ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา โมกษะธรรม คือ อะไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 30 มกราคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา โมกษะธรรมคืออะไร
    สืบเนื่องจากการที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงเรื่อง ของ "โมกษะดั้งเดิม ก่อนพุทธกาล" อันเป็นหลักธรรม หรือหลักการแห่งข้าพเจ้า “ศรีอาริยเมตไตรย” ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    โมกษะธรรมดั้งเดิมนั้น ประกอบไปด้วย
    ๑.การครองเรือน ๒. ทาน คือการให้
    ๓.กตัญญูรู้คุณ(ในสรรพสิ่ง) ๔.การเจรจาติดต่อสื่อสาร
    ๕.สรรพอาชีพ ๖. ประพฤติ
    ๗.ระลึก คือ การนึกถึง หรือการหวนนึกถึง ๘. ดำริ คือ การคิด หรือ ความคิด
    อันเป็น โลกกุตตรธรรม ,หรือ อัพยากตธรรม, หรือเป็นสัทธรรม

    ในบทความนี้จะอรรถาธิบายให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจในเรื่อง ของคำว่า "โมกษะ" และ "โมกษะธรรม"

    โมกษะ มีความหมาย ตามพจนานุกรม ฯ ว่า "ความหลุดพ้น หรือ นิพพาน

    โมกษะธรรม ย่อมหมายถึง "ธรรมหรือคำสอน หรือหลักการ หรือธรรมชาติ อันจักทำให้บุคคลที่รู้ ที่เข้าใจ ถึงซึ่งความหลุดพ้น และหรือทำให้ถึงซึ่งนิพพาน"

    คำว่า "ความหลุดพ้น" หมายถึงหลุดพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็น กิเลส ตัณหา ยังอาจหมายรวมไปถึงการหลุดพ้นจากวงจรหรือวงโคจรของการเวียนว่ายตายเกิดอีกด้วย (อันนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า มันจะหลุดพ้นในรูปแบบไหน รู้เพียงว่าสามารถขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ตามต้องการ หรือตามใจของบุคคลผู้มีความรู้ใน โมกษะธรรม โดยไม่ต้องใช้วิธีอดทน อดกลั้น)

    โมกษะธรรม ก็คือ หนึ่ง ในพระสัทธรรม ซึ่ง พระสัทธรรม ประกอบไปด้วย หรือ มีความหมาย ดังพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ดังนี้.-
    สัทธรรม หมายถึง
    "ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง คือ
    ๑.ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
    ๒.ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา
    ๓.ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;
    สัทธรรม ๗ คือ ๑.ศรัทธา ๒.หิริ ๓.โอตตัปปะ ๔.พาหุสัจจะ ๕.วิริยารัมภะ ๖.สติ ๗. ปัญญา"

    เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่าน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สัทธรรมแล้ว ก็จะเกิดความรู้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขออธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้ท่านทั้งหลาย ได้เกิดความใจอย่างถูกต้องว่า
    สัทธรรม แบ่งเป็น สองชนิด สองอย่าง
    อย่างแรก มี ๓ ข้อ
    อย่างที่สอง มี ๗ ข้อ

    หากท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดีแล้ว ก็จะพบว่า สัทธรรม ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น เป็นเพียง "เครื่องมือ หรือ หัวข้อหลัก ในอันที่จะทำให้ผู้เรียน ผู้ศึกษา ได้ ศึกษาค้นหา ค้นคว้า เพื่อให้ได้รู้ เพื่อให้ได้พบ หลักสัทธรรม ทั้ง ๓ ชนิด
    ซึ่ง ในสัทธรรม ข้อที่ ๓ อันได้แก่ ปฏิเวธสัทธรรม ก็คือ โมกษะธรรม หรือ โลกุตรธรรม หรือ อัพยากตธรรม อันเป็นธรรมที่จะทำให้ บรรลุมรรคผล และนิพพานนั่นเอง คำว่า ปฏิเวธสัทธรรม นั้น หมายถึง การรู้แจ้ง รู้ตลอด รู้ทะลุปรุโปร่ง สามารถลุล่วงประสบผลจากการปฏิบัติ นั้นย่อมหมายถึง รู้ตัวธรรมะ เพื่อให้บรรลุมรรคผล และนิพพาน อันนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี

    ส่วน สัทธรรม ๗ ประการ อันได้แก่ ศรัทธา,หิริ,โอตัปปะ,พาหุสัจจะ,วิริยารัมภะ ,สติ,ปัญญา ก็เป็นเพียง ปัจจัย หรือเครื่องมือในการศึกษา ค้นหา ค้นคว้า หรือเป็นปัจจัยในอันที่จะปฏิบัติธรรม หรือฝึกตน เพื่อให้บรรลุมรรคผล และนิพพานเท่านั้น
    เพราะ
    บุคคล จะสามารถปฏิบัติธรรม หรือจะมีความตั้งใจใคร่เรียนรู้ หรือศึกษา ก็ต้อง อาศัย ความเชื่อเป็นอย่างแรก อีกทั้งยังต้องเป็นผู้ได้รู้เห็น ได้ฟังมีความจำได้นานและดีจนขึ้นใจ สามารถท่องหรือพูดสิ่งที่ได้ยินได้ฟังนั้น อย่างไม่ติดขัด อีกทั้งยังต้องรู้จักระลึกได้ และสามารถนำการได้รู้ได้เห็น ได้ฟังมาคิดพิจารณา ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ นั่นก็คือ เกิดปัญญา อีกทั้ง ยังต้องมีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป ไม่ลักขโมย ไม่โกหก หลอกลวง มีความกตัญญู รู้คุณท่านรู้ กตเวที อยู่เป็นนิจ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น

    เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่าน และทำความเข้าใจ และได้คิดพิจารณา ดีแล้ว ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ ไม่ถูกใครหลอกลวงให้หลงผิด เข้าใจผิด เกี่ยวกับ สัทธรรม ทางพุทธศาสนา
    เพราะในเวบฯธรรมะต่างๆ มักจะมี พวก "เดียรถีย์" แฝงตัวเข้ามาในคราบผู้รู้ แล้วปลุกปั่นให้ พุทธศาสนิกชน เกิดความเข้าใจผิด บางคน หรือ หลายๆคน ก็จาบจ้วงพระสงฆ์ ยกเอาพระสงฆ์มากล่าวอ้าง ซึ่ง อาจทำให้พระสงฆ์เหล่านั้น เสื่อมเสีย อันย่อมหมายถึง พุทธศาสนาเสื่อมเสียไปด้วย บางคน บางกลุ่ม ก็นำเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนา มากล่าวอ้าง บิดเบือน ทั้งๆที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในหลักธรรมเหล่านั้นอย่างแท้จริง
    ได้แต่คิดเอาเอง โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงหลักความจริง หรือความเป็นไปตามความเป็นจริงในธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อมโทรมลง นี้เป็นคำเตือน ที่ควรได้คิดพิจารณาให้ดี อย่างถี่ถ้วน
    อีกประการหนึ่ง หากผู้ใดอ่านและคิดพิจารณาใน โมกษะธรรมดั้งเดิม แห่งข้าพเจ้าศรีอาริยเมตไตรย แล้วเกิดความเข้าใจ แม้ในระดับหนึ่ง ไม่ถึงต้องกับ รู้แจ้งรู้ตลอดทะลุปรุโปร่ง ก็เท่ากับว่า “ท่านทั้งหลายได้เห็นธรรม ซึ่งเท่ากับว่าได้เห็นข้าพเจ้า” ศรีอาริยเมตไตรย” ฉะนี้

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๒๙ มกราคม ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2010
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ได้แก้ไข เพิ่มเติม ในรายละเอียด เพื่อให้เกิดความชัดเจน ไม่สับสน ขอให้ท่านทั้งหลายที่ได้เข้ามาอ่าน ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ย่อมทำให้เกิดความเจริญ ต่อพุทธศาสนา อย่างแน่นอน
     
  3. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    ผมไม่ได้ขัดนะครับ ต้องขอโทษด้วย
    ผมอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงที่มาของประโยคที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา โมกษะธรรม" มันอยู่ตรงใหนของพระไตรปิฎกครับ
    เพราะถ้ามันมีจริง ผมอยากศึกษาถึงบริบทโดยรวมด้วยว่าพระพุทธองค์ตรัสอะไรกับใครอย่างไร
    เพราะเพียงเอาคำมาหนึ่งประโยคพร้อมความหมาย มันไม่พอสำหรับการอ้างอิง
    ขอรบกวนเป็นวิทยาทานด้วยครับ

    อีกอย่าง จากข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม" นั้น ผมเท่าที่สืบเสาที่มา พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน "พระไตรปิฎก เล่มที่ 12 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์"

    ดังข้อความที่ว่า
    "ว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด
    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล. ความพอใจความอาลัย ความยินดี ความ
    ชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วย
    สามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด
    อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล. คำสอนของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า โสตะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลายแล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ฆานะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชิวหา อันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า กายอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว ฯลฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว
    และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่มาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิด
    แต่มนะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและ
    ธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภาย
    ใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมมาสู่คลอง
    แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอัน
    เกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใด
    แล มนะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย
    นอก ย่อมมาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ย่อมมี ในกาล
    นั้น ความปรากฏแห่งส่วนแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ย่อมมีได้
    ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ใน
    อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความ
    สงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น
    ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้น
    เหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณ
    แห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์
    คือวิญญาณ. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม
    หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น
    ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่า
    ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล. ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทาน-
    *ขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ
    การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่า
    ทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี
    พระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิต
    ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล."

    ขอช่วยอนุเคราะห์ช่วยให้กระจ่างถึงที่มาที่ไปด้วยครับ
    อีกอย่าง คำว่า "โมกษะธรรม" ด้วยครับ หรือในภาษาบาลีที่เขียนว่า "โมกขะธรรม "
    พระพุทธเจ้าตรัสคำนี้ตรงใหน ผมค้นแล้วเกินความสามารถ
    อย่างไรเสียขอที่มาเพื่ออ้างอิงด้วยครับ เอาไว้เสริมความรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...