ทานก็ดี ศีลก็ดี ล้วนเป็นบาทฐานของการภาวนาในแนวทางพระศาสดา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 17 กันยายน 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ทาน ทั้งหลายนั้นเมื่อเกิดขึ้นมีขึ้นในจิตผู้ใดแล้วไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามทีแต่หากเกิดจากจิตใจอันเป็นจิตใจที่ปราศจากความอยากได้ ปราถนาให้ผู้รับมีความสุขความเจริญแล้ว มิได้ปราถนาสิ่งอืนใด ผู้นั้นจะมีจิตใจเบิกบาน อิ่มเอมปิติ อยู่ชั่วกาล บางครั้งเราคิดว่าต้องรวยก่อนแล้วจึงให้ทานหรือทำทาน นั้นเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะถูกต้องเสียเลย ยิ่งคิดว่าทำแล้วจะได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ตอบแทนก็ยิ่งผิดใหญ่เลย และกล่ำกึ่งคือหากทำมากกว่าคนอื่นจะดีกว่าคนอื่น นี่ยังกล่ำกึ่ง
    เนื่องจาก การให้ทานหรือการทำทานบารมีนั้น ไม่ได้อาศัยเพียงขนาด ปริมาณของสมมุติทั้งหลายเพียงอย่างเดียว แต่อาศัยความพอดีระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตใจและกับสิ่งที่กระทำ และความบริสุทธิของการกระทำ นั่นหมายถึงทั้งผู้ให้และผู้รับ ยกตัวอย่างเช่น
    เรื่องของประโยชน์ของผู้รับ กับความบริสุทธิ์ใจในการรับสิ่งทั้งหลายนั้นและของที่คู่กันคือความบริสูทธิ์ใจของผู้ให้และเหตุหรือที่มาของการให้นั้นบริสุทธิ์เพียงใด ยังมีอีกมากมาย ตัวอย่างที่ไม่นานนี้เช่น เรื่องยายแฝง สร้างวัดถวายสมเด็จโต ซึ่งคงหาอ่านและพิจารณากันเอาได้ อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องอังกุรเทพบุตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่า ทาน นั้นสำคัญและเป็นส่วนเสริมเป็นอันมาก ต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา ง่ายๆคือ เมื่อไม่กังวลอยากได้และไม่กังวลอยากให้ รับในสิ่งที่ควรรับและให้ในสิ่งที่ควรให้ตามกาลเทศะแล้ว ไม่ได้ตระหนี่ในการให้ ไม่ได้ตระหนี่ในการรับแล้ว จิตควรจะมีความประณีตในระดับที่พอทำให้ไม่เกิดความฟุ้งซ่านรำคาญใจได้ในระดับหนึ่ง นี่เป็นเรื่องของ ทาน ที่มีผลต่อการภาวนาเพื่อให้จิตมีสติตั้งมั่น เป็นสัมมาสมาธิ

    ศีล โดยธรรมดาสัตว์ทั้งหลายทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอดเพื่อความชิงดีชิงเด่น เพื่อประโยชน์สุขส่วนตนเป็นสำคัญ เหตุผลหนึ่งที่การบำเพ็ญจิตภาวนาในแนวทางของพระศาสดาไม่ได้ผลไม่ว่าจะมีครูบาอาจารย์ดี หรืออ่านตำรามาดีแล้วถึงอาการและความรู้สึกต่างๆนั้น ก็ยังไม่เป็นผลของจิตที่เป็นสมาธิมีสติตั้งมั่นเพราะว่า จิต ที่ว่านี้มีบางสิ่งบางอย่างคล้ายความทรงจำที่คอยหล่อหลอมให้เป็นไปต่างๆนานา เหมือนกับตัวชี้วัดลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น คนที่ชอบละเมิดศีลข้อ ๑ ปาณาติปาท อันนี้ก็ต้องย้อนไปพิจารณาความเป็นมาของพระองคุลีมารเถระ นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมาก ว่ามันมีผลอย่างไรต่อการบำเพ็ญจิตภาวนา นี่เป็นเพียงตัวอย่างจริงๆก็มีหมดนั่นแหละในพระสูตรทั้งหลายที่พระศาสดาสอนไว้ แต่โดยปกติแล้ว เมื่อยังไม่สามารถระลึกได้ว่าอะไรคืออะไร ยังไม่มีสติยับยั้ง ก็มักจะละเมิดศีลบ่อยๆ ของปุถุชนนั้นเป็นอย่างกว้าง ของพระสงฆ์สาวกนั้นเป็นอย่างละเอียด แต่เราก็มักจะพบและเรียนรู้ว่าสิ่งใดที่ละเอียดอ่อนนั้นมักพิจารณาจาก สิ่งใหญ่ๆไปหาสิ่งเล็กๆ ศีลจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยกำจัดอุปสรรคของการเจริญจิตภาวนา และเป็นส่วนที่เสริมให้สติ สัมปัชชัญญะ บริบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง ความบริสุทธิ์แห่งศีลก็ไม่ใช่ได้จากความถือตัวและโอ้อวด แต่อย่างใด เพราะการที่คนเราจะมีศีลโดยแท้จริงนั้น เพื่อครองสติไม่ให้จิตหยาบเพราะ กาย วาจา ใจ ที่ตนได้กระทำไว้ เพื่อให้จิตมีความประณีต ไม่ติดอยู่ในสิ่งใด อันเป็นไปเพื่อความสงบ และปัญหาคือ นี่ละคือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่คิดจะทำ จึงเป็นเหตุให้จิตไม่สงบ ไม่เกิดสมาธิและสติตั้งมั่น ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อความพ้นทุกข์ได้เลย

    ก็ควรจะไปอ่านต่อในกระทู้ การฝึกสมาธิของผู้เริ่มต้น ของคุณขันธ์ด้วยนะครับ
    อนุโมทนาสาธุครับทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...