บุญแห่งความสุภาพอ่อนโยน

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 2 มิถุนายน 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    บุญแห่งความสุภาพอ่อนโยน


    <HR SIZE=1>

    <!-- / icon and title --><!-- message -->พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า การที่คนเราจะบริสุทธิ์ได้นั้น นอกจาก ทาน ศีล ภาวนาแล้ว จะต้องประพฤติตนอ่อนน้อมอีก

    การประพฤติอ่อนน้อมเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งในการที่จะทำให้เราสะอาดบริสุทธิ์

    ความอ่อนน้อมอ่อนโยนเป็นธรรมชาติของชีวิตทุกชนิด ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ร่างกายจะอ่อนสลวยมากทีเดียว ยืดหยุ่น เหยียดแข้งเหยียดขาเดินไปมาได้ เคลื่อนไหวได้ตลอด แต่พอตายไปแล้วจะแข็งไปหมด จับแขนงอก็ไม่ได้ มันแข็งกระด้าง

    ดังนั้น ความแข็งกระด้างคือสัญลักษณ์ของความตาย ความอ่อนสลวยคือสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา

    ด้วยเหตุนี้ พระกุมารกัสปะจึงบอกว่า มนุษย์เมื่อตายแล้วจะแข็ง น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้น แต่คนเราเมื่อยังมีชีวิตอยู่จะอ่อนโยนอ่อนสลวย

    มีสามสิ่งที่เราควรเข้าใจในเรื่องของความอ่อนโยน คือ...

    - ภาวะควรแก่การงาน
    - อานิสงส์ต่อเนื่องและ
    - การสร้างสมความอ่อนโยนอย่างมั่นคงและทรงพลัง

    ความอ่อนโยนควรแก่งาน

    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ชีวิตที่พร้อมแก่การทำงานนั้นจะต้องมีจิตมุทิตากับกายมุทิตา

    จิตมุทิตา หมายความว่า จิตที่อ่อนโยนพร้อมแก่การงาน คือต้องอ่อนโยนจึงจะพร้อมแก่การทำงาน ถ้าแข็งกระด้างอยู่ เช่น โกรธอยู่ มันทำอะไรไม่ได้ ถ้าความคั่งแค้นมันยังไม่หายไป มันยังไม่พร้อมจะทำงาน จิตมันจะวนเวียนอยู่กับความพยาบาทนั่นแหละ

    กายมุทิตา คือ กายจะต้องอ่อนสลวยจึงจะควรแก่การงาน ถ้าใจกระด้างแข็ง กายก็แข็งกระด้าง มันไม่ไปไหนหรอก มันก็อยู่ตรงนั้นเขาเรียกว่าคนเอากรอบมาครอบตัวเอง มากๆ เข้าก็จะยึดถือโน้นยึดถือนี้ ยิ่งยึดมากก็ยิ่งแข็งกระด้าง เช่น ยึดถือตัวตน ข้าคือคนเก่ง ฉันคือคนดี ฉันมีตำแหน่งสูง ฉันจะต้องเป็นอย่างนั้น ฉันจะต้องเป็นอย่างนี้ คนอื่นจะต้องเข้าใจฉันอย่างนั้น ใครมาทำไม่ดีกับฉันไม่ได้ ถ้าอย่างนี้เขาเรียกว่ายึดองค์ประกอบโลกมาเป็นตัวตน พอยึดมากๆ ก็จะเกร็ง แล้วก็เลยกระด้างเข้าทุกทีๆ พอกระด้างก็ไม่ควรแก่การงานคือทำอะไรก็ไม่สะดวก มันติดยึดไปหมด ทำอะไรมันก็ไม่ขยับ เหมือนถูกตรึงไปหลายทิศพร้อมๆ กัน ขยับไปทางไหนก็ขยับไม่ได้ เมื่อขยับไม่ได้ก็อึดอัดก็ยิ่งมีปฏิกิริยาที่หยาบกระด้าง เมื่อหยาบกระด้างก็จะเปราะบางมากแตกง่ายมาก

