พระอริยะเป็นอย่างไร.. พระอรหันต์เป็นอย่างไร.. ??

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 14 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    [SIZE=-1]<center>พระอริยะเป็นอย่างไร.. พระอรหันต์เป็นอย่างไร.. ??
    อวกาศสีขาว / 18 สิงหา 50</center>

    ใ ค ร ไ ด้ ยิ น คํ า ว่ า พ ร ะ อ ริ ย บุ ค ค ล ..อาจคิดไปได้ว่าท่านคงจะแตกต่างไปจากปุถุชน แต่ไม่ใช่ในแง่ความเบาบางจากทุกข์ หากกลับคิดไปในแง่ว่า ท่านคงมีฤทธิ์มีเดชไม่เหมือนชาวบ้านตาดำๆ ทั่วไป พอเจออริยบุคคลเข้าจริงก็ไม่สามารถสัมผัสได้

    ..ที่จริง พระอริยบุคคลที่ยังดำรงขันธ์เป็นเพียงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ยิ่งไม่ใช่ฝ่ายมีอภิญญาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นคนธรรมดาที่แสนธรรมดา ยังมีจริตนิสัยเดิมติดตัวตามวาสนาที่ละไม่ได้ แต่เรื่องทุกข์นั้นละได้แล้วตามกำลังบารมี

    เป็นที่น่าคิดว่า คนส่วนใหญ่นอกจากจะศรัทธาพระสงฆ์เพราะผ้าเหลือง แล้วในคนทั่วๆ ไปที่เราอาจไม่ทราบว่าเขาเป็นพระแท้ผู้ขจัดกิเลสได้แล้วแต่ยังเป็นฆราวาส อยู่ จะมีใครทราบถึงคุณธรรมความน่าเชื่อถือของเขาหรือไม่ หากเขาไม่ใช่คนเด่นดังที่ทำงานเพื่อสังคมจนใครต่อใครรู้จัก เป็นเพียงคนธรรมดาๆ นี่จะมีใครนับถือไหม แต่ทำไมคนที่มีฤทธิ์มีเดชนี่ ต่อให้ขาดศีลขาดธรรมขาดปัญญา ผู้คนกลับแห่แหนไปกราบไหว้ให้ความศรัทธาเนืองนอง

    ตอนหลวงพ่อเทียน บรรลุธรรมนั้น ท่านสอนธรรมะแก่คนทั่วไปโดยยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ แต่งานดำเนินไปด้วยความยากและมีอุปสรรคมาก ผู้คนปรามาสมาก จนหลวงพ่อเทียนดำริจะบวชเพื่อให้ง่ายต่อการประกาศธรรมและจะยังประโยชน์ช่วย คนได้มาก ต้องอาศัยผ้าเหลืองช่วยให้คนยอมรับได้ส่วนหนึ่ง.. ส่วนพวกมีฤทธิ์หรือพวกทำตัวให้เด่นดังในสังคมนี่ต่อให้สอนธรรมแบบผิดๆ ทำไมคนยังแห่ตามกันเป็นริ้วขบวน หลงใหลตามเชื่อกันไป

    อริยบุคคลนั้น ธรรมดากว่าที่ใครๆ คาดคิด เป็นเพียงผู้เข้าใจจิตอันว่างไปจากอัตตา บางท่านหากไม่ได้พูดธรรมเสวนาธรรม หรือมีบุคลิกไม่สุภาพเรียบร้อยก็เป็นเพียงคนทั่วไป ไม่ได้มาแสดงอาการอวดอ้างความวิเศษของตัว ยิ่งในรายที่อริยบุคคลสอนธรรมไม่เก่งเท่าปุถุชนบางคน แม้คุณธรรมจะสูงกว่าเท่าใด คนทั่วไปก็ยากแก่การสังเกตเข้าใจ แต่กระนั้นพระอริยะก็เป็นผู้ไปด้วยดีแล้ว มีธรรมลึกซึ้งตามที่ท่านประสบมา คนทั่วไปอาจเข้าไม่ถึง เพราะแยกแยะระหว่างธรรมที่เป็นปัจจัตตังกับธรรมที่คนมีความรู้ทั่วไปกล่าว แสดงไม่ออก และถึงแม้นจะเป็นปุถุชนผู้มีศีลสมาธิปัญญาอันดีแล้วขนาดไหน ศีลสมาธิปัญญาของเขานั้นก็ยังต่างกับอริยบุคคลอยู่ เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นโลกียะกับโลกุตตระนั้นต่างกัน

    พระ อาจารย์มั่น : ศีล สมาธิ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติในภูมิกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร นี่แหละเป็นโลกีย์ที่เรียกว่าวัฏฏคามีกุศล เป็นกุศลที่วนอยู่ในโลก ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา ของท่านผู้ปฏิบัติตั้งแต่โสดาบันแล้วไป เรียกว่าวิวัฎฎคามีกุศล เป็นเครื่องข้ามขึ้นจากโลก นี่แหละเป็นโลกุตตระ

    อาจมีคน อยากบรรลุความเป็นอริยบุคคลด้วยกิเลสก็มี คืออยากจะมีจะเป็น โดยมัวแต่คำนึงถึงหลักปฏิบัตขั้นสูง พยายามศึกษาธรรมเพื่อความรู้มาก หลงตัวชอบสั่งชอบสอนคนอื่นทั้งที่ใช่ว่าตัวจะทำได้ แทนจะดับอัตตากลายเป็นเรื่องเพิ่มอัตตา จนขาดหลักความเข้าใจง่ายๆ คือมีความปกติทางจิตใจ รักษาสติกำหนดรู้จิตตน การศึกษาธรรมะถ้าสักแต่ว่ารู้ทว่าไม่ลงมือทำ ไม่ต่อสู้เอาชนะกิเลสตัวเอง คือเป็นการรู้แล้วก็เลือน แบบนี้ย่อมไม่แตกต่างจากการเล่าเรียนวิชาอื่นๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ เลขคณิต ฯลฯ รู้แล้วก็ลืมได้ แต่การจะเอาปริญญาทางธรรมให้ได้นั้นต่างจากวิชาอื่นๆ คือ ต้องปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่แค่รู้ ถ้าแค่รู้ ต่อให้มีผู้นับถือมากแค่ไหน ก็เป็นเพียงฉากจอมปลอมที่ทำให้ตัวเองมีแต่ทุกข์

    การจะเข้าถึง นิพพานนั้น หากเป็นคนไม่มีความกตัญญูธรรม หรือมีคุณธรรมศีลธรรมในใจ ไม่ปฏิบัติตามแนวทางอริยมีองค์แปดจริงๆ การรู้ธรรมะต่างๆ ไม่ว่าจะรู้ธรรมเรื่องอะไรก็ไม่มีความหมาย เพราะความรู้มากไม่ได้ช่วยให้ผ่านด่านดับกิเลสได้ การรู้แต่ปาก รู้แต่ความคิด อาจจะยิ่งเป็นการเสริมอัตตาให้แรงกล้า อวดดีจนเกินจะทำให้เข้าใจและปล่อยวางความยึดถือต่างๆ ที่เป็นอวิชชาลง

    พระอริยบุคคลในศาสนาพุทธนั้นมีสี่ขั้น ขั้นต้นคือพระโสดาบันและพระสกทาคามี ขั้นสูงคือพระอนาคามีและขั้นสูงสุดคือพระอรหันต์

    พระโสดาบันและพระสกทาคามี สามารถตัดอาสวะกิเลสสังโยชน์ได้สามข้อแรก คือ ละสักกายทิฏฐิ ทราบว่าตัวตนนั้นไม่มีจริง ละสีลัพพตปรามาส ไม่มีความสงสัยในเรื่องกฎกรรม-เชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้ามีจริง และละวิจิกิจฉา คือหมดความสงสัยว่าอะไรใช่ทางไม่ใช่ทาง ส่วนพระสกทาคามีนั้น จะตัดกิเลสราคะโทสะโมหะให้เบาบางลงไปมากกว่าพระโสดาบัน
    พระอนาคามี สามารถตัดอาสวะกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำได้ห้าข้อ เพิ่มอีกสองข้อจากพระอริยะขั้นต้น คือ ละปฏิคะ ตัดอารมณ์สะเทือนจากการถูกกระทบมีจิตหวั่นไหวได้ยาก และละกามราคะ ตัดจากกามารมณ์อันเป็นของเผ็ดร้อนและมีประโยชน์น้อย
    พระอรหันต์ สามารถตัดอาสวะสังโยชน์สิบ คือละสังโยชน์เบื้องสูงอีกห้าข้อสุดท้าย ซึ่งเป็นอารมณ์ความสุขอันละเอียด คือ รูปราคะ การติดใจในรูปฌาน อรูปราคะ การติดใจในอรูปฌาน มานะ ความถือตัว อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และอวิชชา ความหลงความไม่รู้จริง


    บทเสวนาธรรมระหว่างพระอาจารยมั่นกับพระธรรมเจดีย์
    ในรายละเอียดของการตัดสังโยชน์ของพระอริยเจ้าและพระอริยบุคคล (คัดมาบางส่วนเท่านั้น)


    พระ อาจารย์มั่น : ...ข้าพเจ้าเห็นว่าท่านที่ได้เป็นโสดาบันเสร็จแล้ว มีอัธยาศัยใจคอซึ่งต่างกับปุถุชน ท่านได้ละกามราคะพยาบาทส่วนหยาบถึงกับล่วงทุจริตซึ่งเป็นฝ่ายอบายคามีได้ คงเหลือแต่อย่างกลาง อย่างละเอียดอีก 2 ส่วน ภายหลังท่านเจริญสมถวิปัสสนามากขึ้น ก็ละกามราคะปฏิฆะสังโยชน์อย่างกลางได้อีกส่วนหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นว่านี่แหละเป็นมรรคที่ 2 ต่อมาท่านประพฤติปฏิบัติละเอียดเข้า ก็ละกามราคะพยาบาทที่เป็นอย่างละเอียดได้ขาด ชื่อว่าพระอนาคามี

    พระธรรมเจดีย์ : กามราคะพยาบาทอย่างหยาบถึงกับล่วงทุจริต หมายถึงทุจริตอย่างไหน ?

