พระมหากรุณาธิคุณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 8 กันยายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    เพื่อที่จะให้ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณ

    ของพระผู้มีพระภาคฯ

    ที่ทรงพระมหากรุณา แสดงธรรม โดยละเอียด.



    ข้อความใน อัฏฐสาลินี

    อรรถกถา ธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์.


    แสดง "อนันตะ"

    คือ ความกว้างใหญ่ที่สุด ๔ อย่าง ว่า


    ในที่นี้ ท่านถือเอา "อนันตะ" ๔ อย่าง

    ก็ อนันตะ ๔ อย่าง

    คือ

    อากาศ เป็น อนันตะ
    ......ไม่มีที่สุด ๑.

    จักรวาล เป็น อนันตะ
    .....ไม่มีที่สุด ๑.

    สัตตนิกาย คือ หมู่สัตว์ เป็น อนันตะ
    .....
    ไม่มีที่สุด ๑.

    พุทธญาณ เป็น อนันตะ
    ....
    ไม่มีที่สุด ๑.


    .


    จริงอยู่
    ..................
    การกำหนด "อากาศ" ว่า

    ในทิศบูรพา ทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ

    มีเท่านั้น ร้อยโยชน์ หรือ มีเท่านั้น พันโยชน์

    ย่อมไม่ได้.!


    (ลองกำหนด อากาศทางทิศตะวันออก ว่า มีเท่าไร

    กี่โยชน์ กี่ร้อยโยชน์ กี่พันโยชน์

    ก็ไม่มีใครกำหนดได้ แม้ทิศอื่น ๆ ก็โดยนัยเดียวกัน.)


    แม้จะพึงเอาฆ้อนเหล็ก ขนาดเท่าเขาสิเนรุ

    ทุบแผ่นดิน แยกเป็นสองส่วน แล้วโยนฆ้อนเหล็กไป

    ฆ้อนเหล็ก ก็พึงตกไปข้างล่างโดยแท้

    หามีที่รองรับไว้ได้ไม่.


    ชื่อว่า "อากาศ" เป็น "อนันตะ"

    คือ

    ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างนี้.


    .


    การกำหนด "จักรวาลทั้งหลาย"

    ว่า มีกี่ร้อย กี่พัน หรือ กี่แสนจักรวาล

    ย่อมไม่ได้.


    จริงอยู่
    ...
    แม้ว่า ท้าวมหาพรหม ทั้ง ๔

    ผู้เกิดใน "อกนิฏฐภพ"

    (รูปพรหมชั้นสุทธาวาส ชั้นที่ ๕ ซึ่งเป็นรูปพรหมชั้นสูงที่สุด)

    ผู้มีความเร็ว ขนาดที่สามารถผ่านแสนจักรวาลไปได้

    เพียงเท่าที่ "ลูกศรที่เร็วมาก" ของนายขมังธนู ผู้มีกำลังแข็งแรง

    ผ่านเงาต้นตาล ด้านขวาง.

    จะพึงวิ่งมาด้วยความเร็วขนาดนั้น ด้วยคิดว่า

    เราจักดูขอบแห่งจักรวาล

    ท้าวมหาพรหมเหล่านั้น ก็จะพึงปรินิพพานก่อน โดยแท้.


    "จักรวาล" จึงชื่อว่า เป็น "อนันตะ"

    ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างนี้.


    .


    ก็ประมาณแห่งสัตว์

    ที่อยู่ในน้ำ และที่อยู่บนบก ในจักรวาลทั้งหลาย

    ว่ามีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี

    "สัตตนิกาย" จึงชื่อว่า "อนันตะ"

    (ไม่มีที่สิ้นสุด) อย่างนี้.


    .


    "พุทธญาณ"

    ชื่อว่า

    อนันตะแท้ แม้กว่า อนันตะทั้ง ๓ นั้น.


    "อากาศ"
    ก็เห็นอยู่แล้ว ว่า ไม่มีที่สิ้นสุด.!

