นิพพานธาตุ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 มิถุนายน 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณปฎิบัติเพื่อถามผู้อื่น ว่าจะสำเร็จเมื่อไหร่ บรรลุเมื่อไหร่ เท่านั้นหรือ

    กระแสแห่งการเวลานั้นมีอยู่ แต่จะก้าวออกไปนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย

    เพราะจะไม่ปรุงแต่งทุกอณุวินาที ไม่นึกคิดทุกอณุวินาที ไม่ใช่เรื่องง่าย

    แต่ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ เพียงมีความเพียรอย่างจริงจัง ย่อมเสร็จกิจที่ควรกระทำ

    สาธุครับ
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    แก่นพุทธศาสน์ พุทธทาสภิกขุ

    แก่นพุทธศาสน์
    เรื่อง
    ความว่าง (ตอนที่ ๒)
    พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)


    ที่จริงสภาพอันนี้ก็ไม่ควรจะเรียกว่าจิตเลย ควรจะเรียกว่า ความว่าง แต่โดยเหตุที่มันเป็นสิ่งที่รู้อะไรได้ เราจึงเรียกว่าจิต หรือกลับมาเรียกจิตอีกทีหนึ่ง นี้มันแล้วแต่พวกไหนจะนิยมอย่างไร แต่ถ้าจะพูดไปตามที่เป็นจริงหรือตามธรรมชาติจริงๆ ก็พอจะพูดได้ว่า ธรรมชาติเดิมแท้ของจิตก็คือสติปัญญา คือจิตว่างจากความยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้นในความว่างนั้นเอง จึงเป็นปัญญาโดยสมบูรณ์ ถ้าเลื่อนขึ้นไปถึง มรรค-ผล-นิพพาน มรรคผลนิพพานนั่นแหละ คือความว่างในระดับหนึ่งๆ สูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงที่เรียกว่า “ปรมสุญญตา” หรือ “ปรมํ สุญญํ” คือว่างอย่างยิ่ง
    นี่ท่านจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ สรณาคมน์ขึ้นไป แล้วถึง ทาน แล้วถึง ศีล ถึง สมาธิ ถึง ปัญญา ก็ไม่มีอะไรนอกไปจากความว่าง ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวตน และมรรคผล นิพพาน ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ แต่เป็นขั้นเด็ดขาด ขั้นที่ถึงที่สุด เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า ได้ฟังข้อนี้คือได้ฟังทั้งหมด ได้ปฏิบัติข้อนี้ คือได้ปฏิบัติทั้งหมด และได้รับผลจากข้อนี้ คือการได้รับผลทั้งหมด โดยประโยคเพียงประโยคเดียวว่า “สพเพ ธมมา นาลํ อภินิเวสายะ สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเรา-ว่าของเรา” จงพยายามเก็บใจความขึ้นมาด้วยตัวเอง ให้ได้ความหมายของคำว่า “ความว่าง” นั้นเป็นอย่างไร ทีนี้ เรามาลองนึกถึงสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงนี้ไม่มีอะไรอื่น นอกจากสิ่งที่เราเรียกว่า “ธรรม” ในภาษาบาลีคือคำว่า ธมม ในภาษาสันสกฤตเขียม ธรม ในภาษาไทยเขียนว่า ธรรม ฌฉยๆ สามเสียงนี้มันจะออกสียงต่างกันอย่างไร มันก็หมายถึง ธรรมะ ซึ่งแปลว่า “สิ่ง” เท่านั้นแหละ “สพเพ ธมมา ก็แปลว่า สิ่งทั้งปวง” ท่านต้องทำในใจให้แจ่มแจ้ง เล็งถึงสิ่งทั้งปวงกันก่อนว่า ถ้าเราพูดเป็นไทยๆว่า “สิ่งทั้งปวง” แล้วมันหมายถึงอะไรบ้าง มันก็ต้องหมายถึงสิ่งทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไรหมด จะเป็นเรื่องโลก หรือเรื่องธรรมะ ก็คือสิ่งทั้งปวง จะเป็นฝ่ายวัตถุ หรือฝ่ายจิตใจ ก็คือสิ่งทั้งปวง หรือถ้าจะมีอะไรมาไปกว่านั้นอีก คือมากไปกว่าวัตถุ หรือ จิตใจ คือมีสิ่งที่สามขึ้นมาอีก ก็ยังคงเรียกว่าสิ่งทั้งปวง ซึ่งรวมความอยู่ในคำว่า “ธรรม” อยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น อาตมาจึงแนะให้ท่านทั้งหลายรู้จักสังเกตว่า ? ตัวโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุ กล่าวคือ ตัวโลกทั้งหมดในฝ่ายวัตถุธรรมนี้ประเภทหนึ่ง ก็คือ ธรรม ? แล้วตัวจิตใจที่จะรู้จักโลกทั้งหมดทั้งสิ้น ก็คือ ธรรม ? ถ้าใจกับโลกกระทบกัน การกระทบนั้น ก็เป็น ธรรม ? แล้วผลของการกระทบนั้นเกิดอะไรขึ้น เกิดเป็นความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ขึ้นมาก็ตาม หรือเกิดเป็นสติปัญญา รู้แจ่มแจ้งไปตามความเป็นจริงก็ตาม มันก็เรียกว่า ธรรม ทั้งนั้น
    ? จะถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ก็เรียกว่า ธรรม ทั้งนั้น ? ทีนี้ สติปัญญาก่อให้เกิดความรู้เป็นระบบต่างๆ ขึ้นมา อันนี้ ก็คือ ธรรม ? ความรู้นั้นเป็นเหตุให้เกิดการปฏิบัติ เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา การปฏิบัตินั้นก็คือ ธรรม ? ครั้นปฏิบัติสิ่งต่างๆ ลงไปแล้ว ผลย่อมจะเกิดขึ้น สรุปแล้วเรียกว่า มรรค ผล นิพพาน เหล่านี้เป็นผลที่เกิดขึ้นแม้ผลนี้ ก็คือ ธรรม เพราะฉะนั้น สรุปแล้วมันก็คือธรรมทั้งนั้น กินความมาตั้งแต่เปลือกแท้ๆ กล่าวคือ โลก หรือ วัตถุ แล้วกินความจนถึงจิตใจ ถึงการกระทบระหว่าง ใจกับโลก ถึงผลที่เกิดขึ้นจากการกระทบ เป็นความผิด ความถูก ความดี ความชั่ว กระทั่งเป็น วิชชาความรู้ชนิดที่ให้เกิดความรู้ทางธรรมะ การปฏิบัติธรรมะและ มรรค ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรมนี่ ถ้าเห็นทั้งหมดนี้แต่ละอย่างๆ ชัดเจนแล้ว ก็เรียกว่าเห็นสิ่งทั้งปวง แล้วพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สิ่งทั้งปวงดังที่ว่ามานี้แหละ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นส่วนไหนเลย ว่าเป็นตัวเรา หรือว่าเป็นของเรา คือส่วนที่เป็นวัตถุหรือร่างกายนี้ก็ยึดถือไม่ได้ ส่วนที่เป็นจิตใจก็ยิ่งยึดถือได้ เพราะมันยิ่งเป็นมายา ยิ่งไปกว่าส่วนที่เป็นวัตถุเสียอีก เพราะฉะนั้นจึงมีคำตรัสว่า ถ้าจะยึดถือตัวตนกันแล้ว น่าจะยึดถือที่ตัววัตถุดีกว่า เพราะมันยังเปลี่ยนแปลงช้ากว่า ไม่เป็นมายาหลอกลวงเหมือนจิตใจ อย่างที่เราเรียกกันว่า นามธรรม นั้น จิตใจในที่นี้ไม่ได้หมายถึง “จิต” อันเป็นตัวเดียวกันกับความว่างอย่างที่กล่าวเมื่อตะกี้ แต่หมายถึงจิตที่เป็นความรู้สึกทางจิต ต่างๆ อันเป็นจิตที่คนธรรมดารู้จัก ทีนี้การกระทบกันระหว่างโลกกับจิตใจ มีผลเป็นความรู้สึกต่างๆ เป็นความรัก ความเกลียด ความโกรธ เหล่านี้ก็คือ ธรรม ซึ่งก็ยิ่งยึดถือไม่ได้ เพราะมันเป็นมายาที่เกิดจากมายา ที่เป็นฝ่ายกิเลส แล้วยิ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งในการที่จะไปยึดถือเข้า
    ทีนี้แม้ว่าเป็นฝ่ายสติปัญญา ก็ยังสอนไม่ไห้ยึดถือว่าเรา-ว่าของเรา เพราะว่ามันเป็นเพียงสักว่าธรรมชาติ ถ้าไปยึดถือเข้าจะเกิดความหลงผิดขึ้นมาใหม่ จะมีตัวเราและมีของเรา คือมีเราผู้มีสติปัญญา และมีสติปัญญาของเรา เป็นความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา ก็เป็นความหนักเนื่องด้วยความยึดถือนั้นจนเกิดความรวนเรไปตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านั้นแล้วก็เป็นทุกข์
    ทีนี้ก็มาถึงความรู้ ก็ให้ถือว่าเป็นสักแต่ว่าความรู้ อย่าได้ไปหลงยึดมั่นถือมั่น จะเกิดอาการของวีลพตปรามาสต่างๆ ขึ้นมา แล้วก็จะต้องเป็นทุกข์โดยไม่รู้สึกตัวเพราะเหตุนั้น
    การปฏิบัติธรรมะนั้นก็เหมือนกัน มันเป็นสักว่าการปฏิบัติเป็นความจริงของธรรมชาติ ทำลงไปอย่างไร ผลย่อมเกิดขึ้นอย่างนั้น โดยสมส่วนกันเสมอ จะไปเอามาเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ เพราะถ้าเกิดไปยึดมั่นถือมั่น จะหลงผิดขึ้นมาอีก เป็นการสร้างตัวตนที่ลมๆ แล้งๆ ขึ้นมาอีก ล้วมันก็ต้องเป็นทุกข์เหมือนกับที่ไปยึดในเรื่องกามารมณ์หรือยึดในเรื่องผิดๆ อย่างอื่นก็เหมือนกัน พอมาถึงมรรค ผล นิพพาน นั่นก็คือ ธรรม หรือ ธรรมชาติ ที่เป็นอย่างนั้นเอง หรือแม้ที่สุด ตัวความว่างเอง ก็สักแต่ว่าธรรมชาติ พระนิพพานเอง ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันกับความว่าง ก็เป็นสักแต่ว่าธรรมชาติ ถ้าไปยึดถือเข้าก็เป็นผิดนิพพาน หรือผิดความว่าง ผิดตัวนิพพาน เพราะว่านิพพาน หรือว่าความว่างจริงไม่ใช่วิสัยที่จะถูกยึดมั่น-ถือมั่น ว่าตัวหรือว่าของตัวได้เลย
    เพราะฉะนั้นเป็นอันกล่าวได้ว่า ถ้าผู้ใดยึดมั่นลงไปที่นิพพาน หรือความว่าง ย่อมจะผิดตัวความว่าง หรือผิดตัวนิพพานทันที
    นี่คือการบอกให้ทราบว่า ทุกอย่างไม่มีอะไรเลย นอกจากธรรม ไม่ได้เป็นอะไรเลยนอกจากธรรม คำว่าธรรมนี้ หมายถึงธรรมชาติ ธรรมชาติเท่านั้นที่ว่าธรรมะล้วนๆ ไม่มีอะไรเจือ นี้คือธรรมชาติ ถือหลักให้ตรงตัวพยัญชนะว่าธรรมะได้เลย กล่าวคือคำธรรมะนี้ แปลว่าสิ่งที่ทรงตัวมันอยู่ ถ้าสิ่งใดมีการทรงตัวอยู่แล้ว สิ่งนั้นเรียกว่าธรรม และแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือสิ่งที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงนี้ประเภทหนึ่ง กับสิ่งที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง นี้อีกประเภทหนึ่ง ท่านไปดูเอาเองจะพบว่ามันมีเพียงสองสิ่งนี้ สิ่งที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงเพราะมีอะไรปรุงแต่ง นั้นมันมีการทรงตัวมันเอง อยู่ที่ความไหลเวียนเปลี่ยนแปลงนั้นเอง หรือว่ากระแสความไหลเวียนเปลี่ยนแปลงนั้นแหละคือตัวมันเอง เป็นความหมายของคำว่าธรรมะ คือทรงตัวอยู่ ส่วนสิ่งใดที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง เพราะไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สิ่งนี้หมายถึงพระนิพพาน หรือความว่างอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งนี้มันก็มีการทรงตัวมันเองอยู่ได้ด้วยการไม่เปลี่ยนแปลง คือภาวะแห่งการไม่เปลี่ยนแปลงนั่นแหละคือตัวมันเอง ในที่นี้มันจึงเป็นธรรมะประเภทที่ไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