    แต่เมื่อใดที่เขาเป็นอิสระ เขาจะขยับไปทางไหนเขาก็ขยับไปได้สะดวก ใช้ความยืดหยุ่น ใช้ความอ่อนโยนของชีวิตสร้างชีวาได้จริงๆ ด้วยความสงบมั่นคงทรงพลังกว่ามากนัก

    ดังนั้น กายมุทิตา กับจิตมุทิตาจึงทำให้พร้อมควรแก่การงาน และความสัมพันธ์อันละเอียดลึกซึ้ง

    ความพร้อมที่ควรแก่การงานแล้วปฏิบัติงานได้ด้วยดีนั้น จะทำให้เกิดการพัฒนาเหมือนยอดไม้ ยอดไม้เป็นส่วนที่อ่อนที่สุดของต้นไม้ เพราะมันเป็นส่วนที่อ่อนมันจึงเจริญงอกงามไปสู่เบื้องสูง ขณะที่ส่วนที่หยาบกระด้างที่สุดของต้นไม้คือเปลือก และแน่นที่สุดคือแก่น แต่แก่นในขณะที่มันมีชีวิตอยู่มันก็มีของเหลวอยู่เยอะในตัวแก่น ส่วนที่กระด้างที่สุดของต้นไม้คือเปลือก อนาคตของเปลือกคือร่วงหล่นสู่ดิน ด้วยเหตุนี้จึงบอกว่าความแข็งกระด้างเป็นสัญลักษณ์ของความตาย ส่วนความอ่อนโยนคือความอ่อนสลวยคือสัญลักษณ์ของความเจริญงอกงาม

    จิตของเราก็ดี ร่างกายของเราก็ดี ถ้าจะมีความเจริญงอกงาม จะต้องมีความอ่อนสลวย ถ้าเด็กเกร็งอยู่ตลอดเวลาก็จะแกร็นไม่เจริญเติบโต แต่เด็กที่มีความยืดหยุ่นอ่อนสลวยจะเจริญเติบโตไว

    วัฒนธรรมไทยของเราจึงเป็นวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้งมาก สอนให้คนอ่อนโยนแต่อย่าอ่อนโยนจนกระทั่งอ่อนแอ ให้อ่อนโยนอย่างพร้อมควรแก่การงาน นั่นคือประโยชน์ของความอ่อนโยน

    อานิสงส์ของความอ่อนโยน

    ดังทราบแล้วว่า ความอ่อนโยนทำให้ควรแก่การงาน สามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นและมีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของภาวะสร้างสรรค์

    นอกจากนั้น การประพฤติอ่อนน้อมทำให้เรารู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ควรแก่การงาน เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ ใครเห็นใครก็รัก ใครก็ยกย่อง ใครก็เชิดชู เพราะยอมรับได้โดยง่าย แต่ถ้าไปอวดตัวโด่เด่ทำเป็นอวดเก่ง คนจะหมั่นไส้แล้วจะเหยียบย่ำ หากเราประพฤติอ่อนน้อมคนกลับส่งเสริมเรา เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ความเจริญก้าวหน้าของชีวิตของสังคม

    ยิ่งกว่านั้น พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า บุคคลใดประพฤติอ่อนน้อมแก่บุคคลที่ควรอ่อนน้อมแล้วไซร้ บุคคลนั้นเมื่อเกิดในชาติใดๆ ย่อมเกิดในตระกูลสูง การประพฤติอ่อนน้อมทำให้เกิดในตระกูลสูง ดูอย่างนักการเมืองแค่ในชาติเดียวอยากจะไต่ระดับจากคนธรรมดาขึ้นไปอยู่ในฐานะสูงๆ ของสังคม เวลาเจอใครก็ยกมือไหว้หมดเป็นพระเจ้าสิบทิศเลย

    ในเมื่อมีประโยชน์อย่างนี้ต้องพยายามประพฤติอ่อนน้อมให้ได้ น้อมพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเนืองๆ อย่ามัวเพ่งโทษผู้อื่น มันทำให้กระด้าง ต้องกลับมาดูและแก้ตัวเองจะอ่อนโยน