    ไม่มีใครสามารถจะวัด อากาศ ว่ามีกี่ร้อย กี่พัน กี่แสนโยชน์.


    .


    หรือแม้ "จักรวาล"

    ก็ไม่มีใครสามารถนับได้ว่า ทั้งหมดมีเท่าไร.


    ใครอยากจะนับดาว นับจักรวาล

    ก็ไม่มีวันสำเร็จ.


    เพราะว่า

    จักรวาล เป็น อนันตะ
    ...ไม่มีที่สิ้นสุด.!


    .


    หรือแม้ "สัตตนิกาย"

    คือ หมู่สัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ในจักรวาล

    ก็ไม่ใครสามารถทำสถิติ ว่า มีจำนวนเท่าไร.!


    ทั้งมนุษย์ ทั้งเทพ ทั้งพรหม

    ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ในอบายภูมิ.


    .


    แต่

    "พุทธญาณ" ชื่อว่า "อนันตะ"

    คือ

    ไม่มีที่สิ้นสุด

    แม้กว่า อนันตะ ทั้ง ๓

    ได้แก่

    บรรดาสัตว์ อันหาประมาณมิได้.

    จักรวาล อันหาประมาณมิได้.

    อากาศ อันหาประมาณมิได้.

    อย่างนี้.


    .


    เมื่อคิดถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย

    ย่อมมีมากมาย นับไม่ถ้วน.


    แล้ว จิตของสัตว์เหล่านั้น
    ...จะวิจิตรต่าง ๆ กัน

    มากสักเพียงไหน.!


    กุศลจิต ที่เป็น กามาวจร

    เช่น

    กามาวจรกุศลจิต

    ซึ่ง สหรคตด้วย โสมนัสเวทนา


    เป็น ญาณสัมปยุตต์ และ เป็นอสังขาริกจิต

    ย่อมเกิดแก่สัตว์มากมาย.


    แม้สัตว์โลกทั้งหลาย มีจำนวนมาก

    "กามาวจรกุศลจิต อสังขาริก ญาณสัมปยุตต์"

    ก็มีมากตามจำนวนของสัตว์โลก.

    (ซึ่งเป็น อนันตะ)


    แม้ จิตประเภทนี้

    มีมากตามจำนวนของสัตว์โลก

    แต่ก็เป็น จิตประเภทเดียวกัน.


    โดย อรรถ ว่า
    ..............................
    "เป็นกามาวจร"

    โดย อรรถ ว่า
    .....................
    "สหรคตด้วยโสมนัส"

    โดย อรรถ ว่า
    ......................
    "เป็นญาณสัมปยุตต์"

    โดย อรรถ ว่า
    ....
    "โดยฐานะเป็นอสังขาริกด้วยกัน"


    .


    พระผู้มีพระภาคฯ

    ทรงกำหนด "กามาวจรกุศลจิต" แม้ทั้งปวง

    ที่เกิดกับสัตว์โลกทั้งหลาย อันหาประมาณมิได้
    (อนันตะ)

    ในจักรวาลทั้งหลาย อันหาประมาณมิได้ (อนันตะ)

    ด้วย "พระสัพพัญญุตญาณ"


    ประดุจ ทรงใส่ทะนาน นับอยู่ ฉะนั้น

    และ ทรงกระทำให้เป็น ๘ ส่วน เท่านั้น.


    ทรงแสดงว่า

    จิตเหล่านั้น คือ "กามาวจรกุศลจิต" มี ๘ ประเภท.

    โดย อรรถ ที่บัญฑิต พึงเห็นพ้องด้วย.

    (คือ คัดค้านไม่ได้)


    .


    ถึงแม้ "กามาวจรกุศลจิต" จะมีมาก

    แต่ พระผู้มีพระภาค ทรงนับและทรงจัด
    "กามาวจรกุศลจิต"

    เป็น

    "มหากุศลจิต ๘ ประเภท"


    ซึ่ง ใคร ๆ ก็ไม่สามารถที่จะคัดค้านได้.


