ธรรมกายในความหมายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 25 มกราคม 2015.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ธรรมกายในความหมายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อวัดปากน้ำบอกว่า พระพุทธเจ้าก็คือ ธรรมกาย หรือธรรมกายก็คือพระตถาคตเจ้านั่นเอง แต่ก็มีความหมายอีกหลายอย่างหรือหลายนัยซึ่งหลวงพ่อวัดปากน้ำพูดถึง เท่าที่ค้นพบมีดังนี้

    ***********************************************

    ๑.ธรรมกายเป็นกายในกายที่สุดละเอียดของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย อันประมวลความบริสุทธิ์ ๓ ประการ เข้าไว้ คือ

    กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริงรวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎกเป็น ปฐมมรรค

    ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริงรวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็นมรรคจิต

    ดวงปัญญา เป็นเนื้อหนังที่แท้จริงรวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรม หรือ พระปรมัตถ์ปิฎก เป็น มรรคปัญญา


    ***********************************************

    ๒. ธรรมกาย เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นตรัสรู้ หรือพระอรหันต์บรรลุถึง ดูจากข้อความว่า ความอุบัติเป็น “เด่น” ขึ้นของ “ธรรมกาย” ในแต่ละสัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย “พระธรรมกาย” นั้น

    การเกิดขึ้นดังกล่าว เป็นการเกิดขึ้นของธรรมกายหลังจากการเกิดขึ้นของรูปกายดังคำว่า “ความอุบัติขึ้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยรูปกายอุบัติ และธรรมกายอุบัติ” พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช ปุสสเทว ชำระโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรส ว่า

    “แม้องค์พระตถาคตอังคีรสศักยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ซึ่งมีความปรากฏในโลกอันสัตว์ได้ด้วยยาก ดังนี้ พระองค์ก็ได้อุบัติเกิดขึ้นแล้วในโลก ด้วยรูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติทั้ง ๒ ประการ พร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมดาธรรมชาตินิยมโดยพุทธธรรมดา

    นี้เป็นเอกสารหลักฐาน ซึ่งแสดงถึงความอุบัติขึ้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในฐานะรูปกายอุบัติ และธรรมกายอุบัติ และเฉพาะ “ธรรมกาย” อุบัติ นั้นก็คือเมื่อ “ตรัสรู้”พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งครอบคลุมถึงความตรัสรู้ในพระอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เช่นเดียวกับพระอรหันต์ทั้งหลายอีกด้วย


    ***********************************************

    ๓. ธรรมกาย เป็นพระนามหนึ่งของพระตถาคต หรือพระพุทธเจ้า
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้อธิบายว่า ธรรมกายนี้ก็คือพระตถาคตเจ้า และว่า พระพุทธเจ้า ก็คือ ตัวธรรมกาย ถึงธรรมกายก็เหมือนถึงพระธรรมเจ้า และเป็นกายธรรม เรียกว่าพระพุทธเจ้า

    อัคคัญญสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ ว่า เราตถาคตคือธรรมกายธมฺมกาโย อหํ อิติปิ พระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย ชื่อธรรมกาย มีคำรับรองว่า ดูก่อน วาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่าธรรมกาย ธรรมกายน่ะ เป็นตถาคตโดยแท้

    นอกจากนั้นมีการอธิบาย โดยได้อ้างถึงเรื่อง วักกลิสูตร ดังที่กล่าวในบทว่าด้วยพระไตรปิฎกและขยายว่า คำว่า “ผู้ใดเห็นธรรม” หมายถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือ “ธรรมกาย”


    ***********************************************

    ๔. ธรรมกาย เป็น “อสังขตธาตุ อสังขตธรรม” อันผู้มีปัญญาพึงปฏิบัติให้เข้าถึงพึงรู้เห็นและเป็นตามรอยบาทพระพุทธองค์

    ธรรมกายเป็นธรรมที่ซึ่งแปลว่า “ทรง” เมื่อเพ่งตามอาการแล้ว ก็มีทรงอยู่ ๒ อย่างคือ ทรงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเรียกว่า อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรืออมตธรรม ธรรมที่ไม่ตายอย่างหนึ่ง......

