ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 19 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙
    [๗๘๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
    ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น
    สิริวัฑฒคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มานี่แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหาท่านพระอานนท์
    ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
    สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์
    ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์
    จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำสิริวัฑฒคฤหบดี
    แล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับ
    ทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้เรียน
    อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไป
    ยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับคำด้วยดุษณีภาพ.
    [๗๘๘] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
    ของสิริวัฑฒคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย ครั้นแล้วได้ถามสิริวัฑฒคฤหบดีว่า:
    [๗๘๙] ดูกรคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
    ทุกขเวทนาย่อมคลายลงไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ? สิริวัฑฒ
    คฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา
    ของกระผมกำเริบหนัก ไม่เสื่อมคลายไปเลย ความกำเริบปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ.
    [๗๙๐] อา. ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณา
    เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... จักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... จักพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรคฤหบดี
    ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.
    [๗๙๑] สิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคทรง
    แสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในกระผม และกระผมย่อมเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ก็กระผม
    ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
    โลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
    ๗๙๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระ
    ภาคทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ยังละไม่ได้แล้วในตน.
    อา. ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผลอันท่านกระทำให้แจ้ง
    แล้ว.
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๗๙๓] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ก็สมัยนั้น มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์
    เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น มานทินนคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มานี่แน่ะ บุรุษผู้เจริญ ท่าน
    จงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของ
    เราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้า
    ทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรด
    เถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของมานทินนคฤหบดีเถิด
    บุรุษนั้นรับคำมานทินนคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว
    จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มานทินน
    คฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า
    และสั่งให้เรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์อาศัยความอนุเคราะห์
    เข้าไปยังนิเวศน์ของมานทินนคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับคำด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้น เวลาเช้า
    ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของมานทินนคฤหบดี แล้วนั่งบน
    อาสนะที่เขาปูถวาย ครั้นแล้วได้ถามมานทินนคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ
    พอจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมคลายลงไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาปรากฏ
    ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ? มานทินนคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยัง
    อัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมยังกำเริบหนัก ไม่เสื่อมคลายไปเลย ความกำเริบ
    ยังปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ.
    [๗๙๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอันทุกขเวทนาเห็นปานนี้กระทบแล้ว ย่อมพิจารณา
    เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.
    [๗๙๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระ
    ภาคทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง ที่ยังละไม่ได้แล้วในตน ท่าน
    พระอานนท์กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผลอันท่านกระทำ
    ให้แจ้งแล้ว.
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๕๒/๓๖๔
    [๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับ
    กายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    กายสังขารเป็นไฉน ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
    เป็นกายสังขาร ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
    บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้นศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจ
    เข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย
    เป็นกายสังขาร บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป
    ความน้อมไปความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลง
    แห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไปความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความ
    ไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะ
    กายสังขารเห็นปานใด บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า
    จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกาย
    สังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่
    ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ
    และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า บุคคลศึกษาอยู่ว่า
    จักระงับกายสังขารหายใจออก ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้าเมื่อเป็นอย่างนี้ ความ
    ได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณสติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ
    และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อมออกสมาบัตินั้น ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตี
    กังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อย
    ลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อ
    เสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็
    เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำ
    ด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่
    หยาบเบาลง ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย
    นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและ
    ลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิต
    แห่งลมหายใจออกลมหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลม
    อัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิต
    ทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจออกหายใจเข้า
    ปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคล
    ย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา
    คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๕๓/๓๖๔
    [๗๒๘] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่นเมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุ
    บางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา
    โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    ด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณาเห็นจิตในจิต

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๕๔/๓๖๔
    [๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯเมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติ
    ปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพฯลฯ ภิกษุบาง
    รูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
    จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญ
    ญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความ
    เป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า
    สติปัฏฐานภาวนา ฯ
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    การพิจารณา ธรรมในธรรมทั้งหลาย

