ปุจฉา-วิสัชนา เรื่อง สมาธิภาวนา จากหนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 26 มกราคม 2011.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ปุจฉา-วิสัชนา เรื่อง สมาธิภาวนา

    จากหนังสือพระธรรมเทศนา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    <table width="567" border="0" cellpadding="7" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ถ้าเรานอนสมาธิก่อนจะหลับ โดยทำให้เราหลับง่ายเข้าถือเป็นสมาธิหรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ถือเป็นสมาธิเหมือนกัน อันนี้ดีที่สุด ถ้าฝึกทำสมาธิเวลานอน ถ้านอนหลับลงไปแล้ว จิตเกิดเป็นสมาธิเวลานอน สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตจะดีมากขึ้น</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ขณะนั่งสมาธิ มีภาพเหตุการณ์เกิดขึ้น จะทราบได้อย่างไร ว่าสิ่งนั้นภาพนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หรือนึกคิดขึ้นเอง เช่น ครั้งหนึ่ง ขณะนั่งสมาธิ มีคนรู้จักที่ตายไปแล้วมาปรากฏ ทั้งๆที่ ไม่เคยนึกถึงเขามาก่อน อยากทราบว่า ภาพนี้เป็นจริงหรือไม่ ถ้าจริง เกิดขึ้นได้อย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ภาพนี้เป็นทั้งจริงและไม่จริง ถ้าหากว่านิมิตนั้น ในเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นจริง ก็เป็นเรื่องความจริง แต่ถ้านิมิตมันเกิดขึ้น แล้วไม่จริง ก็ไม่จริง อันนี้สุดแท้แต่จิตของเราจะปรุงเป็นมโนภาพขึ้นมา ถ้าหากว่า จิตของเรามีความมั่นคงเพียงพอ มีสติสัมปชัญญะเพียงพอ นิมิตที่เกิดขึ้นนั้น มันก็เป็นความจริง แต่ส่วนมากนิมิตในขั้นต้นๆนี้ มันจะเกิดขึ้นในระยะที่เราบริกรรมภาวนา แล้วรู้สึกว่าจิตมันเคลิ้มๆ เกิดสว่าง จิตมันลอยเคว้งคว้าง สติสัมปชัญญะยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก แล้วก็เกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา อันนี้ให้ ทำความเข้าใจว่า เป็นมโนภาพเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งสำคัญมั่นหมายว่า เป็นจริง ถือว่าเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นอารมณ์ อันหนึ่ง เราอาจจะกำหนดรู้ภาพนิมิตอันนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่อง ระลึกของสติ แล้วภาพนิมิตนั้นอาจจะแสดงให้เรารู้ในแง่กรรมฐาน ได้แก่ อสุภกรรมฐาน เป็นต้น ก็ได้</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เมื่อจิตติดอยู่ปีติ และความสุข มีอยู่บ่อยๆครั้ง จนไม่อยากจะถอน ออกจากสมาธิ จะมีอุบายแก้ไข ได้อย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ในขั้นนี้ ยังไม่ต้องการจะให้ใช้อุบายแก้ไข เพราะจิตที่มีปีติและความสุข ตามที่ท่านว่านี้ ยังไม่มั่นคงเพียงพอ ให้พยายามฝึกให้มีปีติ มีความสุข ให้มัน อยู่ในขั้นที่เรียกว่า ได้ฌานสมาบัติ อันนี้เป็นความรู้สึกสัมผัสเพียงนิดหน่อย อยากจะเปลี่ยนอะไรทำนองนี้ ดำเนินให้จิตมีความสงบ มีปีติ มีความสุขบ่อยๆเข้า มันจะได้เกิดมีความชำนาญในการเข้าออกสมาธิ แล้วถ้าจะอยากให้จิตมีสภาพ เปลี่ยนแปลง ให้คอยจ้องเวลาจิตถอนออกจากสมาธิ ในเมื่อหมดปีติ หมดความสุข ในสมาธิแล้ว เกิดความคิดขึ้นมา ทำสติตามรู้ความคิดนั้น หรือจะหาอะไรมา พิจารณาก็ได้ เพื่อเป็นการฝึกจิตให้รู้จักการพิจารณา</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เวลานั่งสมาธิหรือเดินจงกรม จะลงสู่ความสงบ แล้วมีนิมิตเสียงดังมาก เช่น ดังเปรี้ยง เหมือนฟ้าผ่า หรือเสียงก้องมา แต่ก็มีสติรู้ ไม่ตกใจ ถ้าเหตุการณ์ นี้เกิดขึ้นอีก จะปฏิบัติอย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ขอให้ถือว่าสิ่งนั้นคือ เครื่องรู้ของจิต เครื่อง ระลึกของสติ จะเป็นสี แสง เสียง หรือรูปนิมิต อะไรต่างๆก็ตาม ให้ถือว่าเป็น เครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ประคองจิตทำสติไว้ให้ดี แล้วผลดีจะเกิดขึ้น อย่าไปตกใจ หรือไปแปลกใจกับสิ่งเหล่านั้น</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เวลานั่งสมาธิ ก็ใช้คำบริกรรมคือ สมถะตลอด แต่เวลาเดินจงกรมใช้พิจารณา กายที่เดิน กำหนดสติกับการเดิน ทั้งสองควบคู่กันไป จะสมควรหรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อันนี้สมควร แล้วแต่อุบายของท่านผู้ใด บางทีถ้าหากว่าจิตมันต้องการบริกรรม ภาวนา ก็บริกรรม ถ้าต้องการจะกำหนดรู้อิริยาบถ ก็กำหนดรู้อิริยาบถ ถ้ามันจะ ต้องการค้นคิดพิจารณา ก็ให้มันค้นคิดพิจารณา อย่าไปขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางทีมันอาจจะสงบขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่าไปฝืน บางทีมันอาจจะเกิดความรู้ขึ้นมา โดยไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดความรู้ ก็อย่าไปฝืน