'ผม'จะเป็นพระที่ดี ตอน "บวช" (อยากให้ผู้ที่จะบวชมาอ่านนะครับ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 8 มีนาคม 2010.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    'ผม'จะเป็นพระที่ดี ตอน "บวช" (อยากให้ผู้ที่จะบวชมาอ่านนะครับ)

    NOTE- บทความนี้ผมตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อบอกเล่าประสบการณ์อันมีค่าของผมตลอดช่วง การบวช 30กว่าวันของผม อยากให้ผู้ที่คิดจะบวชและคนที่สนใจได้เข้ามาอ่าน เผื่อว่าจะได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการบวชไปบ้างซัก นิดซักหน่อยก็ยังดี
    - บทความชุดนี้มีหลายตอนนะครับ จะทยอยเขียนและค่อยๆ ทยอยเอามาลงเรื่อยๆนะครับ
    - ข้อมูลที่นำมาเขียน.. ผมได้มาจากการอ่านหนังสือบ้าง จำมาบ้าง ฟังเทศน์จากครูบาอาจารย์บ้าง ทั้งนี้ด้วยความรู้แบบงูๆปลาๆของผม จึงอาจมีตกหล่นไปบ้าง.....ไม่ครบถ้วนบ้างอย่างไรขอให้ผู้อ่านชี้แนะด้วยครับ
    - ผมเขียนบทความนี้ด้วยเจตนาที่หวังดีจริงๆ ไม่ได้คิดจะอวดอ้างตัวแต่อย่างใด ====================================================================
    บท นำ ‘ผม’นั่งพับเพียบตัวตรง สายตาทอดออกไปยังฝูงชนอันเนืองแน่นเบื้องหน้าด้วยท่าทีสงบนิ่ง สำรวม ....ผู้คนเหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วล้วนแต่จะเป็นผู้มีคุณซึ่ง‘ผม’เคยยกมือไหว้มาแล้วทั้งนั้น
    ณ ตอนนี้ พวกเขากำลังอยู่เบื้องหน้าผม ....และพร้อมใจกันก้มลงกราบผม.....!!
    ......... ‘ผม’รู้สึกตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูก
    .....ธาร สายตาอันฉายประกายแววแห่งศรัทธาในผ้าเหลืองอันศักดิ์สิทธิ์ มือทุกคู่ที่ประนมแนบอกราวกับช่อปทุมที่พร้อมใจกันยกขึ้นบูชาพระรัตน ตรัย และใจทุกดวงที่ตั้งมั่นพร้อมจะอนุโมทนาในผลบุญกุศล.............ทำเอา‘ ผม’ขนลุกวาบขึ้นมา
    ...ณ ตอนนั้นเอง ความคิดหนึ่งก็ได้ผุดขึ้น และ แปรเปลี่ยนเป็นปณิธานอันแรงกล้า “ ‘ผม’....จะเป็นพระที่ดี ”
    หากจะพูดถึงการบวชแล้ว ผมเชื่อว่าหลายคนคงจะนึกไปถึงการโกนหัวใส่ชุดขาว แห่นาคเข้าวัด ..อาจมีขบวนแห่ตะลุ่งตุ้งแช่บ้างตามฐานะ แล้วเข้าไปในอุโบสถให้พระสงฆ์ห่มผ้าเหลืองให้ (ก่อนเข้าอาจมีการให้ญาติๆมารุมมะตุ้มช่วยกันอุ้ม(บอดี้เซิร์ฟ)นาคข้ามธรณี ประตู เชื่อว่าได้บุญแรง )....เท่านั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี............ ถึงตอนนี้ คุณก็อาจจะอิ่มเอมใจในบุญที่ได้รับ และปลื้มอกปลื้มใจที่ได้ทำความดีทดแทนคุณบุพการี ....พ่อแม่ญาติโยม ทุกคนก็ได้บุญเรียบร้อยแล้ว .......กลับบ้านได้ ที่เหลือก็แค่รอให้ถึงวันสึกเท่านั้น (......บางคนนั่งนับวันรอให้ถึงวันนั้นเร็วๆด้วยซ้ำ) ..หาก คุณคิดแบบนั้น .........คุณกำลังคิดผิดนะครับพี่น้อง
    ถึงตอนนี้คุณอาจจะเถียงผมว่า ‘ เฮ้ยยย......ถ้าบวชแล้วไม่ได้บุญแล้ว จะบวชทำไส้ติ่งอะไรวะ (...แสรด!!) ’
    …..ครับ .....ใจเย็นไว้ก่อนพี่น้อง แล้วค่อยๆฟังผมอธิบายไป อันดับแรก.... เรามาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า บวช กันก่อน ดีมั้ยครับ
    บวช ... แปลว่า การเว้นหมดจากความเป็นชาวบ้าน นั่นคือการเว้นจากการกินและความเป็นอยู่เพื่อสนองกิเลสทั้งหลาย อ๊ะๆ ตรงนี้อย่าเพิ่งเข้าใจผิด....คือ ไม่ได้หมายความพระจะเกิดกิเลสไม่ได้นะครับ พระก็คือคนธรรมดาน่ะแหละครับ มี โลภ โกรธ หลง เหมือนกัน ....แต่ทีนี้พอกิเลสมันเกิดขึ้นมาแล้ว พระจะต้องรู้ทัน ไม่หลงไปกับสิ่งเหล่านั้นจนขาดสติก็พอ เช่น ....พอเห็นโยมถวายพิซซ่าของโปรด ก็อย่าหลงเพลินไปกับรสของมันจนลืมตัว แต่ต้องฉันอย่างรู้เท่าทันกิเลสว่า พอพิซซ่าสัมผัสกระทบ(ผัสสะ)กับลิ้น(อายตนะ) ทำให้เกิดความอร่อย (สุขเวทนา) พอหมดแล้วก็เกิดวิภวตัณหา ไม่อยากให้มันหมดอีก ก็ต้องตามรู้ไปเรื่อยๆ.......อย่างนี้ไม่ผิดครับ แต่ทีนี้พระใหม่บางรูปอาจ เกิดอาการไขว้เขวบ้าง .....เมื่อเห็นพระบางรูปยังสูบบุหรี่บ้างล่ะ ดูหนัง ดูละครบ้างล่ะ ..เอ้อ...จะว่าไปก็พอจะอ้าง (แบบเอาสีข้างเข้าถู)ว่าไม่ผิดศีล (ทั้งที่นั่นมันกิเลสตัวบักเอ้กเลยนะนั่น) แต่เราก็อย่าเพิ่งหลงไปทำตามนะครับ ...ตรงนี้ผมอยากให้ถืออุเบกขา(วางตัวเป็นกลาง)ไว้ครับ คือใครเค้าจะทำยังไงก็ช่าง แต่เราทำตัวเองให้ดีที่สุดเป็นพอ ....ถือซะว่า เอาไว้ดูกิเลสตัวเองไปแล้วกัน (อันนี้ไว้ผมจะเล่าเพิ่มเติมในตอนต่อๆไป) เอาล่ะที นี้ผมก็จะกลับมาว่ากันถึงประเด็นที่ผมทิ้งท้ายเอาไว้ในตอนต้น….
    .....เคยคุ้นๆกับบาลีประโยคนี้กันบ้างมั้ยครับ
    “ .....อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ” * .........
    ครับ ....อะไรนะครับ.......ไม่เคยได้ยินเหรอครับ...... = =” (ขอโทษครับ....ผมมันไม่ดีเอง T T)
    (* จริงๆมันเป็นช่วงท้ายของบทสวดสังฆานุสติ (สวดสรรเสริญคุณพระสงฆ์)น่ะครับ เชื่อว่าผู้อ่านที่เคยสวดมนตร์หรือไปวัด คงจะพอท่องกันได้)
    ....ถ้างั้น ยังไงก็น่าจะต้องเคยได้ยินประโยคนี้กันบ้างสิน่า
    ‘พระ สงฆ์ คือ เนื้อนาบุญของโลก’
    นั่นแน่.....ทีนี้ร้องอ๋อขึ้นมากันเลยล่ะ สิ (..เอ่อ..ใครยังไม่อ๋ออีก.....ก็ช่วยๆกันทำเป็นอ๋อหน่อยเฮอะ = =” ช่วยกันทำมาหากินน๊อยย... ผมไหว้ละ - / \ - ) เนื้อนาบุญของโลก ..มันแปลว่าอะไรหว่า หมายถึง มีเนื้อนวล ผิวพรรณผ่องใส รึเปล่าหว่า (สารภาพว่าตอนเด็กๆผมคิดแบบนี้จริงๆ T T <....ลองนึกภาพพระมีผิวกายนวลเป็นประกายปิ๊งๆ > ) ........เอ๊ หรือจะเหมือนรังนกแท้เนื้อทองน๊า (....เริ่มมั่วและ = =”) เอ้าเลิกเล่นๆ ...(จริงๆสมควรเลิกนานแล้วล่ะ) .... เนื้อนาบุญก็คือ ผืนนาที่เอาไว้เพาะปลูกเมล็ดบุญยังไงล่ะครับ ....โดยเมล็ดบุญก็คือ ทาน ศรัทธา ที่ญาติโยมได้ถวายแก่พระ เป็นเสมือนการฝากให้ไว้กับพระเพื่อให้ท่านได้เอาไว้ใช้ในการทำคุณความดี ทำกุศลต่อไป
    จำได้มั้ยครับ ที่ผมกล่าวเอาไว้ในตอนแรก
    “ ธารสายตาอันฉายประกายแววแห่งศรัทธาในผ้าเหลืองอันศักดิ์สิทธิ์ มือทุกคู่ที่ประนมแนบอกราวกับช่อปทุมที่พร้อมใจกันยกขึ้นบูชาพระรัตนตรัย และใจทุกดวงที่ตั้งมั่นพร้อมจะอนุโมทนาในผลบุญกุศล.............” .....ใน ตอนนั้น ญาติโยมทุกคน ผู้เปรียบดังเกษตรกรผู้ปลูกบุญ กำลังพร้อมใจกันหว่านเมล็ดลงบนผืนนา ‘ผ้าเหลือง’ผม จากนั้นทุกคนก็จะเฝ้ารอคอยให้เมล็ดบุญนั้นค่อยๆเติบโตเป็นต้นบุญให้พวกเขา ได้เก็บเกี่ยว ...........และหน้าที่ของผมในฐานะ ‘เนื้อนาบุญ’ ในฐานะของพระสงฆ์ จึงเริ่มต้นตั้งแต่ตรงนั้น …ถึงตรงนี้ คุณคงพอเข้าใจขึ้นมาบ้างรึยังล่ะครับว่า บุญของญาติโยมนั้น ...ไม่ได้เกิดจากการมางานบวชเรา ...ไม่ได้เกิดจากการรำหน้านาค ...ไม่ได้เกิดจากการอุ้มนาคให้ก้าวพ้นธรณีประตู ...ไม่ได้เกิดจากการเอาปัจจัยใส่ย่ามพระใหม่ ... ......... บุญของญาติโยมนั้น เกิดจากทุกสิ่งที่คุณทำ …ในทุกการกระทำ ของ ‘คุณ’ ในฐานะ ‘เนื้อนาบุญของโลก’
    .....เมล็ดบุญเล็กๆที่ เหล่าญาติโยมพร้อมใจกันหว่านในวันนี้ จะกลายเป็นต้นบุญที่สูงใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาออกดอกออกผลได้มากเพียงไรก็ขึ้น อยู่กับ ‘คุณ’
    (มีครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งว่าไว้ ฆราวาสทำบุญเท่ากำมือได้บุญเท่าขี้เล็บ ส่วนพระสงฆ์ทำบุญเท่าขี้เล็บได้บุญเท่ากำมือ ....หรืออะไรประมาณนี้แหละ) แต่ก็อย่าเพิ่งกระหยิ่มใจไปนะครับ.........หาก คุณทำสิ่งที่เป็นอกุศล บาปก็ตกแก่พวกเขาเป็นทวีคูณเช่นกัน (....เป็นพระ บาปหนักซะด้วยสิ) ก็คงถูกอย่างที่สไปเดอร์แมนว่าครับ
    “ภาระ หน้าที่อันยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” รู้อย่างนี้แล้ว .....คุณจะอยู่วัด กินนอนไปวันๆ โดดทำวัตรเช้า ชิ่งทำวัตรเย็น แวบไปสูบบุหรี่บ้าง แอบดูหนังฟังเพลงจากมือถือบ้าง รอวันที่จะได้สึก .....ก็แล้วแต่ศรัทธาแล้วกันเน้อ =========================
    สักแต่ว่าบวช ...บวชตามประเพณี ...บวชไป‘ทำไม?’
    .....มีโอกาสบวชทั้งที.......บวชให้มันได้ ‘อะไร’
    ……….…..ดีกว่ามั้ยครับ ??
    ........................
    <ซงย้ง>
    ปล. สำหรับคนที่ตั้งใจจะบวช ผมอยากให้คุณกลับไปอ่าน บทนำอีกครั้ง
    แล้ว เปลี่ยนจากคำว่า ‘ผม’ เป็น ‘คุณ’ ……….............................. อนุโมทนา

