ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 13 กันยายน 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
    ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุม
    แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
    ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    หน้าที่ ๙๔/๒๘๘ ข้อที่ ๒๓๒

    [๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับ
    กิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่
    ต่อไป แม้ฉันใด กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคต
    เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น
    ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล.

    พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่มที่ ๒
    หน้าที่ ๒๙๓/๗๙๓ ข้อที่ ๒๓๒

    {๒๓๒} ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’ จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
    เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก
    และป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับ
    กิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
    จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน

    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    หน้าที่ ๑๑๖/๓๔๐ข้อที่ ๖๑ {๒๓๒}
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป
    ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

    สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
    สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี
    ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูกรโมฆ
    บุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความ
    เกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย
    ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดูกรโมฆบุรุษ
    ก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น
    [๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ
    สำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง
    หรือไม่?

    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
    เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า
    ซบเซา หมดปฏิภาณ.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว
    จึงตรัสกะเธอว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ
    ทั้งหลายในที่นี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
    ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาป
    มิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ?

    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกัน
    เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
    เว้นจากปัจจัย มิได้มี.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้
    ถูกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้นเรากล่าวแล้ว โดยปริยายเป็น
    เอนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เรา
    ด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้น
    ของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
    [๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุ
    วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณ
    อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรส
    ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศรัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
    มโนวิญญาณ


    เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม้
    ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้ ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด

    ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ
    เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น
    ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า
    ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    หน้าที่ ๓๓๒/๔๓๐ ข้อที่๔๔๒-๔๔๔
     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ทุคคตสูตร
    [๔๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ...
    แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่า
    สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น
    ย่อมไม่ปรากฏ
    เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึงลงสันนิษฐานในบุคคล
    นี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า
    สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    หน้าที่ ๑๘๕/๒๘๘
     
  6. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ
    พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อ
    กูลแก่ชนเป็นมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
    เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้น

    ว่าสัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
    เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๑๓/๔๓๐ข้อที่ ๑๙๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๘. คัททูลสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕ ด้วยเสาล่ามสุนัข
    [๒๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายรู้
    ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีตัณหาเป็น
    เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุนัขที่เขาผูกไว้ด้วยเชือก ถูกล่ามไว้
    ที่หลักหรือเสาอันมั่นคง ถ้าแม้มันเดิน มันก็ย่อมเดินใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันยืน
    มันก็ย่อมยืนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้มันนั่ง มันก็ย่อมนั่งใกล้หลักหรือเสานั้นเอง ถ้าแม้
    มันนอน มันก็ย่อมนอนใกล้หลักหรือเสานั้นเอง แม้ฉันใด.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้
    สดับ ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ย่อมตามเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา.
    ปุถุชนนั้น ถ้าแม้เดิน เขาก็ย่อมเดินใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้ยืน เขาก็ย่อมยืน
    ใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง ถ้าแม้นั่ง เขาก็ย่อมนั่งใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง
    ถ้าแม้นอน เขาย่อมนอนใกล้อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั้นเอง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
    แล เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ
    สิ้นกาลนาน.
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ว่าด้วยความเศร้าหมองและผ่องแผ้วของจิต

