ปรากฎการณ์ในขณะทำสมาธิ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 9 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    [​IMG]

    ท่านผู้เจริญด้วยคุณธรรมทั้งหลาย วันนี้ ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาตมภาพได้มีโอกาสมาได้พบกับบรรดาท่าน ผู้นักศึกษาธรรมทั้งหลาย ความจริง การฟังธรรม ท่านทั้งหลายก็ได้ฟังกันมามากต่อมากแล้ว และเข้าใจว่าทุก ๆ ท่านคงมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมะพอสมควร ในครั้งก่อนนั้น ได้อธิบายถึงเรื่องการทำสมาธิในขั้นบริกรรมภาวนาตามแบบฉบับของท่านอาจารย์ เสาร์ อาจารย์มั่น ท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น ท่านเป็นพระเถระที่ทรงคุณในทางการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานของ ภาคอีสาน บางท่านอาจจะยังไม่รู้ว่าท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่นเป็นคนเมืองไหน อาตมาจะได้นำประวัติของท่านมาเล่าโดยย่อ ๆ ท่านอาจารย์เสาร์และท่านอาจารย์มั่นเป็นชาวเมืองอุบลฯโดยกำเนิด ท่านอาจารย์เสาร์เกิดที่อำเภอเมือง ท่านอาจารย์มั่นเกิดที่อำเภอโขงเจียม ทั้งสองท่านนี้ ในเมื่อได้มาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว ก็ได้ตั้งใจศึกษาธรรมวินัย เพียงแค่การให้รู้หลักธรรม อันเป็นหลักในทางการปฏิบัติทางด้านจิตโดยตรง เรียกว่าท่านเรียนทางกรรมฐานโดยตรง