    พระพุทธองค์ทรงบอกว่า คนพาลเท่านั้นมัวเพ่งโทษผู้อื่นอยู่ บัณฑิตย่อมพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตนเอง

    ความอ่อนโยนอย่างมั่นคงทรงพลัง

    ทีนี้ทำอย่างไรล่ะเราจึงจะมีความอ่อนน้อม อ่อนโยน อ่อนสลวย ละเอียดอ่อนโดยไม่อ่อนแออยู่ในตัวเองพอสมควร อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ

    ประการแรกเลย ต้องหมั่นพิจารณาตัวเองเนือง ๆ การหมั่นพิจารณาตัวเองเนือง ๆ มันจะทำให้เห็นทั้งข้อดี และข้อบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ จำไว้ว่าคนที่เห็นความผิดพลาดของตนเองเป็นคนที่มีปัญญญาอันยิ่งใหญ่ เพราะคนที่มีปัญญาธรรมดาจะเห็นแต่ค่วามผิดของคนอื่น ไม่ค่อยเห็นความผิดของตนเอง

    คนปัญญาน้อยจะเห็นแก่ตัว แต่ไม่เห็นตนเอง

    คนที่มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ จะเห็นตัวเองยิ่งใหญ่ และเริ่มเห็นข้อบกพร่องในตนเอง

    การเห็นข้อบกพร่องในตนเองแสดงว่าปัญญาใหญ่เหนือความผิดพลาดนั้น ซึ่งเห็นได้ยาก เพราะมันใกล้ตัวที่สุด และมนุษย์ทุกคนสามารถหาเหตุผลเข้าข้างตนเองได้ตลอดเวลา จึงเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ มันก็เลยกลบข้อบกพร่องกันมาตลอด

    ถ้าใครไปคุ้ยเห็นข้อบกพร่องในตนได้ คนนั้นมีโอกาสเจริญก้าวหน้า เพราะเมื่อเห็นความผิดของตนเอง เราสามารถสั่งตัวเองไม่ให้พลาดในสิ่งที่ผิดนั้นอีกได้ นั่นหมายความว่ามีขบวนการปรับปรุงแก้ไขตนเอง เมื่อมีขบวนการปรับปรุงแก้ไข ตนเองก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ

    ฉะนั้น การค้นพบความผิดของตนเองจึงเป็นปัญญาอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ การกล้ายอมรับความผิดและแก้ไขปัญหาของตนเองก็เป็นความสามารถอันยิ่งใหญ่เช่นกัน

    ประการที่สองในการสร้างความอ่อนโยน คือไม่ย่ำซ้ำเติมความผิดพลาดความบกพร่องของตนเอง ให้ก้าวล่วงออกเสีย เพราะถ้ามองแต่ความผิดพลาดแล้วไม่ก้าวล่วงออกมา ใจมันจะจมอยู่กับความล้มเหลว ใจมันจะเศร้า

    พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า เมื่อพบความผิดให้รีบก้าวล่วงออกจากความผิดเสียโดย...

    1) สำนึกว่านั่นเป็นความผิด และ
    2) ตั้งใจว่าต่อไปนี้ตลอดนิรันดร เราจะไม่พลาดในสิ่งที่ผิดนั่นอีกแม้เล็กน้อย
    เมื่อทำทั้งสองขั้นตอนแล้ว เราจะปลอดโปร่งขึ้น พอปลอดโปร่งขึ้น--
    3) ขออโหสิกรรมเลย กรรมไม่ดีใดๆ ที่เรากระทำแล้วต่อใครๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมทั้งหลายอโหสิกรรมให้เราด้วย ส่วนกรรมที่ไม่ดีใดๆ ก็ตามที่ใครกระทำต่อเรา ต่อหน้าก็ดี ลับหล้งก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี เราขออโหสิกรรมให้ท่านทั้งหลายทั้งหมด เพื่อให้ใจเราหลุดออกมาจากสิ่งเหล่านั้น
    พอใจเราหลุดออกมาจากพยาบาทและบ่วงกรรมอันนั้น ใจเราก็จะเป็นอิสระ พอเป็นอิสะใจมันก็จะค่อยๆ อ่อนสลวยตามธรรมชาติของมัน

