ดูจิตที่รู้ผิดจากความเป็นจริง ย่อมเห็นจิตเป็นกองทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 27 กันยายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การดูจิตในปัจจุบันนี้ เกิดจากการใช้ปัญญาทางโลก(สัญญา)
    ที่ตกผลึกคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อน
    มาผนวกเข้ากับความรู้ความจำจากตำราของตนเองที่เรียนรู้มา
    แล้วนำมาสั่งสอน โดยชี้ให้เห็นไปว่าเป็นคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์

    ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว คำสอนที่สอนมานั้น
    แตกต่างจากคำสอนพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่สอนไว้อย่างสิ้นเชิง
    โดยเฉพาะเรื่องจิต ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา

    พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนแต่เรื่องจิตกับอารมณ์เท่านั้น
    ทรงจัดขันธ์ ๕ ไว้ว่าเป็นกองทุกข์

    ดังมีพุทธวจนะกล่าวไว้ใน ธัมมจักกัปปวัตนสูตรว่า
    “สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันทา ทุกขา
    โดยสรุปแล้ว การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ ล้วนเป็นทุกข์”

    ใครหละที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เหล่านี้???

    และในอนัตตลักขณสูตร ก็กล่าวอย่างชัดเจนว่า
    "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา(อนัตตา)"

    ไม่มีตรงไหนเลยที่บอกว่าจิตก็เป็นอนัตตาไปด้วย

    ตอนท้ายบทยังบอกอีกว่า
    "จิตของท่านพระปัญจวัคคีย์ ก็หลุดพ้นจากอุปาทานที่ทำให้เข้าไปยึดถือขันธ์ ๕"

    และยังมีอีกในหลายๆพระสูตรกล่าวไว้ชัดเจนเช่นกันว่า
    "จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต"

    ในปัจจุบันอาจารย์ผู้สอนบางท่านในฝ่ายปริยัติ แต่แอบอ้างตนเองว่าเป็นฝ่ายปฏิบัติ
    กลับสอนว่า จิตก็คือวิญญาณขันธ์ ๕ และวิญญาณขันธ์ก็คือจิต
    ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดแผกไปจากความเป็นจริง

    และยังกล้าหาญที่จะกล่าวหาว่า
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

    ซึ่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ว่า
    จิตที่ส่งออกนอกเป็น สมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิต เป็นมรรค(ทางเดินของจิต)
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ

    โศลกธรรมที่ท่านกล่าวมานั้น เป็นธรรมที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    ท่านกลั่นกรองมาจากผลการปฏิบัติที่ท่านกระทำได้สำเร็จแล้ว

    แต่ก็มีผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นลูกศิษย์ของท่าน
    กลับมากล่าวว่า ธรรมนี้“น่าจะ”คลาดเคลื่อนจากสภาวะธรรมที่หลวงปู่สอน

    แถมยังชี้แจงลงไปอีกว่า จิตคือวิญญาณขันธ์ จิตคือกองทุกข์

    ซึ่งคำสอนที่เพิ่มเติมขึ้นมานี้
    หลวงปู่ไม่เคยกล่าวไว้ในที่ไหนเลยว่า จิตคือวิญญาณขันธ์
    มีแต่ปฏิเสธว่าจิตไม่ใช่อารมณ์(ขันธ์ ๕)

    แถมหลวงปู่ยังสั่งสอนไว้อีกว่า
    “อย่าให้จิตแล่น(ออกจากฐานที่ตั้งของสติ)ไปสู่อารมณ์ภายนอก
    ถ้าเผลอ เมื่อรู้ตัวให้รีบดึงจิตกลับมา(ที่ฐานที่ตั้งของสติ)
    อย่าปล่อยให้รู้อารมณ์ดีหรือชั่ว สุขหรือทุกข์ ไม่คล้อยตามและหักหาญ”

    สำหรับผู้ที่ได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    ตามแบบพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในฝ่ายปฏิบัติมานั้น
    ย่อมรู้ดีว่า จิตนั้นไม่ใช่ตัวทุกข์ ที่เป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะ
    จิตมีอวิชชาครอบงำ กดดันให้เกิดกิเลส กรรม วิบาก หมุนวนเวียนเป็นวัฏฏะ
    ไม่รู้ว่าจะจบสิ้นลงเมื่อไหร่อย่างทุกวันนี้ โดยไม่รู้เลยว่าจะจบลงตรงไหน

    ที่เป็นทุกข์เพราะอะไร???
    เพราะจิตชอบออกไปรับรู้อารมณ์เหล่านั้น
    และยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์เหล่านั้นมาเป็นของๆตนใช่มั้ย??? จึงเป็นทุกข์

    ถ้าเราไม่ปล่อยให้จิตแล่นออกไปหาอารมณ์อย่างที่หลวงปู่ดูลย์ท่านกล่าวไว้
    จะเป็นทุกข์มั้ย???

