พระพุทธศาสนาสอนอะไร...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny2, 22 มกราคม 2012.

  1. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    <DD>สรุปหลักธรรมของพระพุทธศาสนา(ภาค 1)
    <DD>อ.สุนทรี ชัยชนะ
    <DD>
    <DD>พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือ ไม่นับถือพระเจ้าเกิดขึ้นเมื่อ ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช ผู้เป็นศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ
    <DD>เหตุผลที่ดลใจให้เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกไปผนวช เพราะพระองค์ขณะเสด็จประพาสอุทยานทรงเห็น คนเกิด คนแก่ คนป่วยและคนตาย พระองค์ทรงคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือความไม่แน่นอนของชีวิต พระองค์จึงมีความปรารถนาที่จะเสาะแสวงทางดับทุกข์ดังกล่าว
    <DD>พระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงออกผนวช
    <DD>พระชนมายุ ๓๕ พรรษา ทรงตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    <DD>พระชนมายุ ๘๐ พรรษา เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    <DD>ก่อนปรินิพพานได้ประทานปัจฉิมโอวาทแก่สาวกและทรงเตือนให้สาวกปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความไม่ประมาท (อับปมาทธรรม)
    <DD>หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
    <DD>1. ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม <DD>
    <DD>*รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่ <DD>
    <DD>- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    <DD>- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    <DD>- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    <DD>- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์) <DD>
    <DD> นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    <DD>- เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
    <DD>- สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    <DD>- สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
    <DD>- วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)
    <DD>2. อริยสัจ 4
    <DD>อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
    <DD>เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
    <DD>1. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
    <DD>1.1 สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    <DD>1.2 ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นเนืองๆ เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ
    <DD>2. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)
    <DD>2.1 กามตัณหา คือ อยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ตนยังไม่มี
    <DD>2.2 ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
    <DD>2.3 วิภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากให้สภาพที่ตนปรารถนาอยู่นานๆ
    <DD>3. นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ ซึ่งมีขั้นตอนตามลำดับในมรรค 8
    <DD>4. มรรคมีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์
    <DD>4.1 สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ มีความเข้าใจว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือความดับทุกข์
    <DD>4.2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ความคิดที่ปลอดโปร่ง ความคิดไม่พยาบาท ความคิดไม่เบียดเบียน
    <DD>4.3 สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    <DD>4.4 สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ ไม่ทำลายชีวิตคนอื่น ไม่ขโมยของ ไม่ผิดในกาม
    <DD>4.5 สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพสุจริต
    <DD>4.6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ คือ เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้น เพียรรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้ว
    <DD>4.7 สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม
    <DD>4.8 สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ คือ การตั้งจิตที่แน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านเพื่อมุ่งมั่นกระทำความดี
    <DD>จากอริยสัจ 4 สังเกตได้ว่า
    <DD>1. ทุกข์ คือ ตัวปัญหา
    <DD>2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา
    <DD>3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา
    <DD>4. มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา
    <DD>มรรคมีองค์แปด คือ ไตรสิกขา ได้แก่
    <DD>ศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
    <DD>สมาธิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    <DD> ปัญญา สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
    <DD>ความสำคัญของอริยสัจ 4
    <DD>1. เป็นคำสอนที่คลุมหลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา
    <DD>2. เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแห่งปัญญา
    <DD>3. คำสอนที่ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ตามหลักความจริงแห่งธรรมชาติ <DD>
    <DD>3. ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง <DD>
    <DD>1. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
    <DD>2. ทุกขตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป
    <DD>3. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
