ผู้ถึงฝั่ง ฯ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 23 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๕/๒๔๐
    อนุโสตสูตร
    [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน
    คือ บุคคลผู้ไปตามกระแส ๑ บุคคลผู้ไปทวนกระแส ๑ บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ๑ บุคคลผู้เป็นพราหมณ์
    ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปตามกระแสเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเสพกามทั้งหลาย และย่อมกระทำกรรมอันเป็นบาป นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปตามกระแส
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไปทวนกระแสเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่เสพกาม
    และย่อมไม่กระทำกรรมอันเป็นบาป แม้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ เพราะ
    ประกอบด้วยทุกข์บ้าง เพราะประกอบด้วยโทมนัสบ้าง ก็ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้
    นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้ไปทวนกระแส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้วเป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ผุดขึ้นเกิด ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
    เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป นี้เราเรียกว่าบุคคลผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ
    ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่นี้
    เราเรียกว่าบุคคลผู้เป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล
    มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
    ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย
    ยังไม่ปราศจากราคะ มีปรกติบริโภคกาม ชนเหล่านั้นแล
    ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เข้าถึงชาติและชราบ่อยๆ
    ชื่อว่าไปตามกระแส เพราะฉะนั้น ธีรชนในโลกนี้ เป็นผู้มีสติ
    ตั้งมั่นแล้วไม่เสพกาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป
    แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็ ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียก
    บุคคลนั้นว่าไปทวน กระแส นรชนใดแล ละกิเลส ๕ ประการเสียได้
    เป็นผู้มีการศึกษาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
    ถึงความ เป็นผู้ชำนาญในจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว
    นรชนนั้นแล นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่าผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว
    ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลและอกุศล อันบุคคลใดกำจัดหมดแล้ว
    ถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้จบเวท อ
    ยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลก
    นักปราชญ์ทั้งหลาย เรียกว่าผู้ถึงฝั่ง ฯ
    จบสูตรที่ ๕
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๗๖/๔๐๗
    ๑. เจโตวิมุติสูตรที่ ๑
    [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติ
    เป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉนคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้
    พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ ย่อมมีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล ในอาหาร ๑ ย่อมมีความสำคัญ
    ว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ ย่อมเข้าไปตั้งมรณ
    สัญญาไว้ในภายใน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์
    เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้
    ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง
    ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึกปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้
    ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
    ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้น
    ได้อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติ
    สงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
    ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้
    ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนกลอนออกได้อย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
    ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้
    ปลงภาระลงได้ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะเสียได้
    ถอนรากขึ้นแล้วทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใดๆ อย่างนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑
    ๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒
    [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญา
    วิมุติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉนคือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญว่าเป็น
    ทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ ๑ ความสำคัญในการละ ๑
    ความสำคัญในความคลายกำหนัด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล
    และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เมื่อนั้น
    ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง
    ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก
    ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุชื่อว่า
    เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้น
    แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า
    เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว
    ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า
    เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไรคือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี
    ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไรคือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้
    ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้
    ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้
    ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
    ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...