ธรรมะจากผู้รู้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    สันตินันท์
    (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม: สงสัยว่าเมื่อมีสมาธิจากการนั่งสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาได้อย่างไรขึ้นกับชนิดของสมาธิด้วยนะครับถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ นั่งเอาสงบเคลิบเคลิ้ม หรือเที่ยวรู้เที่ยวเห็นร่อนเร่ออกไปภายนอกก็ไม่ใช่ต้นทางของปัญญาแต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ นั่งเพื่อความมีสติสัมปชัญญะ มีความตั้งมั่นของจิตแล้วเอาจิตนั้นไปรู้ความเกิดดับของรูปนามอย่างเป็นปัจจุบันก็เป็นทางแห่งปัญญาครับ

    http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001204.htm?1#1


    ถาม: เมื่อเช้า ขับรถออกจากบ้านมีลูกแมวตัวเล็กๆ ร้องลั่น หันไปดู ขาหลังลาก เลยครับความรู้สึกแรกคือเราคงออกรถทับขามันเข้าให้แล้ว เห็นมันร้องและดิ้น ทันใดนั้นเข้าใจว่าเป็นแม่หรือพ่อมันล่ะครับวิ่งมา เพราะลายเดียวกัน มันหันมามองแบบจะเอาเรื่อง จะพาไปหาหมอก็รีบมากเพราะสายแล้ว ไม่สบายใจมาตลอดทาง กะว่าเย็นนี้จะไปดูมันแล้วพาไปหาหมอ มันเป็นแมวจรจัดน่ะครับ ที่จะถามคือผมไม่ได้มีเจตนาเลยที่จะทำให้เขาเดือดร้อน จะบาปไหมครับ หรือว่าเป็นกรรมของเขาครับ ไว้เจอตัวอีกทีจะพาเขาไปหาหมอครับขอเสนอให้ทำใจให้สบายได้แล้วครับไม่ควรปล่อยให้ความเศร้าหมองกัดกร่อนใจตนเองนานๆเราไม่มีเจตนาจะทำร้ายสัตว์ แต่มันก็บาดเจ็บไปแล้วความเสียใจของเรา ไม่ได้ก่อประโยชน์อะไรเลยครับมีแต่จะทำให้อกุศลจิตยืดเยื้อออกไปอีกเย็นนี้ลองไปดูมัน ถ้ามันยังอยู่ จะพาไปหาหมอก็ขออนุโมทนาครับ

    http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001577.htm?2#2


    ถาม: เป็นน้องใหม่เพิ่งเริ่มต้นค่ะ ไม่ทราบว่าการดูจิตคืออะไร ทำอย่างไร ดูแล้วมีผลอย่างไร

    ความหมายของการดูจิตคำว่า การดูจิต เป็นคำที่นักปฏิบัติกลุ่มหนึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายกันเองภายในกลุ่มหมายถึงการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทุกบรรพ)จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทุกบรรพ)รวมถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน(บางอย่างที่เป็นฝ่ายนามธรรม)กล่าวอย่างย่อ ก็คือการเจริญวิปัสสนาด้วยอารมณ์ฝ่ายนามธรรมได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง

    วิธีการเจริญวิปัสสนา (ดูจิต)การเจริญวิปัสสนาทุกประเภท รวมทั้งการดูจิต ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติ "รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลางเท่านั้น"แต่จะรู้ได้ถูกต้อง ก็ต้อง (๑) มีจิตที่มีคุณภาพและ (๒) มีอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง เท่านั้นซึ่งจิตที่มีคุณภาพสำหรับการทำสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาได้แก่ จิตที่มีสติ (สัมมาสติ) สัมปชัญญะ (สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสมาธิส่วนอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง คืออารมณ์ที่มีตัวจริงที่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้หรือที่นักปฏิบัติมักจะเรียกว่าสภาวะ และนักปริยัติเรียกว่าอารมณ์ปรมัตถ์เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ก็ให้ (๑) มีสติเฝ้ารู้ให้ทัน (มีสัมมาสติ)(๒) ถึงอารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ (มีอารมณ์ปรมัตถ์)(๓) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เผลอส่งส่ายไปที่อื่น และไม่เพ่งจ้องบังคับจิต (มีสัมมาสมาธิ)แล้ว (๔) จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (มีสัมปชัญญะ/สัมมาทิฏฐิ)การมีสติเฝ้ารู้ให้ทัน หมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็ให้รู้เท่าทันเช่น ขณะนั้นรู้สึกมีความสุข ก็ให้รู้ว่ามีความสุขเมื่อความสุขดับไป ก็ให้รู้ว่าความสุขดับไปมีความโกรธก็รู้ว่ามีความโกรธเมื่อความโกรธดับไปก็รู้ว่าความโกรธดับไปเมื่อจิตมีความทะยานอยากอันเป็นแรงผลักดันให้ออกยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็ให้รู้ว่ามีแรงทะยานอยาก เป็นต้น

    อารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏต้องเป็นอารมณ์ของจริง ไม่ใช่ของสมมุติโดยผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ออกว่า อันใดเป็นของจริง หรือปรมัตถธรรมอันใดเป็นของสมมุติ หรือบัญญัติธรรมเช่น เมื่อจิตมีความสุข ก็ต้องมีสติรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกสุขจริงๆเมื่อจิตมีความโกรธ ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความโกรธจริงๆเมื่อมีความลังเลสงสัย ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความลังเลสงสัยจริงๆ ฯลฯและเมื่อหัดรู้มากเข้าจะพบว่า นามธรรมจำนวนมากผุดขึ้นที่อก หรือหทยรูปแต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเที่ยวควานหาหทยรูปหากกิเลสเกิดที่ไหน และดับลงที่ไหน ก็รู้ที่นั้นก็แล้วกันครับถ้าเอาสติไปตั้งจ่อดูผิดที่เกิด ก็จะไม่เห็นของจริงเช่น เอาสติไปจ่ออยู่เหนือสะดือสองนิ้วจะไม่เห็นกิเลสอะไร นอกจากเห็นนิมิต เป็นต้นและการมีสติรู้ของจริง ก็ไม่ใช่การคิดถามตนเอง หรือคะเนเอาว่าตอนนี้สุขหรือทุกข์ โกรธหรือไม่โกรธ สงสัยหรือไม่สงสัย อยากหรือไม่อยากตรงจุดนี้สำคัญมากนะครับ ที่จะต้องรู้สภาวธรรม หรือปรมัตถธรรมให้ได้เพราะมันคือ พยานหรือแบบเรียน ที่จิตจะได้เรียนรู้ถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของมันจริงๆไม่ใช่แค่คิดๆ เอาว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เมื่อมีสติรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏแล้วผู้ปฏิบัติจะต้องมี

    จิตที่รู้ตัว ตั้งมั่นไม่เผลอไปตามความคิดซึ่งจะเกิดตามหลังการรู้สภาวธรรมเช่น เมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้นในจิต อันนี้เป็นปรมัตถธรรมถัดจากนั้นก็จะเกิดสมมุติบัญญัติว่า นี้เรียกว่าราคะสมมุติตรงนี้ห้ามไม่ได้ เพราะจิตเขามีธรรมชาติเป็นนักจำและนักคิดผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องไปห้ามหรือปฏิเสธสมมุติบัญญัติเพียงรู้ให้ทัน อย่าได้เผลอหรือหลงเพลินไปตามความคิดนึกปรุงแต่งนั้นหรือแม้แต่การหลงไปคิดนึกเรื่องอื่นๆ ด้วยแล้วให้เฝ้ารู้สภาวะ (ที่สมมุติเรียกว่าราคะนั้น) ต่อไป ในฐานะผู้สังเกตการณ์จึงจะเห็นไตรลักษณ์ของสภาวะอันนั้นได้ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติที่ไปรู้สภาวะที่กำลังปรากฏจะต้องไม่เพ่งใส่สภาวะนั้นด้วยเพราะถ้าเพ่ง จิตจะกระด้างและเจริญปัญญาไม่ได้แต่จิตจะ "จำ และจับ" สภาวะอันนั้นมาเป็นอารมณ์นิ่งๆ แทนการรู้สภาวะจริงๆพึงให้จิตเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เหมือนคนดูละคร ที่ไม่โดดเข้าไปเล่นละครเสียเองจิตที่ทรงตัวตั้งมั่น นุ่มนวล อ่อนโยน ควรแก่การงานโดยไม่เผลอและไม่เพ่งนี้แหละ คือสัมมาสมาธิเป็นจิตที่พร้อมที่จะเปิดทางให้แก่