    ในตอนแรก ๆ พระธุดงค์กรรมฐานในสายนี้ก็ไม่ค่อยจะมีใครสนใจเท่าใดนัก แต่เป็นเพราะเหตุใดนั้น ไม่ขอนำมากล่าว แต่จะกล่าวเฉพาะวิธีปฏิบัติของท่าน ซึ่งท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น ได้ปฏิบัติกรรมฐานเริ่มต้นด้วย บริกรรมภาวนา บริกรรมภาวนาอะไรก็ได้ ไม่เฉพาะแต่คำว่าพุทโธอย่างเดียว เพราะบริกรรมภาวนาแต่ละอย่างนั้น เป็นแต่เพียงอารมณ์เป็นคู่ของใจ ซึ่งผู้บริกรรมนั้นจะต้องนึกในคำใดคำหนึ่งซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนกระทั่งทำจิตให้ติดอยู่ในคำภาวนานั้น ทำไมจึงต้องทำอย่างนั้น ก็เพราะเหตุว่า โดยธรรมชาติจิตของคนเรานั้น ย่อมส่งกระแสไปรู้อารมณ์ต่าง ๆ สุดแท้แต่อารมณ์นั้น ๆ จะผ่านเข้ามา ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่ออารมณ์นั้นผ่านเข้ามาแล้วก็สามารถที่จะจูงใจให้ไปเกิดความยินดี ความยินร้าย หรือความพอใจ ไม่พอใจ สุดแท้แต่อารมณ์จะจูงให้เป็นไปและการรับรู้อารมณ์ของจิตนั้น ย่อมมีอันเปลี่ยนอยู่บ่อย ๆ เพียงแค่เวลาประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น เรามีความรู้สึกนึกคิดจนนับไม่ถ้วน ดังนั้นอุบายวิธีการบริกรรมภาวนา หรือนึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งซ้ำ ๆ ซาก ๆ ก็เพื่อจะให้จิตติดอยู่กับคำที่นึกนั้น แล้วจิตของเราจะได้ลืมนึกถึงอารมณ์อื่น ๆ แต่จดจ้องอยู่ที่คำภาวนาอย่างเดียว แต่การที่จะทำให้จิตจดจ้องอยู่ที่คำภาวนาอย่างเดียวนั้น ก็ไม่ได้เป็นของง่ายนัก เพราะว่าโดยปกติจิตของคนเราย่อมส่งกระแสไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ นับไม่ถ้วน การที่จะทำจิตให้อยู่กับคำบริกรรมภาวนาที่เราต้องการนั้น ถ้าจะพูดถึงการภาวนาจะให้ได้ผลกันจริงจัง แทบจะไม่มีคำอะไรที่จะต้องมาอธิบายสู่กันฟัง นอกจากจะตั้งใจนึกบริกรรมภาวนากันอย่างจริงจัง ในสภาวนามอย่างไหน อย่างไรก็ได้เท่านั้น ไม่เฉพะแต่คำว่าพุทโธอย่างเดียว เราจะใช้คำอื่น ๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นขอท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ได้โปรดอย่ามีความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ ในวิธีการที่จะภาวนาให้เกิดผล มีแต่ว่าจะตั้งใจทำจิต ถือหลักว่าภาวนาให้มาก ๆ กระทำให้ชำนิชำนาญ เมื่อเรามีความพากเพียรพยายามที่จะกระทำให้มาก ๆ ทำให้ชำนิชำนาญ ทำไม่หยุด ถ้าใครสามารถที่จะตั้งใจว่าเราจะนั่งสมาธิภาวนาให้ได้วันละ 3 หรือ 4 ครั้ง แต่ละครั้งให้ได้ครั้งละ 1 ชั่วโมง ถ้าสามารถที่จะทำได้ รับรองว่าจิตสงบอย่างแน่นอน แต่นี่เรายังทำไม่ถึง พอทำไปนิดหน่อยเกิดทุกเวทนาขึ้นมาครอบงำแล้วเราก็หยุดเสีย ถ้าหากเราพากเพียรพยายามทำให้มาก ๆ ทำบ่อย ๆ แล้วก็ทำไม่หยุดหย่อน เราก็สามารถที่จะทำจิตให้สงบได้ อาตมาได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า ท่านทั้งหลายคงจะได้ศึกษาธรรมะ และมีความรู้ความเข้าใจกันมากมายพอสมควร ดังนั้น ณ โอกาสนี้จึงใคร่ที่จะขอเชิญท่านทั้งหลายให้ตั้งใจกำหนดจิตบริกรรมภาวนาตาม ที่ตนชำนิชำนาญมาแล้วอย่างใด ถ้าหากท่านจะบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ ก็ให้ตั้งจิตอธิษฐานภาวนาภายในใจของตัวเองว่า “บัดนี้ ฉันจะทำสมาธิภาวนาเพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิ เพื่อจะให้รู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมตามความเป็นจริง” แล้วก็นึกในใจของตนเองว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ , พุทโธ ธัมโม สังโฆ, พุทโธ ธัมโม สังโฆ แล้วก็น้อมใจเชื่อลงไปว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมก็อยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์ก็อยู่ที่ใจ” แล้วกำหนดลงที่ใจอย่างเดียวเท่านั้น นึกบริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ พุทโธ อยู่อย่างนั้น จนกว่าจิตจะมีอาการสงบลงไป ให้พึงสังเกตจิตของตนเองให้ดี ถ้าจิตมีอาการเคลิ้ม ๆ ลงไป คล้าย ๆ กับจะง่วงนอน พึงรู้เถอะว่าจิตของเรากำลังเริ่มจะสงบแล้ว เพราะจิตที่จะสงบในเบื้องต้นนั้น ถ้าจะว่ากันอย่างตรงไปตรงมาก็คืออาการนอนหลับ เพราะเมื่อจิตจะสงบก็มีอาการเคลิ้ม ๆ แล้วก็วูบลงไป พอวูบลงไป พอหยุดวูบแล้ว จิตจะนิ่ง ในเมื่อจิตนิ่งแล้ว ถ้าหากว่าจิตจะนอนหลับมันก็หลับมืดไปเลย ถ้าหากว่าจิตจะเป็นสมาธิ พอวูบลงไปนิ่งแล้ว จิตก็จะมีอาการสว่างขึ้นมา ซึ่งทั้งนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นในลักษณะอย่างเดียวกันทั้งหมด บางท่านก็รู้สึกว่า มีกายเบาจิตก็เบา แล้วจึงค่อย ๆ ก้าวเข้าไปสู่ความสงบทีละน้อย ละน้อย ไม่มีอาการวูบวาบ จนกระทั่งจิตสงบแน่นิ่งลงไปถึงขั้นอัปนาสมาธิ แต่ส่วนมากในช่วงนี้ ถ้าเกี่ยวกับเรื่องการบริกรรมภาวนานั้น เมื่อจิตมีอาการเคลิ้ม ๆ สงบลงไปสว่างขึ้นแล้ว คำบริกรรมภาวนาที่นึกอยู่นั้นจะหายไป ในเมื่อคำบริกรรมภาวนาหายไปแล้ว เราก็ไม่ต้องไปนึกถึงคำบริกรรมภาวนาอีก ในตอนนี้ให้ผู้ปฏิบัติจงกำหนดรู้ลงที่จิตของตัวเอง ถ้าหากจิตมีอาการสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ ก็กำหนดรู้ ลงที่นั้นอย่างเดียว แต่ถ้าในช่วงนั้น ถ้าลมหายใจปรากฏขึ้นในความรู้สึก ก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจ เพียงแต่รู้เท่านั้น อย่าไปนึกคิดอะไรทั้งนั้น ลมหายใจสั้นก็ไม่ต้องว่า ลมหายใจยาวก็ไม่ต้องว่า ลมออกสั้นก็ไม่ว่า ลมออกยาวก็ไม่ว่า ลมเข้าสั้นก็ไม่ว่า ลมเข้ายาวก็ไม่ว่า เป็นแต่เพียงกำหนดรู้ลมหายใจอยู่โดยธรรมชาติ แล้วอย่าไปแต่งลมหายใจเป็นอันขาด ในช่วงนี้เพียงแต่กำหนดรู้อยู่เท่านั้น ถ้าหากว่าเรากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจถ้าหาก ลมหายใจแสดงอาการเป็นไปต่าง ๆ เช่น ลมหายใจอาจจะแสดงอาการหายใจแรงขึ้น