ทำไมพุทธศาสนาเน้นเรื่องทุกข์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 31 ตุลาคม 2008.

  1. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    เรื่องของ ทุกข์ คือองค์ประธานของพุทธศาสนา สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ และนำมาสั่งสอนคือให้ปวงมนุษย์ปฏิบัติเพื่อการพ้นทุก ข์

    ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นแพทย์จึงได้เห็นจริงในสัจธรรมเ รื่องทุกข์ได้ดีกว่าคนอื่น เพราะทำงานเกี่ยวกับผู้ที่มีทุกข์ทั้งสิ้นในรูปแบบต่ างๆกัน ความรุนแรงต่างกัน มีเหตุหรือจุดเร้าต่างกัน ผลของทุกข์ต่างกัน แต่ก็เป็นทุกข์ทั้งสิ้น แต่ทุกข์ในความหมายของศาสนาเป็นทุกข์ที่ลึกซึ้งตามหล ักปฏิจจสมุปบาท ท่านพุทธทาสภิกขุเปรียบเทียบเหมือนชาวนาทำงานตากแดดแ ล้วร้อนก็เป็นทุกข์ธรรมดา แต่ถ้าร้อนแล้วคิดน้อยใจว่าเป็นชาวนาเป็นเวรเป็นกรรม อย่างนี้จึงเป็นทุกข์ตามปฏิจจสมุปบาท

    นับแต่คนเกิดมาเรียกว่า ชาติ คือการเกิดของขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังเขียนไว้แล้ว เมื่อมีชาติที่แน่นอนเที่ยงแท้ คือ มีชราและมรณะตามภาษาชาวบ้านว่า เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ทั้งหมดนี้เป็นทุกข์ทั้งสิ้น ที่ต้องเกิดแก่ทุกคนโดยไม่มีข้อหลีกเลี่ยง ได้แก่การเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 จนถึงแตกดับสิ้นสุดไปชาติภพหนึ่งแล้วเริ่มต้นใหม่ไม่ รู้จบ

    ตามที่ท่านอธิบายละเอียดไว้ว่า

    เกิด เป็นทุกข์
    แก่ เป็นทุกข์
    ตาย เป็นทุกข์
    ไม่สบาย คับแค้นกายใจ เป็นทุกข์
    ประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ต้องการ เป็นทุกข์
    พลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
    ความไม่สมหวัง เป็นทุกข์


    สัจธรรมที่พระพุทธองค์ได้สอนไว้ที่สำคัญก็คือไตรลักษ ณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหมายความว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ และทุกสิ่งไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นของใคร ก็จะเห็นได้ว่าทุกข์เป็นองค์สำคัญในสัจธรรมนี้ ซึ่งเป็นความจริงตลอดกาล

    เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องทุกข์มากขึ้นขอนำคำถามของพรา หมณ์และคำตอบของพระพุทธองค์ดังนี้

    พราหมณ์ : ทุกข์เราเป็นคนทำเองหรือพระเจ้าข้า
    พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
    พราหมณ์ : ทุกข์เกิดเพราะเราร่วมกับคนอื่นช่วยกันทำหรือพระเจ้า ข้า
    พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
    พราหมณ์ : ถ้าเช่นนั้นทุกข์เกิดขึ้นไม่ใช่จากเราและคนอื่นช่วยก ันทำหรือพระเจ้าข้า
    พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
    พราหมณ์ : ถ้าเช่นนั้นทุกข์เกิดขึ้นเพราะอะไรพระเจ้าข้า
    พระพุทธองค์ : ทุกข์เกิดขึ้นเพราะความมีอวิชชาหลงยึดตัวตนของตนว่าม ีอยู่

    ซึ่งคำตอบนี้คงชัดเจนพอที่เราจะเข้าใจได้ว่า เป็นเพราะเราไปยึดว่าเราเป็นเรา ซึ่งเป็นของยากที่เราจะเลิกยึดสิ่งนี้ได้ นอกจากจะเข้าใจสัจธรรมของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และพยายามปฏิบัติต่อเนื่องจนกว่าสามารถหลุดพ้นได้ ตามความมุ่งหมายของพระพุทธองค์ที่พยายามชี้ทางให้เรา