    พระอาจารย์มั่น : หมายเอาอกุศลกรรมบถ 10 ว่าเป็นทุจริตอย่างหยาบ

    พระธรรมเจดีย์ : ถ้าเช่นนั้นพระโสดาบันท่านก็ละอกุศลกรรมบถ 10 ได้ เป็นสมุจเฉทหรือ ?

    พระ อาจารย์มั่น : ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่ากายทุจริต 3 คือ ปาณา อทินนา กาเมสุมิจฉาจาร มโนทุจริต 3 อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฎฐินี้ละขาดได้เป็นสมุจเฉท ส่วนวจีกรรมที่ 4 คือ มุสาวาทก็ละได้ขาด ส่วนวจีกรรมอีก 3 ตัว คือ ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาป ละได้แต่ส่วนหยาบที่ปุถุชนกล่าวอยู่ แต่ส่วนละเอียดยังละไม่ได้ต้องอาศัยสังวรความระวังไว้

    พระธรรมเจดีย์ : ที่ต้องสำรวมวจีกรรม 3 เพราะเหตุอะไร ทำไมจึงไม่ขาดอย่างมุสาวาท ?

    พระอาจารย์มั่น : เป็นด้วยกามราคะ กับปฏิฆะ สังโยชน์ทั้ง 2 ยังละไม่ได้

    พระธรรมเจดีย์ : วจีกรรม 3 มาเกี่ยวอะไรกับสังโยชน์ทั้ง 2 ด้วยเล่า ?

    พระ อาจารย์มั่น : บางคาบบางสมัย เป็นต้นว่ามีเรื่องที่จำเป็นเกิดขึ้น ในคนรักของท่านกับคนอีกคนหนึ่ง ซึ่งเขาทำความไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องพูด ครั้นพูดไปแล้วเป็นเหตุให้เขาห่างจากคนนั้น จึงต้องระวัง ส่วนปิสุณาวาจา บางคราวความโกรธเกิดขึ้นที่สุดจะพูดออกไป ด้วยกำลังใจที่โกรธว่าพ่อมหาจำเริญแม่มหาจำเริญ ที่เรียกว่าประชดท่าน ก็สงเคราะห์เข้าใจผรุสวาจา เพราะเหตุนั้นจึงต้องสำรวม ส่วนสัมผัปปลาปนั้น ดิรัจฉานกถาต่างๆมีมาก ถ้าสมัยที่เผลอสติมีคนมาพูด ก็อาจจะพลอยพูดไปด้วยได้ เพราะเหตุนั้นจึงต้องสำรวม

    พระธรรมเจดีย์ : อ้อพระโสดาบันยังมีเวลาเผลอสติอยู่หรือ ?

    พระอาจารย์มั่น : ทำไมท่าจะไม่เผลอ สังโยชน์ยังอยู่อีกถึง 7 ท่านไม่ใช่พระอรหันต์จะได้บริบูรณ์ด้วยสติ

    พระธรรมเจดีย์ : ก็กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดนั้นหมายเอาแค่ไหน แลเรียกว่าพยาบาทดูหยาบมาก เพราะเป็นชื่อของอกุศล ?

    พระ อาจารย์มั่น : บางแห่งท่านก็เรียกว่าปฏิฆะสังโยชน์ก็มี แต่ความเห็นของข้าพเจ้าว่า ไม่ควรเรียกพยาบาท ควรจะเรียกปฏิฆะสังโยชน์ดูเหมาะดี

    พระธรรมเจดีย์ : ก็ปฏิฆะกับกามราคะที่อย่างละเอียดนั้นจะได้แก่อาการของจิตเช่นใด ?

    พระ อาจารย์มั่น : ความกำหนัดที่อย่างละเอียด พอปรากฏขึ้นไม่ทันคิดออกไปก็หายทันที ส่วนปฏิฆะนั้น เช่นคนที่มีสาเหตุโกรธกันมาแต่ก่อน ครั้นนานมาความโกรธนั้นก็หายไปแล้ว และไม่ได้นึกถึงเสียเลย ครั้นไปในที่ประชุมแห่งใดแห่งหนึ่ง ไปพบคนนั้นเข้ามีอาการสะดุดใจไม่สนิทสนมหรือเก้อเขิน ผิดกับคนธรรมดาซึ่งไม่เคยมีสาเหตุกัน ข้าพเจ้าเห็นว่าอาการเหล่านี้เป็นอย่างละเอียด ควรจะเรียกปฏิฆะสังโยชน์ได้ แต่ตามแบบท่านก็ไม่ได้อธิบายไว้

    พระธรรมเจดีย์ : สังโยชน์ทั้ง 2 นี้ เห็นจะเกิดจากคนโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากสิ่งของทรัพย์สมบัติอื่นๆ ?

    พระ อาจารย์มั่น : ถูกแล้ว เช่นวิสาขะอุบาสกเป็นพระอนาคามี ได้ยินว่าหลีกจากนางธัมมทินนา ไม่ได้หลีกจากสิ่งของทรัพย์สมบัติส่วนอื่นๆ ส่วนความโกรธหรือปฏิฆะที่เกิดขึ้น ก็เป็นเรื่องของคนทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องสิ่งของก็เกี่ยวข้องกับคน ตกลงโกรธคนนั่นเอง

    พระ ธรรมเจดีย์ : ส่วนสังโยชน์เบื้องต่ำนั้น ก็ได้รับความอธิบายมามากแล้ว แต่ส่วนสังโยชน์เบื้องบน 5 ตามแบบอธิบายไว้ว่า รูปราคะ คือ ยินดีในรูปฌาน อรูปราคะยินดีในอรูปฌาณ ถ้าเช่นนั้นคนที่ไม่ได้บรรลุฌาณสมาบัติ 8 สังโยชน์ทั้งสองก็ไม่มีโอกาสจะเกิดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้สังโยชน์สองอย่างนี้ ไม่มีหรือ ?

    พระอาจารย์มั่น : มี ไม่เกิดในฌาณ ก็ไปเกิดในเรื่องอื่น

    พระธรรมเจดีย์ : เกิดในเรื่องไหนบ้าง ขอท่านจงอธิบายให้ข้าพเจ้าเข้าใจ ?

    พระ อาจารย์มั่น : ความยินดีในรูปขันธ์ หรือความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ นั้นชื่อว่ารูปราคะ ความยินดีในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือยินดีในสมถวิปัสสนา หรือยินดีในส่วนมรรคผล ที่ได้บรรลุเสขคุณแล้ว เหล่านี้ก็เป็นอรูปราคะได้

    พระธรรมเจดีย์ : ก็ความยินดีในกาม 5 พระอนาคามีละได้แล้วไม่ใช่หรือ ทำไมจึงมาเกี่ยวกับสังโยชน์เบื้องบนอีกเล่า ?

    พระ อาจารย์มั่น : กามมี 2 ชั้น ไม่ใช่ชั้นเดียว ที่พระอนาคามีละได้นั้น เป็นส่วนกำหนัดในเมถุน ซึ่งเป็นคู่กับพยาบาท ส่วนความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับเมถุน จึงเป็นสังโยชน์เบื้องบน คือรูปราคะ ส่วนความยินดีในนามขันธ์ทั้ง 4 หรือสมถวิปัสสนาหรือมรรคผลชั้นต้นๆ เหล่านี้ ชื่อว่าอรูปราคะ ซึ่งตรงกับความยินดีในธัมมารมณ์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายเบื่อหน่ายในรูปขันธ์ หรือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ เป็นภายนอก จึงได้สิ้นไปแห่งรูปราคะสังโยชน์ และท่านเบื่อในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และสมถหรือวิปัสสนาะที่อาศัยขันธ์เกิดขึ้น เมื่อท่านสิ้นความยินดีในนามขันธ์แล้ว แม้ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์เกิดขึ้นท่านก็ไม่ยินดี ได้ชื่อว่าละความยินดีในธัมมารมณ์ซึ่งคู่กับความยินร้าย เพราะความยินดียินร้ายในนามรูปหมดแล้ว ท่านจึงเป็นผู้พ้นแล้วจากความยินดียินร้ายในอารมณ์ 6 จึงถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ฉะลังคุเบกขา


    ... จะเห็นได้ว่า การเป็นพระอริยะหรือเป็นพระอรหันต์หรือผู้ดับเพลิงทุกข์สิ้นเชิงนั้น ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับฤทธิ์กับเดชแต่ประการใด แต่เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ในบางครั้ง.. ผู้เขียนก็เคยสงสัยว่า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ฤทธิ์อภิญญาหรือมีความเป็นพระสัพพัญญูเจ้า จะมีคนนับถือพระพุทธองค์สักกี่คน ?? และถ้าหากจะพูดในกรณีที่พระอริยบุคคลทั้งสี่นี้ ไม่มีอภิญญาหก หรือวิชชาสาม ลำพังเพียงบุญฤทธิ์คือฤทธิ์ที่กำจัดอาสวะกิเลสไปเสียได้ จะมีผู้คนนับถือมากมายขนาดไหน ??

