ทําบุญอย่างไรได้บุญมาก

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 28 กันยายน 2008.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top> ทาน แปลว่า การให้ หรือสละของ ๆ เราให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ การให้ทานเป็นพื้นฐานความดีของมนุษยชาติ และเป็นสิ่งที่ขาดเสียไม่ได้ ในการจรรโลงสังคม ชีวิตของเราดำรงอยู่ได้ด้วยทาน เราโตมาได้ก็เพราะทาน มีความรู้ในด้านต่าง ๆ ก็ด้วยทาน การให้ทาน จึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีประโยชน์ใหญ่หลวงต่อทุกคน


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=left bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ประเภทของทาน แบ่งได้ดังนี้

    1. อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน

    2. ธรรมทาน หรือ วิทยาทาน คือการให้ความรู้เป็นทาน ถ้าเป็นความรู้ทางโลก เรียกวิทยาทาน หากเป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอนให้ละความชั่ว ประพฤติดี มีศีลธรรม เรียกว่า ธรรมทาน

    3. อภัยทาน คือ สละอารมณ์โกรธ ให้อภัย ไม่ผูกอาฆาตจองเวร

    การให้ธรรมทาน ถือว่าเป็นการให้ที่ได้บุญสูงสุด มีคุณค่ากว่าการให้ทั้งปวง เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันโลก เท่าทันกิเลส สามารถนำพาตนเองให้พ้นภัยได้


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>การทำทานให้ได้บุญมาก ต้องพร้อมด้วยองค์ 3 คือ

    1. วัตถุบริสุทธิ์ ของที่จะให้ทานต้องได้มาโดยสุจริตชอบธรรม ไม่ได้คดโกง เบียดเบียนใครมา

    2. เจตนาบริสุทธิ์ คือมีเจตนาบริจาคทาน เพื่อกำจัดความตระหนี่ของตน ทำเพื่อเอาบุญไม่หวังชื่อเสียง ลาภ สักการะ

    3. บุคคลบริสุทธิ์ คือ ให้แก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบ สำรวม

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก และผู้ให้ทาน คือ ตัวเองก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จึงจะได้บุญมาก

    การให้ทานเป็นเรื่องของความชุ่มเย็น ผู้ที่ให้ทานอยู่เสมอ ย่อมมีใจผ่องใส หมู่ชนที่นิยมการให้ ย่อมไม่มีความเดือดร้อนใจ เนื่องจากมีอัธยาศัยไมตรี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