    ทรงจำแนก

    โดย ความต่างกัน ของ "เวทนาเจตสิก"

    คือ

    ประกอบด้วย อุเบกขาเวทนา.

    และ

    ประกอบด้วย โสมนัสเวทนา.


    .


    โดยความต่างกัน ของ "ปัญญาเจตสิก"

    คือ

    ประกอบด้วย ปัญญาเจตสิก.


    (ญาณสัมปยุตต์)

    และ

    ไม่ประกอบด้วย ปัญญาเจตสิก.

    (ญาณวิปปยุตต์)


    และ โดยความต่างกัน คือ

    เป็น อสังขาริกจิต

    (จิตที่มีกำลัง...เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง)

    และ

    เป็น สสังขาริก


    (จิตที่ไม่มีกำลัง...เกิดขึ้นโดยต้องอาศัยการชักจูง)


    .


    ดังนั้น

    "กามาวจรกุศลจิต"

    หรือ

    "มหากุศลจิต ๘ ประเภท"


    ได้แก่


    ๑. โสมนฺสสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

    ๒. โสมนฺสสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

    ๓. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

    ๔. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

    ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

    ๖. อุเปกขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

    ๗. อุเปกขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

    ๘. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ



    เคยง่วง...เคยเพลีย...เคยเบื่อไหม.?


    บางขณะ
    ...จิต คิดจะทำกุศลอย่างนั้น อย่างนี้

    แต่แล้ว ก็อ่อนกำลังไป
    ...หรือว่า เกิดความง่วงขึ้นมา.!


    "สติ" ระลึก รู้ ลักษณะของจิต ในขณะนั้นหรือไม่.?


    ถ้า "สติ" ไม่ ระลึก
    ....

    ขณะนั้น ก็ "เป็นเรา"


    .


    ความง่วง ความท้อถอย ความท้อแท้

    ความเหนื่อยหน่าย ความรู้สึกอ่อนเพลีย เป็นต้น นั้น

    เป็นสภาพธรรม ที่มีจริง.!


    ถ้า "สติ" ไม่ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านั้น

    ในขณะที่ กำลังปรากฏ ตามปกติ ตามความเป็นจริง

    ก็ ไม่รู้ ว่า สภาพธรรมเหล่านั้น
    .........

    ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่ใช่เรา

    แต่ เป็นเพียง "ลักษณะของจิต"

    ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

    แล้วก็ดับไป.


    .


    พระผู้มีพระภาค

    ทรงแสดงจิต โดยประเภทต่าง ๆ

    เช่น

    โดยประเภทที่เป็น อสังขาริกจิต และ สสังขาริกจิต.


    โลภมูลจิต ที่เป็น อสังขาริก ก็มี

    โลภมูลจิต ที่เป็น สสังขาริก ก็มี


    โทสมูลจิต ที่เป็น อสังขาริก ก็มี

    โทสมูลจิต ที่เป็น สสังขาริก ก็มี


    กุศลจิต ที่เป็น อสังขาริก ก็มี

    กุศลจิต ที่เป็น สสังขาริก ก็มี


    .



    ขณะที่ "สติ" ระลึก

    ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เหล่านั้น

    "ปัญญา" รู้ ว่า สภาพธรรมเหล่านั้น

    เป็น นามธรรม ไม่ใช่ รูปธรรม.!


    เพราะว่า

    ความท้อแท้ ท้อถอย ความง่วง นั้น

    ไม่ใช่ รูปธรรม.

    แต่ เป็น ลักษณะของ "ถีนมิทธเจตสิก"

    ซึ่งเกิดกับ "อกุศลจิต ที่เป็น สสังขาริก"

    เพราะว่า

    ขณะนั้น สภาพของจิต ไม่มีกำลังแรงกล้า.!


    .


    จิต ที่ต่างกัน เป็น อสังขาริก และ สสังขาริก นั้น

    เป็น จิต ประเภท "กามาวจรจิต" เท่านั้น.!

