ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น.

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 เมษายน 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๙๒/๓๓๑
    [๕๐๕] คำว่า โลก ในอุเทศว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ ดังนี้ คือ นิรยโลก
    ติรัจฉานโลก ปิตติวิสยโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้
    โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
    ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    โลก โลก ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เรากล่าวว่าโลก เพราะเหตุว่า ย่อมแตก. อะไรแตก?
    จักษุแตก รูปแตก จักษุวิญญาณแตก จักษุสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี
    อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก. หูแตก เสียงแตก
    จมูกแตก กลิ่นแตก ลิ้นแตก รสแตก กายแตก โผฏฐัพพะแตก มนะแตก ธรรมารมณ์แตก
    มโนวิญญาณแตก มโนสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี
    ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก. ดูกรภิกษุ ธรรมมีจักษุเป็นต้นนั้น
    ย่อมแตกดังนี้แล เพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวว่าโลก.
    คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดย
    ความเป็นของสูญ ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยสามารถความกำหนดว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ๑
    ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า ๑.
    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญด้วยสามารถการกำหนดว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ อย่างไร?
    ใครๆ ย่อมไม่ได้อำนาจในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ.
    สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และจะพึงได้ในรูปว่า
    ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะรูปเป็นอนัตตา
    ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้
    รูปของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. เวทนาเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้
    จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และพึงได้ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา
    จงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะเวทนาเป็นอนัตตา
    ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้
    เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. สัญญาเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักเป็น
    อัตตาแล้วไซร้ สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และพึงได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา
    จงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัญญาเป็นอนัตตา
    ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้
    สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. สังขารเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารนี้จักเป็น
    อัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และจะพึงได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเรา
    จงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสังขารเป็น
    อนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็น
    อย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. วิญญาณเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณ
    นี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และจะพึงได้ในวิญญาณว่า
    ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แต่เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า
    ขอวิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.
    และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่
    ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
    มีเจตนาเป็นมูลเหตุ. ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกายนั้น
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมมนสิการโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละว่า เพราะเหตุ
    ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ
    สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะ
    วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
    จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหา
    เป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติ
    เป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่ง
    กองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชานั้นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขาร
    จึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬาย
    ตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหา
    จึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ ชรา
    มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกอบทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการกำหนดว่าไม่เป็นไปในอำนาจ อย่างนี้.
    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขาร
    โดยความเป็นของว่างเปล่า อย่างไร? ใครๆ ย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป ในเวทนา ในสัญญา
    ในสังขาร ในวิญญาณ. รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยง
    เป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง
    โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา. เวทนาไม่มีแก่นสาร
    ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สังขาร
    ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก
    แก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตน
    เป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวน
    เป็นธรรมดา. ต้นอ้อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นละหุ่งไม่มีแก่นสาร
    ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นมะเดื่อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    อนึ่ง ต้นรักไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นทองหลางไม่มีแก่นสาร
    ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ฟองน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    อนึ่ง ต่อมน้ำไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นกล้วยไม่มีแก่นสาร
    ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง พยัมแดดไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
    ฉันใด รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร
    โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน
    โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร
    ปราศจากแก่นสาร สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร สังขารไม่มีแก่นสาร
    ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดย
    สาระว่า ความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร
    โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
    ฉันนั้นเหมือนกัน. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณา
    เห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า อย่างนี้. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
    ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้.
    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๖ อย่าง
    คือ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ๑ โดยทำตามความชอบใจไม่ได้ ๑
    โดยเป็นที่ตั้งแห่งความไม่สบาย ๑ โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ โดยเป็นไปตามเหตุ ๑ โดยว่างเปล่า ๑.
    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ...
    โดยว่างเปล่า. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๖ อย่างนี้.
    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๑๐ อย่าง
    คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นรูป โดยความว่าง ๑ โดยความเปล่า ๑ โดยความสูญ ๑ โดยไม่ใช่ตน ๑
    โดยไม่เป็นแก่นสาร ๑ โดยเป็นดังผู้ฆ่า ๑ โดยความเสื่อม ๑ โดยเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑
    โดยมีอาสวะ ๑ โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ โดยความว่าง ... โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง. บุคคลย่อมพิจารณาเห็น
    โลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๐ อย่างนี้.