    ขอให้สังเกตว่าวิทยาศาสตร์ได้นำหลักของอริยสัจ 4 นี้มาใช้เพื่อหาคำตอบอย่างใดอย่างหนึ่งทางวิทยาศาสตร ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ใดๆก็ตาม คือ ต้องหาว่าอะไรเป็นเหตุ แก้ไขได้อย่างไร และวิธีแก้ไขทำอย่างไร เห็นได้ว่าหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์

    ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงสอนเรื่อง อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (คือทางที่จะพ้นทุกข์)

    [​IMG]


    [​IMG]


    Credit : http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=32039
     
  2. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    ทำไมพุทธศาสนาไม่เน้นเรื่องความสุขที่ทุกคนต้องการ

    ความสุขเป็นสิ่งที่ปรารถนาของมวลมนุษย์ ทุกคนอยากมีอยากได้ อยากยึดรักษาไว้ให้นานที่สุดหรือตลอดกาล ศาสนาต่างๆจึงเน้นถึงเรื่องความสุข บางศาสนามีพิธีกรรมที่ชักนำให้เกิดความสุข เช่น การร้องเพลงในโบสถ์ มีการสวดอ้อนวอนขอสิ่งที่ต้องการ การฉลองวาระสำคัญต่างๆด้วยพิธีที่มีความสุข เช่น การให้ของขวัญแก่กัน เด็กๆจะตั้งตารอวาระสำคัญทางศาสนา นับเป็นการชักจูงให้มีศรัทธาต่อศาสนาอย่างยิ่ง

    แต่เหตุใดในพุทธศาสนาไม่เน้นเรื่องความสุข แม้ในวาระสำคัญทางศาสนาต่างๆก็มุ่งในด้านให้เกิดความ สงบมากกว่า เช่น การเวียนเทียน เข้าโบสถ์สวดมนต์ เพราะพุทธศาสนาถือว่า สุขเสมอด้วยความสงบไม่มี บางคนไม่เข้าใจ ความสงบ ที่พระพุทธองค์หมายถึง คือ ความเงียบ ไม่วุ่นวายไปจนถึงนิพพาน ซึ่งบางคนพบเข้ากลับมีทุกข์เพราะอยากสนุกสนาน ความสงบ ที่พระองค์หมายถึงในด้านธรรมะไม่ใช่ทางโลก หมายถึงสงบจากจิตที่เป็นสมาธิ ไม่สอดส่ายไปข้างนอก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่ติดกิเลส ความสุขที่เกิดจากสมาธิจะเหนือกว่าความสุขทางโลก เพราะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะแวดล้อม

    พุทธศาสนามิได้ปฏิเสธความสุข เพียงแค่ชี้ให้เห็นว่าความสุขไม่จีรัง แนะนำไม่ให้คนติดยึดกับความสุข ซึ่งมีความไม่แน่นอน ไม่ยั่งยืน เป็นอนิจจัง ไม่ช้าเมื่อความสุขหายไปก็จะเกิดความทุกข์ความผิดหวั ง ทำให้คนอาจทำอะไรไม่ถูกต้อง บางคนถึงกับฆ่าตัวตาย แต่ถ้าคนใดมองทุกข์เป็นหลัก เมื่อพบความสุขก็จะนึกรู้อยู่ว่าไม่ยั่งยืน เมื่อเกิดปัญหาหมดความสุขจะสามารถทนรับความทุกข์ได้ด ีกว่าผู้ที่ยึดความสุขเป็นสรณะ

