ธรรมะที่ผู้คนมักอยากทราบ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 31 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    กรรม และ กฏแห่งกรรม

    ในคติพุทธ กรรม (คือ การกระทำ) มีจริง
    กฏแห่งกรรม ก็มีจริง
    เรื่องของกรรมและกฏแห่งกรรมเป็นเรื่องซับซ้อนนัก
    เพราะกรรมนั้นมีหลายแบบ กรรมดี กรรมชั่ว กรรมกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
    กรรมหนัก กรรมเบา กรรมหนักสุดๆ กรรมมีผลมาก กรรมมีผลน้อย
    กรรมที่ให้ผลปัจจุบันทันที กรรมที่รอให้ผลในอนาคตทั้งใกล้และไกล
    กรรมที่เป็นอโหสิกรรมไป ฯลฯ
    ความจริงเรื่อง กรรม เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าไม่ควรคิด
    หากขืนคิดก็จะยิ่งงงงวยสับสนไม่เข้าใจไปได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เป็นเพราะ
    ว่าตามแนวธรรมะแล้ว แต่ละชีวิตล้วนเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วมากมาย
    จนนับชาติไม่ถ้วนในสังสารวัฏหรือกงล้ออันไม่รู้จบแห่งกรรมนี้
    เมื่อเราเกิดมาแล้วมากมาย แต่ละชีวิตก็อาจเคยเจอะเจอ ผูกพัน สร้างเวร
    สร้างกรรมต่อกันและกันมาแล้วมากมาย กรรมคือการกระทำต่างๆ ก็มากมาย
    ละเอียดพิสดาร ซ้ำซ้อนกันเป็นชั้นๆ แม้จะจำอดีตชาติไม่ได้ว่าเคยเกิดเคยตาย
    ตรงไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เคยทำอะไรเอาไว้บ้างทั้งดีและไม่ดี แต่ทุกอย่างได้
    บันทึกเอาไว้หมดแล้วโดยไม่ตกหล่น ด้วยกฏแห่งกรรม เมื่อกระทำสิ่งใด
    ก็ต้องได้รับผลอันเหมาะกับการกระทำนั้นๆ เสมอ ไม่ช้าก็เร็ว
    แม้ว่าเรื่องของกรรมจะไม่ควรคิดให้มาก แต่หากเราใฝ่ใจศึกษาหาความรู้
    และที่สำคัญหากเราใฝ่ใจเพียรปฏิบัติกายปฏิบัติใจเพื่อให้เกิดปัญญายิ่งๆ
    (ปัญญาแท้ๆ ที่จะเข้าไปรู้เท่าทันโลก รู้เท่าทันเหตุและผลต่างๆ ในโลก
    รู้เท่าทันพระไตรลักษณ์ ฯลฯ) เราก็อาจพอจะเข้าใจได้บ้าง เราก็จะทราบว่า
    ที่แท้ ที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เกิดมาอย่างนี้ ได้อัตภาพอย่างที่เป็นตอนนี้
    ต้องมาเสวยทุกข์หรือได้มาเสวยสุขเช่นปัจจุบันนี้ ทุกอย่างเราล้วนทำมาเอง
    ทั้งนั้นในอดีต และปัจจุบันก็คือผลจากอดีต
    เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดตระหนักได้เช่นนี้ ก็จะหวาดผวา กลัวต่อการสร้างกรรมไม่ดี
    เพราะรู้แน่อยู่ว่าวันหนึ่งต้องได้รับผลแน่นอน อาจไม่ใช่ชาตินี้ก็ได้ แต่ผลรออยู่
    อย่างแน่นอน เมื่อหวาดผวากลัวการก่อกรรมไม่ดี สร้างเหตุไม่ดีแล้ว ก็จะ
    เริ่มพยายามตั้งตัวตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติกายและใจให้ทำแต่กรรมอันดี
    ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันนี้เองที่จะไปเกิดเป็นผลหรือผลกรรม
    ในอนาคตอย่างแน่นอน
    เมื่อเห็นจริงถึงภัยดังกล่าว ในขั้นแรกๆ ก็จะเพียรพยายามระมัดระวังสำรวม
    กายวาจาและใจให้อยู่ในความดีงาม เพื่อไม่สร้างกรรมไม่ดี ไม่สร้างกรรมอัน
    เป็นอุกศล ดำรงตนอยู่ในความดี
    จากนั้น ก็จะค่อยเห็นจริงว่า การที่ยังต้องมีกรรม ต้องสร้างกรรม ต้องรับผลแห่ง
    กรรมทั้งหลาย แม้จะเป็นกรรมดี ทำดีก็เถอะ ก็ยังไม่หมด ยังไม่จบ ยังไม่หลุด
    ไปจากกฏแห่งกรรม วงเวียนและวังวนแห่งกรรมไปได้ ก็จะพยายามดิ้นรน
    ขวนขวาย หาทางออกจากวงเวียนกรรมอันน่ากลัวนี้ ไปสู่ความไม่ต้องสร้างเหตุ
    ไม่ต้องรับผลใดๆ อีกเลย ไปสู่ความสุขสงบอันถาวรเป็นนิรันดร์ ไม่ต้องเกิดแก่
    เจ็บตาย เวียนสร้างกรรมและเวียนรับผลต่างๆ จากการกระทำอีกเลย
    ข้างล่างต่อไปนี้ เป็นเรื่องของกรรมล้วนๆ เป็นทฤษฎีทางพระพุทธศาสนา
    ว่าด้วยกรรมและกฏแห่งกรรม จำแนกแจกแจงไว้อย่างละเอียด แม้อาจอ่านยาก
    เพราะมีศัพท์ต่างๆ อยู่พอสมควร แต่ก็ควรค่าอย่างยิ่งแก่การศึกษาทำความเข้าใจ
    เรียบเรียงมาจากหนังสือ วิสุทธิ ญาณ นิเทส ตำราคู่มือวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    โดย ธนิต อยู่โพธิ์ แปลและเรียบเรียง จาก
    พระบาลีคัมภีร์วิสุทธิมัคคปริจเฉทที่ ๑๘ - ๒๓
    *****************************************
    เรื่องของกรรมวัฏและวิบากวัฏ
    กำหนดรู้ปัจจัย ทางกรรมวัฏและวิปากวัฏ
    พระภิกษุอีกรูปหนึ่ง ทำการกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
    ทางกรรมวัฏ และวิปากวัฏ อย่างนี้ว่า "ธรรม ๕ อย่างคือ;
    โมหะในกรรมภพก่อน ได้แก่ อวิชชา ๑ ความตั้งใจทำไว้ใน
    กรรมภพก่อน ได้แก่ สังขาร ๑ ความใคร่ ได้แก่ ตัณหา ๑
    ความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ อุปาทาน ๑ เจตนา ได้แก่ ภพ ๑
    ในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในภพนี้
    ธรรม ๕ อย่าง คือ; ปฏิสนธิในภพนี้ ได้แก่ วิญญาณ
    การก้าวลง (ในครรภ์มารดา) ได้แก่ นามรูป ๑ ประสาท
    ได้แก่ อายตนะ ๑ สิ่งที่สัมผัสถูกต้อง ได้แก่ ผัสสะ ๑ การ
    เสวยอารมณ์ ได้แก่ เวทนา ๑ ในอุปปัติภพนี้ เหล่านี้
    เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน เพราะเหตุที่
    อายตนะทั้งหลายแก่กล้าในภพนี้แล้ว ธรรม ๕ อย่าง คือ;
    โมหะ ได้แก่ อวิชชา ๑ ความตั้งใจทำ ได้แก่ สังขาร ๑
    ความใคร่ ได้แก่ ตัณหา ๑ ความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่
    อุปาทาน ๑ เจตนา ได้แก่ ภพ ๑ ในกรรมภพนี้ เหล่านี้
    เป็นปัจจัยของปฏิสนธิ (ในภพ) ต่อไป"
    ดังนี้
    ว่าด้วยกรรม ๑๒ ชนิด
    (ชื่อกรรม ๑๒ ในภาษาไทย แปลตามพระนิพนธ์ สมเด็จพระ
    มหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในธรรมวิภาค
    ปริเฉทที่ ๒)
    ในกรรมวัฏและวิปากวัฏนั้น กรรม (ให้ผลตามคราว) มี ๔ อย่าง คือ
    ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้
    ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า
    ๓. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพสืบๆ ไป
    ๔. อโหสิกรรม กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว
    ในบรรดาจิต ๗ ดวง (ซึ่งดำเนินไป) ชวนะวิถี เดียวกัน
    นั้น ชวนะเจตนา ดวงแรก เป็นกุศล หรืออกุศล ก็ตาม มีชื่อเรียก
    ว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม นั้น
    ให้ผลในอัตตภาพนี้เท่านั้น แต่เมื่อไม่สามารถ (ให้ผล) อย่างนั้น
    ก็มีชื่อเรียกว่า อโหสิกรรม ไป ที่เป็นกรรมมีชื่อเรียกว่า
    อโหสิกรรม ตามหลักของหมวด ๓ (ติกะ) ดังนี้ คือ "ผลของกรรม
    มิได้มีแล้ว ๑ ผลของกรรมจักไม่มี ๑ ผลของกรรมไม่มีอยู่ ๑"

    ส่วน ชวนะเจตนา ดวงที่ ๗ ซึ่งทำให้สำเร็จความประสงค์
    มีชื่อเรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม นั้น
    ให้ผลในอัตตภาพถัดไป เมื่อไม่สามารถ (ให้ผล) ตามนั้น ก็เป็น
    กรรมมีชื่อเรียกว่า อโหสิกรรม ไป โดยนัยดังกล่าวแล้วเช่นกัน
    ชวนะเจตนา (อีก) ๕ ดวง ในระหว่างชวนะเจตนา ๒ ดวง (คือ
    ดวงที่ ๑ และที่ ๗) มีชื่อเรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม
    อปราปรเวทนียกรรม นั้น ได้โอกาสเมื่อใดในกาล
    อนาคต ให้ผลเมื่อนั้น เมื่อยังมีความเป็นไปของสังขาร ก็ยังไม่
    เป็นกรรมมีชื่อเรียกว่า อโหสิกรรม
    ยังมีกรรม (ให้ผลตามลำดับ) อีก ๔ อย่าง คือ;
    ๑. ครุกรรม กรรมหนัก
    ๒. พหุลกรรม กรรมเคยชิน
    ๓. อาสันนกรรม กรรมเมื่อจวนเจียน
    ๔. กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ
    บรรดากรรม ๔ อย่างนั้น เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ก็ตาม
    ในบรรดากรรมหนักและไม่หนัก กรรมใดเป็นกรรมหนัก เช่น
    มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) เป็นต้น ก็ตาม หรือ มหัคคตกรรม
    (รูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล) ก็ตาม กรรมนั้นแลให้ผล
    ก่อน ถึงแม้ในบรรดากรรมที่เคยชินและไม่เคยชินก็เหมือนกัน
    กรรมใดที่เคยชิน เช่นความเป็นผู้มีศีลดี ก็ตาม หรือความเป็น
    ผู้ทุศีล ก็ตาม กรรมเคยชินนั้นแลให้ผลก่อน กรรมที่คนเรา
    ระลึกได้ ในเวลาใกล้มรณะมีชื่อเรียกว่า อาสันนกรรม (คือ
    กรรมเมื่อจวนเจียน) เพราะว่าบุคคลผู้ใกล้จะตาย สามารถ
    ระลึกถึงกรรมใดได้ เขาก็เกิดขึ้นด้วยกรรมนั้นนั่นแล ส่วน
    กรรมนอกจาก ๓ อย่างนี้ เป็นกรรมที่ได้ความคุ้นเคยบ่อยๆ
    มีชื่อเรียกว่า กตัตตาวาปนกรรม เมื่อไม่มีกรรม ๓ อย่าง
    เหล่านั้นแล้ว มันจึงชักพาไปสู่ปฏิสนธิ
    ยังมีกรรม (ให้ผลตามกิจ) อีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด
    ๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน
    ๓. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น
    ๔. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน
    บรรดากรรม ๔ อย่างนั้น กรรมที่มีชื่อเรียกว่า ชนกกรรม เป็น
    ทั้งกุศลทั้งอกุศล ชนกกรรมทำให้เกิดวิบากขันธ์ทั้งในกามภพ
    ในรูปภพ และ ในอรูปภพ ทั้งในเวลาปฏิสนธิ ทั้งในเวลาที่
    วิบากขันธ์เป็นไป (ตั้งแต่เกิดจนตาย) ส่วนอุปัตถัมภกกรรม
    ไม่สามารถให้เกิดวิบาก (ขันธ์) ได้ แต่เมื่อกรรมอื่นให้
    ปฏิสนธิแล้ว จึงสนับสนุนสุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นในวิบาก (ขันธ์)
    ซึ่งกรรมอื่นให้เกิดขึ้น ให้เป็นไปตลอดกาล อุปปีฬกกรรม
    เมื่อกรรมอื่นให้ปฏิสนธิแล้ว ก็เข้าบีบคั้น เบียดเบียนสุขหรือ
    ทุกข์ที่เกิดขึ้นในวิบาก (ขันธ์) ซึ่งกรรมอื่นทำให้เกิดขึ้น มิให้
    ดำเนินไปตลอดกาล ส่วนอุปฆาตกกรรม ไม่ว่าตนเองจะ
    เป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม คอยตัดรอนกรรมอื่นที่มีกำลัง
    ด้อยกว่า ห้ามปรามผลของกรรมนั้นไว้ แล้ทำโอกาสให้แก่
    ผลของตน แต่เมื่อกรรมทำโอกาสให้อย่างนี้แล้ว ก็เรียกวิบาก
    นั้นได้ว่า เกิดขึ้นแล้ว
    ลำดับของกรรมและลำดับของวิบาก ของกรรม ๑๒ อย่าง
    ดังกล่าวมานี้ ย่อมปรากฏโดยหน้าที่ของตนตามความเป็นจริง
    เฉพาะแก่ กรรมวิปากญาณ ของพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลาย ไม่สาธารณ์ทั่วไปกับพระสาวกทั้งหลาย แต่
    พระภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนา พึงทราบทั้งลำดับของกรรม
    และทั้งลำดับของวิบากไว้โดยเอกเทส เพราะฉะนั้น จึงได้
    ประกาศความวิเศษของกรรมนี้ไว้ด้วยการแสดงแต่เพียง
    ที่เป็นหลัก ด้วยประการฉะนี้
    พระภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบรรจุกรรม ๑๒ อย่างนี้เข้าไว้ในกรรม
    วัฏด้วยประการฉะนี้แล้ว ทำการกำหนดรู้ปัจจัยของนาม
    และรูป ทางกรรมวัฏและวิปากวัฏ ด้วยประการดังกล่าวนั้น
    พระภิกษุนั้น ครั้นเห็นความเป็นไปของนามและรูปโดยปัจจัย
    ทางกรรมวัฏและวิปากวัฏแล้ว ก็เห็นอยู่เสมอเนืองๆ ว่า
    "นามและรูปนี้ ในบัดนี้ ก็เป็นไปอยู่ โดยปัจจัย ทางกรรมวัฏ
    และวิปากวัฏ ฉันใด ถึงแม้ในอดีตกาล ก็เป็นไปแล้วโดยปัจจัย
    ทางกรรมวัฏและวิปากวัฏ ถึงแม้ในอนาคตกาล ก็จักเป็นไป
    โดยปัจจัย ทางกรรมวัฏและวิปากวัฏ เหมือนฉันนั้น ทั้งกรรม
    และทั้งวิบากของกรรม ทั้งกรรมวัฏและทั้งวิปากวัฏ ทั้งความ
    เป็นไปของกรรมและทั้งความเป็นไปของวิบาก ทั้งความ
    สืบต่อของกรรมและทั้งความสืบต่อของวิบาก ทั้งกิริยาและ
    ทั้งผลของกิริยา ก็เป็นไปด้วยประการฉะนี้
    กัมมวิปากา วัตตันติ วิปาโก กัมมสัมภโว
    กัมมา ปุนัพภโว โหติ เอวัง โลโก ปวัตตติ.

    แปลความว่า
    เพราะกรรม วิบากทั้งหลายจึงเป็นไป วิบากเกิดจากกรรม
    ภพใหม่ ก็มีเพราะกรรม โลกหมุนเวียนอยู่อย่างนี้"

    เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่เสมอเนืองๆ อย่างนี้ ก็ละความสงสัยหมด
    ทั้ง ๑๖ ประการ ซึ่งท่านปรารภที่สุดเบื้องต้น (อดีตกาล)
    เป็นต้น แล้วกล่าวไว้โดยนัย มีอาทิว่า "ข้าพเจ้าได้เป็นมา
    แล้วนี้หนอ?" ในภพ (๓) โยนิ (๔) คติ (๕) ฐิติ (๗)
    และนิวาส (๙) ทั่วทั้งหมด ก็ปรากฏอยู่แต่เพียงนาม
    และรูป ซึ่งเป็นไปอยู่ด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล
    เท่านั้น นอกเหนือไปจากเหตุ พระภิกษุนั้นมิได้เห็นการก
    (ผู้สร้าง) นอกเหนือจากความเป็นไปของผล ก็มิได้เห็น
    ผู้เสวยผล จึงเป็นอันว่า พระภิกษุนั้นเห็นดีแล้วด้วยปัญญา
    โดยชอบว่า เมื่อมีเหตุ บัณฑิตทั้งหลายก็พากันกล่าวด้วย
    คำเพียงหมายรู้ร่วมกันว่า "มีผู้สร้าง" เมื่อมีความเป็นไปของ
    วิบาก ก็กล่าวว่า "มีผู้เสวย" ดังนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น
    ท่านผู้รู้แต่โบราณทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า
    กัมมัสส การโก นัตถิ วิปากัสส จ เวทโก
    สุทธธัมมา ปวัตตันติ- เอเวตัง สัมมทัสสนัง.

    แปลความว่า ผู้สร้างกรรมไม่มี และผู้เสวยผล (ของกรรม) ก็ไม่มี ธรรมล้วนๆ
    เป็นไปอย่างเดียว นี้เป็นสัมทัสสนะ (คือ ความเห็นโดยชอบ)
    เอวัง กัมเม วิปาเก จ วัตตมาเน สเหตุเก
    พีชรุกขาทิกานังว ปุพพา โกฏิ น นายติ.

    แปลความว่า
    เมื่อกรรมและวิบาก พร้อมทั้งเหตุ เป็นไปอยู่อย่างนี้
    ก็ไม่มีใครรู้เบื้องต้น (และ) เบื้องปลาย ดุจไม่มีใครรู้
    เบื้องต้น (และ) เบื้องปลายของเมล็ดพืชและต้นไม้
    เป็นต้น ฉะนั้น
    อนาคเตปิ สังสาเร อัปปวัตตัง น ทิสสติ
    เอตมัตถัง อนัญญาย ติตถิยา อสยังวสี
    สัตตสัญญัง คเหตวาน สัสสตุจเฉททัสสิโน
    ทวาสัฏฐิทิฏฐึ คัณหันติ อัญญมัญญัง วิโรธิตา.

    แปลความว่า
    แม้ในอนาคตกาล ความไม่เป็นไปในสังสารวัฏก็ไม่ปรากฏ
    พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ความข้อนี้ ทั้งตนเองก็ไม่มีความ
    เชี่ยวชาญจึงยึดถือสัตตสัญญา (ความสำคัญหมายว่ามีสัตว์
    มีบุคคล) แล้วมีความเห็น ว่าเที่ยง ว่าขาดสูญ ยึดถือทิฏฐิ
    ๖๒ ประการ ต่างโต้แย้งกันและกันอยู่
    ทิฏฐิพันธนพันธา เต ตัณหาโสเตน วุยหเร
    ตัณหาโสเตน วุยหันตา น เต ทุกขา ปมุจจเร.

    แปลความว่า
    พวกเดียรถีย์เหล่านั้น ซึ่งมีเครื่องผูกพันคือทิฏฐิผูกพันไว้
    จึงถูกกระแสแห่งตัณหาพัดพาไป เมื่อถูกกระแสตัณหา
    พัดพาอยู่ พวกเขาก็ไม่พ้นจากทุกข์
    เอวเมตัง อภิญญาย ภิกขุ พุทธัสส สาวโก
    คัมภีรัง นิปุณัง สุญญัง ปัจจยัง ปฏิวิชฌติ,

    แปลความว่า
    พระภิกษุ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า รู้ความนี้ ด้วยปัญญา
    รู้ยิ่งดังกล่าวมานี้ จึงเห็นชัด ซึ่งปัจจัย (ของนามและรูป)
    อันลึกซึ้ง ละเอียด ว่างเปล่า
    กัมมัง นัตถิ วิปากัมหิ ปาโก กัมเม น วิชชติ
    อัญญมัญญัง อุโภ สุญญา น จ กัมมัง วินา ผลัง,

    แปลความว่า
    กรรมไม่มีอยู่ในวิบาก วิบากก็ไม่มีอยู่ในกรรม กรรมและ
    วิบากทั้งสอง ต่างว่างเปล่าซึ่งกันและกัน แต่ปราศจาก
    กรรมเสียแล้ว ผลก็หามีไม่
    ยถา น สุริเย อัคคิ น มณิมหิ น โคมเย
    น เตสัง พหิ โส อัตถิ สัมภาเรหิ จ ชายติ
    ตถา น อันโต กัมมัสส วิปาโก อุปลัพภติ
    พหิทธาปิ น กัมมัสส น กัมมัง ตัตถ วิชชติ.

    แปลความว่า
    ไฟไม่มีในดวงอาทิตย์ ไม่มีในแก้วมณี (ที่ใช้ส่อง) ไม่มีใน
    ขี้วัว ไฟนั้นมิได้มีอยู่ภายนอกสิ่งทั้ง ๓ เหล่านั้น แต่มัน
    เกิดขึ้นด้วยการประกอบกัน (ของสิ่งทั้ง ๓) ฉันใด
    วิบากก็ฉันนั้น หาไม่ได้ภายในกรรม แม้ภายนอกกรรม
    ก็หาไม่ได้ (เพราะ) กรรมมิได้มีอยู่ในวิบากนั้น
    ผเลน สุญญัง ตัง กัมมัง ผลัง กัมเม วิชชติ
    กัมมัญจ โข อุปาทาย ตโต นิพพัตตตี ผลัง.

    แปลความว่า
    กรรมนั้นว่างเปล่าจากผล ผลก็มิได้มีอยู่ในกรรม แต่เพราะ
    อาศัยกรรมแล ผลจึงเกิดขึ้นจากกรรมนั้น
    น เหตถ เทโว พรหมา วา สังสารัสสัตถิ การโก
    สุทธธัมมา ปวัตตันติ เหตุสัมภารปัจจยา.

