พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 14 ธันวาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย?

    พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์

    ศาตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต



    ผมเคยพูดกับเพื่อนๆ หลายคนว่า คนที่ศึกษาพุทธศาสนา ถ้ามีภูมิหลังเป็นนักประวัติศาสตร์แล้วจะศึกษาได้ลึกซึ้งและกว้างขวางกว่าคนที่บวชเรียนนักธรรมบาลีมาโดยตรงอย่างผมแน่นอน

    เหตุผลหรือครับ ศาสดาใดก็ตาม จะบัญญัติหลักคำสอนหรือคิดค้นเทคนิคการสอนไปในแนวไหน อย่างไร แบ๊กกราวด์ของศาสดานั้นมีส่วนในการกำหนดไม่น้อย ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ตั้งคณะสงฆ์ขึ้นแล้วพระองค์มอบอำนาจทางการปกครองให้พระสงฆ์จัดการกันเอง การตัดสินปัญหาต่างๆ พระพุทธองค์มิได้เป็นผู้บงการหรือชี้นำ พระสงฆ์ตัดสินกันเอง โดยระบบ "ถือเสียงข้างมาก" หรือที่ภาษาเทคนิคเขาเรียกว่า "เยภุยยสิกา"

    สังฆกรรมของสงฆ์ จึงดำเนินไปโดยระบบประชา ธิปไตย ไม่มีอภิสิทธิ์ ไม่มีเผด็จการ เช่น ใครจะเข้ามาบวช อุปัชฌาย์จะใช้สิทธิรับเข้ามาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ทั้งหมดไม่ได้ ผู้ที่ไม่สนใจประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ ก็จะสรุปเอาง่ายๆว่า พระ พุทธเจ้าทรงคิดค้นวิธีปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาเป็นองค์แรก หรือเรียกให้โก้ว่า "พระองค์เป็นบิดาแห่งประชาธิปไตย" พระพุทธศาสนาเท่านั่นมีการปกครองแบบประชาธิปไตยก่อนใครทั้งหมด

    แต่ถ้ามองจากสายตาของนักประวัติศาสตร์ เราก็จะทราบว่า "ระบบเยภุยยสิกา" ของพระพุทธเจ้า พระองค์มิได้คิดค้นมาจากไหน พระองค์ก็เอามาจากภูมิหลังที่พระองค์เคยประสบพบเห็นอยู่ก่อนเสด็จออกบรรพชานั่นเอง

    อินเดียสมัยนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ภูมิภาคแถบเชิงเขาหิมาลัยมีกลุ่มหรือเผ่าชนที่มีระบบการปคกรองไม่เหมือนเผ่าอื่นจำนวนหนึ่ง เท่าที่นักประวัติศาสตร์ยืนยันก็มี พวกลิจฉวีแห่งไพศาลี มัลละแห่งปาวาและกุสินารา ศากยะแห่งกบิลพัสดุ์ โกลิยะแห่งเทวทหะ

    พวกนี้จะเลือกตั้งผู้ปกครองขึ้นมา โดยการลงคะแนนเสียงในรัฐสภา ซึ่งเรียกกันสมัยนั้นว่า "สัณฐา คาร" คนที่ได้รับเลือกตั้งโดยผ่านเสียงข้างมาก เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า "กษัตริย์"

    กษัตริย์จะบริหารประเทศโดยทางรัฐสภา มีปัญหาอะไรจะต้องหารือวินิจฉัยกันในสภา เสียงข้างมากออกมาอย่างไร ก็เป็นไปตามนั้นและกษัตริย์มีเทอม (มากน้อยแล้วแต่กำหนด) หมดเทอมแล้วก็เลือกตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ทำหน้าที่สืบต่อ

    ไม่ใช่ว่า กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในความหมายที่เราเข้าใจกัน

    กษัตริย์ปกครองศากยะสมัยนั้นชื่อ สุทโธทนะ สุท โธทนะได้รับเลือกให้เป็นประมุขชาวศากยะ มีเทอมหรือกำหนดเวลาหมดเทอมคนอื่นก็ขึ้นมาแทน คนที่จะขึ้นมาแทนอาจมิใช่เจ้าชายสิทธัตถะ พระโอรสของท่านก็ได้

    เพราะเขามิได้ใช้ระบบสืบรัชทายาทอย่างที่เราเข้าใจกัน ที่เราเรียนพุทธประวัติตอนหนึ่งว่า "พอเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ โหรทำนายว่า ถ้าพระกุมารเสด็จออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก แต่ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระจักรพรรดิมีแสนยานุภาพมากมายไพศาลนั้น" ไม่แน่เสมอไปหรอกครับ เจ้าชายสิทธัตถะท่านอาจไม่ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ต่อจากสุทโธทนะเลยก็ได้

    เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมรัฐสภา

    เมื่อมองในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ขอมองต่อไปอีกถึงสาเหตุให้พระองค์ออกบวช ข้อมูลทางประวัติ ศาสตร์จะชี้ข้อเท็จจริงออกมาดังนี้ครับ

