นั่งสมาธิ แล้วรู้สึกว่า ลืมว่าตัวเองนั่งที่ไหน อวัยวะรวมเป็นก้อน งงฮะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย zoommy, 16 เมษายน 2009.

  1. zoommy

    zoommy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    ผมฝึกนั่งสมาธิไม่นาน นัก เพราะรู้ว่าตัวเอง ชอบความสงบ เริ่มสังเกตตัวเอง


    จาก เวลานั่งรถกลับบ้านต่างจังหวัด รู้สึกมีความสุขมาก เวลาได้ นั่ง ไกลๆ


    รู้สึกสบายๆ จิตสงบ นิ่ง เรื่อยๆ เฉื่อยๆ เบาสมองมากมาย หลังจากนั้นผมก็ เริ่ม


    นั่งสมาธิ โดยที่แนะนำ เขาให้ เริ่มจาก นั่งสมาธิครั้งละไม่กี่นาที และค่อยๆเพิ่ม


    แต่ผมไม่ได้กำหนด นาที ผมนั่งไปเรื่อยๆ ยิ่งนั่งก็ยิ่ง สงบ มันลอยๆ หัวเบาๆ

    พอนั่งไปสักพักใหญ่ กำหนด พุทธ โธ ไปเรื่อยๆ ( ผมกำหนดจิตอยู่ระหว่าง

    จมูก กับ หัว ) จิตใจ วางเฉย ไม่คิดอะไร แต่บางครั้งก็มี เรื่องอะไรไม่รู้ วิ่ง

    เข้ามาให้คิด ผมก็ต้องตั้งจิต กำหนด พุทธ โธ สู้ๆๆ แล้วผมก็รู้สึกว่า


    มือที่ผมวางทับกัน มันหายไป เหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งตัวเลย วันนั้นผมนั่ง


    ครั้งที่ 4 ประมาณ 1 ชม 20 นาที ก่อนจะออกสมาธิสักพัก ผมรู้สึก ว่าผมลืม


    ว่าผมอยู่ที่ไหน กำๆๆ ผม งง ว่านั่งสมาธิเป็น อันไซเมอร์ ชั่วขณะ ได้ด้วยหรอ



    ก่อนออกสมาธิ ผมก็ แผ่เมตตา แล้วก็ออกสมาธิ แล้ว ก้มลง นอน



    ในขณะนอน นั้น ผมก็รู้สึกว่า จิตมันจะเข้าสมาธิเอง อีกเฉยเลย มันรู้สึกนิ่ง

    เหมือนตอนนั่ง สมาธิเมื่อ ครู่ แต่ผม ก็ สบัด ทิ้ง เพราะ อยากหลับ แบบ


    ปกติ โดยการ กลับตัว ไป กลับตัวมา เพราะถ้าไม่ทำมันจะ นิ่งเหมือน ศพ


    นอน มันแปลกๆ><



    ผมไม่คิดจะถอดจิต หรือ อะไรนะครับ ผมนั่งให้ สงบก็ สบายใจมากแล้ว><~

    แต่ที่เล่านี้ มันเรื่องจริง ใครรู้ และวิเคราะห์ได้บอกที นะครับ

    (ผมมีเรื่อง สวดมนต์เล่าอีกไปติดตามหัวข้อ คาถา นะครับ แปลกอะ)
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ปกตินะครับ...เท่าที่อ่านมาเป็นอาการของสมาธิที่มีกำลังมากขึ้น.....บางคนถ้านั่งนี้จะค่อยๆหายเริ่มจากข้างล่างมาเลื่อนขึ้นเลื่อนขึ้นจนตัวหายไปเลย....อย่างนี้....วิธีการจัดอารมณ์ผมว่าคุณก็สำรวจตัวเองแล้วก็จัดการเองได้ดีแล้วครับ(อย่างบังเอิญ..รึเปล่า).....เมื่อใดก็ตามเมื่อสมาธิมีกำลังสูงขึ้น...ความรู้สึกตัวจะเริ่มน้อยลงไปเรื่อยๆ....ประโยชน์ก็มีอยู่คือการพักผ่อนจิตนะครับ.....ใช้เป็นกำลังของวิปัสสนาก็ได้คือถอนกำลังนะครับ...เข้าให้รู้จนชินแต่อย่าแช่...ทั้งนี้จะไม่แนะนะอะไรมากนะครับ....เพราะว่าจะให้คุณศึกษาเองจากครูบาเอาเองน่าจะดีกว่า.......ทั้งนี้ผมจะยกมาบ้างเรื่องของฌาณ จากหนังสือ วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ ของหลวงพ่อนะครับ.....เข้าไปศึกษาก่อนสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)....อาการส่วนใหญ่ทางสมาธิที่ตอบในบอร์ดนี้จะอยู่ในนี้นะครับ....จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น(ทั้งวิธีการแปรเป็นวิปัสสนา)...เพื่อการปฏิบัติครับ.....

