พระบ้าน(คามวาสี) กับ พระป่า (อรัญวาสี)

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย telwada, 8 มีนาคม 2011.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    พระบ้าน (คามวาสี) กับ พระป่า (อรัญวาสี)
    สวัสดี ท่านสาธุชนและเพื่อนทางธรรมทั้งหลาย วันนี้ข้าพเจ้าจักได้บรรยายธรรมถึงเรื่องของ พระบ้าน หรือ คามวาสี กับ พระป่า อรัญวาสี เหตุเพราะท่านที่เป็นผู้รู้ ส่วนมากมักเกิดความรู้ความเข้าใจผิด และมีความรู้ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับ พระบ้าน กับพระป่า มานานแล้ว บ้างก็ถึงกับไปออกรายการโทรทัศน์ ประชาสัมพันธ์ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทางที่ผิด ต่อผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นความรู้ความเข้าใจผิดของพระสงฆ์ทั้งหลายทั้งที่อ้างหรือถือตัวว่าเป็นพระบ้าน(คามวาสี) และทั้งที่อ้างหรือถือตัวว่า เป็น พระป่า(อรัญวาสี)
    พระสงฆ์ทั้งหลายในครั้งพุทธกาลนั้น มิได้มีการแบ่งแยกกันเป็นพระบ้านหรือพระป่า เพราะพระสงฆ์ทุกรูปล้วนต้องอาศัยหมู่บ้าน เป็นที่โปรดศรัทธาญาติโยมโดยการบิณฑบาตรเลี้ยงชีพของตนอยู่แล้ว ในครั้งสมัยนั้นพระทุกรูปล้วนต้องอาศัยอยู่ในป่าทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อพระเจ้าพิมพิสาร เจ้าผู้ครองกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เมื่อประมาณ ๒๖๐๐ ปีที่ผ่านมา ได้สร้างวัดเวฬุวันมหาวิหาร(ป่าไผ่)ถวายให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์ จึงเกิดมีพระสงฆ์ประจำอยู่ในเมืองหรือหมู่บ้านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เจริญขึ้น ก็ได้มีการแบ่งแยกพระสงฆ์เป็นพระบ้านกับพระป่า โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล มีความเข้าใจผิดๆ คิดไปว่า พระบ้านกับพระป่ามีข้อปฏิบัติแตกต่างจากกัน และยังเข้าใจไปตามความหมายของคำเรียก พระสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังว่า
    “พระบ้าน หรือ คามวาสี หมายถึง พระสงฆ์ฝ่าย คันถธุระ คือฝ่ายที่ศึกษาเล่าคัมภีร์ และพระธรรมวินัย ตามพระไตรปิฏก”
    “พระป่า อรัญญวาสี หมายถึง พระสงฆ์ฝ่าย วิปัสสนาธุระ ฝึกปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล” อย่างนี้เป็นต้น
    สิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เป็นความเข้าใจที่ผิดๆกันมาโดยตลอด ด้วยเหตุที่ผู้รู้ไม่มากเหล่านั้น ไม่ได้คิดพิจารณาใตร่ตรองให้เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองให้เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา
    ในทางที่เป็นจริงแล้ว พระบ้าน กับ พระป่า แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเลยแม้แต่น้อย ในที่นี้กล่าวถึงในแง่ของความเป็นพระสงฆ์ และในปัจจุบันนี้ พระป่าก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ มีการสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น เพื่อเป็นที่พำนักไม่ไกลจากหมู่บ้าน หรือบ้างก็อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับหมู่บ้านเพื่อสะดวกในการเลี้ยงชีพอยู่แล้ว
    ความแตกต่างของพระบ้าน กับพระป่า ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ พิธีกรรมต่างๆที่พระบ้านจำเป็นต้องสนองศรัทธาญาติโยม ซึ่งพระป่าส่วนใหญ่จะไม่นิยมปฏิบัติพิธีกรรมเหล่านั้น เช่น งานศพ,งานขึ้นบ้านใหม่,งานแต่งงาน ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
    แล้วเหตุใดข้าพเจ้าจึงได้บรรยายว่า พระบ้าน (คามวาสี) กับ พระป่า (อรัญวาสี) ไม่มีข้อแตกต่างกันในแง่ของความเป็นพระสงฆ์ การแบ่งแยกว่าเป็นพระบ้าน พระป่า ก็ไม่ใช่เป็นการแบ่งแยกการเล่าเรียนศึกษา หรือแบ่งแยกในการปฏิบัติธรรม เพราะไม่ว่าจะเป็นพระบ้านหรือพระป่า ก็ล้วนต้องศึกษาพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก เหมือนกัน ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ปฏิบัติวิปัสสนาเหมือนกัน ทั้งสิ้น มีใครที่ไหนเป็นผู้กำหนดว่า พระบ้านเป็นเพียงพระสงฆ์ที่ศึกษาเพียงพระคัมภีร์ พระธรรมวินัย พระไตรปิฎก พระปริยัติธรรม และเช่นเดียวกัน ผู้ใดหรือใครที่ไหนเป็นผู้กำหนดว่า พระป่าต้องเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติวิปัสสนา
