ปฏิจจสมุปบาท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 27 มีนาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    [​IMG]
    ปฏิจจสมุปบาท โดยย่นย่อ
    วงจร

    ปฏิจจสมุปบาท เป็นปรมัตถธรรมที่แสดงโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ธรรมต่างๆในปฏิจจสมุปบาทธรรมจึงล้วนแต่เป็นภาษาบาลี ดังนั้นการเจริญวิปัสสนาในปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ จึงต้องศึกษาค้นคว้าคำบาลีที่เกี่ยวเนื่องก็เพื่อประโยชน์ในการโยนิโสมนสิการ จึงได้พยายามแปลคำทุกบาลีสอดแทรกไว้ตลอดเพื่อให้ท่านได้เข้าใจกระจ่างขึ้นเพื่อความสะดวกในการพิจารณาโยนิโสมนสิการ และเนื่องจากภาษาของเรานั้น มีความดีดดิ้นแปลได้หลายความหมายจริงๆและคล้ายภาษาบาลีอีกด้วย และยังมีการใช้กันอย่างผสมปนเปจนแยกกันแทบไม่ออก ดังเช่นคำว่า อารมณ์ ในภาษาไทยหรือในทางโลกใช้ในความหมายว่า ความรู้สึก เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย อารมณ์ร้าย, แต่อารมณ์ในทางพระศาสนาหรือภาษาธรรมแล้วถ้าแปลไปดั่งนั้นแล้ว ก็จะไม่ได้ใจความที่ถูกต้องจนเห็นธรรมได้เลย เพราะอารมณ์ในภาษาบาลีหรือภาษาธรรมมีความหมายว่า สิ่ง ที่จิตไปกำหนดหมาย หรือยึดไว้ในขณะนั้นๆ, คำว่า สิ่ง จึงมีความหมายครอบคลุมถึง รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ(สัมผัส) ธรรมมารมณ์ ใดๆก็ตามที ที่จิตไปกำหนดหมายในขณะนั้นๆ ดังนั้นเมื่อนำคำว่าอารมณ์ในทางโลกไปใช้อย่างผิดๆหมายถึงไปใช้ในทางธรรม เช่นใน เวทนาที่แปลว่าการเสวยอารมณ์ ก็ย่อมเข้าใจความผิด ตีความหมายไปผิดๆ หรือไปใช้อารมณ์ในความหมายทางโลกหรือโลกิยะไปในความหมายของ สมาธิที่หมายถึง การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ ก็ไม่สามารถหยั่งรู้ความหมายได้อย่างถูกต้อง หรือดังคำว่า วิญญาณ ที่กล่าวขึ้นเมื่อใด ปุถุชนมักคิดถึงไปในลักษณะเจตภูตหรือกายทิพย์หรือปฏิสนธิวิญญาณ ฯ. อันเป็นความเข้าใจไปในแบบโลกิยะหรือแบบโลกๆ ดังนั้นเมื่อนำความเข้าใจดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ)ในปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์ ๕ ก็ตามที จึงย่อมไม่สามารถเข้าใจธรรมได้อย่างแจ่มแจ้งเลย จึงต้องเข้าใจวิญญาณอย่างโลกุตระหรืออย่างภาษาธรรมจึงจะธรรมวิจยะในธรรมนั้นๆได้อย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง หรือดังคำว่าสังขารที่ทางโลกเมื่อเอ่ยถึงมักนึกไปถึงร่างกาย แต่ในทางธรรมนั้น สังขารหมายถึงทุกสรรพสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้น, และเหตุสําคัญที่สุดเป็นการเทิดพระเกียรติ์ของพระศาสดาว่าเป็นธรรมที่พระองค์ท่านได้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสิ่งสําคัญอีกประการคือปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้นกินใจความที่ลึกซึ้งกว้างใหญ่ไพศาลนัก เมื่อเกิดความเข้าใจหรือสงสัยสิ่งใด ก็ทําให้สามารถเชื่อมโยงใยกับธรรมอื่นๆของพระพุทธองค์ได้กลมกลืนและอย่างแจ่มแจ้ง อันล้วนแต่อ้างอิงพระบาลีกันทั้งสิ้น อันจักทําให้เกิดความเข้าใจอย่างหมดจด ทําให้แก้ข้อสงสัยในธรรมอื่นๆได้ดียิ่งขึ้น แต่เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด ผู้เขียนจะพยายามเขียนสื่อและย่นย่อความในธรรมอันประณีต แต่แน่ละย่อมมีบาลีแทรกเช่นเคย อันเหมือนท่านเรียนแพทย์ก็ย่อมจำต้องทราบศึกษาคําศัพท์ทางการแพทย์เป็นธรรมดา เพราะจึงสามารถชี้เฉพาะเจาะจงในแต่ละสิ่งได้อย่างเฉพาะเจาะจงและเพื่อสามารถสื่อกับผู้อื่นด้วยความหมายเดียวกันอย่างถูกต้อง, ซึ่งจักก่อประโยชน์แก่ท่านในภายหน้าเมื่อนำไปศึกษาหรือโยนิโสมนสิการ หรือแม้แต่สนทนาธรรมกับผู้รู้อื่น แต่ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่จะเขียนในบทนี้ก็คงจะไม่ง่ายนักที่จะทําความเข้าใจเช่นเคย จึงควรตั้งจิตให้สงบ แล้วอ่านอย่างพิจารณา เพราะความที่เป็นกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ และดับไปแห่งทุกข์ของมวลมนุษยชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่พระองค์ท่านตรัสไว้ว่า ลึกซึ้งยิ่งนัก จึงได้ครอบงํามนุษย์ทุกรูปนามมาตลอดกาลนานและอีกตลอดไป จนกว่าเราจะเข้าใจสัจจธรรมของพระองค์ท่านเท่านั้น จึงควรโยนิโสมนสิการด้วยความแยบคาย วางความเชื่อความเข้าใจหรือทฤษฏีเดิมๆ(ทิฏฐุปาทาน)ที่อาจขัดแย้งกันลงเสียขณะหนึ่ง แล้วพิจารณาด้วยใจที่สงบไม่ซัดส่ายด้วยแค่กำลังของขณิกสมาธิก็ดีงามแล้ว โดยอาศัยหลักเหตุผลเป็นสำคัญ และโดยเนืองๆเสมอๆ
    (ข้อความที่มีขีดเส้นใต้ สามารถชี้หรือคลิกดูความหมายได้)
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่แสดงกฏของธรรมชาติถึงความเป็นเหตุเป็นผลและความเนื่องสัมพันธ์กัน จนเป็นผลให้เกิดความทุกข์ และแสดงเหตุที่ทําให้ทุกข์ดับลง ทุกข์ที่กล่าวนี้คือทุกข์ชนิดที่ดับหรือทำลายลงไปได้ กล่าวคือ อุปาทานทุกข์นั่นเอง ปฏิจจสมุปบาทความจริงแล้วตั้งอยู่บนหลักการวิทยาศาสตร์นั่นเอง เพียงแต่สิ่งที่พระองค์ทรงกล่าวไว้นี้เป็นเรื่องของจิตที่ลึกซึ้งอันจับต้องหรือสัมผัสให้เห็นเป็นตัวตนไม่ได้(นามธรรม) จึงไม่สามารถพิสูจน์ผลนั้นออกมาให้เห็นเป็นรูปร่าง(รูปธรรม) จึงบังเกิดผลได้แก่ผู้รู้ผู้เข้าใจด้วยตนเองเท่านั้น(ปัจจัตตัง) จึงเป็นที่กินแหนงแคลงใจอยู่ภายในจิต(วิจิกิจฉา)แก่ปุถุชนทั่วๆไปหรือคนที่ทันสมัยตามวัตถุนิยม เห็นหรือเข้าใจว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องของความล้าสมัยหรือไสยศาสตร์ จึงทําให้ไม่สามารถรู้ซึ้งถึงสิ่งที่มีค่าที่สุดที่ตนเองกําลังเพียรแสวงหาอยู่ทุกขณะจิตโดยไม่รู้ตัว อันคือความสุข และเป็นสุขจากการหลุดพ้น(สัมมาวิมุตติ) อันเป็นสุขสุดยอดเป็นที่สุดเสียด้วย กล่าวคือ สุข สงบ สะอาด และบริสุทธิ์​
    กระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์นี้ เป็นไปตามหลักการเช่นเดียวกันกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันอันทันสมัยที่ต้องมีเหตุผล กล่าวคือมีเหตุ จึงเกิดผลขึ้น, แต่ทางพุทธศาสนารู้และเรียกหลักการหรือข้อธรรมนี้ตั้งแต่ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วว่า"อิทัปปัจจยตา" อันมีพุทธดํารัสไว้ดังนี้​
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 0mm; MARGIN-BOTTOM: 2mm; LINE-HEIGHT: 2" borderColorDark=#79052c width="40%" align=center borderColorLight=#804000 border=0><TBODY><TR><TD width=224 height=36>
    เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี
    </TD><TD width=261 height=36>
    เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
    </TD></TR><TR><TD width=224>
    เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
    </TD><TD width=261>
    เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กล่าวคือ สิ่งต่างๆที่เกิดหรือประกอบปรุงแต่งขึ้นนั้น ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะมันอยากจะเกิดเอง ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีสิ่งใดหรือผู้ใดมาดลบันดาล ในขั้นแรกนี้เราต้องเข้าใจในหลักการนี้อย่างมั่นคงเสียก่อนโดยการโยนิโสมนสิการ มิฉนั้นเราจะทําความเข้าใจกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์นี้อย่างไม่แจ่มแจ้ง ขอให้พิจารณาตรงนี้เป็นพิเศษ ไม่ใช่ว่าเข้าใจแล้วเลยคิดว่าไม่สําคัญ จึงไม่โยนิโสมนสิการพิจารณาให้เห็นอย่างลึกซึ้งแจ่มแจ้งที่ประกอบด้วยเหตุผล, สังเกตุการดับว่าต้องดับที่เหตุ ถ้าดับที่ผล และเหตุยังอยู่ ผลก็จะเกิดขึ้นได้อีกเป็นธรรมดา
    และเรียกธรรมหรือสภาวธรรมของการเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัยกันดังนี้ว่า ปฏิจจสมุปบันธรรม​
    กระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เกิดขึ้นเป็นวงจรชนิดที่หมุนเวียนต่อเนื่องอย่างไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น เพราะความต่อเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกันเป็นวงจร กล่าวคือ เหตุๆนี้เป็นปัจจัยจึงเกิดสิ่งหรือผลนี้ขึ้น และสิ่งหรือผลที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นเหตุปัจจัยอันยังให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งหรือผลอีกสิ่งหนึ่ง ดําเนินไปเช่นนี้เรื่อยๆ (คลิกมุมขวาล่าง เพื่อแสดงวงจรได้) วงจรจึงดําเนินเคลื่อนหมุนไปอยู่ตลอดเวลา แต่เป็นไปในลักษณะเกิดดับ เกิดดับๆหรือทำๆหยุดๆนั่นเอง จึงหมุนเวียน ทะยอยกันเกิด ทะยอยกันดับ เสมือนหนึ่งลูกคลื่นในท้องสมุทร อันไม่มีวันหยุดหรือจบสิ้น จึงเป็นกระแสธรรมชาติหรือสภาวธรรมแห่งเหตุปัจจัยอันยังให้เกิดความทุกข์ขึ้นครอบงำไปทั่วทุกโลกธาตุ
    อนึ่งเป็นสิ่งที่ควรรู้อย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่เนื่องสัมพันธ์กันอย่างยิ่งระหว่างกระบวนธรรมของชีวิตหรือขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทธรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ ชีวิตย่อมดำเนินไปตาม กระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อันไม่เป็นทุกข์๑. หรือไม่ก็ต้องดำเนินไปในกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทอันย่อมยังให้เกิดความเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายจากการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์อยู่เนืองๆ๑. เป็นเพียง ๒ นี้เท่านั้นไม่เป็นอื่นไปได้.
    กล่าวคือ ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดชีวิตขึ้นนั้น ยังมีการประสานทำงานกันในระหว่างขันธ์ทั้ง ๕ อย่างแนบแน่นอย่างกลมกลืนกันอยู่ตลอดเวลาที่ดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่อีกด้วย เปรียบเสมือนดังรถยนต์ที่ย่อมประกอบด้วยขันธ์คือส่วนหรือกอง จึงประกอบด้วย ส่วนตัวถัง ส่วนเครื่องยนต์ ส่วนเครื่องส่งกำลัง ส่วนล้อ ส่วนขับเคลื่อน ส่วนระบบเบรค ส่วนระบบไฟ ฯ. เมื่อกองหรือขันธ์ของรถมาประชุมกันจนแล่นได้ ก็เรียกกันโดยสมมติสัจจะกันว่า รถ ซึ่งย่อมกินความว่า อุปกรณ์ทั้งปวง อันดุจดั่งขันธ์ ย่อมต้องทำงานประสานสอดคล้องสัมพันธ์กันอีกด้วย จึงเรียกว่าได้ว่ารถได้ รถนั้นจึงอยู่ในอายุการใช้งาน จึงใช้ขับเคลื่อน หรือมีชีวิตนั่นเอง
    เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ ทำงานประสานกันอย่างดีงาม ไม่เกิดการแทรกแซงด้วยธรรมหรือสิ่ง(กิเลส)ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ขึ้น ก็เกิดกระบวนธรรมที่เรียกว่า กระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อันไม่เป็นทุกข์และจำเป็นในการดำรงชีวิตยิ่ง(มีรายละเอียดอยู่ในบท ขันธ์ ๕) แต่ถ้าขาดสติให้อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารอันเป็นไปตามกระบวนธรรมของปฏิจจสมุปบาทธรรมเสียเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเข้าสู่วังวนของความทุกข์ และส่วนใหญ่ของปุถุชนแล้ว ก็มักดำเนินชีวิตอยู่ในวงจรปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมดาเสมอๆเนืองๆเพียงแต่เป็นไปโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา เหตุเพราะนอกจากความทุกข์โดยตรงแล้ว ยังมีความทุกข์ที่ซ่อนตัวอยู่ในรูปของความสุขที่เกิดที่เสพอยู่ในทุกขณะนั่นเอง แล้วเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ขึ้นในที่สุด ธรรมชาติของปุถุชนจึงก่อทุกข์กันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่เป็นไปโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชาเท่านั้นเอง!

