พระพุทธเจ้าตรัสถึง " เหตุให้สําเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า "

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 30 พฤศจิกายน 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ปัจเจกพุทธาปทานที่ ๒
    </CENTER><CENTER>ว่าด้วยการให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า</CENTER>
    ลำดับนี้ ขอฟังปัจเจกพุทธาปทาน พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อัน
    สำรวมแล้ว ได้ทูลถามพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันว่า
    ทราบด้วยเกล้าฯ ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไรท่าน
    เหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์? ในกาลครั้งนั้น


    พระผู้มีพระภาคสัพพัญญูผู้ประเสริฐ แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่าน
    พระอานนท์ผู้เจริญ ด้วยพระสุรเสียงไพเราะว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    สร้างบุญในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมในศาสนาของพระชิน
    เจ้า ด้วยมุข คือ ความสังเวชนั้นแล ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์
    มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อมบรรลุปัจเจกโพธิญาณได้
    แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอ


    พระปัจเจกพุทธเจ้าเลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่านเหล่านั้น
    ท่านทั้งหลาย จงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี ท่านทั้งปวงปรารถนานิพพาน
    อันเป็นโอสถวิเศษ จงมีจิตผ่องใส ฟังถ้อยคำดี อันอ่อนหวานไพเราะ
    ของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้เอง คำพยากรณ์โดยสืบๆ
    กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุ
    ปราศจากราคะ และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุโพธิญาณด้วย
    ประการใด พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะว่า


    ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัดในโลกอันกำหนัด ละธรรมเครื่อง
    เนิ่นช้า การแพ้และความดิ้นรน แล้ว จึงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ณ สถานที่
    เกิดนั้นเอง ท่านวางอาญาในสรรพสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งในสัตว์
    เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา หวังประโยชน์เกื้อกูล เที่ยวไปผู้เดียว
    เปรียบเหมือนนอแรด ฉะนั้น ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียน
    แม้ผู้หนึ่งในสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนาสหาย


    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคล
    ผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็น
    โทษอันเกิดแต่ความเสน่หา จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    ผู้มีจิตพัวพัน ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย ย่อมทำตนให้เสื่อมประโยชน์
    ท่านมองเห็นภัยนี้ ในความสนิทสนม จึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด


    ฉะนั้น ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว
    กันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภริยา ดังหน่อไม้ไผ่ เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านเป็นวิญญูชนหวังความเสรี จึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น เหมือนเนื้อที่ไม่ถูกผูกมัด เที่ยวหาเหยื่อ
    ในป่าตามความปรารถนา ฉะนั้น ต้องมีการปรึกษากันในท่ามกลางสหาย


    ทั้งในที่อยู่ ที่บำรุง ที่ไป ที่เที่ยว ท่านเล็งเห็นความไม่โลภ ความเสรี
    จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น การเล่น (เป็น) ความยินดี
    มีอยู่ในท่ามกลางสหาย ส่วนความรักในบุตรเป็นกิเลสใหญ่ ท่านเกลียด
    ความวิปโยคเพราะของที่รัก จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    ท่านเป็นผู้แผ่เมตตาไปในสี่ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมี
    ตามได้ เป็นผู้อดทนต่อมวลอันตรายได้ ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปผู้เดียว


    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
    สงเคราะห์ได้ยาก ท่านเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรคนอื่น จึงเที่ยว
    ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านปลงเครื่องปรากฏ (ละเพศ)
    คฤหัสถ์ กล้าหาญ ตัดกามอันเป็นเครื่องผูกของคฤหัสถ์ เปรียบเหมือน
    ไม้ทองหลางมีใบขาดหมด เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ถ้า
    จะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน อยู่ด้วยกรรมดี


    เป็นนักปราชญ์ พึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้นเสียแล้ว พึงดีใจ มีสติเที่ยว
    ไปกับสหายนั้น ถ้าจะไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียวกัน
    อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนพระราชาทรง
    ละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว ดังช้างมาตังคะ ละโขลง
    อยู่ในป่า ความจริง เราย่อมสรรเสริญสหายสมบัติ พึงส้องเสพสหายที่
    ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านี้ ก็พึง


    คบหากับกรรมอันไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่าน
    เห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่องที่นายช่างทองทำสำเร็จสวยงาม กระทบกัน
    อยู่ที่แขนทั้งสอง จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น การเปล่ง
    วาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับเพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็น
    ภัยนี้ต่อไป จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายอัน
    วิจิตร หวาน อร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่างๆ


    ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และภัยนี้ ท่านเห็น
    ภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่าน
    ครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน ความหิว ความกระหาย


    ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน แล้วเที่ยวไปผู้เดียว เช่น
    กับนอแรด ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปผู้เดียว เช่นนอแรด เปรียบเหมือน
    ช้างละโขลงไว้แล้ว มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีสีกายดังดอกปทุมใหญ่โต
    อยู่ในป่านานเท่าที่ต้องการ ฉะนั้น ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า


    ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุติอันเกิดเองนี้ มิใช่
    ฐานะของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ จึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
    ฉะนั้น ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มีมรรคอัน
    ได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลอื่นไม่ต้องแนะนำ เที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย
    ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีโมโหดุจน้ำฝาดอันกำกัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก
    ทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหาย


    ผู้ลามก ผู้มักชี้อนัตถะ ตั้งมั่นอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหาย
    ผู้ขวนขวาย ผู้ประมาทด้วยตน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ ท่านรู้
    ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับ
    นอแรด ฉะนั้น ท่านไม่พอใจในการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก
    ไม่เพ็งเล็งอยู่ คลายยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์ เที่ยวไป


    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ท่านละบุตร ภริยา บิดา มารดา ทรัพย์
    ข้าวเปลือก เผ่าพันธ์ และกามทั้งหลายตามที่ตั้งลง เที่ยวไปผู้เดียว เช่น
    กับนอแรด ฉะนั้น ในความเกี่ยวข้องนี้มีความสุขนิดหน่อย มีความ
    พอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ ดุจลูก
    ธนู พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์
    ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาทำลายข่าย แล้วไม่กลับมา ดังไฟไหม้เชื้อ
    ลามไปแล้วไม่กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึง


    ทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว รักษามนัส อัน
    ราคะไม่ชุ่มแล้ว อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด
    ฉะนั้น พึงละเครื่องเพศคฤหัสถ์แล้ว ถึงความตัดถอน เหมือนไม้ทอง
    กวาวที่มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว
    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้อง
    เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล


    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕
    ประการ พึงบรรเทาอุปกิเลสเสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษ
    อันเกิดแต่สิเนหาแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงทำสุข
    ทุกข์ โทมนัสและโสมนัสก่อนๆ ไว้เบื้องหลัง ได้อุเบกขา สมถะ
    ความหมดจดแล้ว เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงปรารภ
    ความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน มีจิตไม่หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มี
    ความเพียรมั่น (ก้าวออก) เข้าถึงด้วยกำลัง เรี่ยวแรง เที่ยวไปผู้เดียว


    เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ไม่พึงละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติ
    ธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย เที่ยว
    ไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่
    ประมาท เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณา
    แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น
    ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดังสีหะ ไม่ขัดข้อง อยู่ในตัณหาและทิฏฐิ


    เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอกปทุม ไม่ติดน้ำ พึง
    เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงเสพเสนาสนะอันสงัด
    เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง เป็นราชาของเนื้อ มีปกติประพฤติข่มขี่
    ครอบงำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงเจริญเมตตา


    วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติทุกเวลา ไม่พิโรธด้วย
    สัตว์โลกทั้งปวง เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงละราคะ
    โทสะและโมหะ พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้น
    ชีวิต พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น ชนทั้งหลายมีเหตุ
    เป็นประโยชน์ จึงคบหาสมาคมกัน มิตรทั้งหลายไม่มีเหตุ หาได้ยากใน
    วันนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามองประโยชน์ตน ไม่สะอาด พึงเที่ยวไป
    ผู้เดียว เช่นกับนอแรด ฉะนั้น พึงมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี


    มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรม
    วิเศษ พึงรู้แจ้งธรรมอันสัมปยุตด้วยองค์มรรคและโพชฌงค์ (พึงรู้แจ้ง
    องค์มรรคและโพชฌงค์) นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตต-
    วิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนา


    พระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรม
    ใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิต
    โสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง เปรียบดังราชสีห์ เช่นกับนอแรด
    พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้ มีอินทรีย์ระงับ มีใจสงบ มีจิตมั่นคง มีปกติ
    ประพฤติด้วยความกรุณาในสัตว์เหล่าอื่น เกื้อกูลแก่สัตว์ รุ่งเรืองในโลกนี้
    และโลกหน้า เช่นกับประทีป ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่สัตว์ พระปัจเจก


    พุทธเจ้าเหล่านี้ ละกิเลสเครื่องกั้นทั้งปวงหมดแล้ว เป็นจอมแห่งชน
    เป็นประทีปส่องโลกให้สว่าง เช่นกับรัศมีแห่งทองชมพูนุท เป็นทักขิไณย-
    บุคคลชั้นดีของโลก โดยไม่ต้องสงสัย บริบูรณ์อยู่เนืองนิตย์ คำสุภาษิต
    ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปในโลกทั้งเทวโลก ชน


