ปฏิสัมภิทามรรค - ยุคนัทธวรรค - ๓. โพชฌงคกถา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 7 พฤศจิกายน 2009.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    <dl><dd> พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน</dd></dl> <dl><dd>ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา</dd></dl> <dl><dd>สาวัตถีนิทาน</dd></dl> <dl><dd>[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สติ</dd></dl> สัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชงฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัม
    โพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗
    ประการนี้แล ฯ
    <dl><dd>คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร</dd></dl> <dl><dd>ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้ ว่าตรัสรู้ตาม ว่า</dd></dl> ตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม
    เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌฺงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่า
    ให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้ตรัสรู้เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้
    เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปใน
    ธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าเป็นไปในฝ่าย
    ธรรมเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่องตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ
    อรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุงความ
    ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความตรัสรู้ ฯ
    <dl><dd>[๕๕๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะอรรถว่าประพฤติตามอรรถที่เป็น</dd></dl> มูล เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร เพราะอรรถว่า
    มีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในธรรม
    อันเป็นมูล เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ
    ในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความ
    แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถว่าประพฤติตามเหตุ ... เพราะ
    อรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในเหตุชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญ
    ในความแตกฉานในเหตุ เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถว่าประพฤติตามปัจจัย ... เพราะ
    อรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญ
    ในความแตกฉานในปัจจัย เพราะอรรถว่าหมดจด เพราะอรรถว่าประพฤติหมดจด ... เพราะอรรถว่า
    เจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญ
    ในความแตกฉานในความหมดจด เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีโทษ ...
    เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้
    ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าเป็นเนกขัมมะเพราะอรรถว่า
    ประพฤติเนกขัมมะ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์
    แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น เพราะอรรถว่า
    ประพฤติหลุดพ้น ...เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่า
    โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น เพราะอรรถว่าไม่มี
    อาสวะ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีอาสวะ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานใน
    ความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มี
    อาสวะ เพราะอรรถว่าเป็นวิเวก เพราะอรรถว่าประพฤติวิเวก ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ
    ในความแตกฉานในวิเวกชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก
    เพราะอรรถว่าปล่อยวาง เพราะอรรถว่าประพฤติปล่อยวาง เพราะอรรถว่ากำหนดความปล่อยวาง
    เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามี
    ความปล่อยวางแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉาน
    ในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ชื่อว่า
    โพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯ
    <dl><dd>[๕๕๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็น</dd></dl> เหตุ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพอันหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพอันไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้
    สภาพอันเป็นเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพวิมุติว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพวิเวก ว่าตรัสรู้
    สภาพปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ
    ธรรมอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ
    หมดจด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้
    สภาพความประพฤติวิมุติ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ
    วิเวก ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ
    ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร ฯลฯ ว่าตรัสรู้
    สภาพมีความปล่อยวางเป็นบริวาร ว่าตรัสรู้สภาพมีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมี
    ความปล่อยวางบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า ฯลฯ ว่าตรัสรู้ธรรมอันมีความ
    ปล่อยวางแก่กล้า ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉาน
    ในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพอัน
    ให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความเจริญความชำนาญในความแตกฉาน
    ในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความ
    ปล่อยวาง ฯลฯ ฯ
    <dl><dd>[๕๖๐] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความกำหนด ว่าตรัสรู้สภาพบริวาร</dd></dl> ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิตมีอารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ฟุ้งซ่าน
    <dl><dd>ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ ว่าตรัสรู้สภาพความไม่แพร่ไป ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ขุ่นมัว ว่าตรัสรู้</dd></dl> สภาพไม่มีกิเลสเครื่องหวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งอยู่แห่งจิต ด้วยสามารถความปรากฏโดยความมี
    อารมณ์เดียว ว่าตรัสรู้สภาพอารมณ์ ว่าตรัสรู้สภาพโคจร ว่าตรัสรู้สภาพละ ว่าตรัสรู้สภาพสละ