    'ผม'จะเป็นพระที่ดี ตอน "บวช" .................. (อยากให้ผู้ที่จะบวชมาอ่านนะครับ) | MThA! Webboard
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ผมจะเป็นพระที่ดี (ตอน….บิณทบาต)
    ………เสียงนาฬิกาปลุกชำแรกแทรกโสตประสาท …ลงไปฉุดผมให้ออกมาจากห้วงภวังค์ อันที่จริงมันก็แค่ตีสามกว่าๆเท่านั้นเอง เป็นเวลาที่คนส่วนใหญ่เค้ากำลังหลับสบายได้ที่อยู่บนเตียงนุ่มๆ …..เจ้ากิเลสตัวหนึ่งแอบกระซิบบอกผมให้กลับไปนอนเถอะน่า ยังเหลือเวลาอีกถมเถไป …..ผมเกือบจะหลงเชื่อเจ้านั่นอยู่แล้วเชียว ถ้าผมไม่เหลือบไปเห็นสิ่งหนึ่งเข้า
    ….. ‘ผ้าเหลือง’ยังคงทำหน้าที่ของมันได้ดีเช่นเคย ……ปณิธานที่ว่า ‘ผมจะเป็นพระที่ดี’ ดังก้องขึ้นมาในหัวผม ฉุดผมออกมาให้ห่างจากเจ้ากิเลสความง่วงตัวนั้นในทันที
    ผมรีบอาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน ครองจีวรที่พับจีบเตรียมเอาไว้เมื่อคืน แล้วมุ่งตรงไปยังอุโบสถ
    ความ จริงนี่มันก็เป็นเวลาก่อนทำวัตรเช้าตั้งครึ่งชั่วโมง เลยยังไม่มีใครลงมาเปิดอุโบสถ …..แต่ผมตั้งใจเอาไว้ว่าจะเดินจงกรมนั่งสมาธิซะก่อน เนื่องจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่งบอกผมไว้ก่อนที่ผมจะบวชว่า ตอนเช้ามืดควรที่จะบำเพ็ญบารมี ทำจิตให้บริสุทธิ์ เอาไว้ก่อน เพื่อที่ว่า ตอนออกไปบิณทบาต พอเราแผ่ส่วนบุญหรือให้พรแก่โยมที่มาใส่บาตร …เขาจะได้รับอานิสงส์ผลบุญที่บริสุทธิ์ …….และผมก็น้อมเอาคำสอนนี้ใส่ไว้ในใจเสมอ วัดที่ผมบวชอยู่นี้เป็นวัดบ้าน อยู่ในกรุงเทพใกล้ๆกับบ้านผม และนั่นก็เป็นสาเหตุหลักที่ผมบวชวัดนี้ เนื่องจากใกล้กับบ้านผมและญาติๆผม ….เค้าก็อยากจะมาใส่บาตรกันน่ะแหละ แต่ทั้งนี้ผมก็ได้ขอพ่อแม่เอาไว้ว่า หลังจากบวชที่นี่ได้ซักระยะผมก็อยากจะย้ายไปที่วัดป่า เพราะใจจริงผมอยากจะไปปฏิบัติ อยากไปศึกษากรรมฐานจึงอยากได้สถานที่ที่สัปปายะซักหน่อย ……ก็นับว่าโชคดีที่ไปได้เอาวัดป่าแห่งหนึ่งเข้าที่ชลบุรี ดีที่ญาติฝั่งแม่คนหนึ่ง เค้ารู้จักกับท่านเจ้าอาวาสจึงไปฝากฝังกับท่านไว้ ซึ่งท่านก็ตอบตกลง……
    ตีสี่ครึ่ง พระใหม่ทุกรูปมานั่งกันพร้อมหน้า ซักพักท่านเจ้าอาวาสก็มา แล้วพระอื่นๆก็ค่อยๆทยอยกันมาทำวัตรเรื่อยๆ เสร็จจากทำวัตรประมาณตีห้าครึ่ง ท่านเจ้าอาวาสก็เรียกพระใหม่เข้าไปอบรม ถือเป็นกิจวัตรประจำของที่นี่ (ซึ่งพวกเราก็นับว่าโชคดีมาก เพราะโดยมากแล้วเจ้าอาวาสวัดอื่นๆมักมีกิจเยอะ ไม่ค่อยมีเวลามาพูดคุยกับพระใหม่) ท่านก็เทศน์สอนให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องการบวชจนถึงประมาณ 6 โมงเกือบครึ่ง จึงปล่อยให้ไปบิณทบาต …ซึ่งถือว่าออกสายมากแล้ว เวลานี้พวกเราเลยต้องรีบเร่งกลับกุฏิเพื่อไปเอาบาตร ก่อนจะกลับพวกพระใหม่รุ่นพี่สอนผมครองจีวรแบบห่มคลุม ซึ่งผมก็ค่อนข้างจะงงมิใช่น้อย…แถมจีวรผมนั้นค่อนข้างยาวกว่าชาวบ้านชาว เมืองเค้า(เนื่องจากตัวสูง เค้าจึงต้องสั่งไซส์พิเศษ)…การม้วนผ้าสะบัดผ้ามันเลยต้องลำบากกว่าคนอื่น เค้าพอสมควร ก็ถูๆไถๆกันไปจนเสร็จนั่นแหละ(..ฝีมือผมเองประมาณ 20% ) จึงรีบกลับไปที่กุฏิ…..ถึงกุฏิผมรีบตรงรี่ไปยังห้องน้ำ (เนื่องจากไม่ไหวแล้ว..ข้าศึกบุกประชิดถึงประตูเมืองแล้ว) เข้าเสร็จ …ออกมาจีวรทำท่าจะหลุดอีกเลยต้องห่มใหม่ พอจำได้คลับคล้ายคลับคลา ก็เลยลองห่มไป รีบคว้าบาตรแล้วลงข้างล่าง …..พอดีเจอกับท่านพระครู ผู้เป็นพระพี่เลี้ยงผม ท่านบิณทบาตเสร็จแล้วกลับเข้ามาพอดี ….เลยบอกว่าผมห่มผิด (ถึงว่า… มันแปลกๆอยู่….แขนมันรู้สึกโล่งๆ) และจัดแจงช่วยผมห่มใหม่ ให้ผ้าคลุมแขนเรียบร้อย …แล้วเอาบาตรคล้องบ่าให้ผมใหม่ และสอนวิธีอุ้มบาตร เปิดบาตร…….. เอ้าทีนี้ค่อยดูเป็นผู้เป็นคน….เอ้ย เป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมาหน่อย เสร็จสรรพเรียบร้อย ผมกำลังจะเดินออกไป..ท่านก็ถามผมขึ้นมาว่าวันนี้ไปรับบาตรที่บ้านโยมแม่และ โยมตารึเปล่า(ท่านรู้จักกับโยมแม่และโยมตาผม) ผมก็ตอบว่าไป ท่านเลยบอกผมว่าวันนี้เป็นวันอาทิตย์ ญาติโยมที่หน้าวัดจะมาใส่บาตรกันเยอะ ….ท่านกลัวว่ากว่าจะไปถึงบ้านโยมแม่บาตรจะเต็มซะก่อน (เพราะค่อนข้างไกล) ท่านเลยเมตตาบอกว่าจะให้โยมลูกศิษย์หน้าวัดขับรถซู(สองแถวเล็ก)พาไปส่ง …..แล้วท่านก็เดินอุ้มบาตรนำผมไป
    ผมเข้าใจคำพูดของพระครูขึ้นมาทันที ระหว่างเรากำลังจะไปหน้าวัด …..ขนาดยังอยู่ในวัดแท้ๆ โยมมาดังรอพระอยู่เต็มไปโม้ด อันที่จริงระยะทางจากกุฎิไปหน้าวัดก็ประมาณซัก 200 เมตรเองแท้ๆ แต่เล่นเอาบาตรผมกับพระครูเกือบเต็ม ท่านเลยต้องขอถุงพลาสติคจากโยมมาใส่เพิ่ม แล้วเดินนำไปบอกโยมลูกศิษย์ให้พาเราไป(..ท่านก็ไปด้วย)
    ……ตกลงการบินทบาตวันแรกของผม ก็เลยได้ไปแค่ 2 บ้านเอง
    วันต่อมาก็ค่อยยังชั่วหน่อย ท่านเจ้าอาวาสเริ่มปล่อยเร็วขึ้น(กว่าเดิมนิดหน่อย) และผมก็เริ่มครองจีวรคล่องขึ้น แถมเค้าจัดลูกศิษย์วัดให้เดินตามคนนึง …ก่อนออกจากวัดผมก็ไหว้พระประธาน ขอให้ญาติโยมที่มาใส่บาตรได้บุญกันไปถ้วนหน้า
    วัดที่ผมบวชนี้มีตลาดขนาดย่อมๆตั้งอยู่เลยหน้าวัดไปหน่อย จึงไม่น่าแปลกใจนักที่จะมีคนมาใส่บาตรกันเยอะมากตอนวันพระหรือวันเสาร์ อาทิตย์… ผมเองเคยเจอมาแล้วกับตัว ถึงกับต้องยืนให้รับบาตร และให้พรโยมอยู่อย่างนั้นประมาณ 10 กว่านาทีเนื่องจากขยับไปไหนไม่ได้ โยมกรูกันเข้ามาใส่บาตรกันอย่างไม่ขาดสาย จนลูกศิษย์วัดที่เดินตามต้องเปลี่ยนย่ามแล้วเปลี่ยนอีกพัลวัน ( เขาจะสะพายย่ามสำรองเอาไว้ประมาณ 4 ย่าม ) โดย(หัวหน้า)ลูกศิษย์อีกคนคอยขี่มอเตอร์ไซค์เอาย่ามมาผัดเปลี่ยนให้ ซึ่งก็ต้องมาเปลี่ยนกันประมาณ 2-3 รอบ จึงจะพอใส่ แถมถนนก็แคบครับเวลาจะให้พรโยมก็ต้องดูดีๆ พยายามเดินเข้ามาใกล้ๆฟุตบาทหน่อย ….เดี๋ยวเกรงว่าโยมกำลังรับพรอยู่ดีๆ พระหายไปซะฉิบ (โดนรถเสยไป) เหนื่อยก็เหนื่อย หนักก็หนักนะครับ แต่พอได้เห็นพลังศรัทธาของญาติโยมแล้ว พระก็ทนได้ครับ ……เฮ้อ………กว่าโยมจะปล่อยให้กลับวัดได้ ก็เล่นเอาพระหมดแรงไปตามๆกัน
    แต่เนื่องจากวันนี้เป็นวันจันทร์ ….คนใส่บาตรจึงไม่ค่อยเยอะมากนัก
    ผมค่อยๆ เดินเท้าเปล่า ไปอย่างช้าๆ สายตาเหลือบต่ำมองไปในระยะ 4-5 เมตรข้างหน้า ดูว่ามีเศษแก้วเศษอะไรอยู่ที่พื้นรึเปล่า … เข้าใจว่าเป็นกุศโลบายของคนสมัยก่อนที่ให้พระเดินถอดรองเท้า จะได้ทำให้พระมีสติรู้ตัวตลอดเวลา ซึ่งก็ได้ผลดีซะด้วย และถือเป็นการฝึกภาวนาไปในตัว ….
    สัมผัสที่ ฝ่าเท้าของผมได้สัมผัสกับพื้นถนนขรุขระยามเช้านั้น เป็นความรู้สึกที่ดี แบบแปลกๆ มันเหมือนกับว่าผมได้สัมผัสรับรู้กับโลกตามความเป็นจริง โดยไม่ผ่านการปรุงแต่ง (รองเท้า??)
    ทรายทุกเม็ด….กรวดทุกก้อน ที่ฝ่าเท้าผมเหยียบย่ำไป ……จะมีบางก้อนที่ติดฝ่าเท้าผมขึ้นมาด้วย …หากเป็นกรวดคมๆมันก็จะทำให้ผมเจ็บแปล๊บขึ้นมาบ้าง …..ราวกับจะบอกให้ผมรับรู้ถึง ’ความมีอยู่’ ของมัน ครั้นพอเดินไปสักพัก มันก็อาจจะหลุดไปบ้าง และมีเม็ดใหม่ติดขึ้นมาบ้าง
    ………ผมได้แต่เฝ้าดูเฝ้า รู้ตามไป ...........ความรู้สึกเจ็บที่….เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    …..คล้าย กับว่าเค้ากำลังสอน ’ไตรลักษณ์’ ให้ผมได้รับรู้ ………………
    ภาพชีวิตอันวุ่นวายของผู้คนยามเช้าสองข้างทางที่ปรากฏ อยู่เบื้องหน้า บ้างหาบเร่ บ้างเข็นผักขาย บ้างกำลังจัดร้านไว้เตรียมรอลูกค้า ……… ดูผิวเผินอาจเหมือนว่าพวกเขากำลังทำสิ่งที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามแต่ภาระหน้าที่ของตน
    ….ทว่าเป็น ไปด้วยจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือความดิ้นรนเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง อันเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนให้ ‘ชีวิต’ดำเนินต่อไป
    ….ผมมองภาพเหล่านั้นราวกับว่ากำลังดูละครเรื่องหนึ่ง
    …’ละคร’ ที่ไม่เคยมีตอนจบ
    ………….น่า แปลกที่เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมเองก็ยังเป็น ‘ตัวละคร’ อยู่ในละครเรื่องนั้นเองแท้ๆ
    ………………… “ นิมนต์ค่ะหลวงพี่ ” เสียงคุณโยมคนหนึ่งดังขึ้นมาจากริมฟุตบาท ผมเดินไปหยุดตรงหน้า ค่อยๆเปิดบาตรฝาออกมาเบาๆ โยมคนนั้นค่อยๆบรรจงประคองถุงข้าวถุงกับใส่ลงในบาตร แล้วยกมือไหว้อย่างนอบน้อม
    “ ….จัตตาโร ธัมมาวัททันติ อายุวัณโณ สุขัง พะลัง ” ผมสวดให้พรโยมไปพร้อมกับ แผ่เมตตาไปให้ จากนั้นค่อยปิดฝาบาตร แล้วเดินต่อไป
    ………………..
    สักวันหนึ่ง…ผมจะ ต้องกลับไปสวมบทบาทในละครเรื่องนั้นอีกครั้ง
    สัก วันหนึ่ง…ผมอาจจะมายืนใส่บาตรอยู่ตรงนี้ ให้กับพระสักรูปที่เดินผ่านมา
    แต่ เมื่อถึงวันนั้น …..ผมจะกลับออกไปด้วยสายตาที่มองเห็นและเข้าใจความเป็นจริงของโลกมากยิ่ง ขึ้น ……….เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป………
    เหมือน กับก้อนกรวดบนฝ่าเท้า (….ที่มาสร้างความเจ็บให้ผมรู้สึกได้เป็นครั้งคราว) ………..เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป………..
    ในกระแสความเป็นไป….ของ เวลา
    ..............
    ซงย้ง


    ผมจะเป็นพระที่ดี......ตอน บิณทบาต | MThA! Webboard
     
  3. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ตอน …..กิจวัตรพระบ้าน (…..ที่ไม่บ้านอย่างที่คิด)
    จะว่าไปเมื่อตอนที่แล้ว ….ผมก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไปบางส่วนแล้ว นั่นก็คือ การทำวัตรเช้ากับการบิณทบาตนั่นแหละครับ
    เอาล่ะใน ตอนนี้ผมก็จะมาว่ากันต่อให้ครบ
    หลังจากเราบิ ณทบาตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเอาของที่ได้จากมาเทกองไว้บนโต๊ะ จากนั้นพระก็จะเลือกเอาเท่าที่พอฉันไป (ต้องอย่าลืมเก็บไว้เผื่อเพลด้วย) ส่วนที่เหลือจะยกให้ลูกศิษย์วัดหรือจะเก็บเอาไว้ให้ใครก็ตามอัธยาศัย …..ซึ่งพวกลูกศิษย์วัดเค้าก็จะเอาไปแบ่ง ให้คนยากไร้บ้าง วินมอเตอไซค์แถวนั้นบ้าง….ส่วนหนึ่งก็เก็บไว้กินเอง
    ส่วนปัจจัยที่ ได้รับมาจากญาติโยม ผมจะยกให้กับลูกศิษย์วัดบ้าง ไม่ก็เก็บเอาไว้ทำบุญอย่างอื่น …ทั้งนี้ผมจะไม่เอาปัจจัยส่วนนี้มาใช้เป็นการส่วนตัวโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นเงินที่ญาติโยมเจตนาให้มาในผ้าเหลือง ….ไม่ได้เจตนาจะให้ ’ผม’แต่อย่างใด จาก นั้นก็จะมีการฉันจังหัน (ฉันเช้า) กันพร้อมหน้าที่ศาลาการเปรียญ โดยพวกจานช้อนภาชนะต่างๆพวกลูกศิษย์เค้าก็จะจัดเตรียมเอาไว้ให้ แล้ว ...จากนั้นท่านเจ้าอาวาสจะเป็นผู้สวดนำ
    คือ อย่างนี้ครับ ก่อนฉันพระจะมีการสวดบทพิจารณาอาหารก่อนครับ เสมือนกับเป็นการให้ระลึกว่า อาหารที่ญาติโยมให้มานี้ จะฉันแต่พอเพียง ..ฉันเพื่อให้มีแรงปฏิบัติกิจในแต่ละวันเท่านั้น …..และอีกอย่างที่สำคัญคือ ไม่ควรฉันเหลือ…เพราะนี่คืออาหารที่โยมตั้งใจใส่ให้เฉพาะ’ผ้าเหลือง’ หากฉันเหลือ จะถือเป็นบาปมาก อาจต้องไปตามใช้หนี้ ’เมล็ดข้าว’ในภพชาติอื่นๆต่อไป (รายละเอียดในเรื่องนี้ผมจะยกไปอธิบายเพิ่มในตอนอื่น) หลังจากฉันจังหัน(ฉันเช้า)เสร็จเรียบร้อยแล้วทีนี้ก็จะ แยกย้ายกันไปทำกิจของตน ผมก็จะไปฝึกนั่งสมาธิเดินจงกรมของผมต่อ จนถึงช่วงเพล ก็จะเอาอาหารส่วนที่เก็บไว้ออกมาฉัน ….อาจจะมีบ้างบางวันที่มี ‘กิจนิมนต์’ ให้ไปฉันงานอื่นบ้าง ( เลี้ยงพระงานศพ งานบวช หรือตามแต่โยมจะนิมนต์ ) บางทีก็มีนิมนต์ไปฉันที่บ้านโยมบ้าง …หรือถ้าวันไหนเป็นวันพระ‘กิจนิมนต์’เยอะ ก็จะต้องแบ่งพระเป็นสายๆกันไป (บางวันถึงกับพระไม่พอ ต้องไปนิมนต์เณรวัดอื่นมาช่วยก็มี)
    ช่วง บ่ายๆ …ก็จะแยกย้ายกันไปทำกิจของตน บางรูปก็ไปสอนหนังสือเณร บางรูปไปดูแลตรงจุดโน้นจุดนี้บ้างตามหน้าที่ ส่วนผม พระใหม่ ไม่มีหน้าที่อะไรก็จะไปนั่งสมาธิที่โบสถ์ พอง่วงๆขึ้นมาก็จะลุกขึ้นมาปัดกวาดโบสถ์บ้าง(ใครที่เคยบวช คงพอจะรู้รสชาติความง่วง ตอนบ่ายหลังจากกินอิ่ม แล้วมาเจออากาศร้อนๆ กันดี) ไม่ก็กลับไปทำความสะอาดกุฏิท่านพระครูบ้าง ……เนื่องจากผมบวชน้อยวัน ผมจึงอยากจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุด …หลายครั้งกิเลสก็เกือบจะลากผมไปนอนได้อยู่แล้ว แต่พอนึกถึงแววตาญาติโยมที่มาร่วมอนุโมทนาในงานบวชผมแล้ว ผมก็จะพยายามฝืนสู้กับกิเลสตัวร้าย เพื่อให้ทุกๆคนได้อานิสงส์เต็มที่ (ยกเว้นบางครั้งที่กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ และง่วงสุดๆจนทำอะไรไม่ได้เลยจริงๆ ผมก็จะยอมๆกิเลสมันบ้าง …ของีบซักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงละกัน ) หลังจากเดิน จงกรม นั่งสมาธิ ทำความสะอาดวัดเรียบร้อยแล้ว….ตอนนี้ก็จะตาสว่างขึ้นมาแล้วล่ะครับ ผมก็จะเอาเวลาช่วงนี้มานั่งอ่านหนังสือ ศึกษาธรรมะ …พระครูท่านใจดี บอกให้ผมหยิบหนังสือท่านไปอ่านได้ตามสบาย …อันที่จริง หนังสือผมก็เตรียมมาอยู่แล้วแหละ แต่ของผมอ่านเมื่อไหร่ก็ได้…ก็เลยอ่านของพระครูก่อน ไปหยิบมาได้เล่มนึงชื่อว่า‘ปฏิจจสมุปบาท’ ของคุณอำนาจ กลั่นประชา (สมัยที่เขียนท่านยังเป็นฆราวาสอยู่ เดี๋ยวนี้บวชเป็นพระแล้ว) เห็นหน้าปกสวยดี … แถมธรรมะหัวข้อนี้ ผมทราบมาว่าลึกซึ้งยิ่งนัก (เคยศึกษามาผ่านๆ จำได้ว่าปวดหัวตึ้บเลยครับตอนนั้น = =” )
    ไหนๆก็ไหนๆแล้ว … ผมเล่าคร่าวๆแล้วกันครับ หากท่านผู้อ่านสนใจ ก็ค่อยลองไปศึกษาต่อกันเอาเอง ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่อธิบายกระบวนการทำงานของจิต…โดยมีเหตุปัจจัยสอด คล้องต่อเนื่องกันไป …โดยการอาศัยปัจจัยหนึ่งจึงเป็นเหตุให้เกิดอีกปัจจัยหนึ่ง และจากปัจจัยอันนี้…..ก็จะเป็นเหตุให้เกิดอีกปัจจัยหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนเป็นวงจรแห่งทุกข์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ….ซึ่งวิธีจะหยุดวงจรอุบาทว์นี้ ต้องทำอย่างไรนั้น……………...อันนี้ก็ต้องไปหาอ่านกันเอาเองนะครับพี่น้อง
    (ขอโปรโมตหนังสือของ พระอำนาจ หน่อยเถอะ……คือหนังสือของท่านมีภาพวาดประกอบตลอดทั้งเล่ม ทั้งสวยงามและช่วยให้อ่านเข้าใจได้ง่ายครับ แถมคำบรรยายในเล่มยังใช้ภาษาที่สละสลวย อ่านแล้วรู้สึกขนลุก …ด้วยความตื้นตันในพระปัญญาญาณของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ธรรมที่ลึกซึ้งแบบ นี้ได้ )
    อ่านหนังสือเพลินๆ …..ปาเข้าไปสี่โมงกว่าๆแล้วครับ เร็วจัง……ผมก็เลยจัดแจงครองจีวรเพื่อเตรียมไปทำวัตรเย็น ไปถึงโบสถ์ยังพอมีเวลาเหลือก็กวาดรอบๆโบสถ์แล้วมานั่งสมาธิรอ พอ 5 โมงก็ค่อยเริ่มทำวัตรเย็นพร้อมกัน ….กว่าจะสวดเสร็จก็ประมาณ 6 โมง พวกพระใหม่ก็จะช่วยกันปิดโบสถ์(ทั้งโบสถ์เก่า โบสถ์ใหม่) และก็กลับกุฏิกัน อาจมีการนั่งสนธนาธรรมบ้างตามโอกาสถ้ามีพระผู้ใหญ่อยู่……พอกับกุฏิแล้ว ผมก็จะเดินจงกรมนั่งสมาธิอีกซักรอบ แล้วก็จะเข้านอนในเวลาประมาณ 3 – 4 ทุ่ม เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้ลุกขึ้นมาทำกิจวัตรในตอนเช้าต่อไป ….และนี่ก็คือกิจวัตรของพระวัดบ้านที่ผมได้ไปบวช … (เชื่อว่าวัดอื่นๆก็คงไม่ต่างไปจากนี้มากนัก)
    อนึ่ง ตอนต่อๆไปจากนี้ ผมจะเล่าถึงประสบการณ์บวชของผมที่วัดป่า
    ………อัน ประสบการณ์ที่ชั่วชีวิตนี้ ผมจะไม่มีวันลืม ……………..
    ขอบคุณที่ติดตามครับ
    ซงย้ง

    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน กิจวัตรพระบ้าน (…..ที่ไม่บ้านอย่างที่คิด) | MThA! Webboard
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน ….ก้าวแรกสู่วัดป่า


    ผมอยู่วัดบ้านที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 6 วัน แล้วจึงย้ายไปยังวัดป่าที่จังหวัดชลบุรีตามที่ตกลงกับท่านเจ้าอาวาสกัน ไว้ วันนั้นพ่อผมขับรถไปรับแต่เช้า หลังบิณทบาตเสร็จ…ก็ช่วยกันขนเครื่องบริขารทั้งหลายขึ้นรถ แล้วก็ออกเดินทางกันเลย
    ผมขอพูดถึงวัดนี้ให้ฟัง ก่อนคร่าวๆแล้วกันนะครับ วัดนี้เป็นวัดสาขาหนองป่าพง (สายหลวงปู่ชา) เป็นวัดที่ร่มรื่นมากๆครับ อยู่ในอ้อมกอดของขุนเขา หน้าวัดมีฝายเก็บน้ำขนาดใหญ่ ….กุฏิพระก็กระจายอยู่ตามราวป่า สงบเงียบ และสัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
    ไปถึงวัด ก็ปาไปแปดโมงจะครึ่งแล้ว ….ตอนแรกนึกว่ายังไม่สาย แต่ที่ไหนได้ พระมานั่งที่ธรรมมาสกันหลายรูปแล้ว…พอผมไปถึงก็มีพระรูปหนึ่งมาต้อนรับ (มาทราบเอาตอนหลังว่าท่านชื่อ ครูบาชัย) …ท่านบอกให้ผมเปลี่ยนเป็นห่มจีวรแบบเฉียง เตรียมฉันจังหัน (อ้อลืมบอกไป…พระที่นี่ฉันมื้อเดียวนะครับ) ส่วนท่านก็ขอบาตรผมไป ถอดสลกบาตร(ผ้าหุ้มบาตร) ออกอย่างคล่องแคล่ว (ซึ่งปกติผมไม่เคยถอดออกมาเลย) จากนั้นแกก็ไปหยิบกาน้ำ …เทน้ำใส่เข้าไปในบาตร แล้วจับบาตรด้วยสองมือวนไปวนมาซักสี่ห้ารอบ จึงเทน้ำออก แล้วเอามาตั้งบนขาบาตร …ผมได้แต่ยืนมองตาปริบๆอย่างงงๆ เข้าใจว่าอาจจะเป็นธรรมเนียมของพระป่า
    ท่านจัด อาสนะ(เบาะรองนั่ง)ให้ผมนั่งเป็นอันดับสุดท้ายเรียงตามลำดับอาวุโส …ผมชำเลืองมองข้างๆ ถัดจากพระอีกรูปที่นั่งข้างผมไป มีอาสนะว่างอยู่ 3 – 4 ที่ เลยค่อยโล่งอกหน่อย ….อย่างน้อยผมก็ไม่ได้มาเป็นคนสุดท้ายแหละวะ ซึ่งจริงๆแล้ว มารู้เอาภายหลังว่าหลวงพี่เหล่านั้น ท่านไปรับประเคนอาหารจากโยมที่โรงครัวข้างล่างโน่น
