ตัวตนหรือมิใช่ตัวตน โดย พระพุทธเจ้า

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Dnegel, 23 พฤษภาคม 2009.

  1. Dnegel

    Dnegel สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +1
    [FONT=medium Tahoma, AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC]ชื่อเรื่อง “ ตัวตนหรือมิใช่ตัวตน “
    เรื่องที่จะกล่าวนี้เล่าย่อมาจากส่วนหนึ่งของการโต้วาทีระหว่าง
    [/FONT][FONT=medium Tahoma, AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC]สัจจ[/FONT][FONT=medium Tahoma, AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC]นิครนถ์และพระพุทธเจ้าเรื่องของความเที่ยง ไม่เที่ยงของขันธ์5[/FONT]ครับ
    [FONT=medium Tahoma, AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC]
    คราว หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี คราว นั้น นิครนถ์คนหนึ่ง ชื่อ สัจจกะ อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ( ชาวเมืองเว สาลี ) เป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่า เป็นผู้มีความรู้ ดี ยกตนเองว่าเป็นปราชญ์ และประกาศในเมืองเวสาลีนั่นว่า เขาไม่เห็นสมณะหรือ พราหมณ์ใดๆที่จะโต้วาทะกับเขาได้ แม้ผู้ที่ปฏิญาณตนว่า เป็นสัมมา สัมพุทธะ ถ้าคิดจะโต้วาทะกับตนแล้วก็ต้องหวั่นไหว ประหม่า เหงื่อตก อย่าว่า แต่มนุษย์เลย แม้เสาก็ต้องสั่นคลอน หวั่นไหว ถ้าคิดจะโต้วาทะกับตน

    เช้า วันหนึ่ง พระอัสสชิเถระ ( รูปหนึ่งในพวกปัญญจวัคคีย์ ) เข้าไปบิณฑบาตใน เมืองเวสาลี สัจจกนิครนถ์ออกมาเดินเล่น พบพระอัสสชิ จึงเข้าไปหาและถามท่าน ว่า

    “ พระคุณเจ้าอัสสชิ ท่านเป็นสาวกของพระสมณโคดมข้าพเจ้าอยากทราบว่า พระสมณโคดมสอนสาวกอย่างไร แนะนำสาวกอย่างไร “

    “ อัคคิ เวสสนะ “ พระอัสสชิตอบ “ พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงเป็นศาสดาของพวกเราสอน ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ( รวมเป็นขันธ์ 5 ) ไม่เที่ยง ไม่ ใช่ตัวตน( อนัตตา ) “

    “ ท่านอัสสชิ ท่านอาจฟังมา ผิดกระมัง ถ้าพระสมณโคดมตรัสสอนเช่นนี้จริง ข้าพเจ้าจะช่วยสอนพระสมณโคดมให้ มีความเห็นเสียใหม่ ให้มีความคิดที่ถูกต้องดีกว่านี้ “

    สัจ จกนิครนถ์เข้าไปยังลิจฉวีสภา ซึ่งพวกเจ้าลิจฉวีกำลังประชุมกันอยู่ เล่า เรื่องที่สนทนากับพระอัสสชิให้เจ้าลิจฉวีฟัง และ

    ว่าจะไปโต้วาทะกับพระสมณโคดม จะหมุนพระสมณโคดมเสีย ให้เหมือนหมุนหม้อเปล่า ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกันเถิด
    [/FONT][FONT=medium Tahoma, AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC](หากเป็นสมัยนี้คงอาจจะลงข่าวหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งไปแล้วมั้ง)[/FONT]
    [FONT=medium Tahoma, AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC, DilleniaUPC, EucrosiaUPC, FreesiaUPC, JasmineUPC, KodchiangUPC, LilyUPC]
    เจ้า ลิจฉวีได้ตามสัจจกนิครนถ์เข้าไปในป่ามหาวัน ถามพวกภิกษุว่า พระศาสดาประทับ อยู่ที่ใด พวกภิกษุตอบว่าประทับพักกลางวันอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง สัจจก นิครนถ์เข้าไปหา แล้วทูลถามว่า ทรงสั่งสอนสาวกอย่างไร พระศาสดาตรัสตอบอย่าง เดียวกับที่พระอัสสชิตอบแล้ว สัจจกะจึงว่า



    “พระ โคดม ต้นไม้และพืชพันธุ์ทั้งหลายจะเจริญงอกงามต้องอาศัยพื้นดิน การงานอย่าง ใดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทำก็ต้องอาศัยพื้นดินฉันใด บุคคลอาศัยรูปเป็นตัวตน มี เวทนา มีสัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นตัวตน จึงมีบุญ มีบาปได้ ถ้ารูปเป็นต้น ไม่เป็นตัวตนแล้ว บุญบาปจะมีได้อย่างไร “

    “อัคคิเวสสนะ ท่านยืนยันหรือว่า รูปเป็นตัวตนของเรา “ พระศาสดาตรัสถาม

    “ข้าพเจ้ายืนยันอย่างนั้น, พระโคดม ประชาชนทั้งหลายก็ยืนยันเช่นนี้เหมือนกัน

    “คนอื่นช่างเขาเถิด อัคคิเวสสนะ ขอเพียงแต่ท่านยืนยันคำของท่านอย่างนั้นหรือ”

