(ทดลองอ่าน)พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ (๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย ตะหลิวสีชมพู, 13 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ตะหลิวสีชมพู

    ตะหลิวสีชมพู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    74
    ค่าพลัง:
    +42
    <center> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔

    </center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
    </center><center>อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
    </center> [๓๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถีด้วย
    รถใหญ่เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่าง ในเวลาเที่ยงวัน ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้เห็น
    ปีโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะปีโลติกปริพาชกดังนี้ว่า เออแน่ะ ท่าน
    วัจฉายนะผู้เจริญมาจากไหนแต่เที่ยงวันเทียว? ปีโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามา
    ในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดมนั่นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านผู้เจริญ บัณฑิตย่อม
    สำคัญความเฉียบแหลมแห่งปัญญา ของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร? ปีโลติกปริพาชกตอบว่า
    ท่านผู้เจริญ ก็ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่จะพึงรู้
    ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ต้องเป็นเช่นพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว ชาณุ
    โสณีพราหมณ์กล่าวว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ สรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง
    ปิโลติกปริพาชกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าจักไม่สรรเสริญพระสมณโคดมอย่างไรเล่า เพราะพระ-
    *สมณโคดมผู้เจริญนั้น ใครๆ ก็สรรเสริญเยินยอแล้วทั้งนั้นเทียว ท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
    เล่า จึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดมถึงเพียงนี้?
    <center>ปีโลติกปริพาชกเห็นร่องรอยทั้ง ๔
    </center> [๓๓๐] ปิโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ก็ไฉนข้าพเจ้าจึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งใน
    พระสมณโคดมถึงอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือน หมอช้างผู้ฉลาด พึงเข้าไปในป่าเป็นที่อยู่
    แห่งช้าง พึงเห็นรอยเท้าช้างอันใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง ในป่าช้าง
    เขาพึงสันนิษฐานได้ว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้ ใหญ่จริงหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันเหมือน
    กันแล เมื่อใดได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า
    พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์
    สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ ร่องรอย ๔ เป็นไฉน?
    ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นขัตติยบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดลออ ผู้มีวาทะของ
    ผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่งยิงขนทรายได้ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นประหนึ่งว่า
    เที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า
    ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น ขัตติยบัณฑิต
    เหล่านั้น พากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้
    หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะ
    อย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้
    ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ
    ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น
    ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
    สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจง
    ทรงชักชวน ทรงให้อาจหาญ ทรงให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดม
    เลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควรเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่น-
    *แหละโดยแท้ ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่หนึ่งนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น
    ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มี
    พระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
    ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นพราหมณ์บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ผู้ละเอียดลออ
    ผู้มีวาทะของผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่งยิงขนทรายได้ พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น
    ประหนึ่งว่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) พราหมณ์บัณฑิต
    เหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าพระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น
    พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้นพากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้ว
    ถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวก
    เราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้
    จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้ พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้นได้
    ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว
    พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดม
    ก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น
    ผู้อันสมณโคดมทรงชี้แจง ทรงชักชวน ทรงให้อาจหาญ ทรงให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว
    ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควร
    เป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นแหละโดยแท้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอย
    ที่สองนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระ
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
    เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
    ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นคฤหบดีบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดลออ
    มีวาทะของผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่ง ยิงขนทรายได้ คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น
    ประหนึ่งว่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) คฤหบดีบัณฑิต
    เหล่านั้นได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมโน้น.
    คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น พากันคิดผูกปัญหา แล้วตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดม
    แล้วถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้
    พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้น อันพวกเราถามแล้วอย่างนี้
    จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้ แก่พระองค์ ดังนี้. คฤหบดีบัณฑิต
    เหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อ
    โน้นแล้ว คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณ
    โคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา คฤหบดีบัณฑิต
    เหล่านั้น ผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจง ทรงชักชวน ทรงให้อาจหาญ ทรงให้ร่าเริง ด้วยธรร-
    *มีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณะโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้
    ย่อมสมควรเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นแหละโดยแท้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้
    เห็นร่องรอยที่สามนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าได้สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาค
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของ
    พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิญัติดีแล้ว ดังนี้.
    ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นสมณบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดลออ
    ผู้มีวาทะของผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่งยิง ขนทรายได้ สมณบัณฑิตเหล่านั้น
    ประหนึ่งว่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) สมณบัณฑิตเหล่านั้น
    ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น.
    สมณบัณฑิตเหล่านั้น พากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้ว
    ถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้
    พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเรา ถามแล้ว
    อย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้. สมณบัณฑิต
    เหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อ
    โน้นแล้ว สมณบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณ
    โคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา สมณบัณฑิต
    เหล่านั้นผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมี-
    *กถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้นที่ไหนได้
    ย่อมพากันทูลขอโอกาสกะพระสมณโคดมนั้นแหละเพื่อบรรพชา เป็นผู้ไม่มีกรรม เป็นเครื่อง
    เกื้อกูลแก่เรือนจากเรือนโดยแท้. พระสมณโคดมก็ยังสมณบัณฑิตเหล่านั้นให้บรรพชา สมณ
    บัณฑิตเหล่านั้น เป็นผู้อันพระสมณโคดมให้บรรพชาในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว ผู้หลีกออก (จากหมู่)
    ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้ง
    ซึ่งพระอรหัตผล เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ของกุลบุตร
    ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ปัจจุบัน
    เทียว. สมณบัณฑิตเหล่านั้น จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ฉิบหาย
    สักหน่อยหนอ ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ฉิบหายสักหน่อยหนอ เพราะว่า ในกาลก่อน
    เราทั้งหลายไม่เป็นสมณะเลย ก็ปฏิญาณว่า พวกเป็นเป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์เลย ก็ปฏิญาณ
    ว่า พวกเราเป็นพราหมณ์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่า พวกเราเป็นพระอรหันต์ บัดนี้แล
    พวกเราเป็นสมณะแล้ว บัดนี้แล พวกเราเป็นพราหมณ์แล้ว บัดนี้แล พวกเราเป็นพระอรหันต์
    แล้ว ดังนี้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่สี่นี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น
    ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระ
    เจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค. ผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
    ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ เหล่านี้ ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น
    ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอัน
    พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