    เบื้องหน้าผม…อุบาสกอุบาสิกาในชุดขาวนั่งกันให้สลอน พวกเค้ากำลังท่องบทสวดมนตร์พร้อมกันเสียงดังฟังชัด ผมไม่นึกเลยว่าวัดป่าวัดเขาห่างไกลความเจริญเช่นนี้ ( สังเกตุจากสองข้างทางที่เข้ามา …บ้านแต่ละหลังอยู่ห่างกันเป็นกิโล ) จะมีญาติโยมมาทำบุญกันเยอะขนาดนี้ ผมสังเกตเห็นคนหนุ่มสาวอุ้มลูกจูงหลาน ไม่ก็พาปู่ย่าตายายทำบุญกันเนืองแน่นเต็มไปศาลาหมด ….แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวบ้านต่างจังหวัดที่ยังคงมี อยู่อย่างแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลาย
    พระที่ไปรับ ประเคนอาหารจากโยม ตอนนี้ก็ค่อยๆทยอยกันขึ้นมานั่งบนอาสนะจนครบ …นับได้ทั้งหมด 12 รูป(รวมผมด้วย) ปกติแล้วเห็นโยมเพื่อนแม่บอกว่ามีประมาณ 6-7 รูปเอง …แต่ที่วันนี้มีเยอะ(ขึ้นมาหน่อย) ก็อาจเป็นเพราะพรุ่งนี้ที่วัดจะมีกฐิน ครูบาอาจารย์(พระมหาเถระ)จะมากันเยอะ ก็เลยมารอพบครูบาอาจารย์
    หลังจากมรรคนายก*กล่าวคำถวายสังฆทานเสร็จ พระอาจารย์จันดี(เจ้าอาวาส)ก็เทศน์ให้โยมฟังซักพัก …เสร็จแล้วตัวแทนสงฆ์ก็จะกล่าวแจกจ่ายอาหารอันถือเป็นประเพณีดั้งเดิม จากนั้นพระก็จะทยอยกันอุ้มบาตรเปล่าของตัวเอง (ต้องบอกว่าเปล่าจริงๆ เพราะถอดสลกบาตรและขาบาตรออกหมดแล้ว) เดินเรียงแถวตามลำดับพรรษาเพื่อเข้าไปตักอาหารในโรงครัว (พวกพระผู้ใหญ่ก็จะมีโยมมาถือบาตรถวาย)
    (*คำ นี้มักเรียกเพี้ยนไปเป็น ‘มรรคทายก’ … ‘มรรคนายก’ แปลว่า ผู้นำทางหรือผู้นำบุญครับ ส่วนมรรคทายกนั้นจะแปลว่า ผู้ให้ทาง …ซึ่งทำให้ความหมายผิดไป )
    ผมเดินตามหลังพระ ทั้งหลายเข้าไปยังโรงครัว ….ข้างในจะมีโต๊ะยาววางต่อกันสองแถว บนโต๊ะเต็มไปด้วยจานชาม ถ้วย กาละมังใส่อาหารหลากชนิด…ดูลานตาไปหมด อาจจะเป็นเพราะวันนี้เป็นวันพระแถมเป็นวันเสาร์อาทิตย์ด้วยล่ะมั้งคนเลยนำมา ถวายเยอะเป็นพิเศษ
    จากนั้นพระก็จะทยอยเดินตักอาหารใส่บาตรของตน โดยพระผู้น้อยจะต้องให้พระผู้ใหญ่ตักก่อนซักพักจึงค่อยตักได้ ยิ่งถ้าเป็นพระเถระด้วยแล้วต้องเว้นระยะไว้กี่ศอกไม่รู้ ..ผมก็จำไม่ค่อยได้ ดีที่มีพระรูปหนึ่งบอกผมไว้ก่อนจึงไม่ขายหน้า ….ผมยืนรอให้พระผู้ใหญ่ตักไปเรื่อย ระหว่างนั้นก็พิจารณาดูกิเลสตัวเองไป ( ตอนแรกมันก็ยังไม่หิวมากหรอก แต่พอมายืนต่อหน้าอาหารมากมายแบบนี้ ไอ้เจ้ากิเลส ’ ความหิว ’ นั่นพองตัวซะใหญ่เบ้อเริ่มเลย… ) ..จนถึงคิวผมจึงเดินตามไป ล้างมือขวาในกาละมังใส่น้ำ ส่วนมือซ้ายก็ประคองบาตร เดินตามไป …..แล้วก็ตักอาหารใส่เข้ามาในบาตร
    ทั้งนี้… ผมจะตักอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารนั้นๆจริงๆ จะไม่พยายามตักเพราะอยากกิน …โดยเฉพาะอาหารที่ชอบ ผมจะพยายามผ่านมันไปเลย …ผมตามดูไปอย่างนี้ ไม่น่าเชื่อว่าเพียงระยะเวลาสั้นๆ ผมเห็นกิเลสตัวเอง เกิดดับ เกิดดับ ติดต่อกันไปเรื่อยแบบนี้ไม่รู้ตั้งกี่ครั้ง
    พอตักอาหารเสร็จแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ก็จะเดินกลับไปนั่งยังอาสนะของตน …. ช่วงนี้พระใหม่ต้องรีบทำเวลาหน่อย เพราะจะเป็นการไม่สมควร หากต้องให้พระผู้ใหญ่ท่านรอนาน ผม(ซึ่งอยู่รูปสุดท้าย)เองก็ตักมือระวิงเลยครับ กับข้าว ผลไม้ นมถั่วเหลือง รีบหยิบใส่บาตรให้หมด ….แล้วก็รีบเดินตามขึ้นไปนั่งบนอาสนะ (อ้อ อย่าลืมกราบสามครั้งก่อนทุกครั้งที่ขึ้นนั่งบนอาสนะด้วย) พอขึ้นบนอาสนะ เสร็จ….ผมก็สังเกตุดูซิว่าพระรูปอื่นเค้าทำอะไรกันต่อ เห็นท่านหยิบพวกผลไม้ พวกขนม น้ำออกมาวางไว้ที่ฝาบาตร(ที่วางอยู่ข้างๆบาตร) ผมก็เลยทำตาม นึกในใจว่า อ้อ…ทำอย่างนี้ได้ด้วยหรือเนี่ย ตอนแรกนึกว่าต้องฉันในบาตรทั้งหมดเลย ครั้นเห็นพระทุกรูปมานั่งพร้อมกันแล้ว ท่านเจ้าอาวาสก็จะนำสวดกรวดน้ำ…ให้พรโยม แล้วถึงจะเริ่มฉันได้ แต่อ๊ะๆ….อย่านึกว่าพระใหม่อย่างผมจะได้ฉันเลยนะครับ ยังครับ ผมต้องรอให้พระทุกรูปตักอาหารคำแรกเข้าปากก่อน ผมถึงจะเริ่มตักได้ ก็เรียงตามลำดับพรรษาอีกนั่นแหละครับ …..พอพระพรรษาสูงกว่าตักข้าวเข้าปาก พระพรรษาต่ำกว่าที่นั่งถัดไป จะพนมมือรับ แล้วถึงจะค่อยเริ่มฉันได้ และก็จะเป็นแบบนี้ต่อๆกันไปเรื่อยๆครับ…….จนถึงรูปสุดท้าย (ซึ่งก็คือผม)…….ผมก็เลยต้องนั่งฝึกขันติดูกิเลสตัวเบ้งๆ ในบาตร ( ยอมรับว่าแอบกลืนน้ำลายหลายอึกเหมือนกัน)
    เวลาฉันก็เหมือนเดิมครับ……เราจะฉันอย่างเอร็ดอร่อย ปล่อยให้หลงไปเพลิดเพลินมัวเมากับรสอาหารไม่ได้ครับ ต้องมีสติตลอดเวลา ….และเพื่อจัดการกับเจ้ากิเลสให้อยู่หมัด ผมเลยตักกับข้าวให้มันคลุกเคล้าเข้ากัน โดยที่ไม่ต้องแยกว่าอะไรเป็นอะไร ก่อนจะเอาเข้าปาก…..ทีนี้ข้าวแต่ละคำของผมนี่ จะไม่ซ้ำกันเลยครับ เดี๋ยวก็กะเพราหอยจ๊อราดแกงเขียวหวานบ้าง………..เดี๋ยวก็ส้มตำเมล็ดทานตะวัน ใส่สาหร่ายเถ้าแก่น้อยบ้าง แต่แปลกนะครับถึงจะ มิกซ์แอนด์(ไม่)แมทช์ กันขนาดนี้ ….มั๊นก็ยังจะรู้สึกอร่อยขึ้นมาจนได้อยู่นั่นแหละ(..สงสัยจะหิวมาก) ผมก็เลยต้องคอยตามรู้มันไป ไม่ให้กิเลสมันพาผมไปหลงกับรสได้
    ผมฉันไปได้ซักพักหนึ่ง ..ก็เห็นว่ามีพระรูปหนึ่งปิดฝาบาตรลง แล้วก้มกราบบนอาสนะสามหน ก่อนจะอุ้มบาตรพร้อมขาและกระโถนมาตั้งยังเสื่อที่ปูไว้ด้านข้างศาลา เข้าใจว่าท่านคงฉันเสร็จแล้ว ….ซักพักท่านเดินถือกาน้ำไปนั่งลงที่เบื้องหน้าพระอาจารย์จันดีอาสนะ กราบพระสามครั้งแล้วค่อยนั่งพับเพียบ ซักพักพระอีกรูป(พระฝรั่ง)ก็เดินถือกาน้ำไปนั่งเบื้องหน้าพระผู้ใหญ่อีก รูปที่นั่งถัดพระอาจารย์จันดีอีก …..ผมฉันไป ดูไป ก็งงว่าเอ๊ะ ทำอะไรกันหว่า ….นั่งดูไปซักพัก พอพระอาจารย์จันดีฉันเสร็จ พระรูปแรกที่ไปนั่งรอก็ยกกาน้ำไปล้างมือให้ท่าน (โดยมีกระโถนรองน้ำไว้) จากนั้นก็มือท่าน แล้วก็เอาผ้าอีกผืน มาเช็ดตรงเบื้องหน้าอาสนะท่าน …เสร็จแล้วจึงค่อยขนกระโถน ขนบาตรท่านมาวางไว้ที่ด้านข้างศาลา (ที่เดียวกับที่ท่านวางบาตรท่านไว้) ซึ่งทุกอย่างทำด้วยความคล่องแคล่วและนอบน้อม
    ซักพักพอพระผู้ใหญ่ รูปที่สองฉันเสร็จ พระฝรั่งที่นั่งรอก็ทำตามแบบนั้นบ้าง ก็พอดีกับที่ผมฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกราบพระแล้วเอาบาตรเอากระโถนไปวางไว้ที่ๆเค้าวางกัน แล้วกลับมานั่งที่เดิม (ซึ่งหลังจากนั้นก็มีพระรูปอื่นไปช่วยกันล้างมือพระผู้ใหญ่อีกสองรูปที่ เหลือจนเสร็จ) …...ผมมารู้เอาภายหลังว่า นั่นคือการอุปัฏฐาก(ช่วยเหลือ)ครูบาอาจารย์…อันถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอัน สำคัญยิ่งของพระป่า มันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่าน เพราะสำหรับพระป่าแล้ว ‘ครูบาอาจารย์’ เปรียบประหนึ่งเป็นพ่อแม่เลยก็ว่าได้
    เพราะ กว่าที่พระรูปหนึ่งจะปฏิบัติมาจนเป็นครูบาอาจารย์นั้น ท่านต้องบำเพ็ญเพียร เผชิญกับความลำบาก ความทุกข์ยากมามากมาย จากป่าดงรกร้าง …กว่าท่านจะถากจะถาง ก่อร่างสร้างให้กลายเป็นวัดที่ให้เรามาบวชเรียนนี้ ท่านต้องเหนื่อยยากขนาดไหน …..เราเสียอีก ผู้มาใหม่ มาอาศัยวัดที่ท่านสร้างมาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ควรแล้วหรือที่จะมานั่งๆนอนๆทำกระทำตนเสมอท่าน
    ….การอุปัฏฐากจึงเป็นเสมือน หนทางการตอบแทนพระคุณครูบาอาจารย์…..แม้สักเล็กน้อยก็ยังดี
    เริ่ม ตั้งแต่การล้างเท้า เช็ดเท้าให้ท่าน ….ล้างมือหลังฉันเสร็จ เสร็จแล้วก็ล้างบาตร เอาจีวรท่านไปซัก ทำความสะอาดกุฏิ นวดขานวดเท้า …หรือแม้กระทั่งสรงน้ำท่าน …………แรกๆ ผมก็คิดว่า เฮ้ยมันต้องขนาดนั้นเลยเหรอเนี่ย
    แต่พอได้ลงมือทำเอง กับตัวแล้ว …. มันรู้สึกอิ่มเอมใจจริงๆครับ (ไว้จะค่อยๆเล่าให้ฟัง) เอาล่ะ……สำหรับตอนนี้ผมว่ามันชักจะยาวมากเกินไปแล้วล่ะ ก่อนที่ผู้อ่านจะเบื่อซะก่อน (หรือเบื่อไปแล้ว??) ผมขอไปต่อเอาตอนหน้าแล้วกันนะครับ
    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน ….ก้าวแรกสู่วัดป่า | MThA! Webboard
     
