ธรรมทั้งหลายล้วนรวมลงที่จิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 2 เมษายน 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <font size='4'><font color='#ff0000'><b>ธรรมทั้งหลายนั้น แบ่งออกเป็น ๒ คือ โลกียธรรม ๑ โลกุตตรธรรม ๑ ธรรมดังกล่าวทั้ง ๒ นั้น ล้วนเป็นเรื่องราวต่างๆ ที่ต้องเกิดขึ้นในโลกทั้งสิ้น</b></font>

    <font color='#ff0000'><b>โลกียธรรม</b></font> คือ เรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาในโลก แต่เป็นส่วนของการยึดมั่นถือมั่นที่ติดข้องอยู่ในโลก เมื่อบุคคลผู้ได้กระทำไปแล้ว ย่อมต้องวนเวียนกลับมาเกิดใหม่ในโลกนี้ โลกหน้า จะเป็นโลกแห่งกายหยาบ หรือโลกแห่งกายทิพย์ก็ตาม อันมีเทวดา มาร พรหม โอปปาติกะ เปรต อสูรกาย ฯลฯ

    ยังต้องหมุนเวียนเป็นวัฏฏะวน ตราบใดที่ยังผูก "จิต" ติดข้องอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำจิต ตราบนั้นยังต้องหมุนวนเข้ามาเกิดแล้วเกิดอีกไม่มีวันจบสิ้น จนกว่าจะได้พบเจอ "พระสัทธรรม" คือทางสายเอก ที่เรียกว่า "อริยมรรค" เป็นทางเดินของจิตนำไปสู่ความเป็นอริยบุคคล

    <font color='#ff0000'><b>โลกุตตรธรรม</b></font> คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกเช่นกัน แต่เป็นธรรมแท้ เรียกว่า "พระสัทธรรม" เป็นทางสายเอก เหตุแห่งการหลุดพ้นโลก เหนือโลก เป็นเรื่องราวเฉพาะเจาะจงลงไปที่การปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา เพื่อชำระ "จิต" ของตนให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย หลุดพ้นจากการครอบงำของ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

    หมดความยึดมั่นถือมั่น สลัดคืนเพื่อกลับไปสู่ความเป็น "อมตะธาตุ อมตะธรรม" หรือ "ธรรมธาตุ" เป็น "อกุปปธรรม" ธรรมที่เที่ยงตรง คงที่ ไม่หวั่นไหวแปรปรวนไปตามเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดในโลกอีกต่อไป เป็นธรรมของพระอริยเจ้าตั้งแต่ชั้น พระโสดาบัน ยันพระอรหันต์ มีเฉพาะในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น

    <font color='#0000ff'><b>เมื่อรู้จักธรรมทั้งหลายแล้ว ควรต้องหันมาศึกษาสนใจเรียนรู้ว่า ธรรมทั้งหลายดังกล่าวมานี้ ล้วนเกิดขึ้นที่ไหน? ถ้าไม่ใช่ที่ "จิต" ของตน</b></font>

    พอกล่าวถึง "จิต" มักเป็นยาขมหม้อใหญ่ ให้เป็นที่ต้องถกกัน เพราะจิตเป็นนามธรรมไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่า จิตไม่มีรูปร่างให้จับต้องได้ แต่บุคคลทุกคนรู้ได้ว่าตนเองมีจิตอยู่ เนื่องจากรูป-นามขันธ์ ๕ ที่จิตเข้ามาอาศัยอยู่นั้น มีนามขันธ์อีก ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นอาการของจิตที่แสดงออกต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ

    พออุปมาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จากการพิจารณาบุคคลผู้อยู่ในห้อง "ดับจิต" ตามโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งหมายถึง จิตเคลื่อนออกไปจากร่างกายนั้นๆ ไม่มีชีวิตินทรีย์แล้ว จิตที่เคลื่อนออกไปจากรูปร่างกายอันไม่มีชีวิตินทรีย์ที่ได้เคยอาศัยอยู่นั้น ต้องเคลื่อนออกไปเพื่อหาที่อยู่อาศัยใหม่ ตามภพภูมิ ที่มีบุญนำกรรมแต่ง จากการกระทำของจิตที่ได้เคยกระทำไว้จนคุ้นชิน ที่เรียกว่า "จุติจิต"