    นั่นก็เพราะพระอริยบุคคลไม่ได้วิเศษวิโสอะไรเลย เป็นแค่คนเข้าใจสัจธรรมด้านโลกและด้านธรรมขึ้นมา ได้เข้าไปเห็นความจริงของจิตอันไม่เป็นตัวเป็นตน นอกจากความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป สามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในชาติภพตัวตน ด้วยการเข้าใจหลักธรรมนี่เองนับเป็นบุญฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ กลายเป็นผู้เห็นทุกข์เข้าใจทุกข์และรู้ทางระงับทุกข์ลงเสียได้

    แต่โดยหมู่ชนทั่วไป จะมีใครที่ไหนให้ความสนใจว่าพระอริยะเป็นอย่างไร ถ้าให้ไปฟังธรรมกลับนึกเหนื่อยหน่ายไม่อยากรู้ไม่อยากเห็นไม่อยากได้ยิน ครั้นพอให้ไปกราบไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ผู้ทรงฤทธิ์ ก็นิยมแห่แหนตามกันไป เพราะอยากรู้อยากเห็น อยากรวย อยากมีโชคลาภ อยากสุขสมหวัง ทั้งที่ส่วนใหญ่หมดเนื้อหมดตัวไปกับสิ่งเหล่านี้ ความสมหวังเทียบไม่ได้กับความผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่า ทำไมฤทธิ์ราคาแพงที่ไม่ได้ทำให้ล่วงทุกข์กลับมีคนสนใจมากกว่า ส่วนฤทธิ์ในการเห็นธรรมชาติตามจริงและรู้หนทางดับทุกข์ว่ามี กลับเรียกศรัทธาคนได้ยาก หนำซ้ำบางคนรู้มาก วิ่งตามหาพระอริยะก็หาแต่พระอริยะขั้นสูงที่มีอภิญญา เพราะทราบว่าฤทธิ์ของพระอริยะแม่นยำและไม่เสื่อมอย่างปุถุชน

    ฤทธิ์เดชล้นฟ้าแต่ยังพ่ายกฎกรรม ไม่อาจหนีการตามล่าของพญามัฉจุราช ยิ่งใหญ่ปานใดแต่ก็ไม่อาจใหญ่กว่าโลง [/SIZE]
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    การดูพระอริยเจ้านั้นดูได้ยาก : พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ

    การ ดูพระอริยเจ้านั้น ส่วนมากจะสุ่มเดาตามกิริยาที่แสดงออกมาทางกายและวาจา การดูในลักษณะอย่างนี้ก็ยากที่จะถูกต้องได้ เพราะพระอริยเจ้ากับผู้ยังเป็นปุถุชนมีกิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและ วาจาเหมือน ๆ กัน ถึงท่านผู้นั้นจะได้บรรลุธรรมถึงขั้นเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม จะตัดนิสัยเดิมของท่านเองไม่ได้ นิสัยเป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น เช่น พระสารีบุตรในชาติก่อนมาเคยเป็นลิง นิสัยลิงก็ยังติดตัวมา ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงชอบกระโดดโลดเต้นอยู่เป็นนิสัย เห็นกิ่งไม้ใดพอจะกระโดดจับโหนตัวเล่นก็ต้องทำ หรือเห็นน้ำบ่อพอจะกระโดดข้ามได้ก็ต้องกระโดดไปมา จนพระองค์อื่นเห็นก็เกิดความแปลกใจ ทำไมพระสารีบุตรจึงแสดงในกิริยามรรยาทที่ไม่เหมาะสมอย่างนี้ ไม่สมศักดิ์ศรีที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระอรหันตสาวกข้าง ขวาของพระพุทธเจ้าเลย จึงมีพระองค์อื่นโจษขานกันขึ้นและเล่าเรื่องของพระสารีบุตรถวายแด่พระ พุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสัยเดิมของพระสาวกนั้นละไม่ได้ นิสัยเคยเป็นมาในอดีตมีอย่างไร การแสดงออกมาทางกายและวาจาก็ชอบแสดงออกมาอย่างนั้น ฉะนั้น

    จึงได้เปรียบนิสัยของพระอริยเจ้าและปุถุชนไว้ดังนี้
    ๑. น้ำลึกเงาลึก ๒. น้ำลึกเงาตื้น ๓. น้ำตื้นเงาลึก ๔. น้ำตื้นเงาตื้น
    ทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นวิธีตัดสินได้ยากมาก เพราะไม่มีญาณหยั่งรู้พิเศษเฉพาะตัว นอกจากจะสุ่มเดาไปเท่านั้น

    ข้อ ๑ คำว่า น้ำลึกเงาลึก หมาย ความว่า ท่านผู้นั้นมีคุณธรรมอยู่ในใจแล้ว และก็ยังมีนิสัยกิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจามีความสุขุมลุ่มลึก เป็นนิสัยเดิมของท่านเป็นมาอย่างนั้น ถ้าลักษณะอย่างนี้ก็พอจะเดาถูกบ้าง

    ข้อ ๒ คำว่า น้ำลึกเงาตื้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นมีคุณธรรมอยู่ภายในใจแล้ว แต่กิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจาไม่มีความสำรวมเลย อยากแสดงตัวอย่างไร อยากพูดอย่างไร ก็เป็นในความไม่สำรวมทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ผิดในพระธรรมวินัย ไม่มีอกิริยาภายในใจ แต่เป็นเพียงกิริยาที่แสดงออกมาเท่านั้น ถ้าหากไปพบเห็นผู้ที่ท่านเป็นนิสัยอย่างนี้ ก็จะเดาภายในใจไปเลยว่า ท่านผู้นี้ยังเป็นปุถุชนทันที เพราะมีนิสัยไม่น่าเคารพเชื่อถือได้เลย

    ข้อ ๓ ส่วน น้ำตื้นเงาลึก หมายความว่า ท่านผู้นั้นยังไม่มีคุณธรรมภายในใจ แต่กิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจานั้นมีความสุขุมลุ่มลึกมาก การสำรวมทางกาย การสำรวมทางวาจาน่าเลื่อมใส ใครได้พบเห็นแล้วจะเกิดความเชื่อถือเป็นอย่างมาก เพราะความบกพร่องในความชั่วร้ายในตัวท่านไม่มี ถ้าได้พบเห็นผู้ที่ท่านมีนิสัยอย่างนี้ ก็จะเดาไปว่าเป็นพระอริยเจ้าทันที

    ข้อ ๔ ส่วน น้ำตื้นเงาตื้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นยังไม่มีคุณธรรมภายในใจเลย กิริยามรรยาทการแสดงออกทางกายทางวาจาไม่มีความสำรวมแต่อย่างใด ทำไปพูดไปตามใจชอบ ถ้าหากพบเห็นท่านผู้ใดมีกิริยาการแสดงออกมาอย่างนี้ ก็จะพอเดาถูกอยู่บ้าง

    ถ้าจะดูนิสัยน้ำลึกเงาตื้น หรือดูนิสัยน้ำตื้นเงาลึก คิดว่าท่านจะต้องเดาผิดอย่างแน่นอน ฉะนั้น การสุ่มเดาว่าใครเป็นพระอริยเจ้า และใครเป็นปุถุชนนั้น จึงยากที่จะสุ่มเดาให้ถูกทั้งหมดได้ ถึงพระอริยเจ้าด้วยกันก็ยังไม่รู้ กันทั้งหมดได้ เช่น พระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันก็ยังไม่สามารถดูภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นพระ สกิทาคามี พระอริยเจ้าขั้นพระสกิทาคามีก็ไม่สามารถดูภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นพระ อนาคามีได้ พระอริยเจ้าขั้นพระอนาคามีก็ไม่สามารถดูภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นพระ อรหันต์ได้ แม้พระอรหันต์องค์ที่ท่านไม่มีญาณพิเศษส่วนตัว ก็ไม่สามารถรู้ภูมิธรรมขององค์อื่นได้ แต่เมื่อได้สนทนาธรรมกันแล้ว ท่านจะรู้ทันทีว่า ท่านผู้นั้นมีภูมิธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ทันที ในบาง กรณีพระอรหันต์ก็ย่อมรู้กันได้ หรือรู้ภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นอื่นได้ด้วย นั่นคือ เป็นผู้มีนิสัยเกี่ยวข้องกันมาในอดีต เคยสร้างบารมีร่วมกันมา และเคยร่วมสุขร่วมทุกข์กันมาหลายภพหลายชาติ ถ้าในกรณีอย่างนี้ก็พอรู้กันบ้าง ถึงจะรู้ท่านก็ไม่โฆษณา นอกจากว่าจะพูดเป็นนัย ๆ ให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดฟังบางโอกาสเท่านั้น เช่นว่า เพชรน้ำหนึ่งอยู่ที่โน้นที่นี้ หรือพูดว่า ท่านองค์นั้นมีสติดีแล้วนะ อย่างนี้เป็นต้น

    เมื่อศาสนาล่วงเลยมาจน บัดนี้แล้ว ความคิดเห็นของแต่ละท่านก็ย่อมมีความแตกต่างกันไป ดังได้ยินอยู่เสมอว่า ในยุคนี้สมัยนี้ ไม่มีพระอรหันต์เกิดขึ้นได้เลย เพราะหมดยุคหมดสมัยไปแล้ว ส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจกันอย่างนี้ แต่ก็ยังมีผู้เชื่อว่าในยุคนี้สมัยนี้ยังมีพระอรหันต์อยู่ แต่ก็มีน้อยองค์ จะนับเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาไม่ได้ ดังคำว่า เมื่อใดยังมีผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอยู่ เมื่อนั้นจะไม่ขาดจากพระอรหันต์ ถึงจะมีพระอรหันต์หรือพระอริยเจ้าขั้นอื่น ๆ น้อยก็ตาม ก็ยังนับว่ายังมีอยู่นั้นเอง

    ถ้าหากมีคำถามว่า ในยุคนี้สมัยนี้ถ้าหากยังมีพระอรหันต์อยู่จริง ว่าใครเป็นพระอรหันต์ ก็บอกแล้วว่าดูยากมาก ถ้าหากจะดูจริง ๆ ก็ดูอัฐิของหลวงพ่อต่าง ๆ ที่ถูกเผาไปก็แล้วกัน ถ้าอัฐินั้นได้แปรสภาพเป็นเม็ดใสเหมือนกับเมล็ดงา หรือมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หลักจากเผาไปแล้วไม่นานนัก นั้นแหละคือพระอรหันต์โดยแท้ ส่วนพระอนาคามี พระสกิทาคามี พระโสดาบัน อัฐิยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะมีกิเลสภายในใจละยังไม่หมด บางท่านยังเข้าใจว่า อัฐิได้แปรสภาพเป็นพระธาตุตั้งแต่ภูมิธรรมพระโสดาบันขึ้นไป

    ความเข้า ใจอย่างนี้ไม่มีประวัติในครั้งพุทธกาลเลย ถ้าเช่นนั้น พระโสดาบันผู้ที่จะไปเกิดอีก ๗ ชาติข้างหน้าโน้น แต่ละชาติภูมิธรรมก็ไม่ได้เสื่อมไปจากใจ เมื่อตายไปแต่ละชาติ อัฐิก็จะกลายเป็นพระธาตุทุกชาติไปอย่างนั้นหรือ บางท่านก็เข้าใจว่า การอธิษฐานให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุก็เป็นได้ นี้ความเข้าใจของคนเรา จึงมีความแตกต่างกันไป ดังได้ยินว่า อัฐิของหลวงปู่องค์นั้นได้แปรสภาพเป็นพระธาตุขึ้นมาแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งก็สวนขึ้นมาทันทีว่า เรื่องไร้สาระหาวิธีหลอกประชาชนให้งมงาย คนประเภทนี้ก็มีอยู่ในโลก ไม่ยอมรับความจริงจากใคร ๆ ไม่ว่าในยุคนี้หรือครั้งพุทธกาล แม้พระพุทธเจ้าของเรา ก็ยังมีคนอีกประเภทหนึ่งยังไม่เชื่ออยู่นั่นเอง