หรือหายใจแผ่วเบาลงไป หรือบางครั้ง อาจจะมองเห็นลมหายใจสว่างเหมือนกับปุยนุ่น ก็ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว รวมความว่า อะไรเกิดขึ้นภายในความรู้สึก ก็เพียงแต่กำหนดรู้เฉยอยู่ อย่าไปทำความเอะใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ถ้าเราไปทำความเอะใจหรือไปทักท้วงสิ่งที่เกิดขึ้น จิตจะถอนจากสมาธิทันที เพราะฉะนั้นให้กำหนดรู้อยู่เฉย ๆ ในเมื่อจิตมีสิ่งที่รู้คือลมหายใจปรากฎตลอดเวลา ตัวสติสัมปชัญญะจะค่อยมีกำลังกล้าขึ้น สามารถควบคุมจิตให้สภาพสงบได้โดยอัตโนมัติ นี่ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย พึงทำความเข้าใจอย่างนี้ และถ้าหากว่าจิตของผู้ภาวนานั้น ไม่นิ่งเข้าไปยึดลมหายใจ ก็ย่อมจะส่งกระแสออกไปข้างนอก ในเมื่อส่งกระแสความรู้สึกออกไปข้างนอก ในช่วงที่จิตมีความสงบสว่างอยู่นั้น แล้วภาพนิมิตต่าง ๆ จะปรากฏขึ้น จะเป็นภาพอะไรก็ตามเมื่อภาพต่าง ๆ ปรากฏขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น อย่าไปทำความเอะใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภายนอก ถ้าหากเราสามารถประคองจิตของเราให้อยู่ในความสงบ ในสภาพปกติ โดยไม่ไปเอะใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น จิตก็จะสงบนิ่งเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป ถ้าหากเกิดเอะใจขึ้นมาเมื่อไรแล้ว สมาธิก็จะถอน ภาพนิมิตนั้นก็จะหายไป ในตอนนี้มีความสำคัญมากสำหรับนักปฏิบัติ ถ้าหากเรามีความรู้สึกว่าภาพนิมิตต่าง ๆ เป็นสิ่งอื่นมาแสดงให้เรารู้เราเห็น บางทีเราอาจจะเข้าใจผิด เช่น อย่างเห็นภาพผี เปรต หรือเทวดาเป็นต้น บางท่านอาจจะคิดว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เขามาขอส่วนบุญเรา แล้วเราก็ไปนึกแผ่ส่วนบุญกุศลให้เขา ในเมื่อนึกขึ้นมาอย่างนั้น จิตก็ถอนออกจากสมาธิภาพนิมิตทั้งหลายนั้นก็หายไป อันนี้ก็ไม่ค่อยจะร้ายแรงเท่าไรนัก แต่ถ้าหากบางท่านอาจจะมีความรู้สึกหรือมีความเห็นนอกเหนือไปกว่านี้ โดยสำคัญว่าภาพนิมิตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เข้ามาเพื่อที่จะดลบันดาลจิตใจของเราให้เกิดความสงบให้เกิดความ รู้ แล้วบางทีเราอาจจะเผลอ ๆ ไปน้อมรับสิ่งเหล่านั้นเข้ามาสิงสู่อยู่ในตัวของเรา แล้วสภาพจิตของเราจะกลายเป็นในลักษณะที่เรียกว่าสภาพผีสิง นี่ถ้าหากเราไปสำคัญว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นตนเป็นตัวขึ้นมา หรือเป็นสิ่งอื่นขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากไปมองเห็นภาพนิมิตของผู้ที่เขา ที่เราเข้าใจว่าเป็นผู้วิเศษ มาปรากฏกายให้มองเห็นแล้ว เราอาจจะน้อมเอาภาพนิมิตนั้นให้เข้ามาสู่ตัวของเรา หรือสู่จิตใจของเรา เพราะความเข้าใจผิดว่า สิ่งที่มองเห็นนั้นเป็นสิ่งที่มาจากที่อื่น ในเมื่อเราน้อมเข้ามาแล้ว จะมีอาการคล้ายๆ กับว่ามีสิ่งเข้ามาทรงอยู่ภายในจิต หลังจากนั้นเราก็จะกลายเป็นคนทรงไป อันนี่เป็นสิ่งที่เราควรจะระมัดระวังให้มาก ๆ การภาวนาหรือการทำจิตเนี่ย เราไม่ได้มุ่งที่จะให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาช่วยดลบันดาลให้เราเป็นผู้รู้ผู้ เห็น เราต้องการจะทำให้จิตมีความสงบนิ่งเป็นสมาธิโดยความเป็นอิสระของจิตเอง ถ้าหากว่าจิตจะเกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมา ก็เป็นสมรรถภาพของจิตเอง ไม่ใช่สิ่งบันดาลเพราะฉะนั้นขอให้ท่านนักศึกษาธรรมะหรือนักปฏิบัติทั้งหลาย พึงทำความเข้าใจในเรื่องนิมิตต่าง ๆ ถ้าหากว่าท่านไม่ไปเอะใจหรือไม่ได้ไปสำคัญว่านิมิตต่าง ๆ ที่ปรากฎขึ้นนั้นเป็นสิ่งอื่นมาดลบันดาลให้เรารู้เราเห็น ทำความรู้สึกว่าภาพนิมิตนั้นเกิดขึ้นจากจิตของเรา จิตของเรานั่นแหละเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา เพราะเรามีความสำคัญว่าเราอยากรู้ อยากเห็น ในเมื่อเราอยากรู้อยากเห็น พอจิตสงบเคลิ้ม ๆ ลงไปอยู่ระดับในแห่งอุปจารสมาธิ ในตอนนี้จิตของเราจะฝันดีนัก ถ้าหากเรานึกถึงอะไรแล้วจะเกิดเป็นภาพนิมิตขึ้นมา ถ้าหากเราสามารถที่จะกำหนดจดจ้องรู้ลงที่จิตอย่างเดียว โดยไม่สำคัญมั่นหมายในนิมิตนั้น ๆ เราก็จะรู้สึกว่า อาจจะรู้สึกว่าภาพนิมิตเป็นอุปกรณ์แก่การปฏิบัติของท่านผู้มีสติปัญญา โดยกำหนดรู้อยู่ที่จิตและภาพนิมิตที่มองเห็นนั้นจะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ หากจิตของท่านผู้ปฏิบัตินั้นมีสมาธิมั่นคงพอสมควรก็จะสามารถกำหนดเอานิมิต นั้นๆ เป็นเครื่องหมายแห่งความรู้เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติบางทีภาพนิมิตนั้น อาจแสดงเรื่องอสุภกรรมฐาน หรือภาพกรรมฐานให้เรารู้เห็นก็ได้ ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะสามารถทำให้สติสัมปชัญญะของเราดีขึ้น และเมื่อมีสติสัมปชัญญะของเราดีขึ้นแล้ว จิตก็จะสงบรวมลงไปสู่ความเป็นหนึ่ง เรียกว่า อัปนาสมาธิ ทีนี้ปัญหาเรื่องคำว่า อัปนาสมาธินั้น บางท่านอาจจะเข้าใจว่า อัปนาสมาธิ คือความเป็นหนึ่งของจิตหรือเอกัคตาจิตนั้น ไม่สามารถที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นได้ จริงอยู่ผู้ปฏิบัติในขั้นต้น จะเป็นการบริกรรมภาวนาก็ตาม หรือจะเป็นการพิจารณาอะไรก็ตาม เมื่อจิตสงบลงไปนิ่ง อยู่ในความเป็นหนึ่งที่เรียกว่าเอกัตคตา ในช่วงต้น ๆ นี้จิตอาจจะไม่สามารถบันดาลให้เกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมาได้ แต่ถ้าหากว่าท่านผู้นั้นเคยพิจารณากรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง จนชำนิชำนาญ ด้วยการน้อมนึกคิดแล้ว เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปเป็นอัปนาสมาธิ จิตก็สามารถที่จะบันดาลให้เกิดความรู้ความเห็น ได้เห็นจิต เห็นธรรมขึ้นมาได้ ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งขั้นของอัปนาสมาธิได้ 2 ตอน

