บ้านมะเร็งระยะสุดท้าย ข่าวร้าย... กำลังใจ... ความหวัง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 20 พฤศจิกายน 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการรายวัน</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>ห้องนี้ใช้เป็นที่สาธิตวิธีการดูแลผู้ป่วยให้กับญาติๆ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นายแพทย์ธนเดช สินธุเสก </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>พัชรินทร์ แก้วรัตน์ หัวหน้าหอผู้ป่วยองค์รวม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>หุ่นจำลองสื่อการสอนชั้นเยี่ยม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ห้องหนังสือ วีซีดีเพลง คลายเครียด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ห้องครัวซึ่งเตรียมไว้ให้บรรดาญาติพี่น้องได้ใช้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เปียโนที่คอยบรรเลงกล่อมเกลาจิตใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>บรรยากาศในวอร์ดผู้ป่วยมะเร็งที่ดูคล้ายบ้าน </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> มะเร็งระยะสุดท้าย...รักษาก็ตาย...ไม่รักษาก็ตาย...โรคร้ายที่ไม่สามารถเอาชนะได้ เมื่อมะเร็งแผ่ซ่านทั่วทุกอณูกาย ความจริงที่โหดร้าย ความสิ้นหวังที่ถาโถมเข้าใส่เมื่อความตายอยู่ตรงหน้า หากแต่ในความมืดมิด ความหวัง และกำลังใจ เป็นเสมือนแสงสว่างสาดส่องมายังจิตใจเพื่อค้ำชูชีวิตที่เหลืออยู่ได้มีความสุข

    กระนั้น แม้ไม่มีทางเยียวยา...ก็ใช่จะปล่อยให้ผู้ป่วยต้องทุกข์ทนและจากไปตามยถากรรม เพราะสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองในระยะสุดท้ายอย่างดีที่สุดให้เขาได้จากไปอย่างสุข สงบ ไร้กังวลใดๆ

    ที่ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีบ้านซึ่งเอาไว้พักกาย พักใจที่เหนื่อยล้ากับการต่อสู้กับมะเร็ง

    *ที่พึ่งของคนสิ้นหวัง

    นพ. ธนเดช สินธุเสก ผู้อำนวยการศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เล่าว่า ที่นี่มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบ Hospice Care คือ การดูแลผู้ป่วยโดยการปัดเป่าปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลก่อนแล้วถึงให้กลับบ้าน ซึ่งระหว่างนั้นก็จะมีพยาบาลแวะไปดูแลผู้ป่วยที่บ้านเป็นระยะๆ พร้อมกับมีทีมงานที่ช่วยปลอบโยน ลดความเศร้าโศกและกลับมาใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติ

    ทั้งนี้ วิธีการดูแลผู้ป่วยของทางโรงพยาบาลจะเป็นรูปแบบเดียวกับที่ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ คือ การรักษาคนไข้กลุ่มนี้ยังต้องเป็นการรักษาที่ต่อเนื่อง ไม่ทิ้งคนไข้ ถึงจะพบว่าคนไข้รักษาไม่หายแล้วก็ตาม โดยจะต้องดูแลครอบคลุม 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ

    สำหรับอันดับแรกนั้น ต้องขจัดอาการเจ็บปวดทางร่างกายไม่ให้ทุกข์ทรมาน ใส่ใจถึงจิตใจที่เศร้าซึม หมดความหวัง เยียวยาด้านสังคม ซึ่งบางครั้งพบว่า คนไข้กลุ่มนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การใช้จ่าย การดำรงอยู่ในสังคม และให้ความสำคัญทางจิตวิญญาณ หรือที่เรียกว่า Spiritual Care คือ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความเชื่อใด แม้ไม่สามารถอธิบายได้หรือว่าเป็นความเชื่อทางด้านศาสนา เช่น เขาต้องการเห็นผ้าเหลือง ต้องการพบบาทหลวง

    สิ่งพวกนี้ถ้าพวกเขาได้รับแล้วมีความสุข ทางศูนย์ฯ ก็จะสนับสนุนยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่ รักษาพร้อมๆ กันไปทั้ง 4 ด้านรวมถึงครอบครัวเขาด้วย