    [๓๓๑] เมื่อปิโลติกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้ลงจากรถใหญ่อัน
    เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่างแล้ว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทาง
    ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว เปล่งอุทานวาจาสามครั้งว่า ขอนอมน้อมแด่พระผู้มี
    พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ชื่อแม้ไฉน ในบางครั้งในที่บางแห่ง เราพึงสมาคมกับพระสมณโคดมพระองค์นั้น ชื่อไฉน การ
    สนทนาปราศรัยอย่างนั่นแหละจะพึงมี. ครั้นนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นผ่านถ้อยคำสนทนาปราศรัยเป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ
    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลเล่าถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับปีโลติกปริพาชก ตาม
    ตามที่ได้มาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค.
    เมื่อชาณุโสณีพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะชาณุโสณี
    พราหมณ์ดังนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้าง
    ยังมิได้บริบูรณ์โดยพิสดาร ดูกรพราหมณ์ ก็แลท่านจงฟังข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้างโดย
    ประการที่บริบูรณ์โดยพิสดาร จงใส่ใจเป็นอันดีเถิด เราจักกล่าว. ชาณุโสณีพราหมณ์ทูลรับ
    พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.

    <center>อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
    </center> [๓๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือน
    หมอช้างพึงเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาพึงเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดย
    ส่วนกว้างในป่าช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ย่อมไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ
    ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้. ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพัง
    ทั้งหลายชื่อว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึง
    เป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไป เขาตามรอยช้างนั้นไปอยู่
    ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่
    สูง ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ
    ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้. ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่า ช้างพัง
    ทั้งหลายชื่อว่าอุจจากฬาริกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็น
    รอยเท้าช้างพังเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขาตามรอยเท้าช้างนั้นไปอยู่ ก็จะ
    เห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง
    และที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า
    ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้. ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์
    เพราะว่า ช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง
    รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขาตามรอยเท้า
    นั้นไปอยู่ ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้าง โดยส่วนกว้าง ที่ซึ่งถูก
    เบียดสีในที่สูง ที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็นช้างนั้น
    ไปที่โคนต้นไม้ ไปในที่แจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ หรือนอนแล้ว. เขาย่อมถึงความตกลงใจว่า
    ช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้น ดังนี้ แม้ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่น เทียวแล
    ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะไปดีแล้ว
    เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
    มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ เป็นไปกับ
    ด้วยเทวดา มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและ
    มนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามตถาคตนั้น ย่อมแสดงธรรมงามใน
    เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ
    บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิดแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังคำนั้น
    ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่ง
    ศรัทธา แม้นั้น ย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส เพียง
    ดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
    ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจอันใครๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่า
    กระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.
    ในสมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเคลือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด
    นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
    <center>ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
    </center> [๓๓๓] กุลบุตรนั้นบรรพชาแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุ
    ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย
    มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังผลประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก
    การลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้
    สะอาดอยู่. ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้น
    ขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ มีปกติพูดความจริง
    เชื่อมต่อคำจริง มีคำพูดมั่นคง มีคำพูดที่ควรเชื่อถือ ไม่พูดให้คลาดเคลื่อนต่อชาวโลก. ละคำส่อเสียด
    เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน
    หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกัน
    แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้
    พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน.
    ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของ
    ชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล
    พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง
    มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
    ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล. เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง
    ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และ
    ตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. เธอเว้น
    ขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน เธอเว้นขาดจากการรับ
    ธัญญาหารดิบ เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เธอเว้นขาด
    จากการรับทาสีและทาส เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
    เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เธอเว้นขาดจาก
    การประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย เธอเว้นขาดจากการโกงด้วย
    ตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง
    และการตลบแตลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้นการกรรโชก. ภิกษุ
    นั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอไปทาง
    ทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง. นกมีปีกจะบินไปทิสาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉัน
    ใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริ-