    พุทธศาสนาได้อธิบายถึงกลไกการเกิดความสุขว่า เกิดจากสิ่งเร้าจากภายนอกมากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยมีใจเป็นตัวรับ โดยมีการปรุงแต่งที่เรียกว่า สังขาร ออกมาเป็นความทุกข์ ความสุข หรืออารมณ์เฉยๆ (ไม่ทุกข์ไม่สุข) จะเห็นได้ว่าสิ่งเร้าอย่างเดียวกันอาจทำให้เกิดผลต่า งกัน เช่น การฟังเพลงๆหนึ่ง ในบางอารมณ์จะฟังว่าเพราะเกิดความสุข แต่ในบางอารมณ์เพลงเดียวกันนี้กลับรู้สึกว่าหนวกหูรำ คาญเกิดความทุกข์ ถ้าเราพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าสุขและทุกข์อยู่ติดกันจน แยกไม่ออก ทางธรรมระบุว่า ถ้าไม่วางสุขก็ไม่พ้นทุกข์ ถ้าวางสุขทุกข์ไม่ต้องวางก็หายเอง สุขอาจเปลี่ยนเป็นทุกข์ได้ในพริบตา แต่จากทุกข์เป็นสุขเกิดช้ามาก ถ้าเปรียบสุขเป็นสีขาว ทุกข์เป็นสีดำ เอาสีดำขาวผสมลงไปตามสัดส่วนของประสบการณ์ของชีวิตจร ิง ผลคงออกมาเป็นดำมากหรือดำน้อยเท่านั้นไม่มีขาวเหลืออ ยู่ ศาสนาจึงเรียกสุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์นี้ว่า เวทนา ได้แก่ สุขเวทนา ทุกข์เวทนา และอทุกข์สุขเวทนา ซึ่งคำว่าเวทนาตามตัวแปลว่า ความโง่ ความน่าสงสาร ความไม่รู้แจ้ง (อวิชชา) ซึ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดตัณหา และอุปาทาน พระพุทธศาสนาจึงไม่ได้เน้นเรื่องความสุขด้วยเหตุดังข ้างต้นนี้ ไม่สอนให้คนติดอยู่กับความสุขซึ่งไม่ยั่งยืนเพราะขึ้ นอยู่กับการปรุงแต่ง อย่าดิ้นรนแสวงหาสุขจนเป็นทุกข์ อย่ายึดถือไว้จนเป็นทุกข์ ถ้าปรับใจตนเองได้อย่างนี้ คงจะอยู่ในโลกนี้โดยมีสุขพอประมาณและมีทุกข์แต่พอควร

    นอกจากความสุขทางโลกที่เรียกว่า โลกียสุข ของคนทั่วไปแล้ว ทางพุทธศาสนาจะเน้นถึงความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติภา วนา เพราะเป็นความสุขที่เป็นประโยชน์และยั่งยืนกว่า ไม่ได้มีการปรุงแต่งด้วยสังขาร ไม่ได้เป็นเวทนา คือ ความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิ เมื่อเป็นอัปปนาสมาธิ จิตเข้าสู่ปฐมฌานจะเกิดความรู้สึกวิตกวิจาร ปีติ-สุขที่เกิดจากสมาธิ ซึ่งเมื่อถึงทุติยฌาน (ขั้น 2) วิตกวิจารดับไปแต่ยังมีปิติสุขอยู่ เมื่อเข้าตติยฌาน (ขั้น 3) ปิติจึงดับ เหลือแต่สุข เมื่อถึงจตุตถฌาน (ขั้น 4) สุขจึงดับ เหลือแต่เอกัคคตาและอุเบกขา ดังนั้นผู้ที่แสวงหาความสุขที่แท้จริงพึงได้จากการปฏ ิบัติสมาธิเท่านั้น นักปฏิบัติจำนวนไม่น้อยติดอยู่กับสุขนี้ ซึ่งยังถือเป็นสุขทางโลก (โลกียสุข) อยู่ ถึงแม้ว่าสูงกว่าความสุขทางโลกทั่วๆจนถึงจุดสูงสุดที ่ว่า ความสุขเสมอด้วยความสงบไม่มี ซึ่งหมายถึงสุขจากนิพพาน

    พระพุทธองค์ได้เทศนาสอนให้พระอานนท์ดังนี้ บุคคลผู้ปรารถนาความสุขในภพนี้และภพหน้าแล้ว จงรักษาใจให้ได้รับความสุข ส่วนตัวตนร่างกายภายนอกไม่สำคัญ เมื่อตายแล้วก็ทิ้งอยู่เหนือแผ่นดินหาประโยชน์มิได้ ส่วนใจนั้นติดตามตนไปในอนาคตเบื้องหน้า​


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325
     
  4. phanit

    phanit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2006
    โพสต์:
    2,099
    ค่าพลัง:
    +984
    ทุกอย่างที่เป็นเราก็ทุกทั้งนั้นแหละ
     
  5. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,419
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,442
    ความอยากและกิเลสตัณหานั้นเป็นทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...