    เพราะว่า

    กามาวจรจิต เป็น จิตในภูมิที่ต่ำสุด.


    กามาวจรจิต

    เป็น จิต ซึ่งเกิดขึ้นตามปกติในชีวิตประจำวัน.


    เช่น

    ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ

    และ คิดนึกเรื่องราวของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ.


    บางครั้ง
    ....ก็เป็นจิตที่มีกำลังแรงกล้า

    บางครั้ง
    .........
    ก็เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน


    ตามเหตุ ตามปัจจัย.


    .


    แต่

    จิต ในระดับที่สูงกว่านี้

    ได้แก่

    รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และ โลกุตตรจิต นั้น

    ไม่จำแนกเป็น อสังขาริก และ สสังขาริก.


    แม้ จิตทั้ง ๓ ประเภทนี้

    จะเกิดขึ้นเองไม่ได้.!

    เพราะต้องอาศัย การอบรมเจริญกุศล

    จนกว่า จิตเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้

    แต่ ก็ไม่ใช่ โดยนัยเดียวกัน

    กับ กามาวจรจิต
    ................

    ซึ่งจำแนกเป็น อสังขาริก และ สสังขาริก.


    .


    ทุกท่าน

    พอที่จะรู้ ลักษณะของ อสังขาริกจิต และ สสังขาริกจิต

    ของท่านเองได้.!


    เช่น

    ท่านที่มาฟังธรรม ต้องอาศัยใครชักชวนหรือเปล่า.?

    ตอนแรก อาจจะไม่อยากมาเอง
    ...เมื่อถูกชักชวนมา...จึงมา.?

    แต่ว่า
    ...หลังจากนั้น

    ก็อาจจะมาด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องชักชวน.?


    สภาพจิต ที่มาเอง และ ถูกชักชวนจึงมา นั้น

    มีความต่างกัน.!


    และ ไม่ใช่ว่า จะมีแต่ สสังขาริกจิต ตลอดเวลา

    หรือ มีแต่ อสังขาริกจิต ตลอดเวลา.!


    เช่น

    บางท่าน ที่ถูกชวนไปดูละคร

    ขณะที่ถูกชักชวนไป จิตขณะนั้น อาจจะเป็นจิตที่มีกำลังอ่อน

    แต่ถ้าดูละคร แล้ว รู้สึกสนุก ตื่นเต้น

    มีการหัวเราะ สนุกสนาน
    .................

    ในขณะนั้น

    ไม่ใช่จิตที่มีกำลังอ่อน

    เพราะว่า

    ไม่มีใครมาชักชวน ให้หัวเราะ ให้สนุกสนาน

    แต่เป็น จิตขณะนั้นเอง ที่มีกำลัง

    และ เกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา

    จึงมีอาการสนุกสนาน หัวเราะ ฯ

    จิต ขณะนั้น เป็น อสังขาริกจิต.


    .


    แสดงถึง "ความเป็นอนัตตา" ของจิตแต่ละขณะ ๆ

    ซึ่งเกิดขึ้น เป็นไป
    ...ตามเหตุ ตามปัจจัย.!


    .


    แม้ว่า ขณะนี้ จิตเกิดขึ้น เป็นไป อย่างนี้
    ...........

    แต่ จิตขณะต่อไป อาจจะเกิดขึ้น เป็นไป อีกอย่างหนึ่ง

    ตามเหตุ ตามปัจจัย นั่นเอง.!

    ธาตุทั้ง ๔ ก็เป็นเพียง ธาตุ.!

    อย่างเช่น ธาตุดิน

    ก็เป็นสภาพที่รองรับ"อุปมา"เท่านั้นเองค่ะ.!


    ให้ทราบว่า

    ไม่ว่าจะวางดอกไม้ลงไป หรือ ทำสิ่งที่ไม่ดีลงไปบนแผ่นดิน

    แผ่นดิน ก็ไม่หวั่นไหว.