    ฉะนั้น ในโลกนี้จึงเกิดลัทธิขึ้นมาเป็นกลุ่มเป็นคณะ แต่ละกลุ่มแต่ละหมู่ก็พยายามปกป้องในกลุ่มตัวเองและปกป้องผลประโยชน์ของตัว เอง โจมตีกันไปว่าฝ่ายโน้นไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ไป ในที่สุดก็เกิดสงครามน้ำลายกัน หรือมากกว่านี้ก็ใช้เครื่องทุ่นแรง มีปืน มีระเบิดเข้าถล่มกัน ล้มตายกันไปทั้งสองฝ่าย ลักษณะอย่างนี้นับวันจะเกิดความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ นี่คือความแปรปรวนที่เป็นธรรมชาติของสัตว์โลกทั้งหลาย เมื่อถึงกาลเวลาแล้วจะต้องเป็นไปในตัวของมนุษย์เอง อาวุธทุกประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ก็เพื่อสังหารในหมู่มนุษย์กันเองมิใช่หรือ

    ฉะนั้น นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ปัญญาชนผู้มีเหตุผลเป็นส่วนตัว ก็พอจะเข้าใจแล้วว่า การเปลี่ยนไปในสังคมโลก จะเบี่ยงเบนไปในทางทิศใด ถ้าหากเราจะพิจารณาย้อนหลังลงไปสัก ๕๐ - ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาแล้ว มาเปรียบเทียบดูในสังคมยุคปัจจุบันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วให้คาดการณ์ล่วงหน้าไปอีกสัก ๑๐๐ - ๒๐๐ ปีข้างหน้า ก็จะรู้ว่าสังคมในหมู่มนุษย์ทั่วโลกย่อมมีการเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน

    ฉะนั้น ขอนักปฏิบัติทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต บุญกุศลใดที่เราจะพึงทำในขณะนี้ก็รีบทำเอาเสีย เพราะไม่รู้ว่าชีวิตเราจะหมดไปเมื่อไร เมื่อถึงวันนั้นแล้วจะปรับตัวไม่ทัน ดังเราเห็นกันอยู่ในขณะนี้เอง และบุญกุศลที่ได้พิมพ์หนังสือประวัติหลวงพ่อทูลในครั้งนี้ ขอจงเป็นพลวปัจจัยให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมในชาติปัจจุบันนี้เทอญ.

    คัดลอกจาก www.bloggang.com/viewdiary.php?id=whitespace&month=08-2007&date=18&group=8&gblog=31]Bloggang.com : whitespace :
     
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    กำลังสมาธิในการบรรลุธรรม
    อวกาศสีขาว / 12 เม.ย. 50​

    ใ น ศ า ส น า พุ ท ธ จำแนกพระอริยะ เป็น 2 แบบ 4 ประเภท คือพระเสขะ ผู้ที่ยังต้องศึกษาต่อ มีพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอเสขะ ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาแล้ว มีพระอรหันต์

    กำลังสมาธิในการบรรลุธรรมนั้น * พระโสดาบันและพระสกทาคามี ใช้เพียงอุปจารสมาธิเป็นขั้นต่ำ * ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ ใช้ปฐมฌานเป็นขั้นต่ำ

    นี่ เป็นสาเหตุที่พระอริยะจำนวนมากมายไม่มีฤทธิ์ เพราะผู้ได้ฤทธิ์อภิญญา จะต้องเป็นผู้คล่องในฌานสี่หรือสูงกว่าในขั้นอรูปฌาน พระอริยะเมื่อเห็นปรมัตถธรรมแล้ว ก็ไม่ค่อยนำพาต่อฤทธิ์เท่าใดนัก เพราะไม่ใช่ทาง นอกจากจะมีจริตฝักใฝ่เพื่อใช้ฤทธิ์ในประโยชน์ต่อไป

    แม้จะเห็นว่าการบรรลุธรรมนั้นใช้สมาธิเพียงอุปจารสมาธิในอริยบุคคลขั้นต้น แต่อุปจารสมาธิก็ใช้ว่าจะเจริญได้ง่าย ยิ่งในยุคนี้.. ที่ผู้คนจิตใจฟุ้งซ่านไปด้วยความวิตกกังวล หรือลุ่มหลงไปกับความศิวิไลซ์ ทำให้ผู้ถึงธรรม นับวันจะน้อยลงไปทุกขณะ ทั้งที่ความรู้เรื่องศาสนาพุทธ มีให้ศึกษามากมาย เทียบกับสมัยก่อนแล้ว ไม่มีตำรา เพียงตั้งใจฟังพระพุทธเจ้าครั้งเดียว ก็สามารถเข้าสู่กระแสธรรมได้ แต่ตอนนี้ ทั้งตำรามากมาย เครื่องรางของขลังช่วยเหลือมีไม่จำกัด แต่ก็ดูเหมือนศาสนาพุทธจะกลายไปเป็นเพียงความรู้เสริมสมอง กลายเป็นพระเครื่องเฟื่องฟู หรือเป็นการนับถือพระนับถือเจ้าเพื่อวิงวอนร้องขอ ไม่ต่างไปจากศาสนาฮินดูเท่าไหร่

    ธรรมะ ไม่ได้มีในผู้รู้แค่ตำรา บางคนเขียนหนังสือธรรมะวางขายไม่ใช่น้อย แต่ไม่สามารถหยุดใจให้ปล่อยวางได้ ทุกข์ไปกับราคะ-โทสะ-โมหะเสียจนเกินงาม เพราะธรรมะแต่มีเฉพาะนักปฏิบัติเท่านั้น ใครไม่รู้ตำราเลย แต่มีศีลมีธรรม หมั่นทำใจให้ว่าง แต่ไม่เขลาเบาปัญญา นั่นแล เป็นพุทธแท้

    ก า ร เ จ ริ ญ ส ติ - ส ม า ธิ หรือภาวนา-สมาธิ หรือที่เรียกในสมัยก่อนว่า “สมาธิ-ภาวนา” ซึ่งนิยมมาเรียกกันว่า “วิปัสสนา” กลายเป็นวิปัสสนากรรมฐานที่มีหลายสำนักปฏิบัติ เปิดเป็นกรรมฐานรูปแบบต่างๆ ให้เลือกปฏิบัติได้ตามจริต ใครชอบอานาปานสติผสมการเคลื่อนไหว ก็ไปสายพองยุบได้ หรือไม่ชอบหลับตา ก็ไปสายแนวหลวงพ่อเทียนที่เน้นการเคลื่อนไหว โดยมีการคิดค้นท่าการเคลื่อนไหวที่ลงตัวเอาไว้ให้ปฏิบัติแล้ว

    สมาธิ หมายถึง จิตใจแน่วแน่เป็นหนึ่ง ไม่แตกซ่าน จดจ่ออยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
    สติสัมปชัญญะ ทำงานร่วมกัน นิยมพูดด้วยคำสั้นๆ ว่าสติ ซึ่งก็หมายถึงสติสัมปชัญญะนั่นเอง สติ – หมายถึงการระลึกรู้ , สัมปชัญญะ – หมายถึงรู้ตัวทั่วพร้อม ...การเจริญสติ จึงหมายถึงทำความระลึกได้และรู้ตัวได้ ไม่หลงลืมตัวว่าทำอะไรอยู่หรือหลงตามความคิดไปไกลตัว การเจริญสติหรือการภาวนานั้น เป็นการกำหนดรู้รูปและนามด้วยการระลึกและรู้ตัวให้ได้โดยตลอด เสมือนเป็นการแต่งตั้งตัวรู้(สติ) เฝ้าตามรู้ตัวเอง รักษาไม่ให้ตกลงไปเป็นทาสอารมณ์กิเลส ที่เข้ามาจู่โจมตามความเคยชิน ที่เราทำมาอย่างคุ้นเคย จนกลายเป็นอนุสัยนอนเนื่อง ที่พร้อมปะทุขึ้นมาได้ทันที หากขาดสติ

    การทำกรรมฐานแนววิปัสสนา มีทั้งแบบสมถวิปัสสนากรรมฐาน และแบบวิปัสสนากรรมฐาน

    สมถวิปัสสนากรรมฐาน ..ที่จริงสมถกรรมฐานมีมานานก่อนศาสนาพุทธ หลังจากพุทธถือกำเนิด และใช้คำว่าวิปัสสนาแทนความหมายว่ากำหนดรู้เห็นตามจริง นำมาใช้ในสมถกรรมฐาน เท่ากับเป็นการต่อยอดกรรมฐานจากภูมิสมถะยกขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา คือกำหนดเห็นตามจริงหลังจากที่มีกำลังสมาธิสูงมากพอดูแล้ว ต่างจากวิปัสสนาล้วน ที่กำหนดรู้รูปนามไปด้วยสติ จนสมาธิจากขณิกะมีกำลังตามขึ้นมาเอง เข้าสู่อุปจารสมาธิหรือขั้นฌานได้ด้วยสติ ยิ่งการภาวนามีกำลังมากขึ้นเท่าใด สมาธิแก่กล้าขึ้นเท่าใด กำลังในการประหารสังโยชน์อาสวะกิเลสก็มากขึ้นตามนั้น

    วิปัสสนากรรมฐาน ..หรือการมีสติกำหนดรู้เห็นธรรมชาติตามจริง เป็นการกำหนดจิตให้อยู่กับกายและจิตเอง ไม่ฟุ้งซ่านไปกับความคิด (จิตที่ปรุงกิเลสตัณหาอุปาทาน) เพื่อให้จิตนี้เห็นรูป-นามตามธรรมชาติของมัน ว่ามีการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป เป็นทุกข์ ทั้งรูปและนามไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ได้เป็นของเรา เมื่อจิตกำหนดได้ต่อเนื่องมากขึ้น สติไม่วอกแวก สมาธิมีการจดจ่อต่อเนื่อง จากขณิกะสมาธิ ก็เข้าสู่อุปจารสมาธิ หรือเข้าสู่ฌานสมาธิได้ แต่จะถึงฌานสี่หรือไม่แล้วแต่บุคคล เพราะการเข้าออกฌานสี่สามสองหนึ่ง ไม่ยากเกินไปสำหรับผู้ที่คล่อง พูดง่ายๆ วิปัสสนานั้น หากกำหนดดีๆ ต่อเนื่องไม่ขาดสาย สมาธิก็จะมีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ

    สำหรับสมถะ -วิปัสสนา สมาธิมีกำลังมาก่อน ส่วนวิปัสสนานั้น สติมาก่อน เรียกว่าเมื่ออริยมรรคสมังคีพร้อมที่จะประหารกิเลสนั้น ตัวอริยสมาธิก็จะมีกำลังเสมออริยมรรคตัวอื่นๆ ในภายหลัง เพราะขณิกสมาธินั้น (สงบชั่วคราวแล้วถอนขึ้นมา) เป็นสมาธิทีละขณะ ไม่ต่อเนื่อง ฟุ้งซ่านไปกับเรื่องราวต่างๆ จึงขาดกำลัง แต่หากกำหนดสติให้ดีจนต่อเนื่อง สมาธิย่อมมีกำลังสูงขึ้นจนไปถึงอุปจารสมาธิหรือฌาน เพื่อนำมาใช้พิจารณาธรรมได้ ใช้ในการประหารกิเลสได้ วิปัสสนาจึงใช้ขณิกสมาธิให้เป็นประโยชน์ ด้วยการกำหนดรู้รูปนามอย่างต่อเนื่องจนมีกำลังขึ้นมาในภายหลัง

    บุคคล ที่มีสมาธิดี จึงเป็นผู้มีกำลังดี ขาดแต่ปัญญาอีกเพียงน้อย ส่วนบุคคลที่มีปัญญา หรือเจริญสติได้ดี จึงเป็นผู้ที่ต้องการกำลังสมาธิอีก เมื่อกำหนดตามรู้กายและจิตดีๆ มีสมาธิในการจดจ่อไม่ฟุ้งไป สมาธิก็จะรวมมีกำลังในภายหลังเพื่อนำมาใช้งานได้ (สมาธิ ทุกประเภทพึงทราบว่าเป็นเครื่องหนุนปัญญาได้ตามกำลังของตน คือสมาธิอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็หนุนปัญญาอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเป็นชั้นๆไป แล้วแต่ผู้มีปัญญาจะนำออกใช้ – หลวงตามหาบัว)

    การบรรลุธรรม หรือตัดขาดจากสันโยชน์สิบนั้น จะต้องหลุดจากกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน อันเป็นม่านมายาปิดปังความจริง ซึ่งจะต้องเจริญสติต่อเนื่องจนขาดจากการปรุงแต่งทางความคิดสิ้นเชิง (ความคิดดับ-ที่จริงคือขันธ์ดับ) เรียกมรรคสมังคีคืออริยมรรคมาประชุมเสมอกันในการประหารกิเลส หรือจะเรียกว่ามีอินทรีย์แก่กล้าคือมีเบญจพลเสมอกันในการประหารกิเลส หรือจะเรียกว่ามีศีล-สมาธิ-ปัญญาสมบูรณ์จึงประหารกิเลส หรือที่เรียกว่าเจริญสติปัฏฐานสี่ครบรอบจนทำอาสวะให้สิ้นไป ก็ได้


    ผู้บรรลุธรรม (อรหันต์) มีกี่ประเภท
    เรียบเรียงจากหนังสือ พุทธธรรม - ท่านประยุทธ์ ปยุตโต
    หน้า 296 – 297


    พระอรหันต์ผู้แจ้งในธรรมนั้น มี 2 แบบ 6 ประเภท
    2 แบบคือ 1. เป็นพระปัญญาวิมุต 2. เป็นพระอุภโตภาควิมุต

    1. พระปัญญาวิมุต คือผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ท่านผู้มุ่งบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น ไม่มีความสามารถพิเศษ ไม่ได้โลกียอภิญญา 5 จำแนกได้ดังนี้
    ก. พระสุขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค
    ข. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานสี่อย่างน้อยขั้นหนึ่ง ก่อนเจริญวิปัสสนาให้บรรลุอรหัตตผล
    ค. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 คือทรงปัญญาแตกฉาน 4 ประการ
    1) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชาแจ้งเจนในความหมาย
    2) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชาแจ้งเจนในหลัก
    3) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ปรีชาแจ้งเจนในภาษา
    4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ แจ้งเจนในความคิดทันการ

    2. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่าผู้พ้นโดยส่วนทั้งสอง คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติและหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นการหลุดพ้นสองวาระ คือด้วยวิกขัมภะ ข่มไว้ด้วยฌาน และด้วยสมุจเฉท ตัดกิเลสด้วยปัญญา จำแนกได้ดังนี้
    ก. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้โลกียวิชชา โลกียอภิญญา
    ข. พระเตวิชชะ เป็นอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม
    1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณอันเป็นเหตุระลึกได้ซึ่งขันธ์เคยอาศัย คือระลึกชาติได้
    2.จุตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายตามกรรม หรือเทียบได้กับทิพพจักขุ
    3.อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปในอาสวะทั้งหลาย คือความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
    ค. พระฉฬภิญญะ เป็นอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหก
    1.อิทธิวิธี ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    2.ทิพพโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์
    3.เจโตปริยญาณ ญาณที่กำหนดรู้ความคิดนึกในใจของคนและสัตว์ได้
    4.ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
    5.ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้เกิดตาทิพย์
    6.อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
    ง. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ เป็นพระอรหันต์ประเภทพระอุภโตภาควิมุตและบรรลุปฏิสัมภิทา 4

    รวมพระอรหันต์ 6 ประเภท ดังนี้
    1. พระสุขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค
    2. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานสี่อย่างน้อยขั้นหนึ่ง ก่อนเจริญวิปัสสนาให้บรรลุอรหัตตผล
    3. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้โลกียวิชชา โลกียอภิญญา
    4. พระเตวิชชะ เป็นอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม
    5. พระฉฬภิญญะ เป็นอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหก
    6. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4

    พระอรหันต์ที่เป็นทั้ง พระฉฬภิญญะและปฏิสัมภิทัปปัตตะ นับว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนครอบคลุมทั้งหมด

    คัดลอกจาก www.bloggang.com/viewdiary.php?id=whitespace&month=04-2007&date=18&group=8&gblog=18]Bloggang.com : whitespace : . . .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2010
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    [SIZE=-1]<center>มรรควิถีของพระอริยะ
    อวกาศสีขาว / 25 กันยา 50</center>

    . . . . . มรรค เส้นทาง ทางที่มุ่งไปสู่จุดหมายหรือผลลัพท์ของทางนั้น ส่วนผล หรือเป้าหมาย คือจุดหมายปลายทางของเส้นทาง เป็นประดุจรางวัลอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับหลังภารกิจในการเดินทางนั้นจบสิ้นลง โดยไม่หลงทาง . . .

    ใครหลายคนอาจนึกอยากเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ไม่สะเทือนกับโลก เป็นผู้มีจิตนิ่งประดุจภูผา ไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ใดๆ ..หรือไม่ ก็อยากเป็นพระโสดาบัน เพราะเป็นผู้เข้าถึงกระแส มีทิฏฐิดีแล้ว มีความเห็นชอบดีแล้วในระดับหนึ่ง สะเทือนกับโลกน้อยลง มีแต่จะเจริญขึ้น ในทางที่จะก้าวไปสู่ความจริงสูงสุด คือ ไปนึกเอาถึงผลหรือจุดหมายปลายทาง หวังจะได้ผลแทนจะออกเดินทางไปหาผล

    แต่คนเราหากไม่เดินทาง ..ย่อมไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง การนึกเอา-ปรารถนาเอา-ฝันเอา แล้วบอกว่าจะได้จะเป็น มันก็เป็นได้ แต่เป็นได้แค่ฝันแค่ปรารถนาแค่นึกเช่นกัน บางคนออกเดินทางจริงแต่เดินไปในอีกทาง หลงทาง แต่ทั้งคนที่นึกเอาปรารถนาเอาและคนที่หลงทาง กลับมั่นใจว่าตนมาถึงจุดหมายปลายทาง จะเห็นได้ว่าคนที่คิดว่าตนเป็นพระอริยะนี่มีจำนวนไม่น้อย ไปหวังเอาผล ศึกษาผล รู้ผล อยากได้ผล แต่ไม่รู้ทาง.. อาจเพราะยังรักอัตตาไว้อย่างเหนียวแน่น อยากจะเป็นพระอริยะขึ้นมาเพราะอัตตา หากถ้าจะให้ปล่อยอัตตาจริงๆ จะทำได้หรือเปล่า ?

    มรรคญาณผลญาณของพระ อริยะเกิดขึ้นได้จริงๆ เมื่อลงมือเดินทางจริง คือปฏิบัติจริง การเดินทางนี่ไม่ใช่เดินเล่นๆ แต่ต้องเอาจริง เดินให้ถูกทาง อริยมรรคนี่มีอยู่ แค่คิดฝันแล้วอ้างว่าจิตมีพลังจะทำให้เกิดผลอะไรแบบนั้นมันหลงทางนะ ฤทธิ์เดชนี่ก็ทำลายกิเลสไม่ได้ คือการบรรลุธรรมนี่ ไม่ได้กลายเป็นคนวิเศษขึ้นมา แล้วก็ไม่ได้บรรลุถึงสิ่งใดเลย นอกจากดับกิเลสไป

    และหากจะตัดกิเลสนั้นต้องใช้ สติ-สมาธิ-ปัญญา หรือที่จริงก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา คือมีกำลังทั้งห้าพร้อม แล้วคนจะมีกำลังได้ก็ต้องออกกำลังบ่อยๆ คือลงมือทำจริง มรรคนี่ต้องเจริญบ่อยๆ ทำให้แจ้ง คือ อริยมรรคมีองค์แปด สัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ..หมั่นเจริญแล้วมันต้องมีกำลังขึ้นมา อริยมรรคนี่ถ้าทำแล้วก็ต้องมีกำลังอย่างอริยะ