    การเจริญปัญญาอย่างแท้จริงคือเมื่อจิตมีสติ รู้ปรมัตถธรรม ด้วยความตั้งมั่น ไม่เผลอและไม่เพ่งจิตจะได้เรียนรู้ความจริงของปรมัตถธรรมอันนั้นๆ ๔ ประการคือ (๑) รู้สภาวะของมันที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (รู้ตัวสภาวะ)(๒) รู้ว่าเมื่อสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นแล้วมันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร (รู้บทบาทของสภาวะ)(๓) รู้ว่าถ้ามันแสดงบทบาทของมันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น (รู้ผลของสภาวะ)และเมื่อชำนาญมากเข้า เห็นสภาวะอันนั้นบ่อยครั้งเข้าก็จะ (๔) รู้ว่า เพราะสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว จึงกระตุ้นให้สภาวะอันนั้นเกิดตามมา (รู้เหตุใกล้ของสภาวะ)การที่จิตเป็นผู้สังเกตการณ์และเรียนรู้ หรือวิจัยธรรม (ธรรมวิจัย)อันนี้เองคือการเจริญปัญญาของจิต หรือสัมปชัญญะ หรือสัมมาทิฏฐิตัวอย่างเช่น ในขณะที่มองไปเห็นภาพๆ หนึ่งปรากฏตรงหน้าจิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงามแล้วสภาวธรรมบางอย่างก็เกิดขึ้นในจิต (ซึ่งเมื่อบัญญัติทีหลังก็เรียกว่า ราคะ)การรู้สภาวะที่แปลกปลอมขึ้นในจิตนั่นแหละคือการรู้ตัวสภาวะของมันแล้วก็รู้ว่ามันมีบทบาทหรืออิทธิพลดึงดูด ให้จิตหลงเพลินพอใจไปกับภาพที่เห็นนั้นผลก็คือ จิตถูกราคะครอบงำ ให้คิด ให้ทำ ให้อยาก ไปตามอำนาจบงการของราคะและเมื่อรู้ทันราคะมากเข้า ก็จะรู้ว่า การเห็นภาพที่สวยงาม เป็นเหตุใกล้ให้เกิดราคะจึงจำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกต ขณะที่ตากระทบรูปให้มากขึ้น เป็นต้นในส่วนตัวสภาวะของราคะเอง เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติรู้อยู่นั้นมันจะแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นทันที คือระดับความเข้มของราคะจะไม่คงที่มันตั้งอยู่ไม่นาน เมื่อหมดกำลังเพราะเราไม่ได้หาเหตุใหม่มาเพิ่มให้มัน (ย้อนไปมองสาว)มันก็ดับไป แสดงถึงความเป็นทุกข์ของมันและมันจะเกิดขึ้นก็ตาม ตั้งอยู่ก็ตาม ดับไปก็ตามล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยกำหนด ไม่ใช่ตามที่เราอยากจะให้เป็นนอกจากนี้ มันยังเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเราเหล่านี้ล้วนแสดงความเป็นอนัตตาของสภาวะราคะทั้งสิ้น

