"พระพุทธศาสนา"กับพระมหากษัตริย์ไทย

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 5 กรกฎาคม 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    พระพุทธศาสนา กับ พระมหากษัตริย์ไทย
    ( Buddhism and Thai King )


    [​IMG]


    *โดย...พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก
    หัวหน้าภาควิชาบาลีและสันสกฤต คณะพุทธศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


    ราชา มุขํ มนุสฺสานํ
    พระราชา เป็นประมุขของมนุษยชาติ

    The King is Human Beings' Leader
    ( วิ.มหา. 5/124 มม.13/556 สุ.ขุ. 35/446 )

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก ถือว่าเป็นมรดกแห่งอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติอำนวยประโยชน์สุขเป็นอันมากให้กับชาวโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาอันสูงส่งที่สามารถทำให้มนุษย์ ได้ค้นพบสันติภาพ อิสรภาพ และความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับขององค์การสหประชาติ๑ เพราะพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นมาโดยมีมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางนั่นเอง
    ตามความเป็นจริงโลกนี้คือหมู่สัตว์(The World of Beings)๒ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งมีชีวิตในโลกนี้จึงมีหลากหลายชนิด เผ่าพันธุ์ มีทั้งสัตว์หลายเท้า สี่เท้า สองเท้า และสัตว์เลื้อยคลาน
    มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ แต่สัตว์มนุษย์พากันยึดถือโลกใบนี้ว่าโลกมนุษย์ (World of Human Beings) เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ มนุษย์จึงเข้าครอบครองโลกนี้เป็นโลกของเผ่าพันธุ์มนุษย์
    ด้วยมันสมองที่ใหญ่ มนุษย์จึงสามารถพัฒนาศักยภาพของเผ่าพันธุ์ตนเองขึ้น จากการดำรงชีวิตแบบสัญชาตญาณ (Instincts) มาเป็นชุมชน สังคม ประเทศ ทวีป และประชาคมโลก หรือที่เรียกว่า สหประชาชาติ (United Nations) ที่มีการศึกษา (Education) ศาสนา (Religion) และวัฒนธรรม (Culture) เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าอย่างสูงสุดของมนุษย์ และมนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญและเสื่อมของโลก ๓
    มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จึงต้องมีผู้นำเพื่อทำหน้าที่เหนี่ยวนำประชาชนในประเทศ หรือมวลมนุษยชาติให้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่ถูกต้องดีงาม ก่อให้เกิดสันติสุขภายใน และภายนอก พร้อมปกป้องกันมิให้เกิดความแตกร้าวสามัคคี ความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความจริง
    ดังนั้น ในแต่ละประเทศจึงต้องมีผู้นำ หรือประมุขของประเทศตนเอง เพื่อตัดสินใจขั้นสูงสุด และเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย มีความมั่นคงภายใน ดังมีพระบาลีกล่าวไว้ว่า

    ราชา มุขํ มนุสฺสานํ.
    พระราชา เป็นประมุข(ผู้นำ) ของมนุษย์


    ผู้นำหรือนักปกครองจึงต้องมีหลักธรรนทางศาสนานำการปกครอง และการบริหาร กล่าวคือการปกครองหรือบริหารด้วยกุสโลบายที่ชาญฉลาดรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งบวกและลบในสังคมตนเองและประชาคมโลก และมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม(Good Governance) โดย “ยกย่องคนดีที่ควรยกย่องเป็นเยี่ยงอย่าง และป้องปรามปราบปรามข่มคนไม่ดีที่ประพฤติตนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่สังคมให้เข็ดหลาบ” เพื่อประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองและความเป็นธรรมในสังคม ในบางโอกาส ผู้นำจำต้องเสียสละผลประโยชน์ความสุขสะดวกสบายของตนเองและญาติมิตร เพื่อรักษารากฐานคุณภาพทางความคิดจิตใจของประชาชนให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งพุทธธรรมและวัฒนธรรมของชาติไว้ และส่งเสริมสนับสนุนในผู้คนได้ประกอบคุณงามความดีได้อย่างมีความสุขใจ ไม่มีความกดดันใดใด จึงจะเป็นที่ชื่นชมพึงพอใจทั้งประชากรในประเทศรวมไปถึงสัตว์ป่าเดรัจฉานที่มาพึ่งพาอาศัย กระทั่งสูงขึ้นไปถึงเทพ พรหม ท้าวจตุโลกบาลผู้รักษาบ้านเมืองไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้คุณธรรมความดีของผู้นำหรือนักปกครองนั้นประทับดำรงคงอยู่ในจิตใจของสรรพสัตว์ และสามารถรักษาสถานภาพในฐานะผู้นำไว้ได้เป็นเวลายาวนาน