    จุติจิตที่ว่านั้น ได้มีการปฏิสนธิวิญญาณ คือแจ้งในอารมณ์สุดท้ายที่เข้ามาประชิดปรากฏขึ้นที่จิตของตน เป็นส่วนแห่งบุญหรือบาป ขึ้นอยู่กับความคุ้นชินที่จิตของตนได้เคยกระทำเอาไว้

    ส่วน "รูป" ที่ไม่มี "จิต" อันเป็น "ธาตุรู้" เข้ามาอาศัย รูปร่างกายนั้นก็ไม่สามารถรู้ จำ นึกคิดได้ ไม่ต่างไปจากก้อนหิน ดิน ทราย ต้นไม้ ใบหญ้า ฯลฯ เพราะเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเพียงอาการของจิต ไม่ใช่ "จิต"

    รูปร่างกายที่มีจิตครอง จึงจะเกิดอาการดังกล่าว (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ปรากฏออกมาให้เห็นได้ เนื่องเพราะจิตมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำอยู่ เป็นธรรมฝ่าย "โลกียธรรม" ซึ่งเป็นธรรมที่ติดข้องอยู่ในโลก เรียกว่า "จิตสังขาร"
    = จิต+สังขาร ก็คือ จิตที่ได้นึกคิดปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่นอันมี ตัณหา อุปาทาน ยึดเอาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่จิตมาเป็นของๆตน เมื่อมีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่ง(เป็นของๆ ตน) จิตที่ติดข้อง ย่อมต้องแสดงอาการสนองตอบต่ออารมณ์นั้นๆ

    จึงเกิดเป็นความเข้าใจไปแบบผิดๆ ว่าจิตของตนที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ นั้น เกิด-ดับๆ ตลอดเวลา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นอาการของจิต ที่เกิด-ดับๆ เป็นเพราะจิตไปยึดมั่นถือมั่นเอาอารมณ์ที่เกิดขึ้น หมุนเวียนเข้ามา และดับไปจากจิตของตน เอามาเป็นตน (จิต) ไม่ใช่ "จิต" เกิด-ดับๆ แต่เป็นอาการของจิตที่แจ้งในอารมณ์นั้นๆ เกิดขึ้นและดับไปจากจิต

    มีพระพุทธพจน์ใน "มหาสติปัฏฐาน ๔" รับรองไว้ดังนี้
    <font color='#006600'><b>"สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ
    วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ

    เมื่อราคะเกิดขึ้นที่จิต ก็รู้ชัดว่า ราคะเกิดขึ้นที่จิต
    เมื่อราคะหายไปจากจิต ก็รู้ชัดว่าราคะหายไปจากจิต
    เมื่อโทสะเกิดขึ้นที่จิต ก็รู้ชัดว่า โทสะเกิดขึ้นที่จิต
    เมื่อโทสะหายไปจากจิต ก็รู้ชัดว่าโทสะหายไปจากจิต
    เมื่อโมหะเกิดขึ้นที่จิต ก็รู้ชัดว่า โมหะเกิดขึ้นที่จิต
    เมื่อโมหะหายไปจากจิต ก็รู้ชัดว่าโมหะหายไปจากจิต"</b></font>

    จากพระพุทธพจน์ที่ปรากฏข้างต้น แสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า "ธรรมทั้งหลายล้วนเกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิตของตน" ไม่ว่าจะเป็น "โลกียธรรม หรือ โลกุตตรธรรม" จิตจึงเป็นใหญ่เป็นประธานในเรื่องราวทั้งมวลที่เกิดขึ้นมาในโลก ดังมีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า <font color='#0000ff'><b>"อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ แปลว่า การทำให้จิตมีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"</b></font>ซึ่งเป็น "โลกุตตรจิต"

    การทำให้จิตของตนมีธรรมอันยิ่งได้นั้น ต้องผ่านการฝึกฝนอบรมจิต เพียรเพ่งสมาธิกรรมฐานภาวนา เพราะจิตนั้นสามารถฝึกฝนอบรมเพียรเพ่งสมาธิกรรมฐานภาวนา ชำระจนบริสุทธิ์หมดจดหลุดพ้นจากเครื่องหมอง มีธรรมอันยิ่งได้ ฉันใด น้ำก็เช่นกันสามารถผ่านขบวนการกลั่นกรองจนบริสุทธิ์หมดจดจากสิ่งปลอมปนได้ ฉันนั้น