    แต่ทั้งประเภทที่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงก็ตาม และไม่ไหลเวียนเปลี่ยนแปลงเลยก็ตาม มันก็สักแต่ว่า ธรรมคือสิ่งที่ทรงตัวมันเองอยู่โดยภาวะอย่างหนึ่งๆ ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าธรรมชาติ จึงไม่มีอะไรที่มากไปกว่าสิ่งที่เป็นเพียงธรรมชาติ จึงว่ามีแต่ธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีอะไร มีแต่ธรรมเท่านั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
    เมื่อเป็นธรรมะเท่านั้นแล้ว จะไปยึดถือว่าเรา-ว่าของเราได้อย่างไร? หมายความว่ามันเป็นเพียงธรรมชาติ ซึ่งในภาษาบาลีเรียกว่าธรรม คำว่าธรรมะในกรณีอย่างนี้ แปลว่าธรรมชาติหรือธรรมดา ซึ่งหมายความว่าเป็น ตถาตา คือ มันเป็นอย่างนั้นเอง เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นเพียงธรรมะ สิ่งทั้งปวงจึงไม่มีอะไรนอกจากธรรม หรือธรรมก็ไม่มีอะไรนอกจากสิ่งทั้งปวง ดังนั้นก็แปลว่า สิ่งทั้งปวงคือธรรมะ
    เพราะฉะนั้น ธรรมะแท้จะต้องว่างจากตัวตนหมด ไม่ว่าธรรมะส่วนไหน ข้อไหน ชั้นไหน ประเภทไหน ธรรมะจะต้องเป็นอันเดียวกันกับความว่าง คือว่างจากตัวตนนั่นเอง
    เพราะฉะนั้น เราจึงต้องหาให้พบ ความว่างในสิ่งทั้งปวง หาให้พบความว่างที่สิ่งทั้งปวง หรือว่าจะศึกษาความว่าง ก็ต้องศึกษาที่สิ่งทั้งปวง ซึ่งรวมเรียกสั้นๆ ว่า “ธรรม” หรือจะพูดอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่าสิ่งทั้งปวงก็สักแต่เท่ากับธรรมะ ธรรมะเท่ากับสิ่งทั้งปวง หรือสิ่งทั้งปวงเท่ากับความว่าง เพราะฉะนั้น ความว่างก็เท่ากับธรรมะ แล้วแต่จะพูด แต่ให้รู้ความจริงว่า มันไม่มีอะไรนอกจากธรรมชาติที่เป็นความว่าง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลยว่าเราหรือว่าของเราก็ตาม
    เพราะฉะนั้น ในที่นี้จะเห็นได้ชัดว่า ความว่างนี้ หรือของว่างนี้ ก็คือความจริงของสิ่งทั้งปวง ต้องหมดความหลงโดยประการทั้งปวงเท่านั้น จึงจะเห็นความว่าง หรือถ้าเห็นความว่างนั้น ก็คือปัญญาที่ไม่หลง ปัญญาที่แท้ที่บริสุทธิ์ที่ไม่หลง แต่ทีนี้มันมี ธรรมะอีกประเภทหนึ่ง คือธรรมะประเภทอวิชชา หรือความหลงผิด เป็น ปฏิกิริยาที่เกิดมาจากการที่จิตใจกระทบกับวัตถุหรือโลก เพราะดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า เมื่อจิตใจหรือธรรมประเภทจิตใจกระทบกันกับธรรมประเภทวัตถุนี้ ย่อมมีปฏิกิริยาเป็นความรู้สึก ในความรู้สึกนี้เดินไปทางอวิชชาก็ได้ เดินไปทางวิชชา คือรู้แจ้งก็ได้ มันแล้วแต่สิ่งแวดล้อม แล้วแต่สภาพตามที่เป็นอยู่จริงของสังขารกลุ่มนั้น หรือของธรรมะกลุ่มนั้น มันจะเป็นไปในรูปไหน เพราะฉะนั้นจึงเป็นธรรมอีก ไม่ใช่สิ่งอื่น แต่เป็นธรรมะฝ่ายอวิชชา ทำให้เกิดความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นไปในทางที่มีตัวตนหรือของตน แต่อย่าลืมว่า นี้ก็คือสักแต่ธรรม เนื้อแท้ของมันก็คือความว่าง
    ฉะนั้น อย่าลืม อวิชชา ก็คือความว่าง เท่ากันกับวิชชา หรือเท่ากันกับนิพพาน มันเป็นธรรมะเท่ากัน ถ้าเรามองว่าเป็นธรรมะเท่ากันแล้ว เราจะเห็นว่าว่างจากตัวตนอยู่เรื่อย ธรรมะในขั้นนี้ แม้จะเป็นสิ่งเดียวกันกับความว่างอย่างนี้ มันก็มีผลไปอีกทางหนึ่ง ตามแบบของอวิชชาคือทำให้เกิดเป็นมายา ว่าตัวว่าตนขึ้นมาได้ในความรู้สึก หรือในความยึดถือ เพราะฉะนั้นจึงต้องระวังให้ดี ในธรรมที่เป็นความยึดมั่นถือมั่นหรือประเภทอวิชชา และมันก็ผสมอยู่ในสิ่งทั้งปวง รวมอยู่ในคำว่า “สิ่งทั้งปวง” คำเดียวกันด้วย ฉะนั้น ถ้าเรารู้จักวิ่งทั้งปวงจริงๆ แล้ว ความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นที่เป็นอวิชชานี้ ไม่อาจเกิด ทีนี้หากว่าเราไม่รู้ธรรมะ หรือไม่รู้สิ่งทั้งปวง ปล่อยไปตามอำนาจของสัญชาตญาณอย่างสัตว์ที่ยังไหลยังหลงอยู่ มันจึงได้ช่องได้โอกาส แก่ธรรมะฝ่ายอวิชชา หรือฝ่ายยึดมั่นถือมั่นไปเสียตะพึด
