ปัจจัย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 28 พฤศจิกายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    สำหรับปัจจัยที่ได้กล่าวถึงแล้ว

    คือ

    เหตุปัจจัย
    อารัมมณปัจจัย และ อธิปติปัจจัย.


    สำหรับเจตสิก ๖ ประเภท คือ

    โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑

    อโลภเจตสิก ๑ อโมหเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑

    เจตสิกทั้ง ๖ ประเภท เป็น "เหตุ-ปัจจัย" ให้สภาพธรรม

    คือ จิตและเจตสิกอื่นเกิดพร้อมกับตน.


    ในขณะนั้น...ถ้าพิจารณา ก็จะทราบได้ว่า

    สำหรับ "เหตุ-ปัจจัย" เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิก และรูป เกิดขึ้น

    เพราะเหตุว่า ถ้าจิตเป็นโลภะ(โลภมูลจิต)

    ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่ง...ที่ทำให้มีการเคลี่อนไหวของกายบ้าง ของวาจาบ้าง

    ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน.?


    ขณะที่ทุกท่านกำลังกระทำสิ่งหนึ่ง สิ่งใด..โดยไม่รู้ตัว

    ไม่ว่าจะเดิน จะนั่ง จะนอนจะพูด ฯลฯ

    เช่น วันนี้ก็มีการกระทำหลายอย่างเกิดขึ้น

    โดยที่ไม่ทราบว่าในขณะนั้นเป็นโลภเจตสิก ที่เกิดกับจิตและเจตสิก

    เป็นโลภมูลจิต ซึ่งเกิดขึ้น แล้วเป็นปัจจัยให้รูปเคลื่อนไหว

    กระทำกิจการงานต่าง ๆ ด้วยโลภมูลจิต.


    ไม่ทราบใช่มั้ย...ไม่ได้พิจารณาเลย.?


    แต่ให้ทราบว่า...ขณะที่เจตสิก (เจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ประเภทดังกล่าว)

    นอกจากเป็น "เหตุ" ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตและเจตสิกอื่น ๆ

    ยังเป็นปัจจัยให้รูปเกิดขึ้น ในการกระทำกิจต่าง ๆ

    ทางกาย และทางวาจาได้ด้วย.


    แต่สำหรับ "อารัมมณปัจจัย" คือ สภาพธรรมใดก็ตาม

    ซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น รู้สภาพธรรมนั้น

    โดยสภาพธรรมนั้นเอง เป็นอารัมมณปัจจัย
    คือเป็นอารมณ์ของจิตขณะนั้น

    อารัมมณปัจจัย...เป็นปัจจัย

    โดยการเป็นอารมณ์ของจิตขณะหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้น
    เพราะฉะนั้น

    สภาพธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัย

    ทำให้จิตและเจตสิกเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น

    แต่ไม่ได้ทำให้รูปเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น.




    นี้ก็เป็นเรื่องของ จิต เจตสิก และ รูป ซึ่งมีจริง ๆ

    และเกิดขึ้น ปรากฏจริง ๆ ในชีวิตปกติประจำวัน...

    แต่ไม่ได้รู้สภาพนั้น ๆ ตามความเป็นจริง.


    แต่ถ้าพิจารณาอย่างละเอียด ก็สามารถที่จะเข้าใจ

    โดยการเข้าใจว่า.......

    เมื่อศึกษาความเป็นปัจจัยโดยละเอียดยิ่งขึ้น

    ก็จะทำให้เข้าใจความเป็นไปของชีวิต ตามปกติ ตามความเป็นจริง

    ในชีวิตประจำวัน มากขึ้น.


    สำหรับ อธิปติปัจจัย นั้น มี ๒ คือ

    สหชาตาธิปติปัจจัย ๑ และ อารัมมณาธิปติปัจจัย ๑



    ซึ่งเพิ่งมาได้กรุณาแจ้งให้ทราบว่า

    ยังไม่เข้าใจความหมายของศัพท์บางศัพท์โดยชัดเจน

    เพราะฉะนั้น ก็จะได้อธิบายความหมายของศัพท์ด้วย.