    [​IMG]
    ปฏิจจสมุปบาท โดยย่นย่อ

    อาสวะกิเลสเป็นปัจจัยร่วมกับอวิชชา
    กล่าวคือ
    ความจําที่นอนเนื่องอยู่แต่แฝงด้วยกิเลส อันคืออาสวะกิเลส เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับ อวิชชา
    • เนื่องจากกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นวงจรที่หมุนเวียนแบบเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา จริงๆจึงไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย สามารถเกิดแต่เหตุปัจจัยใดๆในวงจรก็ได้ แต่ ณ ที่นี้ผู้เขียนจะขอเริ่มที่ความจําที่หมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิต(อาสวะกิเลส) สิ่งที่จะซึมซาบขึ้นมา ย้อมจิตให้ขุ่นมัวเศร้าหมองเมื่อประสบหรือกระทบกับอารมณ์ จึงมิได้หมายความถึงจิตที่ขุ่นมัวเศร้าเพราะอารมณ์เสียในความหมายในทางโลกๆแต่อย่างเดียว แต่หมายถึงความไม่บริสุทธิ์หมดจดหรือกิเลสสิ่งขุ่นมัวอันมีอยู่ แต่อยู่อย่างซ่อนเร้นอยู่ในจิตหรือจิตใต้สํานึก ซึ่งถ้าไม่ศึกษาโดยการโยนิโสมนสิการอย่างละเอียดและแยบคายก็จะมองไม่เห็น อันจะเป็นเหตุก่อให้เกิดความขุ่นมัว หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน เป็นทุกข์ต่างๆนาๆขึ้นในภายหน้า กล่าวคือเป็นสัญญาความจําชนิดหนึ่งที่มีกิเลสหรือสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวแอบแฝงอยู่ หรือก็คืออาสวะกิเลสอันมี โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง เราจะกล่าวว่าเป็นความจํา(สัญญา)อย่างหนึ่งก็ย่อมได้ แต่เจาะจงลงไปว่า เป็นความจําแฝงกิเลสที่แอบซ่อนอยู่ในจิตด้วย หรือที่เรียกกันในทุกวันนี้ว่าจิตใต้สํานึก เช่นความจําบางอย่าง เรื่องบางอย่าง โดยทั่วไปนึกไม่ออก จําไม่ได้ แต่เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระตุ้นหรือเร้าหรือกระทบสัมผัส จึงจดจําขึ้นมาได้ และบางครั้งก็ผุดขึ้นมาเองอันมิสามารถควบคุมบังคับได้อย่างแท้จริงเพราะเป็นความจำได้อันเป็นธรรรมชาติในการยังชีวิตอย่างหนึ่ง ความทรงจําชนิดอาสวะกิเลสนี้มิได้ครอบคลุมแต่เฉพาะความทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็นเท่านั้นที่จะทําให้จิตขุ่นมัว,เศร้าหมอง แต่ยังหมายรวมถึงความจําได้ที่เกิดจากความสุขในทางโลกๆอีกด้วย เพราะความสุขที่เกิดแบบทางโลกๆนั้นจริงๆแล้วก็คือทุกข์อย่างหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่ว่าเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างละเอียดละเมียดละไม จนเกิดมายาของจิตว่าไม่ใช่ความทุกข์นั่นเอง เหตุเพราะจักทําให้เกิดความโสกะ คืออาการเศร้าโศกจากการเสื่อมหรือสูญเสียในสุขนั้นๆ และอาการปริเทวะ คือการโหยหา การอาลัย ด้วยคำนึงถึง ด้วยคิดถึงในความสุขนั้นๆ, อันล้วนเป็นเชื้อไฟที่ย่อมยังให้เกิดการลุกไหม้เผาลนกระวนกระวายต่อไปในกาลข้างหน้า อุปมาเหมือนดั่งฟืนเคยไฟ อันต้องก่อให้เกิดทุกข์ในภายหน้าเมื่อผุดขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวอีกอย่างแน่นอน ! (รายละเอียดอยู่ในภาคขยาย)
      เมื่อมีจิตที่ขุ่นมัวเศร้าหมอง และยังไม่มีวิชชาหรือไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และวิธีปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์ตามความเป็นจริง กล่าวคือไม่มีวิชชา คือไม่รู้ธรรมของพระองค์ท่าน หรือธรรมชาติของทุกข์ตามความเป็นจริงนั่นเอง ที่ทําให้เกิดทุกข์และดับทุกข์, หรือยังมีอวิชชา อันคือไม่รู้ อริยะสัจ๔และปฏิจจสมุปบาทในการดับทุกข์ จึงเป็นเหตุให้วงจรของทุกข์มีแรงขับดันให้ดําเนินเคลื่อนหมุนต่อไปไม่จบสิ้น.......
    การเกิดขึ้นของทุกข์ จึงดำเนินไปดังนี้
    อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    กล่าวคือ
    เพราะอวิชชาร่วมด้วยอาสวะกิเลสที่นอนเนื่อง ดังที่กล่าวข้างต้น
    เป็นปัจจัย ทำให้เกิด
    สังขาร อันคือสิ่งปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทําต่างๆนาๆทางกาย ทางวาจา ทางใจ
    ตามที่ได้สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติ มาแต่อดีต ที่ย่อมแฝงกิเลสจากอาสวะกิเลส
    ด้วยอวิชชาความไม่รู้และไม่เข้าใจในธรรม จึงเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอาสวะกิเลสความจำที่นอนเนื่องอยู่ในจิตที่เมื่อกระทบกับอารมณ์ หรือผุดขึ้นมาเองตามธรรมของชีวิต(ธรรมชาติ)อย่างหนึ่งก็ตามที จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารที่หมายถึงการกระทําต่างๆทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ ตามความเคยชินที่ย่อมแฝงกิเลสตามที่ได้สั่งสม อบรม ประพฤติ เคยกระทําไว้(อาสวะกิเลส) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ดังเช่น การประพฤติ การปฏิบัติ การกระทำ ความเชื่อ ความคิดต่างๆ บุคคลิกต่างๆ อันจักล้วนเป็นการกระทำที่แฝงกิเลสตามที่ได้กระทําสั่งสมไว้นั่นเอง(อาสวะกิเลส) อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของชีวิตอันยิ่งใหญ่ประการหนึ่ง, สังขารที่เกิดในปฏิจจสมุปบาทธรรมนี้ จึงหมายเฉพาะสังขารที่จะก่อให้เกิดทุกข์ขึ้น เพราะความที่แฝงกิเลสมาแต่อาสวะกิเลสนั่นเอง สังขารเหล่านี้จึงเป็นสังขารกิเลสอยู่ในที, เมื่อเกิดสังขารอันประกอบด้วยกิเลสอยู่ในทีขึ้นแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยขับเคลื่อนให้ดำเนินไปตามกระบวนธรรมต่อไป ดังนี้
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    กล่าวคือ
    สังขารการกระทํา ที่ย่อมแฝงกิเลสจากอาสวะกิเลสและอวิชชา
    เป็นปัจจัย ทำให้
    วิญญาณระบบประสาทในการรับรู้ หรือการรู้แจ้งในสังขารนั้นๆ เกิดการทำงานขึ้น​
    สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ตรงที่นี่แหละที่นักปฏิบัติชักจะเริ่มมีความสับสน งงงวยเกิดขึ้น และตีความกันไปในเรื่องของภพชาติหน้าอย่างเชื่อมั่นขึ้น วิญญาณอะไร? ทําไมจึงเกิด? ทําไมวิญญาณจึงไม่เกิดก่อน? ก็เกิดมาแล้วก็ต้องมีวิญญาณติดตัวอยู่แล้วนี่? ในนามรูปก็มีแล้วนี่? สารพัดสารเพให้งงงวย จนไม่สามารถก้าวต่อไปได้เพราะเกิดความสงสัย(วิจิกิจฉา), จริงๆแล้วจึงไม่ได้หมายถึงวิญญาณที่ลอยละล่องหรือสิงสู่อยู่ในตัวตนในลักษณะเจตภูตหรือปฏิสนธิวิญญาณอย่างที่เราๆเข้าใจกันโดยทั่วๆไป และไปยึดติดยึดเชื่อกันโดยไม่รู้ตัว, วิญญาณตรงนี้ พระองค์ทรงแจงกระบวนธรรมการทํางานของความทุกข์ ที่มีความเนื่องสัมพันธ์กันของกายและจิตโดยอาศัยวิญญาณ ทรงชี้แสดงให้เห็นสภาวะที่เกิดๆ ดับๆ หรือทำๆหยุดๆ อันไม่เที่ยงของวิญญาณที่เกิดขึ้น, วิญญาณในที่นี้ท่านหมายถึง วิญญาณ ๖ อันมี วิญญาณตา(จักขุวิญญาณ), วิญญาณหู(โสตวิญญาณ)...ฯ.ทั้ง๖ ที่เกิดขึ้น หรือพอกล่าวได้ว่า คือการรู้แจ้งในสิ่งที่อายตนะไปกระทบนั้นๆ หรือก็คือระบบประสาทการรับรู้สัมผัสของร่างกายอันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ, อันเกิดการทํางานขึ้นเนื่องจากสังขารที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วนั้น เป็นปัจจัยนั่นเอง, และจําเป็นต้องเกิดขึ้นอันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของชีวิตนั่นเอง
    วิญญาณในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นวิญญาณที่ต้องกล่าวกันอย่างโลกุตระหรือภาษาธรรม มิฉนั้นจะไม่สามารถเข้าใจในธรรมอย่างปรมัตถ์ได้เลย กล่าวคือเมื่อพิจารณาธรรมในลักษณะธัมมวิจยะอันเป็นสัมมาทิฏฐิของอริยะ วิญญาณจึงหมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารเชื่อมสัมพันธ์กันภายในขันธ์ทั้ง ๕ หรือระบบประสาทดังกล่าว ดังนั้นวิญญาณ จึงมีชื่อเรียกของวิญญาณเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปตามอายตนะภายในที่เป็นที่เกิด กล่าวคือในผู้ที่ดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ วิญญาณย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ที่เป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา เกิดขึ้นดังความใน มหาตัณหาสังขยสูตร ที่กล่าวไว้ในบท ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ซึ่งกล่าวแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งว่า วิญญาณอาศัยอายตนะภายในใดเกิดขึ้น ก็ให้นับหรือเรียกว่าเป็นวิญญาณของอายตนะนั้นๆ ซึ่งสรุปนำมาเขียนแสดงเป็นกระบวนธรรรมของการเกิดวิญญาณ ได้ดังนี้​
    อายตนะภายนอก [​IMG] อายตนะภายใน [​IMG] วิญญาณ๖ ดังนี้
    รูป [​IMG] ตา [​IMG] จักษุวิญญาณ
    เสียง [​IMG] หู [​IMG] โสตวิญญาณ
    กลิ่น [​IMG] จมูก [​IMG] ฆนวิญญาณ
    รส [​IMG] ลิ้น [​IMG] ชิวหาวิญญาณ
    โผฏฐัพพะ [​IMG] กาย [​IMG] กายวิญญาณ
    ธรรมารมณ์ [​IMG] ใจ [​IMG] มโนวิญญาณ
    ในปฎิจจสมุปบาทธรรมนี้ องค์ธรรมสังขาร ก็ทำหน้าที่เหมือนดังเป็นอายตนะภายนอกนั่นเองเช่นเป็น ธรรมารมณ์, ส่วนอายตนะภายในหรือใจ ย่อมมีอยู่แล้วในผู้มีชีวิตหรือดำรงขันธ์อยู่นั่นเอง!
    เมื่อพิจารณาไปก็งงงวยอีก เอ๊ะ! วิญญาณ ทำไมจึงไม่เกิดก่อนสังขาร แล้วสังขารเกิดได้อย่างไร? โยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคายก็จะทราบคำตอบ [​IMG]
    เมื่อมีวิญญาณ เกิดขึ้นมารับรู้ในสังขารที่ประกอบด้วยกิเลสข้างต้นแล้ว กระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นของทุกข์ก็ดำเนินต่อไปตามธรรมหรือธรรมชาติหรือตามเหตุปัจจัยดังนี้​
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม-รูป
    หรือ
    ประสาทการรับรู้สัมผัสหรือการรู้แจ้งในอารมณ์ เมื่อทําหน้าที่ของตน
    จึงเป็นปัจจัยทำให้
    นาม-รูปที่หมายถึงชีวิต ครบองค์ในการทํางานขึ้นตามหน้าที่ตน เพราะมีเหตุปัจจัยครบ(ในกิจหรือสังขารที่เกิดขึ้นนั้นๆ)​
    รูปนาม หมายถึง การประกอบกันของฝ่ายรูปหรือตัวตน และฝ่ายนามหรือจิตนั่นเอง จึงมีความหมายถึงขันธ์หรือชีวิต หรือฝ่ายรูปธรรมนั่นเอง, ส่วนนาม-รูปในปฏิจจสมุปบาทนี้ มีความหมายไปในลักษณะทางนามธรรม ที่หมายถึง การทำงานของรูปนามหรือชีวิตต่อสังขารข้างต้นที่เกิดขึ้น จึงเป็นการกล่าวในลักษณะนามธรรมนั่นเอง
    กล่าวคือ เมื่อเกิดการรับรู้หรือวิญญาณ(การรู้แจ้งในอารมณ์) ในสิ่งที่มากระทบ, อันคือระบบประสาทการรับรู้นั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้นามรูปหรือชีวิตครบองค์ประกอบของการทํางานในเรื่องนั้นๆ ตอนที่ผู้เขียนโยนิโสมนสิการใหม่ๆในปฏิจจสมุปบาทนั้น รู้สึกสงสัยและหงุดหงิดมากในเรื่องนี้ เพราะพอจะรู้อย่างอวิชชาว่าคนเราเกิดแล้ว ต้องมีรูปนามเกิดมาพร้อมอยู่ด้วย เหตุไฉนจึงมีรูปนามหรือนาม-รูปเกิดขึ้นมาอีก เมื่อพิจารณาไปจึงเข้าใจ ท่านได้แยกการทํางานย่อยลงไปเฉพาะกิจ และเหตุที่ใช้นามนําหน้าก็เพราะเป็นการพูดถึงการทํางาน มิได้หมายถึงรูปนามที่เป็นรูปร่างตัวตน(รูปธรรม) ตัวตนของเรา(รูปนาม)นั้นมีอยู่ก็จริงแต่ชั่วขณะมีชีวิตแต่ไม่เป็นไปอย่างถาวรและควบคุมบังคับไม่ได้, ถ้าพิจารณาลึกลงไปในกิจหรืองานเฉพาะเรื่องแล้ว จะเห็นได้ว่าวิญญาณในเรื่องหรือกิจนั้นๆเพิ่งจะเกิดขึ้นตามสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ อุปมาได้ดั่งรถยนต์ ท่านสังเกตรถยนต์ดู มีอุปกรณ์พร้อมสรรพ เป็นรถยนต์ที่แลดูสมบูรณ์(อุปมาดั่งคนที่มีรูปนามพร้อมเช่นกัน) พร้อมที่จะทํางาน แต่มันจะโลดแล่นไปยังสถานที่ที่เราต้องการจะไปหาได้ไม่ ถ้าขาดองค์ประกอบคือพลขับอันคือวิญญาณที่จะเป็นผู้พาไปสู่จุดหมาย(กิจนั้นๆ) ดังนั้นเมื่อวิญญาณเกิดขึ้นจึงทำให้นาม-รูปครบองค์ ตื่นตัวพร้อมการทำงานอย่างสมบูรณ์ จึงเหมือนดั่งรถยนต์ที่พร้อมบริบูรณ์ พร้อมพลขับ จึงเกิดการขับโลดแล่นไปสู่จุดหมายได้ตามหน้าที่แห่งรถยนต์อย่างครบองค์โดยสมบูรณ์, ท่านจึงตรัสไว้ว่า วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นาม-รูป อันคือ ครบองค์การทำงานของชีวิต, เมื่อนาม-รูป ครบองค์หรือพร้อมการทำงานในสังขารกิเลสหรือกิจนั้นๆอย่างเต็มตัวแล้ว จึงเป็นเหตุปัจจัยให้กระบวนธรรมดำเนินต่อไปดังนี้​
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    นาม-รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    หรือ
    ระบบชีวิต เกิดการทํางานเพราะมีเหตุปัจจัยครบ
    เป็นปัจจัยจึงทําให้
    ระบบรับความรู้สึกต่างๆทั้ง ๖ หรือสฬายตนะตื่นตัว เกิดความพร้อมในกิจนั้นๆด้วย
    เพราะนาม-รูปที่ครบองค์ประกอบในการทํางานได้เกิดขึ้นแล้ว อันย่อมทําให้อุปกรณ์หรืออวัยวะส่วนต่างๆ คืออวัยวะส่วนรับรู้ความรู้สึกต่ออารมณ์หรือสิ่งแวดล้อมอันมากระทบนั้นๆ ที่เรียกกันว่าอายตนะภายในหรือทวาร ๖ พร้อมในการทํางานอย่างตื่นตัวไปด้วย เพราะอายตนะภายในหรือทวาร ๖ นั้นต่างล้วนอาศัยอยู่ในนามรูปหรือชีวิตนี้นี่เอง จึงย่อมตื่นตัวพร้อมทำหน้าที่แห่งตนในกิจนั้นๆ ที่เนื่องกัน อันมี ๖ คือ
    ตา - พร้อมรับรู้การกระทบกับรูป
    หู - พร้อมรับรู้การกระทบกับเสียง
    จมูก - พร้อมรับรู้การกระทบกับกลิ่น
    ลิ้น - พร้อมรับรู้การกระทบกับรส
    กาย - พร้อมรับรู้การกระทบกับสัมผัสทางกาย (โผฏฐัพพะ)
    ใจ - พร้อมรับรู้การกระทบกับความคิด ความนึก (ธรรมารมณ์)ที่เกี่ยวเนื่องพัวพันในกิจนี้
    ถ้าจะเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือเป็นไปในลักษณะบุคคลาธิษฐานเป็นภาพพจน์ขึ้น ก็อุปมาได้ดั่งเบรคของรถยนต์ว่าเป็นอายตนะภายในอันหนึ่ง รถยนต์เมื่อจอดอยู่กับที่ก็เหมือนคนที่ตามปกติแม้มีรูปนามครบถ้วนบริบูรณ์อยู่นั่นเอง แต่เมื่อยังไม่ได้ทำงานตามหน้าที่อย่างครบองค์ประกอบ กล่าวคือเหมือนรถยนต์ที่ยังไม่มีคนขับ(วิญญาณ)เกิดขึ้นนั่นเอง เมื่อยังไม่ได้ออกไปขับโลดแล่นนั้น เมื่อเหยียบเบรคลงไปก็ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นผลออกมา แต่เมื่อมีพลขับหรือวิญญาณเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนยานพาหนะไปสู่จุดหมาย รถยนต์ก็เกิดการทำงานที่ครบถ้วนบริบูรณ์ สามารถขับเคลื่อนไปตามที่ต่างดังประสงค์ ย่อมครบองค์บริบูรณ์ของรถ คือไว้ขับโลดแล่นไปสู่จุดหมายต่างๆตามต้องการ และเมื่อท่านเหยียบเบรคอันเปรียบได้ดั่งอายตนะนั่นเองให้ทำงาน เบรคนั้นอันเป็นส่วนหนึ่งของรถยนต์เหมือนดั่งอายตนะ ก็เกิดการทำงานตามหน้าที่ของเบรคอย่างสมบูรณ์ คือหยุดรถได้ตามหน้าที่แห่งตนนั่นเอง
    สฬายตนะในปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับนาม-รูปนั่นเอง ที่กล่าวถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในลักษณะของนามธรรม หรือการครบองค์ในการประกอบกิจการงานหรือหน้าที่นั้นๆที่เกี่ยวข้องกับสังขารที่เกิดขึ้นมาข้างต้น, ส่วนอายตนะภายในที่มีความหมายเหมือนกันว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นไปในลักษณะเป็นอวัยวะหนึ่งๆของร่างกาย คือทวารที่หมายถึง ประตูที่ใช้เชื่อมต่อกับโลกภายนอกทั้ง ๖​
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    หรือ
    ระบบรับรู้ความรู้สึกในการสัมผัสตื่นตัวทำงาน
    จึงเป็นปัจจัยให้เกิด
    การกระทบสัมผัส(ผัสสะ)​
    เมื่อกายและบริวารทั้งหลายตื่นตัวหรือทํางานอย่างสมบูรณ์ทั่วพร้อม จึงย่อมเกิดการรับรู้ในสังขารข้างต้นอันเป็นสิ่งที่มากระทบ ดังเช่น ความคิดนึก ดังนั้นจึงเกิดการสื่อสารอย่างครบถ้วนทางกายภาพ ดังพุทธพจน์ที่ท่านตรัสไว้ว่าเกี่ยวกับ ผัสสะ ไว้ดังนี้​
    บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง๓ เป็นผัสสะ​
    อันพอที่จะนำมาเขียนเป็นสมการธรรม เพื่อให้แลดูเข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อการโยนิโสมนสิการได้ดังนี้ (ชี้ที่ลูกศร มีคำอธิบายประกอบ)
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] จักษุวิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    ดังนั้นสังขารในปฏิจจสมุปบาทธรรมหรือก็คือความคิดนึกหรือธรรมารมณ์ชนิดหนึ่งนั่นเอง แต่เป็นความคิดนึกชนิดที่เกิดมาจากสัญญาความจําชนิดที่ทําให้จิตขุ่นมัว(อาสวะกิเลส) อันเมื่อเกิดแล้วย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ จึงเกิดขึ้นครบองค์ประกอบของการสื่อสารอย่างครบถ้วนทางกายภาพ เช่นกัน อันเขียนเป็นสมการธรรมหรือกระบวนธรรมให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น ดังนี้
    ธรรมารมณ์(สังขาร) [​IMG] ใจ [​IMG] วิญญาณของใจหรือมโนวิญญาณ[​IMG] ผัสสะ หรือเขียนดังนี้ว่า
    ธรรมารมณ์(สังขาร) [​IMG] ใจ [​IMG] มโนวิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    นอกจากทางสังขารอันเกิดแต่อาสวะกิเลสนี้แล้ว สฬายตนะหรือเหล่าอายตนะภายในนั้น ต้องทำหน้าที่รับการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)การรับรู้ต่างๆผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันมิได้สังขารหรือปรุงแต่งขึ้นเอง แต่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นแหละที่สอดส่ายไปตามลีลาชีวิตออกไปกระทบสัมผัสในสิ่งต่างๆเป็นธรรมดาด้วยเช่นกัน เพราะเป็นกระบวนการธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมดาๆ และเมื่อเกิดการผัสสะกันก็ย่อมมีวิญญาณการรับรู้นั้นๆเกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วยเช่นกัน แต่การผัสสะของอายตนะเองเหล่านี้ อาจก่อทุกข์หรือไม่ก่อทุกข์ก็ได้ ขึ้นกับเราเองเป็นสําคัญว่ามีวิชชาหรืออวิชชา, จึงพอนํามาเขียนเป็นกระบวนธรรมเพื่อไว้นำไปศึกษาในเรื่องขันธ์ ๕ ได้ดังนี้
    รูป [​IMG] ตา [​IMG] วิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    เสียง [​IMG] หู [​IMG] วิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    กลิ่น [​IMG] จมูก [​IMG] วิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    รส [​IMG] ลิ้น [​IMG] วิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    สัมผัส [​IMG] กาย [​IMG] วิญญาณ[​IMG] ผัสสะ
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    หรือ
    การประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ คือกระทบสัมผัสกันครบองค์
    เป็นปัจจัย ทําให้
    เกิดความรู้สึกรับรู้ ในอารมณ์ที่กระทบสัมผัสนั้นๆ​
    เมื่อเกิดการผัสสะการกระทบสัมผัสกันแล้วอย่างสมบูรณ์ ย่อมต้องเกิดเวทนาการเสวยอารมณ์ อันคือความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่มาผัสสะนั้นพร้อมทั้งความจําได้ในสิ่งที่มาผัสสะนั้นอันเกิดแต่สัญญาจํา(อาสวะกิเลสที่นอนเนื่องอยู่คือสัญญาจําชนิดแฝงกิเลสนั่นเอง) จึงเกิดเป็นความรู้สึกในการรับรู้ ชนิดต่างๆขึ้นมาได้คือ ชอบใจ สบายใจ ถูกใจในสิ่งที่มาผัสสะนั้น(สุขเวทนา), ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ไม่ถูกใจในสิ่งที่มาผัสสะนั้น(ทุกขเวทนา), หรือเกิดความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เฉยๆไม่มีความรู้สึกสบายใจหรือไม่สบายใจแต่อย่างใด(อทุกขมสุข) อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา, จึงเกิดเป็นเวทนาชนิดต่างๆก็จากสัญญาจําได้ ในสิ่งที่มากระทบผัสสะอันได้สั่งสมหมักหมมไว้นั้นนั่นเอง กล่าวคือสัญญาจําได้ส่วนนี้ ก็คือจากสิ่งที่เรียกกันว่าอาสวะกิเลสนั่นเอง, เวทนาจึงเป็นองค์ธรรมที่เป็นสภาวธรรมชาติ จึงเป็นไปตามธรรมชาติของกระบวนการรับรู้อันเป็นธรรมดาของชีวิต แต่สามารถเป็นเหตุปัจจัยที่สําคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นทุกข์ได้เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวะธรรม(อวิชชา) จึงปล่อยให้เป็นไปโดยไม่รู้และไม่มีสติรู้ตัว
    กระบวนธรรมที่เกิดขึ้น จึงเป็นไปดังนี้
    ธรรมารมณ์(สังขาร) [​IMG] ใจ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจํา(จากอาสวะกิเลส) [​IMG] เวทนาเป็นสุข, ทุกข์, ไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแน่นอน
    หรือเขียนแสดงโดยละเอียดขึ้น ได้ดังนี้
    อาสวะกิเลสที่พรั่งพร้อมด้วยอวิชชา...ดังนั้นเมื่อเกิดธรรมารมณ์(สังขาร) [​IMG] ใจ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจํา(อาสวะกิเลสข้างต้นเกิดทำงานหรือผุดจำขึ้นได้นั่นเอง) [​IMG] เวทนา​
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    หรือ
    "ความรู้สึกที่เกิดขึ้น จากการรับรู้ในอารมณ์หรือคือในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ"
    เป็นปัจจัยทําให้
    เกิดความรู้สึกทะยานอยากหรือไม่อยาก ใน"ความรู้สึกรับรู้"ที่เกิดขึ้นนั้นๆ​