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ฝากหนังสือดีๆเล่มนี้ให้ทุกท่านโหลดไปอ่านด้วยครับ เล่มนี้เหมาะสําหรับคนที่กําลังจะไปบวช เเละผู้ที่กําลังปฏิบัติธรรมอยู่ครับ อนุโมทนาครับ

    ดูรู้...หนึ่งพรรษา
    บันทึกประสบการณ์การปฏิบัติของพระกรรมฐานระยะเวลา ๑ พรรษา ในการเฝ้าสังเกตจิต
    ถ่ายทอดด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
    เพื่อเดินตามเส้นทางแห่งปัญญา รอยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์


     
  6. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ตอน ….ก้าวแรกสู่วัดป่า 2 : บาตรนั้น…สำคัญไฉน?===============================================
    เอ้า……เล่าต่อจากตอนจากตอนที่แล้วเลยนะครับ
    หลังจากที่พระทุกรูปฉันเสร็จแล้ว ก็จะยกเอาบาตรไปตั้งไว้ด้านข้างศาลาและกลับมายังอาสนะของตน
    เมื่อพระอาจารย์จันดีเห็นว่า ทุกรูปมานั่งพร้อมกันแล้ว ก็จะสั่นกระดิ่งให้กราบพระพร้อมกัน 3 ครั้ง จากนั้นก็กราบพระอาจารย์จันดีพร้อมกันอีก 3 ครั้ง จากนั้นจึงแยกย้ายกันไปทำกิจภาวนา…..
    ตรงนี้พระชั้น’ครูบา’* จะต้องมีหน้าที่ล้างบาตรของตนรวมไปถึงล้างบาตรให้พระชั้น’อาจารย์’* ด้วย โดยยกเอาบาตร และกระโถนไปล้างยังที่บริเวณลานล้างบาตรที่อยู่ไม่ไกลออกไปนัก วิธีการถือบาตรนั้นมันก็มีเทคนิคนะครับ ซึ่งก็มีครูบารูปหนึ่ง(ตอนหลังทราบว่าชื่อครูบาจ๊อด)มาโชว์ให้ผมดู … คือ บาตรมันจะมี 3 ส่วนใช่มั้ยครับ (จริงๆ 4 …หากรวมถลกบาตรที่ถอดออกไปตอนแรก) นั่นก็คือ ตัวบาตร ฝาบาตร และฐานรองบาตร ..อ้อ แถมกระโถนอีกใบหนึ่ง เวลาเราถือก็ให้สอดฝาบาตรไปยังระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วก้อย ทีนี้สามนิ้วกลางที่เหลือก็จะทำการสอดเข้าไปที่ตัวบาตร ส่วนขาบาตรกับกระโถนก็ถือด้วยมืออีกข้าง อันนี้เป็นแบบธรรมดาครับ ….แบบ advance นี่ ขั้นตอนแรกทำเหมือนกันแต่ขาบาตรให้สอดเอาไว้ระหว่างลำตัวกับแขน วิธีนี้จะสามารถขนสองบาตรไปได้ในคราวเดียว (บาตรเรากับบาตรอาจารย์) ….แต่กระโถนนั้นต้องให้พระอื่นช่วยถือ
    (* ทางสายหลวงปู่ชา พระที่บวชไม่ถึง 5 พรรษา เค้าจะเรียกว่า ครูบา ถ้ามากกว่านั้นจะเรียกว่า อาจารย์ )
    ลานล้างบาตรนั้นจะมีตุ่มน้ำ 5 ใบ ตั้งเว้นระยะห่างกันไป ประมาณ 3 เมตร มีแคร่ไม้ไผ่ยกสูงวางอยู่ด้านหน้าพร้อมอุปกรณ์การล้าง( สก๊อตไบรท์ น้ำยาล้างจาน )วางอยู่เป็นระยะๆ มีถังขยะสำหรับใส่เศษอาหาร และขยะทั่วไปวางอยู่ด้านข้าง ….ถัดไปหน่อยก็จะมีเพิงไม้ขนาดใหญ่ สำหรับให้พระมานั่งเช็ดบาตร มีราวตากผ้ารอบๆเพิงสำหรับไว้ตากผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดมือ และ……..หมา แมว ไก่ ผู้มารอรับ’ทาน’ และ ’รับประทาน’ อาหารจากก้นบาตรพระ ผมถือ บาตรของผมตามหลังพระรูปอื่นไป เห็นเค้าทำอะไรก็ทำตาม ขั้นแรกเลยก็วางขาบาตรไว้ที่เพิงไม้ซะก่อน จากนั้นก็เอาบาตรไปเทเศษอาหารออก และเอาไปวางไว้ที่แคร่เพื่อล้าง …….จริงๆเหมือนจะถูกอยู่หรอก แต่ครูบาท่านหนึ่ง(ครูบาบิว)เค้าบอกว่าอย่าวางบาตรไว้บนแคร่โดยตรง มันจะมียางวงสำหรับเอาไว้ตั้งบาตรเพื่อล้าง พอผมล้างเสร็จ ไปนั่งเช็ดบาตร (ต้องยืมผ้าพระรูปอื่น เพราะผมไม่มี) บนแคร่ที่เพิง ครูบาท่านนั้นก็มองๆ แล้วก็บอกผมว่า …ทำถูกแล้วที่ตั้งบาตรไว้ห่างจากริมแคร่อย่างน้อย 1 ศอก (จะบอกว่าอันนี้ผมบังเอิญแหละ อิ อิ) แต่บาตรนั้นห้ามสัมผัสกับพื้นโดยตรง อย่างตอนล้างบาตรนั่น ผมทำผิด ควรระมัดระวังให้มากกว่านี้ ……….……ท่านยังบอกผมอีกว่าข้อวินัยเรื่องบาตรนั้นมีมาก ควรศึกษาไว้จะได้ทำได้ทำไม่ผิด ซึ่งผมก็น้อมรับฟังอย่างตั้งใจ
    การเช็ด บาตรนั้นถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่พระป่าจะได้พบปะพูดคุยกันพร้อมหน้า จะนัดหมายทำกิจอะไรก็คุยกันตอนนี้ ….ก่อนจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติภาวนา หลังจากเช็ดบาตร เช็ดกระโถนเสร็จแล้ว (ต้องแยกผ้ากันด้วยนะ)…ผมก็ง่วนอยู่กับการใส่ถลกบาตรต่อ จริงๆก็ไม่รู้หรอก อาศัยแอบดูพระอื่นเค้าทำ…..…ต้องถอดเงื่อนตรงนั้นออก แล้วเอามาผูกตรงนี้ ทำไปทำมาก็ไม่ได้ซักที ….จนสุดท้ายต้องเดือดร้อนพระรูปอื่นมาช่วยสาธิตให้ดูอยู่ดี (แหะ แหะ) ก็จะให้ทำเป็นได้ไงอะครับ…….ตอนอยู่วัดเก่านี่ บาตรผมเป็นเหมือนกับตะกร้าแม่บ้านที่เอาไว้ใส่อาหารเท่านั้น ไม่เคยถอดขาบาตร ไม่เคยถอดถลกบาตร เวลาบิณทบาตทีก็ยกเอาไปทั้งอย่างนั้นแหละครับ พอบิณฯ เสร็จเอากับข้าว อาหารออก …ก็แค่เปิดฝาผึ่งแดดเอาไว้ ไม่เคยได้ล้างเล้ยย (ไม่ใช่ว่าผมขี้เกียจนะครับ แต่เค้าทำกันอย่างนั้นจริงๆ)…. แต่พอมาวัดที่นี่ …. เริ่มตั้งแต่ถอดถลกบาตร กรอกบาตร (ล้างบาตรก่อนฉัน) ทั้งเอาไว้ฉัน ฉันเสร็จก็เอามาล้าง เช็ด (อาจต้องตากด้วยบางครั้ง) เสร็จแล้วก็ใส่ถลกบาตรกลับ…..โอ ช่างต่างกันลิบลับ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไม กะอีแค่บาตรแค่นี้ ทำไมถึงได้ทำให้มันยุ่งยากจัง……
    ตรงนี้ครูบาแหล่( ตัวละครชักเริ่มเยอะและ แต่ไม่ต้องห่วงนะครับ อ่านไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็จำได้เอง ) ได้บอกผมในโอกาสหนึ่งว่า……บาตรนี้เปรียบเสมือนนาผืนเดียวของพระสงฆ์ (น่าน…ใน’เนื้อนาบุญ’ ยังมีนาอีกผืนครับ) เนื่องจากพระสงฆ์ปลูกพืชเองไม่ได้ทำอาหารเองไม่ได้ ได้แต่รับบิณทบาตจากญาติโยม ….ซึ่งก็ผ่านทางบาตรใบนี้นั่นแหละ (หากไม่มีบาตรก็อด) นอกจากนี้สำหรับพระป่าแล้ว บาตรนี้ยังสามารถเอาไว้ใส่ผ้าไตรและของใช้ต่างๆเวลาไปธุดงค์
    …….ดังนั้น บาตรจึงเป็นสิ่งที่มีบุญคุณยิ่งสำหรับพระสงฆ์ เวลานอนต้องเอาไว้ข้างกายเสมอ เวลาถือก็สมควรยกไว้เหนือเอว และครั้นเมื่อผมได้เห็นกิริยาท่าทางอันทะนุถนอมของครูบาแหล่ เวลากรอกบาตร(กรอกน้ำลงในบาตรแล้วค่อยๆใช้มือสองมือหมุนบาตร วนจนทั่วบาตรจนถึงปากบาตร ) เวลาใส่ถลกบาตร ผมก็ตระหนักได้ดีถึงความสำคัญของมัน (ทั้งนี้ยังมีวินัยเกี่ยวกับบาตรอีกเยอะ ซึ่งผมจะพยายามสอดแทรกไว้ให้เรื่อยๆ ในโอกาสต่อไป)
    หลัง จากเสร็จธุระเรื่องบาตรแล้ว ก็จะแยกย้ายกันเอาบาตร เอาสัมภาระไปเก็บยังกุฏิ …แต่วันนี้ผมยังไม่ได้กุฏิ เนื่องจากช่วงนี้ทางวัดยังยุ่งๆกับการต้อนรับครูบาอาจารย์ที่จะมางานกฐินที่ จะมีขึ้นพรุ่งนี้ ผมเลยต้องไปพักใต้โบสถ์ก่อน
    …….ใต้ โบสถ์…เอาแล้วไง ผมชักเริ่มกังวล จินตนาการไปถึงใต้โบสถ์ที่เอาไว้เก็บพวกวัตถุโบราณ พระพุทธรูปเก่าๆ ………เสื่อผุๆขาดๆ และใยแมงมุมยุ่บยั่บ (…แอบนึกถึงพวกกรุพระเครื่อง ลูกนิมิตเก่าที่เคยดูตามหนังผีด้วยแหละ )
    ‘เป็นไง เป็นกันวะ!! ’ ผมนึก พยายามทำใจดีสู้เสือ ‘ไหนๆ ตั้งใจถ่อมาถึงนี่ แค่นี้จะไปกลัวอะไรวะ ’
    จากนั้นผมจึงบอกโยมพ่อให้ ช่วยกันอัฐบริขารขึ้นไปไว้ที่ใต้โบสถ์
    โปสถ์ที่ นี่อยู่บนเขาครับ ต้องเดินขึ้นเขาไปสักหน่อย …เป็นโบสถ์ที่ดูแล้วเรียบง่ายไม่มีลวดลายแกะสลักวิจิตรบรรจงเหมือนวัดอื่น ทว่ากลับให้ความรู้สึกสงบวิเวก … รอบโบสถ์มีเสมาอยู่ 8 อัน แต่ละอันสลักเป็นภาษาบาลีเป็น ข้อมรรคทั้ง 8 อันหมายถึงหนทางดับทุกข์ อีกทั้งตั้งอยู่กลางป่าเขาโดยมีต้นไม้ขึ้นครึ้มอยู่รอบนอก และมีบ่อน้ำที่ขุดขึ้นโดยรอบ (โดยจะมีสะพานเล็กๆทอดข้ามไปยังโบสถ์ทั้ง 4 ทิศ) …สร้างบรรยากาศให้ร่มเย็นชื่นใจ ดุจธรรมะอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าที่ประทานให้ไว้แก่สัตว์โลก
    ไม่เพียงแต่นอกโบสถ์เท่านั้น หากเดินเข้าไปในโบสถ์ ก็จะได้พบกับความงามวิจิตรที่ซ่อนในความเรียบง่าย มีพระประธานองค์ใหญ่ที่ตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง และพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะยืนประนมมือประกบอยู่ทางซ้ายขวา …แม้ไม่ได้เป็นสีทองอร่าม ทว่าด้วยสีธรรมชาติกลับให้ถึงความรู้สึกความขลัง และศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าประหลาด เบื้องหน้าพระประธานมีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่ชานั่งขัดสมาธิอยู่ ….บรรยากาศภายในนั้นโล่ง โปร่งสบายเนื่องจากใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีหน้าต่างบานใหญ่(จริงๆน่าจะเรียกว่าประตูมากกว่า) เรียงรายตลอดแนวให้ลมพัดผ่านเข้ามาได้ …เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ถึง กระนั้นก็ตาม ผมก็ยังแอบรู้สึกกลัวๆกล้าๆนิดๆที่ต้องนอนใต้โบสถ์คืนนี้ …..โยมพ่อเดินข้ามสะพานนำผมไปยังประตูใต้โบสถ์ ผมก็ตามไป พอเปิดเข้าไปเท่านั้นแหละ……….
    ….ผิดคาดเลยครับ ..ใต้โบสถ์ที่นี่สะอาดสะอ้านมาก แม้จะเป็นที่เก็บของ แต่ก็จัดเอาไว้เป็นสัดส่วนอย่างดี มีพื้นยกระดับไว้รอบๆ (เข้าใจว่าน่าจะ เผื่อให้พระอาคันตุกะมาจำวัดที่นี่ได้) มีชั้นหนังสือที่เก็บรวบรวมหนังสือธรรมะไว้มากมาย วางต่อกันไปเป็นระเบียบ พวกสังฆทานที่ญาติโยมบริจาคมาก็จัดแยกแยะเป็นหมวดหมู่ตามประเภทของเครื่อง ใช้เพื่อประโยชน์ในการหยิบใช้สอย ….แล้วพอได้เห็นชั้นวางเสื่อ วางหมอน และอาสนะ เท่านั้นแหละ …ผมก็เลยถึงบางอ้อ …ที่แท้ ‘ใต้โบสถ์’ ที่นี่เค้าเอาไว้ให้โยมที่มาปฏิบัติธรรมพักที่นี่ด้วยนั่นเอง เสริมนิดหน่อยนะครับ ….ทราบมาว่าตามธรรมเนียมวัดหนองป่าพงดั้งเดิมนั้น จริงๆแล้วไม่ได้มาขอบวชกันง่ายๆแบบนี้นะครับ หลวงปู่ชาท่านต้องให้บวชผ้าขาว(หรือ ปะขาว)ถือศีล 8 อยู่วัดก่อน 2-4 เดือน จากนั้นจึงจะให้บวชเป็นเณร 1 ปี (ถือศีล 10) ถึงจะบวชเป็นพระได้ (เห็นมั้ยครับ… กว่าจะได้มาเป็นพระป่า ไม่ใช่ง่ายๆเลยเน้อ) และทุกๆนอนเฝ้าโบสถ์ โดยโบสถ์ที่นั่น จะเก่าๆผุๆหน่อย ไม่ใหม่เหมือนที่นี่นะครับ ก็จะมีโครงกระดูกแขวนไว้อยู่ใกล้ๆที่นอน …..ถือเป็นการทดสอบจิตใจและสอนกรรมฐาน (กายคตาสติ) ไปในตัว ที่เตลิดยอมแพ้ไปก่อนจะได้บวชก็เยอะ ……….ซึ่งธรรมเนียมนี้สำหรับวัดหนองป่าพงสาขาใหญ่ และสาขาวัดป่านานาชาติ …ยังคงใช้อยู่มาถึงปัจจุบัน ส่วนสาขาย่อยก็อาจปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อความเหมาะสมต่อยุคสมัย ส่วนธรรมเนียมของที่วัดนี้ ท่านให้บวชผ้าขาวก่อน 1-3 เดือน แล้วถึงจะบวชพระได้ …..ส่วนของผมนี่ถือเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นพระอาคันตุกะ คือบวชวัดอื่นแล้วมากราบขออนุญาติท่านเจ้าอาวาส(พระอาจารย์จันดี)ในภายหลัง ……ซึ่งท่านก็เมตตาผมมากจริงๆ ที่อนุญาติให้ผมมาอยู่ได้ ….ซึ่งผมก็ทำให้ผมรู้สึกซาบซึ้งมาจนถึงทุกวันนี้หลังจากปูเสื่อ จัดข้าวของอัฐบริขารต่างๆให้เข้าที่เรียบร้อยแล้ว (โดยให้โยมที่มาช่วยประเคนให้อีกหนหนึ่ง) โยมพ่อโยมแม่โยมแฟนผมก็ลากลับ …..ส่วนผมก็เดินขึ้นไปบนโบสถ์ ผมนั่งคุกเข่าลงเบื้อง หน้ารูปเหมือนหลวงปู่ชาและพระพุทธเจ้า ……..สายตาเหลือบมองไปยังท่าน พลางยกมือประนมหว่างอก แล้วก้มลงกราบ………
    …..กราบ ที่หนึ่ง….กราบพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา และเปรียบประหนึ่งบิดาแห่งพุทธบริษัท
    บัดนี้ผมกำลังกราบด้วยระลึกในพระ คุณของท่าน ……กราบที่สอง….กราบพระธรรมที่พระ พุทธเจ้าได้ตรัสรู้และนำมาสั่งสอนสัตว์โลก
    บัด นี้ผมกำลังจะมาศึกษาและน้อมพระธรรมเข้ามาสู่ใจ
    …..กราบ ที่สาม…. กราบหลวงปู่ชา พระอรหันต์ผู้มีวัตรปฏิบัติอันงดงามและเคร่งครัด ครูบาอาจารย์ผู้เป็นดั่งหัวเรือใหญ่ในการเผยแผ่พุทธศาสนาให้ขจรขจายออกไป ทั่วโลก
    และบัดนี้ผมกำลัง(อาจเอื้อม)กราบขอเป็นศิษย์อีกคนหนึ่งของ ท่าน ……….
    ผมยกมือขึ้นจบ เหนือศีรษะ สัมผัสสายลมเย็นๆพัดผ่านมาที่ผม
    …..ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ ความอิ่มเอิบในเมตตาแห่งสรณะ(ที่พึ่งอันสูงสุด)ทั้งสาม หรือ เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนี้ก็ตาม…….ผมรู้สึกอิ่มเอิบ และขนลุกซู่ด้วยความปีติ
    ….ผมนั่งหลับตาซึมซับความรู้สึกปีติอยู่ครู่ หนึ่ง…พลางอธิษฐานในใจ …..
    “ ผมขอมาปฏิบัติธรรมที่นี่ …..ขอให้ท่านทั้งหลาย โปรดช่วยปกป้องคุ้มครอง และดลบันดาลให้ผมได้ประสบความสำเร็จในทางธรรมเถิด ”