    แปลความว่า
    ความจริง ในโลกนี้ ไม่มีเทพเจ้า หรือ พระพรหม ผู้สร้าง สังสารวัฏ
    ธรรมแท้ๆ เป็นไปเอง เพราะการประกอบกันของเหตุ และปัจจัย
    เมื่อพระภิกษุนั้น ทำการกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป
    ทางกรรมวัฏและวิปากวัฏ แล้วละความสงสัยใน ๓ กาล
    ได้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็เป็นอันได้รู้ธรรม ทั้งที่เป็นอดีต
    อนาคตและปัจจุบัน สิ้นทั้งปวงแล้ว โดยทางจุติและ
    ปฏิสนธิ ความรู้เช่นนั้นของพระภิกษุนั้น เป็น
    ญาตปริญญา คือ การกำหนดรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่แล้ว
    พระภิกษุนั้น รู้แจ้งชัดอย่างนี้ว่า "ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใด
    เกิดแล้วในอดีต เพราะกรรม (ในอดีต) เป็นปัจจัย ขันธ์
    ทั้งหลายเหล่านั้นได้ดับไปแล้วในอดีตนั้นนั่นเอง ส่วน
    ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในภพนี้ เพราะกรรมในอดีตเป็น
    ปัจจัย ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง หามีธรรมแม้แต่สิ่งเดียวจาก
    ภพในอดีตมาสู่ภพนี้ไม่ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วแม้ใน
    ภพนี้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย ก็จักดับไป ขันธ์ทั้งหลาย
    จักเกิดขึ้นในภพหน้า ก็เป็นพวกอื่น หามีธรรมแม้สิ่งเดียว
    จากภพนี้จักไปยังภพหน้า มิได้"

    อีกประการหนึ่งแล เปรียบเหมือน การสาธยาย (การ
    ท่องบ่น) จากปากของอาจารย์ หาเข้าไปสู่ปากของ
    อันเตวาสิกไม่ (อันเตวาสิก คือ ศิษย์ ผู้อยู่ในสำนัก
    ภิกษุผู้ขอยู่ร่วมสำนัก จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์
    - deedi) แต่การสาธยายในปากของอันเตวาสิก
    นั้น จะไม่ดำเนินไป เพราะการสาธยายของอาจารย์
    นั้นเป็นปัจจัย ก็หามิได้ (อุปมา ๑) เปรียบเหมือน
    น้ำมนต์ที่ตัวแทนดื่ม มิได้เข้าท้องของคนเป็นโรค แต่
    โรคของคนเป็นโรคนั้น จะไม่สงบลงเพราะการดื่ม
    น้ำมนต์ของตัวแทนเป็นปัจจัยนั้น หามิได้ (อุปมา ๒)
    วิธีประดับตกแต่งใบหน้าไม่ไปถึงเงาหน้าในแผ่นกระจก
    เงาเป็นต้น แต่วิธีประดับตกแต่งจะไม่ปรากฏในแผ่น
    กระจกเงาเป็นต้นนั้น เพราะวิธีประดับตกแต่งนั้น
    เป็นปัจจัย หามิได้ (อุปมา ๓) เปลวประทีปของไส้
    (ตะเกียง) ไส้หนึ่ง จะไม่ลามไปยังอีกไส้หนึ่ง แต่เปลว
    ประทีปในไส้ (ตะเกียงอีกอันหนึ่ง) นั้นจะไม่เกิดขึ้น
    เพราะไส้ (ตะเกียงอันก่อน) นั้นเป็นปัจจัย หามิได้
    (อุปมา ๔) ฉันใด ธรรมอะไรๆ จากภพในอดีต มิได้
    ก้าวมาสู่ภพนี้ หรือจากภพนี้มิได้ก้าวไปสู่ภพหน้า
    เหมือนฉันนั้นนั่นแล แต่ขันธ์, อายตนะ และธาตุ
    ทั้งหลาย จะไม่เกิดขึ้นในภพนี้ เพราะมีขันธ์, อายตนะ
    และธาตุ ทั้งหลายในภพอดีตเป็นปัจจัย หามิได้ หรือว่า
    ขันธ์, อายตนะและธาตุทั้งหลายในภพหน้า จะไม่เกิดขึ้น
    เพราะมีขันธ์ อายตนะและธาตุ ทั้งหลายในภพนี้เป็น
    ปัจจัย หามิได้ ฉะนี้แล
    ยเถว จักขุวิญญาณัง มโนธาตุอนันตรัง
    น เจว อาคตัง นาปิ น นิพพัตตัง อนันตรัง
    ตเถว ปฏิสันธิมหิ วัตตเต จิตตสันตติ
    ปุริมัง ภิชชตี จิตตัง ปัจฉิมัง ชายตี ตโต
    เตสัง อันตริกา นัตถิ วีจิ เตสัง น วิชชติ
    น จิโต คัจฉติ กิญจิ ปฏิสันธิ จ ชายติ.

    แปลความว่า
    จักขุวิญญาณ มาในลำดับของมโนธาตุ และมิได้มา
    อีกทั้งมิได้เกิดในลำดับ (แห่งมโนธาตุ) หามิได้ ฉันใด
    ความสืบเนื่องของจิตเป็นไปใน (ลำดับของ) ปฏิสนธิ
    ฉันนั้นเช่นกัน จิตดวงก่อนแตกดับไป จิตดวงหลังก็เกิด
    (ต่อ) จากนั้น ไม่มีระหว่างคั่นของจิต ๒ ดวงนั้น จิต ๒
    ดวงนั้นหามีช่องว่างมิได้ ทั้งจิตไรๆ ก็มิได้ (จุติ) ไปจาก
    จิตดวงนี้ และปฏิสนธิ (จิต) ก็เกิดขึ้น ดังนี้


    *****************************************
    เรียบเรียง
    จาก
    วิสุทธิ ญาณ นิเทส
    ตำราคู่มือวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    ธนิต อยู่โพธิ์
    แปลและเรียบเรียง
    จาก
    พระบาลีคัมภีร์วิสุทธิมัคค
    ปริจเฉทที่ ๑๘ - ๒๓

    พ.ศ. ๒๕๒๕
    หน้า ๔๙ - ๕๘ *****************************************
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    กรรมดี กรรมชั่ว ลบล้างกันไม่ได้

    ตามหลักกรรม หลักแห่งเหตุปัจจัยของสรรพชีวิต
    กรรมดี กรรมชั่ว แยกกันโดยเด็ดขาด จะทำกรรมดีเพื่อลบกรรมชั่วนั้น
    ลบไม่ได้
    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฏแห่งกรรมซับซ้อนนัก มีเงื่อนไขมากมาย
    และเป็นรายละเอียดเฉพาะแต่ละบุคคลที่ทำมา สร้างมาไม่เหมือนกัน
    ไม่เท่ากัน ทั้งกรรมดี กรรมชั่วและกรรมกลางๆ คือ กรรมที่ไม่ดีไม่ชั่ว
    (ท่านจึงบอกว่า เรื่องของกรรม เป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด เป็นหนึ่งใน
    อจินไตย ๔ คือ เรื่องที่ไม่ควรคิด ๔ ประการ คือคิดแล้วก็ปวดหัว
    เปล่าๆ ใครคิดเรื่องเหล่านี้จนมากไป หมกมุ่นไป ก็อาจฟั่นเฟือน
    ไปได้เหมือนกัน นั่นคือเรื่องเกี่ยวกับโลก เรื่องวิสัยของพระพุทธเจ้า
    เรื่องของกรรมและเรื่องวิสัยของผู้ได้ฌาน)
    กรรมนี้ซับซ้อน และจะให้ผลแน่นอนเมื่อได้โอกาส สบจังหวะที่จะ
    ให้ผล ดังนั้นท่านจึงแนะนำให้หมั่นทำแต่กรรมดี เพราะอะไร
    ก็เพราะว่า ปัจจุบัน เป็นผลจากอดีต (คือที่เรากำลังเป็นอยู่ ไม่ว่าดี
    ชั่วอย่างไร ก็คือ ผลของกรรมที่เราเองเคยสร้าง เคยก่อ เคยทำเอาไว้เอง
    ในอดีต ไม่ว่าอดีตใกล้ คือในชาตินี้ หรืออดีตไกล คือในชาติภพก่อนๆ
    ทั้งใกล้และไกล ซึ่งมาได้จังหวะส่งผลในชาตินี้ ในปัจจุบันขณะนี้เอง)
    ดังนั้น การกระทำของเราทุกคนในปัจจุบันนี้เอง ก็เป็นการก่อร่าง
    สร้างเหตุ กำหนดอนาคตของเราเองในสังสารวัฏอยู่ ท่านจึงแนะนำ
    ให้ทำแต่ความดี อยู่ในศีลในธรรม (เพื่อให้ได้เกิดดี) ให้หมั่นทำบุญ
    ทำทาน (เพื่อให้มีกินมีใช้ไม่ลำบากอดอยาก) ให้มีเมตตา ไม่เย่อหยิ่ง
    ไม่ดูถูกคนอื่น (เพื่อให้ได้เกิดในครอบครัวที่ดี ตระกูลที่สูง) ฯลฯ
    และที่สุด หากเป็นไปได้ ก็ให้หมั่นเจริญสติปัฏฐานสี่ไปด้วย
    เพื่อแผ้วทางออกจากการเวียนว่ายตายเกิด ออกจากทุกข์
    อย่างไรก็ตาม แม้กรรมดีกรรมชั่วจะลบล้างกันไม่ได้ แต่หากเราทำดี
    มากๆ จิตใจใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ ก็เป็นไปได้ว่าเรากำลังสร้างกรรม
    ดีอันต่อเนื่องทำให้ไม่ค่อยจะเปิดโอกาสให้ผลกรรมชั่วในอดีตมาแทรกได้
    (ก็คือ กรรมดีที่เรากระทำ ปิดโอกาสให้กรรมชั่วได้แสดงผลนั่นเอง)
    อันนี้กล่าวโดยกว้างๆ ดังนั้น หากเราตั้งใจทำแต่ความดี ตั้งใจชำระกายวาจาใจให้สะอาดบริสุทธิ์
    อยู่เป็นนิจสิน กรรมไม่ดีเราไม่ทำ พยายามเลิกทำกรรมชั่วทั้งทางกาย
    ทางวาจาและทางใจ ก็เท่ากับเรากำลังไม่สร้างกรรมชั่วเพิ่ม ไม่เพิ่มการรับผล
    ในทางลบให้กับทางของตัวเองในวัฏสงสาร ชีวิตข้างหน้าต่อๆ ไปก็น่าจะ
    มีแต่ดีและดียิ่งๆ ขึ้น ก็เป็นไปได้อยู่เหมือนกัน
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การครอบครอง

    ด้วยอวิชชา ทำให้มนุษย์เห็นไปว่ามีตัวตน มีอัตตาอันยิ่งใหญ่
    เป็นหนึ่ง เป็นใหญ่ในโลก ครองโลก ครอบฟ้า ครองสัตว์ทั้งหลาย
    สามารถเข้าไปจัดการกับชีวิตของสัตว์อื่นได้สารพัดอย่าง
    อันที่จริงนั้น ในจักรวาลนี้หรือจักรวาลไหนก็ตาม ก็ไม่มีอะไรนอกเหนือ
    ไปจากธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกชีวิตล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่อาศัย
    กันและกัน เป็นเหตุเป็นผลเป็นปัจจัยต่อกัน ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร
    ไม่มีใครสำคัญกว่าใคร ทุกอย่างทุกชีวิต ต้นไม้ทุกต้น แม่น้ำลำธาร
    สัตว์ทุกชนิดทุกตัว มนุษย์ทุกคน ล้วนเป็นองค์ประกอบ
    เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ในธรรมชาติ
    การครอบครอง จึงนับเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับความเป็นไปในธรรมชาติ
    เพราะที่จริงไม่มีอะไรครองอะไรได้ ไม่มีใครครอบครองใครได้ การเข้าไป
    ครอบครอง ก็คือการเข้าไปยึด เข้าไปถือเอาว่าเป็นของเรา
    เป็นสิ่งที่หวงแหนอยากมีไว้ อยากยึดเอาไว้เป็นของตน
    บุคคลใดมีความหวงแหนมาก ครอบครองอะไรต่ออะไรมากมาย
    ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ก็ย่อมหนักและอัดแน่นยิ่งๆ ไปด้วยอัตตา ตัวตน
    แบกสิ่งต่างๆไว้ หวงแหนยึดเอาไว้
    หากบุคคลใด สามารถวางความอยากได้ใคร่มี อยากครอบครอง
    อะไรต่อมิอะไรลงได้ ก็จะเบา จะคลาย
    ไม่ว่าสิ่งที่เข้าไปครอบครองจะเป็นคน สัตว์หรือสิ่งของใด ใหญ่หรือเล็ก
    ถูกหรือแพง หากผู้ครอบครองเข้าไปครอบครองด้วยความยึดมั่นถือมั่น
    มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทุกข์มากเท่านั้น ทุกข์เพราะว่า ทุกอย่างต้องเปลี่ยน
    แปลงไป เสียไป เสื่อมสภาพหรือสูญสลายไป ตามธรรมดาของกฏธรรมชาติ
    แต่หากผู้ใดวางเบาจากการครอบครอง รักก็รักอย่างใช้ปัญญา มีสติ
    แล้วก็ปกครองหรือดูแลสิ่งหรือชีวิตหรือผู้คนนั้นๆ ไปตามเหมาะสม
    ตามควร เช่น มีรถ ก็รัก ก็ดูแลคอยล้าง คอยเช็คสภาพให้ดีเหมาะแก่
    การใช้งาน โดยมีสติรู้อยู่ว่าวันหนึ่งรถอาจไปชน หรืออาจผุพังไป
    ไม่สวยเหมือนเก่า คิดและทำได้อย่างนี้ ก็ทุกข์น้อยหน่อย แต่หากใคร
    เข้าไปยึด เข้าไปถือ เข้าไปครอบครองอย่างเต็มเปี่ยม ไม่มีสติ ไม่มอง
    ตามความเป็นจริง ก็จะหวง มีรอยขีดข่วนบนรถสักรอยก็อาจเสียดาย
    เสียใจ ทุกข์จนเหลือแสน หากรถโดนชน ก็อาจเกิดโทสะ โกรธ คนมาชน
    การครอบครองอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่ใช้เหตุผลเช่นนี้ จึงนำแต่ทุกข์
    มาให้ หรือหากเป็นคนในปกครอง ลูกจ้าง หากบุคคลใดปกครองไป
    ตามหน้าที่ ให้ผลตอบแทนในการทำงานที่คุ้มกับความเหนื่อยยาก
    และมันสมองที่เขาใช้ทำงานให้เรา ส่งเสริมให้เขาก้าวหน้าขึ้น
    วันใด ลูกจ้างได้งานใหม่ที่ดีกว่า ก้าวหน้ากว่า ก็พลอยยินดีไปด้วย
    ไม่ได้หวงแหนเอาไว้จนเกินเหตุ เช่นนี้คนๆ นั้นก็จะมีความสุขอยู่เสมอ
    ในขณะเดียวกัน หากคิดและยึดว่าฉันใช้เงินจ้างเธอมาทำงานให้แล้ว
    เธอต้องซื่อสัตย์จงรักภักดีไปไหนไม่ได้ ต้องเรียกใช้ได้ตลอด ๒๔
    ชั่วโมง ทั้ง ๗ วัน คิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของชีวิตของคนอื่น
    อย่างนี้ ก็จะเป็นทุกข์ เพราะในความเป็นจริง ทุกคนต้องการ
    เป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระ วันใดวันหนึ่งที่คนงานคนนั้น
    ลาออกไปเพราะทนความบีบบังคับจากการยึดมั่นและครอบครอง
    จนเกินเหตุนี้ไม่ได้ คนเป็นเจ้านายเองย่อมเป็นทุกข์ เสียใจ
    ทั้งนี้ ก็เพราะเข้าไปยึด เข้าไปครอบครอง จนเกินความพอดี
    นั่นเอง ดังนั้น หากทุกชีวิต ทุกสิ่ง อยู่กันอย่างเอื้ออารี มองเห็นกันเหมือนมองเพื่อน
    ร่วมโลก เพื่อนร่วมทุกข์ เพื่อนในธรรมชาติที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน อิงกัน
    ต่างคนต่างชีวิตต่างสิ่ง ต่างก็ทำหน้าที่ของตนไป ไม่ล้ำเส้นของกันและกัน
    ไม่เข้าไปยึด ไม่เข้าไปครองจนเกินเหตุ แต่ปกครองกันด้วยเมตตา
    ดูแลเอาใจใส่กันไปตามหน้าที่ มีความรักที่ไม่หวงแหนจนเกินเหตุ
    ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกชีวิต ทุกคน ก็จะมีความเป็นอิสระในตัว มีช่องว่าง
    ที่กำลังพอดีระหว่างกัน ในขณะเดียวกันก็อยู่ในช่วงระยะพอเหมาะ
    ที่จะพึ่งพาอาศัยกันและกันได้พอดีพอเหมาะตามแต่ละบทบาทหน้าที่
    ก็จะเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ให้เกียรติ เคารพความเป็น
    ปัจเจกของแต่ละสิ่ง แต่ละชีวิต แต่ละคน ก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่าง
    เป็นสุข ต่างก็เป็นสุข ต่างก็รู้หน้าที่ต่อกัน และเป็นสุขที่เบาคลาย
    เพราะไม่ได้เข้าไปยึด ไม่ได้เข้าไปครอบครองจนเกินความพอดี
    ไม่ได้เข้าไปครอบครองจนเกิดทุกข์เพราะการครอบครองนั้น
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การฆ่า

    คำว่าการฆ่า ก็ชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นการผิดศีลข้อหนึ่ง
    การฆ่า การทำลายชีวิต การตัดชีวิต การเบียดเบียนทำร้ายชีวิตอื่นใด
    แม้แต่ชีวิตตัวเราเอง ก็ผิดศีลทั้งสิ้น การฆ่าตัวตายหรือการตัดชีวิต
    ตัวเองนั้น ในคติพุทธถือว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง
    องค์ประกอบที่จะทำให้ผิดศีลข้อหนึ่ง (ปาณาติบาต) แน่นอนเต็มๆ
    การฆ่านั้นต้องประกอบไปด้วยหลัก ๕ ประการนี้
    (๑) สัตว์นั้นมีชีวิต
    (๒) รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
    (๓) มีจิตคิดจะฆ่า
    (๔) เพียรพยายามฆ่า
    (๕) สัตว์นั้นตายลง
    ดังนั้น หากครบทั้ง ๕ องค์ประกอบนี้ ก็เป็นอันศีลข้อหนึ่งขาดแน่นอน
    ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวเอง ฆ่าสัตว์ใหญ่น้อยใดๆ ก็ตาม แต่หากไม่ครบ
    องค์ประกอบทั้ง ๕ ก็เรียกว่าไม่ถึงกับศีลขาด อาจแค่ศีลพร่อง เช่น
    ไม่ทราบว่ามีมดอยู่แล้วเอามือลูบไปถูกมดตาย ก็เรียกว่าศีลพร่อง
    คือไม่เห็น ไม่รู้ ไม่ได้ตั้งใจจะเพียรพยายามฆ่า ก็ไม่ครบองค์ที่จะ
    ทำให้ศีลขาด
    การฆ่าตัวตาย

    ทำไมการฆ่าตัวตายจึงถือเป็นบาปอย่างยิ่ง
    ทั้งนี้เพราะ ทุกชีวิตเกิดมาใช้กรรมที่เราทำไว้ในอดีต เราเกิดมาเพื่อ
    รับผลของกรรมใดกรรมหนึ่งหรือหลายๆ กรรมที่เราทำๆ ไว้เองแล้ว
    ในอดีตชาติอันมากมายนับไมถ้วนในสังสารวัฏ
    การทำให้ชีวิตของตนต้องจบลงด้วยการฆ่าตัวตาย เป็นการไปตัด
    โอกาสที่บุคคลควรได้อยู่ต่อตามอำนาจกรรม และชดใช้กรรมหรือรับผล
    ของกรรมที่ตัวเองมีหน้าที่จะต้องมารับมาชดใช้ในชีวิตนี้ ในชาตินี้
    ทำให้หมดโอกาสที่จะได้ใช้กรรมไปตามกระแสกรรม กระแสเหตุ
    และปัจจัย ตามที่ควรจะเป็น จวบจนสิ้นอายุขัยจริงๆ ในชาตินี้
    ทั้งยังอาจตัดโอกาสที่จะได้มีชีวิตอยู่ต่อเพื่อกระทำความดี
    เพื่อสร้างสมบุญ สร้างสมปัญญา ให้เพิ่มพูนอีกด้วย
    เคยอ่านพบ ในคติพุทธบอกไว้ว่า ผู้ที่ฆ่าตัวตาย จะต้องไปรับผลกรรม
    แห่งการฆ่าตัวตายคือจะต้องเกิดมาแล้วด่วนฆ่าตัวตายเสียก่อนจะ
    หมดอายุขัยไปอีกประมาณห้าร้อยครั้งหรือห้าร้อยภพชาติ
    การฆ่าสัตว์เล็กๆ อาทิ มด ปลวก แมงสาบ ฯลฯ

    เราทราบๆ กันอยู่ว่าการฆ่าสัตว์ใหญ่ ฆ่าคนด้วยกัน นั้นไม่ถูกต้อง
    ทั้งทางกฏหมายและทางธรรม ในทางธรรมถือเป็นบาปยิ่งนัก
    เมื่อฆ่าเขา เกิดมาชาติต่อๆ ไป ก็จะต้องถูกเขามาฆ่าบ้าง
    ทำลายชีวิต ตัดชีวิตบ้าง เป็นการรับผลของกรรมนั้น
    แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน
    ผู้คนมักกังขากันว่า แล้วสัตว์เล็ก ล่ะ อาทิ มด ปลวก แมงสาบ ฯลฯ
    จะบาปไหมที่ไปฆ่าเขา คำตอบก็ตามหลักเดิมๆ คือทุกชีวิตล้วนหวงแหน
    ชีวิตของตน และทั้งทุกชีวิตก็มีกรรมของตนจะต้องมาชดมาใช้
    มารับผลในปัจจุบันขณะและในชาติภพปัจจุบัน ดังนั้นฆ่าอะไร
    ที่เป็นสิ่งมีชีวิต ก็บาปทั้งนั้น ผิดศีลข้อปาณาติบาต ทั้งสิ้น
    ฆ่าคนก็บาป ฆ่าช้างก็บาป ฆ่าปลาก็บาป ฆ่ามด ปลวก ก็บาป
    เช่นกัน ที่จริง การฆ่าสัตว์เล็กๆ ในบ้าน ในอาคาร อย่าง มด ปลวก แมงสาบ ฯลฯ
    นับเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ คือ เขาเข้ามาอยู่มาอาศัยแล้วจึงไปฆ่าเขา
    กำจัดเขา มีอีกวิธีที่อาจลองนำมาใช้ดู ก็คือ ใช้วิธีป้องกันไม่ให้เขาเหล่านี้
    มาอยู่ในบ้าน ในเรือน ในอาคาร หรือบนจานอาหาร อย่างเช่น ถ้าห้องสะอาด
    แมงสาบก็จะไม่มาอยู่เพราะเขาชอบอยู่กับสิ่งสกปรก ถ้าโต๊ะไม่มีเศษอาหาร
    ไม่มีจานใช้แล้ววางค้างๆ อยู่ มดก็ไม่รู้จะมาขึ้นอะไร เขาก็ไม่มา
    ปลวกนั้น หากตอนสร้างวางแผนและป้องกันปลวกไว้ก่อนแล้ว
    ก็ไม่น่าจะมีปลวกขึ้น อะไรทำนองนี้ หากทำได้ ก็จะได้ไม่ต้อง
    มานั่งหาทางคิดแก้ กำจัด หรือทำร้ายทำลายชีวิตกัน
    ให้ต้องไม่สบายใจ ให้ต้องบาปกรรมติดตัวเพิ่มขึ้นอีก
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การฉ้อโกง ลักทรัพย์

    อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมย ไม่ฉ้อโกง ไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของตน
    โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อน

    ในโลกนี้ ของของใครใครก็รัก ของของใครใครก็หวง ห่วงใย
    ของของเรา คนที่เรารัก ใครมายื้อไป แย่งไป เอาไป ฉกฉวยไป
    เราก็ย่อมเสียใจ เป็นทุกข์ โกรธ
    ในทางกลับกัน เราไปแย่งของใคร ฉกฉวย ยื้อของใครมา
    เจ้าของของนั้น สิ่งนั้น คนนั้น ก็ย่อมเสียใจ เป็นทุกข์และโกรธ
    โทษเราเป็นธรรมดา
    การฉ้อโกงหรือการลักทรัพย์ เป็นบาปอย่างหนึ่ง เป็นกรรมหรือ
    การกระทำอันเป็นอกุศล ให้ผลเป็นความทุกข์ ให้ผลเป็นโทษภัย
    ท่านว่า ใครลักขโมยฉ้อโกงของๆ ใคร หากสร้างสมบัติได้หรือหาก
    มีสมบัติ สมบัติเหล่านั้นก็จะถูกภัยอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ต้อง
    สูญเสียไป ทำลายไป เช่นถูกโจรภัย ถูกใครมาฉกฉวยเอาไป
    อีกต่อหนึ่ง ของหรือสมบัติที่มีที่ได้มาโดยมิชอบก็จะไม่ยั่งยืน
    ต้องมีอันสูญเสียไป เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง
    การให้ผลของกรรมนั้น อาจไม่ได้ให้ผลทันที กรรมไม่ดีเหล่านี้
    รอให้ผลอยู่แน่นอนที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว ไม่ชาตินี้ ก็ชาติหน้า ก็ชาติ
    ต่อๆ ไปไม่ว่าใกล้หรือไกล
    มีผู้คนบอกว่า เห็นคนที่โกงกิน ก็เสวยสุขอยู่ เห็นแข็งแรง
    อยู่เย็นเป็นสุข ต้องขอแนะให้ไปอ่านเรื่องกรรม กฏแห่งกรรม
    ให้ดีๆ ให้ชัดๆ อ่านและศึกษาให้ทะลุ ก็จะสามารถเห็นได้ว่า
    คนที่ทำกรรมไม่ดีใดๆ แต่ยังเป็นสุข เพราะกรรมไม่ดีนั้น
    ยังไม่แสดงผล ยังไม่ถึงเวลาให้ผลต่างหาก ไม่ใช่เขาทำชั่วได้ดี
    ในทางธรรม ในกฏแห่งธรรมชาติ เป็นไปไม่ได้เลย ที่ทำไม่ดี
    จะให้ผลเป็นดี และทำดีจะให้ผลเป็นร้าย ให้ปลอดภัย สบายใจแน่นอนไว้ก่อน ไม่สร้าง ไม่ก่อกรรมไม่ดี
    เอาไว้เป็นดีที่สุด ศีลห้า หากใครเพียรรักษาไว้ได้ ก็จะสบายใจ
    รู้สึกมั่นคงปลอดภัยในชีวิต และทั้งศีลห้านี้ ยังจะเป็นฐานให้กับ
    การพัฒนาจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อการเกิดปัญญา
    เห็นกรรม เห็นธรรมตามความเป็นจริง เพื่อจะลด-ละทุกข์ในโลก
    ในสังสารวัฏ ให้เบาบางลงไปตามลำดับได้ด้วย
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การดื่มสุรา

    ในทางพระพุทธศาสนา สิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งคือการมีสติ
    ดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า "สติปัฏฐาน (คือการมีสติรู้ตัว
    ทั่วพร้อมอยู่ในกายและใจของเราแต่ละคนเอง) เป็นทางสายเอก
    เป็นทางสายเดียว ไปสู่ความพ้นทุกข์"

    ในทางพุทธศาสนา หากจะมีชีวิตอย่างมีปัญญาแล้ว ทุกอย่าง
    ต้องเดินสายกลาง ทุกอย่างต้องมีความพอดี อาทิ มีศรัทธาก็ต้อง
    มีศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา และต้องเป็นศรัทธาที่พอดีๆ
    ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีความเพียรก็ต้องพอดีๆ กับทางสายกลาง
    ของตัวเองแต่ละคน แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ไม่เคยมากเกินไป
    มีแต่ยิ่งมากยิ่งดี ก็คือ สติ
    ด้วยเหตุที่สติสำคัญขนาดนี้ การผิดศีลข้อห้า จึงมีความสำคัญ
    เป็นอย่างยิ่ง ครูบาอาจารย์บอกว่า หากขาดสติเสียแล้ว ก็ผิดศีล
    อีกทั้ง ๔ ข้อที่เหลือได้หมด
    ครูบาอาจารย์บอกว่า สุราและน้ำเมาทั้งหลาย คือ น้ำทำลายสติ
    ก็เพราะดื่มเข้าไปแล้ว ก็จะทำให้สติอ่อน ขาดสติ ทำอะไรไม่ดีไม่งาม
    ผิดศีลทั้งทางกาย วาจา ใจ ได้หมด อีกชื่อคือเป็น น้ำนรก ทั้งนี้
    หมายความว่า เมื่อใครดื่มจนเมามายขาดสติแล้ว ก็นำไปทำไม่ดี
    เมื่อทำไม่ดี ทำบาป ก็มีนรกเป็นทางไป มีทุคติภูมิ คือ ภพภูมิที่
    มีแต่ความทุกข์ เป็นที่ไป นอกจากนี้ ท่านว่า หากดื่มจนเป็นนิจสิน เมามายอยู่เนืองๆ
    เป็นประจำ ก็เรียกว่าเป็นอาจิณกรรม การสั่งสมความขาดสติอยู่
    จนติดตัว สม่ำเสมอ ก็จะทำให้เป็นคนปัญญาไม่ดี ปัญญาอ่อนด้อย
    เกิดมาชาติไหนๆ ก็จะด้อยน้อยปัญญา อาจปัญญาอ่อน พาให้หลงผิด
    เข้าใจผิดเป็นถูก ถูกเป็นผิด อย่างที่โบราณเรียกว่า เห็นกงจักรเป็น
    ดอกบัว
    อยู่ร่ำไป พาให้ลงลึกไปในทางแห่งมิจฉาทิฏฐิ ความไม่รู้และ
    ความหลง เป็นเหตุให้ติดข้องเวียนว่ายมืดบอดอยู่ในสังสารวัฏ
    อยู่นั่นแล้ว
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    "ความก้าวหน้าในการงาน"
    ผู้สนใจธรรมหรือผู้ปฏิบัติธรรมจะโชคดีอยู่อย่าง
    (ความจริงไม่ควรใช้คำว่า "โชค" แต่ไม่ทราบจะใช้คำอะไรดี
    ก็เลยขอเป็นคำนี้ไปก่อนแล้วกันค่ะ) ตรงที่เข้าใจซาบซึ้ง
    ใน โลกธรรมแปด (ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ
    เสื่อมยศ นินทา ทุกข์) ได้พอสมควร รู้และตระหนักว่า
    เมื่อลาภมา วันหนึ่งความเสื่อมในลาภนั้นก็จะตามมาเช่นกัน
    อย่างนี้เป็นต้น
    อย่างที่มีในคติพุทธศาสนาว่า "สุขอื่นใดเหนือความสงบ ไม่มี"
    ดังนั้น ถ้าใครทำงานหรือมีชีวิตในทุกๆ ด้าน โดยมีความสงบ
    ในจิตใจเป็นพื้นฐาน ย่อมเป็นผู้มีความสุขอย่างยิ่ง
    จะอยู่ในโลกอันวุ่นวาย ก็วุ่นวายไปแต่กิริยา ขยับทำไปตามหน้าที่
    แต่ใจไม่ได้วุ่นวายด้วย ใจวาง ใจสงบ ใจรู้ ใจมีสติ
    ดังนั้น ปุถุชนอย่างเราๆ ถ้าใครสามารถทำงานไปตามหน้าที่
    ระลึกรู้อยู่ว่านี่เป็นหน้าที่ทางโลก หน้าที่ของกายนี้ใจนี้ในปัจจุบันชาติ
    ก็จะโชคดียิ่ง ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ตามขั้นตอนของโลก
    และยิ่งถ้าใครสามารถวางความอยากก้าวหน้าลงเสียได้
    (เพราะอย่างไรเสีย ตั้งใจทำงาน ก็ย่อมต้องก้าวหน้าอยู่แล้ว
    ไม่ว่าจะอยากหรือไม่อยากได้ก็ตาม) หรือมีสติรู้จักเค้าว่าก็เป็นเพียง
    "ลาภ" (หนึ่งในโลกธรรมแปด) อีกชิ้นหนึ่งเท่านั้น ก็จะยิ่ง
    โชคดีเข้าไปใหญ่ เมื่อลาภคือความก้าวหน้ามาถึง ก็ไม่ดีใจจน
    เกินเหตุ เพราะรู้เท่าทันเสียแล้ว ทำให้ใจหนักแน่น มั่นคง มีสติ
    พร้อมต่อการเผชิญทุกสิ่งทุกอย่าง เผชิญงานที่หนักหนาสาหัส
    ยิ่งกว่า ได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
    และหากลาภหรือความก้าวหน้าที่คาดหวังไว้หรือว่าที่ควรจะได้
    ในเวลานั้นเวลานี้ ไม่มีมา ก็จะได้ไม่ฟูมฟาย ทุกข์ทรมาณ
    โกรธตัวเอง โกรธโลก จนเกินเหตุ เพราะก็รู้เท่าทันความไม่เที่ยง
    ความไม่แน่นอนในโลก เสียแล้วเช่นกัน

    "ความสุขกับปัจจุบันในการทำงาน"
    คงต้องเริ่มจากความเข้าใจและยอมรับอย่างถ่องแท้ในหน้าที่ในโลก
    เสียก่อนว่า เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีหน้าที่มากมายที่ต้องปฏิบัติ
    ใครเป็นลูก ก็มีหน้าที่ของลูก พ่อแม่ก็มีหน้าที่ของพ่อแม่ เป็นต้น
    งานก็เช่นกัน เป็นหน้าที่ของมนุษย์ กายนี้มีให้ใช้ให้เคลื่อนไหว
    ใจมีให้ฝึกเพื่อประโยชน์โลกประโยชน์ธรรม สรุปก็คือ ต้องพิจารณา
    ใคร่ครวญให้เข้าใจและรู้ในหน้าที่ของตัวเราเองในทุกบทบาท
    รวมทั้งบทบาทการทำงานด้วย จากนั้นก็ทำใจให้ยอมรับ
    ว่าจะทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุดอย่างมีความสุข ไม่ใช่ฝืนทำ
    ไปวันๆ ถ้าหากยังฝืนใจ ยังไม่มีความสุข อาจต้องลองพิจารณา
    ปรับความคิดเสียใหม่
    อันนี้สติปัฏฐานสี่ช่วยได้เรื่องการทำงานให้มีความสุขกับปัจจุบัน
    แต่ถ้าหมายถึงความสุขในปัจจุบันขณะคือแต่ละขณะจิต
    แต่ละวินาที ก็ตอบว่าต้องพึ่งพระสติ ใช้สติปัฏฐานสี่
    ภาคปฏิบัติ
    ตัวอย่างเช่นถ้าหากงานมาไม่รู้จบ งานนี้จบก็มีงานใหม่ต่อ
    ลองอย่างนี้ ... เมื่อได้งานใหม่มาปั๊บก็เอาสติไปรู้ว่า
    "งานใหม่หนอ" "รู้หนอ" แล้วก็ทำงานเก่าไปด้วยสติจนเสร็จ
    (ทำงานด้วยสติก็คือ "อยากทำงานหนอ" ตอนจะเริ่มงานตอนเช้า
    ก็ "ตั้งใจหนอ" "ทำหนอ" "เขียนหนอ" "คิดหนอ" "พูดหนอ"
    "คีย์หนอ" ฯลฯ)
    พองานเก่าเสร็จ ก็ "เสร็จหนอ" "ดีใจหนอ" "อยากพักหนอ"
    "พักหนอ" (กำหนดสติทุกครั้ง อย่าลืมกำหนดให้ถูกฐาน (คือถูกที่ตามความ เป็นจริงนะคะ
    ดีใจกำหนดที่ใจ อยากอะไรกำหนดที่ใจ เห็นกำหนดที่ตา
    ได้ยิน กำหนดที่หู ได้กลิ่นกำหนดที่จมูก เป็นต้น)
    พอพักเสร็จก็ "งานใหม่หนอ" "อยากทำหนอ" "ตั้งใจหนอ"
    "ทำหนอ" แล้วก็ทำต่อไป เท่านี้เอง จะกี่งานกี่งานมาต่อกัน
    ก็ไม่เป็นไรเลย เราก็ทำไปเรื่อยๆ ตามหน้าที่
    ความเครียดความเกร็งที่จะต้องทำจะลดน้อยหรืออาจหายไปก็ได้
    ด้วยเพราะเรามีสติกำกับตลอด เพราะเมื่อสติมา ปัญญาก็เกิด
    อวิชชาและกิเลส (เช่นความไม่อยากทำงาน) ออกทำงานไม่ได้
    หรือออกทำงานได้ยากขึ้นค่ะ
    ทำอย่างนี้...มีความสุขกับปัจจุบันได้แน่นอนค่ะ
    "ทำอย่างไรจะไม่เป็น workaholic"
    ถ้าทำสองข้อต้นได้ อาการ workaholic น่าจะเบาบางลง
    เพราะเราทำด้วยสติ มีชีวิตอยู่กับสติ ทำงานไปอย่างมีสมาธิ
    รู้ว่ากายนี้ใจนี้สักแต่ว่าทำหน้าที่ในแต่ละปัจจุบันขณะเท่านั้น
    เมื่อตกเย็น ทำงานมาเหนื่อยแล้ว ท้องเรียกร้องว่า "หิวหนอ" ก็ต้อง
    "อยากพักหนอ" "หิวหนอ" "รับประทานหนอ" "ทานหนอ" ไป
    เรียกว่าหน้าที่อะไรเด่นสุด หน้าที่อะไรควรทำที่สุด
    เมื่อใช้สติกำหนดอยู่แล้ว สติเค้าจะช่วย ปัญญาที่เกิดจะ
    บอกเราเองว่าตอนนี้เป็นเวลาพักนะ ตอนนี้เป็นเวลางานนะ
    ตอนนี้ต้องเร่งทำงานนะ เป็นต้น
    หรือทำงานมาจนดึกแล้ว ร่างกายไม่ไหวแล้ว ก็จะเริ่ม
    "ง่วงหนอ" "อยากพักหนอ" ถ้ายังอยากทำงานต่อก็ต้อง
    ใช้สติปัญญาเข้ากำหราบหน่อยละค่ะ ว่า "อยากทำงานหนอ"
    "ไม่ทำหนอ" "ต้องพักแล้วหนอ" อะไรก็ว่าไปตามจริงนะคะ
    กำหนดและพิจารณาตามสมควรไปเรื่อยๆ
    เบื่องาน "เบื่อ ซ้ำซาก เป็นวงกลม"
    ใช่แล้วค่ะ พระไตรลักษณ์กำลังปรากฏตรงหน้า
    สังสารวัฏกำลังเผยโฉมหน้าให้เห็นชัดๆ
    (ใช้เป็นเครื่องพิจารณาให้ปัญญาเกิดก็ได้ ถ้าต้องการ)
    วงเวียนชีวิตแต่ละวัน วงเวียนการทำงาน
    หรือวงเวียนการเวียนว่ายในสังสารวัฏ ก็เหมือนๆ กัน
    เป็นวงเวียน - วนเวียน แบบโลกๆ มีอยู่เท่านี้เองจริงๆ
    เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย - เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย -เกิด - - -
    เป็นอย่างนี้ไป หมุนวนไม่สิ้นสุด
    เรายังสร้างเหตุเกิด...เราก็เลยยังต้องเกิด
    เราก็เลยยังมี "ผลกรรมเก่า" ที่ต้องมารับ
    เราก็เลยยังต้องมี "หน้าที่ปัจจุบัน" ที่ยังต้องทำ
    ถ้าหากว่าเบื่องานแต่ว่ามีทางเลือกเช่นถ้าออกจากงานนี้
    แล้วมีงานใหม่รองรับ มีเงินรองรับ ไม่ลำบากเรื่องเศรษฐกิจ
    คุณแม่คุณพ่อ ครอบครัว ไม่ทุกข์ใจ เราสุขใจ ก็ไม่น่าจะเป็นอะไร
    ภาคปฏิบัติ
    แต่ถ้าต้องออกจากงาน โดยยังเคว้งคว้าง ภาระหน้าที่ยังมี
    นั่นก็ลำบากหน่อย ขอแนะนำว่าถ้ายังไม่เคยลองให้ลอง
    ฝึกใช้สติปัฏฐานสี่เข้ามาในชีวิตประจำวันแบบที่
    แนะนำไว้แล้วข้างบน จะช่วยแก้เบื่อแก้เซ็ง
    ได้เยอะ เวลาเบื่อก็กำหนด "เบื่อหนอ" แล้วดูอาการเบื่อไป
    ขี้เกียจก็กำหนด "ขี้เกียจหนอ" แล้วดูอาการขี้เกียจซิว่า
    เค้าหน้าตาเป็นอย่างไร ไม่ว่าอารมณ์อะไรจะเกิด กำหนดรู้
    ดูเขาไปตามความเป็นจริง
    กระซิบว่าวิชาสติปัฏฐานสี่นี้สนุกมาก
    วิชานี้ของพระพุทธองค์ ช่างเลิศจริงๆ
    ถ้าใครหมั่นกำหนดไปกับชีวิตประจำวันเรื่อยๆ จะรู้ว่า
    วันๆ นึงแค่มานั่งกำหนดสติ
    นี่ก็ไม่มีเวลาให้ฟุ้งซ่านเลยแล้ว กำหนดไม่ทันด้วยซ้ำ
    เพราะกายและใจเราเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา
    เกิด-ดับ เกิด-ดับ ตลอดเวลา มีงานให้สติทำอยู่ตลอดเวลา
    พร้อมๆ ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวันไปตามปกติ
    ทุกอย่างนี่แหละ
    แถมถ้าทำได้ จะพบกับความสุขอีกแบบ ความสุขแบบมี
    ปัญญาแท้ๆ ที่พาพ้นทุกข์ได้ (ภาวนามยปัญญา) และจะได้พบ
    ความมหัศจรรย์ของพระสติ ที่เล่ายังไงก็ไม่เหมือนได้สัมผัส
    ด้วยตัวเองนะคะ โลภ โกรธ หลง จะค่อยๆ เบาบางลง
    เข้ามามีอิทธิพลกับใจเราได้น้อยลงๆ เรื่อยๆ
    อวิชชาจะทำงานยากขึ้น วิชชาหรือปัญญาแท้ๆ
    รู้โลกรู้ธรรมตามความเป็นจริง จะค่อยๆ บังเกิด อยู่ในปัจจุบันได้อย่างเป็นสุข
    ไม่ได้กำลังสร้างเหตุไม่ดีหรือเหตุแห่งทุกข์ในอนาคตที่ยังต้องเวียนว่าย
    และกำลังสร้างสม แผ้วถางทางไปสู่ความพ้นทุกข์
    คือพระนิพพาน
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การประพฤติผิดในกาม

    การประพฤติผิดในกามด้วยการล่วงละเมิดในภรรยาและสามี
    หรือบุตรบุตรีของผู้อื่นโดยไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
    เป็นการผิดศีลข้อ ๓ ศีลข้อ กาเมสุมิจฉาจารา
    การผิดศีลเป็นโทษ เป็นบาปอย่างแน่นอน สำหรับการประพฤติ
    ผิดในกามนี้ ท่านว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งนัก ต่อความมั่นคง ความ
    อบอุ่นและความผาสุกของสังคม ของครอบครัว
    ครูบาอาจารย์กล่าวว่า ในครอบครัวใด สามีมีเพียงภรรยาเดียว
    ไม่ไปผิดลูกผิดภรรยาคนอื่น ไม่ไปมีที่สองที่สาม ครอบครัวนั้น
    ก็จะเป็นครอบครัวที่มีความสุข แม้จะไม่ร่ำรวย ก็มีความสุข ตรงกันข้าม หากครอบครัวใดมีผู้ผิดศีลข้อนี้ ไปล่วงละเมิด
    ในภรรยาหรือสามีของผู้อื่น ครอบครัวนั้นก็จะมีความสุขไปไม่ได้
    ต้องทุกข์ต้องเดือดร้อน ไม่มีพื้นฐานทางใจที่อบอุ่นมั่นคง
    ลูกหลานก็พลอยไม่ได้รับความอบอุ่นร่มเย็น
    พลอยเห็นตัวอย่างที่ไม่ดีไปด้วย
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การพูดโกหก พูดคำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อโปรยประโยชน์

    ท่านว่า ในบรรดาศีลห้า ศีลข้อที่เสี่ยงต่อการล่วงละเมิดง่ายที่สุด
    ก็คือศีลข้อ ๔ ที่ว่าด้วยการไม่พูดเท็จ เว้นจากการพูดคำหยาบ
    พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อโปรยประโยชน์ เพราะอาศัยเพียงอุปกรณ์
    เดียวคือปาก เมื่อพลั้งหรือเผลอพูดออกมาแล้วโดยไม่ใช้สติเข้า
    ควบคุม ไม่ตริตรองก่อนจะพูด ก็ผิดศีลข้อนี้ทันที ดังนั้น ควรมีสติก่อนพูด เพื่อจะให้ไม่เผลอพลั้งผิดศีลข้อนี้
    การฝึกสติปัฏฐาน สามารถช่วยให้สติเฉียบคม ช่วยให้สติ
    ทำงานฉับไวคล่องแคล่ว เมื่อมีสติ สัมปชัญญะก็จะตามมา
    ปัญญาก็จะเกิด ช่วยฉุดรั้ง คอยเตือนให้รู้ตัวก่อนที่จะเผลอ
    พลั้งพูดอะไรที่ผิดบาปหรือไม่สมควรออกไป
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>การแผ่เมตตา </CENTER>
    ท่านบอกว่า การแผ่เมตตาให้ฝึกแผ่ให้ตนเองก่อน แล้วจึงแผ่ไป ยังคนใกล้ชิด คนที่เป็นที่รักคนสนิทกัน เพราะใจเราเป็นบวก ใจเรารักและเมตตาต่อเค้าเหล่านี้อยู่แล้ว แต่คนที่ไม่ชอบ หรือกำลังโกรธนี่ ใจเราเป็นลบ ใจต่อต้าน คือ ที่แนะไปอย่างนั้น เพราะว่าถ้าหากปากก็แผ่เมตตา หรืออีกใจอยากจะแผ่เมตตา แต่อีกใจก็คัดค้านหรือต่อต้าน อันนี้ การแผ่เมตตาก็จะไม่มีผล หรือบางทีถ้าใจต่อต้านมากๆ ก็อาจมีผลทางลบได้ ท่านว่า การแผ่เมตตาให้กับคนที่เราไม่ชอบนี่ยากมาก จึงค่อยๆ ให้ฝึกใจเป็นลำดับไปอย่างที่บอกแล้วในย่อหน้านี้

    อันนี้เราต้องดู "ใจ" ของเราเอง บางคนก็บอกว่าแผ่เมตตาไป ทั้งๆ ที่กำลังโกรธก็ทำให้หายโกรธได้ อันนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ดีไป ใจรับและโน้มไปกับความเมตตาจนหายโกรธ หายเกลียด หายอาฆาตพยาบาท ได้ ...แต่ถ้าหากในกรณีที่โกรธ เกลียด อย่างรุนแรง แผ่ไปแต่อีกใจก็เป็นตรงข้าม แรงด้านลบ จะยิ่งแรงเป็นทวีคูณ ทั้งอาจจะยังจะทำให้ใจถูกบังคับ ให้แผ่เมตตาเกิดโทสะรุนแรงมาก เป็นทุกข์เป็นโทษ กับตัวเองเพิ่มเข้าไปอีกนะคะ
    การตั้งจิตอุทิศและแผ่ส่วนกุศล
    [ครูบาอาจารย์สอนมาว่า คำว่า 'แผ่ส่วนกุศล' ใช้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
    คำว่า 'อุทิศส่วนกุศล' ใช้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ไม่มีชีวิตอยู่แล้ว]
    ได้ยินมาว่าครูบาอาจารย์ทั้งหลาย พระผู้ศีลมั่นศีลบริสุทธิ์จิตบริสุทธิ์ ทั้งหลาย ท่านมักเจริญเมตตาธรรมอยู่เป็นนิจสิน เช้าๆ ปฏิบัติธรรมเสร็จ ก็มักแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีเว้นไม่มีประมาณอยู่แล้ว
    การ 'แผ่เมตตาไม่มีเว้นไม่มีประมาณ'
    การแผ่เมตตาทำได้ทุกเมื่อ ทุกเวลาที่นึกได้ หมั่นแผ่เมตตาวันละนิด วันละครั้งก็ยังดี ทำได้วันละหลายๆ ครั้ง บ่อยๆ เนืองๆ ก็ยิ่งดีใหญ่ค่ะ
    [อันนี้ ท่านว่า การแผ่เมตตาสามารถทำได้ตลอดเท่าที่นึกออก อย่างเช่นเรา นึกถึงใคร ฟังเกี่ยวกับใคร เกิดสงสารก็แผ่เมตตาออกไป อยู่ที่ไหน ไปเจอะเจอใครก็สามารถแผ่เมตตาออกไปได้ทุกเมื่อ แรกๆ อาจจะ เจาะจงตัวก่อน เอาคนใกล้ตัวคนที่เรารักก่อนก็ได้ (๑) แล้วก็แผ่เมตตา ให้กับตัวเองด้วย (๑) จากนั้น ลองพยายามแผ่เมตตาไปยังคนที่เรา ไม่ชอบหรือคนที่เขาไม่ชอบเรา อันนี้ต้องค่อยๆ ทำ ลองทำดู อาจรู้สึก
    ขัดใจก็หยุดไว้ก่อน ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะสามารถแผ่เมตตา ให้กับคนที่เราไม่ชอบหรือคนที่ไม่ชอบเราได้เอง อันนี้หากเราเป็น ผู้อยู่ในสติปัฏฐานสี่อยู่โดยปกติแล้ว อยู่ในศีลในทานอยู่แล้ว หรืออาจ เจริญภาวนาอยู่ประจำ ก็จะทำได้ง่ายขึ้นและง่ายขึ้นเรื่อยๆ ตามกำลัง และพัฒนาการของกายและจิต (๑)]
    แผ่ออกไปให้สรรพสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    -คุณแม่คุณพ่อ คุณแม่คุณพ่อทุกชาติภพ
    -บรรพบุรุษทุกชาติภพ
    -ท่านผู้มีพระคุณ ท่านที่มีบุญคุณทุกชาติภพ
    -ท่านที่นำเราให้ได้มาพบพระรัตนตรัย ได้เข้าถึงแก่นพระธรรม
    ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเส้นทางที่ดีตรงถูกต้อง ต่อพระนิพพาน ทุกชาติภพ
    -ผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเราทุกๆ ชาติภพ
    -ญาติเพื่อนฝูงพี่น้อง เพื่อนร่วมงานบริวารทุกชาติภพ
    -ครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรมที่นำเราไปสู่ความรู้ที่ดี ตรง ถูกต้องทั้งทางโลกและทางธรรมทุกชาติภพ
    -เจ้ากรรมนายเวรทุกชาติภพ
    -สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่คุ้มครอง ปกป้อง ดูแล คอยตักเตือน ชี้แนะ นำทางเราไปสู่การมีชีวิตที่ดีและสู่การพ้นทุกข์ ทุกชาติภพ
    ฯลฯ
    คำตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตาออกไปก็อย่างเช่น
    ขอให้ท่านเหล่านี้ ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงได้มีชีวิตที่ดี เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ได้อยู่ในแวดล้อมของกัลยาณมิตรผู้ล้วนเป็นสัมมาทิฏฐิ ให้ทุกรูปทุกนามได้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตราบที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ให้ทุกรูปนามได้มี โอกาสพบพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย ได้เข้าถึงแก่น แห่งพระธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และสติปัฏฐานสี่เส้นทางที่ดี ตรง ถูกต้อง และได้บรรลุถึงซึ่ง ความพ้นทุกข์ไปสู่ความสันติสุขอันไพบูลย์คือพระนิพพาน โดยเร็วด้วยกันทุกรูปทุกนาม ตามสมควรแก่บารมีของตน ด้วยเทอญ
    .....
    ขอคัดย่อเอา 'วิธีแผ่เมตตา' โดย พระเทพวิสุทธิกวี จากหนังสือ บทอบรมกรรมฐาน มาไว้ให้อ่านกันดังนี้
    วิธีแผ่เมตตา
    ท่านอธิบายไว้หลายแนว โดยเฉพาะในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่ง ในที่นี้จะย่อมากล่าวแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น คือ
    -ครั้งแรก- ให้แผ่เมตตาไปในตัวเราก่อน คือ ในตนเองก่อน ที่เราต้องแผ่ให้ตัวเองก่อน ก็เพื่อทำเราให้เป็นพยานว่าเรานั้น รักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด แม้บุคคลอื่นสัตว์อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ควร เบียดเบียนผู้อื่น (ไม่ควรเบียดเบียนตนเองด้วย- deedi) นี้คือ ทำตนให้เป็นพยานก่อน
    -ต่อจากนั้น- ท่านบอกว่าให้แผ่เมตตาไปในบุคคลที่เรารัก เมตตาจิตจึงแผ่ไปได้ง่าย อย่าพึ่งแผ่ไปในศัตรูเสียก่อน เพราะ จิตนั้นยังกระด้างอยู่ การแผ่ไปในบุคคลที่เรารัก เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือที่เรารักมีความรักใคร่เกี่ยวข้อง เมตตาจิตนี้ ก็เป็นไปได้ง่าย ... เมื่อเมตตาจิตเป็นไปสะดวกในบุคคลที่เรารัก แล้ว ก็แผ่ไปในบุคคลที่เป็นกลางๆ คือ ที่เราไม่รักไม่เกลียด จิตใจก็เป็นไปได้ง่าย เพราะเราไม่มีเวรไม่มีภัยกับผู้นั้น ... เมื่อจิตเป็นไปคล่องแล้ว ต่อจากนั้นให้แผ่เมตตาจิตไปในบุคคล ที่เป็นศัตรู คอยจองล้างจองผลาญกับเราอยู่ การแผ่เมตตานี้ เป็นการฝึกใจตัวเราเองอย่างหนึ่งด้วย เมื่อเราหมั่นแผ่เมตตาไปแล้ว ในคติพุทธว่าไว้ว่าเราก็จะเป็น ที่รักของสรรพสัตว์ นอกจากนี้ บุญมีจริง กุศลกรรมมีจริง กุศลของเราที่ดีแล้ว ก็อาจสามารถนำไปช่วยผู้อื่นที่เขา ไม่ได้มาเจริญกุศลอย่างเรา หรือไม่ได้มีโอกาสมาพบ แก่นพระธรรมอย่างเราๆ ใครๆ ก็แผ่เมตตาได้ ขอเพียงให้ มีใจเมตตาอยากจะแผ่ออกไปด้วยบริสุทธิ์ใจจริงๆ ตามกำลัง ของตนเท่านั้น นั่นก็พอแล้ว
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    อานิสงส์ของการเจริญเมตตา
    (คัดจากหนังสือ บทอบรมกรรมฐาน โดย พระเทพวิสุทธิกวี เช่นกัน)
    (หน้า ๑๓๒)
    ...ถ้าใครมีเมตตาจิตเป็นประจำแล้ว ผู้นั้นจะอายุยืนด้วย มีลักษณะดีเด่นประจำตัว ใครๆ ก็ชอบเข้าใกล้ ทำให้เกิดความ สงบสุข
    เพราะฉะนั้น เมตตาจิตนี้จังเป็นคำสอนที่ดีเลิศในพระศาสนาของเรา เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อความมีใจกว้าง ไม่ถือเขา ไม่ถือเรา เป็น คำสอนที่เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียน เป็นหลักอวิหิงสาใน พระศาสนาของเรา เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อภราดรภาพ คือ เพื่อเป็นพี่เป็นน้องกัน เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อมิตรภาพ คือ เพื่อความเป็นเพื่อนกัน เป็นผู้รักใคร่กัน เป็นคำสอนที่เป็นไป เพื่อสันติภาพ คือ เป็นไปเพื่อความสงบสุขของโลก เป็นคำสอน ที่เป็นไปเพื่อมนุษยธรรม คือ เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
    ...
    อันเมตตานี้ เราจะต้องสั่งสมให้เกิดขึ้น ถ้ามิสั่งสมแล้วเมตตาจิตนี้ จะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้
    (หน้า ๑๓๕-๑๓๙)
    อานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่าง
    ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ย่อมได้อานิสงส์ ๑๑ อย่างดังนี้ คือ
    (๑)
    หลับก็เป็นสุข
    ไม่ทุรนทุราย ละเมอไปต่างๆ ฯลฯ
    (๒)
    ตื่นก็เป็นสุข
    คือ ตื่นด้วยความอิ่ม ไม่ตื่นแบบหวาดผวา งัวเงีย
    (๓)
    ไม่ฝันร้าย
    คนเจริญเมตตาจะฝันดี รู้สึกสบายใจในเรื่องที่ฝันเห็น
    (๔)
    อมนุษย์ทั้งหลายรักใคร่
    อมนุษย์ตรงนี้หมายถึงผู้ที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งหมด ได้แก่
    สัตว์เดรัจฉาน เทวดา เปรต อสุรกาย ที่เรียกว่า ผี และ
    สัตว์นรก ... ในที่ใดที่มีภัย อมนุษย์ทั้งหมดจะรักใคร่
    ไม่ทำร้ายผู้เจริญเมตตา
    (๕)
    มนุษย์ทั้งหลายรักใคร่
    คนที่มีเมตตา ไม่พยาบาทกับใครนั้น ทำให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
    รักใคร่เอ็นดูสงสาร อยากจะช่วยเหลือ
    (๖)
    เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองผู้นั้น
    เทวดานั้นชอบคนดี ย่อมคุ้มครองคนดี จึงกล่าวกันว่า
    มีเราบางคนมีเทวดาติดตามอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ก็เพราะว่า
    เทวดาบางองค์นั้นเคยเป็นแม่ของเราในชาติก่อน หรือเคย
    เป็นพ่อหรือเคยเป็นเพื่อน หรือบางท่านไม่เคยเป็นอะไรกัน
    แต่ได้เมตตาจิตจากเรา ก็ให้การคุ้มครองรักษา
    (๗)
    ไฟ ศาสตรา อาวุธ ยาพิษ ไม่อาจจะกร้ำกรายผู้นั้นได้
    อันนี้สำคัญมาก ถ้าใครสามารถนำของขลังคือ เมตตา เข้ามา
    ไว้ในตัวเราได้แล้ว คือ ทำเมตตาจิตนี้ให้เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่จำเป็น
    ต้องเสกน้ำล้างหน้า ไม่จำเป็นต้องแขวนพระที่เจริญเมตตาคุณ
    เข้ามาไว้ในตัว นี้เป็นอานิสงส์ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้
    (๘)
    ผิวหน้าย่อมผ่องใส
    คนเจริญเมตตานี้ ย่อมมีผิวพรรณผ่องใส
    ผู้ที่เจริญเมตตามากมองดูแล้วสบายใจ เข้าไปหาท่านแล้วชื่นใจ
    เป็นที่เคารพเลื่อมใสของคนทั่วไป ผิวพรรณก็ผ่องใสด้วย
    อายุก็ยืน ผิวหน้าไม่มีริ้วรอยแห่งความโกรธ
    (๙)
    จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิได้เร็ว
    ถ้าใครเจริญเมตตาอยู่เป็นประจำบ่อยๆ ทุกวัน ทุกคืน
    จิตจะเป็นสมาธิได้ไวกว่าคนที่ไม่เจริญเมตตา
    (๑๐)
    เมื่อตายเป็นผู้ไม่หลงตาย
    เพราะการเจริญเมตตาจิตบ่อยๆ ความหลงตายในขณะตาย
    จะไม่มี ไม่เพ้อ บางคนก่อนตายเพ้อย่างนั้นอย่างนี้ จำอะไร
    ไม่ได้ แม้แต่คนใกล้ชิด แต่คนที่เจริญเมตตาจิตนี้เป็นคน
    ไม่หลงตาย
    (๑๑)
    เมื่อจากโลกนี้ไปก็ไปบังเกิดในพรหมโลก
    นี้หมายถึงท่านผู้ใดที่ได้ฌานโดยเฉพาะเท่านั้น สำหรับผู้ที่
    ยังไม่ได้ฌาน ก็ไปบังเกิดตามภพภูมิของตนๆ
    อีกอย่างหนึ่ง เมตตานี้เป็นตัวกำจัดตัวพยาบาทโดยตรง
    ...
    พยาบาท เป็นศัตรูของเมตตาโดยตรง เห็นได้ง่าย และจัดว่าอยู่ไกล คือ ห่างจากเมตตา
    (จบ อานิสงส์ของการแผ่เมตตา)
    "อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตมฺปิ เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เมตฺตาจิตตํ ภาเวตี อาเสวติ"
    แปลโดยใจความว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าภิกษุเจริญเมตตาจิตชั่วระยะกาลสักว่า ลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนั้นเรากล่าวว่าไม่เหินห่างจากฌาน ปฏิบัติ ตามโอวาท ทำตามคำสอนของพระศาสดา ไม่ฉันอาหารของชาวบ้าน เสียเปล่า จะป่วยกล่าวไปใยถึงผู้ที่เจริญให้มากกว่านี้เล่า"
    ...
    ...การเจริญเมตตาทางพระพุทธศาสนาเราจึงมีระบบการเจริญเอาไว้ คือ พึงเจริญเมตตาโดยย่อว่า
    "ขอให้สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งสิ้นเถิด"
    ส่วนการเจริญเพียงปานกลางนั้น ก็เหมือนอย่างที่เราเจริญเมตตา กันโดยทั่วไป คือ
    "ขอสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น จงอย่าได้มีเวรกันเลย อย่าได้มีความเบียดเบียนกันและกันเลย อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย จงรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ด้วยกันทั้งสิ้นเถิด"
    ถ้าเจริญแบบกว้างขวางหรืออย่างสูงสุด เหมือนอย่างพระสัมมา- สัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกทั้งหลายนั้น ท่านจะเจริญเมตตาอย่าง กว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด ไม่เฉพาะแต่มนุษย์อย่างเดียว แต่ทั่วสัตว์ เดรัจฉาน ทั่วเทพเจ้าทุกจำพวก ในโลกทั้งปวง โดยเจริญเมตตา แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ หรือทิศทั้ง ๘ เช่นว่า
    "ขอให้สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน หมดทั้งสิ้น ที่อยู่ในเบื้องบน จงมีความสุขพ้นจากทุกข์ ที่อยู่ใน เบื้องล่าวจงมีความสุขพ้นจากความทุกข์ ที่อยู่ในทิศเหนือ ทิศ ตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ จงมีความสุขพ้นจากความทุกข์ ที่อยู่ในเบื้องขวาง ที่อยู่ในท่ามกลาง ก็จงพ้นจากความทุกข์ มีความสุข" ...
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    การแผ่เมตตานั้นมี ๒ ชนิด
    คือ
    ๑.
    การแผ่โดยเจาะจง ที่เรียกว่า 'โอทิสผรณา'
    ๒.
    การแผ่โดยไม่เจาะจง ที่เรียกว่า 'อโนทิสผรณา'
    การแผ่โดยเจาะจงนั้น ส่วนมากมักจะแผ่ในหมู่ชนที่มีความ รักใคร่เกี่ยวข้องด้วยกัน เช่น บิดามารดาแผ่เมตตาเพราะ มีความเยื่อใยในบุตร ธิดา หรือบุตรธิดามีความเยื่อใย แผ่เมตตาต่อบิดามารดา หรือเพื่อนมีเมตตาต่อเพื่อน อย่างนี้เรียกว่าแผ่โดยเจาะจง และการแผ่เมตตาโดยเจาะจง นี้มีผลแรงกว่าการแผ่โดยไม่เจาะจง เพราะเป็นการเจาะจง บุคคล จิตนั้นพุ่งไปโดยตรง แต่มีผลไม่กว้างขวางเหมือนกับ การแผ่โดยไม่เจาะจง ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่แผ่เมตตาไปยัง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถ้าผู้แผ่มีพลังจิตเพียงพอ ผู้ที่เราแผ่ เมตตาไปจะได้รับผล เช่น สมมุติว่าพ่อแม่หรือพี่น้องของเรา ขณะนี้กำลังนอนป่วยอยู่ หรือประสบทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเราต้องการความเจริญ เราก็แผ่เมตตาไปยังท่านเหล่า นั้น บางท่านหายป่วยเลย หรือหายไวขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเขา เคยพิสูจน์มาแล้ว...
    พระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรง สอนให้แผ่เมตตาโดยไม่เจาะจง เพราะพระเณรนั้นเป็นผู้ได้รับ ความเกื้อกูลจากชาวบ้านโดยทั่วไป ไม่เฉพาะญาติพี่น้องของ ตัวเอง และพระเรานั้นก็สามารถบำเพ็ญความดีอย่างกว้าง ขวาง เพราะฉะนั้น จึงทรงสอนให้แผ่เมตตาโดยอโนทิสผรณา คือ การแผ่โดยไม่เจาะจง โดยแผ่ไปทุกทิศ แก่ทุกคน แก่สัตว์ ทุกจำพวก
    ...
    ท่านอาจารย์มั่น ภูริทฺตโต ซึ่งเป็นอาจารย์กรรมฐาน ซึ่งพวกเรา ทุกคนรู้จักดี ทราบว่าท่านแผ่เมตตาจิตที่เป็นระยะกาลใหญ่นั้น ๓ เวลาในวันหนึ่งคือ
    ๑.
    ก่อนนอน
    ๒.
    ตื่นนอน- จะเป็นตอนไหนก็ได้ ส่วนมากท่านก็ตื่น เวลาปัจฉิมยาม
    ๓.
    ตอนบ่าย- หลังออกจานั่งภาวนาแล้ว