    อนึ่งใจของเรานี้ มีพลังอำนาจ สามารถดึงดูดทรัพย์ได้ คนที่สั่งสมการให้มามากจึงมีพลังดึงดูดสมบัติได้มาก ดังที่คนโบราณกล่าวไว้ว่า คนทำทานมาก จะเกิดมารวย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]การทำบุญในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ทานเท่านั้น สำหรับการทำบุญประเภทอื่น สามารถอ่านได้ในหมวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญประเภทนั้นๆ โดยตรง รวมทั้งในเรื่องเวลามสูตร ในหมวดธรรมทั่วไป ซึ่งเป็นสูตรที่สรุปเปรียบเทียบผลบุญที่ได้รับจากการทำบุญแทบจะทุกประเภท ว่าประเภทไหนให้ผลบุญมาก/น้อยกว่ากันอย่างไร
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]การให้ทานในที่นี้ จะเน้นที่การสละวัตถุสิ่งของ หรือทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้อื่นเป็นหลัก แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการให้ทานอย่างอื่นๆ เช่น ธรรมทาน(การให้ธรรมเป็นทาน) อภัยทาน(การให้อภัยแก่ผู้อื่น) ได้เช่นกัน โดยการพิจารณาเปรียบเทียบกัน
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]การให้ทานแต่ละครั้งนั้น จะให้ผลบุญหรืออานิสงส์มากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน ทั้งปัจจัยจากตัวผู้ให้ วัตถุสิ่งของที่ให้ และผู้รับทานนั้นด้วย ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเอาไว้ในที่หลายๆ แห่ง ทางผู้ดำเนินการได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกหลายๆ สูตร รวมทั้งแหล่งความรู้อื่นๆ สรุปได้ดังนี้คือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]การทำบุญให้ทานนั้น เปรียบเสมือนการทำนาปลูกข้าว โดยที่ผู้รับเป็นเหมือนนาข้าว ของที่ให้เหมือนเมล็ดพันธุ์ข้าว กิเลสของผู้รับและผู้ให้เหมือนเป็นวัชชพืชในนาข้าวนั้น ความตั้งใจของผู้ให้เหมือนความตั้งใจในการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตกลงในนา ไม่ให้กระจัดกระจายออกนอกนา ศรัทธาของผู้ให้เปรียบเหมือนปุ๋ย ปิติที่เกิดขึ้นกับผู้ให้เปรียบเหมือนน้ำ ผลบุญที่ผู้ให้ได้รับเปรียบเสมือนผลผลิตจากการทำนานั้น ผู้รับจึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]การทำนาปลูกข้าวนั้น ถ้าใช้ข้าวพันธุ์ดี ปลูกในนาข้าวที่มีดินดี ในขณะหว่านก็ตั้งใจหว่านให้ข้าวตกลงในท้องนาอย่างพอดี ไม่กระจัดกระจายสูญหายไปนอกนา มีน้ำบริบูรณ์ มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีวัชชพืชมาคอยแย่งอาหารต้นข้าว ผลผลิตที่ได้ย่อมมากมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วยฉันใด
    การทำบุญด้วยวัตถุอันเลิศ ให้กับบุคคลอันเลิศ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทำไปด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคง ประกอบด้วยศรัทธาอันดี ถึงพร้อมด้วยปิติเบิกบานใจ ผลบุญที่ได้ย่อมไพบูลย์ฉันนั้น
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]คุณสมบัติของผู้ให้ทานที่จะได้บุญมาก
    การที่ผู้ให้ทานจะได้รับผลบุญมากนั้น ตัวผู้ให้เองต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]- ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ (มีความเคารพด้วยใจที่แท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงร่างกาย)
    - ให้ทานนั้นด้วยมือตนเอง (ถ้ายิ่งต้องใช้ความพยายามมากเท่าไร จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น การทำบุญด้วยความรู้สึกที่หนักแน่นมากเท่าไร ก็จะส่งผลให้ได้บุญที่หนักแน่นมากเท่านั้น)
    - เชื่อในกรรมและผลของกรรม (ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่หนักแน่นเช่นกัน ไม่ใช่ว่าสักแต่ให้ๆ ไปเท่านั้น)
    - มีความเลื่อมใส ศรัทธาในผู้รับทานนั้น (เหตุผลเช่นเดียวกับข้อก่อน)
    - เมื่อให้แล้วเกิดปิติโสมนัส จิตใจผ่องใส เบิกบาน
    - ให้ทานเหมาะสมกับกาลเวลา คือให้ในสิ่งที่ผู้รับต้องการในเวลานั้นๆ
    - ให้ทานโดยสละวัตถุทานนั้นอย่างแท้จริง ไม่มีใจยึดเหนี่ยว ห่วงใยวัตถุนั้นอีก ไม่ว่าผู้รับจะเอาสิ่งนั้นๆ ไปใช้ทำอะไรหรือเมื่อไหร่
    - เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน คือให้โดยหวังประโยชน์แก่ผู้รับจริงๆ ไม่ใช่หวังประโยชน์แก่ตัวผู้ให้เอง
    - รู้สึกยินดีในการให้ทานครั้งนั้นทั้ง 3 กาล คือทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้ทานนั้นแล้วก็รู้สึกยินดี คือนึกถึงเมื่อใดก็ยินดีเมื่อนั้น ไม่ใช่ให้แล้วเสียใจในภายหลัง
    - ให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ไม่หวังแม้แต่บุญที่จะได้รับ คือให้เพื่อให้จริงๆ แล้วผลบุญก็จะตามมาเอง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ลักษณะของวัตถุสิ่งของที่ใช้ให้ทานแล้วได้บุญมาก