    [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง สัตว์
    ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภาพนิทรรศการนั้น เธอทั้งหลาย
    เห็นแล้วหรือ?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า.
    พ. ภาพนิทรรศการแม้นั้นแล ช่างเขียนคิดแล้วด้วยจิตนั่นแหละ. จิตนั้นแหละ วิจิตร
    กว่าภาพนิทรรศการแม้นั้น. เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลาย พึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้
    เศร้าหมองด้วย ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน. สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิต
    เศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณา
    เห็นหมู่สัตว์อื่นแม้เพียงหมู่หนึ่ง ซึ่งวิจิตรเหมือนอย่างสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนี้เลย. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานแม้เหล่านี้แล คนคิดด้วยจิตนั่นแหละ. จิตนั่นแหละวิจิตรกว่าสัตว์
    ดิรัจฉานแม้เหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า จิตนี้
    เศร้าหมองแล้วด้วยราคะ โทสะ โมหะ สิ้นกาลนาน. สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมอง เพราะจิต
    เศร้าหมอง สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมหรือช่าง
    เขียน เมื่อมีเครื่องย้อมก็ดี ครั่งก็ดี ขมิ้นก็ดี สีเขียวก็ดี สีแดงก็ดี พึงเขียนรูปสตรีหรือรูป
    บุรุษ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบทุกส่วนลงที่แผ่นกระดานเกลี้ยงเกลา หรือที่ฝา หรือที่แผ่นผ้า แม้
    ฉันใด.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังรูปนั่น
    แหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังเวทนานั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังสัญญานั่น
    แหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังสังขารนั่นแหละให้เกิด เมื่อจะให้เกิด ย่อมยังวิญญาณ
    นั่นแหละให้เกิด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่
    เที่ยง?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
    พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
    พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่น
    เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    จบ สูตรที่ ๘.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    หน้าที่ ๑๔๑/๓๑๐ข้อที่ ๒๕๘ - ๒๕๙
     
  9. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    สังขตสูตร
    [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ประการ ๓ ประการเป็น
    ไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

    อสังขตสูตร
    [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
    เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
    ปรวน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบ
    หน้าที่ ๑๔๔/๒๙๐ข้อที่ ๔๘๖ - ๔๘๗
     
  10. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    ชนพึงนำไป พึงเผาหรือ พึงกระทำหญ้า ไม้ กิ่งไม้
    และใบไม้ ในพระวิหารเชตวันนี้ ตามความปรารถนา ท่านทั้งหลายพึงดำริอย่างนี้ บ้างหรือ
    หนอว่า ชนย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำเราทั้งหลาย ตามความปรารถนา?

    ไม่เป็นได้เลย พระเจ้าข้า.
    ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร?
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่านั้นไม่ใช่อัตตา หรือบริขารที่เนื่องด้วยอัตตาของ
    ข้าพระองค์ทั้งหลาย.

    อย่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงละสิ่งนั้น
    เสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว
    จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของ
    ท่านทั้งหลาย ... วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... สังขารทั้งหลาย ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ...

    วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นท่านทั้งหลาย
    ละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๙๕/๔๓๐
     
  11. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    สัตว์ทั้งหลาย หรือ สิ่งๆหนึ่ง นี้คือตัวเราจริงๆที่ไม่เคยตายเป็นอมตะ มีอวิชชามาหลงยึด จิต ว่าเป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เป็นเรา แล้วยึดขันธ์ อื่นๆ เป็นขันธ์๕ เป็นของเรา เป็นเราเมื่อ ขันธ์๕ ตาย เราจึงตายไปกับขันธ์๕ เมื่อ สัตว์ฝึกมรรค๘ จนมีวิชชาเป็นพระอรหันต์ สัตว์จะถูกเรียกว่า วิมุตติญาณทัสนะ มีคุณสมบัติเหมือน วิมุตติ
    ผู้รู้นิพพานตั้งในนิพพาน ไปดูคุณสมบัติ๒สิ่งนี้ ใน อสังขตะ ข้างบน (อย่าเชื่อที่ผมบอกนะครับให้ลองศึกษาดูจากคำพูดของ พระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏกจะได้ความแน่นอนกว่า)
     
  12. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ตำราประวัติพระพุทธเจ้าบางเล่มก็กล่าวว่า ช่วงที่พระองค์กำลังทรมานพระวรกายอยู่จนถึงที่สุดนั้น มีเทวดาเสด็จลงมาทรงพิณสามสาย ซึ่งได้ตั้งสายพิณไว้ 3 ระดับ คือตึงเกินไป เล่นได้สักครู่สายพิณก็ขาด ตั้งสายพิณหย่อนเกินไป เสียงเพลงก็ไม่ไพเราะ และสุดท้ายตั้งสายพิณปานกลาง ปรากฏว่ามีความไพเราะจับใจ)

    [๕๐๑] ดูกรราชกุมาร โอ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้ว กล่าวกันอย่างนี้ว่า
    พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละ
    แล้ว แต่กำลังทำกาละ. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว กำลัง
    ทำกาละก็หามิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรม
    ของพระอรหันต์.