    เพราะว่า

    "ความจริง"

    คือ

    ธาตุเหล่านี้ เป็น "รูปธาตุ" ไม่ใช่ "นามธาตุ"

    แต่ ทรงเปรียบเทียบ

    ให้เห็น "ความไม่หวั่นไหว"
    ไม่ลืมในเรื่องจุดประสงค์ของการศึกษาธรรม คือเป็นไปเพื่อละขัดเกลากิเลสและรู้
    สภาพธรรมทีมีจริงในขณะนี้ การศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อความเข้าใจ
    ถูก อันเป็นไปเพื่อความเจริญของปัญญาและขัดเกลากิเลส รู้ความจริงในขณะนี้
    พระไตรปิฎก คือ พระธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงอันเกิดจากพระปัญญาของ
    พระพุทธเจ้า อันลึกซึ้ง สุดประมาณ ดังนั้น ในการศึกษาพระไตรปิฎก คือศึกษา
    คำสอนของพระปัญญาพระพุทธเจ้าจึงต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้รู้ อ่านเอง คิดเองไม่ได้
    ครับ เหมือนจะเข้าใจ แต่ก็ไม่เข้าใจเพราะพระธรรมละเอียดลึกซึ้ง หากแต่ว่าความจริง
    คือพระไตรปิฎกก็คือ การแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ โดยนัยต่างๆ อัน
    สมควรแก่อุปนิสัยของสัตว์โลก ดังนั้น เมื่อศึกษาพระไตรปิฎกก็คือเพื่อเข้าใจสภาพ
    ธรรมที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสทุกๆประการ นี่คือจุดประสงค์ที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็
    จำได้ แต่ไม่เป็นไปเพื่อการน้อมประพฤติปฏิบัติคือเพื่อข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้และเป็นไป
    เพื่อการละทั้งหมด ที่สำคัญต้องรู้กำลังของตนว่าสามารถรู้ทั่วถึงคำสั่งสอนของพระ-
    พุทธเจ้าได้ทั้งหมดหรือว่าควรรู้ในสิ่งที่พอจะรู้ได้ ซึ่งกำลังมีในขณะนี้
    ควรทราบว่าสามเณรมีสิกขาบท ๑๐ และไม่มีอาบัติสังฆาทิเสส การล่วงศีลของ

    สามเณร กระทำการต่อศีลใหม่กับพระภิกษุได้อีก เมื่อมีอายุครับบวชพระ ก็ย่อม

    บวชเป็นพระได้ ศีลที่เคยก้าวล่วงแล้วตอนเป็นสามเณรย่อมไม่กั้นการบรรลุมรรค

    ผลและพระนิพพาน เว้นแต่บางข้อที่ทรงแสดงไว้ เช่น ข่มขืนภิกษุณี ฆ่ามารดาบิดา

    เป็นต้น อกุศลกรรรมเหล่านี้ย่อมห้ามบวชเป็นพระและกรรมนั้นห้ามมรรคผลด้วย
    คำว่า อมนุษย์ หมายถึง ผู้ที่ไม่ใช่มนุษย์ คืออบายภูมิทั้งหมด
    เทพทั้งหมด เว้นมนุษย์ที่เหลือเป็นอมนุษย์ สำหรับสัตว์ที่เกิดในภูมินรก ไม่สามารถ
    อนุโมทนาส่วนบุญที่ญาติอุทิศไปให้ เพราะเขาไม่รับรู้ ในการทำบุญของญาติครับ
    และความเห็นที่ ๓ ถ้าใช้คำว่าญาติก็รวมทั้งหมดแล้ว เพราะในสังสารวัฏฏ์ ผู้ที่ไม่ใช่
    ญาติกันหาได้ยาก แม้พระเจ้าพิมพิสาร เวลาท่านอุทิศ ท่านก็ใช้คำว่าญาติเหมือนกัน
    ดังนั้นในบางครั้งถ้าประสงค์จะอุทิศออกชื่อของผู้ที่เราเจาะจงก็ได้ และเพิ่มบุคคลอื่น
    เช่นญาติเป็นต้นก็ได้
    ลักษณะเมื่อยเป็นความรู้สึกไม่สบายทางกาย เป็นปรมัตถธรรมคือเวทนาเจตสิก