    สิ่งที่ควรรู้ไว้อย่างหนึ่งในการโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทธรรมคือ เป็นธรรมหรือธรรมชาติอย่างหนึ่งของ เวทนาที่เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น ล้วนเป็นเวทนาชนิดมีอามิส เพราะล้วนเกิดมาแต่องค์ธรรมสังขารที่ย่อมแฝงกิเลสอันเกิดมาแต่อาสวะกิเลสและอวิชชานั่นเอง ดังนั้นเมื่อเกิดเวทนาความรู้สึกรับรู้และจําเข้าใจในสิ่งที่ผัสสะขึ้นแล้ว จิตย่อมเกิดแรงปฏิกริยาตอบโต้ต่อความรู้สึกที่รับรู้ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นตัณหาหรือความปรารถนานั่นเอง กล่าวคือย่อมเกิดความรู้สึกอยาก หรือไม่อยากในเวทนานั้นๆขึ้นมา จึงเสมือนหนึ่งกฎธรรมชาติดังกฏทางฟิสิคส์เรื่องแรงกริยาและแรงปฏิกริยา(Action&Reaction)นั่นเอง เหมือนการปาลูกบอลล์ ใส่กําแพงย่อมต้องมีแรงปฏิกริยาเด้งกลับมาเป็นธรรมดาหรือโดยธรรมชาติ หรือดั่งมือไปถูกของร้อนๆแล้วเกิดแรงปฏิกริยาสะดุ้งโดยธรรมชาติ อันสามารถกล่าวได้ว่าเป็นสภาวธรรมของปุถุชนผู้มีชีวิตอันย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา, ตัณหาจึงเป็นสภาวธรรมที่ก่อโทษก่อทุกข์ให้แก่ปุถุชนเป็นธรรมดาเพราะความที่ไม่มีวิชชา จึงย่อมไม่รู้ และไม่มีสติเท่าทันตามความเป็นจริงของการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ หรือที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่าอวิชชา
    เหตุที่ตัณหาต้องเกิดมาร่วมด้วยกับการเกิดขึ้นของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาทธรรม ก็เพราะว่า เวทนาที่เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทธรรมนั้น ล้วนเป็นเวทนามีอามิสเพราะล้วนเกิดมาแต่สังขารที่ย่อมแฝงกิเลสอันเกิดมาแต่อาสวะกิเลสและอวิชชานั่นเอง​
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    หรือ
    ความปรารถนาหรือความรู้สึกทะยานอยากหรือไม่อยากใน"ความรู้สึกรับรู้"ที่เกิดขึ้นนั้น
    เป็นปัจจัยทำให้เกิด
    ความหมายมั่นในตัณหาหรือในความปรารถนาของตัวของตนที่เกิดขึ้นนั้น​
    เมื่อมีความปรารถนาหรือความทะยานอยากหรือไม่อยากในสิ่งใดแล้ว จิตจักหยุดนิ่งอยู่เฉยๆได้อย่างไร มันยังเป็นเพียงนามธรรมเป็นเพียงความรู้สึก ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเป็นตัวเป็นตนดังที่ยึดหมายไว้ขึ้นมาจริง เพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์หรือสัมฤทธิ์ผลดังกล่าว โดยธรรมชาติของจิต(เป็นธรรมชาติเช่นกัน แต่เป็นชนิดก่อให้เกิดทุกข์)จึงกระตุ้นเร้าทุกวิถีทาง แม้แต่สร้างมายาจิตต่างๆนาๆขึ้นมา ก็เพื่อให้พยายามให้ได้ในสิ่งที่ทะยานอยากนั้นๆ หรือกระตุ้นให้ผลักไสในสิ่งที่ไม่อยากนั้นๆ โดยมีเหยื่อล่อที่สามารถหลอกล่อมนุษย์ชาติได้มาตลอดทุกยุคทุกกาลสมัย คือให้ผลตอบแทนเป็น"ความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนที่จะได้รับ" ดังนั้นจึงเป็นความพึงพอใจหรือสุขที่แฝงไปด้วยกำลังของตัณหาความทะยานอยากหรือความปรารถนาของตัวของตนล้วนสิ้นนั่นเอง ดังนั้นการกระทำใดไม่ว่าทางกาย วาจา หรือใจ จึงล้วนแอบมุ่งหวังอยู่ที่เพื่อตอบสนองตัวตนของตนเป็นที่สุดอยู่ในที แต่โดยไม่รู้ตัว
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    หรือ
    ความหมายมั่นยึดมั่นให้เป็นไปตามความปรารถนาของตัวของตน
    จึงเป็นปัจจัยให้เกิด
    ภพ สภาวะหรือที่อยู่ที่อาศัยของจิต หรือการตกลงใจของจิตในขณะนั้น อันเป็นไปตามกำลังของอุปาทาน​
    เมื่อเกิดการยึดมั่นหมายมั่นด้วยกิเลสที่จะกระทำใดๆเพื่อให้เกิดความพึงพอใจเพื่อสนองตัวตน ให้เป็นไปตามตัณหาที่เกิดขึ้น จึงเกิดภพที่หมายถึงภพของจิต, ที่อาศัยของจิต, จึงหมายถึง สภาวะของจิตภายใต้กำลังของอุปาทานที่เกิดขึ้นนั้น นั่นเอง จึงมีความหมายว่า สภาวะต่างๆของจิตหรือภพจิตในขณะนั้นอันเป็นไปหรืออยู่ในการควบคุมหรืออิทธิพลของอุปาทานนั่นเอง ดังนั้นภพจึงหมายความถึง สภาวะของจิตหรือการตกลงใจของจิตในขณะนั้น โดยทั่วไปที่ย่อมต้องถูกครอบงำให้เป็นไปตามกระแสของความยึดมั่นด้วยกิเลสเพื่อความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญที่เกิดขึ้น
    ภพในปฏิจจสมุปบาทธรรม ถ้ากล่าวอย่างโลกุตระหรือภาษาธรรมดังเรื่องของวิญญาณ ย่อมหมายถึงภพจิต หรือภพของจิต ที่หมายถึงสภาวะของจิตในช่วงขณะหนึ่งๆ แบ่งตามสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นเป็น ๓ อันมี
    ๑. กามภพ ในปฏิจจสมุปบาทจึงหมายถึง สภาวะจิตภายใต้อำนาจของอุปาทานที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม เกี่ยวข้องอยู่กับทางโลก จึงครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทางโลก ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ทั้ง ๕, คือสภาวะจิตที่ทะยานอยากในกาม คืออยากได้หรืออาจไม่อยากได้ในอารมณ์อันคือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ กล่าวคือเกิดจากกามตัณหาดังที่กล่าวข้างต้น
    ๒. รูปภพ จึงหมายถึง สภาวะจิตภายใต้อุปาทานของผู้ที่เข้าถึงรูปฌาน ที่ครอบคลุมแม้ในวิถีจิตขณะดำเนินชีวิตเป็นปกติแต่ยังอยู่ภายใต้อำนาจบางส่วนของรูปฌานอยู่ กล่าวคือเกิดจากภวตัณหา, หรือหมายถึงสภาวะจิตที่ทะยากอยากในภพหรือสภาพของความอยากในทางธรรมารมณ์ จึงอยากเป็นนั่นเป็นนี่
    ๓. อรูปภพ จึงหมายถึง สภาวะจิตภายใต้อุปาทานของผู้ที่เข้าถึงอรูปฌาน แม้ในวิถีจิต, หรือความทะยานอยากในวิภพ หรือก็คือสภาพของไม่อยากในสิ่งต่างๆพวกธรรมมารมณ์นั่นเอง ดังเช่น อยากไม่ให้เป็นอย่างนั้น,ไม่ให้เป็นอย่างนี้(ซึ่งมีความหมายเดียวกับ "่ไม่อยากให้เป็นนั่น, ไม่อยากให้เป็นนี่" นั่นเอง), อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย กล่าวคือเกิดจากวิภวตัณหา หรืออาจพิจารณาหมายถึง สภาวะจิตที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น,ไม่อยากให้เป็นไปทางธรรมารมณ์
    อนึ่งพึงพิจารณาด้วยว่า เมื่อเกิดภพขึ้นแล้ว ย่อมหมายถึงกำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งในเบื้องหน้า กล่าวคือกามภพและแม้แต่รูปภพหรืออรูปภพที่แม้เป็นสุขอันประณีตยิ่งแต่เมื่อเกิดจากตัณหา [​IMG] อุปาทานเป็นเหตุเป็นปัจจัย กล่าวคือเกิดการติดเพลินหรือนันทิในความสุข ความสงบ ความสบาย หรือในองค์ฌานต่างๆ อันเป็นไปโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ย่อมหมายถึงเมื่อเป็นนันทิแล้วย่อมเป็นการดำเนินไปสู่เส้นทางของการเกิดขึ้นของความทุกข์ในที่สุดในภายหน้า แม้ในขณะนั้นๆ(หรือวงจรรอบนี้)อาจกำลังเป็นสุขอย่างยิ่งในภพนั้นๆก็จริงอยู่ แม้ไม่ได้เกิดความทุกข์ที่รู้สึกเร่าร้อนขึ้นเลยในครานี้และยังเป็นสุขยิ่งด้วย เหตุเพราะการเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสโดยไม่รู้ตัวและไม่มีทางเลือกคือปริเทวะคือถวิลหา อันเป็นธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง กล่าวคือแม้ยังไม่เกิดทุกข์ ณ บัดนี้ ตามวงจรรอบนี้ที่เคลื่อนไหลอยู่ก็ตามที แต่จักยังให้กำเริบเสิบสานเป็นทุกข์อย่างแน่นอนด้วยอาสวะกิเลส ในวงจรแห่งทุกข์ในภายหน้าเป็นที่สุด