    อริยมรรคมีองค์แปดหรือศีลสมาธิปัญญาหรือสติปัฏฐานสี่นี่ เอง ที่จะสร้างกำลัง ไม่ใช่ไปทำบุญแล้วมาทำบาป ช่วยพระแล้วมาด่าคนอะไรแบบนั้น ไม่ได้ประโยชน์ นอกจากขึ้นๆ ลงๆ ตามภพภูมิไม่รู้จบ เดี๋ยวขึ้นสวรรค์เดี๋ยวลงนรก ไม่ได้เป็นกุศลคือหลุดจากการเวียนว่าย เมื่อไม่ได้เข้าทางเข้ามรรคมันก็จะไม่เกิดผล หรือไปหวังเอาผลแล้วไม่ลงมือทำ แล้วผลมันจะเกิดได้อย่างไร อริยมรรคนั้นต้องพากเพียร สติอย่าให้ขาด ปัญญาก็จะเกิด

    ไม่ใช่อยากเป็นพระโสดาบันเพราะจะได้มีศีลห้าบริบูรณ์ แต่กลับไม่เจริญมรรค แทนที่จะรักษาศีลคือลงมือทำก่อน เพราะเห็นโทษในการผิดศีลซึ่งทำให้เกิดกิเลสอย่างหยาบ ทั้งฆ่ากันทำร้ายกันลักขโมยกันผิดคู่กันโกหกกันขาดสติ รังแต่จะทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์มาก เพราะเห็นโทษแบบนั้น ก็ข่มใจไม่ผิดศีล ไม่มุสา เป็นผู้รักษาสติ ตั้งใจจะไม่ผิดศีลไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เดินทางก่อน เจริญมรรคก่อน พอถึงจุดนึงจิตมันมีกำลังประหารกิเลส ผลมันต้องได้ กลายเป็นพระโสดาบันมีศีลรักษาตัวเองขึ้นมา คือมีความเป็นปกติ ..ชีวิตไม่เดือดร้อนเพราะผิดศีล

    หรือไม่ใช่อยากเป็นพระสกทาคามี เพราะจะให้กิเลสราคะโทสะโมหะลดลง แต่เพราะเห็นโทษของการผิดศีลและโทษของกิเลสที่รุนแรง ก็ตั้งสติ เอาชนะกิเลสตัวเองให้ได้ ไม่ใช่เอาชนะคนอื่นด้วยกิเลสของตัว แต่ต่อสู้กับกิเลสของตัว เอาชนะความโกรธโลภหลงของตน มรรคของพระสกทาคามีเกิดขึ้นในใจ พอวันนึงจิตมันมีกำลังพร้อมเพราะเจริญมรรคบ่อยเข้า กำลังมันก็สมังคีประหารกิเลสไป กิเลสแห้งไป ผลมันก็ต้องเกิด คือเป็นพระสกทาคามีขึ้นมา

    แล้วไม่ใช่อยากเป็นพระอนาคามีเพราะจะได้ไม่มีกามราคะหรือเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กับโลก แต่เป็นเพราะเห็นโทษของกามว่าเป็นของร้อน เห็นโทษของความมีอารมณ์หวั่นไหวไปกับโลก เดี๋ยวหวาดกลัว กลัวตาย กลัวนั่นกลัวนี่ ชีวิตมีแต่ความกลัว เดี๋ยวพอใจไม่พอใจ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวชอบชัง หงุดหงิดรำคาญใจราวคนบ้า หาความสงบมั่นคงในใจไม่ได้ คนรักษาอารมณ์ไม่ได้ก็ต้องเต้นไปตามกิเลสตัวเอง เป็นทุกข์ร้อนใจมิได้ขาด เมื่อเห็นดังนี้ ก็หมั่นเจริญมรรคสูงขึ้น มีสติรอบคอบในการรักษาอารมณ์ไม่ให้หลงโลก เมื่อเจริญมรรคละเอียดขึ้น กำลังพร้อมเมื่อไหร่มันก็ประหารกิเลสตัณหาได้ เป็นผู้ไม่มีกามไม่มีปฏิฆะ เป็นพระอนาคามีขึ้นมา

    สุดท้าย.. ไม่ใช่อยากเป็นพระอรหันต์เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ดับกิเลสได้หมด แต่เพราะเบื่อในความไม่บริสุทธิ์ ยังมีกิเลสยังไม่พ้นการเกิด เห็นโทษในวัฏฏะสังสารอันนองไปด้วยน้ำตา มีความเกิดแก่เจ็บตายไม่เที่ยง มีความพลัดพรากโศกเศร้าเสมอ จึงหาทางพ้นไปจากการเกิด แม้นแต่สังโยชน์เบื้องสูงอันน่ายินดี คือความสุขในรูปราคะและอรูปราคะ ก็ไม่ปรารถนา ความถือตัวก็ไม่ปรารถนา มีสติในการปล่อยวางเครื่องร้อยรัดใจอยู่เสมอ เมื่อมีสติบริบูรณ์ มรรคญาณมีกำลังมาก กิเลสตัณหาทั้งมวลก็ประหารได้ขาด หมดอาสวะกิเลสสิ้นเชิง เป็นผู้มีอิสระเหนือโลก ไม่มีความยินดีในโลกแห่งทุกข์อีก เป็นผู้บริสุทธิ์เหนือบุญบาป

    พุทธพจน์ "ดูก่อนอานนท์ บุคคลใดจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิบัติธรรมถูกทาง ปฏิบัติตามตรงตามเป้าหมายแท้จริง บุคคลนั้นชื่อว่าสักการะ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม"

    หากมีการเดินเข้ามรรค เข้าทางถูกแล้ว ย่อมเห็นสมมุติสัจจะอันไม่เที่ยง เมื่อเข้าใจสมมุติสัจจะแจ่มแจ้ง ก็ย่อมทะลวงเข้าสู่ปรมัตถ์สัจจะได้ หลุดจากสมมุติได้

    เพราะความที่เห็นสมมุติสัจจะจนเบื่อหน่าย จิตก็เจริญอริยมรรคบ่อยๆ ในกรรมฐานก็ดี นอกกรรมฐานก็ดี หากเจริญมรรคจนถึงขั้นจิตทรงตัวอยู่ในอารมณ์โคตรภูญาณ คือมีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ทว่ายังอยู่ระหว่างสองฝั่งคือโลกียะกับโลกุตตระ ส่วนจะข้ามฝั่งไปยังโลกกุตตระได้หรือไม่นี่ ย่อมอยู่ที่มรรคญาณจะกล้าแกร่งและมีกำลังประหารกิเลสหรือไม่ ถ้ากำลังไม่พร้อมก็ข้ามไปไม่ได้ แต่ถ้าเจริญสติต่อเนื่องมีกำลังพร้อมขึ้นมาเมื่อไหร่ แค่เสี้ยววินาทีมันได้ทันที คืออริยมรรคสมังคีนี่ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม กิเลสมันถูกประหารขาดได้ตามกำลัง ทุกที่ทุกเวลาทุกอิริยาบถ

    ส่วน ผลญาณคือจะเป็นอริยบุคคลขั้นไหนนี่ มันก็ตามแต่กำลังของมรรคญาณที่เจริญมานั่นเอง บางคนนั่งสมาธิภาวนาอยู่ก็อาจได้เห็นผลญาณคือจิตสว่างไสวที่ขาดจากสังโยชน์ เพราะยังทรงตัวอยู่ในโลกุตตระฌาน แต่ถ้าเดินอยู่ หรืออยู่ในอิริยาบถทั่วไป ก็รู้สึกได้ว่าตัวมันเบา-จิตมันเบา กิเลสมันวูบขาดไป มันมีแต่วิชชาปัญญาเข้ามาแทน ถ้าขนาดตัดสังโยชน์สิบได้ขาดหมดนี่ มันเหมือนกับหลุดจากมายาภาพทั้งปวง มีแต่ความประจักษ์แจ้ง พิจารณาธรรมได้เข้าใจตลอดสาย ถ้าเป็นอริยะชั้นต้น มันก็เข้ากระแสนิพพาน ความเข้าใจมันเกิดขึ้น ความเห็นชอบคิดชอบมันก็ตามมา


    หมายเหตุ - ที่จริง.. ว่าจะเอาอาการดับ(สมุทเฉท)จากกิเลสในรูปแบบต่างๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มาลงให้ทราบ แต่เพื่อนเอาหนังสือพุทธธรรมของท่านธรรมปิฎกไป เลยไม่มีข้อมูลค่ะ

    ..


    อารมณ์ฌานโลกุตตระ - หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    (คัดย่อมาเพียงบางส่วน)


    โลกุตตระ หมายความว่า ความเป็นพระอริยเจ้า

    สำหรับพระอริยเจ้า 2 ขั้น คือ พระ โสดาบันกับพระสกิทาคา ทั้ง 2 ท่านนี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้มีปัญญาเล็กน้อย แล้วก็มีสมาธิเล็กน้อย แต่เป็นผู้มั่นอยู่ในศีล เป็นผู้ทรงอธิศีล

    คำว่า อธิ นี่แปลว่า ยิ่ง หรือว่า ใหญ่ หรือว่าทับทรงอธิศีล ก็หมายความว่า ทรงศีลอย่างยิ่ง ที่ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด หรือ สำหรับพระโสดาบัน มีอะไรบ้าง ถ้าว่ากันตาม สังโยชน์ ก็คือ
    1. สักกายทิฏฐิ 2. วิจิกิจฉา 3. สีลัพพตปรามาส

    พระสกิทาคามี ก็มีเท่ากัน สำหรับปัญญาในด้านข้อ 1 สักกายทิฏฐิ เห็นไม่ลึก ยังเห็นตื้น ๆ นั่นก็คือว่ามีความรู้สึกอยู่อย่างเดียวว่า การเกิดเป็นทุกข์ การทรงชีวิตอยู่นี่มันเป็นทุกข์ และในที่สุดชีวิตของเราก็จะต้องตาย ท่านที่เป็นพระโสดาบัน ท่านไม่ลืมความตาย แต่ไม่ใช่ว่านึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก และข้อที่ 2 วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาตัวนี้ พระโสดาบันไม่สงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอันว่า มีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง มีความเคารพในพระธรรมจริง มีความเคารพในพระอริยสงฆ์จริง มีความมั่นคงในพระรัตนตรัยทั้ง 3 ประการ และข้อที่ 3 สีลัพพตปรามาส พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี สามารถทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์สมบูรณ์แบบ หมายความว่าไม่มีเจตนาเพื่อจะละเมิดศีล 5 แค่ศีล 5 เท่านั้นนะ ตามแบบสังโยชน์ท่านกล่าวไว้ว่า พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีนี่ก็เป็นแค่ตัดสังโยชน์เบา ๆ ได้ 3 และใช้ปัญญาเบา ๆ คือ มีความรู้สึกว่าร่างกายมันจะต้องตาย