ปล่อยมันให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน หน้าที่ของเรามีแต่ทำสติกำหนดตามรู้เท่านั้น</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เมื่อทำสมาธิแล้ว จิตไม่ค่อยสงบ มักจะน้อยใจว่าตนเองว่า ไม่มีวาสนาบารมี</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อย่าไปคิดอย่างนั้นซิ ในเมื่อจิตไม่สงบก็ทำเรื่อยไป ทำสติรู้และพิจารณาว่า มันไม่สงบเพราะอะไร ค่อยแก้ไข และพากเพียรพยายามทำให้มากๆเข้า เดี๋ยวมันก็ เกิดความสงบขึ้นมาเอง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ทำสมาธิภาวนานั้น ที่เราภาวนา พุทโธ นั้น จะต้องเอาจิตไปกำหนดไว้ที่ไหน เช่น ไว้ที่คำว่า พุทโธ หรือทำจิตรู้ไว้ตรงหน้าเฉยๆ หรือตามลมหายใจ</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ พุทโธ แปลว่า ผู้ตื่น พุทโธ แปลว่า ผู้เบิกบาน การภาวนา พุทโธ เอา รู้ ไปไว้กับคำว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ นี้เป็นอารมณ์เครื่องรู้ของจิต เป็นคำพูดคำหนึ่ง แต่ถ้าเราเอาตัวรู้สึกสำนึกไปไว้ที่ พุทโธ แปลว่า เอาพุทโธไปไว้ กับคำว่า พุทโธ ทีนี้เวลาเราภาวนาพุทโธ จะเอาจิตไปไว้ที่ไหนก็ได้ เช่น จะไม่เอาไว้ หรือจะเอาไว้ ไม่ตั้งใจเอาไว้อยู่ไหน เราก็กำหนดรู้ลงที่จิต ความรู้สึกอยู่ที่ไหน จิตก็อยู่ที่นั้น ความรู้สึก สภาวะรู้ คือ พุทโธ ผู้รู้ แล้วจะเอาคำว่า พุทโธ ไปไว้กับ สภาวะผู้รู้ พร้อมกับนึก พุทโธ ๆ ๆ คำว่า พุทโธ ไม่ใช่ผู้รู้ เป็นแต่เพียงอารมณ์ของ ผู้รู้ การทำสติให้รู้อยู่กับพุทโธ การทำสตินั้นคือตัวผู้รู้ แล้วเอาตัวผู้รู้มานึกถึงคำพูดว่า พุทโธ เอาพุทโธไว้ที่จิต เอาจิตไว้ที่พุทโธ บางท่านก็บอกว่า เอาจิตไว้ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก พุท พร้อมกับลมเข้า โธ พร้อมกับลมออก บางท่านก็สอนให้กำหนดรู้ ที่ปลายจมูก ตรงที่ลมผ่านเข้า ผ่านออก แล้วก็นึก พุทโธ ๆ ๆ ไปเรื่อย อันนี้แล้วแต่ ความเหมาะกับจริตของท่านผู้ใด ถ้าหากว่าการกำหนดบริกรรมภาวนาพุทโธ ถ้าเรา กำหนด พุท พร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออก จังหวะมันยังห่างอยู่ จิตยังส่งกระแสไป ทางอื่นได้ ก็ปล่อยลมหายใจเสีย แล้วนึก พุทโธ ๆ ๆ ให้มันเร็วเข้า อย่าให้มีช่องว่าง จะเอาไว้ที่ไหนก็ได้</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ขณะทำสมาธิ จะรู้ได้อย่างไรว่า จิตจวนจะเข้าภวังค์แล้ว และจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตกำลังอยู่ในภวังค์</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อันนี้เราพึงสังเกตว่า ถ้าเราเกิดมีกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ กายคล่อง จิตคล่อง กายควร จิตควร พึงเข้าใจเถิดว่า จิตของเรา กำลังจะก้าวเข้าสู่ภวังค์ ทีนี้คำว่า ภวังค์ นี้ หมายถึง ช่วงว่างระหว่างที่จิตกำลังบริกรรมภาวนาอยู่ แล้ว ปล่อยวาง คำภาวนา มีอาการวูบลงไป วูบเป็นอาการ เป็นความว่างของจิต ช่วงที่วูบนี้ ไปถึงระยะจิตนิ่ง ช่วงนี้เรียกว่า จิตตกภวังค์ ทีนี้เมื่อจิตตกภวังค์ วูบลงไปนิ่งพั้บ ถ้าไม่หลับ สมาธิเกิด ถ้าจะเกิดความหลับ ก็หลับไปอย่างไม่รู้ตัว แต่ถ้าแบบสมาธิจะเกิด พอนิ่งปั๊บ จิตเกิดสว่าง แสดงว่าจิตเข้าสู่สมาธิ ถ้านิ่งพับ มืดมิดไม่รู้เรื่อง จิตนอนหลับ นี่พึงสังเกตอย่างนี้ จิตที่เข้าสมาธิต้องผ่านภวังค์ ไปก่อน ภวังค์ คือ ช่วงว่างของจิตที่ปราศจากสติ เช่น อย่างเราคิดถึงสิ่งหนึ่ง เช่น คิดถึงแดง แล้วจะเปลี่ยนไปคิดถึงขาว ช่วงว่างระหว่างขาวกับแดงนี้ ตรงกลางเรียกว่า ภวังค์ สมาธิที่จิตปล่อยวางภาวนามีอาการเคลิ้มๆ แล้วก็วูบ ชั่ววูบ เรียกว่า จิตตกภวังค์ เมื่อวูบแล้วนิ่ง มืดมิดไป เรียกว่า จิตหลับ ถ้าวูบ นิ่งพั้บเกิดความสว่างโพลงขึ้นมา จิตเป็นสมาธิ พึงทำความเข้าใจอย่างนี้</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ขณะง่วงนอน และต่อสู้กับความง่วงอยู่นั้น จะเป็นโอกาสให้สติกลับรู้ตัวตามทัน หรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ถ้าหากเรามีการต่อสู้ ก็มีความตั้งใจ ในเมื่อมีความตั้งใจ ก็เกิดมีสติรู้ตัว ถ้าความตั้งใจมีพลังเข้มแข็งขึ้น สติก็เข้มแข็งขึ้น เมื่อสติเข้มแข็งขึ้น ความง่วง ก็หายไป ถ้าสติกับความง่วง สู้ความง่วงไม่ได้ ก็กลายเป็นความง่วงแล้วก็หลับไป</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ขณะทำสมาธิ เกิดนิมิตขึ้นมาเป็นภาพ จะต้องปฏิบัติ หรือกำหนดจิตอย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ในเมื่อทำสมาธิแล้ว จิตสงบลงไปเกิดเป็นนิมิตภาพขึ้นมา ระวังอย่าให้เกิด ความเอะใจ หรือแปลกใจกับการเห็นนั้น ให้ประคองจิตอยู่เฉยๆ ถ้าไปเกิดเอะใจ หรือทักท้วงขึ้นมา สมาธิจะถอน เมื่อสมาธิถอนแล้วนิมิตหายไป ถ้าใครสามารถ ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติ นิมิตนั้นจะอยู่ให้เราดูได้นาน และนิมิตนั้นจะเป็น เครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ บางทีนิมิตนั้นอาจจะแสดงอสุภกรรมฐาน หรือแสดงความตาย ถ้าแสดงอสุภกรรมฐานให้เราดู เช่น ล้มตายลงไป เน่าเปื่อย ผุพัง ก็ได้อสุภกรรมฐาน ได้มรณัสสติ ถ้าจิตของท่านผู้นั้นสำคัญมั่นหมายใน พระไตรลักษณ์ ภาพนิมิตนี้มันก็ไม่เที่ยง ปรากฏขึ้นมาแล้วมันก็ล้มตายไป ตายไปแล้วก็เปลี่ยนแปลงเป็นเน่าเปื่อย ผุพัง สลายตัวไป เสร็จแล้วก็ได้วิปัสสนา กรรมฐาน</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">เพราะฉะนั้น ในเมื่อภาวนาเกิดนิมิตขึ้นมาแล้ว อย่าไปดีใจเสียใจกับนิมิตนั้น ให้ประคองจิตให้รู้อยู่เฉยๆ ธรรมชาติของนิมิตนี้ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมี การเปลี่ยนแปลง ในเมื่อมันมีการเปลี่ยนแปลง ก็ทำให้เรารู้ ทำให้รู้ว่า แม้นิมิต นี้มันก็ไม่เที่ยง หรือเพียงแค่มันเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เกิดขึ้นแล้วก็หายไป มันก็ไปตรงกับคำว่า เกิด-ดับ เกิด-ดับ ที่เรากำหนดรู้กันในจิต ความเกิด-ดับ ความคิดมันเกิดขึ้น ความคิดมันดับไป ก็คือ การเกิดดับ นิมิตเกิดขึ้น นิมิต ดับไป ก็คือความเกิดดับ สุขมันเกิดขึ้น สุขมันดับไป ก็คือความเกิดดับ ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ดับไป ก็คือความเกิดดับ เมื่อเรามีสติ กำหนดรู้ความเป็น ของมันอยู่อย่างนี้ เราจะได้สติปัญญาดีขึ้น แล้วอาจจะเกิดปัญญา รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขึ้นมาได้</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ภาวนาไปจิตเบื่อหน่ายจะทำอย่างไร จิตเศร้าหมองจะทำอย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ความเบื่อ เป็นอาการของกิเลส ในเมื่อมันเกิดเบื่อ พิจารณาความเบื่อ เอาความเบื่อเป็นอารมณ์ ถามตัวเองว่า ทำไม มันจึงเบื่อ เมื่อได้คำตอบนี้แล้ว ถามต่อไปอีกว่า ทำไม ๆ ๆ เพราะ อะไร ๆ ๆ ไล่มันไป จนมันจนมุม เอา ความเบื่อเป็นอารมณ์ เอาความเบื่อเป็นเครื่องรู้ เราก็พิจารณาหาเหตุผล ความเบื่อให้ได้ การพิจารณาเช่นนี้ก็คือ การพิจารณาวิปัสสนากรรมฐาน</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">จิตเศร้าหมองก็พยายาม ภาวนาให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ ในเมื่อจิต มันรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว มันจะหายเบื่อ และจะหายเศร้าหมอง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> จิตมันมองเห็นกายเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะมันเกิดทุกข์ แล้วก็เบื่อ มันมองเห็นกายเป็นของสกปรก จิตมันรังเกียจ มันเกิดเบื่อ จะทำอย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อันนี้เป็นอาการของกิเลส ถ้ามันเกิดอาการอย่างนี้ขึ้นมาแล้ว เราขาดสติ ไปถือเอาความเบื่อเป็นเรื่องที่จะมาทำให้จิตของเรามัวหมอง หรือเศร้าหมอง ก็เรียกว่า เราขาดสติ ขาดปัญญา เมื่อเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นมา ต้อง พิจารณาจนกว่ามันจะหายเบื่อหน่าย หายเศร้าหมอง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เมื่อออกจากสมาธิแล้ว มีอาการเมื่อยล้ามากนั้น ถือว่าถูกต้องหรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">องค์ประกอบของการทำสมาธินี้ ในเมื่อสมาธิเกิดขึ้นเท่านั้นแหละ กายก็เบา จิตก็เบา ถ้าสมาธิอันใด ถ้าเรานั่งสมาธิตลอดคืนยันรุ่ง ตลอดวันยันค่ำ ในเมื่อออกจากสมาธิมาแล้วเมื่อย ยังกับว่าวิ่งมาตั้งหลายกิโลๆนี้ นั้นใช้ไม่ได้ ออกจากสมาธิแล้ว ต้องเบา</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> การที่จิตสามารถติดตามอารมณ์ต่างๆไปตลอดเวลา ถือว่าจิต เป็นสมาธิหรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">จิตที่สามารถตามรู้อารมณ์ต่างๆ อันนี้ถือว่าจิตเป็นสมาธิขั้นวิปัสสนา จิตที่จะติดตามรู้อารมณ์ได้ตลอดเวลา หมายถึงว่า เราคิดอะไรขึ้นมา จิตมันก็รู้ทัน ประสบเหตุการณ์อะไรขึ้นมา จิตมันก็รู้ทัน ใครด่ามาก็รู้ทัน ใครตำหนิมาก็รู้ทัน ใครยกย่องสรรเสริญมาก็รู้ทัน จิตสามารถที่จะตั้งมั่น อยู่ในสภาพปกติ ไม่ยินดียินร้ายต่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้ชื่อว่า จิตเป็นสมาธิ ในขั้นวิปัสสนากรรมฐาน ทีนี้ในเมื่อพูดถึงจิตในขั้นวิปัสสนากรรมฐาน บางท่านอาจจะสงสัยว่า จิตในขั้นสมถกรรมฐานเป็นอย่างไร จิตในขั้นสมถกรรมฐานนั้น หมายถึงจิตที่ไปนิ่งว่างอยู่เฉยๆ ไม่เกิดความรู้ หมายถึงจิตที่ อยู่ในฌาน มันรู้เฉพาะเรื่องของฌานเท่านั้น ความรู้อื่นๆไม่มี หมายถึงจิตที่ อยู่ในอัปปนาสมาธิ ขั้นที่เรียกว่าจิตนิ่งสว่าง แล้วก็ไม่รู้สึกจนกระทั่งว่ามีตัวมีตน ตัวตนหายไปหมด อันนี้จิตอยู่ในสมาธิขั้นสมถะ ย่อมไม่เกิดความรู้อันใด อันนี้ไม่ใช่การเริ่มต้น เป็นการที่จิตผ่านความเป็นสมาธิขั้นสมถะมาแล้ว จนมีสติสัมปชัญญะดี สามารถตามรู้ทันอารมณ์ต่างๆ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าใครได้อย่างนี้แล้วสบายมาก</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ขณะที่นั่งทำสมาธิ บริกรรม พุทโธ ๆ อยู่ จนกระทั่งรู้สึกว่า จิตเริ่มจะนิ่ง จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นคือ พุทโธ หายไป ไม่รู้สึกตัว ตัวไม่โยก ไปมา นั่งตรงอยู่เป็นระยะหนึ่ง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ในเมื่อบริกรรมภาวนา พุทโธ ๆ ๆ ไป จิตเริ่มจะสงบลงไป พอจิตเริ่มสงบลงไปแล้ว คำว่า พุทโธ มันจะค่อยเลือนลางหายไป ในที่สุดจิต จะไม่ว่าพุทโธ เลย แล้วจิตก็จะนิ่งรู้อยู่เฉยๆ นี่บางทีบางท่านอาจจะเข้าใจผิด ในตอนนี้ ในเมื่อบริกรรมภาวนา พุทโธ ๆ ๆ แล้ว ทีนี้จิตมันไม่ว่าพุทโธ แต่ มันมีอาการเคลิ้มๆสงบลงไป ก็เข้าใจว่าเรานี้เผลอสติไม่นึก พุทโธ แล้วก็ไป กลับนึก พุทโธ มาใหม่ ก็เป็นการเริ่มต้นอยู่เรื่อย อันนี้สังเกตให้ดี ถ้าบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ จิตมันไม่ว่า พุทโธ มันไปอยู่เฉยๆ นิ่งเฉยๆอยู่ ถึงแม้ว่าไม่สงบ ละเอียดก็ตาม ให้กำหนดรู้อยู่ ตัวนิ่งเฉยๆ อย่าไปคิดว่าจิตมันเฉยหนอ อะไรหนอ ถ้าไปนึกอย่างนี้จิตจะถอนจากสมาธิ ให้ทำทีว่ารู้อยู่ในทีอย่าไปนึกคิด อะไรทั้งนั้น ปล่อยให้จิตมันว่างอยู่อย่างนั้น เพียงแต่ทรงตัวอยู่เท่านั้น เมื่อมันถอน จากความรู้สึกว่างเฉยๆอย่างนั้นแล้ว เราจึงค่อยกำหนด พุทโธ ๆ ๆ ไปใหม่ ถ้าหากมันวางเฉยอยู่อย่างนั้น ก็ปล่อยให้มันเฉยอยู่อย่างนั้น ทีนี้พอทำไปนานๆเข้า จิตมันมีพลังขึ้นมา มันก็จะสว่างแจ่มใสขึ้นมาเอง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เวลานั่งสมาธิจิตภาวนา จิตยังไม่ถึงอุปจาระ กำหนดให้เห็นรูปนาม เกิดดับ เป็นปัจจุบันธรรม ได้หรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ได้ แต่ว่าเป็นเพียงการปรับปรุงหรือปรุงแต่งปฏิปทาเท่านั้น การนึกว่า นี้รูป นี้นาม โดยความตั้งใจ โดยเจตนา อันนี้เป็นขั้นปฏิบัติภาคปรุงแต่งปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติ แต่นักปฏิบัติจำเป็นจะต้องพิจารณารูปนาม ด้วยความตั้งใจที่จะคิด พิจารณา เพื่อเป็นแนวทางให้จิตสงบเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว จิตนั้นจึงจะพิจารณา รูปนามไปเองโดยอัตโนมัติ</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ทำจิตภาวนาเพียงสงบนิ่ง หากจะทำวิปัสสนาไปพร้อมด้วย จะทำอย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ทำจิตเพียงแค่สงบนิ่ง พอที่จะสามารถควบคุมจิตให้นึกคิดอยู่ในสิ่งที่เรา ต้องการได้ เจริญวิปัสสนาในแนวทางแห่งความนึก โดยใช้สัญญาที่เราเรียนมา มาพิจารณาเอาโดยความตั้งใจ เช่น เราอาจจะคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็ถามปัญหาตัวเองว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างไร แล้วก็ตอบตัวเองไป ถามตัวเองไป ซึ่งสามารถที่จะ ควบคุมจิตให้นึกคิดอยู่ในเรื่องๆเดียวที่เราต้องการ อันนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาไป พร้อมๆกัน แต่หากยังไม่ใช่ตัววิปัสสนา ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว จิตรู้แจ้งเห็นจริง ยอมรับสภาพความเป็นจริงที่เราพิจารณาว่าอันนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างจริงจัง จิตสงบนิ่งลงไปแล้ว ตัดสินขึ้นมาว่านี้คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์จริงๆ อันนั้นจึงจะเป็นวิปัสสนา</td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    <table id="AutoNumber1" width="567" border="0" cellpadding="7" cellspacing="0"><tbody><tr><td valign="TOP" width="8%">ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ในขณะที่นั่งสมาธิ จิตมักจะเผลอไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ทำอย่างไรจึงจะ ไม่ให้จิตเป็นอย่างนั้น</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อันนี้ต้องอาศัยทำบ่อยๆ ภาวนาบ่อยๆ ทำให้มากๆ จนชำนิชำนาญแล้ว จิตจะอยู่เอง การทำสมาธิในขั้นเริ่มต้นนี้ เราก็ย่อมจะลงทุนลงแรงหนักหน่อย เหมือนๆกับการบุกเบิกงานใหม่ เพราะฉะนั้น การทำสมาธิเพื่อจะไม่ให้จิตส่งไป เรื่องนั้นเรื่องนี้ เราต้องพากเพียร พยายาม แต่อย่าไปเข้าใจว่า ทำสมาธิแล้ว ทำให้เราหมดความคิด เราทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ปัจจุบันชั่วขณะหนึ่ง พอเราได้มองเห็นหน้าเห็นตาของจิตดั้งเดิมของเราว่าเป็นอย่างไร ในเมื่อเราอบรม สมาธิให้มากๆแล้ว ในเมื่อมีสติสัมปชัญญะดีแล้ว จิตของเรานี้ มันยิ่งมีความคิดมาก