    ฉะนั้น คนเราจึงมีแต่ความยึดมั่นถือมั่นกันอยู่คล้ายกับว่าเป็นมรดกที่ตกทอดมาตั้งแต่ไม่รู้ว่าครั้งไหน เราจะเห็นได้ว่า พอเกิดมาก็ได้รับการอบรมแวดล้อมโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง ให้เป็นไปแต่ในธรรมะฝ่ายที่ไม่รู้ คือเป็นไปแต่ในทางยึดมั่นว่าตัวว่าของตนทั้งนั้น การอบรมให้รู้ไปในทางไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนี้ไม่ได้ทำกันเลย
    เด็กๆ เกิดมาไม่ได้รับการอบรมอย่างนี้กันเลย มีแต่ได้รับการอบรมไปในทางมีตัวมีตนทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าเด็กๆ เกิดมานั้น จิตอันเดิมของเด็กๆ นั้นยังไม่มีตัวมีตนอะไรมากมาย แต่มาได้รับการแวดล้อมให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวเป็นตน พอลืมตา พอรู้สึกอะไรได้ ก็มีการแวดล้อมให้ยึดถือว่า พ่อของตน แม่ของตน ที่อยู่อาศัยของตน อาหารของตน แม้แต่จานสำหรับจะกินข้าวก็ต้องใบนี้เป็นของตน คนอื่นมากินไม่ได้ อาการที่เป็นไปเองโดไม่ได้ตั้งใจโดยอัตโนมัติ อย่างนี้เกิดขึ้นเรื่อย คือความรู้สึกว่าตัวตนนี้เกิดขึ้นมา แล้วเจริญงอกงามขึ้นเรื่อย ส่วนความรู้สึกที่ตรงข้าม ไม่เป็นไปในทางตัวตนไม่มีเลย แล้วมันจะเป็นอย่างไร กว่าเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นคนแก่คนเฒ่านี้ มันก็หนาไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น หรือกิเลสที่เป็นเหตุให้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน
    นี่แหละ เราจึงมีตัวตนเป็นชีวิต มีชีวิตเป็นตัวตน คือมีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนนั่นแหละเป็นชีวิต หรือเป็นชีวิตตามธรรมดา ก็คือสัญชาติญาณแห่งความยึดมั่นว่าตัวตนแล้วเรื่องมันจึงเป็นไปในทางที่มีแต่จะเป็นทุกข์ เป็นความหนัก กดทับ บีบคั้น ร้อยรัด พัวพัน หุ้มห่อ เสียบแทง เผาลน ซึ่งเป็นอาการของความทุกข์ทั้งนั้น จึงเป็นอันว่า ถ้าลงยึดมั่นถือมั่นแล้ว แม้ในฝ่ายดี ในด้านดีก็เป็นความทุกข์ ทีนี้ฝ่ายโลกมาสมมติฝ่ายดี หรือด้านดีกันแบบนี้ มันจึงเป็นความผิด หรือความชั่ว แต่ความดีก็ยังเป็นความทุกข์ตามแบบของคนดี เพราะว่ามันยังไม่ว่าง มันยังวุ่นอยู่เหมือนกัน ต่อเมื่อมีความว่างอยู่เหนือดี จึงจะไม่ทุกข์
    เพราะฉะนั้น หลักใหญ่ของพุทธศาสนา จึงไม่มีอะไรมากไปกว่าการกำจัดสิ่งนี้เสีย เพียงคำเดียวเท่านั้น กล่าวคือกำจัดความยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวตน หรือของตนนี้เสีย โดยอาศัยบทที่ว่า สพเพ ธมมา นาลํ อภินิเวสาย นั่นเอง ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ทีนี้เมื่อเรามาเป็นตัวเดียวกันกับความยึดมั่นถือมั่น อย่างเป็นตัวเดียวกันแท้ดังนี้แล้ว เราจะทำอย่างไร? ใครจะช่วยเรา? หรือว่าถ้าจิตมันเป็นอย่างนี้เสียเองแล้ว ใครจะไปช่วยจิต? อย่างนี้ก็ได้ตั้งปัญหาขึ้นมาอย่างนี้ มันก็ไม่มีอะไรอีก มันก็คือจิตอีกนั่นแหละ เพราะได้กล่าวมาแล้วว่า ไม่มีอะไรนอกจากธรรมะ ความผิดก็ธรรมะ ความถูกก็ธรรมะ ความทุกข์ก็ธรรมะ ความดับทุกข์ก็ธรรมะ เครื่องมือแก้ไขความทุกข์ก็ธรรมะ ตัวเนื้อหนังร่างกายก็ธรรมะ ตัวจิตใจก็ธรรมะ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอะไรนอกจากธรรมะ มันจะต้องเป็นไปในตัวของมันเอง โดยอาศัยกลไกที่เป็นไปได้ในตัวมันเอง อย่างนี้เราจะเรียกว่าเป็นบุญหรือเป็นบาปก็สุดแท้ คือว่าถ้าใครคนใดคนหนึ่ง เมื่อกระทบโลกนี้มากเข้า เกิดเป็นไปในทางสติปัญญา อย่างนี้ก็เป็นบุญ ที่นี้ใครคนหนึ่งเมื่อได้กระทบกับโลกนี้มากเข้า เป็นไปในทางความโง่ ความหลงมากขึ้น อย่างนี้มันก็เป็นบาป เราสังเกตดูจะเห็นได้ว่า ไม่มีใครเสียเปรียบใคร เราเกิดมาก็เป็นอย่างนี้ด้วยกันทุกคน คือเราก็มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ อยู่ด้วยกันทุกคน แล้วข้างนอกก็มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีสัมผัส มีธรรมารมณ์ ให้ด้วยกันทุกคน แล้วมีโอกาสที่จะกระทบกับสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยกันทุกคน และกระทบเหมือนๆ กันทุกคน แต่แล้วทำไมมันจึงแยกเดินไปทางโง่บ้าง ฉลาดบ้าง เพราะฉะนั้นที่แยกเดินไปในทางฉลาดก็นับว่าเป็นกุศลหรือเป็นบุญ ที่มันแยกเดินไปในทางโง่ก็นับว่าเป็นบาปเป็นอกุศล แต่มันยังดีอยู่ว่า ธรรมะนี้ ดูช่างจะเป็นเครื่องคุ้มครองคนเสียจริงๆ โดยที่มีหลักอยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าถูกความทุกข์เข้าแล้วย่อมรู้จักหลาบ รู้จักจำ เหมือนอย่างว่า เด็กๆ เอามือไปจับขยำเข้าที่ไฟอย่างนี้ มันก็คงไม่ยอมขยำอีก เพราะมันรู้จักหลาบรู้จักจำ แต่ว่านี่มันเป็นเรื่องทางวัตถุ มันง่าย ส่วนเรื่องที่ไปขยำเอาไฟ คือความยึดมั่นถือมั่น หรือความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้านี้ โดยมากมันกลับไม่รู้สึกว่าเราขยำไฟ มันก็เลยไม่มีอาการที่ว่า รู้จักหลาบรู้จักจำ มันกลับไปเห็นไปตามความหลงนั้นว่า เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาไปเสีย
    การที่จะแก้ไขได้ก็มีอยู่ทางเดียวคือว่า รู้จักมันอย่างถูกต้องว่า ธรรมะนี้คืออะไร จนรู้ว่า ธรรมะนี้คือไฟ คือยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ มันก็จักเป็นไปในทางสติปัญญา รู้จักหลาบรู้จักจำต่อการที่จะไปเที่ยวยึดมั่นถือมั่นอะไร ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา แล้วเกิดไฟขึ้นมา สิ่งนี้มันเป็นไฟเผาใจไม่ใช่ไฟไหม้มือ แต่บางทีมันก็เผาลึกเกินไป จนไม่รู้สึกว่าเป็นไฟหรือความเร่าร้อน ฉะนั้นคนจึงจมอยู่ในกองไฟหรือในวัฏสงสารอันเป็นกองไฟที่เร่าร้อนอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าเตาหลอมเหล็กอย่างนี้ ถ้าเรามองเห็นเช่นเดียวกับที่เด็กขยำไฟ และไม่ยอมจับไฟต่อไปแล้ว มันก็เป็นไปตามทางนั้นได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงได้ตรัสอธิบายข้อนี้ไว้ว่า เมื่อเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่นเมื่อใด จิตก็จะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นเมื่อนั้น นี่แหละปัญหามันมีอยู่ว่า เราเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่นหรือยัง ถ้ายังมันก็ยังไม่คลาย ถ้าไม่คลาย ก็ไม่ว่าง ภาษิตในมัชฌิมนิกายมีอย่างนี้ เป็นรูปพถทธภาษิต และยังตรัสไว้ในที่อีกแห่งหนึ่งว่า เมื่อใดเห็นความว่าง เมื่อนั้นจึงจะพอใจในนิพพาน คือย้อนไปดูอีกทีหนึ่งว่า “เมื่อใดเห็นโทษของความยึดมั่นถือมั่น เมื่อนั้นจิตจึงจะคลายจากความยึดมั่นถือมั่น” เมื่อใดจิตคลายจากความยึดมั่นถือมั่น เมื่อนั้นจึงจะมีโอกาสมองเห็นสิ่งที่เราเรียกกันว่าความว่าง คือว่างจากตัวตน
    พอเริ่มเห็นความว่างจากตัวตนเท่านั้น จิตจะเหไปพอใจในอายตนะนั้น คือ นิพพาน อายตนนั้น คือ นิพพาน ก็หมายความว่า นิพพาน ก็เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่งที่เรารู้จักได้เท่านั้น สิ่งใดที่อยู่ในวิสัยที่เราจะรู้จักมันได้โดยทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจแล้ว สิ่งๆนั้นเรียกว่า “อายตนะ” ทั้งนั้น
    ท่านได้ลดเอานิพพานนี้ลงมาให้เป็นอายตนะอันหนึ่งเหมือนกับอายตนะทั้งหลาย แล้วเรายังจะโง่จนถึงกับไม่รู้จักอายตนะนี้ได้อย่างไร เราจะรู้จักได้ต่อเมื่อเห็นว่าว่างจากตัวตน เพราะคลายความยึดมั่นถือมั่น จึงจะพอใจในอายตนะ คือนิพพาน
    การที่จะให้พอใจในนิพพานนี้มันยากเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วว่า คนเรามีชีวิตเป็นความยึดมั่นถือมั่นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงไม่คลาย เมื่อไม่คลายก็ไม่เห็นความว่าง ไม่พอใจในอายตนะคือนิพพาน เราจะมองเห็นความจริงข้อนี้ได้ โดยมองออกไปถึงศาสนาอื่นดูบ้าง ในศาสนาอื่นนั้นไม่มีคำว่า อัตตวาทุปาทาน (อัตตวาทุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเราว่าของเรา) เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะเหตุว่าในลัทธิอื่นนั้น เขามีตัวสำหรับให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเรานี้เป็นของผิด มันกลายเป็นเรื่องถูกไป มันกลายเป็นความมุ่งหมายของศาสนา หรือของลัทธินั้นๆ ไปทีเดียว คือว่าสอนให้เข้าถึงสภาพที่เป็นตัวเราให้ได้ เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่มีคำว่าอัตตวาทุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเรา ซึ่งพระพุทธศาสนาสอนว่าต้องละเสีย เขากลับมีตัวเราให้ยึดถือ ในพุทธศาสนาเรานี้ มีอัตตวาทุปาทาน คือกำหนดชื่อลงไปว่านี้เป็นกิเลส นี้เป็นความโง่ นี้เป็นความหลง คือความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเรา เพราะฉะนั้น หลักปฏิบัติจึงมีอยู่ตรงที่ให้ละอัตตวาทุปาทานนี้เสีย เพราะฉะนั้นคำสอนเรื่องอนัตตาจึงมีแต่ในพุทธศาสนา ไม่มีในคำสอนลัทธิอื่น ซึ่งสอนให้มีอัตตา ให้ยึดมั่นถือมั่น แล้วเข้าถึงให้ได้ ส่วนเรานี้ ให้ทำลายความรู้สึกว่าตัวตนเสียให้หมดเลย ให้เห็นสภาพเป็นอนัตตา คือว่างจากอัตตาในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง

    http://palungjit.org/threads/แก่นพุทธศาสน์-พุทธทาสภิกขุ.345689/
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความว่างเปล่า

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕
    [๑๑๙] อากาศธาตุ เป็นไฉน
    อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก
    ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นไฉน
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น
    อุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยว
    ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของ
    เคี้ยวของลิ้มไหลออกเบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติ
    อันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง
    เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าอากาศธาตุภายใน
    อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน
    อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่าความว่างเปล่า
    ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก
    นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายนอก
    อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็นหมวดเดียวกัน
    นี้เรียกว่า อากาสธาตุ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ความว่างตามความเป็นจริง

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    [๓๓๕] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจสัญญา
    ว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ
    นึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือน หนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของ
    ปราศจากรอยย่น ฉันใด ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะ
    มีชั้นเชิง มีแม่น้ำ ลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมด ใส่ใจ
    แต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อม
    อยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวาย
    ชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์ และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
    คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น เธอ รู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ สัญญา
    นี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น ด้วย
    อาการนี้แหละเธอจึง พิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่
    เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตาม
    ความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
    ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุม
    แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
    ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

    ----
    วานรเที่ยวไปในป่าใหญ่ ป่าใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน แผ่นดินตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ อากาศเป็นความว่างเปล่า เป็นอากาสธาตุ วานรจับกิ่งไม้(การเกิด) ปล่อยกิ่งไม้(การดับ) ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมจับกิ่งไม้กิ่งใหม่(เกิดๆ ดับๆ) เมื่อลิงผู้ไม่รู้ มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก มีกิเลสตัณหาจับกิ่งไม้กิ่งเดิม ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิม เพื่อจับกิ่งไม้กิ่งใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ หาที่สุดแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย หาเหตุแห่งการเกิด การดับไม่ได้ ไม่รู้ว่าจับกิ่งไม้มาตั้งแต่เมื่อไร ไม่รู้ว่าจับกิ่งไม้มานานแค่ไหน ไม่รู้ว่าจะหยุดจับกิ่งไม้ได้อย่างไร ไม่รู้วิธีหยุดจับกิ่งไม้นั้น หลงอยู่ในวัฏฏะอันยาวนาน หากลิงมีสติปัญญา มีญาณความรู้คือวิชชาเกิดขึ้น เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความว่าง เมื่อปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมแล้วไม่อยากจับกิ่งไม้กิ่งใหม่ ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมไม่จับกิ่งไม้กิ่งใหม่ หยุดการเกิดและการตาย
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอบคุณครับ ^^
     