    แต่ว่าในอารมณ์ของการปฏิบัติ นั่นตามหนังสือนะ อารมณ์ของการปฏิบัติก็มีความรู้สึกตามนั้นจริง แค่ว่าพอจิตของเราจะก้าวออกจากโลกียฌาน เข้าสู่โลกุตตระ เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า ตอนนี้จิตจะต้องเข้าสู่ โคตรภูญาณ ก่อน คำว่า โคตรภูญาณ ก็หมายถึงว่า มีอารมณ์อยู่ในระหว่างท่ามกลางโลกียะกับโลกุตตระ ตอน นี้ก็เห็นจะไม่ต้องอธิบายมาก เพราะมันจะเผือ เครื่องสังเกตง่าย ๆ สำหรับโคตรภูญาณ ใจของเรามีความรู้สึกว่า เราจะต้องตาย ตายเมื่อไหร่ก็เชิญ ในเมื่อเรามีที่พึ่ง คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เรามีศีล 5 บริสุทธิ์ เราก็ไม่หนักใจในด้านที่มันจะต้องตาย เพราะ ตายอย่างน้อยเราก็ไปสวรรค์ แต่ว่าถ้าจะถึงสวรรค์อย่างเดียวแล้วกลัวลงอบายภูมิ นี่เราไม่ต้องการ

    ฉะนั้น อารมณ์ของท่านที่ปฏิบัติเพื่อที่จะเข้าถึงพระโสดาบัน พอจิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ตอนนี้จะมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง นั่นคือ จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ใครจะมาพูดถึงพรหมก็ดี พูดถึงสวรรค์ก็ดี และความเป็นใหญ่ในเมืองมนุษย์ มีความใหญ่โต มีความร่ำรวยก็ดี จิตไม่พอใจ ไม่ใช่โกรธแต่ก็ไม่เต็มใจ จิตตั้งใจอย่างเดียว คือ ต้องการพระนิพพาน นี่พูดในแนวของสุขวิปัสสโก

    ถ้าพูดในแนวของวิชชาสาม วิชชาสามมี ทิพจักขุญาณเป็นเบื้องต้น พอจิตเข้าถึงโคตรภูญาณ ตอนนี้กำลังของวิชชาสามจะเห็นพระนิพพานแจ่มใสชัดเจนมาก ถ้าจิตยังไม่เข้าถึงโคตรภูญาณ มองพระนิพพานเท่าไหร่ก็ไม่เห็น จะเห็นได้ก็แค่พรหม นี่เป็นเครื่องวัด สำหรับท่านที่ได้อภิญญา ถ้ากำลังจิตยังไม่เข้าถึงโคตรภูญาณ ไปถึงพระนิพพานก็ไม่ได้ ถ้ากำลังจิตนั้นเข้าถึงโคตรภูญาณไปถึงพระนิพพานก็ไม่ได้ ถ้ากำลังจิตนั้นเข้าถึงโคตรภูญาณขึ้นไป สามารถ ไปถึงพระนิพพานได้ นี่เป็นเครื่องวัด ต่างกันนะ

    ที่พูดเมื่อกี้นี้ เป็นแนวของสุขวิปัสสโกว่า ถ้าจิตเข้าถึงโคตรภูญาณ จิตจะมีความรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าจิตเข้าถึงพระโสดาบันปัตติผล จิตรักพระนิพพานด้วย อารมณ์ธรรมดาก็มีขึ้นมาอีกจุดหนึ่ง ถูกด่า ถูกว่า ถูกนินทา มันสะเทือนน้อย สะเทือนเหมือนกัน ยังมีความโกรธเหมือนกัน แต่มันโกรธช้าหรือไม่มันโกรธเบากว่าปกติ อันนี้ท่านเรียกว่า พระโสดาบัน หรือ พระสกิทาคามี

    ต่อมาก็จุดสำคัญอีกจุดหนึ่ง ก็คือ พระอนาคามี สำหรับพระอนาคามี มีจุดสังเกตที่ง่าย ๆ อยู่จุดหนึ่ง จุดที่เราจะสังเกตง่ายที่สุดคือว่า จิตใจของบุคคลใดถ้าก้าวเข้าไปสู่ในเขตของพระอนาคามี จิตของพวกนั้นมีความต้องการศีล 8 และมีการรักษาศีล 8 เป็นปกติ นี่เป็นก้าวแรกของพระอนาคามี และเราจะรู้ตัวได้เลยว่า จิตมันจะพอใจในศีล 8 เป็นปกติ ใครเขาจะมาแนะนำว่า ใครรักษาศีล 8 อดข้าวหนึ่งเวลา ทำให้สุขภาพไม่สมบูรณ์ พวกนี้ไม่ยอมรับฟัง มีความพอใจในศีล 8 และทรงศีล 8 ได้เป็นปกติ นี่ถือว่าก้าวเข้าเขตของพระอนาคามี

    สำหรับพระอนาคามี พระพุทธเจ้าตรัสว่า จะต้องทรงอธิจิต คือ หมายความว่า จะต้องทรงจิตถึงฌาน 4 การเดินมาจากพระโสดาบัน สกิทาคา จะเป็นพระอนาคามีนี่เป็นของไม่หนัก เพราะว่าจิตมันทรงตัวแล้ว เรื่องฌาน 4 เป็นของไม่ยาก สำหรับท่านที่ฝึกมโนมยิทธิ ได้แล้ว นั่นแหละฌาน 4 ที่ไปโน่นไปนี่ได้น่ะ ไปด้วยกำลังของฌาน 4 ซึ่งเป็นของไม่หนัก เมื่อจิตทรงถึงฌาน 4 แล้ว พระอนาคามีต้องตัดกิเลสอีก 2 ตัว ตัดกิเลสตัวสำคัญ คือ
    1. กามฉันทะ ความพอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย ความสัมผัสระหว่างเพศ และรวมความว่าการครองคู่อยู่ด้วยกันในฐานะสามี ภรรยา
    2. ความโกรธ ความ พยาบาท ถ้าหากการก้าวเข้ามาจากพระโสดาบัน สกิทาคา ก็เป็นของไม่ยาก เพราะตอนเป็นพระสกิทาคามี ความโกรธมันเบาบางมาก ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จิตมันให้อภัยเร็ว ที่ เรียกว่า อภัยทาน

    เมื่อจิตมันทรงอารมณ์จริง ๆ ความโกรธมันก็สลาย มีตัวเมตตาเข้ามาแทน ในเมื่อกำลังใจตัดความรักในระหว่างเพศได้ พระอนาคามีเป็นเครื่องสังเกตไม่ยาก ก้าวแรกที่จะเข้ามาถึง นั่นคือ ศีล 8 และก้าวที่สองที่เข้ามาถึง ก้าวนี้ต้องดูก่อน ไม่แน่ว่าใครจะถนัดขนาดไหน บางคนก็หันมาตัดโทสะก่อน บางคนก็หันไปตัดราคะก่อน ในด้านราคะให้สังเกตดูว่าความรู้สึกระหว่างเพศไม่มีเลยสำหรับพระอนาคามี และต่อมาเรื่องของความโกรธ จริง ๆ มันก็ไม่มีอีกนั่นแหละ แต่การแสดงว่าจะโกรธมันมีอยู่ อย่างคนผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ที่เราปกครองคน ถ้าบุคคลประเภทนั้น ถ้าเขาทำความผิดนอกคำสั่ง เห็นว่าจะเสียถ้าเตือนดี ๆ ไม่รับฟัง ก็แสดงท่าเหมือนโกรธ ถ้าขืนทำอย่างนี้จะลงโทษให้สาหัส ถ้าขืนทำจริง ๆ ก็จะต้องลงโทษตามระเบียบวินัยตามกฎข้อบังคับที่วางไว้ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นอารมณ์โกรธ

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับท่านที่ได้มโนมยิทธิ เวลาจะก้าวเข้าสู่พระนิพพาน พยายามตัดขันธ์ 5 ให้เด็ดขาด ไม่สนใจกับความรัก ไม่สนใจกับความโกรธ ไม่สนใจกับความโลภ ไม่สนใจกับวัตถุธาตุใด ๆ ทำอารมณ์ใจให้ผ่องใส แล้วพยายามขึ้นไปบนพระนิพพาน อารมณ์ตอนนั้นเป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ แต่เราอาจจะไม่เป็นอรหันต์ แต่ว่าเป็นอรหันต์เฉพาะจุดในเวลานั้น

    แต่ก็ยังดี ถ้ามันเป็นทุกๆ วัน ไม่ช้ามันจะชิน ถ้ามันชินมันก็เกาะติด ถ้าหากจะถามว่า อารมณ์ใจเมื่อเข้าถึงอนาคามี อารมณ์ยังกระสับกระส่ายอยู่ไหม ขอบอกว่ายังมีอยู่ การเจริญสมาธิจิต ตัวแทรกก็ยังมีอยู่ อารมณ์ที่แทรกเข้ามามันเป็นอารมณ์ของกุศลอย่างเดียว อกุศลไม่มี

    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน เที่ยวนี้ก็พูดถึงอารมณ์ของการปฏิบัติแต่โดยย่อ ขอให้ทุกท่านจงจำไว้ จะได้เป็นกำลังใจหรือเป็นบันไดแห่งการปฏิบัติ หากท่านสงสัยก็ทบทวนดูใหม่ให้เข้าใจ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี
    [/SIZE]<!-- End main-->
    www.bloggang.com/viewdiary.php?id=whitespace&month=09-2007&date=25&group=8&gblog=33]Bloggang.com : whitespace :
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กุมภาพันธ์ 2010
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เหตุแห่งความจริงสองประการ
    อวกาศสีขาว




    ใน สรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ไม่ได้ยืนยันว่า ปรมัตถธรรมเป็นความจริงแท้ และ สมมุติธรรมเป็นความไม่จริง เพียงแต่เป็นมุมมองสองด้านในสิ่งๆ เดียว