    นี้เป็นการแผ่เมตตาที่เป็นไปในกาลใหญ่ ส่วนเมตตาที่เป็นไป ย่อยๆ นั้น ไม่อาจจะนับกาลได้ว่า ท่านแผ่เวลาใดบ้าง เพราะเมื่อ เหตุเกิดขึ้นเมื่อไร ท่านก็แผ่ไปได้เมื่อนั้น นี้คืออาจารย์กรรมฐาน ซึ่งมีชื่อเสียง
    ...
    การแผ่เมตตาไปในศัตรู
    (คำว่าศัตรูนี้ ใช้ตามต้นฉบับค่ะ - deedi)
    (๑)
    การแผ่เมตตาไปในศัตรูนี้แผ่ไปได้ยาก คนโดยทั่วไปต้องการ ให้ศัตรูของตนฉิบหายเดือดร้อนล่มจม แต่เมื่อมีความปรารถนา โดยเมตตาจิตว่า "ขอให้พวกเขามีความสุขมีความเจริญ พ้นจาก ความทุกข์" จิตมันไม่ไป อาจจะไปแต่เพียงปากว่าอย่างเดียว แต่จิตมันไม่ไป มันยังอาฆาตเคียดแค้นอยู่ บางครั้งก็เอาเรื่อง การต่อสู้กับศัตรูมาคิดมาฝัน อยากจะให้เขาตายบ้าง ต่อสู้กับ เขาบ้าง เพราะจิตนั้นยังมีอาฆาต ยังมีพยาบาท มีความ เคียดแค้นอยู่
    (๒)
    เพราะเหตุนี้ ท่านจึงบอกอุบายแนะนำว่า ถ้าแผ่ไปแล้วจิต ยังไม่สงบ คือยังไม่หายพยาบาท ยังไม่หายเคียดแค้น ก็ให้คิด ว่าความโกรธนั้นดีอย่างไรบ้าง ความพยาบาทนั้นดีอย่างไรบ้าง แท้ที่จริง ความโกรธหรือความพยาบาทนั้นเป็นไฟเกิดขึ้นเผา ตัวเราก่อน ให้เราเดือดร้อนวุ่นวายก่อน จึงจะไปเผาผู้อื่น ให้เห็นโทษของความพยาบาท การแผ่เมตตาจิตก็อาจจะ เกิดผลได้ จิตอาจจะอ่อนลงได้
    (๓)
    หากจิตยังอ่อนคือยังไม่หายโกรธ ท่านว่าให้พยายามนึกถึง คุณความดีของผู้ที่เราอาฆาตนั้นว่าเขาเคยให้อะไรเราบ้าง เช่น เคยสั่งสอนเรามาบ้างไหม เคยให้น้ำเราสักแก้วไหม ฯลฯ ถ้าความดีหรือคุณของเขาก็มีอยู่ก็พยายามคิดถึงความดีที่เขา มีอยู่นั้นแหละ อย่าไปคิดถึงความเสียของเขาเลย อย่างนี้แล้ว ใจก็อาจจะหายโกรธลงไปได้ จะทำใจให้สบายได้ เหมือนอย่าง ที่ท่านพุทธทาสฯ แนะนำไว้ วิธีทำใจให้สบายคืออย่ามองคน ในแง่ร้าย ให้มองในแง่ที่ว่า
    เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา
    จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่
    เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู
    ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
    จะได้คนมีดีโดยส่วนเดียว
    อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
    เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเอย
    ฝึกให้เคยมองให้ดีมีคุณจริง

    นี้เป็นวิธีทำใจให้สบาย ก็เป็นลักษณะของ คนมีเมตตาจิตเหมือนกัน (๔)
    แต่หากมองอย่างนี้แล้ว ใจของเราก็ยังไม่หายโกรธ ท่านบอกว่าให้พยายามคิดถึงความเป็นญาติกันว่า คนที่เรา โกรธนั้นเคยเป็นญาติพี่น้องของเรามา คือ ตามหลัก พระพุทธศาสนานั้น ทุกคนเคยเป็นญาติกันทั้งสิ้น เป็นญาติกันจริงๆ และเป็นญาติกันทั้งสิ้นด้วย คือ เรานั้นเป็นญาติกันในหลายลักษณะ
    ๔.๑ เป็นญาติกันในสังสารวัฏ
    คือเป็นญาติ เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ไม่เคยเป็นมารดา ที่ไม่เคยเป็น บิดา ที่ไม่เคยเป็นพี่น้อง ผู้ที่ไม่เคยเป็นบุตร ผู้ที่ไม่เคยเป็นธิดา ไม่ใช่หาได้ง่าย (ในสังสารวัฏ)"
    หมายความว่า ในสังสารวัฏอันไม่มีที่สิ้นสุดนี้ เราทุกคนนั้น เคยเกิดเป็นพี่เป็นน้องกัน ถ้าหากว่าผู้ที่เราจะโกรธ แต่คนนั้น ในชาติก่อนโน้น อาจเคยเป็นแม่เราก็ได้ เคยอุ้มท้องทะนุถนอม เรามา ถ้าเราไปฆ่าทำลายคนนั้น ก็เท่ากับว่าได้ฆ่าแม่ของเรา คิดอย่างนี้ เมตตาจิตก็เกิดขึ้น อาจจะทำให้เวรนั้นสงบไปได้
    ๔.๒ เป็นญาติกันโดยสายเลือด
    เราทุกคนเกิดเป็นคนไทย มีสายเลือดไทย มีสายเลือดเดียวกัน เกิดในแหล่งเดียวกัน แม้จะแยกย้ายกันอยู่ จึงยังชื่อว่าเป็นญาติ กันโดยสายเลือด
    อีกประการ เรานับถือพระพุทธศาสนา ประพฤติธรรมเหมือนกัน ประพฤติพระธรรมวินัยแบบเดียวกัน เราจึงเป็นญาติกันในพระ พุทธศาสนา
    อีกประการ คนที่รู้จัก สนิทกัน ก็ชื่อว่าเป็นญาติกัน อย่างที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    วิสฺสาสา ปรมา ญาตี - ความคุ้นเคยกันเป็นญาติ อย่างยิ่ง
    เพราะฉะนั้น การพิจารณาเห็นว่าผู้ที่เราโกรธเคยเป็นญาติ พี่น้องของเรา ความโกรธนั้นก็อาจจะหายไปได้
    ๕.
    แต่ถ้าความโกรธยังไม่หาย ท่านว่าให้พิจารณาอานิสงส์ ของเมตตา ๑๑ อย่าง (ดังที่ได้ใส่ไว้แล้วในความคิดเห็นแรก ข้างบนค่ะ- deedi)
    *************************
    คัดและย่อปรับจาก
    'บทอบรมกรรมฐาน'
    โดย พระเทพวิสุทธิกวี
    *************************
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894


    <CENTER>กุศล อกุศล - ความดี ความชั่ว - บุญ บาป </CENTER>

    พระธรรมเทศนาเรื่องกุศล อกุศล
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เคยแสดงพระธรรมเทศนาสั้นๆ เข้าใจง่าย และชัดเจนมาก เกี่ยวกับเรื่องกุศลและอกุศล (ซึ่งก็คือ ความดี-ความชั่ว หรือบุญกับบาป นั่นเอง เป็นเรื่องเดียวกัน) เอาไว้ เคยจดคำแสดงธรรม นี้ไว้และเคยนำลงเป็นกระทู้พระะรรมเทศนาในบอร์ดลานธรรมและ อาจในบอร์ดอื่นๆ อีก (จำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ) จึงขอนำมาลงเป็น คำอธิบายขยายความอันชัดเจนแจ่มแจ้งเกี่ยวกับเรื่องความดี - ความชั่ว กุศล - อกุศล หรือ บุญ - บาป ไว้ตรงนี้เลยนะคะ
    <CENTER><TABLE width=600 bgColor=#015770><TBODY><TR><TD vAlign=center>

    <CENTER>กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม </CENTER>
    พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๓
    ณ บ้านลานทอง
    + + + + + + + + + + + + + + +
    กุศลธรรม อกุศลธรรม อพยากตธรรม
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่ละเอียดมาก ทรงไปแสดงไว้ในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุว่าเทวดามีกายละเอียด จิตใจผ่องใส เพราะ บนสวรรค์ไม่มีการทำบาป คนที่ไปเกิดบนสวรรค์นั้นตอนเป็นคน ก็เว้นโทษ ๕ ประการตลอดชีวิต (คือ อยู่ในศีล ๕ ไม่ละเมิดศีลห้า)
    กุศลาธรรมา คือ ธรรมอันเป็นกุศล อกุศลาธรรมา คือ ธรรมอันเป็นอกุศล อพยากตธรรมมา คือ ธรรมอันไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศล
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ธรรม มีอยู่ ๓ ประการนี้ แต่ว่าแตก กิ่งก้านสาขาไปได้มากมาย แตกร่มเงาให้คน สัตว์ ได้อาศัย
    กุศลธรรม
    คือ ธรรมอันดี พระพุทธเจ้าทรงส่งเสริมให้บุคคลทำ ก็คือ ไม่ทำบาป ๕ ประการ (หนึ่ง) และ ไม่ทำบาปอื่นอีก (หนึ่ง) ก็ได้ชื่อว่าเป็นบุญเป็น กุศล ศีลห้าทำให้คนฉลาด คนไม่ฉลาดรักษาศีลห้าไม่ได้ ใครรักษาได้ ก็เป็นบุญกุศลของคนนั้น ได้ชื่อว่ามีบุญ กุศล ความดีเป็นที่รั้งจิตใจ
    ให้นึกดูว่าพวกเรามีศีลห้าบริสุทธิ์ไหม ถ้ามี ก็แสดงว่าเรามีกุศลธรรม (คือ ความฉลาด) อยู่ในใจ ใจมีความฉลาด หาทางเลี่ยงจากโทษบาป ทั้งหลายได้ ใครยังเลี่ยงไม่ได้ก็เพราะขาดปัญญา ขาดความฉลาด
    เมื่อมีปัญญาแล้ว ปัญญาก็มาสอนจิต มีปัญญาเอาตัวรอดจากบาป ผู้มีปัญญาเอาตัวรอดจากบาปได้ ถึงจะไม่เจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ ก็ตาม ขอให้มีปัญญาเช่นนี้ ปราชญ์ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมสรรเสริญว่ามีปัญญาเอาตัวรอดจากทุกข์ได้
    ถ้าเทศน์เรื่องอื่นจะไม่ใกล้การพ้นทุกข์ จึงนำเรื่อง บุญ-บาป มาเทศน์ให้ฟัง บุญ-บาป ก็อยู่ที่จิตใจเรานี้เอง รังของบุญ-บาป ก็อยู่ที่ จิตเราเอง ให้ภาวนาดูจิตของเราเอง สังเกตดู จิตของเราเป็นบุญหรือ กุศล หรือเป็นกลางๆ ไม่บุญไม่บาป หรือว่าเป็นบาปอย่างเดียว หรือว่า จิตของเราเป็นทั้งบุญและบาป หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสองอย่าง หรือทั้งสามอย่าง ฯลฯ
    จิตที่เป็นอกุศล ใครมาว่าก็โกรธแล้ว ถ้ามีสติสัมปชัญญะก็จะรู้ตัว ว่าจิตเป็นอกุศลอยู่ ยังโกรธคนอยู่ ก็ต้องละความโกรธด้วยการเจริญ เมตตา ทำความรู้สึกเอ็นดูต่อเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อารมณ์ต่างๆ นั้น เมื่อใจไม่ยึดถือ มันก็ดับไป
    ฟังธรรมมาเยอะแยะแล้ว ควรชำระกายใจให้สะอาด ไม่ให้ความ เศร้าหมองเกิดขึ้นในจิตใจ ขอเตือนพุทธบริษัททั้งหลาย เพราะว่า ชีวิต คือ จิตดวงนี้ เมื่อได้เสวยผลบุญที่ทำ ก็มีความสุข ไปเกิดที่ใด ก็มีความสุข เกิดภพใด ชาติใด จิตใจก็มีความสุขอยู่ในภพที่เกิดนั้น และจิตบาปอกุศล ก็จะหน่วงเหนี่ยวให้ไปเกิดที่ต่ำ ไม่มีทางพาไปสู่ ที่สูง ที่ดี หลวงปู่เคยเทศน์ว่านรกอยู่ใต้ดินนี้เอง ในตำราท่านว่าไว้ แต่ไม่รู้อยู่ลึกแค่ไหน มีสำนักงานของยมพบาล มีสำนักงานของ นายนิรยบาล ควบคุมสัตว์นรก สอบสวนสัตว์นรก แล้วก็บอกว่า นี่เป็นกรรมของเธอเอง เธอทำมาเอง ตอนนี้ก็ต้องเสวยผลของ กรรมนั้นของเธอเอง (นี่คือคำตัดสินโทษ) ว่าแล้วก็จะโยนลงนรกไป นายนิรยบาลเองก็เป็นทุกข์เพราะต้องคอยควบคุมสัตว์นรกอยู่ ส่วนยมพบาลผู้เป็นใหญ่นั้นไม่ค่อยทุกข์เพราะมีหน้าที่สอบสวน สัตว์นรก การสอบสวน ก็คือ ถามว่าเคยทำบาปอะไรบ้าง เคย ฆ่าสัตว์ไหม ตัวเล็กหรือใหญ่แค่ไหน ฆ่าสัตว์เล็กก็บาปเล็กหนอ่ย ฆ่าสัตว์ใหญ่ก็บาปมาก บาปมากก็ต้องตกนรกนาน
    ดังนี้ พวกเราควรพากันสะดุ้งหวาดกลัว อย่าเห็นแก่ปากท้อง อย่าเห็นแก่ความสนุกสนานชั่วคราว สุขในโลกนั้นสุขชั่วคราว เท่านั้น ไม่ยั่งยืนอะไรเลย เปรียบดังการรับประทานอาหาร พอกินอิ่มก็สบาย แล้วความอิ่มก็หายไป ก็ทุกข์อีกเพราะหิวอีก
    เป็นนักปฏิบัติธรรม ต้องพิจารณาให้เห็นทุกอย่างว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ควรรู้เท่าและอาศัยของไม่เที่ยงนี้ (กายก็ไม่เที่ยง จิตก็อาศัยกายอยู่ อาหารที่อาศัยยังกายก็ของไม่เที่ยง) ของไม่เที่ยงกับของไม่เที่ยงมา บำรุงกัน ถ้าเที่ยงแล้วก็ไม่ต้องบำรุงกัน เป็นอยู่อย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แต่ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยง มีแต่พระนิพพานที่เที่ยง ไม่วิบัติ ไม่ผันแปร เราก็ต้องทำใจให้ยินดีในพระนิพพาน ด้วยการไม่ยึดถือในตัวตนขันธ์ ๕ อันไม่เที่ยง
    ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน เมื่ออยาก ก็ยึด ไม่ได้คราวนี้ ต่อไปก็จะต้องเอาให้ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ขอให้เข้าใจ อย่าคิดว่าเป็นผู้ครองเรือนปฏิบัติธรรมอันลึกซึ้งไม่ได้
    พระโสดาบันมีสามี-ภรรยา-ลูก ทำไร่นา ทำงาน ค้าขาย ตามความ สามารถอยู่ แต่ท่านไม่ทำบาป ขอทานก็เป็นพระโสดาบันได้ (เคยมีคนโรคเรื้อน ฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า ก็บรรลุโสดาบัน แล้วกราบปฏิญาณตนถึงพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ พระอินทร์ ได้ยินข่าวเรื่องนี้เข้า ก็ลงมาทดสอบ ให้ปฏิเสธคุณพระพุทธพระธรรม และพระสงฆ์แล้วจะหายาแก้โรคเรื้อนมาให้หายจากโรค ชายโรคเรื้อน นั้นก็ตอบพระอินทร์ว่า ท่านเป็นใคร จึงมาแนะให้ข้าพเจ้าถอนตัว จากที่พึ่งอันประเสริฐคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้า ถอนไม่ได้ หาได้หวั่นไหวกับโรคภัยไข้เจ็บเหล่านี้ไม่ พระอินทร์ฟังดังนี้ จึงไปกราบต่อพระพุทธเจ้าว่า ผู้นี้บรรลุโสดาบันแล้วจริงๆ ด้วย ได้ไป สัมภาษณ์มาแล้ว)
    ขอให้เข้าใจ มรรคผล ธรรมวิเศษ ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย แต่จิต เอาร่างกายเป็นอารมณ์ เห็นว่ากายนี้ไม่เที่ยงหนอ เมื่อโรคภัย มากระทบร่างกาย ก็มากระทบจิต จิตก็เดือดร้อน
    พระโสดาบันอาจจนกาย แต่ทรัพย์ภายในไม่จนเลย ความเห็นของ พระโสดาบันก็คือ สิ่งใดมีความเกิดขึ้นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมมีความ ดับไปเป็นธรรมดา ด้วยอำนาจแห่งปัญญา ใครได้บรรลุความเห็น เช่นนี้ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ แล้ว ท่านผู้นั้นก็จะบรรลุ พระโสดาบัน ความเห็นอย่างนี้ ต้องเกิดจาก ศีล เมื่อศีล บริสุทธิ์ ก็น้อมเป็น สมาธิ แล้วก็สงบขึ้น … (ขออภัย ที่จุด ๓ จุดไว้ตรงนี้คือจดไม่ทัน จำไม่ได้แล้วว่าหลวงปู่กล่าวต่อว่าอย่างไร ค่ะ - deedi) เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่เรียกว่าพระโสดาบัน
    รุกขเทวดาสองแม่ลูก ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ด้วยใจสงบ ด้วยความเคารพ ฟังจบ ก็บรรลุโสดาบันได้
    มรรคผล อยู่กับผู้มีบุญ ผู้มีบุญแก่กล้าก็จะบรรลุ เบื่อหน่าย คลายความยึดถือ แล้วก็วาง จิตใจก็รวมเข้าสู่มรรค ถอนออกจาก ความสงบก็รู้แจ้งว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ทั้งสังขาร ที่มีวิญญาณครองและสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นธรรมดา" เห็นแล้ว มีปัญญาแล้ว ก็เบื่อหน่าย
    ความเบื่อหน่าย มีหลายขั้นตอน เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ ทำบาป เพราะทำบาปแล้วต้องลงนรก ถ้าหากไม่ทำบาปแล้วไม่มีกิน ก็ยอมตายไปซะดีกว่าตกนรก ใจนั้นไม่ตาย มีแต่กายที่ตาย เมื่อรู้เช่นนี้ ก็จะไม่หวาดกลัวต่อความตาย
    เมื่อจิตเห็นแจ้งตามปัญญา ก็จะไม่เดือดร้อนแล้ว ใกล้ตายลมหายใจ ก็จะสั้นเข้าๆ ลมหายใจหมดเสียงดัง 'พ็อก' แสดงว่าจิตออกจากกาย แล้ว หมด นี่สำหรับคนสามัญ แต่พระอริยเจ้าทั้งหลายนิพพาน ไม่มีเสียงดังพ็อก มีแต่เงียบไปเฉยๆ เพราะว่าจิตไม่ได้ห่วงกังวล อะไรแล้ว วางทุกอย่างเรียบร้อยหมดเลย
    กุศลธรรม คือ ความฉลาด คือ อยู่ในศีลห้า เป็นผู้มีปัญญา มีความฉลาด อกุศลธรรม คือ ความไม่ฉลาด คนไม่ฉลาดชอบทำแต่บาป แต่กรรมใส่ตัวเอง อพยากตธรรม คือ เวลาปกติ ใจกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    ความดี - กุศล - บุญ
    ความดีคืออะไรที่ทำแล้วสบายกายสบายใจโดยไม่เดือดร้อนหรือเบียดเบียน ตนและคนอื่นหรือว่ายิ่งเป็นประโยชน์ทั้งประโยชน์คน (ประโยชน์สำหรับ ตัวผู้กระทำเอง) และประโยชน์ท่าน (ประโยชน์ต่อผู้อื่น ชีวิตอื่น) สิ่งนั้น ก็คือ 'ความดี' อันเป็นกุศล เป็นบุญ ก่อให้เกิดความสุข ร่มเย็น สบายใจ ความชั่ว - อกุศล - บาป
    ในทางกลับกัน อะไรก็ตามคิดหรือทำแล้ว ไม่ว่าทางกายหรือวาจา ทำให้ เป็นทุกข์ ร้อนรุ่ม ไม่สบายใจ ไม่ว่าต่อตัวเองเหรือต่อผู้อื่นชีวิตอื่น ทำแล้วให้ผลเป็นทุกข์ ไม่ว่าทุกข์กายหรือทุกข์ใจของตนเองหรือของ ผู้อื่น ทำแล้วเป็นบาป ได้บาป เป็นอกุศล นี่ก็คือ 'ความชั่ว ความไม่ดี สิ่งที่ไม่ควรคิดไม่ควรกระทำ' ทั้งปวง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>การบุญ บุญ (กุศล) คืออะไร - การทำบาป บาป (อกุศล) คืออะไร</CENTER>
    การบุญ บุญ (กุศล) คืออะไร - การทำบาป บาป (อกุศล) คืออะไร

