ทาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 16 กุมภาพันธ์ 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ทาน ก็คือการให้ ทานก็คือธรรมะ ซึ่งก็ไม่พ้นไปจาก จิต เจตสิก ที่เป็นไปใน
    กุศล ทานขณะนั้นเป็นกุศลธรรม ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด ลึกซึ้ง รู้ตามได้ยาก
    กุศลธรรมก็คือ จิต เจตสิก ที่เป็นไปในกุศล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เราไปทำแต่เป็นจิตที่
    ดีงามที่เป็นไปในการให้ ในชีวิตประจำวันผู้ที่มีความเข้าใจธรรม ขณะให้ทานก็จะมี
    สติระลึกรู้สภาพธรรมขณะนั้นได้ เพราะฉนั้น การศึกษาพระธรรมจึงควรพิจารณาให้
    เข้าใจถึงตัวธรรมะที่มีอยู่จริงที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีธรรมะแล้ว จะให้ศึกษาอะไร...
    ข้อความบางตอนจากปฐมทานสูตร
    บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต ๑
    คำอธิบายจากอรรถกถา
    บทว่าจิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺถํ ทานํ เทต ความว่า ให้
    เพื่อประดับและตกแต่งจิตในสมถะและวิปัสสนา. เพราะว่า
    ทานย่อมทำจิตให้อ่อนโยน บุคคลผู้ได้รับทาน ย่อมมีจิตอ่อนโยน
    ดีว่าเราได้แล้ว แม้บุคคลให้ทานนั้น ก็ย่อมมีจิตอ่อนโยนว่า เราให้
    ทานแล้ว. เพราะฉะนั้น ทานนั้นชื่อว่า ย่อมทำจิตของบุคคลทั้ง ๒
    ฝ่ายให้อ่อนโยน เพราะเหตุนั้นนั่นแล.
    ท่านจึงตรัสว่า อทนฺตทมนํ การฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก
    ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.
    อทนฺตทมนํ ทานํ อทานํ ทนฺตทูสกํ
    อเนน ปิยวาเจน โอณมนฺติ มนมฺติ จ.

    การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก
    การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
    ชนทั้งหลายมีจิตโอนอ่อน และน้อมลงด้วยปิยวาจานี้
    ทาน ๘ ประการมีหลายนัย ขอยกมาบางสูตรดังนี้
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกายอัฏฐกกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 472
    ทานวรรคที่ ๔
    ๑. ปฐมทานสูตร
    [๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ
    เป็นไฉน คือ บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑
    บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑ บางคนให้ทาน
    เพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า
    ทานเป็นการดี ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชน
    เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ ๑ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้
    ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทาน
    กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่
    จิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล.
    จบ ปฐมทานสูตรที่ ๑

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔-หน้าที่ 143
    ทานสูตร
    แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง
    ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น พรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความ
    เป็นใหญ่แล้วเป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูก่อนสารีบุตรนี้ เหตุ
    ปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มี
    อานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผล
    มาก มีอานิสงส์มาก.
    อรรถกถาทานสูตรที่ ๙
    บทว่า จิตฺตาลงฺการ จิตฺตปริกฺขาร ความว่าเป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่อง
    แวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา. บทว่า พฺรหฺมกายิกาน เทวาน
    สหพฺยต ความว่าเขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น
    เป็นเครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึงทำฌานและ
    อริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้วย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน.
    ปัญญา คือ ความเข้าใจถูกเท่านั้นที่จะรักษาใจ
    ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว จะเอาอะไรมารักษา (แผล, โรค) ใจได้ ใจที่หมักหมมด้วย
    กิเลส, อกุศลกรรมมากมาย จะรักษาได้ก็ด้วยปัญญาเท่านั้น ใจที่เป็นโรคไม่เหมือน
    กายที่เป็นโรค โรคกายสามารถรักษาได้ ด้วยการพบแพทย์ รับการรักษาด้วยวืธี
    ทางการแพทย์ แต่โรคใจต้องอาศัยการสะสมปัญญา จากการฟังการศึกษาพระธรรม
    เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ผู้ที่รู้ว่าตนเองเป็นผู้เต็มไปด้วยโรคใจแล้ว มีฉันทะ (ที่
    เป็นกุศล) ในการละคลายกิเลสด้วยการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ไม่ละเลยโอกาส
    ของการเจริญกุศลทุกประการ สะสมอุปนิสัยในการสะสมปัญญาเป็นปกติ เพื่อขัด-
    เกลากิเลสของตนเอง บุคคลประเภทนี้เป็นบัณฑิต ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นอย่างนี้
    ด้วยความเป็นผู้มั่นคงในการศึกษาพระธรรม ในแนวทางที่ถูกต้องนั่นเอง ซึ่งเป็นหน
    ทางเดียว ที่จะเป็นไปเพื่อรักษาโรคใจได้ในที่สุด
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๓๗๓
    ๗. โรคสูตร
    ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง

    [๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉน
    คือโรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทาง
    กายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี
    ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี
    ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียง
    เวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต ๔ อย่างนี้ โรคของบรรพชิต ๔
    อย่างเป็นไฉน คือ
    ๑. ภิกษุเป็นผู้ มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วย
    จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้
    ๒. ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วย
    จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความ
    ปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความยกย่อง เพื่อจะได้ลาภสักการะ และความ
    สรรเสริญ
    ๓. ภิกษุนั้นวิ่งเต้นขวนขวายพยายาม เพื่อจะได้ความยกย่อง เพื่อจะ
    ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ
    ๔. ภิกษุนั้น เข้าสู่ตระกูลเพื่อให้เขานับถือ นั่งอยู่ (ในตระกูล) เพื่อ
    ให้เขานับถือ กล่าวธรรม (ในตระกูล) เพื่อให้เขานับถือ กลั้นอุจจาระ
    ปัสสาวะอยู่(ในตระกูล) ก็เพื่อให้เขานับถือ
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล โรคของบรรพชิต ๔ อย่าง.
    เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก
    ไม่เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
    คิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความ
    ยกย่อง เพื่อจะได้ลาภสักการะ และความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวาย
    พยายามเพื่อให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะ และความสรรเสริญ
    จักเป็นผู้อดทนต่อ หนาว ร้อน หิว กระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง
    ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ
    เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่น ไม่
    เจริญใจพอจะปล้นชีวิตเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
    อย่างนี้แล.
    จบโรคสูตรที่ ๗

    --------------------------------------------------------------------------------


    อรรถกถาโรคสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในโรคสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ ประกอบด้วยความร้อนใจคือทุกข์ มีความมัก
    มากเป็นปัจจัย. บทว่า อสนฺตุฏโฐ ได้แก่ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยสันโดษ ๓ ใน
    ปัจจัย ๔. บทว่า อนวญฺญปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ความยกย่องจากผู้
    อื่น. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ลาภสักการะอันได้แก่
    ปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้เป็นอย่างดี และความสรรเสริญ อันได้แก่การกล่าว
    ยกย่อง. บทว่า สงฺขาย กุลานิ อุปสงฺกมติ ได้แก่เข้าไปสู่ตระกูลเพื่อรู้ว่า ชน
    เหล่านี้รู้จักเราไหม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    จบอรรถกถาโรคสูตรที่ ๗

    บทว่าสอุตฺตรํ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร.
    บทว่า อนุตฺตรํ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร.
    แม้ในจิตเหล่านั้นจิตที่ชื่อว่า สอุตตระ ได้แก่จิตเป็นรูปาวจร จิตชื่อว่า อนุตตระ
    ได้แก่ จิตที่เป็นอรูปาวจร.
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
    จิตตานุปัสสนา
    [๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
    ในจิตเนือง ๆ อยู่.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตมีราคะ หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตมีโทสะ หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า
    จิตมีโมหะ หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ หรือจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า
    จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน หรือจิตเป็นมหรคต (คือถึงความ
    เป็นใหญ่ หมายเอาจิตที่เป็นฌาน หรือเป็นอัปปมัญญา พรหมวิหาร) ก็รู้ชัดว่า
    จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต หรือจิตเป็น
    สอุตตระ (คือกามาวจรจิต ซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่า จิต
    เป็นสอุตตระ หรือจิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิต ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หมาย
    เอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระ หรือจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น
    หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น หรือจิตวิมุตติ (คือหลุดพ้นด้วยตทังค-
    วิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุตติ หรือจิตยังไม่วิมุตติ ก็รู้ชัด
    ว่าจิตยังไม่วิมุตติ ดังนี้.