    ว่าตรัสรู้สภาพการออกไป ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไป ว่าตรัสรู้สภาพละเอียด ว่าตรัสรู้สภาพ
    ประณีต ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพการข้ามไป ว่าตรัสรู้
    สภาพนิพพานอันไม่มีนิมิตร ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันว่างเปล่า
    ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันมีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สภาพ
    ธรรมที่เป็นคู่กัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมเครื่องนำออก ว่าตรัสรู้สภาพแห่งเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพทัสนะ
    ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ฯ
    <dl><dd>[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ว่าตรัสรู้ความ</dd></dl> พิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสนา ว่าตรัสรู้
    ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน ว่าตรัสรู้ความสมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่ง
    อารมณ์ ว่าตรัสรู้ความประคองจิตที่หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉย
    แห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสองอย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง
    ว่าตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ฯ
    <dl><dd>[๕๖๒] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฯลฯ</dd></dl> ว่าตรัสรู้ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวไปในความ
    เป็นผู้ไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชาแห่งปัญญาพละ ชื่อ
    ว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาหา
    ทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเห็นชอบแห่งสัมมาทิฐิ ฯลฯ
    ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเป็นใหญ่แห่ง
    อินทรีย์ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวแห่งพละ ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งโพชฌงค์ ว่าตรัสรู้ความ
    เป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ว่าตรัสรู้ความตั้งไว้แห่งสัมมัปปธาน ว่า
    ตรัสรู้ความให้สำเร็จแห่งอิทธิบาท ว่าตรัสรู้ความเป็นธรรมแท้แห่งสัจจะ ว่าตรัสรู้ความระงับแห่ง
    ประโยค ว่าตรัสรู้ความทำให้แจ้งแห่งผล ว่าตรัสรู้ความตรึกแห่งวิตก ว่าตรัสรู้ความตรองแห่งวิจาร
    ว่าตรัสรู้ความแผ่ซ่านแห่งปีติ ว่าตรัสรู้ความไหลไปแห่งสุข ว่าตรัสรู้ความมีอารมณ์เดียวแห่งจิต ฯ
    <dl><dd>[๕๖๓] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึก ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้ง</dd></dl> ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ ว่าตรัสรู้สภาพสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดพิจารณา ว่าตรัสรู้สภาพสละแห่งปหานะ ว่า
    ตรัสรู้สภาพมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งภาวนา ว่าตรัสรู้สภาพควรถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ว่าตรัสรู้
    สภาพเป็นกองแห่งขันธ์ ว่าตรัสรู้สภาพทรงไว้แห่งธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะ
    ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม ฯ
    <dl><dd>[๕๖๔] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพที่มีอยู่ใน</dd></dl> ระหว่างแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความออกแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้
    สภาพเป็นเหตุแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นปัจจัยแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ว่าตรัสรู้
    สภาพเป็นภูมิแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอารมณ์แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นโคจรแห่งจิต ว่าตรัสรู้
    สภาพความประพฤติแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพที่ดำเนินไปแห่งจิต ฯ
    <dl><dd>[๕๖๕] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึกในธรรมอย่างเดียว ว่า</dd></dl> ตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
    สภาพความหมายรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นสมาธิในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
    สภาพความแล่นไปในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความผ่องใสในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
    สภาพความเพิกเฉยในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหลุดพ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
    สภาพความเห็นว่า นี้ละเอียดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำเป็นดุจยานในธรรมอย่างเดียว
    ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในธรรมอย่าง
    เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพก่อในธรรมอย่างเดียว
    ว่าตรัสรู้สภาพปรารภด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่กำหนดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้
    สภาพเป็นบริวารในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่
    ประชุมลงในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่เสพใน
    ธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเจริญในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้มากในธรรมอย่าง
    เดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ขึ้นไปดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้นด้วยดีในธรรมอย่างเดียว
    ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพ
    ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้
    ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้
    เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่
    เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้
    ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว
    ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
    สว่างในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างขึ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่าง
    ตามในธรรมอย่างเดียวว่าตรัสรู้สภาพความสว่างเฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความ
    สว่างพร้อมในธรรมอย่างเดียว ฯ
    <dl><dd>[๕๖๖] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้</dd></dl> สภาพดับ ว่าตรัสรู้สภาพเผาผลาญ ว่าตรัสรู้สภาพความรุ่งเรือง ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้กิเลสเร่า
