ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 16 กันยายน 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

    <hr>

    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้



    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้



    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้



    ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้
    เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย
    มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้


    <hr>

    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า



    “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ
    ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ ของวิญญาณ
    โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร”



    ดังนี้นั้น. นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

    <hr>

    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ
    ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว



    เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี


    วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง


    เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
    เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
    เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
    เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน



    ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.


    <hr>
    ขนฺธ. สํ. 17/66/105.



    ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง
    ความเห็นเช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ ของเธอนั้น.


    ( สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ )

    เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย


    ( นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย )

    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ


    ( ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย )

    เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ


    ( นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจตีติ )

    เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้


    <hr>

    ( ทรงตรัสอย่างเดียวกันทุกประการ

    ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก 5 คือ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน
    และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ )


    <hr>

    สฬา.สํ. 18/179/245-6



    วัดนาป่าพง: พุทธวจน ธรรมวินัย จากพุทธโอษฐ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2010
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นันทิดับ ทุกข์ดับ

    ปุณณะ !


    รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี,

    เสียง ที่ฟังด้วย หู ก็ดี,
    กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี,
    รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี,
    โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี,
    ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี,


    อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ

    เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
    เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ;


    ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูป ( เป็นต้นนั้น )




    เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูป ( เป็นต้นนั้น ) อยู่;




    นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.



    ปุณณะ ! เรากล่าวว่า


    “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของนันทิ” ดังนี้ แล.



    <hr>

    อุปริ. ม.14/482/756.


    นันทิดับ ทุกข์ดับ
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    พรหมจรรย์นี้ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ

    สัตว์โลกนี้ เกิดความเดือดร้อนแล้ว มีผัสสะบังหน้า
    ย่อมกล่าวซึ่งโรคนั้น โดยความเป็นตัวเป็นตน

    <hr>
    เขาสำคัญสิ่งใด โดยความเป็นประการใด
    แต่สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยประการอื่นจากที่เขาสำคัญนั้น

    <hr>
    สัตว์โลกติดข้องอยู่ในภพ
    ถูกภพบังหน้าแล้ว
    มีภพโดยความเป็นอย่างอื่น
    จึงได้เพลิดเพลินยิ่งนักในภพนั้น.

    <hr>
    เขาเพลิดเพลินยิ่งนักในสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย
    เขากลัวต่อสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์.

    <hr>
    พรหมจรรย์นี้ อันบุคคลย่อมประพฤติ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ.

    <hr>
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความหลุดพ้นจากภพว่ามีได้เพราะภพ
    เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น มิใช่ผู้หลุดพ้นจากภพ.

    ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด กล่าวความออกไปได้จากภพว่า มีได้เพราะวิภพ

    เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น ก็ยังสลัดภพออกไปไม่ได้.

    <hr>
    ก็ทุกข์นี้มีขึ้น เพราะอาศัยซึ่ง อุปธิทั้งปวง.
    เพราะความสิ้นไปแห่งอุปาทานทั้งปวง ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์จึงไม่มี.

    ท่านจงดูโลกนี้เถิด สัตว์ทั้งหลายอันอวิชชาหนาแน่นบังหน้าแล้ว
    และว่าสัตว์ผู้ยินดีในภพอันเป็นแล้วนั้น ย่อมไม่เป็นผู้หลุดพ้นไปจากภพได้

    ก็ภพทั้งหลายเหล่าหนึ่งเหล่าใด
    อันเป็นไปในที่ หรือในเวลาทั้งปวง เพื่อความมีแห่งประโยชน์โดยประการทั้งปวง

    ภพทั้งหลายทั้งหมดนั้น
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.

    <hr>
    เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งข้อนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้อยู่
    เขาย่อมละ ภวตัณหา ได้
    และไม่เพลิดเพลิน วิภวตัณหา ด้วย.

    <hr>
    ความดับเพราะความสำรอกไม่เหลือ
    เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดยประการทั้งปวง นั้นคือนิพพาน.

    ภพใหม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับเย็นสนิทแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น.
    ภิกษุนั้นเป็นผู้ครอบงำมารได้แล้ว ชนะสงครามแล้ว
    ก้าวล่วงภพทั้งหลายทั้งปวงได้แล้ว เป็นผู้คงที่

    ดังนี้ แล.

    <hr>
    อุ.ขุ. 25 / 121 / 84.


    พรหมจรรย์นี้ ก็เพื่อการละขาดซึ่งภพ
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ

    ภิกษุทั้งหลาย !

    คูถ แม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด,



    ภิกษุทั้งหลาย !

    สิ่งที่เรียกว่า ภพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน,

    แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.


    <hr>
    เอก. อํ. 20/46/203.

    ( พระสูตรต่อไป ทรงตรัสถึง มูตร น้ำลาย หนอง โลหิต ด้วยข้อความเดียวกัน)



    ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ
     
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    การอยู่แบบมีตัณหาเป็นเพื่อน

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
    ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”



    <hr>

    มิคชาละ !


    รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ
    อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก
    เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.



    ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ ;
    แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่ นั่นแหละ,
    นันทิ ( ความเพลิน ) ย่อมเกิดขึ้น



    เมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ ( ความพอใจอย่างยิ่ง ) ย่อมมี ;



    เมื่อ สาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ ( ความผูกจิตติดกับอารมณ์ ) ย่อมมี :


    มิคชาละ !



    ภิกษุผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน
    นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”



    <hr>

    (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินดีด้วยหู,
    กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก,
    รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น,
    โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย,
    และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน).



    มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
    แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย
    มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์
    เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้ว ก็ตาม
    ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.



    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
    ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น.
    ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ยังละไม่ได้แล้ว
    เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง” ดังนี้.



    <hr>

    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
    ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว พระเจ้าข้า !”



    มิคชาละ !


    รูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ
    อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก
    เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

    ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้
    แก่ภิกษุผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น นั่นแหละ
    นันทิ ย่อมดับ



    เมื่อ นันทิ ไม่มีอยู่, สาราคะ ย่อมไม่มี



    เมื่อ สาราคะ ไม่มีอยู่, สัญโญคะ ย่อมไม่มี


    มิคชาละ !


    ภิกษุผู้ไม่ประกอบพร้อมแล้วด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความ
    เพลิน
    นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”



    (ในกรณีแห่งเสียงทั้งหลายอันจะพึงได้ยินดีด้วยหู,
    กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูก,
    รสทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้น,
    โผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย,
    และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ, ก็ทรงตรัสอย่างเดียวกัน)



    มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
    แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย
    ด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย
    ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ตาม
    ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้



    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
    ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ;
    ตัณหานั้น อันภิกษุนั้น ละเสียได้แล้ว
    เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว” ดังนี้ แล.



    <hr>

    สฬา.สํ. 18 / 43 – 44 / 66-67


    การอยู่แบบมีตัณหาเป็นเพื่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...