    "
    เวลาเราพบว่า คนไข้อาการหนักมากให้การรักษาอย่างเต็มที่แล้วแต่ไม่หาย เราจะแยกผู้ป่วยออกไปอยู่ตึกพิเศษ เรียกว่า 'หอผู้ป่วยองค์รวม' จากนั้นรักษาตามอาการ โดยเน้นดูแลทางด้านจิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม คนไข้ที่อยู่ในตึกนี้จะได้รับการดูแลอย่างดี เมื่ออาการดีขึ้นก็ให้คนไข้กลับบ้านไปอยู่ในการดูแลของครอบครัว สังคมของเขา และติดตามดูแลต่อเนื่องด้วยการตรวจเยี่ยมตามบ้าน และโทรศัพท์สอบถามอาการเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้แก่คนไข้และญาติ นอกจากนั้น การมีพยาบาลไปเยี่ยมที่บ้าน ทำให้คนไข้ และครอบครัวไม่ต้องเสียเงินเสียทองหอบหิ้วกันมา มีพยาบาลกับรถ 1 คัน ก็สามารถตระเวนเยี่ยมคนไข้ได้ 4-5 คน พยาบาลก็จะเข้าไปดูแล พูดคุย ช่วยทำแผล เช่น บางครั้งต้องเปลี่ยนสายตรวจปัสสาวะทุก 2 สัปดาห์ ก็เปลี่ยนให้ได้ทันที"

    คุณหมอ บอกอีกว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า คนไข้ส่วนมากอยากกลับบ้าน เพราะมีความสุขมากกว่า แต่ก่อนจะกลับบ้านผู้ป่วยจะต้องไม่มีปัญหาอะไรกลับไปด้วย ดังนั้น เมื่อเขาพร้อมก็จะมีพยาบาลดูแลให้คำแนะนำ พร้อมกับสอนญาติด้วยวิธีการดูแลง่ายๆ เช่น การเช็ดตัว การป้อนอาหาร การวัดอุณหภูมิ วิธีการทำแผล แต่หากผู้ป่วยมีอาการหนักมากๆ ก็จะไม่ให้กลับบ้าน แต่ถ้าประเมินแล้วคนไข้ช่วยตัวเองได้ดีก็ให้กลับบ้านแล้วก็สามารถเสียชีวิตที่บ้านได้ ซึ่งทั้งหมดนี้แพทย์จะต้องประเมินอาการก่อน

    ...นอกจากอยากกลับบ้านแล้วผู้ป่วยปรารถนา อยากได้ อยากทำอะไรก่อนจากไปตรงนี้ นพ.ธนเดช บอกว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่เรื่องอะไรใหญ่โตเกินกำลังที่จะทำให้ได้เลย เช่น ขอมีชีวิตอยู่ต่ออีกสักระยะหนึ่ง ขอไม่ให้ปวด อย่าทรมาน ขอให้ได้พูดคุยกับคนนั้น คนนี้ บางรายที่พลัดพรากจากกันไปนานๆ ก็อยากพบเจอกันสักครั้งหนึ่ง ซึ่งต้องพยายามให้ความหวังเขาแต่ไม่ควรโกหก

    "นอกจากนี้ก็ยังมีหน่วยงานบางหน่วยงานช่วยทำให้ฝันของเขาเป็นจริงเช่น ตามหาญาติพี่น้องให้ หรือที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ก็จะมีโครงการให้ความช่วยเหลือเด็กจากมะเร็งระยะสุดท้าย เรียกว่า Wishing well Project สายธารแห่งความหวัง คือ การทำความฝันของเด็กให้เป็นจริง มีตัวอย่างหนึ่งคือ เด็กต้องการที่จะเห็นชายทะเล คุณหมอก็พาเด็กไปเห็นชายทะเลก่อนจะเสียชีวิต"

    อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีมีคนไข้ที่เป็นมะเร็งรายใหม่ประมาณ 60,000 ราย และใน 60,000 ราย ประมาณครึ่งหนึ่งมาพบแพทย์ในระยะที่มีอาการหนักแล้วซึ่งมีโอกาสหายน้อย ในกลุ่มที่เป็นมากแล้วส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในระยะเวลา 1-2 ปี เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจะเสียชีวิตปีละประมาณ 20,000-30,000 ราย เลยทีเดียว

    *สัมผัสชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง

    และเมื่อได้เดินมายัง 'หอผู้ป่วยองค์รวม' บรรยากาศที่เสมือนบ้านหลังหนึ่งทำให้ความรู้สึกน่าอึดอัดของโรงพยาบาลค่อยๆ ผ่อนคลายขึ้น พยาบาลประจำตึก พัชรินทร์ แก้วรัตน์ วัย 38 ปี หัวหน้าหอผู้ป่วยองค์รวม ศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี ซึ่งคลุกคลีงานด้านนี้มากว่า 10 ปี เล่าว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน และเมื่อการรักษาทุกอย่างสิ้นสุดแล้วจึงจะส่งมาที่หวอดนี้