    พระสงฆ์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่อ้างตัวหรือถือตัวว่า เป็นพระบ้านบ้าง พระป่าบ้าง ล้วนต้องศึกษาพระธรรมวินัย ตามพระไตรปิฎก เป็นพื้นฐาน ต้องเรียนรู้พระวินัยปิฎก เพื่อปรับสภาพจิตใจและความคิด ทั้งยังเป็นการฝึกให้สมองของพระสงฆ์ผู้ศึกษาสามารถคิดพิจารณาในรายละเอียดสู่หลักใหญ่หรือหลักการสำคัญ และสามารถคิดพิจารณาในหลักใหญ่หรือหลักสำคัญไปสู่รายละเอียดได้ โดยไม่เกิดอาการทางจิต เพราะได้ศึกษาตามหลักความเป็นจริงทำให้เกิดหรือมีสมาธิ การจะปฏิบัติวิปัสสนาได้ผล ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน จึงจะสามารถปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้ตามแต่กำลังสมองสติปัญญา อย่าคิดว่า เพียงนั่งสมาธิอย่างเดียวจะทำให้เกิดความหลุดพ้นหรือเกิดปัญญาเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้ ไม่มีทางเป็นไปได้ เช่นเดียวกัน การศึกษาพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก พระปริยัติธรรม ก็ต้องมีสมาธิ จึงจะก่อให้เกิดปัญญาจดจำ เกิดความเข้าใจในพระธรรมวินัย และหลักธรรมทั้งหลายเหล่านั้น อันจักทำหลุดพ้นจากกิเลสได้เช่นกัน และสำหรับพระป่า(อรัญวาสี)จริงๆในครั้งโบราณก็มีข้อวัตรที่พิเศษกว่าพระบ้าน(คามวาสี) ดังนี้.-
    ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้
    ก. ๑) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป
    ๒) ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็น ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเจ้านิเวศน์ พึงกำหนดว่า เรากจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกิดไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง
    ๓) ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป
    ข. ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้
    ค. พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
    [จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ พระธรรมปิฏก ( ป.อ.ปยุตฺโต)]
    ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น พระบ้าน (คามวาสี) หรือพระป่า(อรัญวาสี) ก็ล้วนต้องศึกษาเล่าเรียน พระคัมภีร์ ศึกษาพระธรรมวินัจ ศึกษา พระไตรปิฎก ศึกษา พระปริยัติธรรม เหมือนกัน อีกทั้งก็ล้วนต้อง ปฏิบัติกัมมัฎฐาน ปฏิบัติวิปัสสนา เหมือนกัน ไม่มีข้อแตกต่างจากกันแม้แต่น้อย หากจะกล่าวตามหลักความจริงแล้ว พระบ้าน(คามวาสี) ดูจะได้เปรียบกว่า พระป่า(อรัญวาสี) เพราะได้รู้ได้เห็น ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งหลายสามารถเรียนรู้เปรียบเทียบทำให้มองเห็น เข้าใจในสัจจะธรรม หรือปริยัติธรรมทั้งหลาย ได้อย่างถ่องแท้ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะมีความอยากหรือมีความต้องการไปในทิศทางใด ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง
    เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านข้อบรรยายทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้บรรยายไปแล้วนั้น หากคิดพิจารณาตาม ก็จะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และท่านทั้งหลายไม่ต้องมีข้อคัดค้านกันดอกนะขอรับ เพราะข้อคิดข้อคัดค้านของท่านทั้งหลายนั้น เป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น จบการบรรยายไว้เพียงเท่านี้ขอรับ
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ผู้เขียนบรรยาย
    วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๔
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    สำหรับผม...พระสงฆ์ ย่อมเป็นพระสงฆ์ ย่อมเป็นหนึ่งเดียวกันในพระธรรมวินัย.....