    คำว่า “ธรรมกาย” ในที่นี้เข้าใจว่า หมายเอาอสังขตธรรมหรืออมตธรรมที่เป็นส่วนโลกุตตรธาตุหรือโลุตตรธรรม ไม่ใช่โลกิยธาตุหรือโลกิธรรม”


    ***********************************************

    ๕. ธรรมกาย หมายถึง สิ่งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระอรหันตขีณาสพทั้งหลายเป็น เพราะท่านเป็น “ธรรมกาย” ด้วยกันทั้งนั้น


    ***********************************************

    ๖. ธรรมกาย เป็นชื่อของกายหนึ่งในกาย ๑๘ กาย คือคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำได้แบ่งกายออกเป็น ๑๘ กาย เมื่อพ้นจากกายโลกิยะ ( ๘ กายข้างต้น) แล้วก็จะถึงกายธรรม หรือ “ธรรมกาย” เป็นกายที่ ๙-๑๐ ตั้งแต่กาย ที่ ๙-๑๐ ไปเป็นกายโลกุตตระ ซึ่งจะมีกายในกายต่อไปจน สุดละเอียด และในแต่ละกายสุดหยาบสุดละเอียดนี้ยังเป็นที่ตั้งของธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ขยาย ส่วนหยาบเจริญเติบโตออกมาเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ (กรณีกายโลกิยะ) หรือ ญาณะ (กรณีกายธรรม) ของแต่ละกายที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ สุดกายหยาบและกายละเอียดนั้นเองด้วยและยังมีกายภาคผู้เลี้ยง (จักรพรรดิ) ภาคผู้สอด (วิชชา หรือ อวิชชา แล้วแต่กรณีว่าเป็นธาตุธรรมฝ่ายพระ หรือฝ่ายมาร ) ภาคผู้ส่ง ภาคผู้สั่ง ภาคผู้บังคับ ภาคผู้ปกครอง (ซึ่งมีทั้งภาคผู้ปกครองย่อย ของแต่ละกาย และรวมย่อยหมดทั่วทุกกายของมนุษย์หรือสัตว์แต่ละตัวตน และทั้งผู้ปกครองใหญ่ประจำภพ คือภาพกามภพ รูปภพ และอรูปภพ และรวมใหญ่หมดทั้งภพและจักรวาลต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วก็จะเป็นองค์ต้นธาตุต้นธรรมใน “อายตนนิพพานเป็น”

    ***********************************************

    ๗. ธรรมกาย หมายถึง สัทธรรมแท้ ๆ ดังประโยคว่า “นี่ส่วนธรรมกาย ดวงสัทธรรมที่เป็นธรรมกายนั่นแหละ ดวงนั้นแหละเป็นตัวสัทธรรมแท้ ๆ ฯลฯ”


    ***********************************************

    ๘. ธรรมกาย หมายถึง กายที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ดูจากข้อความว่า

    ความอุบัติโดยธรรมกายนั้น ก็มิใช่การเกิดตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมโดยมีอวิชชาเป็นมูลรากฝ่ายเกิดแต่ประการใด แต่เป็นความอุบัติขึ้นด้วยความบริสุทธิ์อันประมวลเข้าไว้ดังที่ได้กล่าวแล้ว จึงมิใช่นาม-รูป มิใช่นิมิต อันเกิดแต่อวิชชา หรือกิเลสตัณหาใด ๆแต่เป็น “ธรรมกาย”ที่บริสุทธิ์ หรือ “พรหมกาย” ที่ประเสริฐ เป็นกายที่ยั่งยืนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายดังผู้ปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายได้ เห็นปรากฏว่าที่อยู่ในอายตนนิพาน นับประมาณจำนวนองค์ไม่ถ้วนอยู่แล้ว


    ***********************************************

    ๙. ธรรมกาย เป็นชื่อวิชชาอย่างหนึ่งที่สำคัญ โดยใช้คำว่า “วิชชาธรรมกาย” ในหลาย ๆ แห่ง เช่น วิธีการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้น มีสติปัฏฐาน ๔ อยู่ในตัวพร้อมเสร็จแนวทางปฏิบัติภาวนาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายที่ผู้ปฏิบัติธรรมรวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด ผ่านกาย เวทนา จิต และธรรมแล้วทำนิโรธ