    “ ข้าพเจ้ายืนยันอย่างนั้น”

    “ อัคคิ เวสสนะ ถ้าอย่างนั้นเราขอถามท่านสักข้อหนึ่ง คือ กษัตริย์ที่ได้รับ มูรธาภิเษกแล้ว เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้าอชาตศัตรู ย่อมสามารถฆ่า คนที่ควรฆ่า เนรเทสคนที่ควรเนรเทศได้มิใช่หรือ “
    “ เป็นอย่างนั้น พระโคดม “

    “ ก็ ท่านบอกว่า รูป เป็นต้น เป็นตัวตนของเรา ท่านมีอำนาจเหนือรูป เป็นต้นนั้น หรือ ท่านปรารถนาได้หรือว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่าง นี้เลย

    เมื่อพระศาสดาตรัสถามดังนี้ถึง 2 ครั้ง สัจจก นิครนถ์ก็คงนิ่งอึ้งอยู่ จึงตรัสเตือนว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลานิ่ง แต่เป็น เวลาที่จะต้องพูด ในที่สุด สัจจกนิครนถ์ก็ทูลรับว่า ไม่อาจบังคับรูปเป็นต้น ได้

    พระศาสดาจึงตรัสว่า “ เปรียบเหมือนคนถือขวานเข้าไป ในป่าด้วยต้องการแก่นไม้ พบต้นกล้วย จึงตัดที่โคนแล้วตัดใบออก เขาไม่พบแม้ แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร วาจาของท่านก็หาแก่นสารอะไรไม่ได้ พอซักไซ้ ไล่เลียงเข้าก็ว่างเปล่า แพ้ไปเอง ที่ท่านเคยพูดในเมืองเวสาลีไว้อย่างไร จง พิสูจน์คำพูดของท่านเถิดเหงื่อของท่านหยดลงจากหน้าผากแล้ว แต่ของเราไม่มี เลย “

    สัจจกนิครนถ์นิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบ เซา หมดปฏิภาณ และในที่สุดก็กล่าวขอโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อจากนั้นได้ทูล ถามพระพุทธองค์ว่า ด้วยเหตุเพียงเท่าใด สาวกของพระสมณโคดมชื่อว่า ได้ทำตาม คำสั่งสอน ทำถูกต้องตามโอวาทของพระสมณโคดม ข้ามความสงสัยเสียได้ ถึงความ แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนแห่งศาสนาตน ?

    พระ ศาสดาตรัสตอบว่า “ สาวกของเราย่อมพิจารณาเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณว่ามิใช่ตัวตนของเรา เพียงเท่านี้ก็ชื่อว่า ได้ทำตามคำสั่งสอนของ เรา…….. “

    “ ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ “ สัจจกนิครนถ์ทูลถาม

    “สาวก ของเราพิจารณาเห็น เบญจขันธ์ตามเป็นจริง คือ ไม่ใช่ตัวตนของเรา หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละชื่อว่าเป็นอรหันต์ สิ้นอา สวะแล้ว ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม 3 ประการ คือ ความเห็นอันยอดเยี่ยม( ทัส สนานุตตริยะ ) การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ( ปฏิปทานุตตริยะ ) ความหลุดพ้นอัน ยอดเยี่ยม ( วิมุตตานุตตริยะ ) “

    สัจจกนิครนถ์ทูลรับสารภาพและสรรเสริญว่า

    “ ข้าพเจ้า เป็นผู้มีนิสัยคอยกำจัดคุณของผู้อื่น คะนองวาจาคิดว่าจะรุกรานพระสมณโคดม ด้วยถ้อยคำของตน พระสมณโคดมผู้เจริญ บุคคลเจอช้างซับมันก็ดี เจอกองไฟที่ลุก โพลงก็ดี เจออสรพิษก็ดี ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่มาเจอพระสมณโคดมเข้า แล้ว ไม่มีทางรอดตัวไปได้เลย ( คือต้องยอมแพ้) “

    สัจจก นิครนถ์อาราธนาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พระศาสดา ทรงรับนิมนต์โดยดุษณี วันรุ่งขึ้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปเสวย ที่อารามของสัจจกนิครนถ์ เมื่อเสวยเสร็จแล้ว สัจจกนิครนถ์ทูลว่า ขอผลบุญใน ทานนี้จงเป็นความสุขแก่ผู้ให้เถิด พระศาสดาตรัสว่า ผลบุญในทานที่ให้แก่ผู้ มีราคะ โทสะ โมหะ เช่นท่าน จงมีแก่ทายก ส่วนผลบุญในทานที่ให้แก่ผู้ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะเช่นเรา ขอจงมีแก่ท่าน
    [/FONT]
     
  2. aquad

    aquad สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +22
    คมดีคับ ต้นไม้จะเจริญได้ต้องอาศัยดินที่ดี
     

แชร์หน้านี้

Loading...