจะสั้น ท่านจึงป้องกันปัญหาต่างๆด้วยการบัญญัติครุธรรม๘ขึ้นมา ท่านบอกว่าท่านก็เหมือนบุรุษที่รู้ว่าน้ำจะมา จึงสร้างเขื่อนกั้นไว้ น้ำก็จะไม่ท่วมเสียหาย ความจริงครึ่งหลังนี้ คนที่ต่อต้านพระภิกษุณีไม่ค่อยชอบพูด แต่มักพูดความจริงแค่ครึ่งเดียวตรงที่ว่าจะมีปัญหาอายุศาสนาจะสั้น เขาพูดกันแค่นี้

    แต่ความจริงอีกครึ่งที่พระพุทธเจ้าท่านป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคตด้วยการบัญญัติครุธรรม๘ขึ้นก่อน เขาไม่พูดกัน ข้อความทั้งหมดปรากฎรวมอยู่ในพระสูตรเดียวกัน เรียงอยู่ติดๆกัน อยู่หน้าเดียวกัน จะบอกว่าอ่านไม่เจอก็ไม่น่าจะใช่ (โคตมีสูตร พระไตรปิฎก เล่ม๒๓ หน้า๒๑๙ ข้อ๑๔๑)

    [​IMG]

    (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ หากมาตุคามจักไม่ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นานสัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปีแต่เพราะมาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน ทั้งสัทธรรมก็จักดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปี ดูกรอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่มีหญิงมากชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวกโจรกำจัดได้ง่าย แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน

    อนึ่ง ขยอกลงในนาข้าวที่สมบูรณ์ นาข้าวนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นานแม้ฉันใด ... เพลี้ยลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่ง บุรุษกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลออก แม้ฉันใด เราบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ ไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วงตลอดชีวิตเสียก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ )

    [​IMG]


    ช่วงที่หลวงพี่มีความสุขมากๆ ช่วงหนึ่งคือ ช่วงที่ทิ้งทางโลกมาอยู่วัด บวชถือศีล๘เป็นเด็กวัด นุ่งกางเกงขาก๊วยกับเสื้อกุยเฮง ไม่ต้องมีวินัยอะไรเยอะแยะ ไม่ต้องตัวแข็งหลังตรงอย่างพระท่าน วันนึงอาจารย์ปู่ท่านมาบอกให้หลวงพี่บวชเป็นพระภิกษุณีเถอะ หลวงพี่ไม่รู้จักภิกษุณีเลยด้วยซ้ำ แต่เพราะเคารพในครูบาอาจารย์ ก็เลยต้องขวนขวายแสวงหาการบวชแบบที่มีระเบียบวินัยมากมาย แม้เราจะเป็นคนรักอิสระ ไม่ชอบกฎเกณฑ์อะไรมากๆ

    แต่นี่คือการเลือกแล้วที่จะบวชอย่างเต็มรูปแบบ หลวงพี่คิดว่าหลวงพี่เสียสละ เสียสละความเป็นส่วนตัว หลายๆอย่าง เพื่ออะไร? หลวงพี่ต้องการอนุรักษ์สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้เรา สำหรับหลวงพี่ การบวชเป็นเพียงการแสดงความกตัญญูต่อพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่ท่านช่วยกันสืบทอดพระธรรมคำสอนมาตลอดกว่า ๒ พันปี เราได้ประโยชน์สูงสุดจากพระธรรมคำสอนที่สืบทอดมายาวนานอย่างไร

    [​IMG]

    เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันสืบทอดพระธรรมให้คนรุ่นหลังบ้างเท่านั้น การบวชจึงเป็นเพียงเราได้มีเครื่องแบบในการปฏิบัติงานทำหน้าที่พระเพื่อร่วมกันสืบทอดประโยชน์แห่งพระพุทธศาสนาให้ถึงญาติโยมสืบไปเท่านั้นเอง นี่คือเจตนารมณ์

    สมัยก่อนนั้นเวลาผู้หญิงขอบวช พระพุทธเจ้าท่านให้ไปบวชเป็นพระภิกษุณี ท่านไม่ได้ให้บวชชีนะ สถานะของแม่ชีในปัจจุบันเป็นสถานะกึ่งนักบวชกึ่งฆราวาส หลวงพี่เห็นว่า แม่ชีต่างหากที่ควรเปิดหูเปิดตาเข้ามาศึกษาให้เข้าใจเรื่องพระภิกษุณี แล้วแสวงหาการบวชที่ถูกต้อง แต่หากแม่ชีพอใจกับการเป็นชี ก็ไม่มีปัญหา บวชแบบไหนก็รู้ธรรมได้ทั้งนั้น หลวงพี่อนุโมทนากับการถือบวชทุกรูปแบบอยู่แล้ว แม้ฆราวาสที่มีภาระมาก แต่รู้ธรรม ปฏิบัตธรรม ได้ผลแห่งธรรม ต้องถือเป็นพระนอกเครื่องแบบ ซึ่งน่าอนุโมทนาเช่นเดียวกัน