    ร้อน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ไม่มีมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ปราศจากมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรม
    ที่หามลทินมิได้ ว่าตรัสรู้สภาพความสงบ ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้สงบ ว่าตรัสรู้สภาพความสงัด
    ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ
    สำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความ
    ปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพความ
    ประพฤติหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพเป็น
    บาทแห่งฉันทะว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งฉันทะ ว่า
    ตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งฉันทะ
    ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพวิริยะฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพจิต ฯลฯ ว่าตรัสรู้
    สภาพวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้
    สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่ง
    วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งวิมังสาว่าตรัสรู้สภาพไม่
    ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ฯ
    <dl><dd>[๕๖๗] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความบีบคั้นแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่</dd></dl> ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ว่าตรัสรู้สภาพความแปรปรวน
    แห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความประมวลมาแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้
    สภาพที่ประกอบไว้แห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพพัวพันแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่สลัดออกแห่ง
    ทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพสงัดแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งทุกขนิโรธ ว่า
    ตรัสรู้สภาพเป็นอมตะแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่นำออกแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุ
    แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่เห็นแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพความเป็นใหญ่แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพ
    ที่ถ่องแท้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอนัตตา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นของจริง ว่าตรัสรู้สภาพแทงตลอด ว่า
    ตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่
    เป็นธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปรากฏ ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรทำให้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพถูกต้อง ว่าตรัสรู้
    สภาพตรัสรู้ ว่าตรัสรู้เนกขัมมะ ว่าตรัสรู้ความไม่พยาบาท ว่าตรัสรู้อาโลกสัญญาว่าตรัสรู้ความไม่
    ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้กำหนดธรรม ว่าตรัสรู้ญาณ ว่าตรัสรู้ความปราโมทย์ ว่าตรัสรู้ปฐมญาณ ฯลฯ
    ว่าตรัสรู้อรหัตมรรค ฯ
    <dl><dd>[๕๖๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมใจเชื่อ ฯลฯ</dd></dl> ว่าตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็นว่าตรัสรู้สัทธาพละด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
    ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ว่าตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยความว่า
    ตั้งมั่น ฯลฯ ว่าตรัสรู้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าพิจารณาหาทาง ว่าตรัสรู้สัมมาทิฐิด้วยความ
    ว่าเห็น ฯลฯว่าตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่
    ว่าตรัสรู้พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพนำออก ว่าตรัสรู้มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ว่า
    ตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่น ว่าตรัสรู้สัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ว่าตรัสรู้อิทธิบาท
    ด้วยความว่าให้สำเร็จ ว่าตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ว่าตรัสรู้สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน
    ว่าตรัสรู้วิปัสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ว่าตรัสรู้สมถะและวิปัสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอัน
    เดียวกัน ว่าตรัสรู้ธรรมที่เป็นคู่กันด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม
    ว่าตรัสรู้จิตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น ว่าตรัสรู้วิโมกข์ด้วย
    ความว่าหลุดพ้น ว่าตรัสรู้วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด ว่าตรัสรู้วิมุตติด้วยความว่าสละ ว่าตรัสรู้
    ขยญาณด้วยความว่าตัดขาด ว่าตรัสรู้ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ว่าตรัสรู้ฉันทะด้วย
    ความว่าเป็นมูล ว่าตรัสรู้มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ว่าตรัสรู้ผัสสะด้วยความว่าเป็นที่รวม
    ว่าตรัสรู้เวทนาด้วยความว่าเป็นที่ประชุม ว่าตรัสรู้สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน ว่าตรัสรู้สติด้วย
    ความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้ปัญญาด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ ว่าตรัสรู้วิมุติด้วยความว่า
    เป็นสาระ ว่าตรัสรู้นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
    <dl><dd>_____________</dd></dl> <dl><dd>สาวัตถีนิทาน</dd></dl> <dl><dd>____________</dd></dl> <dl><dd>[๕๖๙] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย</dd></dl> ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
    โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉนคือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกร
    ท่านผู้มีอายุทั้งหลายโพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลา
    เช้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ ในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เราก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์นั้นๆ หวังจะอยู่
    ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใดๆ เราก็อยู่ในเวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ดูกรท่านผู้
    มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้
    ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ถ้า