    ***********************************************

    ๑๐. ธรรมกาย เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่อยู่เหนือความปรุงแต่ง ด้วยบาปอกุศล (อกุศลลา ธัมมา) และแม้ด้วยบุญกุศล (กุสลธัมมา) ในระดับโลกียธรรม กล่าวคือ เป็นความดีสูงที่สุดจนเป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ทั้งองค์ เป็นวิสุทธิขันธ์ หรือวิสุทธิสัตว์แท้ ๆ เป็นกายที่เที่ยงแท้ยั่งยืนพระพุทธองค์จึงได้ทรงเรียกธรรมกายบ้าง พรหมกายบ้าง แทนคำว่า “ตถาคต” โดยนัยนี้ธรรมกายจึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา

    คำว่า ธาตุล้วน ธรรมล้วน หมายถึงธาตุที่มีตั้งอยู่แล้ว ธรรมนี้มีตั้งอยู่แล้วในคำว่า จิตา ว สา ธาตุ ธมฺมฏจิตตา ธาตุแบ่งเป็น สังขตธาตุ อสังขตธาตุ ราคธาตุ วิราคธาตุ ส่วนธรรมก็คือ สังขตธรรม อสังขตธรรม ราคธรรม วิราคธรรม ซึ่งวิราคธาตุ วิราคธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐเลิศกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม อสังขตธาตุ และอสังขตธรรม


    ***********************************************

    ๑๑. ธรรมกาย คือสิ่งที่จะนำไปสู่พระนิพพาน ดูจากข้อความว่า ธรรมกายนี้มีความสำคัญ และรักษาชีวิตไว้เป็นอยู่ด้วย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถ้าไม่มีก็ดับ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านกล่าวว่า พระตถาคตเจ้า ไม่ได้สอนอย่างนั้น สอนให้เห็นธรรมกายเท่านั้น ให้เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ .....ให้เข้าถึงกายมนุษย์......กายพระอรหัตละเอียด


    ***********************************************

    ๑๒. ธรรมกาย หมายถึงกายของนิพพาน ดังที่หลวงพ่อวัดปากน้ำกล่าวว่า “....นิพพานมีขันธ์ ของนิพพาน เรียกว่า ธรรมขันธ์ หรือ ธรรมธาตุ กาย เรียกว่า ธรรมกาย.......


    ***********************************************

    ๑๓. ธรรมกาย เป็นปรมัตถธรรม ที่ไม่ใช่นามรูป ดังที่พระมหาเสริมชัยกล่าวว่า ธรรมกาย ไม่มีนามรูป เพราะวิญญาณดับแล้ว เป็นธรรมกาย ไม่ใช่นาม ไม่ใช่รูป เป็นปรมัตถธรรม

    จากนัยของคำว่าธรรมกายในคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำดังที่กล่าวมานี้ ทำให้เห็นว่ามีความหมายครอบคลุมตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด ถึงกายของนิพพาน หมายถึงธรรมทั้งปวงก็ได้ หมายถึงพระนามหนึ่งของพระพระพุทธเจ้าก็ได้ หมายถึงสังขตธรรม(กายโลกีย์)หรืออสังขตธรรม(กายโลกุตตระ)เป็นต้นธาตุต้นธรรมก็เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนก็ได้ เป็นผู้เข้านิพพานก็ได้ เป็นวิชชาอย่างหนึ่งที่เรียกว่าวิชชาธรรมกายก็ได้ รวมถึงที่เรียกว่า ปรมัตถธรรมก็ได้

    “ถ้ามนุษย์ได้เห็นธรรมกาย มนุษย์คนนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่หลับแล้ว ถ้ามนุษย์ใดยังไม่เห็นธรรมกาย ยังไม่เป็นธรรมกาย มนุษย์นั้นยังหลับอยู่ มารมันยังกดหลับอยู่ ยังไม่ตื่นเลย บางทีตายเสียชาติหนึ่งยังไม่ตื่นเลย หลับเรื่อยไปเสียทีเดียว