    [​IMG]

    ในความเป็นจริงนั้น การเป็นเนื้อนาบุญไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศ แต่ขึ้นอยู่กับความประพฤติ จริงๆแล้วมีพระภิกษุจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนการบวชพระของผู้หญิงอย่างสุดตัว อย่างเช่น องค์ทะไลลามะ หลวงปู่ติชนัทฮันห์ พระไทยก็มีมาก เช่นอาจารย์พรหมวังโส ซึ่งโดนบอยคอตจากคณะสงฆ์ไทยสายวัดหนองป่าพงเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจัดการบวชภิกษุณีที่ออสเตรเลีย

    [​IMG]


    ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลวงพี่อาศัยในวัดของพระภิกษุอยู่ ด้วยเหตุผลว่าเราเป็นศิษย์ที่ศึกษาธรรมจากท่านโดยตรงตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส, หลวงพี่ขี้เกียจสร้างวัดด้วยตนเอง มันเหนื่อยยากและไม่เหมาะกับจริตหลวงพี่, อีกข้อหนึ่งหลวงพี่อยากให้พระภิกษุณีกระจายๆกันอยู่ในที่ๆปลอดภัย แทรกซึมไปในชุมชน จังหวัดละรูป๒รูป ไม่ต้องไปกระจุกตัวอยู่วัดเดียวกันทั้งหมด แต่การอาศัยวัดของพระภิกษุอยู่นั้นหลวงพี่กลับโชคดีอย่างมากเรื่องการได้รับโอกาส เมื่อครั้งอยู่กับพระอาจารย์ปู่โกโลโกโสที่วัดป่าเลไลยก์ จ.นครสวรรค์ อาจารย์ปู่เปิดโอกาสให้หลวงพี่แสดงธรรมแก่ญาติโยมเสมอๆ

    แม้เมื่อหลวงพี่มาอยู่ที่วัดของพระภิกษุท่านอื่นๆ ท่านเจ้าอาวาสก็ให้ความเมตตาและให้โอกาสในการแสดงธรรมกับญาติโยมบ้างเช่นเดียวกัน ท่านไม่ใช่ว่าสักแต่ให้เราอาศัยอยู่เฉยๆ ท่านให้เรามีบทบาททางธรรมในวัดด้วย ซึงนี่ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆกับพระภิกษุณีผู้อาศัย พระภิกษุณีเพื่อนกันบางรูปที่อาศัยวัดพระภิกษุในจังหวัดอื่นๆ หลวงพี่พอทราบมาว่าท่านไม่ได้รับโอกาสที่ดีๆอย่างที่หลวงพี่ได้รับเลย

    [​IMG]

    อย่างพระอาจารย์ปู่โกโรโกโสนั้น ท่านสนับสนุนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์กับทุกคนอย่างเสมอกันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย รวมถึงสามเณรีหรือพระภิกษุณีอย่างหลวงพี่ด้วย ทำให้ท่านกลายเป็นเป้าสายตาที่ประกอบด้วยอคติจากทั้งจากชาวบ้านบางคนและพระสงฆ์บางรูป แต่ท่านก็เสียสละความสบายส่วนตัวเพื่ออนุเคราะห์นักบวชผู้หญิง หลายๆครั้งหลวงพี่ได้เห็นท่านต้องปะทะคารมกับพระภิกษุในเรื่องการบวชภิกษุณีด้วยคำพูดแรงๆ ไม่ใช่แค่เพื่อปกป้องหลวงพี่ที่เป็นลูกศิษย์เท่านั้น แต่หลวงพี่เห็นว่าท่านทำเพื่อผู้หญิงทุกคน เพื่อสามเณรีภิกษุณีทุกรูปต่างหาก

    หลวงพี่มักประกาศเสมอว่า “ข้าพเจ้ามิได้บวชพระภิกษุณีเพื่อจะเป็นพระภิกษุณี แต่ข้าพเจ้าบวชพระภิกษุณี เพื่อจะไม่ต้องเป็นอะไรทั้งสิ้นในภพทั้ง๓” หลายคนได้ยินแล้วก็สาธุการ แม้ฝรั่งชาวอิตาลี มาเที่ยวที่วัด มาเที่ยวเมืองไทยไม่เคยเห็นพระผู้หญิง จึงคุยกันเรื่องการบวชเนื้อหาเร่งรัดเพราะรถบัสจอดให้เที่ยวไม่นาน หลวงพี่พูดแบบเดียวกับข้างต้นคือ "I was ordained to be a monk, not because I want to be a monk, but because I want to be nothing."