    แม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้
    ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของ
    เราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพช
    ฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัม
    โพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้าของพระ
    ราชา หรือของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น ประสงค์จะ
    ใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้น
    นั่นแล ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หวังจะอยู่ในเวลาเช้าด้วย
    โพชฌงค์ใดๆในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่า
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯ
    <dl><dd>[๕๗๐] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร ฯ</dd></dl> <dl><dd>นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็</dd></dl> มีอยู่เพียงนั้น เปรียบเหมือนเมื่อดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมันกำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสง
    ก็มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มีเพียงนั้น ฉันใด นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ใน
    ข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฉันนั้น ฯ
    <dl><dd>โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น มีอยู่อย่างไร ฯ</dd></dl> <dl><dd>กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพใหม่มีประมาณ</dd></dl> นิโรธหาประมาณมิได้ เพราะความเป็นอสังขตธรรม นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า
    สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นก็มีอยู่เพียงนั้น ฯ
    <dl><dd>โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร ฯ</dd></dl> <dl><dd>กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพใหม่ไม่เสมอ นิโรธ</dd></dl> มีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะความเป็นธรรมละเอียด เพราะความเป็นธรรมประณีต นิโรธย่อม
    ปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฯ
    <dl><dd>[๕๗๑] เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่าดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อน</dd></dl> ไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างไร สติสัมโพชฌงค์ย่อม
    ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘
    ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ ฯ
    <dl><dd>สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วย</dd></dl> ความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึงความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอัน
    ไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร ๑ ด้วย
    ความไม่นึกถึงนิมิตร ๑ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ สติสัมโพชฌงค์ย่อม
    ดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้ ฯ
    <dl><dd>สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไป</dd></dl> ด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความ
    เป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิตร ๑ ด้วยความ
    ไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความนึกถึงสังขาร ๑ สติสัมโพช
    ฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า
    ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯลฯ ฯ
    <dl><dd>[๕๗๒] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร</dd></dl> <dl><dd>นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น</dd></dl> ก็มีเพียงนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมันกำลังสว่างอยู่ ... ฯ
    <dl><dd>โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น มีอยู่อย่างไร ... ฯ</dd></dl> <dl><dd>โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้นมีอยู่อย่างไร ... ฯ</dd></dl> <dl><dd>เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป</dd></dl> เราก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้อย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อม
    ดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วย
    อาการ ๘ ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ ฯ
    <dl><dd>[๕๗๓] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน</dd></dl> <dl><dd>อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น ๑ ชื่อ</dd></dl> ว่าโพชฌงค์ เพราะความไม่นึกถึงความเกิด ๑ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้
    ความนำออกแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ดำรงไว้ซึ่งความสลัดออกแห่งจิต ด้วยความนึกถึงนิพพาน
    อันไม่มีความเป็นไป ๑ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร ๑
    ด้วยความไม่นึกถึงนิมิตร ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ อุเบกขาสัมโพช
    ฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้ ฯ
    <dl><dd>อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน</dd></dl> <dl><dd>อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึง</dd></dl> นิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี
    ความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิตร ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิตร ๑ ด้วยความนึก
    ถึงสังขาร ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อ
    เรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า
    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯ
    <dl><dd>จบโพชฌงคกถา</dd></dl>ปฏิสัมภิทามรรค - ยุคนัทธวรรค - ๓. โพชฌงคกถา - วิกิซอร์ซ
     
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,684
    ค่าพลัง:
    +9,239
    ตอนนี้ทุกวัดยังสวดโพชฌงค์ถวายในหลวงทุกวันค่ะ
    ขออนุโมทนาค่ะ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 44073_20_6.jpg
      44073_20_6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.8 KB
      เปิดดู:
      62
    • 77685.jpg
      77685.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76.6 KB
      เปิดดู:
      55
    • MyKings.jpg
      MyKings.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.6 KB
      เปิดดู:
      65

แชร์หน้านี้

Loading...