    พัชรินทร์ บอกว่า มาถึงที่นี่อันดับแรกต้องเตรียมตัวกับญาติก่อน คุย ทำความเข้าใจ ให้ข้อมูลทุกอย่างกับญาติ จากนั้นพิจารณาดูว่าคนไข้มีปัญหาอะไร เช่น ปวด เหนื่อยมาก ปัสสาวะไม่ออก จัดการปัญหาด้านร่างกายให้สุขสบายก่อน แล้วจึงเริ่มสอนญาติให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเมื่อต้องกลับไปอยู่ที่บ้าน ญาติก็จะเข้ามามีส่วนร่วม คนไข้ก็จะมีความสุขที่ได้รับการเอาใจใส่ ห่วงใย

    เนื่องจากที่นี่ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยจะมีสตางค์หรือไม่ ก็จะมีการจัดห้องพักให้เป็นสัดส่วน มีห้องส่วนตัวที่ญาติสามารถเข้ามาดูแลคนไข้ ได้โดยไม่มีกฎระเบียบในการเยี่ยมสามารถเข้านอกออกในได้ตลอดเวลา มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง ทุกชั่วโมงนาทีที่อยู่ที่นี่เราจะมอบความจริงใจให้ความรู้สึกเหมือนญาติพี่น้อง ช่วยเหลือประคับประคองทั้งผู้ป่วยและญาติด้วยความอบอุ่นใจ

    พัชรินทร์ แจกแจงอีกว่า เมื่อผู้ป่วยเข้ามาใหม่ๆ จะมีปัญหาด้านจิตใจมาก เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ เราจะให้เวลาในการปรับตัว 1-2 วัน จากนั้นเข้าไปคุย แล้วให้เขาได้ระบายออก อย่างคนไข้รายหนึ่งเป็นผู้หญิง วัย 40 ปี มีสามี และลูก 2 คน ที่ผ่านมาก็ทำบุญช่วยเหลือคนอื่นมาตลอด เขาก็จะคิดว่าทำไมเขาต้องเป็นโรคนี้ ช่วยตัวเองก็ไม่ได้ ได้แค่ลืมตา มองกลอกไปมา แล้วก็จะคิดไปเรื่อย ทำไมสามีไม่มา ทำไมลูกไม่มา คิดว่าเขาไม่รักเราแล้ว ทุกอย่างเป็นความคิดเชิงลบหมดเลย ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เมื่อสามีมาก็ไม่คุยด้วย ปฏิเสธทุกอย่าง เกิดความรำคาญใจ และมีปากเสียงกัน คนไข้จะจมอยู่กับอารมณ์ทุกข์ของตัวเองทุกวันๆ ทั้งความปวดสารพัด คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายไม่ออก เราจะต้องหันเหความสนใจ และดึงเขาออกมาจากกองทุกข์ให้ได้

    "บางรายห่วงลูก ห่วงสามี ห่วงสมบัติ เราก็จะต้องพูดจาโน้มน้าวใจ ให้เขาเข้าใจธรรมชาติ เป็นการสอนเชิงพุทธ นำหลักธรรมเข้าช่วย ให้เขาเข้าใจธรรมชาติของชีวิต เกิด แก่ เจ็บ ตายมันห้ามไม่ได้ เมื่อร่างกายไม่ใช่ของเรา แต่เอาใจไปยึดก็ทุกข์ แม้กระทั่งลูก สามี ก็ไม่ใช่ของเรา เราทุกข์เพราะคิดไปเอง ถ้าเราคิดเชิงบวก เช่น สามีไม่มาเพราะติดงาน แล้วเมื่อเขามาเราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร ทำให้เขาสดชื่นไม่ใช่มาถึง ไม่คุย ไม่อยากฟัง หน้าตาบึ้งตึง ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมีแต่ทุกข์หนักขึ้นอีก เราจะค่อยๆ สอนคนไข้ และนิมนต์พระมาเทศน์สอนด้วย พระท่านก็จะพูดโน้มน้าวให้คนไข้คิดสิ่งที่ดีๆ จิตช่วงนี้อ่อนไหวง่ายและซึมซับคำพูด สิ่งดีๆ ได้มาก