    บางคนเห็นปรากฏ ตื่นทีเดียวมีธรรมกายบางคนไม่เดียงสา มีธรรมกายใหญ่โตมโหฬาร เช่นนี้แล้ว มาถึงรัตนะอันเลิศประเสริฐเช่นนี้แล้ว กลับไปวางเสียก็มี แปลกประหลาดนัก ลืมตาขึ้นแล้วกลับไปตาบอดก็มี อย่างนี้น่าอัศจรรย์นัก”


    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    ***********************************************


    แจ้งข่าวงานฝึกอบรมสมาธิวิชชาธรรมกาย
    โดย ชมรมพัฒนาใจให้สว่างใส
    เปิดอ่านที่นี่ https://www.facebook.com/khunsamatha2557
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • thamakaya.jpg
      thamakaya.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.6 KB
      เปิดดู:
      332
    • page123.jpg
      page123.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.2 KB
      เปิดดู:
      174
    • page2558.jpg
      page2558.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137 KB
      เปิดดู:
      187
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    Tingtong wa
     
  3. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ช่วยอธิบายทีครับ ว่าในโพธิปักขิยะธรรม 37 มีอะไรคือธรรมกาย

    ในธรรมกาย มีข้อไหน เป็นสติปีฏฐานสี่

    ในธรรมกายมีข้อไหนคือ นิพพานคือสุญญังคือสุขขัง

    ถามแค่นี้ก่อนครับ ช่วยอธิบายทีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 มกราคม 2015
  4. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ผมไม่ค่อยถูกกันเท่าไหร่ กับ ธรรมกายทุกวันนี้ รวม พวกมโนมยิทธิรือสีลิงแดงด้วย...เบื่อมากครับ
     
  5. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    ส่วนหนึ่งก่อนที่คุรจะถามอะไรเรื่องธรรมกาย คุณต้องเข้าใจก่อนว่า คติเรื่องธรรมกายนี้ มันมีการพัฒนา เริ่มจากยุคพระพุทธเจ้าอย่างไร จนกลายเป็นธรรมกายในแบบที่เรา ๆ กล่าวอ้างกันถึงในปัจจุบัน

    สิ่งที่คุณมองคุณอาจนำไปเปรียบกับยุคเริ่มหรือจุดกำเนิดของคำศัพท์ แต่ธรรมกายในแบบที่เรารู้จักเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาในยุคมหายาน อย่างน้อยหลังพุทธกาลก็ร่วม 7-900 ปี

    ผมไม่ทราบว่าภาษาอังกฤษคุณเป็นอย่างไร แต่ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างหนังสือและพระสูตรที่เขาเขียนเรื่องการพัฒนาของธรรมกายในมหายานสักสองเรื่อง ถ้าคุณพออ่านได้ก้ให้ลองค้นคว้าดู เผื่อจะพอคลายสงสัยไปได้บ้าง

    เรื่องแรกคือ http://www.misterdanger.net/books/Buddhism%2520Books/The%2520concept%2520of%2520the%2520Buddha.pdf&rct=j&frm=1&q=&esrc=s&sa=U&ei=1ZzEVJDFG4Hp8AWovIGIDA&ved=0CBkQFjAB&usg=AFQjCNFapYFMJw__4cM8lvNF3XeuaITzkg
    เล่มนี้ผมอ่านจบมาหลายปีแล้ว เป็นเล่มที่ดีมากๆ เขียนได้ละเอียดจากการค้นคว้าที่มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน

    เล่มที่สองคือเป้นพระสูตรเล่มที่สำคัญมาก ๆ ในเหล่ามหายาน นั่นคือ อมิตาภะสูตรhttp://read.goodweb.cn/PDF/p31/Amitabha Sutra.pdf เป็นพระสูตรที่อธิบายถึงที่มาของคำว่าอมิตาภะ ถ้าคุณลองอ่านดู จะมองเห็นได้ว่า คำ ๆ นี้พัฒนามาจากคติเรื่องธรรมกายนั่นเอง บางทีก็ไปคล้ายกับคติเรื่องพระพรมหมณ์ แต่ในอมิตาภสูตรจะอธิบายโดยแก้ลำว่า พระพรหมณ์เป็นเรื่องของบุคลาทิษฐาน แต่พระอมิตาภะผู้ซึ่งเป็นสัตย์จริงเป็นธรรมที่อยู่เหนือธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวบุคคล แต่เป็นธรรม เรื่องนี้อธิบายยากต้่องอ่านเอง มิเช่นนั้นต้องตั้งกระทู้ใหม่เพื่อคุยเรื่องนี้โดยเฉพาะ