    มีพระพุทธพจน์ที่ได้ทรงตรัสไว้ใน "นาวาสูตร" ดังนี้
    <font color='#ff0000'><b>"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยค(สัมมาสมาธิ)อยู่
    จะพึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ไฉนหนอขอให้จิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ก็จริง
    ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม
    เพราะไม่อบรมอะไร
    เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔
    เพราะไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔
    เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔
    เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕
    เพราะไม่อบรมพละ ๕
    เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗
    เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘</b></font>

    <font color='#0000ff'><b>ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนานุโยค(สัมมาสมาธิ)อยู่
    ถึงจะไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ก็จริงอยู่
    ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น(เป็นวิราคะธรรม)
    ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

    ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะว่าเธออบรม เพราะอบรมอะไร
    เพราะอบรมสติปัฏฐาน ๔
    เพราะอบรมสัมมัปปธาน ๔
    เพราะอบรมอิทธิบาท ๔
    เพราะอบรมอินทรีย์ ๕
    เพราะอบรมพละ ๕
    เพราะอบรมโพชฌงค์ ๗
    เพราะอบรมอริยมรรคมีองค์ ๘"</b></font>

    จากพระพุทธพจน์ดังกล่าวมานี้ ล้วนกล่าวถึงการฝึกฝนอบรมจิตของตน เป็นทางสายเอกหนทางเดินของจิตที่เรียกว่าอริยมรรค ๘ เพื่อนำจิตของตนเข้าสู่ความพระอริยะเจ้านั่นเอง

    ดังนั้น เมื่อใดยังมีบุคคลผู้ฝึกฝนอบรมจิตด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ เมื่อนั้นโลกจักไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์อย่างแน่นอน จิตของเราพึงหลุดพ้นแล้วด้วยดีจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น (เป็นวิราคธรรม)

    จากอีกพระสูตร
    <font color='#0000ff'><b>"ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
    และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา
    พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
    ฉะนั้น เรา(พระพุทธองค์)จึงกล่าวว่า
    พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ"</b></font>

    พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุกท่านทุกองค์ล้วนผ่านการอบรมฝึกฝนขัดเกลาจิตใจของตนกันมาแล้วทั้งสิ้น ด้วยความเพียรเพ่งในฌาน และดำเนินตามรอยพระบาท คือ เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ดังปรากฏใน "มหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒" ว่า

    <font color='#006600'><b>"ดูกรสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้
    กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า
    จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น
    ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย(เป็นวิราคธรรม) เพียงใด
    เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้"</b></font>

    เป็นที่ชัดเจนตามพระพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวไว้ดีแล้ว การประกอบภาวนานุโยค คือ การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา (สัมมาสมาธิ) ตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายของจิต (เป็นวิราคธรรม)

    ดังนั้น จึงขอกล่าวว่า อย่าเพิ่งรีบกลัวการติดสมาธิไปเลย เพียงแค่เริ่มต้นทำให้จิตสงบนิ่งตั้งมั่นรวมลงเป็นสมาธิยังทำกันไม่ได้ ทำกันไม่เป็น ยังจะรีบกลัวไปทำไม การติดความสงบนิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิ (กิเลสละเอียด) นั้น ก็ยังดีกว่าพวกที่ทำให้จิตของตนสงบนิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่ได้เลยด้วยซ้ำไป

    การติดสมาธิจนจิตสงบนิ่งตั้งมั่นนั้น ยังพอที่จะให้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ท่านแนะนำสั่งสอนให้รู้จักวิธีผ่อนปรนเพื่อเลิกอาการติดสมาธิได้ ส่วนพวกที่ไม่สามารถทำจิตของตน ให้มีสติสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เป็นสมาธิ แม้ชั่วขณะช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ก็ยังทำไม่ได้เลย แล้วจะพูดไปใยถึงเรื่องความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ให้เสียเวลาไปเลยดังนี้ สาธุ

    <font color='#0000ff'><b>สาธุ เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
    ธรรมภูต</b></font></font>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...