ยิ่งกว่าความคิดวุ่นวายเดี๋ยวนี้ แต่ความคิดที่มีสติเป็นตัวกลางสำคัญนั้น ย่อมไม่เป็น การหนักอกหนักใจ และก่อทุกข์ก่อยากให้แก่ใคร เพราะฉะนั้น การทำสมาธิเป็นสิ่งจำเป็น</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติที่มุ่งความสำเร็จกันอย่างจริงจัง โปรดอย่าได้ปล่อยหรือ หลงให้ใครสักคนหนึ่งมาใช้อำนาจบังคับจิตใจเรา เราภาวนา พุทโธ ๆ ๆ เป็นต้น เราไม่ได้ปรารถนาจะให้พระพุทธเจ้ามาเป็นใหญ่ในหัวใจของเรา เพื่อดลบันดาล จิตใจของเราให้สงบเป็นสมาธิ เราระลึกถึง พุทโธ ๆ ๆ เพียงระลึกคุณพระพุทธเจ้า ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้รู้ ๆ เพื่อจะทำจิตใจของเราเป็นผู้รู้ตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า เท่านั้น และคำว่า พุทโธ เป็นแต่เพียงสื่อทำให้จิตเดินไปสู่ความสงบ เพื่อเป็นอุบาย ที่มันพรากจากความคิดที่มันวุ่นวายอยู่กับสิ่งต่างๆ ให้มารวมอยู่ในจุดๆเดียว คือ พุทโธ เสร็จแล้วจิตรวมอยู่ที่ พุทโธ จิตก็จะสงบ สงบแล้วคำว่า พุทโธ จะหายไป ยังเหลือแต่สภาวะจิตของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ภายในจิตของผู้ภาวนา อันนี้คือจิต ของผู้ภาวนา เป็นไปโดยสมรรถภาพและพลังของตัวเอง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">อีกอย่างหนึ่ง เคยได้พบ ได้เห็น เช่น อย่างบางท่านไปเรียนกรรมฐาน เขาก็ให้ อาจารย์กรรมฐานลงอักขระ มีการปลุกเสก สวดญัตติเข้าไปให้ พอไปภาวนาแล้ว เมื่อจิตเกิดมีสมาธิขึ้นมาบ้าง ในขนาดอุปจารสมาธิอ่อนๆ ก็ถูกอาถรรพณ์วิชานั้น เข้าครอบ พอครอบแล้วสติไม่สามารถควบคุมจิตของตัวเองได้ กลายเป็นคน วิกลจริตไปก็มี การปฏิบัติสมาธิตามหลักของพระพุทธเจ้านี้ ในขณะใดที่เรายังไม่ สามารถทำจิตให้บรรลุคุณธรรมขั้นสูงถึงขนาด มรรค ผล นิพพาน เราภาวนาแล้ว เราสามารถเอาพลังสมาธินี้ ไปใช้ประโยชน์ในทางการงานทางโลกที่เรารับผิดชอบอยู่ เพราะการทำสมาธิทำให้ผู้ภาวนามีสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นตัวของตัวเอง ไม่ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งใด เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ภาวนามีสมาธิดีแล้ว มีสติสัมปชัญญะดีแล้ว ก็สามารถใช้พลังสมาธิของตัวเอง เป็นอุปกรณ์ในการ ทำงานได้เป็นอย่างดี พลังของสมาธิ และสติปัญญาที่ท่านอบรมมาแล้วนั้น จะเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนความรู้สึกของท่าน ให้เป็นผู้ไม่ประมาท ทั้งการงาน ทางโลก และทางธรรม อันนี้จึงจะเป็นไปโดยถูกต้อง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">ถ้าภาวนาแล้วจิตมีสมาธิ แล้วทำให้เบื่อหน่ายโลก ไม่อยากอยู่กับโลก ไม่อยากอยู่ กับครอบครัว อันนี้เป็นความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง และความคิดเห็นอันนั้นไม่ใช่มัน เป็นไปด้วยอำนาจของจิตใจ แต่หากมีอำนาจสิ่งหนึ่งมาคอยบังคับจิตให้มีความรู้สึก เป็นไปเช่นนั้น โลกนี้ไม่ใช่โลกที่น่าเบื่อหน่าย โลกนี้ไม่ใช่โลกที่น่าเกลียด น่าชัง โลกนี้เป็นโลกที่ทุกคนควรจะศึกษาให้รู้จักข้อเท็จจริงของความเป็นไปของโลก</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">ในเมื่อเราเป็นนักปฏิบัติ ถ้าเราไม่รู้จักข้อเท็จจริงของโลกว่ามันเป็นอย่างไร และ ไม่รู้สภาพความเป็นจริงของจิตใจของตัวเองว่าเป็นอย่างไร มันมีความติดอยู่ในโลก อย่างไร ผูกพันอยู่ในโลกอย่างไร เราก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาภายในจิตของเราได้</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ขณะที่ฟังหลวงพ่อเทศน์ จิตจับอยู่ที่เสียง ก็รู้สึกว่าเป็นสมาธิดี แต่จิตมิได้ จับอยู่ที่เนื้อความที่หลวงพ่อเทศน์ อย่างนี้ขอให้หลวงพ่ออธิบายด้วยว่า การทำสมาธิ ของผู้ถามได้ผลหรือไม่</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">การทำสมาธิในขณะที่ฟังเทศน์ ถ้าจิตมีสมาธิแล้ว ไม่ได้ยึดคำบรรยาย ที่พูดไป เป็นแต่เพียงว่ารับรู้เฉยๆ ไม่ได้สำคัญมั่นหมายเสียงที่ได้ยินนั้น ท่านว่า อะไรบ้าง หรือบางทีเสียงที่เราๆฟังๆอยู่นั้นหายไป เราฟังไม่ได้ยิน อันนี้หมายถึงว่า จิตอยู่ในสมาธิ เพียงแต่สักว่ากำหนดรู้ ทีนี้ลักษณะอย่างนี้ ถ้าหากว่าเรากำหนดจิต อยู่ในสมาธิ กำหนดดูจิตของเรานี้ ถ้าหากว่าจิตมันเกิดความคิดอะไรขึ้นมาแล้ว มันสักแต่ว่าเป็นความคิด แต่มันไม่ยึดว่าเป็นความคิดนั้น ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน กับฟังเสียง แล้วจิตไม่ได้ยึดกับเสียงที่ได้ยินอันนี้ เป็นลักษณะของความปล่อยวาง อย่างหนึ่ง แต่ว่าถ้าพูดถึงความเข้าใจแล้ว ใช่ว่าจิตมันไม่เข้าใจ มันเข้าใจซึ้งๆ อยู่ในท่าทีของมัน แต่มันไม่ได้เข้าใจในลักษณะที่ว่า สามารถจำได้ อธิบายได้ แม้ว่าจิตมันเกิดความรู้อะไรขึ้นมาภายในก็ตาม มันเกิดขึ้นมาแล้ว สักแต่ว่าเป็น