    เรื่องพวกนี้ลองค่อยๆ ศึกษา แต่ถ้าจะเอามาเปรียบกับเถรวาท เราก็ต้องเข้าใจก่อนว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าอย่างไร และคนยุคหลังคิดอย่างไร พัฒนาไปอย่างไรถึงได้กลายมาเป้นแบบที่เรารู้จักในปัจจุบัน ไม่ยังงั้นตีกันตาย เพราะมองกันคนละมุม

    พระพุทธเจ้าเองพูดเรื่องนี้ไว้ไม่กี่คำ แต่ก็ถูกนำไปต่อยอดจนกลายเป็นแนวคิดหลักในมหายานในยุคหลัง
    สิ่งที่หลวงพ่อสดรู้ หรือสิ่งที่คุณเจ้าของกระทู้นำมาเขียน ก็เป็นเรื่องของการตีความตามภูมิธรรม ตามประสบการณ์ของท่าน ๆ เอง เรื่องนี้ในที่นี้คงไม่หยิบยกมาอภิปราย เพราะมันก็เป็นมุมที่ท่าน ๆ เองสามารถมองได้เกี่ยวกับหัวข้อนี้อยู่แล้ว ท่านเองก็ได้อธิบายได้อย่างละเอียดอยู่แล้ว แต่อย่างที่บอกข้างต้น ถ้าอยากรู้ว่าคนอื่นว่าอย่างไรก็ให้เริ่มจากหนังสือที่ยกตัวอย่างให้ข้างบนก่อนแล้วกัน

    อีกเรื่อง ธรรมกาย ณ ปทุมธานี และธรรมกาย ณ วัดปากน้ำ เท่าที่ผมพอศึกษาดู พอจะเข้าใจได้ว่าค่อนข้างจะเป็นคนละเรื่อง ธรรมกาย ณ วัดปากน้ำ มีความใกล้เคียงกับเรื่องตันตริกของธิเบตมากในหลาย ๆ มิติ แต่ธรรมกาย ณ ปทุมธานีนี่ผมไม่ขอแตะต้อง (ลูกศิษย์ลูกหาเขาเยอะอยู่ ไม่เช่นนั้นอาจโดนบอมบ์ ซึ่งนั่นคงไม่เป้นผลดี) แต่ถ้าใครศึกษาอะไร ให้ยึดแนวที่พระพุทธเจ้าสอนและให้เทียบเคียงเอาเองได้จากการค้นคว้าและยึดหลักกาลามสูตรไว้จะเป็นการดีที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่เชื่อเพราะเราต้องการที่จะเชื่อ หรือคนอื่นว่ากันเชื่อตามกันมา และหรือที่ครูบาอาจารย์เขาว่ามาว่าอย่างนั้น เรื่องนี้พระพุทธเจ้าก็บอกไว้ในกาลามสูตรชัดเจนอยู่แล้ว สงสัยให้มาก มันจะทำให้เรารู้ลึกรู้จริงเองจากการค้นคว้าและปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2015
  6. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ไม่ออกความเห็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2015
  7. จรัล

    จรัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +405
    ประทานโทษแล้วคุณมาจากไหนและจะไปใหนครับ
     
  8. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ผมเกิดจากอวิชชา เข้าถึงนิพพานแล้ว และจะนำพานิพพานมาสู่โลก

    มาล้างพวกติงต๊อง ครับ
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ความเห็นส่วนตัวผมนะ ทั้งธรรมกายและมโนมยิทธิ ก็พวกหลงในอภิญญาด้วยกันทั้งนั้นแหล่ะ พวกสูญญาตาด้วย สามพวกนี้