    ฉะนั้น จิตไม่ใช่ตัวทุกข์ แต่ที่ทุกข์ก็เพราะชอบแล่นออกไป
    ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์เหล่านั้นมาเป็นของๆตนใช่มั้ย???

    โชคดีที่พวกเราเกิดมารู้จักพระพุทธศาสนา
    ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นสัพพัญญูรู้แจ้งโลก
    สอนให้เราชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย
    พระองค์ท่านไม่เคยสอนให้ชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์เลย

    ท่านที่เคยปฏิบัติผ่านมาด้วยความเพียร
    จนกระทั่งจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้แล้ว
    ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
    จิตของเรานั้นสามารถฝึกฝนอบรมให้สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้จริง
    จิตว่างจากอารมณ์ได้จริง

    ไม่ใช่ดังมีผู้สอนไว้ว่าจิตจะว่างจากอารมณ์ไม่ได้เลย
    ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดจากความเป็นจริง

    เพราะแม้ขณะปฏิบัติอยู่ ถึงจิตจะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเป็นการชั่วคราว(ตทังคะ)ก็จริง
    แต่ถ้าเราปฏิบัติต่อไป ด้วยความเพียรพยายาม จนกระทั่งชำนาญเป็นวสีแล้ว
    จิตย่อมปล่อยวางว่างจากอารมณ์ต่างๆ ได้เร็วขึ้น

    ถ้าจิตเป็นวิญญาณขันธ์จริง พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้อบรมจิตไปเพื่ออะไร???....

    สรุปแล้ว จิตไม่ใช่กองทุกข์ ที่จิตเป็นทุกข์
    ก็เพราะจิตชอบแล่นออกไปยึดถืออารมณ์มาเป็นของๆตน จึงเป็นทุกข์


    ธรรมภูต

    ;aa24
     
  2. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    จิตว่างจากอารมณ์ ...ไม่ได้เลย
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จากกระทู้เดิม ที่มีถกกับท่านบุญพิชิต ขอยกมาต่อที่นี่นะครับ

    (บุญพิชิต)ท่านครับไปได้ธรรมใหม่มาครับ"อย่ารู้สึกเบื่อผู้ไม่รู้และอย่ารู้สึกโกรธผู้...."
    ผมจะอธิบายกายกับศีลด้วยกุศลจิตอีกทีนะครับ
    (ธรรมภูต)....ท่านครับ ดีแล้วครับที่ "อย่าเบื่อสำหรับผู้ไม่รู้และอย่าโกรธถูกต้องครับ
    แต่สำหรับผู้ที่รู้ว่าผิดแล้วไปยอมรับนี้สิครับ น่าคิด"

    (บุญพิชิต).....คำพูดทุกคำของท่านผมอ่านแล้วผมนะเข้าใจดี ว่าท่านต้องการจะสื่อถึง
    อะไร เพียงแต่ว่ามันไม่ใช้แนวทางปฏิบัติของผม กลับกันถ้าท่านใช้ปัญญา
    เพียงแค่หนึ่งองคุลี ท่านย่อมเข้าใจว่าคำตอบของผมย่อมต้องไม่เหมือนของท่าน
    เอาละบอกอีกทีสั้นๆ
    ...ในความคิดของผม จิตเป็นอนัตตาเกิดดับตลอดเวลา สติตัวระลึกรู้เกิดและ
    ดับพร้อมกันกับจิต ศีลคือข้อห้ามหรือเขื่อนไขมิให้ปฏิบัติ
    ขณะที่เกิดอกุศลในจิต ซึ่งเป็นจิตที่เกิดดับต่อเนื่องหลายดวง ก่อนที่กายจะทำ
    ตามอารมณ์หรือจิตในขณะนั้น จิตดวงใหม่ที่มีสติแล้วไประลึกรู้ศีลแล้วก็เกิด
    จิตดวงใหม่อีกที่มีอารมณ์ที่เป็นความกลัวอยู่ มันเวียนอยู่อย่างนี้จนกว่าจะเกิด
    ผัสสะใหม่มา ความเห็นเรื่องศีลเรื่องกายมีสั้นๆแค่นี้ แล้วก่อนที่จะสวนอะไรกลับ
    มา ควรคำนึงถึงด้วยว่าจิตท่านเป็นอย่างไรผมเป็นอย่างไร
    กรุณาอย่าเอาการเข้าใจในตัวอักษรของท่านมาเถียงกับผมมันปวดหัว
    (ธรรมภูต)....ท่านครับ ท่านว่าจิตเป็นอนัตตา เกิด-ดับๆตลอดเวลา สติก็เป็นอนัตตา และเกิด-ดับพร้อมจิต
    ทั้งๆที่จริงๆแล้วสติเป็นมรรค พระพุทธพจน์ไม่มีกล่าวไว้ว่าจิตและสติเป็นอนัตตาเลย เป็นการคิดเองเออเอง
    ท่านเคยได้ยินมั้ยครับว่า พระอรหันต์มีสติเป็นชาคโร(จิตมีสติระลึกรู้แบบต่อเนื่องไม่ขาดสาย)