    ตอน แรก จิตสงบนิ่งลงไปเป็นหนึ่ง อยู่ในอัปนาสมาธิ ถ้าอยู่เป็นสมาธิในขั้นฌาน จะไม่สามารถเกิดความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมา เพราะจิตอยู่ในฌานย่อมนิ่งอยู่ในจุด ๆ เดียว แต่ถ้าหากว่าจิตที่เคยพิจารณาวิปัสสนากรรมฐานมาแล้วก็ดี หรือเคยพิจารณาอสุภกรรมฐานมาแล้วก็ดี เคยพิจารณาธาตุกรรมฐานมาแล้วก็ดี เมื่อจิตสงบนิ่งลงไป เป็นหนึ่งลงไปแล้ว จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับจิตถอนตัวออกจากร่างแล้วก็ส่งกระแสมารู้เรื่องของร่างกาย จิตจะมองเห็นกายในลักษณะต่าง ๆ จะเป็นนั่งอยู่หรือนอนอยู่ก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนั้นจิตก็จะมีความสงบนิ่งเฉย สว่างหนึ่งอยู่ และกายที่มองเห็นในความรู้สึกของจิตนั้น ก็จะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ถ้าหากว่าท่านผู้นั้นพิจารณาอสุภกรรมฐานมา จนชำนิชำนาญด้วยการน้อมนึก จิตก็จะสามารถรู้เรื่องของอสุภกรรมฐานขึ้นมาโดยอัตโนมัติ โดยที่กายที่มองเห็นอยู่นั้น จะแสดงอาการขึ้นอืด แล้วก็มีน้ำเหลืองไหล เนื้อหนังหลุดออกไปเป็นชิ้น ๆ แล้วยังเหลือแต่โครงกระดูก ในที่สุดโครงกระดูกก็จะแหลกละเอียดลงไป เป็นจุณมิจุณไป แล้วก็หายไปในที่สุดยังเหลือแต่ความว่าง ในเมื่อจิตว่างแล้ว จิตก็จะสามารถที่จะก่อตัวรู้เรื่องของโครงกระดูก ซึ่งจะมาผสานกันเป็นโครงกระดูก แล้วก็จะเกิดมีเนื้อมีหนัง กลับคืนมาอยู่ในสภาพเป็นร่างโดยสมบูรณ์อย่างเก่า จะมีอาการเป็นไป ย้อนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น จนกว่าจิตจะถอนออกมาจากสมาธิ และในขณะที่จิตรู้เห็นนั้น จะมีความรู้สึกว่ารู้เห็นด้วยทางจิตอย่างเดียว คือไม่ได้เกี่ยวข้องกับประสาทส่วนกาย คือไม่ได้เกี่ยวข้องกับประสาทส่วนตา เป็นความรู้ความเห็นของจิตล้วน ๆแต่ถ้าหากว่าท่านผู้ที่เคยพิจารณาธาตุกรรมฐาน ก็จะมองเห็นร่างกายเนี้ย แหลกละลายลงไป เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ อย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วก็จะหายไปกลายเป็นความว่าง