    *หารท้อง เธอจะไปทิสาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษมิได้นี้แล้ว
    ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่
    ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ
    ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความ
    สำรวมในจักขุนทรีย์. ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้อง
    โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ
    เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
    อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามมินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประ
    กอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน. ภิกษุ
    นั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการ
    เหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการ
    ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การ
    พูด การนิ่ง.

    [๓๓๔] ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ
    และสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
    ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. ในเวลาภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นละความเพ่งเล็งในโลก มีจิตปราศจาก
    ความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาท
    ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ
    ประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจาก ถีนมิทธะ มีความกำหนด
    หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ. ละอุทธัจจกุก-
    *กุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจ-
    *กุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
    ย่อมชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

    <center>รูปฌาน ๔
    </center> [๓๓๕] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเหตุทำ
    ปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณ
    ของตถาคต) ดังนี้บ้าง ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสียดสีแล้ว) ดังนี้แล้ว
    ว่าตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันงาคือญาณของตถาคตแซะขาดแล้ว) ดังนี้บ้าง. อริยสาวกก็ยังไม่ถึง
    ความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มี
    พระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
    ดูกรพราหมณ์ ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น
    ธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
    ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่
    พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุ
    จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ เป็นผู้มี
    อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ
    บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง ดังนี้. อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวก
    ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ ดังนี้.

    [๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิ-
    *เลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิ-
    *วาสานุสติญาณ. ภิกษุนั้น ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง
    ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
    สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอัน
    มากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่อ
    อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ มีผิวพรรณอย่างนั้นๆ มีกำ
    หนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้ชื่อ
    อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
    มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น. ภิกษุนั้น ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม
    ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้, ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ
    บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง. อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระ
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
    ภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

    [๓๓๗] ภิกษุนั้น มีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่ง
    สัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
    มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์
    ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ-
    *อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา
    ย่อมเข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน-
    *สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่-
    *ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ
    กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
    บริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์
    แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวก
    ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอัน
    พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

    <center>อาสวักขยญาณ
    </center> [๓๓๘] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
    ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ย่อม
    รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตาม
    ความเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรพราหมณ์
    แม้ข้อนี้เรากล่าวว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความ
    ตกลงใจก่อน อริยสาวกนั้น ย่อมจะถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
    ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
    เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ
    แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
    พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
    ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะ
    บ้าง ดังนี้. ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูกรพราหมณ์ อริยสาวกย่อมถึงความตกลงใจว่า
    พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระ
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูกรพราหมณ์
    ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้.

    [๓๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มี
    พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล
    พึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิดของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปที่โพลง
    ด้วยน้ำมันในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประ
    กาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระ
    ธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึง
    พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด.
    <center>จบ จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=46039[/MUSIC]


    http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=46039
    </center>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    [​IMG]
    อนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...