    <DD>ในเรื่งไตรลักษณ์ พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคำสอนสูงสุด ซึ่งทุกสิ่งในสากลจักรวาลล่วนเป็นอนัตตาทั้งสิ้น <DD>
    <DD>4. กฎแห่งกรรม หมายถึง กระบวนการกระทำและการให้ผลการกระทำของมนุษย์ ซึ่งมีหลักอยู่ว่า “คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำความดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”
    <DD>กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา ดังพุทธวจนะตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม บุคคลจงใจแล้ว ย่อมกระทำทางกาย ทางวาจาและทางใจ
    <DD>
    <DD>
    <DD>5. พรหมวิหาร 4
    <DD>ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่
    <DD>1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
    <DD>2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์
    <DD>3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
    <DD>4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ
    <DD>6. อัปปมาท
    <DD>ธรรมที่กล่าวถึงความไม่ประมาท คือ การดำเนินชีวิตที่มีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังไม่ถลำตัวไปในทางเสื่อมเสีย พระพุทธเจ้าทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับความไม่ประมาทว่า “ ความไม่ประมาท ย่อมเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่” <DD>
    <DD>7. สังคหวัตถุ 4
    <DD>หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
    <DD>1. ทาน การให้
    <DD>2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
    <DD>3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
    <DD>4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง <DD>
    <DD>8. ฆราวาสธรรม 4
    <DD>หลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่
    <DD>1. สัจจะ การมีความซื่อตรงต่อกัน
    <DD>2. ทมะ การรู้จักข่มจิตของตน ไม่หุนหันพลันแล่น
    <DD>3. ขันติ ความอดทนและให้อภัย
    <DD>4. จาคะ การเ สียสละแบ่งปันของตนแก่คนที่ควรแบ่งปัน <DD>
    <DD>9. บุญกิริยาวัตถุ 10
    <DD>หลักธรรมแห่งการทำบุญ ทางแห่งการทำความดี 10 ประการ
    <DD>1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    <DD>2. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    <DD>3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    <DD>4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
    <DD>5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
    <DD>6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
    <DD>7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    <DD>8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    <DD>9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    <DD>10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความคิดความเห็นของตนให้ตรง <DD>
    <DD>10. สัปปุริสธรรม 7
    <DD>หลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี
    <DD>1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
    <DD>2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
    <DD>3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
    <DD>4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
    <DD>5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
    <DD>6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
    <DD>7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี
    <DD>
    <DD>เป้าหมายของชีวิต
    <DD>พระพุทธศาสนาวางเป้าหมายชีวิตไว้ 3 ระดับ
    <DD>1. เป้าหมายระดับพื้นฐาน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) หมายถึง เป้าหมายประโยชน์ในระดับชีวิตประจำวันที่มนุษย์ในสังคมต้องการ คือ
    <DD> ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา)
    <DD> เก็บออมทรัพย์ (อารักขสัมปทา)
    <DD> คบคนดีเป็นเพื่อน (กัลยาณมิตตตา)
    <DD> ใช้ทรัพย์เป็น (สมชีวิตา)
    <DD>2. เป้าหมายระดับกลาง (สัมปรายิกัตถะ) เน้นที่ความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ เป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต คือ
    <DD> มีศรัทธา เชื่อในพระรัตนตรัย เชื่อในกรรม และผลของกรรม
    <DD> มีศีล ความประพฤติทางกาย วาจา เรียบร้อย
    <DD> จาคะ ความเสียสละ
    <DD> ปัญญา รู้อะไรดีอะไรชั่ว
    <DD>3. เป้าหมายระดับสูงสุด (ปรมัตถะ) หมายถึง ประโยชน์ที่เป็นแก่นแท้ของชีวิต เป็นจุดหมายสุดท้ายที่ชีวิตจะพึงบรรลุ คือ การบรรลุนิพพาน</DD>
    ผมไม่รู้จักอาจารย์สุนทรี ชัยชนะ หรอกครับ แต่ท่านเขียนเอาไว้ดีพอน่าอ่านและน่าให้เด็กเยาวชนได้ศึกษา เช่นกัน น่าจะเป็นการดีที่จะได้ทราบว่าพระพุทธศาสนามุ่งหวังไปตามลำดับขั้นตอนของคนแต่ละประเภท เพื่อให้เป็นเหตุเป็นอุปนิสัยปัจจัยในอนาคตต่อไปนั้นเอง ลองพิจารณาดูครับ

    ขออนุญาตุนำมาเสนอ เพื่อให้ได้เยาวชนและคนรุ่นใหม่ได้ทำความเข้าใจนะครับ หวังว่าคงไม่สงวนลิขสิทธิ์นะครับ
     
  2. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    แต่เนื่องจากห้องนี้เป็นห้องอภิญญา-สมาธิ นั่นก็คือ ธรรมที่ต้องมีและนำมาใช้ในระดับที่ 3 ระดับปรมัต เป็นอย่างยิ่ง และรองไปเป็นลำดับ จึงมีความสำคัญเป็นลำดับๆ ไป ดังนั้นบุคคลผู้สำเร็จกิจต่างๆได้ จะต้องรู้ลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตน ไม่ใช่ข้ามไปข้ามมา จะต้องฝึกคิดพิจารณาหาลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องและทีเป็นจริงและมีผลกระทบกับตนเองจริงๆ จึงจะเรียกว่า ได้สร้างความเพียรทั้งหลายด้วยปัญญาอย่างแท้จริง
    สาธุคั๊บ
     

แชร์หน้านี้

Loading...