    จึงกล่าวได้ว่า ภพที่ให้ความสุขยิ่งแม้ในขณะนั้นๆ ล้วนเป็นมายาจิตที่ล่อลวงปุถุชนที่สำคัญยิ่ง จึงพากันถูกล่อลวงไปเสพเพลินโดยไม่รู้ตัวและไม่รู้โทษที่จักเกิดขึ้นในภายหน้าด้วยอวิชชา​
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาต
    หรือ
    เมื่อเกิดสภาวะหรือการตกลงใจเป็นที่อาศัยของจิต
    จึงเป็นปัจจัยเริ่ม
    การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์​
    เมื่อจิตได้คูหาหรือสถานที่ หรือสภาวะจิตที่ได้ตกลงใจตามกระแสอุปาทานแล้ว ดังนั้นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นแก่จิตต่อๆไปจึงย่อมได้รับอิทธิพลหรือถูกครอบงำให้เป็นไปตามภพที่บังเกิดขึ้น ณ บัดนี้ ลองพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นดังเช่น มนุษย์ที่เกิดมาในภพคนไทย ย่อมได้รับอิทธิพลของความเป็นคนไทยโดยอัติโนมัติจะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม คือเป็นอยู่อย่างไทยๆ คิดอย่างไทยๆ กินอาหารอย่างไทยๆ วัฒนธรรมแบบไทยๆ ฯลฯ. เป็นเยี่ยงนี้จนกว่าจักแตกดับไป, จิตก็เป็นเฉกเช่นนั้น สิ่งที่เกิดมาในภพจิตนั้นๆหรือขันธ์ต่างๆที่จะบังเกิดขึ้น จึงย่อมต้องเป็นไปตามกำลังของภพที่ครอบงำอยู่ ณ.ขณะนั้นและมักโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในภพนั้น จึงล้วนได้รับอิทธิพลหรือครอบงำให้โน้มเอียงเป็นไปตามภพที่เกิดขึ้น ณ.ขณะนั้นๆล้วนสิ้นเช่นกัน ความคิด การกระทำต่างๆจึงเป็นไปตามกำลังของภพ อันเกิดแต่อุปาทานเป็นปัจจัยนั่นเอง
    ภพต่างๆเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เช่น ภพที่เป็นสุข ภพที่เป็นทุกข์ ภพที่เกิดเป็นคนไทย ภพของความเป็นแม่ ภพของความเป็นลูก ฯลฯ. อันล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งหรือภพย่อยๆของกามภพอันคือภพที่ยังเนื่องอยู่ในกามหรือยังเนื่องอยู่กับทางโลกนั่นเอง, และยังมีรูปภพ และอรูปภพอีกด้วย
    ดังนั้นขันธ์หรือก็คือระบบชีวิตใดๆที่เกิดสืบต่อเนื่องจากองค์ธรรมเวทนาในปฏิจจสมุปบาทธรรม แต่มีตัณหา [​IMG] อุปาทาน [​IMG] ภพ มาเกิดแทรกแซงเสีย(ดูกระบวนธรรมด้านล่างประกอบการพิจารณา) ก็จะดำเนินเกิดสืบต่อเนื่องที่องค์ธรรมชาตินี้นี่เอง หรือก็คือการเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์ (ดูความหมายของคำว่า ชาติ โดยละเอียด) แต่ขันธ์หรือระบบชีวิตที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากองค์ธรรมเวทนามีอามิสเหล่านี้ ย่อมล้วนถูกครอบงำล้วนสิ้นไปตามกำลังภพหรืออุปาทานแล้วนั่นเอง หรือกล่าวได้ว่าสัญญาหมายรู้ต่างๆที่ต้องเกิดสืบเนื่องต่อไปนั้นจึงเป็นสัญญาการหมายรู้ที่แอบแฝงกิเลสคือความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญ จึงย่อมหมายรู้แอบแฝงแต่สิ่งที่สร้างความพึงพอใจของตัวของตนเป็นสำคัญ คือกลายเป็นอุปาทานสัญญา(สัญญูปาทานขันธ์)อันก่อทุกข์นั่นเอง ดังนั้นสังขารขันธ์ที่ย่อมต้องเกิดขึ้นต่อเนื่องจากอุปาทานสัญญาอันเป็นไปตามกระบวนธรรมของชีวิตนั้น จึงย่อมถูกครอบงำหรือโน้มเอียงเป็นอุปาทานขันธ์(อุปาทานสังขารขันธ์ - สังขารูปาทานขันธ์)ไปด้วย จึงเกิดขึ้นเป็นไปดังกระบวนธรรมนี้
    ธรรมารมณ์(สังขาร) [​IMG] วิญญาณ [​IMG] ใจ(สฬายตนะ) [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] ตัณหา [​IMG] อุปาทาน [​IMG] ภพ [​IMG] ชาติ (คือเกิด อุปาทานสัญญา [​IMG] อุปาทานสังขารขันธ์ ขึ้นเป็นลำดับ)
    เมื่อเกิดอุปาทานสัญญา(สัญญูปาทานขันธ์)ขึ้นคือความหมายรู้ที่ประกอบด้วยอุปาทานคือกิเลสเพื่อความพึงพอใจของตัวตน จึงเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานสังขารขันธ์ต่างๆขึ้น ที่หมายถึงเจตนาทางใจให้เกิดการกระทำต่างทางกาย วาจา หรือใจ แต่ย่อมล้วนประกอบด้วยอุปาทานคือประกอบด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลสที่เป็นไปเพื่อตัวเพื่อตนโดยไม่รู้ตัวอันเนื่องมาจากสัญญูปาทานขันธ์นั่นเอง จึงหมายรู้เป็นไปตามกิเลสที่ครอบงำ และถ้าเป็นไปตามปรารถนาหรือตัณหาอุปาทานที่เกิดขึ้นนั้น หรือก็คือดับทุกข์จากตัณหานั้นๆลงไปได้ ก็เรียกกันโดยสมมติว่า สุข แต่แม้เป็นสุข แต่กระบวนธรรมยังไม่หยุดเสียเป็นธรรมดา ยังคงปล่อยให้มีการเอาอุปาทานสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นมาข้างต้นนั้น มาคิดนึกปรุงแต่งเสพสุขดำเนินต่อไปในองค์ธรรมชรา โดยไม่รู้ตัวตามประสาปุถุชนได้อีกด้วย
    แต่ถ้าไม่เป็นไปตามปรารถนา หรือไม่เป็นไปตามตัณหาอุปาทานที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดสิ่งที่เราเรียกว่า ทุกข์อันเร่าร้อนขึ้นทันที และยังไม่จบสิ้นเพียงเท่านั้น ยิ่งนำเอาอุปาทานสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นมาข้างต้นนั้นมาวนเวียนปรุงแต่งให้ยิ่งเร่าร้อนเผาลนยิ่งๆขึ้นไปในองค์ธรรมชรา ที่ครานี้เปรียบได้ดั่งนรกอันร้อนรุ่มเผาลนกระวนกระวาย อันล้วนเป็นไปโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
    [​IMG]
    ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา-มรณะ โสกะ,ปริเทวะ,ทุกข์,โทมนัส,อุปายาส หรืออาสวะกิเลส
    หรือ
    การเกิดขึ้นของทุกข์
    เป็นปัจจัยจึงมี
    ชรา-มรณะ รวมทั้ง โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (อาสวะกิเลส)​
    ที่ชรานี้นี่เอง ที่เป็นอุปาทานทุกข์ คือ เป็นที่เกิดของอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ ที่เกิดในลักษณะอย่างวนเวียนเป็นวงจร และแสนเร่าร้อน
    เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยเป็นธรรมดาหรือตถตา ย่อมมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพระไตรลักษณ์ อันเป็นปรมัตถ์ เกิดขึ้นเป็นที่สุดด้วยทุกคราไป, ดังนั้นเมื่อกองทุกข์อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆดังข้างต้นได้เริ่มเกิดขึ้นแล้ว จึงย่อมต้องเป็นไปตามกฎอนิจจังไม่เที่ยงเช่นกัน จึงมีการแปรปรวนต่างๆนาๆไปขณะระยะหนึ่ง กล่าวคือเกิดการแปรปรวนปรุงแต่ง(ชรา)ต่างๆนาๆไปตามกำลังของภพที่ครอบงำหรืออุปาทานนั่นเอง จนในที่สุดทุกขังก็จะทำหน้าที่ต่อจากอนิจจังอย่างปรมัตถ์เช่นกัน คือแสดงความคงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไป(มรณะ)ในที่สุดจะโดยเหตุใดๆก็ตามที ดังเช่นเกิดการเบี่ยงเบนหรือบดบังหรือดับไปโดยธรรมหรือธรรมชาติก็ได้ แล้วอนัตตาจึงสำแดงขึ้นหรือบังเกิดขึ้นตามปรมัตถ์ ​
    (ดูความหมายของคำว่า ชรา) (ดูความหมายของคำว่า มรณะ)
    ภาพแสดงอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ในองค์ธรรมชราที่ย่อมมีอาการแปรปรวน คือปรุงแต่งวนเวียนเป็นวงจรของทุกข์อันเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาในชรานั้น
    อันจะเกิดต่อสืบเนื่องจาก อุปาทานสังขารขันธ์ในองค์ธรรมชาติ ที่แสดงรายละเอียดไว้ในข้างต้น