    ถ้าจะเคารพในพระศาสดาจริงๆ ก็ยกสติปัฏฐานสี่มาเลยครับ ในเมื่อก็รู้ๆกันอยู่ว่านี่คือ หนทางตรงที่สุดที่มุ่งสู่นิพพาน ถ้าเป็นสาวกที่เคารพในพระศาสดาจริงๆ ก็ยกพระนิพพานมาเลยครับ เพียงเรื่องเดียว ไม่ต้องยกกายธรรมกายพระพุทธเจ้า ไม่ต้องยกเอามโนมยิทธิคือวิธีไปพระนิพพาน ไม่ต้องยกเอาสูญญตามาแทนคำว่าพระนิพพาน หรอก

    ก็เอาเหตุผลที่ ฟังได้ มาอธิบายสิครับ
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ถ้าคิดว่าผมเข้าใจผิด ก็เอาที่เข้าใจถูกของพวกคุณพร้อมเหตุผล มาอธิบาย สิครับ
    ผมไม่ได้ไส่ร้ายนี่ครับ ผมก็พูดด้วยเหตุด้วยผลของผม
     
  11. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ก็ถ้า ทางไปพระนิพพานมี โพธิปักขิยะธรรม 37 เส้นทาง
    แต่พระพุทธองค์ทรงชี้ว่า ทางที่ตรงที่สุดคือ สติปัฏฐานสี่ แล้วทำไม พวกเรา เหล่าพุทธบริษัท ไม่พากันเดินในเส้นทางที่ตรงที่สุดล่ะครับ จะพากันเดินทางอ้อม ทางคดเคี้ยว ไปทำไมกันนะ

    ถ้าผมพูดผิด ก็แย้งมาพร้อมเหตุผลสิครับ
     
  12. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ถ้าผมพูดในฐานะ พุทธบริษัทคนหนึ่ง มันจะพูดไม่ได้หรือครับ

    ถ้าผมจะพูดว่า สาวกชั่วๆมีมากมาย เต็มบ้านเต็มเมือง มันผิดกับความเป็นจริงตรงไหนครับ
     
  13. สิบหก

    สิบหก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    680
    ค่าพลัง:
    +603
    ข้าพเจ้าใช่เวลา 3 ปีศึกษา สิ่งที่ท่านปรามาส แต่ก็แค่งูๆ ปลาๆ จากที่ไม่รู้อะไรเลย เกี่ยวกับพุทธศาสนา มาวันนี้เริ่มเข้าใจมากขึ้นไปอีก นิส.. นึ่ง

    ขอ อุปมาว่า เหมือน บุคคลหลายกลุ่ม จำพวก กำลังจะเดินทางโดยมี จุดหมาย คือ อินเดีย
    บางพวกก็ไป ทางเครื่องบิน เพราะมีสตังซื้อตั๋ว
    บางพวก ก็นั่งเรือ เพราะได้เที่ยวทะเล
    บางพวกก็นั่งรถไฟ เพราะปลอดภัย
    บางพวกก็นั่ง รถ เพราะสะดวกสบายพักไปเรื่อยๆ
    บางพวกก็ เดิน เพราะไม่มี สตัง ไม่มีทุกสิ่ง

    จึงมีปัญญาทำได้โดยเดินไป แต่ทุกกลุ่ม ทุกพวก ก็ไป ถึงจุดหมายคือ
    อินเดีย ช้า เร็ว ต่างกันไป
    มีอุปสัค บางตามสภาพ แวะพัก แวะเที่ยว ตามแต่ชอบใจ

    ปล. (ปัญญาข้าพเจ้ามีเพียง เท่านี้ขออธิบายเท่านี้)
     
  14. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ผมไม่ได้มีเจตนาปรามาส ถ้าปรามาสแปลว่า มีความเข้าใจผิดเจือปนอยู่ด้วย

    ปรามาสอาจแปลว่า ไม่รู้ แต่ผมมีเหตุผลของผมและ ถามหาคำตอบหาคำอธิบาย

    ว่าที่ผมแย้งมันผิดก็อธิบายที่ถูกมา สิครับ ก็แค่นั้น

    ก็ผถามว่า ทำไมต้องไปทางอ้อม ทางคดเคี้ยว
     
  15. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ปลายทาง ธรรม มะ กาย อยู่ที่ใด?
     