    บุญ ก็คือการทำความดี การทำสิ่งดีๆ ความประพฤติดีประพฤติชอบทางกาย
    วาจาและใจ ทำแล้วเกิดกุศล เป็นกุศล ทำแล้วก็ทำให้มีความสุข
    บาป ก็คือการทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูก ไม่ควร ไม่เหมาะสม ทำแล้วก็เป็นอกุศล
    เกิดอกุศล ทำแล้วทำให้เป็นทุกข์ เกิดทุกข์
    บุญนั้น ท่านว่าควรประกอบให้มาก ควรประกอบอยู่เนืองๆ ควร
    ประกอบให้เป็นพื้นของกายวาจาและใจ ให้กายวาจาใจตั้งมั่นอยู่ใน
    บุญในกุศล ก็จะเป็นการสร้างพื้นฐานดีๆ ให้กับกายและใจ
    ให้กายและใจเป็นกุศล ดีงามอยู่เสมอ ด้วยการมีศีลเป็นพื้นฐาน
    อย่างต่ำศีลห้า พยายามรักษาไว้ไม่ให้ศีลพร่องศีลขาด มีชีวิตอยู่
    กับสติ ไม่ลื่นไหลหรือหลงไป คล้อยตามไปกับสิ่งที่ไม่ดี ที่เป็นบาป
    หมั่นทำบุญทำทาน มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นและสัตว์ร่วมโลก
    ทั้งหลาย อีกบุญที่เป็นบุญสูงสุดกับตัวเองก็คือ การฝึกสัมมาสมาธิ
    ชำระจิตใจให้สงบ สะอาด บริสุทธิ์ แล้วเจริญสติ เจริญภาวนาตาม
    แนวสติปัฏฐานสี่ เพื่อให้ใจที่อยู่ในศีลแล้ว สงบสะอาดบริสุทธิ์แล้ว
    ได้เกิดปัญญา พาตัวเองออกจากความเห็นผิด (โมหะ อวิชชา)
    ไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง ตรงและดี เพื่อนำพาตัวเองออกจากทุกข์
    ในที่สุด การทำบุญทั้งหมดนี้ ค่อยๆ ทำไปเป็นขั้นตอน ตามกำลัง
    ตามโอกาส กายและใจก็จะดีงาม เปี่ยมไปด้วยบุญ พัฒนาไปใน
    ทางที่ดีงาม ถูกต้องไปเรื่อยๆ ยิ่งๆ
    คำว่า ผู้มีบุญ ก็คือ ผู้ที่ทำสิ่งดีๆ เหล่านี้ทั้งทางกาย วาจา ใจ
    มาดีแล้ว สะสมมามากแล้ว และก็ยังเพียรสะสมแผ้วทาง
    สร้างบุญต่างๆ นี้ให้กับตัวเองให้ยิ่งๆ ต่อๆ ไปเรื่อยๆ
    ตรงกันข้ามกับบุญ กับ กุศล ก็คือ บาป อกุศล
    ก็คือการไม่ตั้งอยู่ในความประพฤติทั้งทางกาย วาจา ใจ ที่ดีที่
    เหมาะสม ตรงกันข้าม กลับประกอบแต่สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ส่งผลให้
    ต้องเกิดความทุกข์ เดือดร้อนกายใจ ทำให้จิตใจเสื่อม ตกไปสู่
    ทางที่แย่ลงเสื่อมลงไปเรื่อยๆ
    + + + + + + + + + + + + + + +
    (ข้างล่างนี้เป็นคำสนทนาธรรมเกี่ยวกับเรื่องบุญคืออะไร มีผู้ตั้งคำถามว่า บุญมีรูปร่างอย่างไร ก็เลยคัดที่สนทนาเรื่องนี้เอาไว้ มาใส่ไว้เป็นอีกแนวคิด ตรงนี้ค่ะ)
    บุญมีรูปร่างเป็นความสุข ความอิ่มเอิบใจ ความผ่องใส สบายใจ ยินดี ปลื้มปีติ บุญมีรูปร่างเป็นกุศล รู้ว่าได้กระทำสิ่งดีๆ ลงไป รู้ว่าได้เป็นผู้ให้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (คือให้ด้วยใจ เช่นให้กำลังใจ ให้คำธรรมะ ให้ความคิดเห็นดีๆ หรือให้เป็นสิ่งของวัตถุ เช่นบริจาคเงินช่วย ผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริจาคสิ่งของในโอกาสต่างๆ ตามสมควร ถวายหรือให้สิ่งของเครื่องใช้แด่พระผู้ สืบทอดพระศาสนาหรือให้กับผู้ที่ยากจน พิการ หรือต้องการความช่วยเหลือ)
    ท่านว่าบุญนั้น จะให้ดีก็ต้องครบทั้ง ๓ กาลคือก่อนให้ (๑) ระหว่างที่ให้ (๑) และหลังจากให้ไปแล้ว (๑)
    อย่างเช่น ครูบาอาจารย์เคยบอกว่า อาทิเมื่อจะใส่บาตร ตอนเตรียมการก็เตรียมด้วยใจที่ปีติยินดีที่ได้เตรียมการ จะทำสิ่งดีๆ ปลาบปลื้ม สมมุตขณะจัดอาหารเตรียม ก็ทำด้วยความสุขใจ ยินดีในสิ่งที่กำลังกระทำ ประณีตทั้งใจ ประณีตทั้งกายคือจัดทำเตรียมด้วยความ ประณีตเท่าที่จะทำได้ (๑) - เมื่อถึงเวลาใส่ ก็ใส่ด้วยใจเต็มเปี่ยม ยินดี (๑) - หลังจากใส่บาตรเสร็จแล้วก็ปลาบปลื้มยินดีในสิ่ง ดีสิ่งประณีตทั้งหมดทุกขั้นตอนที่ได้ทำมา (๑)
    ดิฉันมีเคล็ดวิธีที่จะให้ทำบุญแล้วสบายใจ ไม่เกิดทุกข์ มาลองเล่าให้ฟังนะคะ เผื่อจะเป็นอีกไอเดีย :)
    เนื่องจากจะเป็นคนที่เคารพอะไรยากแต่ก็อยากจะให้การ ทำบุญ (เวลาใส่บาตร) ครบทั้ง ๓ กาล คือทั้งก่อนให้ ทั้งขณะ ที่กำลังกระทำและทั้งหลังการให้ ก็เลยจะเลือกสถานที่เสียก่อน เช่น เลือกวัดที่จะไปทำบุญ ว่าเป็นวัดดี มีปฏิปทาที่ดี พระในนั้น เป็นแนวพระสุปฏิปันโน (สุปฏิปันโน คือ พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี คือ ปฏิบัติตามหลักมิชฌมาปฏิปทา ปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอน ของพระพุทธเจ้า ดำรงอยู่ในธรรมวินัย) เมื่อค่อนข้างแน่ใจ สบายใจในจุดนี้แล้ว ก็เตรียมการได้อย่างอิ่มใจ สบายใจใน การกระทำดีๆ (บุญ) ที่กำลังจะทำในอนาคต แล้วพอถึงเวลา ก็ทำด้วยใจที่เต็มร้อยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยลังเลใจ กลับมาบ้านก็สบายใจ อิ่มเอิบยินดี :)
    หรืออีกวิธี เวลาอยากใส่บาตรแบบไม่เจาะจงพระ ก็จะตั้งใจ ว่าคราวนี้ จะใส่บาตรกับพระรูปไหนก็ได้ที่เจอบนท้องถนน แล้วก็จะไปตามถนนที่พระมีกิริยาแบบพระจริงๆ คือสำรวม เดินไม่ใส่รองเท้า ฯลฯ หรือไม่เช่นนั้นก็เลือกใส่บาตร หรือถวายข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภคกับพระที่เราแน่ใจ จริงๆ ว่าเป็นพระสุปฏิปันโน เป็นพระปฏิบัติ ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร ไม่จับเงินทอง ไม่สะสมของ มีความเป็นอยู่สมถะ มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลากิเลสตนและนำธรรมะมา ช่วยให้สาธุชนได้ขัดเกลาอบรมจิตใจให้อยู่ในบุญ (ความดี ความสุขจากความดี กุศล) ไปเลย ... อะไรทำนองนี้ค่ะ
    ถ้าเป็นทัศนะทางธรรม ท่านว่าการพ้นทุกข์มีอยู่ แต่จะเดินทางไปถึงการพ้นทุกข์ได้นั้น ต้องอาศัยการบ่มเพาะ ทางแห่งการพ้นทุกข์กันนานพอสมควร (ที่ศัพท์ธรรมะใช้ว่า 'สร้างบารมี') ดังนั้น ระหว่างที่บุคคลยังไม่พ้นทุกข์ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารหรือสังสารวัฏ ครูบาอาจารย์บอกว่า ระหว่างทางไปสู่การพ้นทุกข์นั้น
    ศีล เป็นสะพาน
    ทาน เป็นเสบียง
    คือ หมายความว่า การพยายามอยู่ในศีลในธรรม (หรือก็คือ การไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่นชีวิตอื่น ทั้งทางกาย วาจาและใจ) ก็ทำให้ทางของบุคคลนั้นๆ ปลอดภัยขึ้น สะดวก ขึ้น โอกาสที่จะหล่นลงหุบเหวเจออันตรายหรือบาดเจ็บก็ น้อยลงลดลง ปลอดภัยมากขึ้นในระหว่างทาง (ที่ยังต้อง เวียนว่ายตายเกิดอยู่)
    ส่วน ทาน นั้น ก็เหมือนกับ เราให้อะไรหรือทำอะไรลงไป เราก็จะได้ผลตอบแทนมาเช่นนั้น อาทิ เราทำดีกับคนอื่นคนอื่น เค้าก็ย่อมจะดีกับเรา เราไม่ดีกับเขาเขาก็ไม่ชอบเราตอบคืนมา ฯลฯ ดังนั้น การให้สิ่งดีๆ อาหารดีๆ (เท่าที่กำลังกายกำลัง ทรัพย์กำลังสิ่งของของเราจะมีให้ คือ เป็นการให้ที่ไม่ได้ทำให้ ตัวเองหรือใครอื่นต้องเดือดร้อน) ยิ่งทำด้วยใจเท่าไหร่ ทำอย่างเต็มใจเท่าไหร่ ผลก็มากเพิ่มพูนตามนั้น ฯลฯ ท่านว่า ระหว่างทางไปสู่การพ้นทุกข์ (= ระหว่างที่ยังต้อง เวียนว่ายตายเกิดอยู่) ก็จะได้ไม่ลำบากนัก มีกินมีใช้ มีที่อยู่อาศัย มียารักษาโรค ไม่อดอยาก ฯลฯ
    ผลที่เห็นชัดที่สุด ทันตาที่สุด สั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ ทำแล้ว สบายใจ ยินดี อิ่มอกอิ่มใจ เป็นสุข :) นี่ก็คือบุญคือกุศล อยู่ในตัวแล้วค่ะ และทุกขณะที่จิตของบุคคลเป็นบุญเป็นกุศล (คือสบายใจ ยินดี ปลาบปลื้ม อิ่มเอมในความดีนั้นๆ) ใจเรา-กายเรา-วาจาเราก็กำลังทำดีคือไม่ได้ทำบาป ไม่ได้ก่อสิ่งที่เป็นอกุศลหรือเป็นทุกข์หรือที่จะให้ผลเป็นทุกข์ ฯลฯ ไปด้วยในตัว สรุป บุญมีไว้ให้เกิดใจที่เป็นบวก เกิดการกระทำที่เป็นบวก (คือใจที่คิดดี กายที่ทำดี วาจาที่ดี มีประโยชน์กับตนและผู้อื่น) มีแล้วก็เอาบ่มเพาะให้มากๆ เข้า ทำให้มากๆ เข้า ใจก็จะเป็น กุศลยิ่งๆ อิ่มอยู่ในความสุขในความดีที่กระทำบ่อยยิ่งๆ ขึ้น กุศลคือคุณความดีก็เพิ่มขึ้นๆ ไม่พาไปสู่ใจที่ตกต่ำ และยังช่วยพาใจพากายและวาจา ให้ออกจากสิ่งที่เป็นอกุศล ให้มากยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย ก็จะยิ่งไปในทางที่สว่าง โล่ง สะดวก สบายยิ่งๆ ขึ้น เพราะรู้อยู่ว่าทำแต่สิ่งที่ดี คิดแต่สิ่งที่ดี พูดแต่สิ่งที่ดี เป็นกุศล เป็นบุญอยู่เนืองๆ เสมอๆ
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894


    <CENTER>ความรักกับธรรมะ ความรักกับความทุกข์และกิเลส บุพเพสันนิวาส</CENTER>

    ความรักกับธรรมะ
    ความรักในที่นี้หมายถึงความรักแบบหญิงชาย รักแบบหวังครองคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุข
    ความรักนั้นที่จริงไม่ได้ขัดแย้งหรือไปกันไม่ได้กับธรรมะเลย
    นอกไปจากนั้น หากสังคมใดหรือครอบครัวใดอยู่ด้วยกัน หญิงชายใดครองรักกัน
    โดยมีพื้นฐานความรัก พื้นฐานของครองครัว อยู่ในธรรมแล้ว
    ครอบครัวนั้นก็จะเป็นครอบครัวที่สงบร่มเย็น อบอุ่น
    เกื้อกูลกันไปในทางที่ดียิ่งๆ อย่างแน่นอน
    ความรักเป็นกิเลสหรือไม่ จะรักอย่างรู้เท่าทันได้อย่างไร
    ถาม
    ความรักเวลาที่เกิดแล้วมักชักนำกิเลสทั้งปวงคือ โลภ โกรธ หลง ตามมาเป็นขบวน แม้เหมือนรู้เท่าทันแล้ว บางครั้งหรือมักแทบทุกครั้ง ก็ยังตัดไม่ได้
    ...
    ตอบ
    ครูบาอาจารย์สอนว่า กิเลสนั้นเค้าร้ายนัก เค้าแน่กว่าที่เราคิดนัก ยิ่งเราอยู่ในบรรยากาศแบบโลกๆ อยู่ในสังคม ต้องเจอผู้คน มีสิ่งล่อใจมากมาย ยากเหลือเกิน
    เรื่องความรักนี่ เราคงต้องวางเกณฑ์ในการพูดไว้ ๒ ระดับ
    แบบแรกคือ เราจะจัดการกับความรักได้อย่างไร แค่ไหน ถ้าหากว่าเราไม่มุ่งอยู่ในโลกแล้ว อยากเร่งหลุดเร่งพ้นจากทุกข์ แล้ว
    แบบที่สองคือ ถ้าเรายังเลือกอยู่แบบโลกๆ แบบคฤหัสถ์หรือ ฆราวาสทั่วๆ ไป
    พูดในแบบที่สองเป็นหลักในการสนทนาของเราแล้วกัน นะคะเพราะถ้าใครไปในแบบแรกหรือทางแรกแล้ว จะจัดการ กับกิเลส อวิชชา ได้คล่องตัวกว่า ง่ายดายกว่า เรียกว่า "รู้ทาง" แล้ว ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่แล้ว
    ...
    ที่จริง ถ้าใครสามารถมองให้เห็นได้ว่าที่แท้สรรพสิ่งล้วนเป็นมายา คนสวยหนึ่งคน ลูกแมวหนึ่งตัว ปลาที่ว่ายอยู่ในน้ำ นกบนท้องฟ้า ไม่ว่าอะไรในสากลโลก ที่แท้ก็คือก้อนธาตุมาประชุมกัน มาทำหน้าที่ ของตน รวมกันจนกลายเป็นก้อนสิ่งมีชีวิตที่เราไปบัญญัติ เรียกว่า "คน" ว่า "ผู้หญิง" "นก" "ปลา" เท่านี้ ก็จะลดความ ผูกจิตใจ ความวูบไหวไหลหลงในสิ่งทั้งปวง ลงได้มาก ตั้งแต่เริ่มทีเดียว ใครมองเห็นความเป็นจริงทะลุเข้าไปได้ อย่างนี้ สบายไปหลายอย่างทีเดียวค่ะ
    ...
    ถ้ายังเลือกอยู่แบบโลกๆ เป็นคฤหัสถ์ ถ้าห้ามไม่ไหวเรื่องความรัก ก็รักไปเถิดค่ะ (พระอริยบุคคลขั้นแรกๆ ท่านก็ยังมีความรัก ยัง มีครอบครัวได้ ยังมีลูกหลายๆ คนได้อยู่) แต่รักแบบให้มีสติ รักแบบรู้ว่าทุกอย่าง ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรมทั้งหลาย ล้วนเกิดขึ้น-ตั้งอยู่แล้วก็-ดับไป เป็นธรรมดา ใครจะฝืนจะค้าน จะไม่ยอม จะดื้อดึงกับธรรมชาติอันนี้ ไม่ได้เลย
    เมื่อรัก ก็ให้รู้ไปพร้อมๆ กันด้วยว่า วันนี้ได้มา วันหนึ่งก็ต้องเสียไป (ถ้าทำใจไว้ตั้งแต่แรกรักได้ก็ยิ่งวิเศษใหญ่) ไม่เร็วก็ช้า อาจจะจาก เป็นหรือจากตาย พยายามมีสติรู้ตัว เตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้ อยู่กับความเป็นจริงของสรรพสิ่ง คือ ความไม่เที่ยง
    ครูบาอาจารย์สอนมาว่า ... หายใจเข้าคราวนี้ ถ้าไม่หายใจออก ก็ตาย หายใจออกคราวนี้ ถ้าไม่หายใจเข้า ก็ตาย
    มีความรัก มีชีวิตแบบคฤหัสถ์ที่อยู่ในศีลในธรรม หมั่นทำบุญ ทำทาน รักษาศีลเจริญวิปัสสนาภาวนา เจริญสติ (สติปัฏฐานสี่) ครูบาอาจารย์สอนดิฉันว่า ถือแค่ศีล ๕ ก็ไปพระนิพพานได้ (แต่ต้องถือจริงจัง ศีลมั่นเป็นนิจศีลนะคะ ไม่ใช่พร่องๆ กะพร่องกะแพร่ง)
    ...
    เมื่อมีสติรู้ตัวแล้ว อะไรๆ ก็จะเบาบางลงไป เช่นเมื่อความรัก จากไป ก็ทุรนทุรายแต่เพียงน้อย เพราะบอกตัวเองไว้แล้ว แต่แรก ทำความเข้าใจไว้แต่แรกแล้ว ทั้งเวลาที่เสียไปก็มีสติ รู้ตัวว่ารักได้จากไปแล้ว ก็จะไม่ฟูมฟายจนเกินเหตุ
    ส่วนอารมณ์ที่พันผูกต่อเนื่องหรือเป็นผลต่างๆ จากความรัก ทั้งโลภ โกรธ หลง นั้นน่าจะเป็นเพราะความรักคือการยึด การผูกเอาสิ่งของหรือสัตว์บุคคลหรือแม้แต่นามธรรมต่างๆ เข้ามาเป็น "ของเรา" อย่างแน่นแฟ้นเหลือเกิน
    ดังนั้น ถ้ายิ่งยึดหนาแน่นเท่าไหร่ ยึดรุนแรงเท่าไหร่ ยึดแบบ ขาดสติเท่าไหร่ อารมณ์ 'โลภ โกรธ หลง' ที่ตามมา ก็ย่อม หนักหนาสาหัส รุนแรงเท่าทวีคูณไปด้วยตามนั้น
    ...
    ดูๆ แล้ว ก็คือขอให้ "มีสติ" ในการกระทำสิ่งต่างๆ สตินี้เป็น ยาวิเศษจริงๆ ที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้ แก้ได้สารพัดโรค จริงๆ ทั้งโรคทางโลกทั้งโรคทางธรรม (พาไปถึงพระนิพพาน ได้ด้วยและเป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะพาไปสู่พระนิพพานได้)
    เพราะเมื่อใดที่มีสติอยู่นั้น อวิชชาก็เกิดไม่ได้ จิตจึงประกอบ ด้วยปัญญา จะรักก็รักอย่างมีสติ รักแบบมีปัญญา พยายามเข้าใจ ให้มาก ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์จนขาดสติ ใช้สติเข้ามากำกับเสมอ พยายามรู้เท่าทันอยู่เสมอ เท่านี้ก็เยี่ยมแล้วค่ะ
    ...
    เมื่อเรามีสติรู้เท่าทัน รักก็รักได้เบาลง รักด้วยปัญญา เมื่อใช้ ปัญญานำ จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ดีหรือไม่ดี สุขหรือทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นอาการโลภโกรธหรือหลง พระสติ พระปัญญา ก็จะมาช่วยเราไว้ รั้งสติอารมณ์อันรุนแรง ของเราไว้ ไม่ให้ดีใจ เสียใจ สุข ทุกข์ โลภ หรือโกรธ หรือหลง อย่างเตลิดเปิดเปิง
    ...
    "วิธีทำให้เบาคลาย"
    วิธีลด - ละ - เลิก หรือปลดตัวออกจากการเป็นทาสอารมณ์ ต่างๆ เช่น ความรัก นี้ ถ้าเป็นฆราวาสแบบเราๆ ใช้สติกำหนด ขนาดนี้ไปเรื่อยๆ ให้มากๆ บ่อยๆ เนืองๆ ปัญญาที่เกิดบ่อยๆ เรื่อยๆ เนืองๆ จะค่อยๆ เข้าไป ลด - ละ โลภะ โทสะ โมหะ และอวิชชา ในจิต เป็นการสั่งสมปัญญาและบุญญาบารมีสู่การ สามารถ "เลิก" หรือ "ตัด" หรือออกจาก "ทุกข์" เหล่านี้ ได้เช่นกัน แม้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
    "ทำอย่างไรให้มีสติ"
    สำคัญที่สุด ถ้าอยากให้ "มีสติ" อยู่กับตัวเสมอ ซึ่งมีคุณประโยชน์ เหลือคณานับทั้งในการอยู่กับโลกและทั้งในการเดินทางออกไป สู่ความพ้นทุกข์ คือ กำหนดหรือฝึกสติปัฏฐาน ๔ ให้เนืองๆ เอาสติมาอยู่กับกายนี้ใจนี้ ไม่ต้องส่งออกไปข้างนอก ไม่ต้องส่งออกไปที่กายอื่นใจอื่น คนอื่น สิ่งอื่นใดข้างนอกกายใจเรา ทั้งสิ้น (คือให้ออกไปน้อยที่สุดค่ะ) เอาสติมารู้กาย เวทนา จิต ธรรม ในกายนี้ใจนี้ของเรา ณ ปัจจุบันขณะ อย่าส่งออกนอก คือนอกกายนี้นอกใจนี้
    (วิธีฝึกสติปัฏฐานสี่)
    เช่น เมื่อมองเห็นหญิงสาวสวยหรือหนุ่มหล่อๆ ก็ต้องมีสติว่า เห็นหนอ (ที่ตา) ไม่ใช่ สวยจังหรือหล่อจัง อันนี้ ส่งใจออกนอก แล้ว พอเรา "เห็นหนอ" ที่ตา สติทำงาน ปัญญาก็เกิด ทำให้ จะไม่ปรุงแต่งต่อ (ว่า ชอบจัง ตามไปดูหน่อย อือชุดที่ใส่ก็สวย ถูกรสนิยมเรา อย่างนี้เป็นต้น) อย่างมากกำหนด "เห็นหนอ" แล้วก็ "สวยหนอ" หรือ "หล่อหนอ" อีกคำก็อยู่แล้ว แต่ถ้าเห็นปุ๊บ ใจและความคิดก็เตลิดว่า สวยจัง...เสื้อผ้าก็ ดูดี ผมดำสลวย อยากจีบ! นั่นคือเผลอสติ ตามใจอารมณ์ และปรุงแต่งต่อเนื่องอีกมากมายแล้ว เมื่ออารมณ์โลภ โกรธ หรือหลงก็ตาม เกิดขึ้นเช่นนี้ สติและปัญญาก็เกิดไม่ได้
    ...
    "สรุป"
    ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับการเลือกของแต่ละคน ว่าต้องการเร่งร้อน ออกจากสังสารวัฏแค่ไหน ถ้ายิ่งเร่ง ก็ต้องยิ่งปฏิบัติจิตใจ ให้เข้มข้น ถี่ยิบ กำหนดสติให้มาก (ผู้พูดเองก็ทำไม่ค่อยได้เลยค่ะ หลุดตลอด เผลอตลอดเหมือนกันเวลาอยู่ในโลกทั่วไปแบบนี้) หลบๆ เลี่ยงๆ จากสิ่งยั่วยุให้กิเลสเกิดทั้งปวง ฝึกสติให้รู้ เท่าทันให้มาก
    แต่ถ้ายังเลือกแบบค่อยเป็นค่อยไป ยังสนุกกับการเวียนว่าย ตายเกิด ก็เป็นอีกเรื่องค่ะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็ค่อยๆ ทำค่อยๆ ไป ตั้งใจฝึกบ่อยๆ ไปเรื่อยๆ สติปัญญาก็จะค่อยๆ สั่งสมเพิ่มพูน ไปเอง
    บุพเพสันนิวาส
    เรื่องเนื้อคู่ บุพเพสันนิวาส เป็นเรื่องเป็นไปได้ในทางคติพุทธ
    เพราะเหตุว่าธรรมะพูดถึงเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด
    เราทั้งหลายล้วนเวียนว่ายตายเกิดกันมานับชาติไม่ถ้วน
    เจอะเจอกันมาแล้วไม่รู้เท่าไหร่
    หากใครพึงใจที่จะได้เจอกันอีกเรื่อยๆ ก็เพียรหมั่นสร้างบุญกุศล ดีๆ ร่วมกันให้มาก ลองพิจารณาคำกล่าวของพระพุทธองค์ข้างล่างนี้ ดูนะคะ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง
    หวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้
    ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน
    มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามี
    ทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน
    ทั้งในสัมปรายภพ ฯ
    ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของ
    ผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่
    กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก
    ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน
    ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตร
    เสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์* เพลิดเพลินบันเทิงใจ
    อยู่ในเทวโลก ฯ