    กล่าวคือ อุปาทานสังขารขันธ์ในชาติ ข้างต้นที่เกิดขึ้นมานั้น จะถูกหยิบยกเอามาปรุงแต่งอีก กล่าวคือ
    ไปทำหน้าที่เป็นรูปูปาทานขันธ์(อุปาทานรูป) แล้วเกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ดำเนินต่อๆไป ดังวงจรในองค์ธรรมชราอันแปรปรวนวนเวียนเป็นทุกข์อยู่นานๆ​
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 4mm; MARGIN-BOTTOM: 0mm" width=758 align=center bgColor=white background=Beige.jpeg border=1><TBODY><TR><TD width=748>
    .....ตัณหา → อุปาทาน → ภพ → ชาติ รูปูปาทานขันธ์ + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์ [​IMG] [​IMG]เวทนูปาทานขันธ์ → มรณะ → อาสวะกิเลส →.....
    [​IMG] อุปาทานขันธ์๕ อันคือ คิดปรุงแต่งในชราอันเผ็ดร้อนเป็นทุกข์ [​IMG]
    สังขารูปาทานขันธ์ เช่นคิดที่เป็นทุกข์ [​IMG] สัญญูปาทานขันธ์
    ในวงจรแสดงความวนเวียนเร่าร้อนด้วยเหล่าอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เพราะล้วนถูกครอบงําโดยอุปาทานแล้ว​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันล้วนแล้วแต่เป็นอุปาทานขันธ์ที่เกิดๆดับๆ หรือทำๆหยุดๆ ที่ท่านกล่าวว่าเป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน
    ดูภาพวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างละเอียดทั้งวงจรใหญ่ เพื่อประกอบการพิจารณา คลิกที่นี่[​IMG]
    เมื่อเกิดการแปรปรวนปรุงแต่งเยี่ยงนี้ ยาวนานเผ็ดร้อนเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับกำลังของตัณหาแลอุปาทานที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดการแทรกแซงเบี่ยงเบนโดยธรรมหรือสิ่งอื่นๆ หรือการมีสติกลับมา แล้วก็ย่อมต้องดับไปหรือมรณะในที่สุดตามกฏพระไตรลักษณ์ แต่ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นในกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์นี้ เนื่องจากขันธ์หรือชีวิตยังไม่แตกดับ จึงยังฝากรอยแผลเป็นที่จารึกไว้ที่จิตอันมิสามารถลบเลือนได้อย่างเด็ดขาด กล่าวคือแม้เหมือนจำไม่ได้ก็จริงอยู่ แต่ผลนั้นยังนอนเนื่อง นั้นยังมีอยู่, จิตนั้นจักจำได้ในทุกข์หรือสุขต่างๆที่ได้เกิดขึ้นมาแล้วแต่อดีตนั้น อันเป็นสภาวธรรมของชีวิตในการจำได้(สัญญา)ในสิ่งต่างๆนั่นเอง อันมิสามารถที่จะตัดทิ้งหรือเลือกจำได้ และต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการยังชีวิตอย่างยิ่งเช่นกัน ดังนั้นทุกข์หรือสุขต่างๆที่เคยเกิดเคยเป็นขึ้นมาเหล่านั้น จึงย่อมถูกบันทึกจดจำอยู่ในอณูจิตหรือก็คือในหทัยวัตถุโดยไม่รู้ตัว แต่เป็นไปในสภาพที่นอนเนื่องแอบซ่อนจึงแอบหมักหมมอยู่ ที่รอวัน รอเวลาที่จะกำเริบก่อให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นอีกในภายภาคหน้า หรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกสัญญาในสิ่งดังนี้โดยเฉพาะว่า อาสวะกิเลส อันประกอบด้วย โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ตามที่ได้บรรยายมาแล้วโดยละเอียดในเรื่องปฏิจจสมุปบาท, อันล้วนแล้วแต่เป็นกิเลสที่เป็นดั่งเชื้อไฟ อันจะลุกไหม้ขึ้นใหม่อย่างง่ายดายดุจดั่งฟืนเคยไฟและไปเผาลน กระตุ้น ขับดันให้เกิดสังขารกิเลส จึงเกิดแต่อาสวะกิเลสเหล่านั้นเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชา กล่าวคือยังไม่มีวิชชาหรือความรู้ความเข้าใจในธรรมต่างๆตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์)ของพระองค์ท่านคอยกำกับ,คอยควบคุมดูแลความคิดความประพฤติต่างๆ
    ฝ่ายความสุขที่เกิดขึ้นภายในปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นไปดังนี้ เมื่อเกิดตัณหาในสิ่งใดขึ้น ย่อมเกิดอุปาทาน เกิดภพ และเกิดชาติที่เป็นไปตามปรารถนาขึ้น จึงย่อมเป็นสุข หรือก็คือดับทุกข์ลงไปได้ แม้เป็นสุขก็จริงอยู่ แต่เพราะชรา-มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสนี้นี่เอง ย่อมทำให้สุขนั้นแปรปรวน แล้วดับไป พร้อมย่อมเก็บจำแบบนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสโดยธรรม ที่เมื่อคราใดเกิดอาการปริเทวะ โหยไห้ อาลัยหาในความสุขที่เคยเกิดเคยเป็นขึ้นมาเป็นสังขารกิเลสอีกนั่นเอง จึงย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้ดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทธรรมอีกครั้ง และอีกครั้งๆๆ....ครั้งใดไม่สามารถตอบสนองได้ก็ย่อมแปรผันไปเป็นทุกข์ในที่สุด เป็นไปดังนี้เสมอๆ ด้วยเหตุดังนี้นี่เองจึงกล่าวว่า สุขก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง หรือเป็นดังคำกล่าวที่ว่า มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น จึงมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    ฝ่ายความทุกข์อันแสนเร่าร้อนเผาลนที่เกิดขึ้นแล้วในชรา แม้เสวยทุกข์อันแสนเผ็ดร้อนยาวนานไปแล้วก็จริงอยู่ แต่ก็ยังไม่จบสิ้นกันไปเท่านั้นจริงๆ เช่นเดียวกันกับสุข เพราะย่อมนอนเนื่องเป็นอาสวะกิเลสเช่นกัน ที่รอวันจะถูกกระตุ้นเร้าหรือผุดด้วยอวิชชาขึ้นมาเป็นสังขารกิเลสด้วยอวิชชาอีกครั้งหนึ่ง จึงย่อมขับเคลื่อนเลื่อนไหลให้เป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัยในปฏิจจสมปบาทธรรมอีกครั้ง และอีกครั้ง....ตลอดกาลนานหรือตราบจนกว่าจะมีวิชชาของพระองค์
    ดังนั้นอาสวะกิเลส ย่อมเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาความไม่รู้อันมีเป็นธรรมชาติของชีวิต ดำเนินการครอบงำให้ไม่เห็นตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ และวิชชาของพระองค์จะบังเกิดขึ้นมาได้ก็จากการศึกษาและปฏิบัติโดยถูกวิธี มิสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติได้ ต้องสังขารที่หมายถึงปรุงแต่งขึ้นมา แต่เป็นสังขารปรุงแต่งที่มีคุณประโยชน์ในการดับทุกข์ เป็นสังขารธรรมที่ควรทำให้มี ให้เกิด และให้เจริญยิ่งๆขึ้น(ภาเวตัพพธรรม)
    เมื่อยังไม่มีวิชชา หรือมีอวิชชานั่นเอง อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชน จึงเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอาสวะกิเลส จึงทำให้เกิดสังขารกิเลสขึ้น ที่ย่อมเป็นกระแสแห่งเหตุปัจจัยให้หมุนเคลื่อนไหลเลื่อนไปตามวงจรอีกคราหนึ่ง และจักเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาลนาน ดังนั้นวงจรของทุกข์จึงเกิดการหมุนหนุนเนื่องให้เคลื่อนเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดภพ เกิดชาติ วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอันคือการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์​
    ด้วยเหตุนี้นี่เอง เมื่อคราวองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้
    จึงปีติพระทัยเปล่งพระพุทธอุทานไปทั่วทุกโลกธาตุ ขึ้นดังนี้ว่า
    "ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไปแล้ว"