    ในปุถุชนเค้าเรียกว่าขาดสติหรือเผลอสติ ไม่ใช่สติเกิด-ดับ
    ถ้าจิตเกิด-ดับจริง อวิชชาที่ครอบงำอยู่ที่จิตก็ต้องเกิด-ดับตามจิตไปด้วย
    ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยครับ อวิชชาจะดับได้ก็ต่อเมื่อสิ้นอาสวะกิเลสไปเท่านั้น
    เมื่ออวิชชาดับไปพร้อมจิต ก็หมดกิจแล้วสิครับ
    อย่าเอาเรื่องเป็นไปไม่ได้มาพูดให้เสียเวลาครับ

    ผมถามนะครับ และช่วยตอบตามตรง อย่าแถนะครับ
    ตอนที่บอกว่าจิตเกิด-ดับรู้มั้ย???
    แล้วกรรมดี-กรรมชั่วบันทึกลงที่จิตดวงไหน???
    เวลาจะสำรวมจิต ควรจะสำรวมจิตดวงไหน???
    จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นมารู้มั้ยว่าจิตดวงเก่าดับไป???
    เวลาต้องชดใช้กรรมดี-กรรมชั่ว จิตดวงไหนชดใช้???

    ;aa24
     
  4. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ชนิดหนึ่ง

    เวทนา แปลว่าการเสวยอารมณ์
    ซึ่งเสวยได้แค่ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์
    นอกจาก 3 ชนิดข้างบน
    ในโลกนี้ ไม่มีเวทนาชนิดอื่น....

    ผมผิด
    ไม่ใช่เฉพาะโลกใบนี้
    ไม่ว่าโคตรจักรวาลไหนๆ ก้ไม่มีเวทนาชนิดอื่น
    นอกจาก สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2009
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ แล้วที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
    "เราอยู่โดยมากด้วยสูญญตวิหารธรรม" นั้นหมายถึงอะไรครับ???

    และมีพระบาลีกล่าวไว้ว่า
    "วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว"
    ใช่หมายถึงจิตว่างจากอารมณ์มั้ยครับ???

    ;aa24
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ พระองค์ทรงสอนให้ละโสมนัส และละโทมนัสในกาลก่อน
    ละสุข ละทุกข์ จิตมีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขา(วางเฉยต่ออารมณ์)
    ไปดูได้ในสัมมาสมาธิฌานที่๔ครับ

    ;aa24
     
  7. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    ตัณหา เป็นเหตุแห่งทุกข์

    สิ้นตัณหาแปลว่าไม่มีทุกข์

    แปลยังไงเป็นไม่มีอารมณ์

    ถามจริง เคยภาวนามั้ย
     
  8. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    สูญญตวิหารธรรม ที่อ้างถึง
    ก็น่าจะหมายถึง ฌาน 4 แบบโลกุตระ
    หรือฌาน 4 ชนิดที่พระอริยะเจ้าท่านใช้

    แปลว่าเข้าถึง *****อารมณ์***** อุเบกขา
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เวลาเขียนบทความ คุณตั้งธงเกินไป

    คือตั้งความหวังว่า จะทำลายอะไรซักอย่าง หรือ เชิดชูอะไรซักอย่าง
    จนเหตุและผลที่อ้างอิงกัน ไม่มีความเชื่อมโยงอะไรเลย
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    "นิมิต" ไม่ได้แปลว่า "ภาพ"

    แปลว่า "เครื่องหมาย"

    เสียง ความทรงจำ อารมณ์
    ก็กำหนด เป็นเครื่องหมายได้
     
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เวลานัดเจอกันหน้าร้านเซเว่น
    เราใช้ "นิมิต" อะไรเป็น "เครื่องหมาย"

    อะไรคือ เซเว่น นักร้องเกาหลี เหรอ
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    สิ่งที่เรา หมายเอาไว้
    ว่าเซเว่น ที่ว่า คือเซเว่นที่ว่า จะได้ไม่คลาดเคลื่อน
    เรียกว่า "นิมิต" แปลว่า "เครื่องหมาย"
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    นั่งสมาธิเห็นภาพอะไรต่อมิอะไรก็ตาม
    หากไม่ได้กำหนด เครื่องหมาย เจตจำนงไว้ก่อน
    และไม่ได้ดำรงเจตจำนงนั้นไว้
    ไม่เรียกว่า "นิมิต"
    มันเป็นเครื่องหมาย ยังไง อธิบาย?
     