    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๒ อย่าง
    คือ ย่อมพิจารณาเห็นว่า รูปไม่ใช่สัตว์ ๑ ไม่ใช่ชีวิต ๑ ไม่ใช่บุรุษ ๑ ไม่ใช่คน ๑ ไม่ใช่มาณพ ๑
    ไม่ใช่หญิง ๑ ไม่ใช่ชาย ๑ ไม่ใช่ตน ๑ ไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน ๑ ไม่ใช่เรา ๑ ไม่ใช่ของเรา ๑
    ไม่มีใครๆ ๑. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่สัตว์ ...
    ไม่มีใครๆ. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๑๒ อย่างนี้.
    และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่
    ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไป
    เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่าไม่ใช่ของท่าน
    ทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้น
    อันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... สังขารไม่ใช่ของ
    ท่านทั้งหลาย ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณ
    นั้นเสีย วิญญาณนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้ กิ่งไม้
    และใบไม้ใด ที่มีอยู่ในเชตวันวิหารนี้ ชนพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้นั้นไปเสีย เผาเสีย
    หรือพึงทำตามควรแก่เหตุ. ท่านทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำเราทั้งหลายไปเสีย เผาเสีย
    หรือทำตามควรแก่เหตุบ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
    นั่นเป็นเพราะเหตุอะไร? เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ตนหรือสิ่งที่เนื่องกับตนของข้าพระองค์ทั้งหลาย
    อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย. สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จกเป็นไปเพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุขตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูป
    นั้นเสีย รูปนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย
    สิ่งนั้นอันท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน.
    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
    ท่านพระอานนท์ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
    โลกสูญ ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน
    ฉะนั้น จึงกล่าวว่า โลกสูญ. ดูกรอานนท์ สิ่งอะไรเล่าสูญจากตน หรือจากสิ่งที่เนื่องกับตน?
    จักษุสูญ รูปสูญ จักษุวิญญาณสูญ จักษุสัมผัสสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุข
    เวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือสิ่งที่เนื่องกับตน.
    หูสูญ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญ
    ธรรมารมณ์สูญ มโนวิญญาณสูญ มโนสัมผัสสูญ สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุข
    เวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็สูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่อง
    กับตน. ดูกรอานนท์ เพราะสูญจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องกับตนนั่นแล ฉะนั้น จึงกล่าวว่า
    โลกสูญ. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
    ดูกรคามณิ เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรม
    ทั้งสิ้น ซึ่งความสืบต่อแห่งสังขารทั้งสิ้น ตามความเป็นจริง
    ภัยนั้นย่อมไม่มี. เมื่อใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกเสมอ
    หญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่พึงปรารถนา
    ภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่นิพพานอันไม่มี
    ปฏิสนธิ.
    บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
    และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมตาม
    ค้นหารูป. คติของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา. คติของเวทนามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
    สัญญา. คติของสัญญามีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร. คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหา
    วิญญาณ. คติของวิญญาณมีอยู่เท่าไร? ก็เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เมื่อภิกษุตามค้นหารูป คติ
    ของรูปมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาเวทนา คติของเวทนามีเท่าไร? ตามค้นหาสัญญา คติของสัญญา
    มีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาสังขาร คติของสังขารมีอยู่เท่าไร? ตามค้นหาวิญญาณ คติของวิญญาณ
    มีอยู่เท่าไร? แม้ความถือใดด้วยอำนาจทิฏฐิว่า เราก็ดี ด้วยอำนาจตัณหาว่า ของเราก็ดี ด้วย
    อำนาจมานะว่า เป็นเราก็ดี ของภิกษุใดมีอยู่ ความถือแม้นั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น. บุคคลย่อม
    พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญแม้อย่างนี้.
    คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า จงมองดู จงพิจารณา
    จงเทียบเคียง จงตรวจตรา จงให้แจ่มแจ้ง จงทำให้ปรากฏ ซึ่งโลกโดยความเป็นของสูญ เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ.