    อันบังเกิดขึ้น ณ บัดนั้น หรือ ณ ขณะจิตนั้นนั่นเอง สิ้นภพสิ้นชาติจึงมิได้หมายถึงการบังเกิดขึ้นเมื่อคราวพระองค์ท่านเสด็จสู่พระปรินิพพานแต่อย่างใด.
    แสดงเหตุปัจจัยนี้โดยละเอียด
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    พี่ จขกท หยุดดูอรูปฌาณ จะมาทำ กรรมฐานธาตุ 18 เหรอครับ


    [​IMG]
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ข้อมูลจากเว็ปนี้ ละเอียด แล้วเชื่อถือได้ค่อนข้างดี ^-^
     
  4. pop024

    pop024 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +529
    สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ

    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นเรา
     
  5. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกันนี้ จะถูกนำมาใช้อนุโลมและปฏิโลม มาก สำหรับพระอนาคามี หากพิจารณานานเข้าจิตจะดับ และจะดับหมดทุกอย่าง อวิชชาก็ดับ ความสุขก็ดับ ความทุกข์ก็ดับ ภพชาติก็ดับ ดังนั้นก่อนเข้าสู่พระนิพพาน ท่านพระอรหันต์ทั้งหลาย จะเดินฌาน ไล่ขึ้นไล่ลง จนจิตดับเข้าสู่พระนิพพานครับ หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ข้อนี้ หากเป็นพระอนาคามี ก็จะเป็นพระอรหันต์ในปัจจุบันชาตินี้ครับ
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนา
     
  7. อินทรีย์

    อินทรีย์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    อ่านแล้วได้ปัญญา ขอบคุณมากครับ
     
  8. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    โอย.......คนแก่ตาลายหมด ช่วยจัดช่องว่างให้หน่อยไม่ได้เนาะ.....มีวิธีที่ไม่ต้องอ่านไหม? มองปุ๊บ ....เข้าใจปั๊บ อะไรอย่างนั้นน่ะ....ใครมีช่วยบอกหน่อยนะ.....เฮ้อ

    ยังไม่อ่านละ Coppy ไปขยายใน Word ก่อน เข้าใจแล้วจะมาอนุโมทนานะจ๊ะ...อย่าเพิ่งลบกระทู้เสียก่อนล่ะ..ทูลหัว.
     
  9. ประเทศไทย!

    ประเทศไทย! สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2008
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +16
    ไม่ใช่อรหันต์เสมอไป

    ปัญหา ผู้ที่รู้เห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างแจ่มแจ้งทั้งสายทุกข์ ทั้งสายดับทุกข์ อย่างละเอียดถี่ถ้วน จะจัดว่าเป็นพระขีณาสพได้หรือยัง ?

    พระนารทะตอบ “ ท่านผู้มีอายุ ข้อว่าภพดับเป็นนิพพาน ผลเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ว่าผมไม่ใช่พระอรหันต์ขีณาสพ ท่านผู้มีอายุเปรียบเหมือนบ่อน้ำในหนทางกันดาร ที่บ่อนั้นไม่มีเชือก โพงจะตักน้ำก็ไม่มี ลำดับนั้น บุรุษถูกความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิวกระหายเดินมา เขามองดูบ่อน้ำนั้นก็รู้ว่ามีน้ำ แต่จะสัมผัสด้วยการไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อว่าภพดับเป็นนิพพาน ผมเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แต่ว่าผมไม่ใช่พระอรหันต์ขีณาสพ ฉันนั้นเหมือนกัน”
    โกสัมพีสูตร นิ. สํ. (๒๗๔)
    ตบ. ๑๖ : ๑๔๓-๑๔๔ ตท. ๑๖ : ๑๓๐
    ตอ. K.S. II : ๘๓
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,236
    ไปหาเชือก กับ กระเป๋งน้ำสิ
     
  11. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมตอบว่ายังครับ ต่อเมื่อเห็นชัดแจ่มแจ้งแทงตลอดของอวิชชาตัวแม่ทั้งสี่ตัว อันมี โมหะ โทสะ โลภะ ราคะ ซึ่งในตัวแม่ก็มีตัวลูกตัวหลานตัวเหลนและอื่นๆอีกมากมาย บางท่านกำจัดจากเหลนไปหาตัวแม่บางทานกำจัดจากตัวแม่ไปหาตัวเหลน แต่ขึ้นชื่อว่าเห็นหรือกำจัดได้แล้วมันก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ขอเพียงมีสติตั้งมั่นไม่ปรุงแต่งไปกับกิเลสตัวแม่ที่มีอยู่นั้นแน่นอน ก็จะเห็นผล
     
  12. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    อนุโมทนาบุญครับ สาธุ สำหรับ ธรรมทานดีๆ

    ตัดสาย ปฏิจสมุปบาท ได้ วงจรก็จะไม่ครบ แต่เอจะเริ่มตรงไหนดีน่ะ
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    นี่ขนาดย่นย่อนะนี่

    ผมจะย่นย่อให้่ฟังง่ายๆ คือ

    มองตามความจริงเกี่ยวกับจิตใจเราให้เจอ ด้วยใจเป็นกลาง แล้วจะเจอจริงยิ่งๆ ขึ้นไป
    แล้วพอเราเจอจริงที่ยิ่งกว่า เราจะทิ้่งสิ่งที่จริงน้่อยกว่าไปเอง จนเข้าถึงวิมุตติ คือ ทิ้งสมมติทั้งปวง
     
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เวลาผมพิจารณาปฏิจสมุทปบาท ผมมักจะคิดว่าข้ามไปได้ไหมอันนี้ ข้ามไปเลย ไม่ต้องพิจารณา จิตผมก็ตอบกลับมาว่า ข้ามได้ถ้าสิ่งนั้นมันไม่มี แล้วความจริงสิ่งนั้นมันมีหรือไม่มีละพิจารณาดูสิ ว่ามันมีหรือไม่มี ก่อนที่คิดจะตัดอะไรออกไปจากการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามล้วนก็ใช้หลักเดียวกัน หากความจริงแล้วมันไม่มีหรือไม่เป็นประโยชน์ก็ตัดมันทิ้งไปเลย แต่มันเป็นอย่างนั้นแน่หรือ หรือว่าคิดเอาเอง เหมือนกับบางคนบอกว่า ไม่เห็นไตรลักษณ์ของอะไรก็บรรลุก็เห็นธรรมได้ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆหรือ หากเป็นแค่ความคิด คิดผิดยังคิดใหม่ได้ แต่หากว่ามันไม่ใช่ความคิดเป็นความหลงที่เกิดขึ้นกับจิตนั้นก็ยากโขอยู่เหมือนกันที่จะแก้ไข
     
  15. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจาธิฏฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะ โว คัณหะถะอาวุธานีติ.
    ดู ก่อนพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมีคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาที่นี่โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อยุทธ์กับพญามาร (กิเลส) เถิด.
    อนุโมทนาครับ.
    บริจาคเงินช่วยวัดพระบาทน้ำพุ
    โทร.1900-222-200 6บาท/นาที
     
  16. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....เพราะความไม่รู้ว่าการเกิดเป็นทุกข์..........จิตจึงมีปฎิสนธิ(ไปเกิด)

    ...เมื่อเกิดแล้ว...มีร่างกาย(ตามกรรม) มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นช่องทางรับสัมผัส

    ...เมื่อมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นช่องทางรับสัมผัส...ก่อให้เกิดความรับรู้ รู้สึกทางกาย เห็นรูป รับรส ได้กลิ่น ได้ยินเสียง รับสัมผัส..ทั้งดี/ไม่ดี

    ...เมื่อมี ความรับรู้ รู้สึกทางกาย.......ก่อให้เกิดอารมณ์ทางใจ พอใจ ไม่พอใจ หรือ เฉยๆ

    ...เมื่อเกิดอารมณ์อย่างนั้นๆ....ก่อให้เกิดความอยาก/ไม่อยาก ไม่สิ้นสุด

    ...ความอยาก ไม่มีสิ้นสุดนี่แหละ....ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงตามเป็นจริง

    ...ความเข้าใจที่ไม่ตรงตามเป็นจริง....ก่อให้เกิด ชาติ ภพ(ตามกรรม)

    ...เกิด แล้วแก่ตัวทุกเวลา ทรุดโทรมเจ็บป่วย จากพราก แล้วตายในที่สุด...หมุนวนอย่านี้ตามกรมไม่สิ้นสุด....เพราะความไม่รู้............
     

แชร์หน้านี้

Loading...