    ผมจะเป็นพระที่ดี | MThA! Webboard
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ตอน ….ก้าวแรกสู่วัดป่า 2 : บาตรนั้น…สำคัญไฉน?===============================================
    เอ้า……เล่าต่อจากตอนจากตอนที่แล้วเลยนะครับ
    หลังจากที่พระทุกรูปฉันเสร็จแล้ว ก็จะยกเอาบาตรไปตั้งไว้ด้านข้างศาลาและกลับมายังอาสนะของตน
    เมื่อพระอาจารย์จันดีเห็นว่า ทุกรูปมานั่งพร้อมกันแล้ว ก็จะสั่นกระดิ่งให้กราบพระพร้อมกัน 3 ครั้ง จากนั้นก็กราบพระอาจารย์จันดีพร้อมกันอีก 3 ครั้ง จากนั้นจึงแยกย้ายกันไปทำกิจภาวนา…..
    ตรงนี้พระชั้น’ครูบา’* จะต้องมีหน้าที่ล้างบาตรของตนรวมไปถึงล้างบาตรให้พระชั้น’อาจารย์’* ด้วย โดยยกเอาบาตร และกระโถนไปล้างยังที่บริเวณลานล้างบาตรที่อยู่ไม่ไกลออกไปนัก วิธีการถือบาตรนั้นมันก็มีเทคนิคนะครับ ซึ่งก็มีครูบารูปหนึ่ง(ตอนหลังทราบว่าชื่อครูบาจ๊อด)มาโชว์ให้ผมดู … คือ บาตรมันจะมี 3 ส่วนใช่มั้ยครับ (จริงๆ 4 …หากรวมถลกบาตรที่ถอดออกไปตอนแรก) นั่นก็คือ ตัวบาตร ฝาบาตร และฐานรองบาตร ..อ้อ แถมกระโถนอีกใบหนึ่ง เวลาเราถือก็ให้สอดฝาบาตรไปยังระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วก้อย ทีนี้สามนิ้วกลางที่เหลือก็จะทำการสอดเข้าไปที่ตัวบาตร ส่วนขาบาตรกับกระโถนก็ถือด้วยมืออีกข้าง อันนี้เป็นแบบธรรมดาครับ ….แบบ advance นี่ ขั้นตอนแรกทำเหมือนกันแต่ขาบาตรให้สอดเอาไว้ระหว่างลำตัวกับแขน วิธีนี้จะสามารถขนสองบาตรไปได้ในคราวเดียว (บาตรเรากับบาตรอาจารย์) ….แต่กระโถนนั้นต้องให้พระอื่นช่วยถือ
    (* ทางสายหลวงปู่ชา พระที่บวชไม่ถึง 5 พรรษา เค้าจะเรียกว่า ครูบา ถ้ามากกว่านั้นจะเรียกว่า อาจารย์ )
    ลานล้างบาตรนั้นจะมีตุ่มน้ำ 5 ใบ ตั้งเว้นระยะห่างกันไป ประมาณ 3 เมตร มีแคร่ไม้ไผ่ยกสูงวางอยู่ด้านหน้าพร้อมอุปกรณ์การล้าง( สก๊อตไบรท์ น้ำยาล้างจาน )วางอยู่เป็นระยะๆ มีถังขยะสำหรับใส่เศษอาหาร และขยะทั่วไปวางอยู่ด้านข้าง ….ถัดไปหน่อยก็จะมีเพิงไม้ขนาดใหญ่ สำหรับให้พระมานั่งเช็ดบาตร มีราวตากผ้ารอบๆเพิงสำหรับไว้ตากผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดมือ และ……..หมา แมว ไก่ ผู้มารอรับ’ทาน’ และ ’รับประทาน’ อาหารจากก้นบาตรพระ ผมถือ บาตรของผมตามหลังพระรูปอื่นไป เห็นเค้าทำอะไรก็ทำตาม ขั้นแรกเลยก็วางขาบาตรไว้ที่เพิงไม้ซะก่อน จากนั้นก็เอาบาตรไปเทเศษอาหารออก และเอาไปวางไว้ที่แคร่เพื่อล้าง …….จริงๆเหมือนจะถูกอยู่หรอก แต่ครูบาท่านหนึ่ง(ครูบาบิว)เค้าบอกว่าอย่าวางบาตรไว้บนแคร่โดยตรง มันจะมียางวงสำหรับเอาไว้ตั้งบาตรเพื่อล้าง พอผมล้างเสร็จ ไปนั่งเช็ดบาตร (ต้องยืมผ้าพระรูปอื่น เพราะผมไม่มี) บนแคร่ที่เพิง ครูบาท่านนั้นก็มองๆ แล้วก็บอกผมว่า …ทำถูกแล้วที่ตั้งบาตรไว้ห่างจากริมแคร่อย่างน้อย 1 ศอก (จะบอกว่าอันนี้ผมบังเอิญแหละ อิ อิ) แต่บาตรนั้นห้ามสัมผัสกับพื้นโดยตรง อย่างตอนล้างบาตรนั่น ผมทำผิด ควรระมัดระวังให้มากกว่านี้ ……….……ท่านยังบอกผมอีกว่าข้อวินัยเรื่องบาตรนั้นมีมาก ควรศึกษาไว้จะได้ทำได้ทำไม่ผิด ซึ่งผมก็น้อมรับฟังอย่างตั้งใจ
    การเช็ด บาตรนั้นถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่พระป่าจะได้พบปะพูดคุยกันพร้อมหน้า จะนัดหมายทำกิจอะไรก็คุยกันตอนนี้ ….ก่อนจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติภาวนา หลังจากเช็ดบาตร เช็ดกระโถนเสร็จแล้ว (ต้องแยกผ้ากันด้วยนะ)…ผมก็ง่วนอยู่กับการใส่ถลกบาตรต่อ จริงๆก็ไม่รู้หรอก อาศัยแอบดูพระอื่นเค้าทำ…..…ต้องถอดเงื่อนตรงนั้นออก แล้วเอามาผูกตรงนี้ ทำไปทำมาก็ไม่ได้ซักที ….จนสุดท้ายต้องเดือดร้อนพระรูปอื่นมาช่วยสาธิตให้ดูอยู่ดี (แหะ แหะ) ก็จะให้ทำเป็นได้ไงอะครับ…….ตอนอยู่วัดเก่านี่ บาตรผมเป็นเหมือนกับตะกร้าแม่บ้านที่เอาไว้ใส่อาหารเท่านั้น ไม่เคยถอดขาบาตร ไม่เคยถอดถลกบาตร เวลาบิณทบาตทีก็ยกเอาไปทั้งอย่างนั้นแหละครับ พอบิณฯ เสร็จเอากับข้าว อาหารออก …ก็แค่เปิดฝาผึ่งแดดเอาไว้ ไม่เคยได้ล้างเล้ยย (ไม่ใช่ว่าผมขี้เกียจนะครับ แต่เค้าทำกันอย่างนั้นจริงๆ)…. แต่พอมาวัดที่นี่ …. เริ่มตั้งแต่ถอดถลกบาตร กรอกบาตร (ล้างบาตรก่อนฉัน) ทั้งเอาไว้ฉัน ฉันเสร็จก็เอามาล้าง เช็ด (อาจต้องตากด้วยบางครั้ง) เสร็จแล้วก็ใส่ถลกบาตรกลับ…..โอ ช่างต่างกันลิบลับ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไม กะอีแค่บาตรแค่นี้ ทำไมถึงได้ทำให้มันยุ่งยากจัง……
    ตรงนี้ครูบาแหล่( ตัวละครชักเริ่มเยอะและ แต่ไม่ต้องห่วงนะครับ อ่านไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็จำได้เอง ) ได้บอกผมในโอกาสหนึ่งว่า……บาตรนี้เปรียบเสมือนนาผืนเดียวของพระสงฆ์ (น่าน…ใน’เนื้อนาบุญ’ ยังมีนาอีกผืนครับ) เนื่องจากพระสงฆ์ปลูกพืชเองไม่ได้ทำอาหารเองไม่ได้ ได้แต่รับบิณทบาตจากญาติโยม ….ซึ่งก็ผ่านทางบาตรใบนี้นั่นแหละ (หากไม่มีบาตรก็อด) นอกจากนี้สำหรับพระป่าแล้ว บาตรนี้ยังสามารถเอาไว้ใส่ผ้าไตรและของใช้ต่างๆเวลาไปธุดงค์
    …….ดังนั้น บาตรจึงเป็นสิ่งที่มีบุญคุณยิ่งสำหรับพระสงฆ์ เวลานอนต้องเอาไว้ข้างกายเสมอ เวลาถือก็สมควรยกไว้เหนือเอว และครั้นเมื่อผมได้เห็นกิริยาท่าทางอันทะนุถนอมของครูบาแหล่ เวลากรอกบาตร(กรอกน้ำลงในบาตรแล้วค่อยๆใช้มือสองมือหมุนบาตร วนจนทั่วบาตรจนถึงปากบาตร ) เวลาใส่ถลกบาตร ผมก็ตระหนักได้ดีถึงความสำคัญของมัน (ทั้งนี้ยังมีวินัยเกี่ยวกับบาตรอีกเยอะ ซึ่งผมจะพยายามสอดแทรกไว้ให้เรื่อยๆ ในโอกาสต่อไป)
    หลัง จากเสร็จธุระเรื่องบาตรแล้ว ก็จะแยกย้ายกันเอาบาตร เอาสัมภาระไปเก็บยังกุฏิ …แต่วันนี้ผมยังไม่ได้กุฏิ เนื่องจากช่วงนี้ทางวัดยังยุ่งๆกับการต้อนรับครูบาอาจารย์ที่จะมางานกฐินที่ จะมีขึ้นพรุ่งนี้ ผมเลยต้องไปพักใต้โบสถ์ก่อน
    …….ใต้ โบสถ์…เอาแล้วไง ผมชักเริ่มกังวล จินตนาการไปถึงใต้โบสถ์ที่เอาไว้เก็บพวกวัตถุโบราณ พระพุทธรูปเก่าๆ ………เสื่อผุๆขาดๆ และใยแมงมุมยุ่บยั่บ (…แอบนึกถึงพวกกรุพระเครื่อง ลูกนิมิตเก่าที่เคยดูตามหนังผีด้วยแหละ )
    ‘เป็นไง เป็นกันวะ!! ’ ผมนึก พยายามทำใจดีสู้เสือ ‘ไหนๆ ตั้งใจถ่อมาถึงนี่ แค่นี้จะไปกลัวอะไรวะ ’
    จากนั้นผมจึงบอกโยมพ่อให้ ช่วยกันอัฐบริขารขึ้นไปไว้ที่ใต้โบสถ์
    โปสถ์ที่ นี่อยู่บนเขาครับ ต้องเดินขึ้นเขาไปสักหน่อย …เป็นโบสถ์ที่ดูแล้วเรียบง่ายไม่มีลวดลายแกะสลักวิจิตรบรรจงเหมือนวัดอื่น ทว่ากลับให้ความรู้สึกสงบวิเวก … รอบโบสถ์มีเสมาอยู่ 8 อัน แต่ละอันสลักเป็นภาษาบาลีเป็น ข้อมรรคทั้ง 8 อันหมายถึงหนทางดับทุกข์ อีกทั้งตั้งอยู่กลางป่าเขาโดยมีต้นไม้ขึ้นครึ้มอยู่รอบนอก และมีบ่อน้ำที่ขุดขึ้นโดยรอบ (โดยจะมีสะพานเล็กๆทอดข้ามไปยังโบสถ์ทั้ง 4 ทิศ) …สร้างบรรยากาศให้ร่มเย็นชื่นใจ ดุจธรรมะอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าที่ประทานให้ไว้แก่สัตว์โลก
    ไม่เพียงแต่นอกโบสถ์เท่านั้น หากเดินเข้าไปในโบสถ์ ก็จะได้พบกับความงามวิจิตรที่ซ่อนในความเรียบง่าย มีพระประธานองค์ใหญ่ที่ตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง และพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะยืนประนมมือประกบอยู่ทางซ้ายขวา …แม้ไม่ได้เป็นสีทองอร่าม ทว่าด้วยสีธรรมชาติกลับให้ถึงความรู้สึกความขลัง และศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าประหลาด เบื้องหน้าพระประธานมีหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่ชานั่งขัดสมาธิอยู่ ….บรรยากาศภายในนั้นโล่ง โปร่งสบายเนื่องจากใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก มีหน้าต่างบานใหญ่(จริงๆน่าจะเรียกว่าประตูมากกว่า) เรียงรายตลอดแนวให้ลมพัดผ่านเข้ามาได้ …เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ถึง กระนั้นก็ตาม ผมก็ยังแอบรู้สึกกลัวๆกล้าๆนิดๆที่ต้องนอนใต้โบสถ์คืนนี้ …..โยมพ่อเดินข้ามสะพานนำผมไปยังประตูใต้โบสถ์ ผมก็ตามไป พอเปิดเข้าไปเท่านั้นแหละ……….
    ….ผิดคาดเลยครับ ..ใต้โบสถ์ที่นี่สะอาดสะอ้านมาก แม้จะเป็นที่เก็บของ แต่ก็จัดเอาไว้เป็นสัดส่วนอย่างดี มีพื้นยกระดับไว้รอบๆ (เข้าใจว่าน่าจะ เผื่อให้พระอาคันตุกะมาจำวัดที่นี่ได้) มีชั้นหนังสือที่เก็บรวบรวมหนังสือธรรมะไว้มากมาย วางต่อกันไปเป็นระเบียบ พวกสังฆทานที่ญาติโยมบริจาคมาก็จัดแยกแยะเป็นหมวดหมู่ตามประเภทของเครื่อง ใช้เพื่อประโยชน์ในการหยิบใช้สอย ….แล้วพอได้เห็นชั้นวางเสื่อ วางหมอน และอาสนะ เท่านั้นแหละ …ผมก็เลยถึงบางอ้อ …ที่แท้ ‘ใต้โบสถ์’ ที่นี่เค้าเอาไว้ให้โยมที่มาปฏิบัติธรรมพักที่นี่ด้วยนั่นเอง เสริมนิดหน่อยนะครับ ….ทราบมาว่าตามธรรมเนียมวัดหนองป่าพงดั้งเดิมนั้น จริงๆแล้วไม่ได้มาขอบวชกันง่ายๆแบบนี้นะครับ หลวงปู่ชาท่านต้องให้บวชผ้าขาว(หรือ ปะขาว)ถือศีล 8 อยู่วัดก่อน 2-4 เดือน จากนั้นจึงจะให้บวชเป็นเณร 1 ปี (ถือศีล 10) ถึงจะบวชเป็นพระได้ (เห็นมั้ยครับ… กว่าจะได้มาเป็นพระป่า ไม่ใช่ง่ายๆเลยเน้อ) และทุกๆนอนเฝ้าโบสถ์ โดยโบสถ์ที่นั่น จะเก่าๆผุๆหน่อย ไม่ใหม่เหมือนที่นี่นะครับ ก็จะมีโครงกระดูกแขวนไว้อยู่ใกล้ๆที่นอน …..ถือเป็นการทดสอบจิตใจและสอนกรรมฐาน (กายคตาสติ) ไปในตัว ที่เตลิดยอมแพ้ไปก่อนจะได้บวชก็เยอะ ……….ซึ่งธรรมเนียมนี้สำหรับวัดหนองป่าพงสาขาใหญ่ และสาขาวัดป่านานาชาติ …ยังคงใช้อยู่มาถึงปัจจุบัน ส่วนสาขาย่อยก็อาจปรับเปลี่ยนไปบ้างเพื่อความเหมาะสมต่อยุคสมัย ส่วนธรรมเนียมของที่วัดนี้ ท่านให้บวชผ้าขาวก่อน 1-3 เดือน แล้วถึงจะบวชพระได้ …..ส่วนของผมนี่ถือเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นพระอาคันตุกะ คือบวชวัดอื่นแล้วมากราบขออนุญาติท่านเจ้าอาวาส(พระอาจารย์จันดี)ในภายหลัง ……ซึ่งท่านก็เมตตาผมมากจริงๆ ที่อนุญาติให้ผมมาอยู่ได้ ….ซึ่งผมก็ทำให้ผมรู้สึกซาบซึ้งมาจนถึงทุกวันนี้หลังจากปูเสื่อ จัดข้าวของอัฐบริขารต่างๆให้เข้าที่เรียบร้อยแล้ว (โดยให้โยมที่มาช่วยประเคนให้อีกหนหนึ่ง) โยมพ่อโยมแม่โยมแฟนผมก็ลากลับ …..ส่วนผมก็เดินขึ้นไปบนโบสถ์ ผมนั่งคุกเข่าลงเบื้อง หน้ารูปเหมือนหลวงปู่ชาและพระพุทธเจ้า ……..สายตาเหลือบมองไปยังท่าน พลางยกมือประนมหว่างอก แล้วก้มลงกราบ………
    …..กราบ ที่หนึ่ง….กราบพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตา และเปรียบประหนึ่งบิดาแห่งพุทธบริษัท
    บัดนี้ผมกำลังกราบด้วยระลึกในพระ คุณของท่าน ……กราบที่สอง….กราบพระธรรมที่พระ พุทธเจ้าได้ตรัสรู้และนำมาสั่งสอนสัตว์โลก
    บัด นี้ผมกำลังจะมาศึกษาและน้อมพระธรรมเข้ามาสู่ใจ
    …..กราบ ที่สาม…. กราบหลวงปู่ชา พระอรหันต์ผู้มีวัตรปฏิบัติอันงดงามและเคร่งครัด ครูบาอาจารย์ผู้เป็นดั่งหัวเรือใหญ่ในการเผยแผ่พุทธศาสนาให้ขจรขจายออกไป ทั่วโลก
    และบัดนี้ผมกำลัง(อาจเอื้อม)กราบขอเป็นศิษย์อีกคนหนึ่งของ ท่าน ……….
    ผมยกมือขึ้นจบ เหนือศีรษะ สัมผัสสายลมเย็นๆพัดผ่านมาที่ผม
    …..ไม่รู้ว่าเป็นเพราะ ความอิ่มเอิบในเมตตาแห่งสรณะ(ที่พึ่งอันสูงสุด)ทั้งสาม หรือ เพราะความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่แห่งนี้ก็ตาม…….ผมรู้สึกอิ่มเอิบ และขนลุกซู่ด้วยความปีติ
    ….ผมนั่งหลับตาซึมซับความรู้สึกปีติอยู่ครู่ หนึ่ง…พลางอธิษฐานในใจ …..
    “ ผมขอมาปฏิบัติธรรมที่นี่ …..ขอให้ท่านทั้งหลาย โปรดช่วยปกป้องคุ้มครอง และดลบันดาลให้ผมได้ประสบความสำเร็จในทางธรรมเถิด ”


    ผมจะเป็นพระที่ดี | MThA! Webboard
     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    กราบอนุโมทนาเป็นอย่างสูงค่ะท่านเจ้าของกระทู้ คนที่ไม่บวชได้อ่านก็เป็นการเจริญปัญญาเช่นเดียวกันค่ะ สาธุ
     
  9. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน ก้าวแรกสู่วัดป่า 3 : อุปัฏฐากครูบาอาจารย์