    <TABLE width="26%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>อัปปนาสมาธิหรือฌาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง
    ๒. เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓. เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สาม ตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้

    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7
    :z12:z12:z12:z12
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2009
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ดีแล้วครับ จะเห็นว่า พื้นฐานสมาธิคุณจะดีมากแล้ว สังเกตจากความสามารถทำให้
    ที่ใดก็ได้กลายเป็นที่ สงัด สัปปายะ โดยที่ไม่ต้องแสวงหาสถานที่

    กล่าวคือ ไม่ว่าตอนนั้นสถานที่จะมีความวุ่นวายแค่ไหน เสียงดังแค่ไหน เสียงจ๊อกแจ๊ก
    จอแจขนาดไน มันจะดึงจิตคุณออกไปคิดได้ไม่นาน พอออกไปปุ๊ปจะมีสติรู้ทันทีว่า
    ได้ส่งจิตออกนอก หากถลำไปคิดตาม ก็ไปไม่ยาว สามารถดึงกลับมาได้ หรือบางครั้ง
    ถลำไปคิดยาวก็จะมีการยกเห็นว่า กำลังคิดอยู่

    ตรงที่จิตเห็นว่า กำลังคิดอยู่ ตรงนั้นแหละครับของดี

    สติ ที่ดึงกลับมาทำ สมถะ ได้นั้น ก็เป็นของดีเหมือนกัน แต่ ตรงที่ยกเห็นว่าจิตตน
    กำลังคิดได้นั้น ตรงนั้นดีกว่า เพราะตรงนั้นหากมีมากๆ จะเริ่มเข้าสู่ความเป็น
    พุทธมามกะได้เต็มตัว

    พูดตามปริยัติ ส่วนที่ยกเห็นว่า จิตตนกำลังคิด อันนี้คือการเห็น อารมณ์ปรมัตถ์
    เรียกว่า เห็นทิฏฐิกำลังประชุมกัน โดยไม่ใช่การรู้ว่าคิดอะไร แต่เป็นการรู้สึกตัว
    ว่ากำลังคิดอยู่ การเห็นแบบนี้เรียกว่า สติปัฏฐาน4 หรือ วิปัสสนากรรมฐาน

    อีกจังหวะหนึ่ง คือ ตอนนอนแล้วผลิกกาย ตอนแรกๆอาจจะผลิกด้วยความจงใจ
    ที่จะสลัด แต่สักพักก็รู้ทันจิตตนที่มันกระซับกระส่าย เพราะรู้แล้วว่าจิตสงบเป็น
    อย่างไร จึงเลิกทำ เลิกเจตนาผลิกกาย ครั้นพอกายมันพลิกของมันเองเพื่อแก้
    ทุกข์ที่ยังนอนในท่าที่ไม่สบาย จิตจะยกเห็นรูปนอน ซึ่งเป็นรูปปรมัตถ์ จะเห็นทันที
    ว่าที่นอนอยู่ไม่ใช่กายเรา แต่เป็นก้อนธาตุอะไรสักอย่างมันผลิกได้เองอีกด้วย ที่
    มันผลิกได้เองก็เพราะจิตเองก็ไม่ใช่เรา ทั้งกายทั้งจิตจึงทำงานเองได้ แล้วขณะนั้น
    คุณอยู่ตรงไหน ก็อยู่ตรงส่วนที่เรียกว่า จิตผู้รู้ จิตผู้ดู หรือ จิตตื่น หรือ จิตพุทธ

    แต่ก็เรียกเพื่อเอาใจนะครับ เพื่อให้รู้ว่า ทิศทางที่ควรรู้ ควรเดินไปถึงนั้นคือตรงไหน
    ในความเป็นจริงจะยังเรียก จิตพุทธะ ไม่ได้ เพราะจะเรียกจิตพุทธะได้ ผู้รู้ ผู้ดู จะต้อง
    ตั้งมั่นกว่านี้อีกสักหน่อย แค่นิดหน่อยนะครับ ไม่ใช่ไปตั้งแช่เด่นดวงอะไร หากไป
    ตั้งแช่เด่นดวงอยู่ จะเรียกอีกอย่างว่า เอโกธิภาวะ(ในอภิธรรม) หรือ ธรรมเอก(ในพระ
    สูตร) ถ้าเมื่อไหร่ไปเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง จะต้องเที่ยง ควรเที่ยง ตรงนี้จะเป็นมิจฉาทิฏฐิ