    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
    บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า จิตมีราคะ คือจิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ ๘
    อย่าง. บทว่า จิตปราศจากราคะ คือ จิตที่เป็นกุศล แล อพยากฤตฝ่าย
    โลกิยะ. แต่ข้อนี้ เป็นการพิจารณา มิใช่เป็นการชุมนุมธรรม เพราะฉะนั้นใน
    คำว่า จิตมีราคะ นี้ จึงไม่ได้โลกุตตรจิต แม้แต่บทเดียว. อกุศลจิต ๔ ดวง
    ที่เหลือ จึงไม่เข้าบทต้น ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโทสะ ได้แก่จิต ๒
    ดวง ที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัส. บทว่า จิตปราศจากโทสะ ได้แก่จิตที่เป็น
    กุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. อกุศลจิต ๑๐ ดวงที่เหลือ ไม่เข้าบทต้น
    ไม่เข้าบทหลัง. บทว่า จิตมีโมหะ ได้แก่จิต ๒ ดวง คือ จิตที่เกิดพร้อมด้วย
    วิจิกิจฉาดวง ๑ ที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะดวง ๑. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดได้ใน
    อกุศลจิตทั้งหมด ฉะนั้น แม้อกุศลจิตที่เหลือ ก็ควรได้ในบทว่าจิตมีโมหะนี้
    โดยแท้. จริงอยู่ อกุศลจิต ๑๒ (โลภมูล ๘ โทสมูล ๒ โมหมูล ๒) ท่าน
    ประมวลไว้ใน ทุกกะ (หมวด ๒) นี้เท่านั้น. บทว่า จิตปราศจากโมหะ
    ได้แก่จิตที่เป็นกุศล และอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. บทว่า จิตหดหู่ ได้แก่จิตที่
    ตกไปในถีนมิทธะ. ก็จิตที่ตกไปในถีนมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่ บทว่า
    ฟุ้งซ่าน ได้แก่จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะ จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะนั้น
    ชื่อว่า จิตฟุ้งซ่าน. บทว่า จิตเป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และ
    อรูปาวจร. บทว่า จิตไม่เป็นมหัคคตะ ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า
    สอุตฺตรํ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า อนุตฺตรํ จิต
    ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. แม้ในจิตเหล่านั้น
    จิตที่ชื่อว่า สอุตตระ ได้แก่จิตเป็นรูปาวจร จิตชื่อว่า อนุตตระ ได้แก่ จิตที่เป็น
    อรูปาวจร. บทว่า สุมาหิตํ จิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่อัปปนาสมาธิหรืออุปจาร
    สมาธิ. บทว่า อสมาหิตํ จิตไม่ตั้งมั่น ได้แก่จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสอง บทว่า
    วิมุตฺตํ จิตหลุดพ้น ได้แก่จิตหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ.
    บทว่า อวิมุตฺติ จิตไม่หลุดพ้น ได้แก่จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง. ส่วนสมุจ-
    เฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ไม่มีโอกาสในบทนี้เลย.
    ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ เรื่องกุศลศีลเป็นเรื่องเฉพาะตัว คือถ้าเห็นโทษ
    ของการก้าวล่วงศีล และ เห็นคุณของกุศลศีล ย่อมเป็นผู้มีเจตนาเว้นจากทุจริต
    ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องไปรับศีลจากผู้อื่น เพราะศีลอยู่ที่เจตนา ถ้าไม่เข้าใจ
    แม้จะรับศีลตามประเพณี ในงานบุญต่างๆ ก็ไม่สำเร็จเป็นศีล ดังนั้นผู้ที่มี
    ปัญญารู้แจ้งอริยสัจตามความเป็นจริงเท่านั้นจึงจะมีศีลสมบูรณ์ ไม่ขาดอีกเลย
    ส่วนปุถุชนทั้งหลาย ยังขาดปัญญา รักษาศีลด้วยศรัทธา ศีลย่อมไม่มั่นคง มีอัน
    ขาดไปเป็นธรรมดา เพราะทรัพย์บ้าง เพราะญาติบ้าง เพราะอวัยวะบ้าง เพราะ
    ชีวิตบ้าง แต่ถ้ามีปัญญาเพิ่มขึ้น ศีลย่อมมั่นคงขึ้นครับ

    เอาบุญมาฝากเมื่อวานนี้ได้บริจาคเลือดครั้งที่ 15 เมื่อวานและวันนี้ได้ถวายสังฆทาน
    เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ได้รักษาศีล และวันนี้จะไปรักษาผู้ป่วยหลายท่าน
    และตั้งใจที่จะศึกษาธรรม ฟังธรรม ศึกษาการรักษาโรค ได้สร้างบารมี ครบทั้ง 10 อย่าง
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
    ขอเชิญร่วมทำบุญสร้างระฆัง วัดพุน้ำร้อน จ.สุพรรณ
    เบอร์โทร.081-705-3460
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...