    เนื่องจากวันพรุ่งนี้ทางวัดจะมีกฐินใหญ่ จึงมีครูบาอาจารย์วัดป่าหลายท่านแวะมาที่นี่ ซึ่งครูบาอาจารย์เหล่านั้นส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นระดับมหาเถระกันแล้ว ทั้งนั้น เช่น หลวงปู่เลี่ยม(เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงสาขาใหญ่) , หลวงพ่อคำเขียน (เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต) ,หลวงพ่อเกวลี (พระฝรั่ง เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ) …. แต่ที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก(รวมทั้งผมในตอนนั้นด้วย) นั่นก็เพราะพระป่านั้มักจะชอบปลีกวิเวก ไม่ค่อยได้สุงสิงกับใครซักเท่าไหร่
    ช่วงบ่ายวันนั้นพวกเรา(หมายถึงเหล่าพระที่วัด) จึงง่วนอยู่กับการทำความสะอาดปัดกวาดโบสถ์ และจัดอาสนะเพื่อไว้เตรียมต้อนรับครูบาอาจารย์ซึ่งจะมาเทศน์ให้ญาติโยมฟัง ในค่ำคืนนี้ ส่วนญาติโยมก็ช่วยๆกันทำความสะอาดรอบวัดเช่นกัน
    พอทำความสะอาดโบสถ์เสร็จ….อาจารย์ท่านหนึ่งบอกให้ไปพัก กันก่อน เดี๋ยวค่อยมาเจอกันอีกทีตอน 3 โมง จะไปทำความสะอาดเรือนไทยหลังใหม่ซึ่งจะใช้เป็นเรือนรับรองครูบาอาจารย์กัน ……….ระหว่างนั้นผมก็เลยได้มีโอกาสทำความรู้จักกับครูบาบิวและครูบาฝรั่ง
    … ครูบาบิวนั้นเป็นพระบวชใหม่เช่นกัน บวชก่อนผมประมาณเดือนเดียวเอง….ท่านบวชที่วัดที่กรุงเทพแล้วขอย้ายมาอยู่ที่ วัดนี้เช่นเดียวกับผม ด้วยเหตุว่าเพื่อนของท่านที่เคยบวชวัดนี้มาก่อนแนะนำ(อย่างแรง) ส่วนพระฝรั่งนั้น มีชื่อบาลีไพเราะว่า ..จิตตวีโร (…ซึ่งก็เล่นเอานานเหมือนกันกว่าผมจะจำชื่อท่านได้) ท่านเป็นชาวเยอรมันที่สนใจในพุทธศาสนาและศรัทธาในหลวงปู่ชามาก จึงอุตส่าห์รอนแรมเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาบวชที่วัดป่านานาชาติ(โดยพระ อาจารย์สุเมโธ เป็นพระอุปัชชา) ซึ่งกว่าจะได้บวชก็ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องเป็นผ้าขาวสามเดือนและเป็นเณรอีก1ปีเต็มๆ พอบ่ายสามโมง พระทั้งหลายก็ทยอยกันมาช่วยกันทำความสะอาดเรือนไทยหลังใหม่ (ผมเองก็เดินหลงทางผิดๆถูกๆอยู่ซักพักกว่าจะมาถึง) …..เรือนไทยหลังนี้สวยงามและร่มเย็นมากครับ (ถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงภาพเรือนไทยที่เอาไว้ถ่ายละครย้อนยุคอะครับ) ขนาดตอนบ่ายๆแดดร้อนเปรี้ยงๆ ก็ยังมีลมพัดผ่านให้เย็นสบายขณะทำงานเสมอ ผมนั้นได้มีโอกาสได้เข้าไปทำความสะอาดที่ห้องนอนของครูบาอาจารย์ มีเสื่อสาดจัดเรียงกันไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย (พระจะไม่นอนเตียงกันครับ) …ได้เห็นการจัดผังส่วนต่างๆของเรือน ที่แสนจะดูเรียบง่าย ทว่ากลับใช้ ’ที่ว่าง’ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยสูงสุด รวมไปถึงภูมิปัญญาที่แฝงไว้กับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของบ้าน …ก็ทำเอาผมรู้สึกทึ่งในความช่างคิดของคนสมัยก่อนจริงๆครับเราแบ่งงานกันทำ คนละไม้คนละมือ …ไม่นานนักก็เสร็จ …ก็เลยมาช่วยกันจัดอาสนะ(ที่นั่ง)เอาไว้รับรองครูบาอาจารย์ต่อโดยทำการปู เสื่อยาวทีละแถวที่ลานโล่งชั้นล่างของเรือนไทย จากนั้นก็ปูอาสนะ แล้วจัดกระโถน ถ้วยชา แก้วน้ำ ขวดน้ำ กระบอกทิชชู่ ไว้สำหรับครูบาอาจารย์แต่ละท่าน เรียงกันไปตามแนวเสื่อ โดยเว้นระยะไม่ให้ชิดกันมาก ท่านจะได้นั่งสบายๆ กว่า จะจัดเสร็จก็ประมาณ 4 โมงกว่าๆ ก็ได้เวลาฉันน้ำปานะพอดี จริงๆต้องสี่โมงครึ่ง…..แต่ว่าวันนี้ต้องรีบฉันกันก่อนเพราะเดี๋ยวครูบา อาจารย์จะมาถึงแล้ว จะต้องอุปัฏฐากรับใช้ท่าน
    หลาย คนอาจจะสงสัยว่าปานะคืออะไร ..ปานะก็คือน้ำที่คั้นมาจากผลไม้ ลูกไม้ ที่ผลมีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าผลมะตูม (เพราะฉะนั้น น้ำแตงโม น้ำขนุน น้ำทุเรียน…ฉันไม่ได้นะเอ้อ <ว่าแต่ใครจะไปกินน้ำทุเรียนฟะ!!> ) ซึ่งน้ำพวกนี้สามารถฉันได้หลังเพล รวมไปถึงสิ่งที่กำหนดไว้ว่าเป็น ”เภสัช” เพื่อเสริมแร่ธาตุให้ร่างกาย ( เนื่องจากพระป่าฉันมื้อเดียวจึงอาจได้รับสารอาหารบางอย่างไม่พอเพียง) เช่น เนยใส เนยเหลว มะขามป้อม สมอ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น
    สำหรับ ปานะที่เตรียมไว้รับรองครูบาอาจารย์ อาจจะค่อนข้างพิเศษนิดนึง เนื่องจากท่านเดินทางไกลมาเหนื่อยๆ …จะได้สดชื่นขึ้นมาบ้าง (ซึ่งก็ได้มาจากญาติโยมนั่นแหละ ) เช่น น้ำผลไม้คั้นสดที่ญาติโยมคั้นมาถวาย และ แบบสำเร็จรูป (อันนี้มีหลากชนิดมาก เลือกกันไม่หวั่นไม่ไหว) มะขามป้อมแช่อิ่ม ลูกสมอ ช็อกโกแล็ตแท้ๆที่ไม่มีส่วนผสมของนมและไข่ พวกขนมเยลลี่เม็ดเล็กๆ(เจเล่) ชีสแผ่น และที่พิเศษที่สุดคือ ชีสที่เอาไปอบเป็นแผ่นกลมๆซึ่งโยมยายคนหนึ่งทำมาถวาย ผมก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรเหมือนกัน …. บางคนอาจจะคิดว่า เอ๊ แล้วมันพิเศษตรงไหน…….. ก็นี่แหละ ถือว่าพิเศษมากแล้วครับสำหรับพระป่าผู้มีชีวิตอยู่แบบสมถะ พวกเราได้รับอนุญาติ ให้ฉันปานะสำหรับรองรับครูบาอาจารย์ได้ตามสะดวก …ครูบาท่านหนึ่งบอกว่าวันนี้เป็นโอกาสพิเศษจริงๆ ปกติไม่มีแบบนี้หรอก (ปกติจะมีแค่น้ำผลไม้ 2-3อย่าง) ผมก็เลยเลือกฉันนู่นฉันนี่ได้ตามใจ แต่ก็พยายามฉันแต่พอดีไม่ตามใจกิเลสมากจนเกินไปเดี๋ยวจะเคยตัว อ้อ แต่อยากจะบอกว่า ไอ้ชีสอบแผ่นกลมที่โยมยายเอามาถวายนั่นน่ะ อร่อยจริงๆครับ …..เกือบจะหลงไปตักเพิ่มหลายทีเหมือนกัน ดีที่ยั้งไว้ทัน
    อีก ไม่นานครูบาอาจารย์ก็จะมาถึง ดูครูบาจิตวีโร(พระฝรั่ง)ท่านจะตื่นเต้นมากที่สุด แกผุดลุกผุดนั่ง ถามแล้วถามอีกอยู่นั่นว่า เมื่อไหร่ครูบาอาจารย์ท่านจะมา (แถมบอกให้ทุกคนเตรียมครองจีวรไว้เลย) พอมีเสียงรถอะไรดังขึ้นมาหน่อยก็แกก็รีบไปดู……..แกทำให้ให้ผมพลอยตื่นเต้นไป ด้วย นี่เป็นครั้งแรกที่ผมจะได้อุปฐากครูบาอาจารย์เลยนะเนี่ย แถมไม่ใช่แค่รูปเดียวนะครับ….เป็นสิบ!! ประมาณ 5 โมงกว่าๆ….รถตู้ก็นำครูบาอาจารย์มาถึง พวกเราจัดแบ่งหน้าที่กันทำ มีแผนกเสริฟ แผนกจัดสำรับ แผนกชงชากาแฟ และแผนกล้างจาน ….ผมอาสาเป็นแผนกเสริฟครับ หน้าที่ก็คือ พอครูบาอาจารย์มานั่งที่อาสนะครบทุกคน ผมก็ค่อยๆยกถาดที่ใส่ขนมและน้ำไปให้ท่านทีละคนแล้วก็ถามท่านว่าอยากฉันน้ำ อะไร จากนั้นก็ไปบอกแผนกจัดสำรับเค้าจัดมาให้แล้วก็เอามาเสริฟให้อีกรอบ แล้วก็คอยดูว่าท่านไหนอยากได้อะไรเพิ่มอีก …แค่นี้แหละครับ…….จริงๆมันเหมือนจะง่ายใช่มั้ยครับแต่ ใครจะไปรู้ว่าไอ้การคลานเข่าในชุดจีวรโดยมีกาแฟร้อนๆอยู่บนถาดสองมือนี่มัน ยากลำบากขนาดไหน ….พอคลานๆไปซักพัก จีวรผมมั๊นก็พาลจะหลุดให้ได้ทุกทีสิน่า (อันนี้คนเคยเป็นพระใหม่คงเข้าใจหัวอกผมดี)ต้องค่อยๆคลานช้าๆ เวลาจะไปเสริฟหลวงพ่อรูปไกลๆ ต้องเดินผ่านรูปอื่นก็ต้องพยายามก้มให้ต่ำที่สุด ไหนจะต้องคอยประคองถาดชากาแฟร้อนๆในมือไม่ให้หก ไหนจะต้องเดินระวังอย่าให้สะดุดจีวรตัวเองหัวทิ่มหัวตำไปอีก ….แถมยังจะต้องจำว่าครูบาอาจารย์ท่านไหนอยากได้อะไรเพิ่มอีก ซึงอันนี้ถือว่ายากที่สุดแล้วสำหรับผม เพราะเวลามีคนสั่งให้เอาไอ้นี่ไปให้หลวงพ่อชื่อนั้น….ผมก็จะเกิดอาการงงเต้ก ขึ้นมาทันที เพราะจำชื่อไม่ได้หมด (อยากจะบอกว่า ตอนแรกไม่รู้จักซักคนเลยเหอะ) ก็เสริฟผิด เสริฟถูก มั่วนิ่มกันไป ครูบาอาจารย์ท่านก็เมตตานะครับ….เห็นเดินผมทะเล่อทะล่า ทำกาแฟกระฉอกบ้าง จีวรยาวระพื้นบ้าง ลูกบวบ(ผ้าส่วนที่ม้วนไว้พาดบ่า)หลุดบ้าง ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร บางท่านก็พูดคุยกับผม ถามว่าเพิ่งบวชใหม่เหรอ(ท่านคงสังเกตุจากท่าทางอันเซ่อซ่าของผม) ….บวชกี่วัน … เออดีๆ ขอให้ตั้งใจปฏิบัตินะ โอ…ผม งี้ซาบซึ้งจริงๆครับ จากที่เหนื่อยๆอยู่ หายวับไปเลยครับ
    ซักพัก หนึ่งรถตู้คันที่สองก็พาครูบาอาจารย์ที่เหลือมาสมทบ …. พวกเราก็อุปัฏฐากรับใช้ท่านจนเสร็จทุกรูปอะครับ จากนั้นก็ช่วยกันยกกระเป๋าเดินทาง (เป็นพระก็ต้องใช้เหมือนกันเน่อ) ของท่านไปวางเก็บเข้าที่ …ผมสังเกตุเห็นครูบารูปอื่น(โดยเฉพาะครูบาฝรั่ง ท่านดูคล่องมาก)จะคอยตามประกบรับใช้ท่านตลอด ถือของ ถือย่ามให้ นำทางท่านไปห้องน้ำ บ้างก็ช่วยท่านครองจีวรด้วย ซึ่งผมก็คอยดูและจำเอาไว้ จะได้ไปปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ได้ถูก (ยกเว้นช่วยครองจีวร เพราะขนาดของตัวเองยังจะไม่รอดเลย) ค่ำวันนั้นจะมีครูบาอาจารย์จะขึ้นเทศน์ให้ญาติโยมฟัง ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัดนี้ทุกคืนวันพระ (ครูบาท่านหนึ่งบอกผมว่า วัดนี้ไม่มีการจัดมหรสพงานวัด มีแต่ฟังเทศน์แทน) แต่วันนี้ถือเป็นโอกาสพิเศษจริงๆ ที่จะมีครูบาอาจารย์หลายรูป(แล้วแต่ละรูปนี่…ระดับมหาเถระทั้งนั้น) ไปเทศน์ให้ฟัง ถือเป็นศิริมงคลแกญาติโยมสาธุชน(รวมถึงผมด้วย)เป็นอย่างยิ่ง
    หลังจากผมเสร็จธุระเรียบร้อยแล้ว ..ก็เดินออกมาดู เผื่อว่าจะได้ช่วยอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ท่านใดได้บ้าง ก็ไปเจอหลวงพ่อท่านหนึ่งกำลังยกย่ามขึ้นสะพาย ผมเลยขอโอกาสอุปฐากรับใช้ท่าน ช่วยท่านสะพายย่ามและถามท่านว่าจะไปไหน ท่านตอบว่าจะไปเทศน์ที่โบสถ์ …ผมก็เลยอาสาจะนำทางท่านไป ซึ่งจริงๆตอนนั้นผมก็ยังพอจำทางได้คลับคล้ายคลับคลา …..แต่ก็ไม่แม่นนัก (อ้าว??)
    ช่วงนั้นเป็นเวลาค่ำ พระอาทิตย์เพิ่งจะลับขอบฟ้าไปหมาดๆ ความจริงมันก็ยังไม่น่าจะมืดนักหรอก …แต่ที่นี่มันป่านะเอ้อ …มันก็เลยมืดไปเลยซะงั้น ไอ้ผมก็ไม่มีไฟฉายซะด้วยสิ ……….ตายล่ะวา ไฟฉายก็ไม่มี …ทางก็ยังจำได้ไม่แม่นโอ้…..แล้วผมจะนำท่านไปอีท่าไหน??…………ยังไง??……….ก็ ต้องโปรดติดตามตอนต่อไป………..(ซะงั้น??) ปล.ไม่ได้ตั้งใจจะยืดเยื้อนะครับ แต่เห็นว่ายังมีรายละเอียดอีกพอสมควร เกรงว่าถ้าเอาให้จบตอนนี้มันจะยาวไปเน่อ