    ประการที่สามที่จะทำให้เราอ่อนโยนได้ คือ การปล่อยวางการยึดถือตัวตน ปล่อยวางความหมายมั่น หรือปล่อยวางนิยามแห่งตัวตนซะ

    พอปล่อยวางได้เราก็จะโล่ง พอโล่ง โดยธรรมชาติจิตใจมันอ่อนโยนอยู่แล้ว ใจมันจะว่างๆ สบายๆ ในขณะที่ใจที่ไปยึดถือความเป็นตนเป็นตัวต่างๆ นั้นม้นกระด้าง ดังนั้น ต้องหมั่นปล่อยวาง

    ถ้าทำทั้งสามประการด้วยตนเองไม่ได้...

    ถ้าทำทั้งสามประการด้วยตนเองไม่ได้ ประการที่สี่ให้ไปหากัลยาณมิตร ให้กัลยาณมิตรได้วิเคราะห์ หรือแนะนำตักเตือนด้วยเมตตาจริงๆ กัลยาณมิตรที่มีเมตตามีปัญญาจริงนะ อย่าไปหาคนที่พูดมากหรือพูดจาไม่ดี เดี๋ยวท่านจะเจ็บใจกลับมา แต่ถ้ามั่นใจว่าเป็นคนที่มีปัญญาพอที่จะเข้าใจเรา เป็นคนมีความหวังดีแท้จริงกับเราก็เปิดโอกาสให้ท่านแนะนำ

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง พระองค์ทรงจีวรผ้าเฉวียงบ่า เสร็จแล้วทรงหันไปทางพระสารีบุตร ตรัสว่า "สารีบุตรตั้งแต่เธอรู้จักเรามา เธอมีอะไรที่จะตำหนิติเตียนตถาคตหรือไม่" หมายความว่าทรงเปิดใจยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ของพระสารีบุตรซึ่งเป็นลูกศิษย์ของตนเอง

    พระสารีบุตก็บอกว่า "ตั้งแต่พระตถาคตบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วข้าพระพุทธเจ้าได้รู้จักนี้ ไม่มีสิ่งใดแม้แต่น้อยที่จะพึงติเตียนได้"

    นั่นแสดงว่าพระองค์ประพฤติตนโดยสมบูรณ์ ก็ทั้งๆ ที่พระองค์สมบูรณ์ขนาดนั้น พระองค์ยังน้อมรับคำติเตียนของเพื่อนพรหมจรรย์

    ดังนั้น การที่เราหันไปหาคนที่มีปัญญามาก หันไปหาคนที่มีเมตตาต่อเราอย่างแท้จริง เราจะได้รับคำแนะนำที่ดีๆ มา สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราอ่อนโยนได้โดยสมควร

    ประการที่ห้าที่ทำให้อ่อนโยน คือปัญญาเข้าใจธรรมชาติแห่งชีวิตอย่างถ่องแท้ การพิจารณาขันธ์นั้นจะทำให้เกิดปัญญา ปัญญาจะทำให้เราเข้าใจความเป็นจริง พอเข้าใจความเป็นจริงก็จะเกิดสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องมา ดังนี้
    ๑) การเคารพซึ่งกันและกัน
    ๒) การปล่อยวาง
    ทั้งการเคารพซึ่งกันและกันและการปล่อยวาง เป็นตัวนำมาซึ่งความอ่อนน้อม

    เราจะพิจารณาธรรมชาติแห่งชีวิตได้อย่างไร พิจารณาได้จากรูปและนามที่เรามีจะง่ายที่สุด

    รูปก็คือกาย กายจริงๆ แล้วก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ มาจากข้าว แป้ง น้ำตาล นม เนย หมู หรืออะไรก็ตามที่เราบริโภคเข้าไป มันก็คือสารอาหารทั้งนั้นเลย สารอาหารเหล่านั้นก็คือธาตุทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นโปแตสเซียม แคลเซียม คาร์โบไฮเดคต ไฮโดรเจน ออกซิเจน มันเป็นธาตุทางเคมีที่อยู่ในอากาศในน้ำทั้งสิ้น โดยมันมาประกอบกันเป็นรูป ดังนั้น รูปก็สักแต่ว่าเป็นธาตุ