    วัตถุทานที่ใช้ทำบุญให้ทาน แล้วจะส่งผลให้ผู้ให้ทานนั้นได้รับอานิสงส์ผลบุญมาก มีลักษณะดังนี้คือ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]- ให้ของที่ไม่ใช่ของเหลือเดน คือไม่ใช่เป็นของที่แม้ผู้ให้เองก็ไม่ต้องการแล้ว
    - ให้ของที่สะอาด จัดเตรียมอย่างประณีต
    - ให้ของที่ได้มาโดยชอบธรรม และผู้ให้มีสิทธิในการเป็นเจ้าของของนั้นจริงๆ
    - ให้โดยไม่มีส่วนเหลือ คือให้ของนั้นทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนั้น ไม่ใช่ให้อย่างขยักขย่อน
    - ถ้าของที่ให้นั้นมีความสำคัญ มีความหมาย มีคุณค่าสำหรับตัวผู้ให้เองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้บุญมากขึ้นเท่านั้น เพราะผู้ให้ต้องเสียสละมาก เช่น คนยากจนให้ทาน 10 บาท อาจได้บุญมากกว่าเศรษฐีให้ทาน 1,000 บาทก็ได้ เพราะเงิน 10 บาทนั้นมีค่ามากสำหรับคนยากจน ในขณะที่เงิน 1,000 บาทเป็นเพียงแค่เศษเงินของเศรษฐี
    - การให้อวัยวะของตนเป็นทาน ได้บุญมากกว่าการให้ทรัพย์ภายนอกเป็นทาน
    - การให้ชีวิตของตนเป็นทาน ได้บุญมากกว่าการให้อวัยวะเป็นทาน
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]คุณสมบัติของผู้รับที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมาก
    ผู้รับทาน หรือเนื้อนาบุญที่ดี อันจะส่งผลให้ผู้ที่ทำบุญด้วยได้บุญมากนั้น มีคุณสมบัติดังนี้
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]- เป็นผู้ที่มีศีลมาก และถือศีลนั้นได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เป็นคนทุศีล หรือต่อหน้าเป็นอย่างหนึ่ง แต่พอลับหลังกลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง
    - เป็นผู้ที่มีจิตเป็นสมาธิ สงบ ผ่องใส ไม่ถูกนิวรณ์ทั้ง 5 ครอบงำ (ดูเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ)
    - เป็นผู้ที่ปราศจากกิเลส หรือมีกิเลสเบาบาง หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติเพื่อให้หมดกิเลส ซึ่งจะทำให้ผู้ให้ได้บุญลดหลั่นกันไปตามขั้น
    - การทำบุญกับสงฆ์ (สังฆทาน - การทำบุญโดยไม่เจาะจงผู้รับว่าต้องเป็นภิกษุรูปนั้นรูปนี้) จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมากกว่าปุคคลิกทาน (การให้โดยเจาะจงผู้รับ) ทั้งนี้ต้องเป็นสังฆทานด้วยใจที่แท้จริง
    - ลำดับขั้นของผู้รับ ที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมากหรือน้อยนั้น ขอให้ดูรายละเอียดในเรื่องเวลามสูตร ในหมวดธรรมทั่วไป ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแจกแจงไว้อย่างชัดเจน
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]คุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทั้งของผู้ให้ สิ่งของที่ให้ และผู้รับของนั้น ถ้ายิ่งมีมากและสมบูรณ์มากเท่าใด ผลบุญที่ได้รับก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณสมบัติดังกล่าวลดน้อยลงไปมากเท่าใด ผลบุญที่ได้ก็จะน้อยลงตามไปด้วย
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]หมายเหตุ
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]- ในส่วนของผู้รับทานนั้น ความปราศจากกิเลส หรือมีกิเลสเบาบาง (ผลจากการเจริญวิปัสสนา) มีผลให้ผู้รับได้บุญมาก มากกว่าสมาธิ
    - สมาธิมีผลให้ผู้รับได้บุญมาก มากกว่าศีล
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ทั้งนี้เพราะวิปัสสนาทำให้กิเลสหมดไปได้อย่างถาวร ทั้งกิเลสขั้นละเอียด (อนุสัยกิเลส - กิเลสที่นอนเนื่องในขันธสันดาน หรือกิเลสในระดับจิตใต้สำนึก) กิเลสขั้นกลาง (กิเลสในระดับจิตสำนึก) กิเลสขั้นหยาบ (กิเลสที่ทำให้เกิดการแสดงออกทางกาย วาจา)
    ในขณะที่สมาธินั้นสามารถข่มกิเลสในส่วนของนิวรณ์ 5 ได้ในระดับของกิเลสขั้นกลาง และกิเลสขั้นหยาบเท่านั้น ส่วนกิเลสขั้นละเอียดยังคงอยู่เหมือนเดิม และเมื่อสมาธิเสื่อมไปเมื่อใด กิเลสทั้งหลายก็กลับมาได้เหมือนเดิม
    ส่วนศีลนั้นเป็นแค่เพียงแต่ข่มกิเลสขั้นหยาบเอาไว้เท่านั้นเอง
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]ที่มา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]http://variety.teenee.com/foodforbrain/2091.html[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, CordiaUPC, BrowalliaUPC]http://www.geocities.com/tmchote/Thumma/Tana/tn001.htm

    [/FONT]
     
  2. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p



    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
     
  3. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...