    เพราะสังขารธรรมใดๆในโลก(รูปนาม) ต้องตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งนั้น

    ธรรมชนิดเดียวที่พ้นไตรลักษณ์คือ นิพพาน ....ตรงนี้ต้องตั้งหลักให้แม่น หากไม่แม่น
    คุณจะผลิกศรัทธาไปศาสนาอื่นได้อยู่

    ตัวอย่าง เอโกธิภาวะ ตามที่คุณเล่าก็มีอีก 1 จังหวะ คือ จังหวะที่เห็น มือมันรวมกัน
    หากเห็นมือมันรวมกัน มือไม่ใช่มือ มือเป็นเพียงก้อนธาตุ และมีความเป็นธาตุเสมอ
    กันทั้งสองมือ เลยเห็นว่ามือหายไป และรวมกัน เสมอกัน อันนี้ก็คือ จิตยกมาเห็นธาตุ4
    ที่เห็นได้ก็เพราะ จิตมีกำลังของสมาธิถึงขั้นอุปจารสมาธิ และเกิด ธรรมเอกผุด

    ธรรมเอกจะผุด ก็ต่อเมื่อถอยจากการทำฌาณลงมาที่ อุปจารสมาธิ แล้วยกดูรูปปรมัตถ์
    ลงเป็นไตรลักษณ์ เห็นเฉพาะหน้า ไม่ไคร่ครวญครุ่นคิด หากเผลอไปครุ่นคิดจะกลาย
    เป็นการกลับไปทำสมถะ และอาจจะพลัดตกจากฌาณ หรือ เดินเข้าสู่ฌาณขึ้นกับการแนบ

    แต่ถ้าจิตคิดก็เห็น รู้สึกตัวว่ากำลังคิด จิตจะหยุดอยู่ที่รู้(เอโกธิภาวะ) ซึ่งหากไปเห็นรูป
    กายก็จะเห็นรูปปรมัตถ์(อริยาบท นั่ง นอน ยืน เดิน ที่เป็นหุ่นยนต์มันนั่ง นอน ยืน เดิน) หรือ
    อาจจะไปเห็นเป็นก้อนธาตุ เป็นการประชุมของธาตุ

    ก็ฝึกไปอย่างนั้นแหละครับ สมถะ และ วิปัสสนา เป็นสองสิ่งที่(ภิกษุ)ควรเจริญด้วยปัญญา
    อันยิ่ง(รู้อันไหน ก็เห็นอันนั้น ทำอะไรอยู่ ก็รู้ไปตามนั้น) ไม่เพียร(เอาแต่ครุ่นคิด) ไม่พัก
    (เอาแต่เข้าฌาณไม่ถอยมาพิจารณา) ก็จะข้ามโอฆะได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2009
  4. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    เวลานั่งก็อย่าคิดแต่ว่าจะต้อง สงบ เพียงเดี่ยวนะครับ เพราะนั่นเป็นพื้นฐานในการเข้าฌานสมาธิ
    เราควรที่จะใช้ปัญญาพิจารณาประกอบให้เห็นถึงความเกิดดับอยู่เนืองๆ ดังเช่น
    เห็นลมหายใจเข้าแล้วก็ต้องออกเป็นธรรมดา ทำอยู่นั้่น จนเห็นถึงความละเอียดอ่อนของธรรมชาิติเรื่อยๆไป
    ที่กระทำอย่างนั้นเพื่ออะไร...เดี๋ยวปฏิบัติไปก่อนก็จะรู้แก่ใจเอง..ซักวัน
    อย่างอัตโนมัติ อย่างที่คุณนอนแล้วเข้าสมาธิเองนั่นแล..

    ปฏิบัติต่อไปเถิดครับ..สาธุ
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ดีครับ เป็นอาการที่จิตเริ่มรวมตัว สัมผัสที่เคยแผ่ซ่านไปทั่วกาย ก็เกิดการรวมไปตรงนั้นตรงนี้ ทำให้ความรุ้สึกที่เคยมีทั้งตัวนี้ เปลี่ยนไป

    แต่ไม่ต้องไปสนใจ ให้มองว่าธรรมดา แล้วก็บริกรรมต่อไป เอาให้ถึงจุดที่ สบาย เบา และเบิกบาน นั่นคือเป้าหมาย ที่คุณควรทำให้ถึง

    ได้ระดับนั้นเมื่อไร ค่อยหาครูบาอาจารย์เพื่อถามต่อไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...