ความคิด แล้วมันไม่ยึด มันก็มีแต่ความวางเฉยอย่างเดียว ความวางเฉยอันนี้ ไม่ใช่ว่าเฉยไม่รู้ไม่ชี้ แต่มันมีลักษณะรู้ซึ้งๆอยู่ในตัว อันนี้ต้องสังเกตดูให้ดี</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">บางทีเราอาจเคยทำสมาธิบริกรรมภาวนา จิตมันสงบสว่าง มีวิตก วิจาร มีปีติ สุข เอกัคคตา ตามหลักขององค์ฌาน แต่ในเมื่อทำไป ทำไปแล้ว คือในขั้นต้นนี้ พอนึกถึงอารมณ์ เรียกว่า วิตก จิตเคล้ากับอารมณ์เรียกว่า วิจาร แล้วมันเกิดปีติ เราก็รู้ เกิดสุข เราก็รู้ ทีนี้มันเกิดความเป็นหนึ่ง คือ ความสงบ เราก็รู้ รู้ไปเป็น ขั้นตอน แต่เมื่อทำหนักๆเข้าแล้ว กำหนดจิตปั๊บลงไปนึก พุทโธ ๆ ๆ จิตมันสงบ พรวดลงไปเลย ไม่สามารถจะกำหนดวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ได้ถนัด อันนี้เป็นความคล่องแคล่วของจิต เป็นความชำนาญของจิต เพราะมันเป็นแล้ว มันก็วิ่งเร็ว ในเมื่อมันยังไม่เป็น มันก็รู้ไปตามขั้นตอน อันนี้บางท่านอาจจะคิดว่า ภาวนาเมื่อก่อนนี้จิตทำไมมันสงบนิ่ง สว่าง เยือกเย็นดีหนักหนา แต่เดี๋ยวนี้ทำไม มันไม่สงบ พอกำหนดจิตลงไปแล้ว มันมีแต่ความรู้เกิดขึ้น มีแต่ความคิด บางท่าน ก็เข้าใจผิดว่า จิตของตัวเอง ฟุ้งซ่าน แต่แท้ที่จริงแล้วมันเกิดปัญญา ทีนี้ข้อสังเกต มันมีอยู่อย่างนี้ แต่ก่อนจิตเคยมีความยินดี มีความยินร้าย ทำให้เกิดความดีใจ เสียใจ แต่เมื่อจิตผ่านสมาธิมาแล้ว มันมีความคิดอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ความคิด อันนั้นมันไม่สามารถที่จะดึงเอาจิตของเราไปให้มีอาการเป็นอย่างนั้นได้ จริงอยู่ ในสภาพปกติ สักแต่ว่าสัมผัสรู้ ทีนี้ตามรู้ไป ๆ ๆ เพราะจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่อง ระลึก มันอาจจะเกิดความสงบละเอียดลงไปแล้ว ความรู้สามารถที่จะพรั่งพรูออกมา เราสังเกตดูว่า ความรู้ในขั้นนี้ มันไม่เกิดความยินดี มันไม่เกิดความยินร้าย ไม่มีดีใจ ไม่มีเสียใจ มีแต่ความปกติของจิต จิตอยู่อย่างสบาย มีความสุข มีความแช่มชื่น ในความรู้นั้น อันนี้ปัญญามันเกิด</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> การทำสมาธิมานานปี หากยังไม่เห็นนิมิตต่างๆอย่างผู้อื่นนั้น เป็นเพราะยังทำสมาธิไม่ถูกต้องวิธี ใช่ไหม</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%"> เรื่องของนิมิตมักจะเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่มีกำลังใจอ่อน มีอารมณ์ไหวง่าย ก็ยิ่งคนใจอ่อนอยากเห็นนิมิตง่ายๆ ก็พอนั่งบริกรรมลง พอจิตสงบเคลิ้มๆไปแล้ว ส่งกระแสจิตออกข้างนอกแล้ว จะเห็นภาพนิมิตต่างๆ แต่ขอบอกว่าการเห็น ภาพนิมิตต่างๆนั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใด นอกจากจะทำให้จิตของเรามันหลง การภาวนานั้น จะมีนิมิตเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นก็ตาม อย่าไปใฝ่ฝันในนิมิตนั้นๆ ความมุ่งหมายของการภาวนานี้ ให้จิตสงบลงไปเพื่อจะให้รู้เห็นสภาพความเป็นจริง ของจิตของเรา ว่ามันเป็นอย่างไร ทีแรกเห็นความฟุ้งซ่านของจิตก่อน เมื่อจิตสงบ ลงไปแล้ว เห็นลักษณะจิตที่สงบว่างๆ ไม่มีอะไร เราอาจจะได้รู้ความเป็นจริงของ จิตดั้งเดิม ในลักษณะที่ว่า จิตเป็นธรรมชาติประภัสสร คือ จิตดั้งเดิมของเรา ที่นี่ในเมื่อจิตมันอยู่ว่างๆเป็นธรรมชาติประภัสสรนั้น มีความรู้สึกสบายไหม มีความรู้สึกทุกข์ไหม ฟุ้งซ่านไหม เดือดร้อนไหม ให้รู้ให้เห็นที่ตรงนี้ เรื่องนิมิตต่างๆนั้น จะเห็นหรือไม่เห็น ไม่สำคัญ แต่ถ้าใครจะเห็นได้ก็ดี ถ้าไม่เห็นก็ไม่ต้องเสียใจ อย่าไปปรารถนาจะเห็นนิมิตเป็นภาพอะไรต่ออะไรอย่างนั้น มันเป็นเพียงทางผ่านของจิตเท่านั้น จะรู้ จะเห็นก็ตาม ขอให้จิตสงบ รู้สภาพความ เป็นจริงของจิต และอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นกับจิต มีสติรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิต พอแล้ว ปัญหาของผู้ถามนี้ โดยปกติแล้วปฏิบัติวันละ ๒๐-๓๐ นาที อันนี้ขอเสนอ ว่า ยังน้อยไป ขอให้ตั้งปณิธานไว้ว่า วันหนึ่งจะนั่งสมาธิได้วันละ ๓ ครั้ง ครั้งละ ๑ ชั่วโมง ถ้าได้อย่างนั้นเป็นดีที่สุด และจิตจะสงบ รู้ธรรม เห็นธรรมง่าย</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> ฝึกสมาธิอยู่ ๒ ปี นิสัยก็เปลี่ยน คือ ชอบอยู่ตามลำพัง อ่านหนังสือธรรมะ อาการอย่างนี้ คือ กำลังจะเป็นบ้า ใช่ไหม</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">การทำสมาธิในขั้นต้นๆ ในเมื่อจิตรู้สึกจะสงบลงไปบ้าง จิตมันติด ความสงบ มันชอบอยู่เงียบๆคนเดียว เป็นเรื่องของธรรมดา อันนี้ไม่ใช่ กำลังจะเป็นบ้าหรอก เป็นธรรมชาติของจิตสงบ มันเป็นอย่างนั้น ทีนี้ใน ตอนต้นๆนี้ มันสงบแล้ว มันจะจ้องเข้ามาในตัวนี้ มันไม่ออกไปข้างนอก ตอนนี้มันยังไม่มีปัญญาแตกฉาน ต่อเมื่อมันมีปัญญาแตกฉาน รู้เท่าทัน เหตุการณ์ต่างๆ แล้วมันจะออกไปมองอยู่ข้างนอก