    ขณะที่นั่งแล้วเมื่อยกายกระทบกับโผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว

    อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ว่าอ่อนก็คือแข็งน้อยถูกแล้ว ส่วนลักษณะ ตึงหรือใหว

    ในชีวิตประจำวันก็มีมาก เช่น เวลาหิ้วของหนัก หรือโหนบาเดี่ยว ที่แขนตึงไหม

    ส่วนลักษณะไหวก็คือ ขณะที่หายใจ ขณะที่กระพริบตา ขณะที่เดิน วิ่ง เป็นต้น
    การอบรมสติปัฏฐานคือการอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงที่เป็นปรมัตคือการรู้ความ
    จริงที่มีในขณะนี้ที่กำลังปรากฎ เมื่อยมีจริง ปรากฎให้ รู้ เป็นความรู้สึก การอบรมสติ-
    ปัฏฐาน ต้องมั่นคงเสมอว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติปัฏฐานก็เป็นอนัตตาที่จะเกิด
    ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมหรือไม่ บังคับให้เกิดหรือไม่ให้เกิดก็ไมได้ แต่ที่สำคัญ
    เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้ว ต่างกับขณะที่สติไม่เกิดอย่างไร นี่จะต้องเป็นปัญญาของผู้ที่
    เกิดสติจริงๆ จึงสามารถแยกความแตกต่างระหว่างสติเกิดและไม่เกิดได้
    ดังนั้นสติปัฏฐานไม่ใช่เป็นอนัตตาเฉพาะตัวสติที่เกิดเท่านั้น แม้อารมณ์ของสติที่จะ
    ระลึกรู้ก็เป็นอนัตตา สติจะเลือกระลึกรู้เฉพาะเมื่อยก็ไม่ได้ แล้วแต่สติจะเกิดระลึกรู้อะไร
    สติปัฏฐานไม่ใช่การเจาะจง ไม่ใช่การคิดนึกแต่เป็นการรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่
    มีจริงในขณะนี้ โดยไม่เลือกเจาะจงสภาพธรรมใดเพระเป็นหน้าที่ของธรรมมไช่เรา
    การรู้จักอ่อน แข็ง จึงไม่ใช่การรู้จักโดยกายวิญญาณที่เกิดรู้โดยทั่วไป แต่เป็น
    การรู้จักโดยสติปัฏฐานที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ในขณะนั้น โดยรู้ว่าเป็น
    ธรรมไม่ใช่เรา การรู้อย่างนี้ชื่อว่าเป็นการรู้จักสภาพธรรมที่เป็นอ่อน แข็งที่แท้จริง จึงจะ
    เป็นการรู้จักด้วยปัญญานั่นเอง
    ควรทราบว่าอาบัติทั้งหลายมีโทษปิดกั้นการบรรลุนิพพานเฉพาะผู้ที่เป็นพระภิกษุ เมื่อ
    ลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์แล้ว อาบัตินั้นก็ไม่มี แต่เมื่อกลับเข้าไปบวชเป็นพระภิกษุอีก
    อาบัติที่เคยต้องในสมัยที่เคยบวชครั้งก่อนก็กลับมีเหมือนเดิม การนับวันที่ปกปิดก็นับ
    เฉพาะเวลาที่อยู่ในเพศพระเท่านั้น สรุปคือเวลานี้เป็นคฤหัสถ์ ไม่มีอาบัติแล้ว ไม่

    ควร กังวลเรื่องอาบัติ แต่ความดี คือ กุศลธรรมทั้งหลายควรกระทำทุกเมื่อ ไม่ว่าจะ
    อยู่ในเพศใด เวลาใด และวัยใด ก็ควรทำ
     

แชร์หน้านี้

Loading...