    (* กามารมณ์ หมายถึง อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา
    หมายถึง รูป รส กลิ่น เสียง รส สัมผัส ได้แก่ กามคุณ ๕
    ไม่ใช่หมายถึงความรู้สึกทางกามอย่างในภาษาไทย
    ปัจจุบันที่เราใช้ๆ กันอยู่)

    <!--.....ending parts.....-->
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>จิต วิญญาณ การกลับชาติมาเกิด </CENTER>
    การเวียนว่ายตายเกิด การกลับชาติมาเกิด
    คำสองคำนี้ไม่เหมือนกัน เป็นคนละเรื่อง คนละความหมายกัน

    การเวียนว่ายตายเกิด
    เป็นคำที่พูดและใช้กันในพุทธศาสนาหรือเมื่อกล่าวถึงธรรมะ (คือ ธรรมชาติ) การกลับชาติมาเกิดหรือการเกิดใหม่ ส่วนเรื่องการกลับชาติมาเกิดนั้น ภาษาอังกฤษใช้คำว่า reincarnation ที่เรา พูดกันว่าเกิดใหม่หรือกลับชาติมาเกิด อันนี้ โดยแก่นธรรมะแล้ว ไม่มีการกลับ ชาติมาเกิดใดๆ ทั้งสิ้น
    เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวงโดยนัยทางธรรมแล้ว เป็นเพียงการเกิดดับสืบต่อของ ๒ สิ่งใหญ่ๆ นั่นคือรูปกับนาม เอาที่เห็นชัดๆ ก็คือ การเกิดตายของสิ่งมีชีวิตสักสิ่ง เช่นต้นไม้ต้นหนึ่งเกิดขึ้นมา-เติบโต- แก่และตายเหี่ยวแห้งไร้ชีวิตไปในที่สุด คนสักคน มดสักตัว ก็ล้วนเกิดขึ้น- ตั้งอยู่(คือ มีชีวิตอยู่ระยะหนึ่ง)-แก่ลง เสื่อมสภาพลง แล้วก็ต้องดับไป (คือ ตายไป สิ้นชีวิตลง)ในที่สุด
    เนื่องจากโดยความจริงแท้ตามธรรมชาติแล้ว ไม่ได้มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราหรือเขาที่ตรงไหน ไม่ได้มีของเราของเขาที่ตรงไหน ไม่ได้มีคน ไม่ได้มีสัตว์ ไม่ได้มีพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ต้นไม้ ทะเล มหาสมุทร ปลา กุ้ง ปู ฯลฯ อะไรที่ตรงไหนเลย ทุกอย่างเป็นเพียง ธาตุสี่ (ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ) ที่มาประชุมกันตามเหตุปัจจัย ทุกอย่างเป็นเพียง ส่วนประกอบของรูป (เช่นก้อนหิน น้ำ ลม) หรือส่วนประกอบของ รูปกับนามหรือกายกับใจ (ก็คือสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบทั้งปวง)
    เมื่อลงมาดูที่รูปกับนามแล้ว รูปก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา นามก็เกิดดับ อยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงพูดเช่นนี้
    รูป (กาย) ก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
    ก็เพราะว่า อย่างร่างกายของมนุษย์ (คือรูปหรือกาย) ที่จริงล้วน ประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมาก ที่เกิด-ตาย เกิด-ตาย เซลล์เก่า ตายไป เซลล์ใหม่เกิดมาทดแทน เป็นเช่นนี้อยู่ตลอดนับแต่คนๆ หนึ่ง เกิดขึ้นมาและตายไป
    นาม (จิต) ก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
    ส่วนนามหรือใจหรือจิตก็ตาม ในทางธรรมแล้ว จิตเกิด-ดับอยู่ตลอด เวลา เพียงแต่เกิดดับรวดเร็วมากจนผัสสะหรือความสามารถในการ รับรู้ความสามารถในการเข้าไปสังเกตุปรากฏการณ์ธรรมชาติอันนี้ ของคนธรรมดาๆ ทั่วๆ ไป ไม่สามารถตามรู้ได้ จิตเกิดดับสืบทอดกัน ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีจิตดวงใดดวงหนึ่งเป็นจิตพิเศษที่ถาวร หรือเป็นอมตะอะไรตรงไหนเลย แม้ที่เราสมมุติเรียกกันว่า 'ตาย' แต่อันที่จริงแล้ว ในความเป็นจริงแท้ๆ ไม่ได้มีใครตาย (เพราะว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา-เขา อะไรตั้งแต่แรกอยู่แล้ว) เป็นเพียงจิตดวงสุดท้าย ของชีวิตนี้หรือของอัตภาพนี้ดับไป แต่ทันทีนั้นก็จะมีจิตเกิดขึ้นใหม่ (ต่อเนื่องไปเลยไม่มีการเว้นระยะ ไม่มีระหว่างคั่น แต่ประการใด) ในภพภูมิใหม่ในอัตภาพใหม่ที่กระแสกรรม กระแสแห่งเหตุปัจจัย นำไปให้ต้องเกิดสืบต่อไปอย่างทันที เป็นเช่นนี้ คือ เกิด-ตาย ในภพภูมิต่างๆ เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ ไม่สิ้นสุดไปได้ เว้นเสียแต่จะหมดกระแสเหตุแห่งปัจจัยที่จะต้องเกิดอีก หมดกิเลส หมดอวิชชา นั่นเองจึงจะสามารถหลุดพ้น จากกับดักแห่งสังสารวัฏหรือวัฏฏสงสารอันประกอบไปด้วยทุกข์ มีแต่ทุกข์ มีแต่ความไม่รู้ ไปได้ในที่สุด
    การกลับชาติมาเกิด
    ส่วนเรื่องของการกลับชาติมาเกิดนั้น เป็นการพูดตามแนวความคิดที่เชื่อ ว่ามีเรา มีตัวตน จิตหรือใจดวงหนึ่งหรือมีวิญญาณดวงหนึ่ง เชื่อว่าแต่ละคน แต่ละชีวิตก็มีจิตหรือวิญญาณเฉพาะของตนคนละดวงไป และเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณดวงที่ว่านี้ 'เที่ยง' คือ ไม่มีวันตายหรือสูญสลาย เชื่อว่าเมื่อชีวิตนี้ดับลงจิตหรือวิญญาณดวงเดิมนี้ก็ไปเกิดใหม่ ในอัตภาพใหม่ ฯลฯ ซึ่งเป็นคนละมุมมองกับธรรรมชาติ ในแนวธรรมะที่กลับกันแต่แรกตรงที่ไม่ได้มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา-เขา ของเรา-ของเขา ที่ตรงไหนเลย
    ส่วนคำว่า วิญญาณ ในทางธรรมนั้น เป็นอีกความหมายหนึ่ง เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ตามข้างล่างนี้ (คัดมาจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก)
    วิญญาณ
    ความรู้แจ้งอารมณ์ จิต ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะ ภายนอกกระทบกัน เช่น รู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ วิญญาณ ๖
    (๑)
    จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
    (๒)
    โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
    (๓)
    ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
    (๔)
    ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
    (๕)
    กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
    (๖)
    มโนวิญญาณ ความรู้อารณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894


    <CENTER>เจ้ากรรมนายเวร การขออโหสิกรรม การชดใช้กรรม</CENTER>
    ในคติพุทธ เรื่องเจ้ากรรมนายเวร เป็นเรื่องจริง มีจริง
    เพราะเราทุกคน ล้วนเวียนว่ายตายเกิดมานักต่อนัก ได้ไปพบไปเจอ
    ไปผูกพันเกี่ยวพันกับสรรพสัตว์อีกนับจำนวนไม่ถ้วน
    ท่านว่า ในบรรดาผู้คนเอาเท่าที่เราเจอในชีวิตนี้ชีวิตเดียว
    แม้แต่ที่แค่เคยเดินสวนกันไกลๆ บนถนนหนึ่งเพียงครั้งเดียว
    ในชีวิต เราก็ล้วนเคยเจอะเจอ ผูกพัน กันมาแล้วไม่ทางใดทางหนึ่ง
    เพราะเราล้วนเกิดและตายมานับไม่ถ้วนชาติ เจอกันมาแล้ว
    แทบทั้งนั้น
    สำหรับเรื่องเจ้ากรรมนายเวร เคยไปทำอะไรใครไว้นั้น
    พอมีทางรู้ได้บ้าง (ไม่แน่เสมอไป แล้วแต่คน บางคนก็ไม่รู้เลยก็มีค่ะ)
    ถ้าได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่จะไม่ขอบอกว่ารู้ได้อย่างไร ยังไง เมื่อไหร่
    เพราะการรู้ก่อน จะมีผลลบไม่ใช่บวก แต่มีวิธีง่ายๆ ทำได้ตลอดเวลาเลยคือ
    ให้พยายามสวดมนต์ ไหว้พระทุกวันเพราะจะทำให้จิตใจผ่องใส
    แล้วเจริญเมตตา แผ่เมตตาไปให้สรรพสัตว์และเจ้ากรรมนายเวร
    ทุกชาติภพ การเจริญเมตตา ทำให้ได้ยิ่งบ่อยยิ่งดี
    ทำวันละหลายๆ ครั้งยิ่งดี ไม่มีเสีย มีแต่ได้ค่ะ
    ยิ่งถ้าได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและสติปัฏฐานสี่ด้วย
    อานิสงส์จะแรงมาก (เพราะเป็นการสร้างเหตุดี
    ที่ประเสริฐ ที่นำไปสู่ความบริสุทธิ์แห่งจิตและนำไปถึง
    ที่สุดแห่งทุกข์) ตรงนั้นจะแผ่เมตตาได้ดีมาก อาจทำให้เป็น
    อโหสิกรรมได้ด้วยค่ะ ในทางกลับกัน
    อย่าลืมตั้งจิตอโหสิให้ทุกรูปทุกนามที่เราเป็นเจ้ากรรม
    นายเวรของเค้าด้วยนะคะ จะได้ไม่ต้องไปผูกไปพันกันอีก
    (อันนี้ดิฉันคิดเอง ปฏิบัติเองค่ะ) ไม่ติดใจเอาโทษหรือคิดแค้น
    ใครอีกต่อไปทั้งสิ้น ไม่อย่างนั้นก็จะไม่จบ
    <!--.....ending parts.....-->
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    <CENTER>ตัวกู ของกู คน สัตว์ สิ่งของ ตัวตน เรา เขา</CENTER>
    "ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา"
    สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือ ธรรมะคือ ธรรม หรือ ธรรมชาติ นั้น
    มีอยู่ ๒ ระดับ คือ
    ๑. ระดับโลกียะ เป็นธรรมะที่เป็นสมมุติทั้งสิ้น เป็น สมมติสัจจะ
    (เป็น ความจริงโดยสมมุติเอา) เป็นธรรมะที่เกิดจากการบัญญัติ
    เช่น รถ บ้าน ต้นไม้ คน ฉัน เธอ เขา สีเหลือง กลิ่นหอม ดอกมะลิ ฯลฯ
    ๒. อีกระดับคือระดับ โลกตุตระ หรือ ปรมัตถธรรม คือ
    ธรรมที่มีจริงแท้ๆ คือ รูป จิต เจตสิกและพระนิพพาน
    อย่างกายที่ว่าของเรานี่ ภาษาธรรมเรียกว่า "รูป"
    ก้อนหิน ก็เป็น "รูป" กลิ่นอาหาร ก็เป็นแค่ "รูป"
    รสของมะนาว ก็เป็นแค่ "รูป" ส่วน นาม ก็เช่น
    โกรธ เป็น "นาม" รัก ก็เป็นแค่ "นาม" พอใจยินดีก็ "นาม" เท่านั้น
    ดังนั้น ในความเป็นจริงแท้ๆ
    ในความเป็นจริงที่ไม่ผันแปร
    ในความจริงอันสูงสุดแล้ว
    ไม่ได้มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราหรือเขา ในอะไรทั้งสิ้น
    ล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้ววันหนึ่งก็ต้องดับไป ทั้งสิ้น
    ตามธรรมะนั้น ไม่ได้มีเรา ไม่ได้มีเขา ไม่ได้มีหญิง ไม่ได้มีชาย
    มีแต่กายกับใจ รูปกับนาม แต่ทว่าอวิชชาพาให้เราหลง
    เราเข้าไปยึดเข้าไปจับว่าเป็นตัวเราของเรา
    เป็นเหตุให้เรายังต้องทุกข์ทรมานเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ล่ะค่ะ
    ************************
    "ไม่มีการกลับชาติมาเกิด"
    ในศาสนาพุทธ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
    ต้องไปศึกษาเรื่องขันธ์ ๕ เรื่องกายกับใจ
    จะเห็นว่า กายนี้ก็เกิดดับตลอดเวลา (ขอพูดสรุปๆ นะคะ)
    เซลในกายเราก็ตายตลอดเวลา แพทย์บอกว่า
    ภายใน ๗ ปีหลังจากเราเริ่มก่อตัวอยู่ในท้องคุณแม่จนกระทั่ง
    คลอดออกมาและเจริญเติบโตนั้น
    เซลแรกๆ ที่เกิดมา ณ จุดแรกนั้น ก็ตายหมดแล้ว
    (เค้าค่อยๆ ทยอยตายไป แล้วเซลใหม่ก็เกิดมาแทน)
    นั่นคือเรื่อง กาย หรือ รูป
    ส่วนเรื่องใจ
    ที่จริงท่านว่าจิตเกิดดับแปล๊บเดียวนี่แสนโกฎิขณะ
    เอาเป็นว่าลองดูใจเราเองก็ได้ แค่เรื่องคิดนี่ก็เปลี่ยนไปอยู่
    ตลอดเวลา ไม่เคยหยุดอยู่กับเรื่องเดียว
    ปรุงแต่งโน่นนี่ไปเรื่อยๆ
    สรุปว่า จิตก็เกิดดับตลอดเวลาต่อเนื่องกันไป แต่ต่อเนื่องจนเรา
    ไม่อาจรู้ได้ เข้าใจไปว่าเค้ามีอยู่ดวงเดียว
    เข้าไปยึดไปถือว่าเป็น "จิตของเรา"
    ก็เลยวุ่นวายกันอยู่นี่ละค่ะ
    เพราะ "อะไรก็ของเรา อะไรก็ตัวเรา"
    ใครมาทำร้ายกาย "ของเรา" ก็โกรธ
    ใครมาทำร้ายใจ "ของเรา" ก็โกรธ ก็ไม่พอใจ เป็นต้น
    ที่จิตนี้ยังเกิดดับต่อเนื่องไปจนแม้กายนี้ดับไปแล้ว
    จิตก็ไปจุติใหม่ (ทันที) ในภพชาติใหม่
    ก็เพราะ ยังมี อวิชชา ยังมี "กรรม" ทำให้เกิด
    เราลิขิตอะไรไม่ได้ แต่แท้จริง กรรมที่เราทำมานั้นเอง
    ที่ลิขิตทางไปของเรา เพียงแต่เราไม่รู้ขบวนการ
    เรารู้ไม่เท่าทันกิเลสที่ครอบโลก ครอบเราอยู่
    (ท่านถึงได้ว่า เอาให้ปลอดภัย
    ก็ทำดี ถือศีลห้า ไว้ก่อนละ ปลอดภัยกว่า
    ท่านว่า นรก นั้นน่ากลัวนัก- นอกเรื่องไปหน่อย ขอโทษค่ะ)
    ************************
    "เราทุกคนเวียนว่ายมานักต่อนัก"
    ศาสนาพุทธพูดถึงเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด
    กรรมมีทั้งกรรมดี กรรมชั่ว และกรรมกลางๆ คือไม่ดีไม่ชั่ว
    ผลของกรรมจึงมีทั้งผลดี ผลไม่ดี
    ที่ไปก็เลยมีทั้ง สวรรค์และนรก รวมทั้งสวรรค์ในอกนรกในใจ
    (พระนิพพานนั้น ไม่ขอพูดถึง เพราะอยู่นอกสังสารวัฏ
    อยู่นอกการเวียนว่ายตายเกิด หมดสิ้นแล้วซึ่งอวิชชา
    กิเลส ตัณหา ไม่ยึด ไม่ถือ แล้ว ... จึงจะไปถึงได้)
    ท่านว่าไว้ว่า จะหาคนๆ ไหน ที่เราเดินสวนอยู่ตามถนนก็ตาม
    ที่ไม่เคยผูกพันเกี่ยวข้องอะไรกันมากับเรานั้น ยากมากๆ
    ดังนั้น ดิฉันคนหนึ่งละ ที่ไม่อยากรู้เรื่องชาติก่อนๆ เคยเป็นอะไรเลย
    คงวุ่นพิลึกถ้ารู้ เพราะคงเกี่ยวพันกันอีรุงตุงนังไปหมด
    รู้แล้วคงปวดหัวมากกว่าสบายใจนะคะ :>
    ************************
    ภาคปฏิบัติ
    "ต้องปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา จึงจะรู้ได้"
    สิ่งที่คุณ ruthless กังวลอยู่ เมื่อเอาธรรมะข้างบนมาจับแล้วละก็
    นับว่าไม่ต้องกังวลกันอีกต่อไปเลย ไม่ต้องไปสนใจหรอกค่ะว่า
    เราจะจำตัวเองได้หรือไม่ เพราะว่าถ้าจับเอาตามแนวคิดเหล่านี้
    ยังไงเสียก็จำไม่ได้ค่ะ ถึงจำได้ก็ไร้ความหมายเพราะไม่ได้มีตัวเรา
    จริงๆ ไม่ได้มี ของเราจริงๆ สักนิดเดียว
    ที่สำคัญที่อยากจะเน้นว่าควรคิด ควรกลุ้มใจ
    ควรเร่งทำเป็นที่สุด
    คือ เร่งสร้างกรรมดี ไว้ดีกว่า
    แล้วก็เร่งทำให้ตัวเองมี สติ มี ปัญญา (ปัญญาแบบรู้แจ้ง
    ปัญญาที่เรียกว่า "ภาวนามยปัญญา" เป็นปัญญาที่สามารถ
    พาออกจากทุกข์ได้)
    ถ้าพูดตามหลักคิดว่ามีสวรรค์ นรก แล้วละก็ ท่านบอกว่า
    เมื่อเราไปจุติในภพภูมิและอัตภาพใหม่ปุ๊บ เราก็จะจำอันเก่าไม่ได้เลย
    (แต่กรรมที่ทำไว้ทั้งดีและชั่วยังติดตามไปเสมอ บันทึกไว้อย่างดีในจิต
    พร้อมให้ผลเมื่อได้จังหวะและโอกาส)
    เราจะลืม สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เดิมๆ แล้วก็มาเริ่มต้น สัญญา ใหม่
    มีชีวิตใหม่ตามแบบที่ภพภูมิใหม่และอัตภาพใหม่เป็น เป็นอย่างนี้ไม่รู้จบ
    ท่านว่า (อีกแล้ว) เราทุกคนเคยอยู่มาแล้วทุกภพภูมิค่ะ
    (นรก เปรตอสุรกาย เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม) เห็นมั้ย เรายังจำอะไรไม่ได้เลย
    เมื่อสิบวันที่แล้วตอนมื้อเที่ยง รับประทานอะไรเป็นอาหารกลางวัน
    รับประทานไปกี่คำ ยังจำไม่ได้เลย ... นับประสาอะไรกับอดีตล่วงชาติ
    เลยกลับไปไกล
    ดังนั้น อยากแนะนำให้ศึกษาธรรมะให้เยอะๆ
    พยายามถือศีลอย่างน้อยศีลห้าให้มั่น (เป็นการสร้างกรรมดี
    เพื่อให้ส่งผลให้อนาคตที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ดีไปด้วย
    ไม่ไปเกิดในที่ๆ ไม่ดี ที่ๆ ทุกข์) ทำทาน (เพื่อฝึกความเมตตา
    เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ฝึกความรักในเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย
    และเพื่อเป็นเสบียงไว้ เกิดชาติใดๆ ก็จะได้ไม่อดไม่อยาก)
    และที่สำคัญอีกประการ เจริญภาวนา วิปัสสนาภาวนา
    ตามแนวสติปัฏฐานสี่ (ดูกาย เวทนา จิตและธรรม)
    อันเป็นการเจริญภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญาและได้พบทางพ้นทุกข์
    เมื่อได้ปฏิบัติ ทาน ศีลและภาวนาแล้ว ความสงสัยก็จะค่อยๆ สิ้นไป
    ความมั่นใจก็จะปรากฏ จะไม่หวั่นเกรงต่อภัยภายนอก (นอกกาย
    นอกใจของเรา) และภัยภายใน (คือความทุกข์ ความเจ็บป่วย ความ
    ตาย) เพราะเมื่อเข้าใจ รู้เท่าทันเค้าเสียแล้ว รู้จักเค้าเสียแล้ว
    เค้าก็มาทำอะไรให้เรากลัวหรือไม่มั่นใจได้อีกต่อไป
    การเจริญสติ ตามแนวสติปัฏฐานสี่นี้แหละค่ะ
    ที่จะช่วยได้ เมื่อทุกข์กายหรือใจ สติและปัญญาที่มีก็จะ
    ช่วยให้ทุกข์คลาย ได้จริงๆ
    เมื่อจะตาย สติ ตัวนี้แหละค่ะ จะพาให้ตายดี ตายอย่างรู้ตัว
    ตายอย่างมีสติ ตายแบบไม่ต้องกลัวตาย
    (ความตาย ที่จริง ก็ไม่ได้น่ากลัวหรอกนะคะ
    ที่จริง ตามความเป็นจริง เราไม่ได้ตายเลย
    ที่จริงก็คือไม่ได้มีใครเกิดหรือตายเลย มีแต่เหตุปัจจัย
    ยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราแค่ดับจากภพชาติ
    จากอัตภาพนี้ ไปสู่ภพชาติอัตภาพใหม่ เท่านั้นเอง
    แล้วก็เวียนทุกข์เวียนสุข เวียนว่ายตายเกิดกันต่อไป ไม่รู้จบ) อันนี้ ปัจจัตตัง จริงๆ คือ ใครทำใครรู้
    อย่างที่มีเพื่อนท่านหนึ่งเคยพูดไว้ว่า
    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนา "ปฏิบัติ" (คือต้องลงมือทำเอง)
    ไม่อย่างนั้น ก็จะสงสัยอยู่เรื่อยๆ ไป
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894