    [๕๐๒] ดูกรราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเพื่อตัด
    อาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นเข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อ
    ตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน
    ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราเองด้วย
    พึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารโดยประการทั้งปวง เทวดาเหล่านี้ด้วยพึงแซกโอชาอันเป็นทิพย์
    ตามขุมขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสา
    แก่เรา ดังนี้. อาตมภาพบอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย.
    แล้วอาตมภาพได้มี
    ความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อ
    ถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภค
    อาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อ
    ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง. เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อยๆ คือ วันละฟายมือบ้าง
    เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอม
    เหลือเกิน.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    หน้าที่ ๓๔๑/๕๑๘ข้อที่ ๕๐๑ - ๕๐๒
     
  13. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรอัคคิเวสสนะ เทวดาทั้งหลายเห็นเราเข้าแล้วพากันกล่าวว่า พระสมณโคดมทำกาละ
    แล้ว. บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมยังมิได้ทำกาละ แต่ก็จะทำกาละ บางพวกกล่าวว่า พระ
    สมณโคดมไม่ทำกาละ ทั้งจะไม่ทำกาละ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เห็นปานนี้
    นั้น เป็นวิหารหารธรรมของท่านผู้เป็นพระอรหันต์.

    [๔๒๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติอดอาหารเสียโดย
    ประการทั้งปวงเถิด. ขณะนั้น พวกเทวดาเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่า
    ปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวง พวกข้าพเจ้า
    จะแทรกโอชาหารอันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น.
    เรามีความดำริว่า เราปฏิญญาว่าจะตัดอาหารโดยประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาหาร
    อันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งเรา เราจะยังมีอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น การปฏิญญาไว้นั้นก็
    เป็นมุสาแก่เราเอง. เราจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ข้อนั้นไม่ควร.

    [๔๒๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารให้น้อยลงๆ
    เพียงซองมือหนึ่งๆ บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วดำ
    บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดบัวบ้าง. เราก็กินอาหารให้น้อยลงๆ ดังนั้นจนมีร่างกายซูบผอมยิ่งนัก เพราะเป็น
    ผู้มีอาหารน้อยนั้น เหลือแต่อวัยวะใหญ่น้อย เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ
    เนื้อตะโพกก็ลีบเหมือนกีบอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนาม เหมือนเถาวัลย์ [หนามรอบข้อ]
    ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่าที่สะพรั่งอยู่ ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้า
    ตาเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ หนังศีรษะบนศีรษะก็เหี่ยวหดหู่ เหมือนลูกน้ำเต้า
    ที่เขาตัดมายังดิบ ต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวไป. เรานึกว่าจะลูบพื้นท้องก็จับถึงกระดูกสันหลัง
    เมื่อนึกว่า จะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถึงพื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราติดแนบถึงกระดูกสันหลัง
    เมื่อนึกว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนแซล้มลง ณ ที่นั้น. เมื่อจะให้กายสบายบ้าง เอา
    ฝ่ามือลูบตัวเข้า ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกายเพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย. มนุษย์ทั้งหลาย
    เห็นเราเข้าแล้วก็กล่าวว่า พระสมณโคดมดำไป บางพวกก็พูดว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่
    คล้ำไป บางพวกก็พูดว่า ไม่ดำ ไม่คล้ำ เป็นแต่พร้อยไป. เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์เปล่งปลั่ง
    แต่เสียผิวไป ก็เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    หน้าที่ ๓๑๙/๔๓๐ข้อที่ ๔๒๓ - ๔๒๔
     
  14. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว
    ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
    ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา
    ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่
    เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้
    ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.
    ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม
    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่น
    โลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.
    จบพรหมชาลสูตรที่ ๑.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    หน้าที่ ๔๔/๓๘๓
     
  15. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ก้าวพระบาทออกไปได้ ๗ ก้าวจริงหรือลองอ่านดู)