  16. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    เข้าใจว่า ธรรมกายจากหลวงพ่อสด เป็นสภาวะธรรม อันหนึ่งที่มีอยู่จริง

    ผู้ปฏิบัติในแนวทางนี้ ควรตั้งอธิษฐานมุ่งตรงต่อ นิพพาน ด้วยการเจริญสมาธิ ให้มาก ถึงระดับ ฌาน

    เพียงแค่ สมาธิธรรมดา จะเข้าไม่ถึงธรรมกาย

    ทาน คือ การให้ การให้นี้ต้องถึงขั้นสูงสุด คือ การอโหสิกรรม และ ให้อภัยเป็นแทน
    ศีล ต้องบริบูรณ์ หมดจด

    จึงจะสามารถทำสมาธิ ถึงระดับ ฌานได้

    ถ้ายังขาดพื้นฐานนี้ ธรรมกายของผู้นั้นที่จะเข้าถึงสภาพดวงแก้วที่แท้จริง ยังอีกห่างไกล เนื่องจากยังไปยึดธรรมเครื่องเนิ่นช้าบางประการอยู่ ดวงแก้วที่ปรากฏภายใต้ธรรมเครื่องเนิ่นช้า จะเป็น ดวงแก้วที่ปรุงแต่งขึ้น ไม่ใช่สภาวะธรรมที่บริสุทธิ์


    ไม่รู้ ผู้ที่ดำเนินแนวทางหลวงพ่อสด เห็นเช่นนี้ หรือไม่ อิอิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2015
  17. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ก็ที่เขาเล่ากัน ว่ามีครูอาจารย์เป็นผู้นำจิตเหมือนมโนมยิทธิ แล้วกำหนดกายขึ้น แล้วค่อยๆกำหนดเข้ากายละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ บอกว่า นี่คือการชำระกิเลส อีกแบบหนึ่ง

    มีอาจารย์ชี้นำ และ เหมือนกับการนั่งสมาธิ ที่พักกายพักความคิด คือมันชำระกิเลสหรือเข้าใจในพระไตรลักษณ์ได้ยังไงกัน
     
  18. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    อันนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่า เขาทำกัน ยังไง เพราะไม่เคยไปข้องแวะ

    เพียงแต่เข้าใจ และ เข้าถึง สิ่งที่หลวงปู่สด กล่าว

    ในบรรทัดสุดท้าย ที่เคยอ่านผ่านตามา ยังไม่เคยเห็นส่วนของวิปัสสนาในเรื่องธรรมกาย ผ่านตาเฉพาะการได้สภาวะฌาน ระดับฌาน2 (ปิติ) อันเป็นเป้าหมายของธรรมกายนี้

    เลยไม่รู้ว่า วิปัสสนามีอยู่ในเนื้อหานี้รึเปล่า หรือ ต้องไปเพิ่มเติมเองจากพระไตรปิฏก

    รอผู้รู้ ชี้แนะ
     
  19. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ความเห็นส่วนตัวคิดว่า

    ธรรมกาย เหมาะกับผู้มีจริต ทาง กาย เวทนา
    หรือ มีปัญหาทางกาย และ เวทนา รบกวนอย่างงงงมากกกกกก
    ซึ่ง ไม่สามารถเข้าถึงจิตตา ธรรมมา ได้ง่ายๆเอาเลย
     
  20. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ผมมารู้แล้วว่า ถ้าใครอยากชำระกิเลสเพื่อเข้าถึงสัมมาทิฐิ ได้เร็วได้ไว มีอยู่วิธีหนึ่งดีกว่าธรรมกาย นี่เสียอีก แค่ว่า หาคนตั้งใจทำจริงๆ มันไม่กล้าทำ นั่นก็คือ พุทธานุสติ ให้ระลึกคุณของพระพุทธเจ้าเป็นฐานของสติ ทุกเวลา น้อมใจน้อมกายระลึกถึงพระพุทธเจ้าและคุณของพระพุทธเจ้าได้ทุกวินาที

    เนี่ย ไม่ไช่ระลึกพระพุทธรูปนะครับ คนละแบบคนละอารมณ์กันครับ ที่ผมว่าหาคนตั้งใจทำจริงๆยากเพราะ คนรู้ตัวว่ายังไม่ตั้งใจละชั่วได้จริงๆ เลยไม่กล้าเอามาระลึก
     

แชร์หน้านี้

Loading...