    [​IMG]

    ฝรั่งฟังแล้วทำตาลอย เดินหายไป ๓ นาที กลับมาอีกที ดวงตาเธอเป็นประกายแห่งปิติอิ่มเอิบ ละล่ำละลักบอกว่า ”เข้าใจแล้วๆ” ยิ้มกว้างมาก บอก “ขอบคุณๆ, คำๆนี้ช่างยิ่งใหญ่จริงๆเลย” ..ทั้งๆที่ฝรั่งไม่ได้มีความรู้เรื่องศาสนาพุทธมากมายอะไรนัก แต่เขามีพุทธิปัญญาแอบซ่อนไว้ในหัวใจอยู่ จึงเข้าใจถึงความยิ่งใหญ่ (โดยสมมุติ)ของความไม่เป็นอะไรทั้งสิ้นได้

    โดยส่วนตัวแล้ว การบวชในหรือนอกรูปแบบนั้นไม่ได้สำคัญไปกว่าการทำมรรคผลเพื่อถึงที่สิ้นสุดแห่งกองทุกข์ อันเป็นเป้าหมายหลักในพระพุทธศาสนา แต่การบวชในรูปแบบนั้นจะมีผลดียิ่งถ้าเราใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเกื้อกูลการประพฤติพรหมจรรย์ของเราเองและการทำประโยชน์ให้กับสังคม ในการเผยแพร่ธรรมคำสอน ด้วยการที่เราเองเป็นตัวอย่างของผู้ออกจากเรือนมาบวชประพฤติธรรมอย่างเต็มรูปแบบ อย่างคนมีเป้าหมาย กับใจที่ถึงพร้อม

    [​IMG]


    เขียนโดย พระภิกษุณี สุโพธา
    http://subodha-bhikkuni.blogspot.com/


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 กรกฎาคม 2012
  2. romanof3

    romanof3 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +68
    อารมณ์ใจก็เหมือนพยัพแดด เช่นกัน เดี่ยวมันก็เปลี่ยนไป ตามกาลเวลา ในตอนสุดท้ายของชีวิต ของท่าน ( หลวงพี่ป๊อบ ) ที่นำมาเปิดในคลิปนั้น สังเกตุว่า อารมณ์ใจนั้นอยู่กับการจับ อนิจจังทุกขังอนัตตา ซึ่งเป็น สัจจะธรรม ของสรรพสังขาร ซึ่งผมเข้าใจว่า ท่านเอง ก็คงพิจารณาธรรมนี้ จากสังขารของท่านเช่นกัน ดังนั้น ที่ผ่านๆมา ที่ ท่านกล่าวเกี่ยวกับสิทธิในเรื่องภิกษุณี ตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ก็เป็น เหมือนพยัพแดด เช่นกัน เป็นอารมณ์ หนึ่งที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต ซึ่ง ถ้าเปรียบเทียบกับ คำว่าพยัพเเดดในตอนนี้ ( ก่อนจะเสียชีวิต ) คุณค่า และความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ พยัพแดดจากอารมณ์ยึดมั่นในสภาวะของตน ( ภิกษุณี ) กับ พยัพแดด ในการปล่อยว่าง ( พิจารณาละสังขาร ) เห็นไหมครับ พยัพแดด เหมือนกัน แต่ คุณประโยชน์จากการพิจารณาต่างกันมากเลย จึงขอเสนอความคิดเห็นนี้ ไว้พิจารณา สำหรับสายท่าน ( ภิกษุณี ) ทั้งหลาย นะครับ ว่าพยัพแดด ในแนวทางที่ท่านเป็น จะเลือกพยัพแดด แบบไหน แบบปล่อยว่าง หรือ ยึดในตัวตน

    ทองแท้ไม่กลัวไฟ ซื้อขายร้านไหนก็รับ หมด สำคัญคือ ไม่ต้องประกาศโฆษณาด้วยครับ
    ขอบคุณ ที่นำธรรมมะ อนิจจัง ทุกกขัง อนัตตา ( พยัพแดด ) มาโพสด้วยความเคารพครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...