    แต่กว่าคนไข้จะเปิดใจบางรายใช้เวลานานเหมือนกัน อาจต้องเขาไปหาพูดคุยถึง 3-4 รอบ เราเข้าไปพูดแรกๆ เขาจะรำคาญ ไม่ฟังเราเลย เงียบเฉยไม่รับรู้ เราก็ต้องทำใจไว้แล้วก็ตื๊อ บางคนไม่เคยพูดแต่จะถามไปเรื่อยๆ ต่อเมื่อหลายครั้งเข้าเขาก็โอนอ่อนและยอมรับ เพราะเริ่มเห็นประโยชน์จากการที่ฟังเราพูดเราบอก อันดับแรกเลยเขาเกิดความสบายใจ เราเป็นที่ที่เขาสามารถระบายได้"

    พัชรินทร์ บอกว่า เมื่อผ่านไป 2- 3 สัปดาห์ คนไข้จะเริ่มยอมรับมากขึ้น เราต้องหันให้เข้าเรียนรู้การตาย เพื่อมีหลักในการยึดช่วยให้ไม่กลัวความตาย ก็จะแนะให้มองเรื่องความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ เวลานอนหลับก็ต้องหลับอย่างมีสติ ปล่อยว่างทุกอย่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่เช่นนั้นยามนอนก็จะเพ้อ เพ้อมากเพราะคิดมาก คิดเรื่องเก่าๆ ให้คิดว่า ทุกอย่างไม่ใช่ของเรา เวลานอนต้องคิดอย่างนี้ตลอดเวลา ท่องพุทโธ พุทโธ เพื่อให้เกิดหลักยึดและมีสติ

    "คนไข้เคยเล่าให้ฟังว่า พอตกดึกเขาจะนอนไม่หลับ รู้สึกกลัวอย่างบอกไม่ถูก กลัวที่พลัดพรากจากที่รัก แล้วจะพยายามปลุกญาติไม่ให้หลับไปด้วย เพราะหลับไปแล้ว กลัวตาย เมื่อเกิดอาการวูบ ณ ขณะนั้นเขาเหมือนกับวิญญาณออกจากร่าง มองเห็นร่างตัวเองนอนอยู่บนเตียง แต่ทำอะไรไม่ได้ แล้วกลัวมาก กังวลใจ ไม่หลับโดยการฟื้นตัวเอง คนที่ยึดมั่นถือมั่นจึงไปลำบาก ถ้าคนไข้มีพื้นฐานเรื่องธรรมะเขาจะเข้าใจและไปสบาย"

    พัชรินทร์ เล่าอีกว่า ช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่ประมาณ 15 วัน ก็จะพยายามหาหนังสือให้อ่าน เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือที่พูดหรือสอนแต่สิ่งดีๆ อย่างเมื่อก่อนให้คนไข้ฟังเพลงรัก คนไข้ก็จะเศร้า นอกจากนั้น ก็จะมีอาสาสมัครเจ้าหน้าที่จาก YWCA หรือ 'young women Christian assciation of Bangkok' เขาจะมาเยี่ยมคนไข้เป็นประจำ มาเล่นเปียโนบ้าง เล่นกีตาร์ให้ฟังในห้องคนไข้บ้าง ร่วมสวดอธิษฐานจิตบ้าง คนไข้ฟังแล้วก็รู้สึกดีมีความสุข

    เมื่ออยู่ที่นี่ครบกำหนดก็จะให้รายที่กลับบ้านได้กลับบ้าน และกลายเป็นผู้ป่วยโฮมแคร์ ซึ่งขณะนี้มีผู้ป่วยโฮมแคร์ที่ต้องเข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาล 20 ราย ซึ่งก่อนจะไปเยี่ยมเราจะโทร.ไปถามอาการก่อน เมื่อเยี่ยมแล้ว ถ้าดูอาการไม่ดีก็สามารถกลับมารับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลต่อได้

    นอกจากนี้ ยังมีการสานสัมพันธ์ในชุมชน โดยการติดต่อสถานีอนามัยใกล้บ้านเอาไว้ หากมีปัญหาก็สามารถเข้าไปใช้บริการอนามัยได้ตลอดเวลา ดังนั้น คนไข้ส่วนใหญ่จึงอยากกลับบ้าน เพราะยามนอนหลับก็หลับสบาย ลูกหลานอยู่ใกล้ เมื่อทำใจได้ ก็มีเวลาเตรียมตัว จนเมื่ออาการหนักก็สามารถเสียชีวิตที่บ้านได้ จะไม่มีการปั๊มหัวใจช่วยชีวิต ไม่ฉุดรั้ง

    ปล่อยให้เขาไปอย่างสงบ และมีความสุขนั้น จึงนับเป็นความสำเร็จของเรา

    ********************

    เรื่อง - วรรณภา บูชา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...