ฌาน 2 ประเภท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 16 เมษายน 2015.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ฌานในสมถะ อารัมณูปนิชฌาน (หลวงปู่พุธ ฐานิโย )
    <O:p</O:p

    คำว่า "ฌาน" ฌาน หรือสมาธินี่ เราพอที่จะแยกออกได้เป็น 2 ประเภท 1. สมาธิในฌาน คือ สมาธิในฌานในลักษณะ ฌานสมาบัติ...ฌานฤาษี สมาธิในฌานฤาษีนี่เมื่อจิตสงบลงไปนิ่งแล้ว มีความสว่างไสว ร่างกายตัวตนหายไปหมด ยังแต่ความว่างเปล่า อันนี้คือสมาธิในฌาน เพราะไม่รู้อะไร เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน เมื่อจิตอยู่ในฌานแบบฤาษี จิตจะไปรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียว
    <O:p</O:p
    เช่นอย่างเพ่งกสิณ ก็ไปรู้อยู่ที่ อุคหนิมิต ถ้าเพ่งอสุภะกรรมฐาน ก็จะไปรู้อยู่ที่โครงกระดูก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งรู้ จิตก็จะรู้อยู่ที่จิตแล้วสว่างไสวอยู่อย่างไม่มีจุดหมาย ร่างกายตนตัวหายไปหมด ภูมิความรู้เหตุรู้ผลอะไรต่างๆ ไม่เกิดขึ้น มีแต่ความว่างถ่ายเดียว อันนี้เป็นสมาธิแบบฌานฤาษี ..สมาธิแบบฌานฤาษีนี้ เป็นบาทพื้นให้เกิดวิปัสสนา ถ้าเมื่อเราอยู่ในฌานฤาษี ถ้าจิตของเราออกจากฌานฤาษี พอรู้สึกว่ามีกายปรากฎขึ้น ความคิดเกิดขึ้นมาปั๊บ ผู้ภาวนาทำสติกำหนดตามรู้ไป แล้วฌานฤาษีจะกลายเป็นพลังทรง สนับสนุนจิตของเราให้เดินวิปัสสนาได้อย่างแน่วแน่ อันนี้แล้วแต่ความฉลาดของผู้ปฏิบัติ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทีนี้ในเมื่อจิตของเราถอนออกมาจากสมาธิเช่นนั้น มากำหนด..หมายเอาความคิดอ่านเป็นอารมณ์ แล้วก็ตามรู้ไป รู้ไป รู้ไป เมื่อเกิดวิตก วิจาร ขึ้นมาเมื่อไหร่ ภูมิจิตคิดเองสติตามรู้เอง ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมเหมาะเจาะกันพอดี ความคิดก็คิดขึ้น สติก็ทำหน้าที่ จดจ่อกันอยู่อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นเอ่อเมื่อมี วิตก วิจารเป็นองค์ประกอบ เป็นองค์ฌานที่ 1 กับที่ 2 ..เมื่อองค์ฌานที่ 1 ที่ 2 เกิดขึ้นแล้ว ปีติและความสุขจะไม่เกิด เป็นไปไม่ได้ ..ปีติและความสุข ย่อมเกิดเป็นผลตามมา
    <O:p</O:p
    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิต มีสติจดจ่ออยู่กับความคิดที่เกิดกับในปัจจุบัน กลายเป็น..เอกัคคตา คือจิตทำหน้าที่ของจิต โดยไม่มี อ่า.. เปลี่ยนแปลง จิตก็ทำหน้าที่..คิด พิจารณา สติ..ก็ทำหน้าที่ ของสติ แล้วลักษณะความดูดดื่มพระสัทธรรมคือปีติและความสุข ก็เกิดพร้อมอยู่ตลอดเวลา ความเป็นหนึ่งของจิตตามความหมายของฌานในขั้นนี้ ไม่ได้หมายความว่าหนึ่งจิต โดยไม่มีความรู้ ไม่มีสิ่งรู้ แต่สิ่งรู้นี่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา แต่จิตเป็นหนึ่งจดจ่ออยู่กับสิ่งรู้ในปัจจุบัน เรียกว่าจิตเป็นหนึ่ง เป็นฌานที่ 1 เป็นฌานในวิปัสสนา เป็นสมาธิในอริยะมรรค สมาธิในอริยะมรรค ต้องมีสิ่งรู้ สติ ต้องมีสิ่งระลึก เมื่อจิตผ่านฌานที่ 1 ที่ 2 ไปแล้ว จนกระทั่งเข้าไปสู่ฌานที่ 4 ..กลายเป็นฌานที่ 5 จิตจะขึ้นหนีจากร่างกายลงไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด

    ในช่วงที่ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมดนั้น จิตอยู่ในฌานที่ 5 อากาสานัญจาตนะ (อากาสานัญจาตนฌาน) เมื่อจิตหวลที่จะมายึด. วิญญาณ. เป็นสิ่งรู้ กลายเป็น โคตระภูญาณสิ่งรู้ของจิตปรากฏขึ้นมาทันที บางที เปรียบเหมือนว่า จิตลอยเด่นอยู่เหนือโลก แต่มีกระแสมองดูโลก ทั่วหมดทั้งโลก บางทีปรากฏมีกาย..ตายลงไป จิตดูอยู่ที่ความตายนั้น แล้วก็รู้ไปตลอด จนกระทั่งกายที่มองเห็นสลายตัวไปไม่มีอะไรเหลือ หรือบางทีจิตก็มีสิ่งรู้ที่ผ่านเข้ามามีลักษณะเหมือนเมฆหมอก มีทุกสิ่งทุกอย่างที่มาวนรอบจิตอยู่ตลอดเวลา จิตในอริยะมรรคเอกายะโนมรรโค เขาตั้งตัวยืนหยัดอยู่ในความสงบนิ่ง เด่นสว่างไสวอยู่ และไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งนั้นๆ ที่ผ่านเข้ามา แม้สิ่งนั้นจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เขาจะรู้สิ่งนั้นอยู่ รู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าอะไรเป็นอะไร เพราะฉะนั้นความรู้ในขั้นนี้ จึงกลายเป็นความรู้ขั้นโลกุตตระ<O:p</O:p





    ..ฌานในวิปัสนา ลักขณูปนิชฌาน (หลวงปู่พุธ ฐานิโย )


    <LINK rel=File-List href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cuser%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"> <STYLE> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </STYLE> <LINK rel=File-List href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cuser%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"> <STYLE> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </STYLE> <LINK rel=File-List href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cuser%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml"> <STYLE> <!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:"Cordia New"; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} --> </STYLE>
    [FONT=&quot]ความรู้ขั้น โลกุตระ หมายถึง ความรู้ที่ไม่มี สมมติ บัญญัติ ทีนี้[FONT=&quot]ใน[/FONT]เมื่อ จิตไม่มีสมมติบัญญัติ หรือสิ่งรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมาจากไหน ก็จิตตัวที่ละเอียดนั่นแหล่ะ มันปรุงแต่ง[FONT=&quot]ขึ้นมา[/FONT]เพื่อ[FONT=&quot]อบรม ตัวเองเพราะจิต[/FONT]ปรุงแต่ง[FONT=&quot]ขึ้นมา[/FONT]สังขารตัวนี้มันปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว จิตไม่ยึด มันก็กลายเป็น[FONT=&quot]วิสังขาร[/FONT]เป็นแต่เพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่ง[FONT=&quot]ระ[/FONT]ลึกของ สติ รู้แล้วก็ปล่อยวางไปเรียกว่าฌานในอริยะ[FONT=&quot]มรรค [/FONT][/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot]
    ฌานในอริยะมรรค นี่ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน และจิตทำหน้าที่กำหนดรู้สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากว่าใครรู้เห็นธรรมะในขั้นนี้ แม้จะมองเห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง จิตมันก็ไม่ว่าเน่าเปื่อยผุพัง มองเห็นความสุขทุกข์เป็นอนัตตา จิตก็ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มี[FONT=&quot]แต่รู้อยู่[/FONT]โดยถ่ายเดียว

    เพราะฉะนั้น...ความรู้อันนี้ ท่านจึงเรียกว่า สังขาร ขั้นวิสังขาร เป็นการปรุงแต่งของจิตขั้นละเอียด จิตที่ปรุงแต่งอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงมีประหนึ่งว่า สิ่งที่รู้ก็เป็นอันหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็เป็นอันหนึ่ง ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้ามีอะไรบันดาลให้เข้ามา ปรุงแต่งมาให้เรารู้ แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง

    ทีนี้ในเมื่อจิตไม่มีความสำคัญ มั่นหมายสิ่งใดว่าเป็นอะไร มีแต่รู้อยู่เฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาพนิมิตอาจจะบังเกิดขึ้น นี่เป็นร่างศพที่เน่าเปื่อยผุพัง แต่นี่เป็นร่างที่สวยงามที่สุด ในขณะที่จิตรู้อยู่ จิตจะไม่สำคัญ ไม่มีความเอนเอียง ลำเอียงว่า อันนี้ดี อันนี้เสีย มีความรู้สึกเสมอกันหมด

    ทีนี้แม้ว่าจะไปรู้กฏของบุญของบาป อะไรต่างๆ ก็ดี คล้ายๆ ว่าความดี...ความดีไม่ปรากฎ ความชั่วไม่ปรากฎ เพราะในขณะนั้นจิตเป็นกลาง ในเมื่อจิตเป็นกลางแล้ว จิตจึงไม่สำคัญมั่นหมายในสิ่งดีสิ่งชั่ว แต่จิตจะยอมรับกฏของธรรมชาติ กฏธรรมชาติที่เราสมมติว่า บุญนี้ เป็นสิ่งพยุงดวงจิตของเราให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่เราสมมติว่า บาปนี้ เป็นกฏที่จะถ่วงดวงจิตของเราให้ต่ำลง คำว่าบุญบาปนี้หายไปหมด เพราะรู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ เพราะฉะนั้นความรู้ใน จุดนี้จึงเป็นอันตรายแก่นักปฏิบัติ ในเมื่อไปเห็นทุกอย่างไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีสมมติบัญญัติในที่สุด นิพพานัง ปรมัง มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีใครสำเร็จพระนิพพาน บุญบาปที่ทำลงไป มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีอะไร สักแต่ว่าธรรมเท่านั้น นิยตะ มิจฉาทิฏฐิ มันจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นนักภาวนาทั้งหลายควรระมัดระวัง...[/FONT]

    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot]เครดิตเพื่อนสมาชิก พลูโตจัง<O></O>[/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...