เรื่องของข้างนอกนี้ จิตในขั้นวิปัสสนากรรมฐานนี้ จะรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้วุ่นวาย มันเป็นเรื่องที่น่าศึกษาให้รู้ข้อเท็จจริง เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสภาวะ เครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ทำให้จิตรู้ซึ้งเห็นจริงลงไปว่า ทุกสิ่ง ทุกอย่าง อนิจจัง อนัตตา ทั้งนั้น ในขั้นนี้ก็ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนี้ก่อน</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> กำหนดจิตมีสติปกครองรักษาจิต อารมณ์เช่นนั้น ก็มีผลแบ่งออกอารมณ์ภายนอก</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อันนี้มันเป็นผลที่ผู้ปฏิบัติได้ฝึกอบรมจิต ทั้งขั้นบริกรรมภาวนา ขั้นการพิจารณาธรรม จนสามารทำจิตให้มีสติ เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะ อาการอย่างนี้มักจะเกิดขึ้นกับจิตของท่านผู้ดำเนินการปฏิบัติตามหลักของ มหาสติปัฏฐาน โดยอาศัยหลัก กาย เวทนา จิต ธรรม การพิจารณากาย ก็คือ พิจารณาอาการ ๓๒ ในแง่อสุภกรรมฐานบ้าง ในแง่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ บ้าง โดยเอาอาการ ๓๒ นี้เป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่อง ระลึกของสติ</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">ในขณะที่เรากำหนดพิจารณาดูกายคือ อาการ ๓๒ นั้น ความจริงเราตั้งใจ แต่จะดูเรื่องของกาย แต่พร้อมกันนั้นเราจะรู้เรื่องของเวทนา ของจิต ของ ธรรม ไปด้วย เราดูกาย เราก็รู้เวทนา มันเกิดที่กาย ความสุขก็เกิดที่กาย ความทุกข์ก็เกิดที่กาย และพร้อมๆกันนั้น จิต ธรรม มันก็ปรากฏขึ้น เพราะจิตมันเป็นผู้รู้ แล้วก็ธรรมที่จะปรากฏเป็นสิ่งกวน เรียกว่า นิวรณ์ ๕ เวทนาก็คือ สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้น</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">เพราะฉะนั้น ภูมิจิตของท่านผู้ดำเนินตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ๔ นี้ คือ ยึดเอา กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเครื่องรู้ เครื่องเห็น เป็นเครื่อง ระลึกของสติ เมื่อจิตมีสติสัมปชัญญะดีแล้ว แม้อยู่ในสมาธิ ก็จะรู้สึกจิต กับอารมณ์แยกกันออกคนละส่วน ในเมื่อออกจากสมาธิ แล้วมาอยู่ปกติ ธรรมดา เช่น อย่างเราคุยกันอยู่เดี๋ยวนี้ ท่านผู้นั้นก็จะรู้สึกจิตภายใน มีความสงบอยู่ แต่ส่งกระแสจิตมาทำงานภายนอก รับรู้อารมณ์ได้ ในบางครั้งคล้ายๆกับเรารู้สึกว่า เรามีใจ ๒ ดวง ดวงหนึ่งมันนิ่งอยู่ข้างใน ดวงหนึ่งมันทำงานอยู่ข้างนอก อันนี้เป็นธรรมชาติของจิตผู้ที่ฝึกฝนอบรม มาชำนิชำนาญ มีสติสัมปชัญญะพอสมควร แล้วจะได้ผลอย่างนี้</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เมื่อต้องการจะหยุดทำสมาธิ คล้ายกับมีร่าง ๒ ร่าง เหมือนมีจิต แยกกันอยู่ ควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">เหตุการณ์ที่ว่านี้ จะเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางขณะ บางทีเราทำจิต สงบลงไป เราอาจจะมองเห็นตัวของเราอีกร่างหนึ่งแฝงขึ้นมา มีความ รู้สึกว่า เรามีกาย ๒ กาย มีจิต ๒ จิต เพราะในขณะนั้นเรารู้สึกว่า กายของเราแยกออกไปอยู่ข้างนอก ความรู้สึกของเราจึงแยกออกเป็น ๒ ส่วน ในเมื่อเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นควรจะปฏิบัติอย่างไร อะไรจะ เกิดขึ้นก็ตาม มันจะเป็น ๒ ร่างหรือ ๓ ร่างหรือ ๑๐ ร่างก็แล้วแต่ สิ่งที่ปรากฏการณ์เกิดขึ้นนั้น เพราะผลที่เกิดจากการทำสมาธิ เมื่อจิต สงบลงไปสู่อุปจารสมาธิ กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก ถ้าไม่เห็นภาพ หรือรูปอย่างอื่น ก็จะมองเห็นรูปตนเองปรากฏขึ้น เมื่อจิตสงบเข้าจริงจัง แล้ว ร่างที่ ๒ หรือจิตที่ ๒ จะหายไป จะมารวมอยู่ที่จิตๆเดียว คือ จิตของเรา เป็นเรื่องของธรรมดา เป็นทางผ่านของการทำสมาธิ ปัญหาสำคัญ อย่าไปเอะใจ หรือไปตื่นกับเหตุการณ์เหล่านั้น ให้กำหนด รู้ลงที่จิตที่สงบอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไปเอะใจกับสิ่งเหล่านั้น จิตจะถอน จากสมาธิ นิมิตที่มองเห็นจะหายไป</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> จงกรุณาอธิบาย วิธีเดินจงกรม ว่าทำอย่างไร</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">การเดินจงกรมมีหลายแบบ แต่จะพูดถึงแบบเดินจงกรมของท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีฯ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ก่อนที่ท่านจะเดินจงกรม ท่านให้กำหนดทางเดินจงกรม โดยไม่ให้สั้นกว่า ๑๒ ศอก และไม่ให้ ยาวจนเกินไป กะว่าเอาพอดีๆที่เราเดินกลับไปกลับมา ถ้ากำหนดทาง เดินจงกรมสั้น เราต้องหมุนกลับบ่อยๆ ทำให้เกิดเวียนศีรษะ แต่ถ้ายาว เกินไป การเดินไกลย่อมเกิดความเมื่อย เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้กำหนด เอาแต่พอดีๆ ก่อนที่จะเดินจงกรม ท่านให้อธิษฐานจิต โดยระลึกถึงคุณ ของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นต้น หรือจะสวด อิติปิ โส...