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๖๐/๓๖๔
    [๔๑๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จัก
    พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    คำว่า อนิจฺจํ ความว่า อะไรไม่เที่ยง เบญจขันธ์ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ากระไร
    ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าเกิดขึ้นและเสื่อมไป ฯ
    บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเสื่อม
    ไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร เมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์
    ย่อมเห็นลักษณะเท่าไร ฯ
    บุคคลเมื่อเห็นความเกิดขึ้นแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๒๕ ฯลฯ เมื่อเห็นความ
    เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งเบญจขันธ์ ย่อมเห็นลักษณะ ๕๐ นี้ ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความ
    ไม่เที่ยงในรูปหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า
    จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและ
    มรณะ หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะหายใจเข้า ธรรม
    ทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ปรากฏสติเป็นอนุปัสนา
    ญาณ ธรรมปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย บุคคลพิจารณาธรรมเหล่านั้นด้วย
    สตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า สติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณา
    ธรรมในธรรมทั้งหลาย ฯ
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สติและสติสัมปชัญญะ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๒๘๗/๕๓๒
    ภิกษุในศาสนานี้ มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะถอยกลับมา
    ข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา มีสติ
    สัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะเหยียดอวัยวะออกมีสติสัมปชัญญะในการทรงผ้า
    สังฆาฏิบาตรและจีวร มีสติสัมปชัญญะในการกินดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติสัมปชัญญะใน
    การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ มีสติสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง
    ในบทเหล่านั้น บทว่า มีสติ มีอธิบายว่า สติ เป็นไฉน
    สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำความไม่
    เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ อันใดนี้เรียกว่า สติ
    บทว่า มีสัมปชัญญะ มีอธิบายว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
    ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
    ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
    ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้งความรู้ชัด ปัญญาเหมือนประตัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
    ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
    ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
    อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
    ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยสติและสัมปชัญญะนี้ ด้วย
    ประการฉะนี้
    ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะก้าวไปข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะ
    ถอยกลับมาข้างหลัง มีสติสัมปชัญญะแลดูข้างหน้า มีสติสัมปชัญญะเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวา
    มีสติสัมปชัญญะคู้อวัยวะเข้า มีสติสัมปชัญญะเหยียดอวัยวะออก มีสติสัมปชัญญะในการ
    ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร มีสติสัมปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส มีสติ
    สัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ มีสติสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น
    พูด และนิ่ง
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔

    [๗๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
    ขอพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีก
    ออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็น
    เบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.
    [๗๕๑] ดูกรอุตติยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอจักตรง
    เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกร
    อุตติยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็น
    ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อใด
    เธออาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว จักเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจักไปพ้นฝั่ง
    แห่งบ่วงมาร.
    [๗๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะ ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้ว
    ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ท่านพระอุตติยะหลีก
    ออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด
    แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย
    ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
    เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี และท่านพระอุตติยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งใน
    จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สติปัฏฐาน ๔ เป็นอริยะ

    [๗๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำ
    ตาม สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ
    เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาใน
    เวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
    สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันภิกษุ
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ
    แก่ผู้กระทำตาม.
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางอันเอก

    [๗๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ อชปาลนิโครธ แทบ
    ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตก
    ขึ้นในพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วง
    ความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อ
    ทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณา
    เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความ
    เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
    เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์
    และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.
    [๗๕๕] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกในพระหฤทัยของพระผู้มีพระ
    ภาคแล้วด้วยใจ จึงหายตัวจากพรหมโลก มาปรากฏเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค เหมือน
    บุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าเฉวียงบ่า
    ข้างหนึ่งประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลว่า.
    [๗๕๖] ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนี้เป็นอย่างนั้น
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความ
    โศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำ
    นิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ทางนี้เป็นทางไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของ
    สัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุ
    ธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.
    [๗๕๗] ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลนิคมคาถาต่อ
    ไปอีกว่า
    พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่งชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วย
    ประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไปอันเอก ในกาลก่อน ชนทั้งหลาย
    ข้ามโอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตก็จักข้ามด้วยทางนี้ และในบัดนี้
    ก็ข้ามอยู่ด้วยทางนี้.
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๓๐๓] สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง]
    ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
    ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์]
    ๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย]
    ๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด]
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๕๕/๓๖๔

    ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
    สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
    [๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้
    พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโสมนัสในโลกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ
    [๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็น
    สุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่
    ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำจัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
    เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละ
    สุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละ
    ความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน
    ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏ
    ด้วย เป็นตัวสติด้วยภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
    เรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
    นั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำ
    ไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียว
    กันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ
    กองเตโชธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก
    กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ
    ไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
    เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
    ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด
    ได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ
    ๗ นี้กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วย
    สติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ
    ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ
    [๗๒๘] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่นเมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุ
    บางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา
    โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
    ด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุ
    มีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฯ
    [๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯเมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติ
    ปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพฯลฯ ภิกษุบาง
    รูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ
    จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญ
    ญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความ
    เป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติสติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อม
    พิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้นเพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า
    สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุ
    มีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ ฯ
    [๗๓๐] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ
    ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
    ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อม
    ดับ ไม่ให้เกิดย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญา
    ได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา
    ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด
    ได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย ภิกษุ
    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา
    เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ
    ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
    นั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำ
    ไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
    อันเดียวกันนั้น ๑ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ
    จบสติปัฏฐานกถา ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...