  14. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    และที่กล่าวว่า สมาธิที่มีนิมิต มีข้อติอย่างนั้นอย่างนี้
    ก้อาจจะเป็นไปได้

    แต่ในชิวิตประจำวัน ถ้าไม่มีนิมิต
    ไปเซเว่น ไม่เป็นกันหรอก
     
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เมื่อเข้าถึงอรูปฌาน
    นิมิต ซึ่ง แปลว่า เครื่องหมาย ก็หมดไป
    เพราะมันไม่มีอะไรจะนิมิต

    แม้แต่อารมณ์ อุเบกขา ที่เสวยอยู่ ก็ไม่ได้ทำเครื่องหมายเอาไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2009
  16. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    เพราะมันไม่มีที่ให้ทำ มันทำไม่ได้
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ถามจริงเป็นการภาวนาหรือภาวะนึกเอาเองกันแน่ครับ
    ไม่มีอารมณ์ ก็คือไม่มีอารมณ์
    ไม่มีอารมณ์ก็ไม่ต้องทุกข์ ที่มีทุกข์ก็เพราะไปยึดอารมณ์จึงเข้ามาเป็นทุกข์ เป็นสุข

    เมื่อละสุข ละทุกข์ ก็วางเฉยจากอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่ใช่เฉยโง่ครับ
    ที่เฉยเพราะปล่อยวางอารมณ์เหล่านั้นได้ต่างหากครับ
    ถ้ามีอารมณ์อยู่จริง จะเรียกว่าสติบริสุทธิ์วางเฉยอยู่ได้หรือครับ???
    เวลาท่านวางเฉยต่ออารมณ์ ท่านต้องใช้อารมณ์ด้วยหรือครับ???
    แบบนั้นในทางธรรมะเค้าเรียกว่า "เฉยโง่"ครับ

    ถามตรงๆเถอะเคยภาวนาจนกระทั่งจิตรวมใหญ่มั้ยครับ???
    ถ้าไม่เคยก็อย่างเพิ่งมั่นใจนักหนาว่าจิตว่างจากอารมณ์ไม่ได้
    แค่วิปัสสนึกเอาเข้าถึงไม่ได้หรอกครับ

    ยังไม่ต้องรีบฟลัดกระทู้หรอกครับ ผมจะค่อยๆตอบเมื่อมีเวลาครับ

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2009
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ใช่ครับ เป็นแบบสัมมาสมาธิฌานในฌานที่๔ครับ
    อุเบกขา แปลว่า วางเฉยต่ออารมณ์จึงจะเรียกว่าอุเบกขา

    ถ้ายังมีอารมณ์อยู่ จะเรียกว่าอุเบกขาไม่ได้
    การที่มีอารมณ์เฉยๆนั้น หมายถึงว่ายังไม่รู้จะทำอะไร(เฉยโง่)...
    ส่วนรู้วางเฉยนั้น รู้แล้วปล่อยวางอารมณ์ออกไป(อุเบกขา)....

    ;aa24
     
  19. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    อุเบกขา คือ อารมณ์ชนิดหนึ่ง
    คือไม่สุขไม่ทุกข์
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ผมตั้งธงตรงไหน ผมก็ว่าไปตามเนื้อธรรม เมื่อบอกว่าจิตเป็นกองทุกข์
    ผมเห็นว่าไม่ใช่ ผมก็ต้องแย้งเป็นธรรมดา ในเมื่อยังมีคนที่จิตเป็นสุขอยู่เป็นนิจนิครับ
    แถมยังติดสุข จนกระทั่งออกจากสุขไม่เป็นอีกต่างหาก

    บทความที่ผมเขียนทำลายใครและเชิดชูใครไม่ได้หรอกครับ
    ถ้าแสดงไม่ชัดเจนตรงไหนท่านก็แย้งได้นิครับ
    ไม่เห็นด้วยก็แย้งมา ไม่ใช่มีนิสัยชอบกดเป็นอย่างเดียว หาเหตุผลไม่ได้....

    ;aa24
     

แชร์หน้านี้

Loading...