    คำว่า สหชาตาธิปติ เป็นคำรวมของ สหชาต และ อธิปติ

    สหชาต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกัน

    ได้แก่ จิตและเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกัน.


    อธิปติ หมายความถึง สภาพธรรมซึ่งเป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่

    เพราะฉะนั้น "สหชาตาธิปติ" หมายถึง

    สภาพธรรมที่สามารถกระทำจิตให้เป็นหัวหน้า หรือเป็นใหญ่

    คือ ชักจูงให้สภาพธรรมอื่นเกิดร่วมด้วย.


    ในบรรดาจิตและเจตสิก ซึ่งจะเป็น "สหชาตาธิปติปัจจัย"

    (อธิบาย) ทีละอย่างนั้น ก็ได้แก่...

    "ฉันทเจตสิก" เป็น สหชาตธิปติ

    เพราะเป็นสภาพธรรมซึ่งสามารถเป็นหัวหน้า

    สามารถชักจูงให้จิตและเจตสิกอื่นเกิดพร้อมตนได้

    แล้วแต่ว่าจะเป็น ฉันทะในกุศล หรือ ฉันทะในอกุศล ก็ได้

    แต่ให้เห็นว่า...ในวันหนึ่ง ๆ นั้น

    ขณะที่จิตเกิดขึ้นเพราะมี ฉันทะ คือ สภาพธรรมที่พอใจจะกระทำ

    ซึ่งจะต้องเข้าใจลักษณะที่ต่างกันของฉันทะ และ โลภะ

    ว่า โลภเจตสิก เป็นอกุศลเจตสิก...เป็นสภาพธรรมที่ติดยึดมั่นไม่ปล่อยวาง

    ส่วน "ฉันทเจตสิก" เป็นสภาพธรรมที่พอใจจะกระทำ

    เพราะฉะนั้น สำหรับ ฉันทเจตสิกนั้นเป็นกุศลก็ได้

    เป็นอกุศลก็ได้ เป็นวิบากก็ได้ เป็นกริยาก็ได้.......


    นอกจากฉันทเจตสิก เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยแล้ว

    ก็ยังมีวิริยะเจตสิก ชวนจิต ๕๒ ประเภท และ วิมังสะ คือ ปัญญาเจตสิกอีก ๑

    รวมเป็นสภาพธรรม ที่จะเป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ มี ๔ ประเภท

    คือ เจตสิก ๓ ได้แก่

    ฉันทเจตสิก ๑ วิริยะเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก ๑

    และ

    ชวนจิต ๕๒ ดวง.

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p>ชวนะ โดยศัพท์ หมายความถึงแล่น หรือ เร็ว

    ที่ภาษาไทยใช้คำว่าเชาวน์ ความไว การแล่นไปโดยความเร็ว

    ซึ่งท่านผู้ฟังคงจะคิดว่าจิตจะแล่นได้หรือ.!

    เพราะเหตุว่า จิตทุกขณะเกิดดับ ๆ มีอายุเท่ากันทุกขณะ

    อุปาทขณะคือขณะที่เกิดขึ้น ฐิติขณะ-ขณะที่ตั้งอยู่

    และภังคขณะคือ ขณะที่ดับไป

    จิตทุกขณะ มีอายุเท่ากัน คือ แบ่งเป็นอนุขณะ ๓ ขณะ

    แต่ว่าสำหรับจิตอื่น เช่น จักขุ วิญญาณจิต

    ที่ทำกิจเห็น เกิดขึ้นขณะเดียวแล้วดับไป

    จักขุวิญญาณจิต จึงไม่สามารถที่จะแล่นไปในอารมณ์

    โดยเกิดดับสืบต่อซ้ำกันได้หลายขณะเท่ากับจิตที่เป็นชวนจิต

    เพราะฉะนั้น คำว่า "ชวนจิต" ไม่ได้เป็นจิตอื่น

    แต่เป็นจิตที่ต่างกัน ขณะที่เป็นโลภะ โมหะ โทสะ

    คือ ขณะที่เป็นอกุศลจิตบ้าง กุศลจิตบ้างในชีวิตประจำวัน.