    ผลของการดูจิต และข้อสรุปจิตที่อบรมปัญญามากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะรู้แจ้งเห็นจริงว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจิต เจตสิก กระทั่งรูป ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้นถ้าจิตเข้าไปอยาก เข้าไปยึด จิตจะต้องเป็นทุกข์ปัญญาเช่นนี้แหละ จะทำให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูลงความทุกข์ก็จะเบาบางลงจากจิต เพราะจิตฉลาดไม่ไปส่ายแส่หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง(แต่ลำพังคิดๆ เอา ในเรื่องความไม่มีตัวกูของกู ย่อมไม่สามารถดับ ความเห็นและความยึด ว่าจิตเป็นตัวกูของกูได้จะทำได้ก็แค่ "กู ไม่ใช่ตัวกูของกู" คือจิตยังยึดอยู่ส่วนการที่จะลดละได้จริง ต้องเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เท่านั้นครับ)สรุปแล้ว การดูจิตที่พูดถึงกันนั้น ไม่ใช่การดูจิตจริงๆเพราะจิตนั้นแหละ คือผู้รู้ ผู้ดู ผู้ยึดถือ อารมณ์แต่การดูจิต หมายถึงการเจริญวิปัสสนา โดยเริ่มต้นจากการรู้นามธรรมซึ่งเมื่อชำนิชำนาญแล้ว ก็จะรู้ครบสติปัฏฐานทั้งสี่นั่นเองดังนั้น ถ้าไม่ชอบคำว่า ดูจิต ซึ่งนักปฏิบัติส่วนหนึ่งชอบใช้คำนี้เพราะรู้เรื่องกันเองจะใช้คำว่าการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน+ การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน + การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ได้ครับแต่การที่นักปฏิบัติบางส่วนชอบพูดถึงคำว่า "การดูจิต" ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกันคือเป็นการเน้นให้ทราบว่า จิตใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวงและเป็นการกระตุ้นเตือนให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของจิตเมื่อมันไปรู้อารมณ์เข้าเพราะถ้ารู้จิตชัด ก็จะรู้รูปชัด รู้เวทนาชัด รู้กิเลสตัณหาชัดไปด้วยเนื่องจากจิตจะตั้งมั่น และเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวงในทางกลับกัน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิแม้จะพยายามไปรู้ปรมัตถ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ปรมัตถ์ตัวจริงได้นอกจากจะเป็นเพียงการ คิดถึงปรมัตถ์ เท่านั้นถ้าเข้าใจจิตใจตนเองให้กระจ่างชัดแล้ว การเจริญสติปัฏฐานก็จะทำได้ง่ายถ้าไม่เข้าใจจิตใจตนเอง ก็อาจจะเกิดความหลงผิดได้หลายอย่างในระหว่างการปฏิบัติเช่น หลงเพ่ง โดยไม่รู้ว่าเพ่ง อันเป็นการหลงทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่พอเกิดนิมิตต่างๆ ก็เลยหลงว่าเกิดวิปัสสนาญาณหรือหลงเผลอ ไปตามอารมณ์ โดยไม่รู้ว่ากำลังเผลอหรือหลงยินดียินร้ายไปตามอารมณ์หรือหลงคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติแล้วคิดว่ากำลังรู้ปรมัตถ์หรือสภาวะที่กำลังปรากฏ เป็นต้นถ้าเข้าใจจิตตนเองได้ดีพอประมาณ ก็จะไม่เกิดความหลงผิดเหล่านี้ขึ้นข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดูจิตก็คือการดูจิตเป็นวิปัสสนาชนิดเดียวที่ทำได้ทั้ง ๓ โลก คือในกาม (สุคติ) ภูมิ รูปภูมิ (ส่วนมาก) และอรูปภูมิแม้แต่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ อันเป็นภวัคคภูมิหรือสุดยอดภูมิของอรูปภูมิก็ต้องอาศัยการดูจิตนี้เอง เป็นเครื่องเจริญวิปัสสนาต่อไปได้จนถึงนิพพานอันที่จริงสิ่งที่เรียกว่าการดูจิตนั้น แม้จะเริ่มจากการรู้นามธรรมก็จริงแต่เมื่อลงมือทำไปสักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง ๔ อย่างโดยจิตจะมีสติสัมปชัญญะต่อเนื่องอยู่ในชีวิตประจำวันนี่เองเพียงก้าวเดินก้าวเดียว ก็เกิดการเจริญสติปัฏฐานได้ตั้งหลายอย่างแล้วคือเมื่อเท้ากระทบพื้น