    ในสมัยพุทธกาล ไม่มีคำว่าพระบ้าน พระป่่า ไม่มีธรรมยุตินิกาย ไม่มีมหานิกาย....

    ผมก็เห็นพระทั้งพระบ้านและพระป่าก็บรรลุธรรมกันมากมาย...หากมองด้วยการแปรส่วนของร่างกายเป็นพระธาตุนะครับ.....

    เรื่องของธรรม เรื่องของการบรรลุธรรม เรื่องของการศึกษาธรรม เรื่องของการปฏิบัติธรรม เขาไม่มีเพศ ไม่มีวัย ไม่มีชนชั้นวรรณ ไม่มีพระป่า พระบ้าน หลอกครับ....

    ขอบคุณสำหรับอรรถาธิบายนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มีนาคม 2011
  3. tuta868248

    tuta868248 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +1,116
    ได้รับความรู้มากคะได้ฟังมาพระสงฆ์มี 2 แบบ คือ
    1. สมมติสงฆ์ 2. อริยะสงฆ์

    โดยทั่วๆไปสมมติสงฆ์มีมากกว่าพระอริยะสงฆ์คะ
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ในครั้งพุทธกาลส่วนมากจะเป็นป่ามากกว่าบ้าน และ พระพุทธเจ้า ที่บวชกุลบุตรแล้วจะกล่าวว่า ลุกขะมูล เสนาสะนัง คือให้ป่านั้นเป็นที่อยู่หรือปฎิบัติธรรม
    -แต่ในกาลนี้ คนที่บวชพระก็มาจากคนที่มีศีล 5 แต่บวชเป็นพระจึงมีศีล 227 ข้อ
    -แต่คนที่เป็นกุลบุตรก็เชื่อ พระพุทธเจ้า จึงเข้าอยู่ป่า
    -ตอนนี้ไม่แน่ใจว่า พระบ้าน หรือ พระเมือง หากเป็น พระบ้าน ก็ดีหน่อยเพราะ เครื่องสร้างกิเลสมีน้อย
    -แต่ พระเมือง เครื่องสร้างกิเลสมาก
    -พระที่อยู่เมืองท่านต้องมี สติ ปัญญา มากเพื่อต่อสู้กิเลส
     
  5. worachati

    worachati สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    เท่าที่เข้าใจมาวิเคราะห์มาคิดว่า ความหมายของคามวาสี กับ อรัญวาสี ในปัจจุบันนี้กับสมัยพุทธกาลมีความแตกต่างกัน สมัยพทุธกาลจะไม่แบ่งแยก(ตามจขกท)แต่จะเป็นลักษณะธรรมเนียมปฎิบัติในสังคมในหมู่บ้านว่า่ไปบ้านเขาต้องปฎิบัติอย่างไร แต่ปัจจุบันได้แบ่งเป็นเหมือนลักษณะนิกายใหม่เหมือนพัฒนาขึ้น(เสื่อม) ความแตกต่างที่ท่านจขกท ว่าผมเห็นด้วยแต่คิดว่ามันเป็นความแตกต่างเฉพาะในยุคปัจจุบันการแบ่งในปัจจุบัน แต่ในพุทธกาลไม่มีแบ่งแยก

     

แชร์หน้านี้

Loading...