    ถ้าหากว่าท่านผู้ที่เคยพิจารณา วิปัสสนากรรมฐาน เช่น พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว แล้วจิตก็จะมีนิมิตอะไรขึ้นมา ก็สุดแท้แต่จิตจะปรุงขึ้นมา แต่ความปรุงแต่งในขั้นนี้กับสิ่งที่รู้เห็นนั้น คล้าย ๆ กับว่าไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ในตอนนี้จิตกับสิ่งที่รู้ แยกกันออกได้เป็นคนละส่วน สิ่งที่รู้นั้นก็แยกเป็นส่วนหนึ่ง ตัวผู้รู้คือจิตนั้นก็อยู่อีกส่วนหนึ่ง และส่วนความเปลี่ยนแปลงที่มันจะแสดงไปในลักษณะแห่งพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น ก็จะมีอันแสดงไปเอง ถ้าหากท่านผู้ฟังอาจจะมีความสงสัยว่า การแสดงอย่างนั้นใครเป็นผู้แสดง ก็จิตนั่นแหละเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา เป็นตัวปัญญาความรู้ ในเมื่อจิตปรุงแต่งขึ้นมา โดยความรู้เท่าเอาทัน ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้ จิตก็รู้สึกว่า คล้าย ๆ กับว่า สิ่งที่รู้อยู่อีกส่วนหนึ่ง แต่ตัวผู้รู้คือจิตนั้น แยกอยู่เอกเทศส่วนหนึ่ง ในตอนนี้เราจะเรียกว่าเอกัคตารมณ์สามารถแยกออกเป็นคนละส่วนก็ได้ อันนี้คือลักษณะปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นภายในจิตของผู้ที่จะปฏิบัติเริ่มต้น แต่บริกรรมภาวนาหรือในขั้นพิจารณาอสุภกรรมฐาน ธาตุกรรมฐาน หรือพิจารณาพระไตรลักษณ์ในขั้นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่าขั้นวิปัสสนา ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย พึงทำความเข้าใจดังที่กล่าวมาแล้วนี้