ก็จะรู้รูป ได้แก่ ธาตุดินคือความแข็งภายในกาย (รูปภายใน)และธาตุดินคือความแข็งของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป (รูปภายนอก)อันนี้ก็คือการเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วและรู้ถึงความเย็น ความร้อนคือธาตุไฟของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป เป็นต้นขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าสติรู้เข้าไปที่ความรู้สึกอันเกิดจากการที่เท้ากระทบพื้นเช่น ความเจ็บเท้า ความสบายเท้าก็คือการเจริญ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าพื้นขรุขระ เจ็บเท้า ก็สังเกตเห็นความขัดใจ ไม่ชอบใจหรือถ้าเหยียบไปบนพรมนุ่มๆ สบายๆ เท้า ก็สังเกตเห็นความพอใจอันนี้ก็เป็นการเจริญ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้วขณะที่เหยียบนั้น ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ก็จะเห็นกายเป็นส่วนหนึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่ละส่วนๆหรือรู้ถึงความทะยานอยากของจิตที่ส่งหลงเข้าไปที่เท้าหรือรู้อาการส่งส่ายของจิต ตามแรงผลักของตัณหาคือความอยากแล้วหนีไปเที่ยวทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจหรือรู้ถึงความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นในจิตหรือรู้ถึงนิวรณ์ที่กำลังปรากฏขึ้น แต่ยังไม่พัฒนาไปเป็นกิเลสเข้ามาครอบงำจิตหรือรู้ชัดถึงความมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร มีปีติ มีความสงบระงับ ฯลฯสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทั้งสิ้นที่เล่ามายืดยาวนี้ เพื่อนใหม่ที่ไม่เคยลงมือเจริญสติสัมปชัญญะจริงๆ มาก่อนอาจจะเข้าใจยากสักหน่อยครับดังนั้น ถ้าอ่านแล้วเกิดความสงสัยมากขึ้นก็ลองย้อนมารู้เข้าไปที่ ความรู้สึกสงสัยในจิต เลยทีเดียวก็จะทราบได้ว่า ความสงสัยมันมีสภาวะของมันอยู่(ไม่ใช่ไปรู้เรื่องที่สงสัยนะครับ แต่ให้รู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมของความสงสัย)เมื่อรู้แล้วก็จะเห็นว่า เมื่อความสงสัยเกิดขึ้น มันจะยั่วจิตให้คิดหาคำตอบแล้วลืมที่จะรู้เข้าไปที่สภาวะความสงสัยนั้นเอาแต่หลงคิดหาเหตุหาผลฟุ้งซ่านไปเลยพอรู้ทันมากเข้าๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า ความสงสัยนั้นมันตามหลังความคิดมาเป็นการรู้เท่าทันถึงเหตุใกล้ หรือสาเหตุที่ยั่วยุให้เกิดความสงสัยนั่นเองเมื่อรู้ที่ สภาวะของความสงสัย ก็จะเห็นสภาวะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตามันเกิดขึ้นเพราะความคิด พอรู้โดยไม่คิด มันก็ดับไปเองหัดรู้อยู่ในจิตใจตนเองอย่างนี้ก็ได้ครับ แล้วต่อไปก็จะทำสติปัฏฐาน 4 ได้ในที่สุดเพราะจะสามารถจำแนกได้ชัดว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็นอารมณ์อะไรเป็นอารมณ์ของจริงและอะไรเป็นเพียงความคิดนึกปรุงแต่งหรือสมมุติบัญญัติที่แปลกปลอมเข้ามารวมทั้งจำแนกได้ด้วยว่า อันใดเป็นรูป อันใดเป็นจิต อันใดเป็นเจตสิกขอย้ำแถมท้ายอีกนิดหนึ่งนะครับว่า

    การดูจิต ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดเสมอไปเพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดในโลกมีแต่ "วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด" เฉพาะของแต่ละบุคคลเท่านั้นดังนั้น ถ้าถนัดจะเจริญสติปัฏฐาน อย่างใดก่อน ก็ทำไปเถิดครับถ้าทำถูกแล้ว ในที่สุดก็จะทำสติปัฏฐานหมวดอื่นๆ ได้ด้วย

    http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001773.htm
    </PRE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...