    [๓๕๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ถ้ากระนั้นแล
    ขอธรรมอันไม่น่าเป็นไปได้ อันน่าอัศจรรย์ของตถาคต จงแจ่มแจ้งกะเธอยิ่งกว่าประมาณเถิด ฯ

    [๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูตรแล้วได้ ๗ วันพระมารดาของพระโพธิสัตว์จะ
    เสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำ
    ไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ

    [๓๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่าง
    หญิงอื่นๆ ที่ครองครรภ์ด้วยท้อง ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงคลอด คือ พระนางจะทรงครอง
    พระโพธิสัตว์ด้วยพระอุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์
    ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๓๗๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่างหญิง
    อื่นๆ ที่นั่งหรือนอนคลอด คือ พระนางจะประทับ ยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์ ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์
    ของพระผู้มีพระภาค ฯ

    [๓๗๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    พวกเทวดาจะรับก่อน พวกมนุษย์จะรับทีหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรง
    จำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ ก็รับแล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดา
    ให้ทรงหมายรู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดี เถิด
    พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จ
    อุปบัติแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
    น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ

    [๓๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้ คือ ไม่ แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด
    ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาวางลง
    บนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่เปื้อนแก้วมณี นั่นเพราะ
    เหตุไรเพราะของทั้งสองอย่างบริสุทธิ์ ฉันใด ดูกรอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด
    พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้
    คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือดด้วยน้ำเหลือง ด้วยของไม่สะอาดไรๆ นับว่า
    หมดจดบริสุทธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้
    น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ
    [๓๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น
    ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏจากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่อง
    ทำการสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า
    เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ

    [๓๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค
    ดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดลที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอบนแผ่นดิน
    แล้วบ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตร
    ตามไป พระองค์จะทรงเหลียว ดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า เราเป็นผู้เลิศ
    ในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้
    ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรม
    ไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาค ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๙๕/๔๑๓ ข้อที่ ๓๕๙ - ๓๗๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2012
  16. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี
    เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระนามว่าวิปัสสี
    เสด็จอุบัติแล้วในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดย พระชาติ เสด็จอุบัติแล้วใน
    ขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญโดยพระโคตร มีพระชนมายุ ประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี พระองค์ได้ตรัสรู้
    ที่ควงไม้แคฝอย มีพระขัณฑะ และพระติสสะ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ)

    [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ แล้วได้ ๗ วัน
    พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตเสด็จเข้าถึงชั้นดุสิต ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ
    [๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่นๆ บริหารครรภ์ ๙ เดือนบ้าง
    ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือนอย่างนั้นไม่พระมารดาของพระโพธิ
    สัตว์บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน ถ้วน จึงประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ
    [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่
    ประสูติเหมือนหญิงอื่นๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดาของ พระโพธิสัตว์ประทับยืน
    ประสูติพระโพธิสัตว์ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ

    [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจาก
    พระครรภ์พระมารดา พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ
    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ ออกจาก
    พระครรภ์พระมารดาและยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตร ๔ องค์ประคองรับ พระโพธิสัตว์นั้นแล้ว
    วางไว้เบื้องหน้าพระมารดา กราบทูลว่า ขอจงมีพระทัยยินดีเถิดพระเทวี
    พระโอรสของพระองค์
    ที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่ นี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ
    [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ ออกจาก
    พระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วย
    เสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์
    ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคล วางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทำผ้า
    กาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไร
    จึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน แล
    ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จออกอย่าง ง่ายดายทีเดียว ไม่
    เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อน ด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อนด้วย
    อสุจิ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ

    [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ เสด็จออกจาก
    พระครรภ์พระมารดา ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร เย็นธาร หนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สำหรับ
    กระทำอุทกกิจ แก่พระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้ เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ
    [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้ว ได้ครู่หนึ่ง
    ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้าน ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว
    และเมื่อฝูงเทพดากั้นเสวตฉัตรตามเสด็จอยู่ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่าอันองอาจว่า
    เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็น
    ครั้งที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้
    มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
    หน้าที่ ๑๑/๒๖๑ข้อที่ ๑๙ - ๒๖

    (ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้ ฯ คือพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์มีธรรมดาอย่างนี้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...