    ทีนี้ถ้าหากสมมติว่าเราจะไม่ พิจารณาอะไรแล้ว เพียงแต่เพียงแค่ว่าบริกรรมภาวนาให้จิตสงบอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจิตของเราสามารถที่จะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาได้หรือไม่ อันนี้ขอตอบว่าสามารถที่จะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาได้ โดยที่ผู้บริกรรมภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งลงไป เริ่มต้นแต่อุปจารสมาธิจนกระทั่งถึงอัปนาสมาธิ อัปนาสมาธิในลักษณะที่จิตนิ่งอยู่ในจุดเดียว ไม่มีสิ่งที่รู้ปรากฏขึ้นในจิต มีการสงบนิ่ง มีลักษณะนิ่งและสว่างไสวอยู่ภายในความรู้สึกอย่างเดียว ความรู้อื่น ๆ ไม่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น วิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นได้อย่างไร วิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อจิตถอนออกจากความเป็นเช่นนั้นแล้ว มาเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติที่ฉลาด ก็ฉวยโอกาสนั้นกำหนดรู้ความคิดของตนซึ่งเกิดขึ้น จิตคิดอะไรขึ้นมาก็กำหนดรู้ คิดอะไรขึ้นมาก็กำหนดรู้ เพียงแต่รู้ว่าจิตมีความคิดอย่างเดียวเท่านั้น รู้แล้วก็ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์ หรือไปช่วยจิตคิดอะไรเพิ่มเติม เป็นแต่เพียงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นก็รู้ สิ่งใดเกิดขึ้นก็รู้ รู้ รู้ อยู่อย่างนั้น แล้วสิ่งใดดับไปก็รู้