    พระมหากษัตริย์ไทย ในฐานะชาวพุทธตัวอย่าง
    ( Thai King as The Eminent Buddhist )


    พระพุทธศาสนาแม้จะมีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าปริพานล่วงพ้นผ่านกาลเวลามายาวนานถึง ๒๕๔๕ ปี แล้วก็ตาม แต่หลักธรรมคำสอนยังคงเป็นสัจธรรม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง เข้ากับยุคสมัยได้อย่าง ไม่เคอะเขินหรือติดขัดกับสถานการณ์ใด ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้นำของประเทศที่ทรงมีประปรีชาญาณหยั่งรู้ และเข้าถึงหลักธรรมความจริงนั้น
    พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ และในทุกราชวงศ์ของไทย ก็เช่นเดียวกัน ได้ทรงทำหน้าที่เสียสละความสุขส่วนพระองค์มาเหนี่ยวนำพสกนิกรทวยราษฎร์ในชาติไทย ให้ผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ทรงมีประปรีชาสามารถดำรงเอกราชของชาติสืบทอดมาถึงอนุชนลูกหลายไทยในปัจจุบัน
    พระมหากษัตริย์ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี” ได้ทรงทำหน้าที่ของพระประมุขของชาติทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรเป็นอย่างดีตลอดมาอย่างเต็มศักยภาพของพระองค์ ด้วยพระปัญญาและพระมหกรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย และชาวนานาประชาราษฎร์ที่เข้ามาพึ่งพาอาศัยภายใต้ร่มพระบารมีปกเกล้า ต่างซาบซึ้งถึงพระเกียรติคุณของพระองค์เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้รับขนานพระนามว่า
    “ พระพุทธเจ้าหลวง พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย และ หนึ่งในโลก หนึ่งในใจของไทยประชา หนึ่งใต้ฟ้าของเมืองสยาม ” ดังเพลง หนึ่งในโลก ที่ว่า…



    หนึ่งในใจของไทยประชา หนึ่งใต้ฟ้าของเมืองสยาม
    หนึ่งด้วยเดชะพระบารมีลือนาม ปลูกเขตคามทั่วไทยร่มเย็น
    หนึ่งในรัฐนักพัฒนา หนึ่งราชาที่โลกได้เห็น
    หนึ่งด้วยคุณธรรมที่ทรงบำเพ็ญ ดับลำเค็ญของปวงประชา
    องค์พระมหากษัตริย์ประวัติศาสตร์ ที่ครองราชย์นานเนาในหล้า
    ทรงเป็นเอกองค์ในพสุธา เกริกก้องฟ้าพระบารมีอนันต์
    หนึ่งในแสนมิแม้นปาน หนึ่งในล้านมิเทียมเทียบทัน
    หนึ่งในโลกหนึ่งเดียวเท่านั้น มหาราชันองค์ภูมิพล ฯ

    พระมหากษัตริย์ไทย ในฐานะพระมหาธรรมิกราช
    ( Thai King as The Great Dhammic King )

    พระองค์ทรงเป็นผู้นำประเทศที่ทรงเปี่ยมด้วย ทศบารมีธรรม ๑๐ ทศพิธราชธรรม ๑๐ จักรวรรดิวัตร ๕ สัปปุริสธรรม ๗ ราชสังคหธรรม ๔ และ การทรงละเว้นอคติ ๔ ในที่นี้จะขอนำคุณธรรม คือทศบารมีธรรม ๑๐ ที่ปรากฎในพระองค์มากล่าวไว้ ณ ที่นี้
    พระมหากษัตริย์ไทยทรงดำรงพระองค์อยู่ในคุณธรรมตามแนวของพระมหาบุรุษ และพระมหาสาวก และพระโพธิสัตว์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ( Living Bodhitto ) ดังนี้:-

    ๑. ทาน
    ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์โดยตลอด นับแต่กาลที่ทรงขึ้นครองราชสมบัติ ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนทุกพื้นที่ของแผ่นดินไทย ทรงพระราชทานโครงพระราชดำริต่าง ๆ ที่ยังประโยชฃน์สุขมากมายแก่ประชาชนในชนบท

    ๒. ศีล
    ทรงรักษาพระอากัปกิริยาให้เรียบร้อย ทรงงดงามสง่าในทุกโอกาส และสถานการณ์ ทรงควบคุมพระวรกายและพระวาจาให้อยู่ในอาการที่น่าเกรงขามถูกต้องตามระเบียบวินัยและขัตติยโบราณราชปประเพณีแห่งกฎมณเฑียรบาลมาโดยตลอดมา