ถึง สุปฏิปันโน...จนจบ แล้วก็แผ่เมตตา พอแผ่ เมตตาแล้ว กำหนดจิตว่าเราจะเดินจงกรม เอามือซ้ายวางลงหน้าท้อง เอามือขวาวางทับเกาะกันไว้พอไม่ให้หลุด ทอดสายตาลงห่างจากตัว ประมาณ ๔ ศอก อยู่ในท่าสำรวม แล้วก้าวเดินไปช้าๆด้วยความมีสติ ถ้าบริกรรมภาวนา พุทโธ ก็บริกรรม พุทโธ อยู่ที่จิต ไม่ต้องไปสนใจกับ การก้าวเดิน เพราะโดย ธรรมชาติของจิต จิตอยู่ในกาย กายอยู่ในจิต จิตคิดจะทำอะไรเกี่ยวข้องกับกายย่อมรู้ทั่วกายทั้งหมด ตั้งใจว่าจะเดิน ก็เดินได้ ตั้งใจว่าจะนั่ง ก็นั่งได้ ตั้งใจว่าจะยืน ก็ยืนได้ ตั้งใจว่าจะนอน ก็นอนได้ เมื่อตั้งใจว่าจะเดินจงกรม ทำกิจเบื้องต้นดังที่ได้กล่าวแล้ว แล้วก็ตั้งใจเดินด้วยท่าสำรวม กำหนดรู้ที่จิตนึกบริกรรมภาวนา พุทโธ หรือจะกำหนดพิจารณาอะไรก็ได้ นี้คือวิธีการเดินจงกรม</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">การเดินเป็นแต่เพียงส่วนประกอบ แต่การกำหนดจิตเป็นเรื่องสำคัญ การกำหนดจิตในขณะที่เดินเรียกว่า ทำสมาธิในท่าเดิน กำหนดจิตใน ท่านั่งเรียกว่า ทำสมาธิในท่านั่ง กำหนดจิตในเวลานอนเรียกว่า ทำ สมาธิในท่านอน กำหนดจิตในเวลายืนเรียกว่า ทำสมาธิในท่ายืน ใช้อารมณ์อย่างเดียวกัน</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เวลาเดินจงกรม กำหนดอานาปานสติ เดินไปนานพอสมควร รู้สึกว่าเห็นแผ่นดินที่อยู่ข้างหน้าหมุนๆได้ เหมือนกับน้ำในตุ่มที่ถูกมือกวน</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">อันนี้เป็นสภาวะของจิต ความหมุน ความเวียนที่แผ่นดิน จะพลิก อย่างไรก็ตาม อันนี้ เป็นอาการของจิตที่ปรุงขึ้น ซึ่งจิต ของเราอาจจะปรุงไปต่างๆ อันนี้ ถ้ามีอาการเกิดขึ้นในผู้ปฏิบัติ ให้กำหนดรู้ลงที่จิต เอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต และเป็นเครื่อง ระลึกของสติ ประคับประคองตัวผู้รู้เอาไว้ให้ดี แล้วเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นนั้น เราจะรู้แจ้งเห็นจริงเอง</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%"> ถาม</td> <td valign="TOP" width="92%"> เมื่อภาวนาแล้ว รู้สึกว่าร่างกายคือรูป หายไปในความรู้สึก ควรจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อจะเดินวิปัสสนา</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">ตอบ</td> <td valign="TOP" width="92%">ถ้าหากรูปหายไปแล้ว เวทนา สัญญา จะไม่ปรากฏ เพราะเวทนา กับสัญญามันอาศัยรูปเป็นที่เกิด ถ้าหากรูปหายไปแล้ว เวทนา สัญญา จะไม่ปรากฏ เวทนาคือ สุข ทุกข์ ไม่มี มีแต่อุเบกขา เวทนา สัญญา ความทรงจำในสิ่งต่างๆจะไม่มี ในเมื่อรูปหายไปแล้ว จิตจะเกิดความรู้ อะไรขึ้นมาไม่ได้อาศัยสัญญา</td> </tr> <tr> <td valign="TOP" width="8%">
    </td> <td valign="TOP" width="92%">หากเป็นภูมิจิตที่เกิดขึ้นมาในส่วนละเอียด ส่วนละเอียดที่จิตมีความรู้ ขึ้นมานั้นคือสังขาร เมื่อ รูป เวทนา สัญญา หายไปแล้ว ผู้ภาวนาจะมี ความรู้สึกว่า สังขารยังเหลืออยู่ วิญญาณก็ยังเหลืออยู่ แต่วิญญาณใน ลักษณะของการรู้ยิ่งเห็นจริงนั้น อยู่ในลักษณะวิญญาณเหลือแต่ตัวรู้ แต่ตัวกระทบไม่มี ถ้าหากในขณะนั้นจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นมาให้จิตรู้ จิตก็ ไม่มีอาการรู้ในทางวิญญาณ เป็นแต่เพียงว่าตัวผู้รู้สามารที่จะส่งกระแส ที่จะรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามา สิ่งที่ผ่านเข้ามาให้รู้ เปรียบเหมือนว่าอยู่เอกเทศ ส่วนหนึ่ง คล้ายกับว่ามันแยกออกเป็นคนละส่วน ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะเหตุว่าความรู้หรือสิ่งที่รู้ ที่มันมี ปรากฏการณ์ขึ้นมานั้น จิตซึ่งเป็นตัวสังขารจิต หรือเรียกว่าสังขารธรรม มันปรากฏขึ้นมา เป็นการปรุงของจิตส่วนละเอียด ปรุงขึ้นมาด้วยความ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น จึงรู้สึกเสมือนหนึ่งว่า สิ่งที่ตัวปรุงขึ้นมานั้น ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง เป็นเรื่องอื่นมาปรากฏการณ์ให้รู้ให้เห็น อันนี้เป็น ลักษณะภูมิจิตที่เกิดความรู้อย่างละเอียด มันจะมีอยู่ เป็นอยู่ เหมือนอย่าง ที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น เรียกว่า ฐีติ ภูตัง ของท่านอาจารย์มั่น นั่นเอง

    คัดลอกจาก ประตูธรรม http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_poot/lp-poot_40_02.htm
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2011
  3. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...