    เพราะฉะนั้น สำหรับ สหชาตาธิปติปัจจัย หรือว่า ชวนจิต

    ไม่ใช่จิตอื่น แต่เป็นจิตที่มีอยู่เป็นประจำในชีวิตประจำวัน

    เพียงแต่ว่าโดยศัพท์ ทำให้ไม่เข้าใจว่า

    หมายความถึงจิตขณะไหน ...ประเภทไหน

    แต่ถ้าเข้าใจว่าหมายความถึง ไม่ใช่จิตเห็น ไม่ใช่จิตได้ยิน

    ไม่ใช่จิตได้กลิ่น ไม่ใช่จิตลิ้มรส ไม่ใช่จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย

    คือไม่ใช่จักขุวิญญาณจิต ไม่ใช่โสตวิญญาณจิต ไม่ใช่ฆานวิญญาณจิต

    ไม่ใช่ชิวหาวิญญาณจิต ไม่ใช่กายวิญญาณจิต

    ไม่ใช่สัมปฏิจฉันนจิตซึ่งเกิดต่อจากจักขุวิญญาณจิต...ถ้าเป็นการเห็นทางตา

    หรือว่าเกิดต่อจากโสตวิญญาณจิต...ถ้าเป็น
    การได้ยินเสียงทางหู

    เกิดต่อจากฆานวิญญาณจิต....ถ้าเป็นการได้กลิ่น

    เกิดต่อจากชิวหาวิญญาณจิต...ในขณะที่ลิ้มรส

    เกิดต่อจาก</SPAN></SPAN>กายวิญญาณ...ในขณะที่กระทบรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    สัมปฏิจฉันนจิตเกิดขึ้นขณะเดียวแล้วดับ ไม่ใช่ชวนจิต

    เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับไปแล้ว สันตีรณจิตเกิดต่อขณะเดียวแล้วดับไป

    ขณะนั้นไม่ใช่ชวนจิต

    เพราะว่าสันตีรณจิตเกิดขึ้นขณะเดียว

    กระทำกิจตัดสินอารมณ์

    เพื่อกุศลหรืออกุศลที่จะเกิดต่อ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ แล้วก็ดับไป

    เพราะฉะนั้น จิตต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ชวนจิต

    แต่ ชวนจิต คือขณะที่เห็นแล้วพอใจเป็นโลภมูลจิต (เป็นต้น)</SPAN><o:p></o:p>


    ทุกท่านรู้สึกในสภาพธรรมที่พอใจ...เพราะเหตุว่า

    ขณะนั้นเป็นเพราะโลภมูลจิต ซึ่งทำชวนกิจ เกิดดับสืบต่อกัน

    เท่ากับแล่นไปในอารมณ์...จนปรากฏเป็นความพอใจ.


    อกุศลกรรมทั้งหลาย ย่อมรวมลงในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่พ้นไปจาก อกุศล

    กรรมบถทั้ง ๑๐ เพราะอกุศลกรรมทั้งหมดไม่พ้นจากทวารทั้ง ๓ คือ กาย วาจา

    และใจ

    การรักษาศีล มีค่ากว่าการเสียทรัพย์ เพราะว่าศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จทั้่งชาตินี้และ

    ชาติหน้า แต่ศีลของปุถุชนก็มีที่สุด เพราะทรัพย์ เพราะญาติ เพราะอวัยวะ เพราะชีวิต

    ถ้าเป็นพระอริยบุคคลศีลไม่มีที่สุด แม้ชีวิตก็ยอมสละได้​
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287
    องค์ของปาณาติบาตนั้น มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒. ปาณสัญญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดฆ่า
    ๔. อุปักกโม มีความพยายาม
    ๕. เตนมรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 495
    ๑๐. สัพพลหุสสูตร
    [๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

    ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย
    วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อย

    ให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย

    คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒- หน้าที่ 172
    " หม่อมฉันตัดคอแม่แพะตัวเดียว ไหม้อยู่แล้ว
    ( ในนรก ) ด้วยการนับขน ( แพะ ), ข้าแต่พระ-
    องค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์ตัดคอของมนุษย์เป็นอัน
    มาก จักกระทำอย่างไร ?"
    เรื่อง ฆ่าหรือไม่ฆ่าดี พิจารณาจากเรื่องนี้

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 269

    ข้อความบางตอนจาก ภัตตกมัตตชาดก

    มาณพเหล่านั้นจึงพาแพะนั้นไปแล้วบอกเหตุนี้แก่อาจารย์ อาจารย์ได้ฟังคำของ

    มาณพเหล่านั้นแล้วถามแพะว่าดูก่อนแพะ เพราะเหตุไร ท่านจึงหัวเราะ เพราะ

    เหตุไรท่านจึงร้องไห้ ?
    แพะหวนระลึกถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยญาณเครื่องระลึก

    ชาติได้ กล่าวแก่พราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ผู้

    สาธยายมนต์เช่นท่านนั่นแหละ คิดว่าจักให้มตกภัต จึงได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้ว

    ให้มตกภัต เพราะเราฆ่าแพะตัวหนึ่ง เรานั้นจึงถึงการถูกตัดศีรษะใน ๔๙๙

    อัตภาพ นี้เป็นอัตภาพที่ ๕๐๐ ของเราซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด
    เรานั้นเกิดความโสมนัส

    ว่าวันนี้ เราจักพ้นจากทุกข์เห็นปานนี้ ด้วยเหตุนี้จึงหัวเราะ แต่เราเมื่อร้องไห้

    ได้ร้องไห้เพราะความกรุณาท่าน ด้วยคิดว่าเบื้องต้น เราฆ่าแพะตัวหนึ่ง ถึงความ

    ทุกข์คือการถูกตัดศีรษะถึง ๕๐๐ ชาติ จักพ้นจากทุกข์นั้น ในวันนี้ ส่วนพราหมณ์

    ฆ่าเราแล้วจักได้ทุกข์คือการถูกตัดศีรษะถึง ๕๐๐ ชาติ เหมือนเรา.

    กรรมที่เป็นมาตุฆาตนำเกิดในชาติถัดไป กรรมที่เป็นปิตุฆาต เป็นอโหสิกรรมเพราะ

    ไม่มีโอกาสให้ผลในขณะปฏิสนธิ แต่ย่อมตามอุปถัมภกกรรม คือสนับสนุนกรรมที่เป็น

    มาตุฆาต
    พระพุทธองค์ทรงสอนให้สาวกเว้นจากปาณาติบาติ ถ้าเป็นพระอริยะท่านไม่มีการ

    ล่วงศีล ๕ อีกเลย สำหรับปุถุชน ไม่แน่นอน ย่อมก้าวล่วงศีลข้อใดข้อหนึ่งได้ เพราะ

    เหตุต่าง ๆ เช่นเนื่องด้วยทรัพย์ ญาติ ชีวิต เป็นต้น ฉะนั้น แล้วแต่ท่านจะพิจารณาว่า

    จะรักษาศีลหรือจะรักษาบ้าน ถ้าหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง
    สัตว์เดรัจฉานไม่มีในภูมินรก แต่ที่มีเป็นสุนัขหรือกาคือพวกนายนิรยบาล บางแห่ง