    ๓. เนกขัมมะ
    ทรงปลีกพระองค์แปรพระราชถานไปพบปะสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ผู้อยู่ป่า ผู้ทรงการปฏิบัติดีและปฏิบัติชอบอยู่เสมอ ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณีเพื่อฝึกฝนพระองค์เองให้มีพระหทัยบริสุทธิ์ปลอดโปร่งสูงส่งจากอำนาจกามคุณ

    ๔. ปัญญา
    ทรงมีประอัจฉริยภาพรอบรู้ หยั่งรู้เหตุผล เข้าในสภวะเหตุการณืทั้งภายในประเทศ และภายในประเทศ และสถานการณ์โลกตามความเป็นจริง

    ๕. วิริยะ
    ทรงมีความพยายามในพระราชกรณียกิจอย่างยิ่งยวด แกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค ทรงบากบั่นอุตสาหะ ให้โครงการต่าง ๆ เพื่อประชาชนดำเนินก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง

    ๖. ขันติ
    ทรงมีความอดทนแห่งพระราชหฤทัย ส่งผลให้ทรงสามารถใช้พระสติปัญญาควบคุมพระองค์เองให้อยู่ในอำนาจของเหตุผล และแนวทางความประพฤติดีเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรไทย

    ๗. สัจจะ
    ทรงมีพระราชหฤทัยบริสุทธิ์และจริงใจ ต่อการทรงพระราชราชกรณียทั้งในทางการกระทำ ทางการพูด และทางคิด

    ๘. อธิษฐาน
    ทรงมีพระราชหฤทัยตั้งมั่น ตัดสินพระราชหฤทัยที่เด็ดเดี่ยว ทรงวางจุดหมายแห่งการกระทำไว้แน่นอน และดำเนินไปตามนั้นอย่างแน่วแน่

    ๙. เมตตา
    ทรงมีพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตาและพระมหากรุราธิคุณ เกื้อกูลต่ออาณาประชาราษฎร์ ดุจดังพระราชโอรสของพระองค์เอง ดังที่ได้รับการขนานพระนามว่า “พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย” และทรงมีพระราชไมตรีต่อนานาประชาราษฎร์ที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย พึ่งพาอาศัยอยู่อย่างสงบสุขภายใต้ร่มพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม จนเป็นที่ซาบซึ้งประจักษ์ชัดโดยทั่วกัน

    ๑๐.อุเบกขา
    ทรงมีพระราชหฤทัยเป็นกลาง สงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้าย

    พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงเป็นทุกสิ่งอย่าง ที่ทำให้ชาติไทย ได้ดำรงคงมา จนถึงทุกวันนี้ ทรงเป็นจอมทัพไทย และทรงเป็น เอกอัครศาสนูปถัมภก ของทุกศาสนาหลัก ที่พสกนิกรไทย นับถืออยู่ ทุกหมู่เหล่า แต่เนื่องจาก พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ของไทย มาแต่โบราณกาล จนถึงปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต ดังนั้น พระมหากษัตริย์ไทย จึงทรงเป็น พุทธมามกะ ทรงปกครองประเทศ ด้วยหลัก ของทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร อันเป็นคำสอน ในพระพุทธศาสนา นำความเจริญ รุ่งเรือง และความผาสุก ร่มเย็น อันเป็นยอดปรารถนา ของมนุษย์ มาสู่ชนชาวไทย ตลอดมา จนถึงปัจจุบัน

    ดังพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ที่ว่า….

    ทะเลเป็นเจ้าแห่ง นทีมหันต์

    ทิวะสุริยฉัน แจ่มหล้า

    รัตติรัศมีจันทร์ เรืองจรัส

    สังฆ์ประมุขแห่งชาวหล้า เหล่าผู้พึ่งบุญ

    ผู้ใหญ่ในแว่นแคว้น คือรา ชาแล

    ผู้บำบัดทุกข์ประชา ช่วยเกื้อ

    เป็นประมุขนาครา ในรัฐ

    ทรงทศพิธธรรมเอื้อ ราษฎร์ให้สวัสดี




    ด้วยธรรมปฏิสันถาร จาก...พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก
    *******************************************
    ขอบคุณที่มาของข้อมูล:
    007289 -
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • M066.jpg
      M066.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.1 KB
      เปิดดู:
      7,691

แชร์หน้านี้

Loading...