    เหล่าใดผู้เป็นพาลได้ฟังแล้ว ไม่ทำเหมือนดังนั้น ชนเหล่านั้นต้องเที่ยว
    ไปในสังขารทุกข์บ่อยๆ คำสุภาษิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น
    คำไพเราะ ดังน้ำผึ้งรวงอันหลั่งออกอยู่ ชนเหล่าใดได้ฟังแล้ว ประกอบ


    การปฏิบัติตามนั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เห็นสัจจะ คาถาอัน
    โอฬารอันพระปัจเจกพุทธชินเจ้าออกบวชกล่าวแล้ว คาถาเหล่านั้น
    พระตถาคตผู้สีหวงศ์ศากยราชผู้สูงสุดกว่านรชน ทรงประกาศแล้ว เพื่อให้

    รู้แจ้งธรรม คาถาเหล่านี้ พระปัจเจกเจ้าเหล่านั้นรจนาไว้อย่างวิเศษ เพื่อ
    ความอนุเคราะห์โลก อันพระสยัมภูผู้สีหะทรงประกาศแล้ว เพื่อยังความ
    สังเวช

    การไม่คลุกคลีและปัญญาให้เจริญ ฉะนี้แล.

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
    ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑


    [​IMG]



    <TABLE border=0 cellSpacing=10 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    ฟังธรรม
    เสียงธรรมออนไลน์ (mp3)
    เสียงเพลง...แห่งธรรม
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    <EMBED height=70 name=objMediaPlayer type=application/x-mplayer2 pluginspage=http://www.microsoft.com/Windows/MediaPlayer/ width=300 src=http://www.fungdham.com/download/song/allhits/30.mp3 autosize="false" showdisplay="false" displaysize="0" center="true"> </EMBED>​
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]30 พระโพธิ์แก้ว (เพลงบรรเลง)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า

    [​IMG]


    ประวัติ คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ต.บางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา

    คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า
    คาถาพระปัจเจกะโพธิ์

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ตั้งนะโม 3 จบ)

    วิระทะโย วิระโคนายัง
    วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
    มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม

    คาถาพระปัจเจกะโพธิ์นี้ ว่า 3 จบ หรือ 5 จบ หรือ 7 จบ หรือ 9 จบ ก็ได้แต่ต้องสม่ำเสมอจึงจะเกิดผล


    ประวัติ คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์

    พระ คาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์นี้ หลวงพ่อปาน (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เรียนมาจากครูผึ้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ท่านทาทานให้ขอทานครั้งละ ๑ บาท ซึ่งสมัยนั้นก๋วยเตี๋ยวข้าวแกงจานละห้าสตางค์เอง)

    เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ หลวงพ่อปาน พร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปทุกภาคขอประเทศไทย ทิศเหนือไปถึงเชียงตุงของพม่า ทิศตะวันออกไปสุดภาคอีสานและได้ขออนุญาตข้ามเขตไปในอินโดจีนของฝรั่งเศลถึง ประเทศญวน ทิศใต้ได้ไปถึงปีนังของอังกฤษ

    พบท่านครูผึ้ง

    เมื่อ ไปถึงนครศรีธรรมราช ในเย็นวันที่ได้ไปถึงนั่นเอง ขณะที่หลวงพ่อปานเข้าห้องจำวัดพักผ่อน โดยมีพระภิกษุอุปฐากกับทายกคอยเฝ้าอยู่หน้าห้องพักนั้น ประมาณเวลา ๑๗.oo น. ได้มีท่านผู้มีอายุท่านหนึ่ง รูปร่างเพรียว ท่าทางสง่า ผิวขาว นุ่งห่มผ้าม่วงสีน้ำเงินสวมเสื้อนอกราชประแตน กระดุม ห้าเม็ด ถุงเท้าขาว รองเท้าคัชชูสีดำ สวมหมวกสักหลาด ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ได้มาหาระอุปฐากถามว่า ‘หลวงพ่อตื่นแล้วหรือยัง?’ ก็พอดีได้ยินเสียงหลวงพ่อพูดออกมาจากห้องว่า ‘ไม่หลับหรอกแหมนอนคอยอยู่ คิดวาผิดนัดเสียแล้ว’ แล้วหลวงพ่อก็เดินออกมาจากห้องพัก เมื่อนั่งลงแล้ว ผู้เฒ่าผู้มาหาพูดว่า ‘ผมไม่ผิดนัดหรอกครับ เห็นว่าท่านเพิ่งมาถึงใหม่ๆ กำลังเหนื่อย และมีคนมาคอยต้อนรับกันมากก็เลยรอเวลาไว้ก่อน ตอนเย็นนี้คิดว่าว่างจึงเลือกเวลามา’ ขณะที่ท่านทั้งสองพูดคุยกันอยู่นั้นสร้างความสงสัยให้แก่คณะที่ได้ไปด้วยกัน เป็นอันมาก เพราะไม่เคยเห็นว่าคนทั้งสองพบกันที่ไหนเลย ทำไมจึงพูดกันถึงเรื่องนัดหมาย ขณะที่คณะเกิดสงสัยนั่นเองหลวงพ่อได้พูดว่า ‘พวกเราสงสัยหรือ? ไม่ต้องสงสัยอะไรอีกต่อไป โยมผู้เฒ่านี้ได้ทางใน ฉันพบกับโยมตั้งแต่เดินทางมาถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้