    เวทนาก็เป็นความรู้สึก ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบกันของธาตุแล้วเกิดกระแสแล่นไปมาตามเซลล์ประสาทที่จิตรับรู้ได้ นั่นคือเวทนา ทั้งความปวดเมื่อย ความรู้สึกสบาย แม้แต่ความรู้สึกทางใจ เช่น คับข้องใจ ดีใจ เสียใจ

    ทีนึ้เมื่อรู้สึกอะไรแล้ว ทั้งการรับรู้ที่เป็นข้อมูลกลางๆ ก็ดี หรือความรู้สึกชอบชังในการรับรู้นั้นๆ ก็ดี มันจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด ชุดการบันทึกเราเรียกว่าสัญญาหรือความทรงจำนั่นเอง

    พอบันทึกไว้แล้วมันไม่ได้จบแค่นั้น ตัวความทรงจำหรือสัญญามันจะพลิ้วออกมาอยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้าทรงบอกว่ามันพลิ้วออกมาเหมือนพยัพแดด เมื่อมันพลิ้วออกมามันก็จะประกอบกันเป็นโครงร่างเป็นเรื่องราวอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นอะไรไปต่างๆ นานาที่เราเรียกกันว่าความนึกกับความคิด พอมันมาปรุงกันเป็นความนึกคิดแล้ว เราเรียกมันว่าสังขาร แล้วสังขารตัวนี้มันร้ายยิ่งกว่านั้นอีก คือเมื่อปรุงแล้วมันจะผลักดันชีวิตให้ไปตามที่มันนึกคิด อย่างเช่น บางคนในสมัยพุทธกาลคิดว่าความเป็นหมาสบายจริงๆ ไม่ต้องไปทำมาหากินอะไร เจ้านายก็เลี้ยง พอนายกินข้าวเสร็จก็เอาข้าวมาให้กิน ครั้นนึกคิดอยู่อย่างนั้น พอตายก็ไปเกิดเป็นลูกหมาในบ้านที่ตนเองอยู่ อย่างนี้เป็นต้น ความคิดมันพาไปสู่ความเป็นภพ เป็นชาติ เราจึงเรียกว่าสังขาร อภิสังขารต่างๆ นานา

    และทุกการไปเกิดหรือแม้แต่การนึกคิดแต่ละครั้งก็มีวิญญาณมาเกาะรู้ตลอดเวลา วิญญาณเกาะรู้ทั้งในรูปและนาม ก่อให้เกิดอภิสังขารคือชีวิตขึ้นมา

    นี่คือขบวนการ แต่...ทั้งหมดนั้นมันสักแต่ว่าเป็นกลไกธรรมชาติ มันมีธรรมชาติสามประการในทั้งห้าขันธ์ก็คือ
    1) ขันธ์ทั้งหลายมันไม่เที่ยง
    2) ขันธ์ทั้งหลายมันบีบเค้นกันอยู่โดยองค์ประกอบสิ่งเร้า การกระตุ้นทั้งของเก่าของใหม่ และทั้งความวาดหวังในอนาคต
    3) ทั้งหมดนั้นมันไม่เป็นตัวเป็นตนของใครแท้จริง

    สมัยหนึ่ง เราอาจจะเคยคิดว่าฉันมีความคิดอย่างนี้ ฉันเป็นอย่างนี้ พออีกสองสามวันได้ข้อมูลใหม่ เกิดความอยากใหม่ เกิดค่านิยมใหม่ๆ ความนึกคิดของเราเปลี่ยนอีกแล้ว ความเป็นตนที่แท้จริงมันไม่มี พอปัญญาเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ก็เปลี่ยน ในที่สุดสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเพียงการประกอบกันขององค์ประกอบในธรรมชาติ แล้วก็กำลังเลื่อนไหลไปตามขบวนการธรรมชาติ มีกลไกที่ชัดเจน

    ใครเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ก็จะรู้ว่าทั้งหมดเหล่านี้มันไม่เป็นตนของใคร มันกำลังถูกปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ตามเหตุตามปัจจัยในเงื่อนไขต่างๆ แล้วมันก็ไม่เที่ยง เพราะมันต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าเราไม่ยึดถือสิ่งเหล่านี้เลย เพราะเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจนเราก็จะเคารพความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันได้ดี มนุษย์คนนี้ก็คือธาตุนะ เขากำลังมีขบวนการพัฒนาของเขาไปอย่างนั้น กำลังไต่ระดับวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ไปสู่ที่สุดของวิวัฒนาการ คนนี้ก็ไต่ระดับวิวัฒนาการ คนนั้นก็ไต่ระดับวิวัฒนาการ เราจะเคารพการพัฒนาของกันและกันประการหนึ่ง

    อีกประการหนึ่ง เราจะเกิดการปล่อยวาง ใครจะเป็นอย่างไรมันก็ตามระดับการเรียนรู้และการฝึกฝน ตอนนี้เขาไม่ดีมันก็เป็นโอกาสของเขาที่จะเรียนรู้ความไม่ดีและความเจ็บปวดจากความไม่ดีนั้น เมื่อเขาเห็นทุกข์เดี๋ยวเขาก็เห็นธรรม

    คนที่กำลังดีๆ อยู่ถ้าไม่ประมาทแล้วพัฒนาตนไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งดีใหญ่เลย แต่ถ้าดีๆ อยู่ สบายๆ อยู่ แล้วประมาทว่าชีวิตไม่เป็นไรหรอก จงอย่าคิดว่าชีวิตฉันอยู่สบายแล้ว เพราะดีแค่ไหนเดี๋ยวก็เสื่อมได้อีกตามเหตุปัจจัย ทั้งภายใน ภายนอก และในระหว่าง

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันก็ไม่มีอะไรเป็นตนของใครเลย มันก็สักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติเท่านั้นเอง ไหลเลื่อนไปตามขบวนการของธรรมชาติ เราจะไปยึดถือมาเป็นตัวตนก็ไม่ใช่ จะไปยึดตัวตนคนอื่นก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่เลย เพราะเขาก็ไม่ใช่ตัวเขา เขาเองก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นตลอด จึงเขียนบทกลอนไว้เตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่า "เมื่อใดใครเห็นตนไม่เป็นตน เมื่อนั้นย่อมเข้าใจตนโดยแทงตลอด" ฝากท่านทั้งหลายเอาไปคิดด้วย

    เมื่อเราเห็นกลไกเหล่านี้ก็จะปล่อยวางได้ พอเกิดการปล่อยวางได้ เราก็ไม่กระด้างกับใคร เราก็อ่อนโยนไปโดยธรรมชาติ

    และถ้าเราจะเร่งให้เร็ว เราทำได้ไหม ก็ได้เช่นกัน ประการที่หก ผ่อนคลาย และกำหนดสติสัมปชัญญะรู้ภายในให้ล้ำลึก ถ้าเราผ่อนคลายไปเรื่อยๆ ร่างกายของเราก็จะอ่อนสลวย จิตใจของเราก็จะอ่อนโยนพร้อมควรแก่การงานอยู่เสมอ นั่นคือการกำหนดตัวเองได้ด้วยกำลังของสติและสมาธิ

    นี่คือขบวนการของการสร้างบุญ ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมอ่อนโยน


    �ح��觤������Ҿ��͹�¹ - �����͡�����
    <!-- / message -->
     
  2. MayaJit

    MayaJit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +56
    ผู้อ่อนโยนย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย อนุโมทนาครับ
     
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG] สาธุ</label>
     
  4. chonatad

    chonatad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +372
    เปรียบเทียบ "ความอ่อนโยน" กับ "ต้นไม้" ได้ดีทีเดียวครับ อนุโมทนา สาธุครับ ^______^"
     
  5. TUK2800

    TUK2800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    1,766
    ค่าพลัง:
    +1,161
    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุ<!-- google_ad_section_end -->

    การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน><O:p></O:p>
    การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ
    กายมีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
    ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
    วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่งซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว<O:p></O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...