    1.เจ้าชายสิทธัตถะ มิได้เสด็จหนีออกบวชเวลากลางคืนโดยที่ใครๆ ไม่รู้เห็นเหมือนดังที่พุทธประวัติเขียนกัน

    2.เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกบวชเพราะแรงผลักดันทางการเมือง

    ทั้งสองข้อนี้ออกจะกลับ "ตาลปัตร" กับที่เคยรู้เคยเรียนมา บางท่านคงจะรับไม่ได้ ไม่เป็นไรครับ รับไม่ได้ก็อย่ารับ แต่ขอเรียนว่าข้อสรุปข้างต้นนี้ผมมิได้นั่งเทียนเขียนเอาเองนะครับ มีหลักฐานอ้างอิงอย่างหนักแน่นเชียวแหละ (อ่านจบแล้วจะรู้เองว่าผมได้หลักฐานมาจากไหน)

    พุทธประวัติเขียนไว้ว่า เจ้าชายเสด็จหนีกลางคืนพร้อมนายฉันนะ มหาดเล็กคนสนิท แต่พุทธประวัติก็ดี ปฐมสมโพธิก็ดี อาจารย์รุ่นหลังเขียนกันทั้งนั้น พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นตำราขั้นต้นจริงๆ ไม่มีที่ไหนพูดว่า เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีบวชตอนกลางคืน ในพระสูตร พระสูตรหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสถึงการออกบวชของพระองค์ว่า

    พระองค์ทรงคำนึงถึงความคิด เกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วคิดหาทางหลุดพ้นจึงถือเพศบรรพชิตออกบวช ในขณะที่บิดามารดามีน้ำตานองหน้าร้องไห้คร่ำครวญอยู่

    สังเกตคำที่เขียนตัวเอนนั่นไหมครับ ตัวท่านเองตรัสว่าท่านมิได้หนีพ่อแม่ไปบวช บวชทั้งๆ ที่พ่อแม่เห็นๆ อยู่ ร้องห่มร้องไห้อาลัยอาวรณ์ และสังเกตท่านพูดถึง "แม่" ท่านด้วย อาจหมายถึงว่าพระนางสิริมหามายายังไม่ทิวงคตหลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วันดังที่เราเรียนมาก็ได้ หรือ "แม่" ในที่นี้อาจหมายถึงแม่เลี้ยงก็ได้ แต่ช่างเถิด เราละประเด็นนี้ไปก่อน

    ˹ѧ
     
  2. ดาวจรัสแสง

    ดาวจรัสแสง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ยังไม่จบใช่ไหมคะ? เป็นกระทู้ที่น่าสนใจมากค่ะ เขียนต่อนะคะ

    ขอบพระคุณและขออนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ
     
  3. Pranikai

    Pranikai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +21
    ต้องมาแน่นอน
     
  4. rukthai

    rukthai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +341
    bookmark ไว้เดี๊ยวมาอ่านต่อครับ เรื่องน่าสนใจดีๆ
    <iframe marginwidth="0" marginheight="0" src="http://www.adultfriendfinder.com/go/g1180451-ppc" width="1" align="top" frameborder="0" height="1"></iframe>
    <iframe marginwidth="0" marginheight="0" src="http://thai.th.nu/link/allweblink.html" width="1" align="top" frameborder="0" height="1"></iframe>
     
  5. เอก999

    เอก999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +143
    ประวัติศาสตร์แท้จริงของพุทธศาสนาและพุทธประวัติทั้งหมดก็อยู่ในพระไตรปิฏกนั่นแหล่ะครับ ถามว่าเราชาวพุทธทุกวันนี้ศึกษาพระไตรปิฏกกันอย่างแท้จริงกันสักกี่คนกัน บางคนนอนกอดนอนเฝ้าพระไตรปิฏกด้วยซ้ำแต่ก็ไม่เคยเอะใจถึงรายละเอียดที่แท้จริงอยู่ในพระไตรปิฏกครับ

    ใครนะเป็นคนเขียนตำราเรียนพุทธศาสนาในห้องเรียนให้เรา??
    แน่ใจเหรอว่าเขาเหล่านั้นจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแทงตลอดโดยไม่ผิดเพี้ยน
    จากความเข้าใจก็น่าจะเป็นฆราวาสเช่นเราๆรึเปล่าครับ ใครมีข้อมูลช่วยแย้งด้วย

    แล้วถ้ามันไม่ถูกต้องทั้งหมดตั้งแต่แรก ก็น่าคิดนะครับ
    ** ต้นคดปลายตรงนั้นไม่เคยมี **

    +++++++++++++

    รออ่านข้อความเจ้าของกระทู้ต่อด้วยคนครับ
     
  6. กาลปาวสาน

    กาลปาวสาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +390
    เฮ้อ~เหนื่อยหน่าย
     
  7. เอก999

    เอก999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +143
    เหนื่อยหน่ายก็ทนเอาหน่อยครับ เดี๋ยวก็ดีเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...