    http://xmoi.tapasilo.org/index.php?topic=192.0
     
  2. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    ยังไม่จบนะคะ มีอีกหลายไฟล์เลย แต่ตอนนี้หาต้นเสียงไม่เจอค่ะ
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต้นเสียงฟังได้ที่ลิ้งครับ หรือจะไปฟังได้ที่ห้องประเทืองปัญญาครับ Voice Chat
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  5. Ream

    Ream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +215
    ขอบคุณครับที่นำเรื่องที่มีประโยชน์อย่างมากมาให้อ่าน อ่านแล้วไม่ง่ายเลยกับการปฏิบัติ คงต้องฝึกกันอีกนานครับ
     
  6. Limtied

    Limtied เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    822
    ค่าพลัง:
    +3,662
    ทีนี้ถ้าหากสมมติว่าเราจะไม่ พิจารณาอะไรแล้ว เพียงแต่เพียงแค่ว่าบริกรรมภาวนาให้จิตสงบอย่างเดียวเท่านั้น แล้วจิตของเราสามารถที่จะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาได้หรือไม่ อันนี้ขอตอบว่าสามารถที่จะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาได้ โดยที่ผู้บริกรรมภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งลงไป เริ่มต้นแต่อุปจารสมาธิจนกระทั่งถึงอัปนาสมาธิ อัปนาสมาธิในลักษณะที่จิตนิ่งอยู่ในจุดเดียว ไม่มีสิ่งที่รู้ปรากฏขึ้นในจิต มีการสงบนิ่ง มีลักษณะนิ่งและสว่างไสวอยู่ภายในความรู้สึกอย่างเดียว ความรู้อื่น ๆ ไม่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น วิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นได้อย่างไร วิปัสสนากรรมฐานจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อจิตถอนออกจากความเป็นเช่นนั้นแล้ว มาเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติที่ฉลาด ก็ฉวยโอกาสนั้นกำหนดรู้ความคิดของตนซึ่งเกิดขึ้น จิตคิดอะไรขึ้นมาก็กำหนดรู้ คิดอะไรขึ้นมาก็กำหนดรู้ เพียงแต่รู้ว่าจิตมีความคิดอย่างเดียวเท่านั้น รู้แล้วก็ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์ หรือไปช่วยจิตคิดอะไรเพิ่มเติม เป็นแต่เพียงว่า สิ่งใดเกิดขึ้นก็รู้ สิ่งใดเกิดขึ้นก็รู้ รู้ รู้ อยู่อย่างนั้น แล้วสิ่งใดดับไปก็รู้

    กราบหนึ่ง กราบสอง กราบสาม
     
  7. อิติปิโสภะคะวือ

    อิติปิโสภะคะวือ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    17
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +26
    อนุโมทนาสาธุ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...