  7. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    อันนี้ที่กระผมถาม

    คุณรู้ได้งัย ว่าคุณไม่นึกคิด แล้วใครที่รู้ว่า ไม่นึกคิด การที่รู้ว่าไม่นึกคิด นี้เป็น การนึกคิด มั้ย หรือ เป็น การไม่นึกคิด รู้ ว่าไม่นึกคิด

    ส่วนอันนี้ แล้วเมื่อไหร่ท่าน จะเข้าถึง การไม่มีแห่งกระแสการเวลา ได้สักที ผมกล่าวให้ท่านคิด ไม่ได้ถามมมมม คราบ


    ใครสอนท่านเหรอครับ ว่า ไม่ให้นึกคิด แล้วยังไม่นึกคิดทุกอณุวินาที อีก ไม่รู้จะกล่าวเยี่ยงไรแย้ว :'(
    ช่างมันเตอะ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นิพพานมี ๓
    ๑. นิพพานครั้งแรกเรียกว่านิพพานกิเลส คือการตรัสรู้นั่นเอง
    ๒. นิพพานครั้งที่สองเรียกว่าขันธนิพพาน คือการดับขันธ์ปรินิพพาน
    ๓. นิพพานครั้งที่สามเรียกว่านิพพานธาตุ เรียกว่าธาตุนิพพาน ซึ่งจะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อถึงวาระศาสนาได้สิ้นสุดลงแล้ว ณ สถานที่ภายต้นมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้นั่นเอง

    รู้มาแค่นี้
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ก็คุณไม่เคยหยุดการนึกคิดไงครับ จึงไม่รู้จักว่าการไม่นึกคิดเป็นอย่างไร

    อธิบายไปมากแค่ไหน คุณก็เข้าใจว่าไม่ได้อธิบายอยู่ดี เมื่อไม่นึกคิด

    จะมองเห็นการนึกคิดได้ชัดเจน ว่ามีการนึกคิดเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เหตุที่เกิดการนึกคิด

    ว่าเกิดได้อย่างไร ไม่ต่างอะไรจากการบอกว่าสถานที่นั้นสวยงามแล้วคุณไม่เชื่อ

    สาธุครับ
     
  10. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณ อุรุเวลา ครับ กรุณาอธิบายตามความเข้าใจส่วนตัวของคุณเถอะครับ

    กรุณาไม่ต้องนำคำอ้างอิงครับ

    สาธุครับ
     
  11. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ท่านคิดว่า ผมหรือใครในนี้ ไม่มีใครนั่งสมาธิ ถึงขั้นนั้นหรือครับ ขั้นที่ไม่รู้ไม่เห็นสิ่งใด แต่ที่พบได้คือ สุข สุดๆ ไม่เคยรู้สึกแบบนั้นมาก่อนในชีวิต รู้สึกตัวอีกที่ หายไปนานเลย แต่ไม่รู้สึกถึงเวลาเลย
    นั้นแหละที่ผมไม่ อยากจะเจออีก มันวิเศษ เกินไป ออกจากนั้น แล้ว กิเลสมันไม่หายไปด้วย จากนั้นมา ผมเลยเดินทางปัญญา มากกว่า สมถะ แต่ยัง เริ่มต้นด้วยสมถะเสมอ ไม่งั้น ปัญญา จะเป็นไปทางโลกเกินไป

    ต้องคลำช้าง ต้องเปิดใจ คำไปให้ทั่ว ไม่ใช่เจอแต่หางแล้วบอกว่า นั้นแหละช้าง
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG]
     
  13. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมปฎิบัติมาไม่เคยพบความสุขเลย ผมเห็นแต่ความเป็นทุกข์ และ ไม่ใช่ว่ามีสมาธิ

    แค่ตอนนั่งกรรมฐานเท่านั้น หากมีสมาธิแค่ตอนนั่งกรรมฐาน ก็เกิดกิเลสเมื่อไม่ได้นั่ง

    ยังคงปรุงแต่งอยู่อย่างนั้น แต่หากนั่งกรรมฐาน และ มีสมาธิที่นิ่งสงบจนเป็นนิสัย

    แม้ไม่ได้นั่งก็ยังคงมีสมาธิที่นิ่งสงบ จะเห็นความเป็นจริงบนโลกใบนี้ ซึ่งกิเลส

    มีอยู่แล้ว ไม่มีหายไปไหน มีไว้ให้รับรู้ เห็นอยู่ เข้าใจถึงหลักความเป็นจริง

    กิเลส หากไม่มีการนึกคิด ความอยากจะเกิดตามมาหรือไม่ และ จะยึดติดไหม

    ผมอธิบายไปแล้วว่า หากไม่นึกคิดทุกอณุวินาทีได้ จะเห็นความเป็นจริงอย่างชัดเจน

    สาธุครับ
     
  14. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    งั้นก็ตามแต่จริตท่านเถอะครับ ขอให้หยุดนึกคิด ได้ทุกอณูๆๆๆๆวินาที เร็วนะครับ

    สาธุ
     
  15. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "วานรเที่ยวไปในป่าใหญ่ ป่าใหญ่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน แผ่นดินตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ อากาศเป็นความว่างเปล่า เป็นอากาสธาตุ วานรจับกิ่งไม้(การเกิด) ปล่อยกิ่งไม้(การดับ) ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมจับกิ่งไม้กิ่งใหม่(เกิดๆ ดับๆ) เมื่อลิงผู้ไม่รู้ มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก มีกิเลสตัณหาจับกิ่งไม้กิ่งเดิม ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิม เพื่อจับกิ่งไม้กิ่งใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ หาที่สุดแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลาย หาเหตุแห่งการเกิด การดับไม่ได้ ไม่รู้ว่าจับกิ่งไม้มาตั้งแต่เมื่อไร ไม่รู้ว่าจับกิ่งไม้มานานแค่ไหน ไม่รู้ว่าจะหยุดจับกิ่งไม้ได้อย่างไร ไม่รู้วิธีหยุดจับกิ่งไม้นั้น หลงอยู่ในวัฏฏะอันยาวนาน หากลิงมีสติปัญญา มีญาณความรู้คือวิชชาเกิดขึ้น เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด จิตรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความว่าง เมื่อปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมแล้วไม่อยากจับกิ่งไม้กิ่งใหม่ ปล่อยกิ่งไม้กิ่งเดิมไม่จับกิ่งไม้กิ่งใหม่ หยุดการเกิดและการตาย"