    กล่าวว่าเป็นหุ่นยนต์

    ความจริงแล้วทั้งศีลและกุฎิก็ควรรักษาทั้งสองอย่าง แต่ศีลสำคัญกว่ากุฎิ
    เพราะผู้ที่เป็นบัณฑิต ท่านสละทั้งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิตเพื่อรักษาศีล

    สมดังคาถาที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    "นรชนพึงสละทรัพย์ เพราะเหตุแห่งอวัยวะอัน

    ประเสริฐกว่า เมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละอวัยวะเสีย

    เมื่อระลึกถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้

    ทั้งชีวิตเสียทั้งหมด"

    ในวันหนึ่ง ๆ กุศลจิต เกิดได้จริง ตามการสะสม เล็ก ๆ น้อย ๆ นิด ๆ หน่อย ๆ

    แต่ที่เหลือในวันนั้นเป็นอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่
    เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญา

    จึงจะเห็นโทษของอกุศล ปัญญาเริ่มที่จะอบรมได้ ด้วยการฟังพระธรรม การศึกษา

    การสอบถาม การสนทนา ต้องอาศัยกาลเวลา ค่อย ๆ สั่งสมไปทีละเล็กทีละน้อย

    ในชีวิตประจำวัน อะไรก็ตามถ้าเป็นสิ่งที่ดี เป็นกุศล ย่อมเป็นสิ่งที่ควรจะเจริญให้

    มีขึ้นทั้งนั้น
    ถ้ามีความเข้าใจตามความเป็นจริงแล้ว จะรู้ได้ว่า สิ่งใดควรทำ สิ่งใด

    ไม่ควรทำ สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริงในชีวิต คือ ปัญญา
    สภาพธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ไม่กลับมาอีกเลย ศึลสำคัญกว่ากุฏิพระ แต่ขึ้นอยู่กับ
    ปัญญาและการสั่งสมมาต่างกัน ถ้าคิดถูกจึงจะเป็นกุศล เช่น บางคนยอมเสียทร้พย์
    เพื่อรักษาศีล บางคนยอมเสียญาติ คนรัก เพื่อรักษาศีล แต่ถ้าคิดไม่ถูก บางคนยอม
    เสียศีลเพื่อรักษาทรัพย์ และยอมเสียศีลเพื่อรักษาญาติ คนรัก ฯลฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </o:p></SPAN></SPAN>เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย สมาทานศีล รักษาศีล สวดมนต์ และได้ถวายข้าวพระพุทธรูป
    ทำบุญโลงศพ ไปไหว้หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อทวารวดีที่ปราจีนบุรี และหอพระที่ชลบุรี และได้ผ่านเมืองโบราณสระมรกตที่ปราจีนขอบอกบุญไปในตัว
    เลยนะ ในประมาณใกล้จะถึงวันมาฆบูชา จะมีพระคุณเจ้า เดินทางทั่วภาคตะวันออกเพื่อที่จะมาธุดงค์ที่วัดสระมรกตประมาณ 400-500 รูป เดินทางก็ประมาณหลายวันและเมื่อถึงวันมาฆบูชากจะทำพิธีที่สระมรกต อยู่ที่ อ.ศีรมโหสถ จ.ประจีนบุรี ท่านใดที่จะเชิญร่วมถวายภัตตาหารก็ขอเชิญ
    โดยพระคุณเจ้าจะเข้าปฏิบัติธรรมปีก่อนนั้นยังเห็นพระคุณเจ้าบางรูปเท้าเป็นแผลเพราะว่าเดินทางมาหลายกิโล และเดินเท้าเปล่าด้วย
    จึงจะขอบอกบุญด้วยถ้าถึงวันแล้วจะแจ้งให้ทราบโดยละเอียดอีกครั้ง



    และตั้งใจที่จะเดินจงกรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ กำหนดอิริยาบทย่อย
    และตั้งใจที่จะฝึกสมถกรรมฐานอนุสติให้ครบ 10 อย่างให้ได้
    วันนี้ได้อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทางตาม หลายซอย
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...