    [๕๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อว่าโมฆราช ในอุเทศว่า โมฆราช
    สทา สโต ดังนี้. คำว่า ทุกเมื่อ คือ ตลอดกาลทั้งปวง ฯลฯ ในตอนวัยหลัง. คำว่า ผู้มีสติ
    คือ มีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ มีสติเจริญสติปัฏฐาน เครื่องพิจารณาเห็นกายในกาย ฯลฯ
    บุคคลนั้นตรัสว่า เป็นผู้มีสติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดูกรโมฆราช ... มีสติทุกเมื่อ.
    [๕๐๗] ทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ตรัสว่า อัตตานุทิฏฐิ ในอุเทศว่า อตฺตานุทิฏฺฐิ อูหจฺจ ดังนี้.
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับ
    แนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับ
    แนะนำในธรรมของบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็น
    รูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็น
    ตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง
    ทิฏฐิอันไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิเป็นทางกันดาร ทิฏฐิเป็นข้าศึก (เสี้ยนหนาม) ทิฏฐิอันแส่
    ไปผิด ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบไว้ ความถือ ความยึดถือ ความถือมั่น ความจับต้องทางชั่ว
    ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือโดยการแสวงหาผิด ความถือวิปริต
    ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในวัตถุไม่จริงว่าเป็นจริง ทิฏฐิ ๖๒ มีเท่าไร?
    ทิฏฐินี้เป็นอัตตานุทิฏฐิ.
    คำว่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว ความว่า รื้อ ถอน ฉุด ชัก ลากออก เพิกขึ้น
    ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอัตตานุทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว.
    [๕๐๘] คำว่า พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ความว่า พึงข้ามขึ้น ก้าวล่วง เป็นไปล่วง
    แม้ซึ่งมัจจุ แม้ซึ่งชรา แม้ซึ่งมรณะ ด้วยอุบายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
    พึงข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
    [๕๐๙] คำว่า พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ ความว่า มองเห็น พิจารณาเห็น เทียบเคียง
    พิจารณา ให้เจริญ ทำให้แจ่มแจ้งซึ่งโลกด้วยอย่างนี้. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พิจารณาเห็นโลก
    อย่างนี้.
    [๕๑๐] แม้มารก็ชื่อว่ามัจจุราช แม้ความตายก็ชื่อว่ามัจจุราช ในอุเทศว่า มจฺจุราชา
    นปสฺสติ ดังนี้. คำว่า ย่อมไม่เห็น ความว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น คือ ไม่ประสบ ไม่พบ
    ไม่ปะ ไม่ได้เฉพาะ.
    สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เนื้อที่อยู่ในป่า
    เมื่อเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ เดินไปก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งพักอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่
    ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเนื้อนั้นไม่ไปในทางของพราน แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็เหมือนฉันนั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน
    อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมาร
    ให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุแห่งมารผู้ลามก. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
    ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เข้าตติยฌาน
    เข้าจตุตถฌาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง
    ไปแล้วสู่สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด
    เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่สถานเป็นที่
    ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก.
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจยาตนฌาน
    ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
    เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
    โดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    โดยประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. และอาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็น
    ด้วยปัญญา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่าทำมารให้มืด กำจัดมารไม่ให้มีทาง ไปแล้วสู่
    สถานเป็นที่ไม่เห็นด้วยจักษุของมารผู้ลามก ข้ามแล้วซึ่งตัณหาอันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ.
    ภิกษุนั้นเดินอยู่ก็ไม่ระแวง ยืนอยู่ก็ไม่ระแวง นั่งอยู่ก็ไม่ระแวง นอนอยู่ก็ไม่ระแวง. ข้อนั้นเพราะ
    เหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่ไปในทางแห่งมารผู้ลามก. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็น.
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
    ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความ
    เป็นของสูญทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้ามพ้น
    มัจจุได้ด้วยอุบายอย่างนี้. เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้
    มัจจุราชจึงไม่เห็น.
    พร้อมด้วยเวลาจบพระคาถา ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของ
    ข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็นสาวก ฉะนี้แล.
    จบ โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๕.
     

แชร์หน้านี้

Loading...