    นัด หมายกันไว้ว่าจะมาพบกันที่นี่ ต่อไปนี้พวกเราจะพ้นความยากจนแล้ว เพราะโยมผู้นี้มีของดี’ แล้วหลวงพ่อก็พูดกับผู้เฒ่านั้นว่า โยมมีของดี ก็เอาของดีออกมาอวดพวกนี้หน่อยซิ หรือมีอะไรขัดข้อง?

    ท่านผู้เฒ่าได้บอกว่า ท่านชื่อผึ้ง อายุ ๙๙ ปี

    ท่านครูผึ้งเล่าประวัติพระคาถา

    (มอง ดูแล้วคนในคณะที่ไปกับหลวงพ่อ อายุ ๕o เศษ เหมือนจะแก่กว่าเท่าๆกับท่าน) เมื่ออายุท่านได้ประมาณ ๔o ปี ได้มีพระธุดงค์เดินธุดงค์มารูปเดียวท่านเห็นพระรูปนั้นแล้วรู้สึกเลื่อมใส มาก จึงได้นิมนต์ให้พักอยู่เพื่อบำเพ็ญกุศล ๔ วัน ได้ปฎิบัติท่านอย่างดีเท่าที่จะทำได้ ได้เรียนกรรมฐานจากท่าน ท่านได้สอนให้เป็นอย่างดี เมื่อจะกลับท่านพูดว่า ‘โยมฉันจะลากลับ ต่อไปจะไม่ได้มีโอกาสผ่านมาอีก หากโยมอยากพบอาตมา ก็ขอให้จุดธูปอาราธนาพระ แล้วอาตมาจะมาพบทางใน’ แล้วท่านได้มองพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์บทนี้ให้ พร้อมทั้งอธิบายวิธีปฎิบัติ ท่านว่าทำเพียงเท่านี้พอเลี้ยงตัวรอด เงินทองของใช้ไม่ขาดมือ ถ้าปฎิบัติเป็นกรรมฐานทำให้ถึงญาณแล้วจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี โยมเอาพระคาถาบทนี้ภาวนาเป็นกรรมฐานเถิดนะ ไม่เกิน ๒ ปี โยมจะรวยใหญ่ เงินทองจะหลั่งไหลมาเอง พระคาถาบทนี้ของปัจเจกะพุทธเจ้า ตระกูลอาตมาได้เรียนสืบต่อกันมาทุกคน ไม่มีใครจน อย่างจนก็พอเลื้ยงตัวรอด

    ให้หลวงพ่อปานเรียนพระคาถา

    เมื่อ พูดจบได้มองพระคาถาให้หลวงพ่อเรียนแล้วบอกว่า ได้โปรดอย่าปิดบังพระคาถาบทนี้เลย ขอให้กรุณาแจกเป็นธรรมทานด้วย แล้วหลวงพ่อก็หลับตาเข้าสมาธิ ท่านครูผึ้งก็หลับตาเข้าสมาธิต่างคนต่างหลับตา ประมาณ ๕ นาที ก็ลืมตาขึ้นพร้อมกันต่างคนต่างยิ้ม เสียงท่านครูผึ้งพูดว่า ‘ผมดีใจด้วยที่ต่อไปเบื้องหน้าท่านจะได้ศิษย์คู่ใจ’ หลวงพ่อก็หัวเราะ

    ตอบคำถามหลวงพ่อ

    หลวง พ่อถามว่า ท่านอาจารย์ทำนานนักไหม จึงจะรู้ผล อาจารย์ตอบว่า ไม่นานครับ ประมาณเดือนแรกผ่านไปเริ่มรู้ผล ผลระยะแรกให้ผลในทางกินก่อน เช่นหุงข้าวตามธรรมดา คนกินในบ้านก็กินเท่าเดิม เพิ่มการใส่บาตร แต่ข้าวเหลือ
     

แชร์หน้านี้

Loading...