    ความตาย การพิจารณาความตาย การเจริญมรณานุสติ
    "เกริ่น"
    เพื่อนๆ ทั้งหลาย
    สิ่งที่น่าสลดใจ น่ากลัว น่าหวาดหวั่นที่สุดก็คือพระศาสนาที่ย่างมาได้เกินครึ่งทางแล้ว
    สองพันห้าร้อยกว่าปี เวลาที่เหลือก็สั้นนัก
    น่าวังเวงใจเหลือเกินเมื่อคิดว่า
    เมื่อหมดพระศาสนาคราวนี้แล้ว
    ก็จะไม่มีที่พึ่งอันวิเศษสุดนี้ไปอีกยาวนาน นานแสนนาน
    ความตายก็เป็นของน่ากลัว
    ตายไปคราวนี้แล้ว
    ก็ยังไม่รู้จะได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาอีกหรือเปล่าหรือว่าจะได้พบอีกเมื่อไหร่
    ชีวิตนี้สั้นนัก
    แถมยังกำหนดก็ไม่ได้ จะรู้ก่อนก็ไม่ได้ว่าจะตายอย่างไร เมื่อไหร่
    ดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว (รู้สึกจะ)กับพระอานนท์ว่าการระลึกถึงความตายนั้น
    แม้จะระลึกทุกลมหายใจเข้าออกก็ยังน้อยไป
    "ระลึกถึงความตายสบายนัก
    มันหักรักหักหลงในสงสาร
    บรรเทามืดโมหันธ์ในสันดาน
    ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ"
    (กลอนโบราณ)
    "เข้าเรื่อง"
    เผอิญได้พบธรรมะที่น่าสนใจ
    เลยหาคัดลอกมาเผื่อพวกเราจะสนใจอุบาย
    การคิดถึงความตายกันเนืองๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ทั้งในโลกนี้
    และโลกหน้า คือเตรียมตัวเตรียมปฏิบัติธรรมไว้เยอะๆ และเตรียมตัวตายแบบมีสติรู้เท่าทัน ไม่หลงตายค่ะ
    [ จาก
    "วิปัสสนากรรมฐาน"
    ภาค ๑ เล่ม ๒ หน้า ๑๗๐
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี ]

    มรณะ คือ ความตาย แบ่งออก ๒ อย่าง คือ
    ๑. กาลมรณะ ความตายตามกาล เช่น ตายเพราะสิ้นอายุ ตายเพราะสิ้นกรรม
    ตายเพราะสิ้นทั้งอายุสิ้นทั้งกรรม
    ๒. อกาลมรณะ ตายไม่ตามกาล เช่น ถูกรถทับตาย เป็นต้น
    นอกจากนี้ความตายยังแบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ
    ๑. สัมมติมรณะ ตายโดยสมมุติ เช่น นาย ก. ตาย
    ๒. ขณิกมรณะ ตายชั่วขณะหนึ่งๆ ตายอยู่ทุกฝีก้าว ทุกขณะหายใจเข้าออก
    ทุกขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส
    กายถูกเย็นรอ้นอ่อนแข็ง ใจคิดธรรมารมณ์
    ๓. สมุจเฉทมรณะ ตายโดยตัดขาดจากวัฏฏสงสาร ได้แก่การตายของพระอรหันต์
    [ จาก
    "มรณสติกถา"
    "พุทธภาษิตเพื่อพิจารณความตาย"
    โดย พระดุษฎี เมธังกุโร ]
    (หน้า ๒ และหน้า ๓)
    ความตายเป็นความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอน
    อันว่าความตายนั้นเป็นของที่คู่กับชีวิตของเรา เมื่อเราเกิดขึ้นมา เราก็ต้องคำพิพากษาเสียแล้วว่า
    เป็นนักโทษประหาร ต้องถึงแก่ความตาย ด้วยการลงโทษประหารในวันใดวันหนึ่ง โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
    ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งโทษประหารชีวิตนี้มิได้ระบุแน่นอนชัดเจนว่า เราจะตายเมื่อไหร่
    จะตายที่ไหน จะตายอย่างไร แต่ที่เที่ยงแท้ก็คือว่า เราทุกคนที่เกิดมาจะต้องพบความตาย
    โดยหลีกเลี่ยงมิได้ ความเที่ยงแท้ที่ไม่แน่นอนนี้ เราควรที่จะกำหนดจิตกำหนดใจของเราให้ยอมรับความจริง
    คือยอมรับสภาพที่รู้แน่นอนว่าต้องตายนั้นประการหนึ่ง กับสภาพที่ไม่รู้ได้แน่นอนว่าจะตายเมื่อไหร่
    จะตายที่ไหน จะตายอย่างไรอีกประการหนึ่ง เพื่อเตรียมจิตเตรียมใจของเราให้พร้อม
    เพื่อรับสภาพการณ์ที่ความตายจะมาเยือน ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะมีประโยชน์อย่างมาก
    ประโยชน์ยิ่งกว่านั้นก็คือว่า จะได้หาหนทาง หาวิธีที่เราจะก้าวพ้นความตายทั้งหลาย
    ไม่ให้มัจจุราชมารมองเห็นตัวของเราได้ ทั้งนี้ ก็โดยอาศัยพระธรรมคำสอน
    ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ ให้เราประพฤติปฏิบัติและจะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ …
    .....
    (เนื้อหาต่อจากนี้ย่อความมาจากทั้งเล่มค่ะ)
    สิ่งที่ไม่อาจกำหนดได้ ๕ อย่าง
    ชีวิตัง พยาธิ กาโล จ
    เทหนิกเขปนัง คติ
    ปัญเจเต ชีวโลกัสมึ
    อนิมิตตา น นายเร

    แปลความว่า
    สิ่งที่เราไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เรามีชีวิตอยู่นั้น มีอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน คือ
    (ในวงเล็บเหลี่ยมเป็นคำอธิบายขยายแนะนำการปฏิบัติตัวที่ผู้เขียนหนังสือขยายไว้ค่ะ)
    ๑.
    อายุ
    เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะมีอายุยืนนานสักเพียงไร
    [ไม่สำคัญว่าเราจะอยู่นานเพียงใด แต่สำคัญว่าเราอยู่ดีแค่ไหน
    ไม่สำคัญว่าระยะเวลาจะมีเท่าใด แต่สำคัญว่าเราจะใช้เวลาของเราอย่างไร]
    ๒.
    ความเจ็บไข้
    เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวันไหนเราจะเจ็บป่วยร้ายแรงเพียงใด
    [เมื่อร่างกายเรายังแข็งแรงดี จิตใจเรายังสมบูรณ์ดี
    พีงตั้งหน้าทำความเพียร ประกอบการงานหน้าที่ให้ดีที่สุด]
    ๓. กาลเวลา
    เราไม่สามารถรู้ได้ กำหนดหมายไม่ได้แน่นอน
    [เราต้องไม่ประมาท สามารถพร้อมที่จะตายได้ทุกเมื่อ]
    ๔. สถานที่
    เราไม่สามารถกำหนดหรือรู้ได้
    [พยายามใช้ชีวิตของเราให้เป็นประโยชน์
    อยู่ ณ ที่ใด ก็ระวังจิตระวังใจของเราให้ดี]
    ๕. คติที่จะไป
    เราไม่สามารถรู้ว่าตายไปแล้วเราจะไปไหนต่อ
    [ผู้ทำดีย่อมมีสุคติเป็นที่หมาย ผู้ทำชั่วย่อมมีทุคติเป็นที่หมาย]
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นกัลยาณมิตรช่วยให้พ้นตายได้ ...
    ขอให้เราตระหนักถึงความตายนี้ แล้วตั้งหน้าประพฤติปฏิบัติธรรม
    เพื่อพ้นจากความตายนี้ให้ได้ โดยอาศัยธรรมะของผู้มีพระภาคเจ้านั่นเองเป็นเครื่องนำทาง
    พุทธภาษิต เพื่อการพิจารณาความตาย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ คือ
    ๑. ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
    ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
    ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
    ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ๕. เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
    (๘๐.๓๓/๑๐๒-๑๐๓ หรือ ๔๕.๒๒/๗๒ ฐานสูตร)
    .....
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด*
    ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง

    (๘๐.๓๕/๑๓๒ หรือ ๔๕.๒๓/๙๕ สุริยสูตร)
    (* หมายเหตุ ดิฉันคล้ายเคยได้ยินว่า "นี้ควรกำหนด" แต่ไม่กล้าเปลี่ยนเพราะไม่แน่ใจ
    ก็เลยคัดลอกตรงตามหนังสือเล่มนี้พิมพ์ไว้มาเลยค่ะ)
    .....
    เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ มรณะ แผดเผาแล้วเช่นนี้ ความสำรวมทางกาย
    ความสำรวมทางวาจา ความสำรวมทางใจในโลก ย่อมเป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น
    เป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง และเป็นที่ยึดหน่วงแก่เขาผู้ละไปแล้ว
    (๘๐.๓๑/๒๔๘ หรือ ๔๕.๒๐/๑๗๔ ชนสูตร)
    ..... คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อน
    ดังนี้ ย่อมไม่รู้อันตราย มัจจุย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์ มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ
    เหมือนห้วงน้ำใหญ่พาเอาชาวบ้านผู้หลับไป ฉะนั้น
    เมื่อบุคคลถูกมัจจุผู้ทำซึ่งที่สุดครอบงำแล้ว บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
    บิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ถึงพวกพ้องทั้งหลายก็ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน
    ความเป็นผู้ต้านทานไม่มีในญาติทั้งหลาย บัณฑิตทราบประโยชน์นี้แล้ว
    พึงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลันทีเดียว
    (๘๐.๓๘/๖๙ หรือ ๔๕.๒๕/๔๔ คาถาธรรมบท)
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    นิพพาน
    เห็นเนื้อหาเกี่ยวกับปลายทางแห่งการพ้นทุกข์นี้น่าสนใจดี
    สำนวนก็อ่านง่าย
    เลยคัดมาให้อ่านผ่านๆ ตากันค่ะ
    ทั้งหมดนี้คัดและตัดตอนมาจากหนังสือ "ผลึกแห่งธรรม"
    โดย จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี - นภาเดช กาญจนะ
    (หนังสือเล่มนี้ค้นคว้าอ้างอิงมาจากหนังสือต่างๆ ประมาณ
    ๕๐ กว่าเล่ม เช่น หนังสือของท่านพุทธทาสฯ
    หนังสือของพระประยุทธ์ ปยุตโต พระมหาประยูร ธัมมจิตโต
    หลวงพ่อสด หลวงปู่ดูลย์ และ วิทยานิพนธ์ของสมเด็จพระเทพฯ
    เรื่อง "ทศบารมี" เป็นต้น)
    คัดมาเฉพาะส่วนที่เป็นแนวคิดแบบเถรวาทค่ะ
    ขออนุญาตคัดมาแบบไม่มีอ้างเชิงอรรถนะคะ
    ไม่อย่างนั้นจะเยอะและยาวมากค่ะ
    ......................
    "ความหมายของนิพพานตามรูปศัพท์"
    คำว่า "นิพพาน" หากแยกตามศัพท์จะแยกได้เป็นสองส่วน
    คือ นิ+วาน "นิ" แปลว่าพัน ส่วน "วาน" แปลว่าธรรมที่เป็นเครื่องเกี่ยวโยงไว้
    หมายถึง ตัณหา เมื่อรวมกันเข้าจึงแปลว่าพ้นจากตัณหา
    นอกจากนี้ ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของพระเทพวาที
    ได้ให้ความหมายของนิพพานว่า คือการดับกิเลสและกองทุกข์
    เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    และยังได้ให้ความหมายของโมกข์ คือความหลุดพ้นจากกิเลสคือนิพพาน
    "ประโยชน์ของการใช้ภาษาอธิบายนิพพาน"
    ในการศึกษาความหมายของนิพพาน
    เราจำต้องใช้ภาษาอันเป็นเครื่องสื่อความหมาย
    และแสดงถึงการคิดไตร่ตรองของตัวเรา
    เพราะไม่ว่าคำว่านิพพาน ความหลุดพ้นหรือโมกษะ
    ล้วนเป็นเพียงชื่อที่สมมติกันขึ้น ดังนั้นแม้เราจะไม่สามารถ
    เห็นแจ้งพระนิพพานโดยอาศัยภาษา แต่การใช้ภาษาวิเคราะห์
    อธิบายก็สามารถช่วยให้เราพอมองเห็นแนวทาง
    เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติ
    ที่เหมาะควรได้ไม่น้อย
    "นิพพานในฐานะจุดมุ่งหมายสูงสุด"
    ในปาสราสิสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ถึงการแสวงหา
    ว่ามี ๒ อย่าง คือการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ กับการแสวงหาอันประเสริฐ
    ซึ่งการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ ได้แก่การแสวงหาสิ่งที่ยังนำมา
    ซึ่งความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความเศร้าหมอง
    ส่วนการแสวงหาอันประเสริฐ คือการแสวงหาพระนิพพาน
    ที่ไม่มีความเกิดขึ้นในสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) อีก
    สำหรับตัวอย่างที่จะทำให้เราเห็นชัดว่านิพพานเป็นภาวะที่เข้าใจยาก
    ทำให้การพิจารณาเรื่องนี้เป็นสิ่งดูจะเหนือวิสัยที่จะหาคำอธิบาย
    ที่หลากหลาย ในความคิดของพุทธปรัชญาเถรวาท ดังในมิลินทรปัญหา
    ที่พระนาคเสนให้ทูลแก่พระยามิลินทรว่า
    "การที่จะทูลชี้แจงพระนิพพาน ถวายให้ทรงเห็นชัดๆ
    ก็เกินกำลังความสามารถของอาตมภาพเช่นเดียวกัน
    เพราะอาตมภาพกล่าวได้แต่วิธีที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
    แต่ไม่อาจแสดงเหตุที่อาศัยให้เกิดพระนิพพานได้
    การที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าพระนิพพานเป็นอสังขตธรรม
    ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง รู้ไม่ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย
    จะพึงรู้พึงเห็นได้ก็แต่พระอรหันต์ผู้มีจิตสงบ
    และละเอียดเท่านั้น"

    ด้วยเหตุนี้ในทางพุทธปรัชญาเถรวาท เราจึงมักเห็นแต่การกล่าวถึง
    มรรค หรือวิถีทางปฏิบัติเสียมากกว่าการอธิบายสภาวะนิพพาน
    ที่เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดว่าเป็นอย่างไร
    "ภาวะของผู้พ้นทุกข์"
    พุทธปรัชญาเป็นปรัชญาที่สามารถปฏิบัติให้เห็นประจักษ์จริง
    และเป็นประโยชน์ต่อชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งการวิเคราะห์
    ความหมายของนิพพานโดยสะท้อนภาพ
    บุคลิกของผู้บรรลุนิพพานเป็นตัวอย่างให้ประจักษ์
    อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เรามีความเห็น (มโนทัศน์)
    เกี่ยวกับนิพพานชัดขึ้นได้
    ในส่วนของภาวะผู้หลุดพ้น พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต)
    ได้แบ่งได้ ๓ ทาง
    ก. ภาวะทางปัญญา
    ๑.
    ผู้บรรลุนิพพานจะมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นจริง
    รู้อารมณ์ทางอายตนะ ด้วยจิตเป็นกลาง มีสติประกอบ
    ๒.
    ผู้บรรลุนิพพานจะรู้เท่าทันสังขารว่าเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์
    ๓.
    ผู้บรรลุนิพพานจะไม่ติดในสมมติของภาษา
    ข. ภาวะทางจิต มีความเป็นอิสระ
    ๑. ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์
    ๒. ไม่ติดในอารมณ์
    ๓. ไม่หวังสิ่งใด
    ๔. มีความสงบ
    ๕. ไร้กังวล
    ค. ภาวะทางความประพฤติ
    ๑.
    ศีลสมบูรณ์เพราะเป็นวิถีชีวิตของท่านอยู่แล้ว
    ๒.
    เป็นเพียงกิริยา ปราศจากกรรม
    ๓.
    กระทำด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยอวิชชา (ความไม่รู้)
    ตัณหา (ความอยาก) อุปาทาน (ความยึดติด)
    ๔.
    เป็นแบบอย่างที่ดี
    กล่าวโดยสรุป ผู้บรรลุนิพพานจะเป็นผู้ที่มีปัญญา
    มีความเป็นอิสระทางจิต และมีเมตตากรุณาเป็นเครื่องหมาย
    แสดงสู่ภาวะจิตดังกล่าว ดังจะเห็นได้ในพระพุทธคุณ ๓
    คือ พระปัญญา พระกรุณาและพระบริสุทธิคุณ
    ที่ชาวพุทธระลึกถึงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้านั่นเอง
    "การดำรงชีวิตของผู้ที่พ้นทุกข์"
    ย่อโดยรวบรัดว่า ผู้ที่หลุดพ้นแล้วซึ่งในทางพุทธปรัชญา
    แบ่งเป็น
    ๑.
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุด้วยตัวเอง
    สั่งสอนธรรมช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
    ๒.
    พระปัจเจกพุทธเจ้า บรรลุด้วยตนเอง ไม่สั่งสอนผู้อื่น
    ๓.
    พระอรหันต์ ผู้บรรลุโดยรู้ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ผู้บรรลุธรรมยังสามารถทำอะไรได้ไม่แตกต่างกับปุถุชน
    ต่างกันเพียงแต่ว่าผู้ที่หลุดพ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน
    แม้จะมีการรับรู้อยู่ก็ตาม ดังในวิสุทธิมรรคความว่า
    "อันทุกข์มีอยู่แท้ แต่ใครๆ ผู้รับทุกข์ไม่มี
    ผู้ทำไม่มีแต่การกระทำมีอยู่แท้
    ความดับมีอยู่ แต่คนผู้ดับไม่มี..."

    "สรุป"
    ในทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท การบรรลุธรรมได้รับการ
    พิสูจน์ให้เห็นจริงจากการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา
    คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีลักษณะการปฏิบัติไปตาม
    ลำดับขั้นตอน ได้แก่ การมีศีลเป็นเบื้องต้น
    แล้วสร้างความสงบและพลังงานทางจิตจากสมาธิ
    จึงนำมาพิจารณาธรรมในขั้นวิปัสสนาจนเกิดปัญญา
    หลุดพ้นจากกองทุกข์ไปในที่สุด อย่างค่อยเป็นค่อยไป ...
    "เหตุใดนิพพานควรเป็นเป้าหมายชีวิตของเรา"
    การบรรลุนิพพาน เป็นการมองเห็นโลกตามสภาพความ
    เป็นจริง อันทำให้หลุดพ้นจากทุกข์และการเวียนว่าย
    ตายเกิดทั้งปวง สู่ความสุขที่เกิดจากการปล่อยวาง
    ไม่ติดข้องในสิ่งต่างๆ ด้วยการมีปัญญารู้เท่าทัน
    ความเป็นจริง
    ดังนั้นเนื่องจากเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์
    นิพพานในทัศนะของพุทธปรัชญาจึงเป็นสิ่งที่ควรมุ่งหมาย
    แม้ว่าจริงอยู่ที่ผู้หลุดพ้นจะปราศจากทุกข์ใจ
    แต่มีทุกข์กายไปตามสภาพร่างกาย
    ทว่าก็มิได้ทำให้ผู้หลุดพ้นทุกข์ใจแม้แต่น้อย
    ดังข้อความในมิลินทปัญหาที่ว่า
    พระราชาตรัสถามว่า..."พระคุณเจ้าผู้ใดไม่ปฏิเสธ เขาจะ
    เสวยเวทนาที่เป็นทุกข์หรือไม่" พระนาคเสนทูลตอบว่า
    ...เสวยเวทนาที่มีกายเป็นสมุฏฐาน (เหตุให้เกิด)
    ไม่เสวยเวทนาที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
    อย่างไรก็ตาม หากมองว่าผู้ที่หลุดพ้น
    เมื่อละสังขาร (ร่างกาย) นี้แล้วจะไม่มีการเวียนว่าย
    ตายเกิดอีก ก็จะไม่มีกายสังขารอีก ซึ่งก็เท่ากับว่า
    ไม่มีทุกข์ทางกายอีกตลอดไป
    อีกประการหนึ่ง เราอาจมองว่า
    นิพพานเป็นสิ่งที่ควรมุ่งหมายในแง่ที่ว่า
    นิพพานทำให้เรามีเสรีภาพ ไม่ถูกกำหนดจากสิ่งภายนอก
    เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ ซึ่งแม้เรายังไม่บรรลุนิพพาน
    แต่หลุดพ้นจากทุกข์ในระดับอริยบุคคลเพียงขั้นใด
    ก็จะทำให้เราประสบสุขและมีเสรีภาพทางใจมากกว่า
    ผู้มัวเมาในกิเลส หลงยาเสพติด วัตถุ เงินตราที่มีค่า
    ยิ่งกว่าพระเจ้าองค์ใดๆ ไม่น้อย
    "ผลึกส่วนนิพพานมีค่าแก่สังคมเพียงใด" ในทัศนะของผู้เขียน ผลึกธรรมส่วนนิพพานนับว่า
    มีคุณค่าแก่สังคมอย่างมหาศาล เนื่องจากถ้าสังคมใด
    ประกอบไปด้วยผู้บรรลุหลุดพ้น ซึ่งเป็นผู้กระทำดี
    มีจิตใจบริสุทธิ์เป็นธรรม มีเมตตากรุณา
    ไม่คิดเบียดเบียน อยู่โดยปกติธรรมชาติของท่าน
    สังคมนั้นก็จะมีแต่ความสงบสุขร่มเย็น
    นอกจากนี้ ท่านผู้บรรลุหลุดพ้นแล้วอาจยังสามารถ
    ช่วยสั่งสอนอบรมคนทั้งหลายในสังคม
    ให้อยู่ในศีลในธรรมได้อีกด้วย
    สังคมก็จะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    ไม่สับสนวุ่นวาย ประการสำคัญ
    ความหลุดพ้นของพุทธปรัชญาเป็นสิ่งที่เกิดจาก
    การใช้ปัญญา มองเห็นสัจจะ ความเป็นจริงของ
    สรรพสิ่ง รวมทั้งชีวิตมนุษย์เรานี้ ดังนั้น
    หากคุณค่าที่เรามองสังคมที่หวังให้เป็น
    คือปราศจากทุกข์และเป็นสังคมของผู้มีปัญญา
    แล้วไซร้ ความหลุดพ้นของพุทธปรัชญาจะเป็นสิ่ง
    ที่มีคุณค่าและมีความหมายที่สุดในสังคมนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...