    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน ก้าวแรกสู่วัดป่า 3 : อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ | MThA! Webboard
     
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,716
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน ก้าวแรกสู่วัดป่า(ตอนจบ) : ราตรี..ที่วัดป่า


    ความเดิมตอนที่แล้ว…. ผมอาสาหลวงพ่อท่านหนึ่งไปส่งที่อุโบสถ ซึ่งตอนนี้มันก็มืดมากแล้วด้วย ไฟฉายก็ไม่มี แถมทางก็ยังจำไม่แม่น …..ผมจะทำยังไงต่อไปล่ะเนี่ย โอ้ว!!
    จริงๆ ก็ไม่ต้องทำอะไรหรอกครับ…(อ่าว??) ….เพราะหลวงพ่อท่านมีไฟฉายส่วนตัว (ซะงั้น?) ผมก็แค่เดินถือย่ามและสัมภาระประกบท่านไปไม่ให้ห่างเท่านั้นเอง พอเดินผ่านหลังเรือนไทย เห็นครูบาท่านหนึ่งกำลังล้างถ้วยชามอยู่ เลยแวะเข้าไปถาม ท่านก็ชี้บอกว่าให้เดินเลยกุฏิชายป่าตรงโน้นไปจะเห็นทางเดินนำไปสู่บันไดอีก ทางที่จะขึ้นไปยังโบสถ์ ได้ยินอย่างนี้ ผมก็พอจำได้คลับคล้ายคลับคลาขึ้นมาบ้าง …เลยนำทางท่านไป ( คือเดินนำไปหน่อย อาศัยแสงไฟฉายที่ท่านส่องตามหลัง ) ระหว่างทางท่านก็ชวนผมคุยไปเรื่อย ท่านเล่าให้ฟังว่าที่วัดท่านก็อยู่ในป่าเขา พอตกกลางคืนก็มืดแบบนี้แหละ ….มิน่าเล่าถึงได้มีไฟฉายเตรียมเอาไว้พร้อมสรรพ
    บรรยากาศ ตอนค่ำคืนโพล้เพล้ของที่วัดนั้นก็ถือว่า ค่อนข้างน่ากลัวทีเดียว ...ด้วยความเงียบของราวป่า และเสียงย่ำใบไม้กรอบแกรบของสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไหนจะเสียงตุบๆ จากลูกมะพร้าวตกที่ตกมาเพราะลมพัดอีก (ซึ่งจริงๆแล้วหากเป็นชาวบ้านแถวนั้นคงจะถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่เนื่องจากผมเป็นคนเมือง ..ไม่ค่อยได้เจอแบบนี้ เลยอาจกลัวๆบ้าง) ท่ามกลางบรรยากาศมืดมิดชวนวังเวง .....คงก็มีแต่แสงสว่างเป็นลำจากไฟฉายหลวงพ่อ กับบารมีของท่านเท่านั้นแหละที่ผมพอจะยึดเป็นที่พึ่งได้ ณ ตอนนั้น
    ในที่สุด ผมก็นำท่านไปส่งถึงอุโบสถโดยสวัสดิภาพ ( ซึ่งผมก็ชักไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตกลงใครพาใครมากันแน่?) …เริ่มภูมิใจขึ้นมา ในที่สุดเราก็ได้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์สำเร็จเรียบร้อยแล้ว (เย่!!) เอาล่ะ ทีนี้ผมต้องกลับไปที่เรือนไทยอีกครั้ง เผื่อว่าจะมีครูบาอาจารย์ท่านไหนให้อุปัฏฐากรับใช้อีก
    …. ด้วยความปลื้มใจ ผมจึงเดินฝ่าความมืดกลับไปอย่างไม่กลัวเกรง
    (แต่พอหันเหลียวหลังไปมองอีก ที โอแม่เจ้า!!...ตะกี๊เราเดินมาได้ไงฟะ??) ไปถึงเรือนไทย ผมก็คอยเล็งๆว่ามีครูบาอาจารย์ท่านไหนที่จะให้ผมรับใช้ได้บ้าง เห็นมีอยู่ท่านหนึ่งทำท่าจะลุกขึ้น ผมก็เลยรีบตรงไปรับย่ามท่านมาสะพาย ท่านบอกว่าจะไปอุโบสถ(อีกแล้ว) ผมก็เลยอาสาพาท่านไป (ก็ใช้ไฟฉายท่านอีกนั่นแหละ) พอเดินไปได้ซักพัก ไปเจอกับพระฝรั่งรูปหนึ่ง ทีแรกนึกว่าเป็นครูบาจิตวีโร พระฝรั่งที่วัด แต่ดูดีๆก็ไม่ใช่แฮะ ท่านขอเดินไปด้วย…..คุยไปคุยมาจึงรู้ว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานา ชาติ(ตอนหลังจึงรู้ว่า ท่านชื่อพระอาจารย์กีวลี) แต่ท่านพูดไทยเก่งมากและมีปฏิปทาที่งดงามเช่นกัน
    ผมพาท่านทั้งสองไป ส่งยังอุโบสถ เผลอทำจีวรหลุดลุ่ยอีกต่างหาก ท่านอาจารย์กีวลี บอกผมว่าจะช่วยห่มให้มั้ย ….ผมล่ะซาบซึ้งน้ำใจท่านจริงๆครับ แต่รีบปฏิเสธไปทันควัน โห…จะให้พระระดับเจ้าอาวาสมาห่มจีวรให้พระนวกะ(พระใหม่)ต๊อกต๋อยผมเนี่ย นะ ..แค่คิดก็กลัวนรกจะกินกบาลแล้วล่ะครับ หลังจากนั้นผมก็อยู่ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ …โดยมานั่งบริเวณพื้นยกระดับหน้าพระประธานที่จัดไว้ให้พระนั่ง แต่เนื่องจากผมเป็นพระผู้น้อย เลยต้องนั่งหลบๆอยู่ข้างหลัง ให้ครูบาอาจารย์ท่านนั่งหน้าๆ ญาติโยมจะได้ชื่นชมบารมีกันทั่วถึง ….และคอยสังเกตุครูบารูปอื่นๆว่าท่านอุปัฎฐากรับใช้ครูบาอาจารย์กันยังไง ตอนนั้นเห็นครูบารูปหนึ่งมีกิริยามารยาทงดงามมาก เวลาท่านเข้าไปอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์ ท่านทำได้อย่างนุ่มนวลเรียบร้อย (ไม่กระโตกกระตากเหมือนผม = =”) ไม่ว่าจะเป็นการกราบ การเอาแก้วน้ำไปถวาย ..หรือการเก็บนิสีทนะ(ผ้าปูรองนั่ง)เข้าย่าม ผมก็พยายามดูและจดจำเอาไว้เป็นแบบอย่าง จากที่นั่งตรงนั้น พอมองไปเบื้องหน้าก็จะเห็นญาติโยมมานั่งฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก จนล้นตัวอุโบสถด้านใน ต้องไปนั่งกันนอกๆ …ทุกคนนุ่งขาวห่มขาวแลดูสะอาดตา และนั่งฟังธรรมกันอย่างเงียบกริบ โยมบางคนนั่งสมาธิหลับตาฟังเทศน์ นิ่งอยู่อย่างนั้นเป็นชั่วโมงๆ(วันนั้นครูบาอาจารย์สลับสับเปลี่ยนกันเทศน์ หลายรูปมากครับ) โดยไม่เปลี่ยนท่า ขนาดผมที่เป็นพระ พยายามจะทนนั่งนิ่งๆบ้างก็ยังต้องยอมแพ้ (แถมมีสัปหงกเคารพพระธรรมอีกต่างหาก) ..ผมยอมรับว่าแทบไม่เคยได้เห็นภาพแบบนี้ในเมืองหลวงที่ผมเติบโตมา ผนวกกับหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมได้พบเจอในวันนี้ นี่ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่คุ้มเกินคุ้มแล้วครับสำหรับวันแรกที่ได้มาอยู่ที่ วัดป่าแห่งนี้ (ขนาดเพิ่งวันแรกนะเนี่ย) ยิ่งดึก ขึ้นๆ ครูบาอาจารย์บางรูปที่ชรามากๆ คงจะปวดเมื่อยเต็มที ก็ทยอยกันกลับเรือนรับรอง ซึ่งเหล่าครูบาที่วัด ก็เตรียมอุปถัมภ์อุปัฏฐากท่านอยู่แล้ว ผมเองก็เช่นกัน ก็ทำเท่าที่พอทำได้ …ก็คอยไปๆมาๆคอยรับส่ง และช่วยถือของให้ครูบาอาจารย์ไปเรือนไทยทั้งหลังเก่าหลังใหม่ (เรือนรับรองมีอยู่สองแห่ง )
    มีอยู่ครั้ง หนึ่ง หลวงพ่อสองท่านจะกลับเรือนรับรอง ผมเลยไปอุปัฏฐากท่านหนึ่ง ..ซึ่งเป็นรูปแรกที่ผมพามา และมีครูบาอีกท่านคอยอุปัฏฐากหลวงพ่ออีกรูป ผมจำได้ว่าครูบาท่านนั้นก็คือรูปเดียวกับที่ผมสังเกตุท่านอุปัฏฐากครูบา อาจารย์เมื่อตอนอยู่ในอุโบสถนั่นเอง ..ได้พูดคุยกับท่านก็ทำให้ทราบว่า ท่านชื่อครูบาฮาร์ท ก่อนท่านจะบวชที่นี่ท่านมาบวชเป็นผ้าขาวก่อน เป็นอยู่ได้ซักเดือน หลวงพ่อจันดี(เจ้าอาวาส)ท่านก็อนุญาตให้บวชเป็นพระได้ ผมก็เลยถึงบางอ้อ…มิน่าเล่า ท่านถึงได้มีกิริยามารยาทงดงามแบบนั้น
    เรา(ผมกับครูบาฮาร์ท)พาหลวงพ่อไปยังที่นั่งรับรองบนเรือน ไทย และอยู่อุปัฏฐาก พูดคุยกับท่านซักพัก(ให้ท่านนั่งบนเก้าอี้ ส่วนเรานั่งพับเพียบที่พื้น) ก็ส่งท่านเข้านอน(จำวัด) จากนั้นครูบาฮาร์ทก็บอกให้เรากลับไปอุโบสถกัน
    ระหว่าง เดินกลับท่านก็เล่าอะไรให้ฟังไปเรื่อย …ท่านเล่าว่าวัดนี้อยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาเขียว พื้นที่ป่าค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ บางครั้งก็มีสัตว์มาหากินบริเวณวัดบ้าง อย่างพวกลิง งู(อันนี้เยอะหน่อย) นกป่า(นกเงือกยังมีเลยครับ คิดดู) กระทิง พวกนี้ก็มีมาบ่อยๆ หรือบางครั้งก็มีคนเคยได้ยินเสียงช้างร้องใกล้ๆ… มีครั้งนึงครูบาฝรั่งยังเคยแวบๆไปเจอเสือโดยบังเอิญเลย (ผมก็…เอ้อ…อันหลังไม่ต้องเล่าให้ผมฟังก็ได้นะครับครูบา = =” ) ท่านบอกผมด้วยว่าเวลาเดินตอนกลางคืน ควรจะมีไฟฉายติดไปด้วย (ท่านคงเห็นผมไม่มี) เพราะอาจไปเดินเหยียบสัตว์อะไรเข้า เดินไปซักพักท่านก็ส่องไฟ แล้วชี้ให้ดูที่พื้น ปรากฏว่ามีขบวนแมลงสีดำๆเดินกันเป็นแถวตัดหน้าทางเดินเรา …ท่านบอกว่า นี่คือปลวกหัวหลวง เป็นปลวกที่มีฟันใหญ่ และกัดเจ็บมากๆ กัดแล้วไม่ยอมปล่อย ขนาดดึงจงหัวหลุดออกมาแล้วยังไม่ปล่อยเลย ท่านว่าท่านโดนกัดไปหลายครั้งแล้วเมื่อตอนเป็นผ้าขาว แต่หลังจากบวชเป็นพระแล้วไม่ค่อยได้โดนเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเมตตาบารมีหรือ เพราะมีความระวังตัวมากขึ้นกันแน่
    ……พอ ผมฟังเรื่องจากครูบาฮาร์ทเสร็จผมก็ …เอื๊อก….แอบเสียวนิดๆ ก็ได้แต่ขอให้บุญบารมีภายใต้ร่มเงาพระศาสนาปกป้องคุ้มครองผมตลอดไปแล้วกัน เรากลับมาที่อุโบสถ นั่งฟังเทศน์กันจนประมาณเที่ยงคืนครึ่ง ก็เป็นอันจบสิ้นกันไปในวันนี้ (พรุ่งนี้มีของหลวงปู่เลี่ยมต่อ)จากนั้นผมก็พาครูบาอาจารย์ไปส่งที่เรือน แล้วก็แยกย้ายกันไปจำวัดได้ พรุ่งนี้ต้องตื่นมาตีสามเพื่อนั่งสมาธิทำวัตรเช้าและบิณทบาตกันตามปกติ … ผมขอบอกว่าเหนื่อยมาก เหนื่อยสุดๆครับสำหรับวันนี้ แต่ในความเหนื่อยนั้นก็แฝงด้วยความภูมิใจในฐานะศิษย์ที่ดีเอาไว้ไม่น้อย
    ผม ไหว้พระ แล้วค่อยๆเอนหลังหลังนอนลงบนเสื่อที่ปูบนพื้นซีเมนต์แข็งๆ ได้ยินเสียงกบเขียดร้องรับส่งสลับกันไปเป็นช่วงๆ …แขนขาของผมตอนนี้มันช่างล้าเต็มที อีกทั้งหลังก็ปวดจากการฝืนนั่งตัวตรงมาตลอดทั้งวัน ในช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนสองชั่วโมงกว่าๆนี้ผมจำเป็นจะต้องรื้อฟื้นมัน กลับมาให้เป็นเหมือนเดิมให้ได้ เพราะพรุ่งนี้ยังมีภารกิจอีกเยอะเตรียมตัวรอผมอยู่ ทว่าใจผมกลับไม่ล้าเลยสักนิด บางสิ่งบางอย่างในใจบอกผมว่า …ผมกำลังทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
    ผมกำลังทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่
    ……..ผมกำลังหน้าที่….สืบ ทอดพระพุทธศาสนา ……………
    และคืนนั้นก็เป็นอีกคืน หนึ่ง….ที่ผมนอนหลับสบายที่สุด ทั้งที่มีเวลานอนแค่สองชั่วโมงกว่าๆเท่านั้น …………….
    ปล.สำหรับผู้อ่านที่เพิ่งเคยครั้งแรก อาจจะสับสนระหว่างกับ'ครูบา'กับ'ครูบาอาจารย์'
    ครู บา คือ คำเรียกพระป่าที่บวชไม่เกิน 5 พรรษาของทางสายอีสานนะครับ
    ส่วนครูบาอาจารย์ คือ คำที่ใช้เรียกพระผู้ใหญ่แบบรวมๆครับ


    ผมจะเป็นพระที่ดี ตอน ก้าวแรกสู่วัดป่า(ตอนจบ) : ราตรี..ที่วัดป่า | MThA! Webboard
     

แชร์หน้านี้

Loading...