    ข้อความทั้งหมดผมพิมพ์ด้วยตนเอง ไม่ได้คัดลอกมาจากที่ไหนครับ
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


    ทานอันบริสุทธิ์ 6 ส.ค 32 - โอปนยิกธรรม

    ฯลฯ
    ได้มาด้วยความบริสุทธิ์มีอยู่ในตัวของเรา......
    เมื่อถึงพระนิพพานแล้วอย่างไร ตรงมันหมดความห่วงหน้าหวางหลัง.....
    ภาษาว่าแจ้งนิพพานก็หมดเรื่อง.....
    ถ้าเราไม่ภาวนาละกิเลสในใจของเราให้หมดสิ้น ความทุกข์ก็บังเกิดขึ้นในจิตในใจ.........
    ถ้าไม่ภาวนาจิตมันก็มืดก็ดำๆในจิตใจคือว่าไม่รู้แจ้งไม่เห็นจริง.......
    พระนิพพานอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่จิตใจไม่โกรธใคร
    ไม่โลภอยากได้ของใคร ไม่หลงไปตามกิเลสกาม วัตถุกาม
    เพราะว่าในโลกนี้มีเรื่องยุ่งยาก
    ....ฯลฯ

    *******
    อยากรู้ก็ไปฟังซักหลายๆรอบ
    แล้วลงมือภาวนาอย่างจริงจังด้วยจะได้หายสงสัย
    ว่าพระนิพพานอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลอยู่ที่...ของตน
    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ ควรเดินตามจริตของตนเอง และ ขอบคุณสำหรับคำอวยพรครับ

    สาธุครับ
     
  18. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ลิงเกาะกิ่งไม้ มีผู้ที่หยิบยกมากล่าวก่อนหน้านานแล้ว ตามความเข้าใจส่วนตัวของคุณ

    ไม่มีเลยหรือครับ ที่จะอธิบายถึงความว่าง และ ความว่างเปล่า ที่ผมอ่านข้อความตามโพสนี้

    ไม่เห็นเกี่ยวข้องตรงไหนเลยครับ หรือ ผมอาจจะไม่เข้าใจที่คุณกำลังสื่อ

    ส่วนตัวผมนั้น ความว่าง หรือ ว่างเปล่า นั้นไม่แตกต่างกันครับ เพราะว่างจากทุกสิ่ง

    ไม่มีสิ่งใดเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ แน่นอน หรือ เป็นสิ่งที่คงทนถาวร มีแล้วก็อยู่ได้ไม่นาน

    เป็นไปตามกาลเวลา มีแต่การนึกคิดของมนุษย์เท่านั้น ที่เป็นปัญญาก่อให้เกิดความเป็นทุกข์

    แต่หากว่างเปล่าจากทุกสิ่งแล้ว ก็ไม่มีอะไรให้ยึดติด ไม่มีอะไรให้สงสัย ไม่มีอะไรให้เป็นทุกข์

    ผมไม่สนว่าจะเป็นนิพพานหรือไม่ แต่ที่ผมรู้ คือ หากว่างเปล่าจากการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง

    ก็จะไม่กลับมาเกิดอีก เพราะในขณะที่กำลังจะตาย จิตจะปรุงแต่ง นึกถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว

    และ รู้สึกเสียดาย อาลัยอาวรณ์ต่อการมีชีวิต จะเป็นเหตุให้กลับมาเกิดอีกในชาติภพต่อไป

    ผมเห็นมาเช่นนั้นครับ ทุกครั้งที่กำลังจะสิ้นลมหายใจ ผมเห็นแต่การปรุงแต่งที่มีเกิดขึ้น

    ย้อนไปกี่ครั้งก็เห็นแบบนั้น มีแต่ความเสียใจอาลัยอาวรณ์ต่อการมีชีวิต ครุ่นคิดว่าหากกลับไปได้จะไม่ทำเช่นนั้น

    แต่ไม่สามารถทำได้ ความอาลัยอาวรณ์นี้เอง ที่นำให้มนุษย์กลับมาเกิดอีก และ สิ่งเดียว

    ที่จะทำให้เกิดสติในขณะนั้นได้ คือ การปฎิบัติ หรือ การฝึกจิตให้ยอมรับกับความเป็นจริง

    สาธุครับ
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    คุณoatthidet เรื่องการไม่กลับมาเกิดนี่ หมายถึงไม่ว่าจะภพภูมิใดๆหรือไม่ครับ
    จากที่อ่านผมเข้าใจว่าคุณกล่าวเฉพาะมนุษย์เท่านั้น
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ถ้าเป็นผมนะครับ เมื่อจิตปรุงแต่งก็ปล่อยให้จิตปรุงแต่งไปครับ จิตจะไปเกิดในอดีตในอนาคต ปรุงแต่งอดีตอนาคต เราเป็นแค่ผู้รู้ ผู้ตามดูจิด เห็นจิตเกิดดับในขันธ์ ๕ เป็นธรรมดา เกิดแล้วก็ดับ ไม่มีแก่นสาร ไม่มีสิ่งใดเกิดแล้วไม่ดับครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...