    ใน ศาสนาพุทธ ศาสนาแห่งผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน องค์พระศาสดาสอนเรื่องความจริงแห่งโลกมีเพียงสองประการเท่านั้นคือ สมมุติสัจจะและปรมัตถสัจจะ


    สมมุติสัจจะ บัญญัติธรรม หรือความจริงทางบัญญัติ
    คือ การบัญญัติสรรพสิ่งขึ้นเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจกัน เช่น นายแดงนางดำ พลเอกอาทิตย์ กำนันสมศักดิ์ คุณหญิงรัศมี คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ป่า น้ำ วันจันทร์ อังคาร พุธ เวลาเช้า เวลาเย็น พระจันทร์ ดวงดาว ฯลฯ

    เหล่า นี้ทำให้เกิดเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาขึ้นมา และทำให้คิดว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง และจะว่ามีอยู่จริงก็เพราะเป็นความจริงที่ถูกเรียกขาน แต่ทว่าก็ไม่ได้มีอยู่จริง เพราะที่จริง มีการเกิดและดับไปตามกฎธรรมชาติ นายแดงตอนเด็กไม่ใช่นายแดงตอนวัยรุ่นหรือตอนแก่ สภาพเดิมไม่อาจคงทนอยู่ มีความแปรปรวนทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้และสูญหายผันแปรไป แต่จะว่าไม่มีอยู่จริงก็ไม่ได้ เพราะหากเหตุปัจจัยทางวิบากกรรมยังไม่ดับไป ก็เป็นกระแสต่อเนื่องจากเหตุหนึ่งไปสู่อีกเหตุหนึ่ง (สันตติ) ต้องมาชดใช้ตามกรรมที่สร้าง เป็นเหตุทำให้เราคิดว่าสิ่งนั้นมีอยู่ เพราะมองไม่เห็นถึงกฎไตรลักษณ์ มองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกขณะของสิ่งต่างๆ ที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเท่านั้นเอง จักรวาลที่เราอาศัยอยู่ก็ไม่พ้นกฎนี้ เกิดขึ้นดับไปและเกิดขึ้นมาใหม่ เป็นวัฎฎะหมุนวนไม่สิ้นสุด ซึ่งเป็นไปตามกระแสกรรม

    มนุษย์เองก็เป็น เพียงจิตที่เดินทางอยู่ในวัฎฎะสังสารของการเกิด ตามกระแสกรรมหรือกรรมวิบาก หากไม่ยุติการสร้างกรรม ก็เลี่ยงไม่พ้น หนีไม่ได้ วนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ตามการปรุงแต่งของกิเลส มีสภาพเป็นไปตามกรรม

    แม้ เรื่องกรรมวิบาก จะเป็นหนึ่งในอจินไตยสี่ (คือ ๑. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๓. วิบากแห่งกรรม ๔. ความคิดเรื่องโลก (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ข้อ ๗๗)) คือไม่อาจเข้าไปถึงรายละเอียดของกรรมบางเรื่องซึ่งมีกลไกซับซ้อนยากจะรู้แท้ ว่าเป็นเช่นใด แต่ก็พอสามารถจำแนกเป็นความเข้าใจง่ายๆ ว่า เรื่องกรรมนั้น หากทำดีก็ไปเกิดในสุคติภูมิ ทำชั่วก็ไม่เกิดในอบายภูมิ วนอยู่ในสามโลกคือสวรรค์โลกมนุษย์และนรกก็เพราะบุญบาปเป็นปัจจัยนี่เอง

    การ หลุดพ้นจากการเกิดนั้น ต้องทำลายอวิชชาหรือความหลงผิดในตัวตนลง ละวางอุปาทานการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ทำลายตัณหาและดับอาสวะกิเลสทั้งมวล ด้วยการละชั่วทำดีทำจิตให้บริสุทธิ์ คือต้องวางทั้งบุญและบาป อยู่เหนือลักษณะของทวิภาวะทั้งชั่วดี

    แต่ การจะหลุดจากการเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ทำให้การเดินทางในสังสารวัฎฎ์อันยาวนานเสมือนการเดินเข้าสู่ป่ารกชัฏที่หา ทางออกได้ยาก อาจมีการตระเตรียมแผนการเพื่อความสะดวกเอาไว้ให้ตัวเองบ้าง หรือใครหลายคนเรียกว่าเตรียมเสบียงบุญไว้ใช้ในโลกหน้า หากยังทำแต่กุศลไม่ได้คืออยู่เหนือบุญบาปไม่ได้ ละวางบุญบาปไม่ได้ในทันที ก็ต้องพยายามทำดีหรือทำบุญให้มากกว่าทำไม่ดีหรือทำบาป แม้นเรื่องบาปบุญนี้มีแต่จะสร้างภพชาติให้ไม่สิ้นสุด แต่สุคติภูมิก็ยังดีกว่าอบายภูมิ เฉกเช่นความสบายบนโลกก็ยังดีกว่าความลำบากบนโลก ส่วนการทำบุญโดยไม่หวังบุญนั้นนอกจากจะได้บุญมาก ยังเป็นกุศลเหนือบุญด้วย

    หาก แต่การจะหลุดการเวียนว่ายนั้นยากนัก ก็เพราะจิตส่วนใหญ่พอขึ้นก็หลง-พอลงก็สำนึก ขาลงก็ทำบุญจนมาเกิดในที่ดี แต่พอขาขึ้นก็หลงระเริงจนสามารถตกล่วงลงไปได้อีก สำหรับพุทธศาสนาเรื่องบุญบาปจึงเป็นแค่เรื่องเปลือก บางคนไปทำดีมาก็เที่ยวบอกอวดใครต่อใครให้อนุโมทนาบุญ แต่เรื่องทำชั่วนี่ไม่บอก แทบไม่มีประโยชน์อะไรถ้าทำดีแล้วยังทำชั่วอยู่ เพราะยังหนีอบายไม่ได้ ล่วงจากสุคติก็ไปสู่ทุคติ หักล้างกันไม่ได้

    แต่ เรื่องสติปัฏฐานสี่ เรื่องสมาธิภาวนา หรือเรื่องปัญญานี่เป็นเรื่องหัวใจ เพราะสามารถทำลายอวิชชาลงได้ เป็นเรื่องกุศลเหนือบุญบาปหรือเหนือวัฏฏะวนนั่น หลุดจากการเกิดในสามโลก 31 ภพภูมิ

    กิเลส-ตัณหา-อุปาทาน
    *โดยกิเลสสามคือราคะโทสะ โมหะนั้น จิตสามารถก่อกิเลสอย่างหยาบคือผิดศีลห้า(ต้องทำลายสังโยชน์สามข้อแรกได้จึง จะพ้นกิเลสหยาบนี้) และก่อกิเลสอย่างกลาง(ต้องทำลายสังโยชน์ห้าข้อแรกจึงจะพ้นกิเลสอย่างกลาง นี้) อย่างละเอียด(ต้องทำลายสังโยชน์ทั้งสิบจึงพ้นอาสวะกิเลสทั้งหมด)
    *และสิ่งที่ร้อยรัดให้มนุษย์ตกอยู่ในห้วงของการเกิดคือตัณหาสาม มีกามตัณหาภวตัณหาและวิภวตัณหา
    *ส่วน อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น ก่อให้เกิดภพภูมิไม่สิ้นสุด (ตามหลักปฎิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ (ชรา-มรณะ-โสกะ-ปริเทวะ))


    ปรมัตถ์สัจจะ ปรมัตถธรรม หรือความจริงทางปรมัตถ์
    คือความจริงแท้ไม่แปรเปลี่ยน มีลักษณะของตนโดยไม่ใช่ตัวตน มี 4 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    มนุษย์เรานั้น ประกอบด้วย จิต เจตสิก รูป

    1-จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์
    2-เจตสิก เป็นธรรมชาติที่ปรุงจิต มีทั้งฝ่ายโสภณจิตคือดีงาม 25 ดวง ฝ่ายอกุศล 14 ดวง และฝ่ายอัญญสมานาคือกลางๆ 13 ดวง รวมเป็นเจตสิก 52 ดวงที่เข้าไปปรุงจิต
    3-รูป เป็นธาตุ28 ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย คือ มหาภูตรูป4 ปสาทรูป5 โคจรรูป3 สัททรูป1 ภาวรูป2 หทยรูป1 ชีวิตรูป1 อาหารรูป1 ปริจเฉทรูป1 วิญญัติรูป2 วิการรูป3 และลัขณรูป4 ..โดยรูปนั้นต้องอาศัยการเกิดจาก กรรม(กรรมชรูป18) จิต(จิตตชรูป15) อุตุหรืออุณหภูมิ(อุตุชรูป13) และอาหาร(อาหารชรูป12) - [สามารถศึกษาได้จากอภิธรรมปิฎก]

    ..ในเวลาเราเข้ากรรมฐานเจริญสมาธิ ภาวนา เมื่อกำหนดจิตตามรู้อารมณ์และร่างกายอย่างตรงไปตรงมา ทำให้แยกผู้รู้คือจิตที่ตามรู้ กับอารมณ์คือจิตที่เสวยอารมณ์ที่เข้ามากระทบ จึงเห็นการทำงานของนามกับรูปเท่านั้น คือเข้าไปเห็นปรมัตถสภาวะตามจริง ว่ามีจิตและร่างกายทำงานร่วมกัน จิตนี่เองที่มีสภาพของการรู้เห็นอย่างตรงไปตรงมาเรียกว่าผู้รู้ และจิตนี่เองที่พลั้งเผลอเอากิเลสมากำหนดให้เป็นปัจจัยสร้างภาพมายาว่าเป็น เช่นนั้นเช่นนี้ หรือที่เรียกว่าอวิชชา คือรู้ในสิ่งที่ไม่ใช่จริง รู้ไปตามที่คิดยึดไป หากมีการตามรู้เท่าทันการปรุงแต่งจิต จะเกิดปัญญา และเห็นว่าการคิดดีคิดร้ายอย่างไรนั้นสามารถทำได้ตามอารมณ์...

    ความ เข้าใจเรื่องตัวตนว่าไม่ได้มีจริงจึงเกิดขึ้น เห็นแต่ความไม่มีตัวไม่มีตน หาใช่เราเขาสัตว์สิ่งของแล้ว สามารถเห็นแจ้งไปถึงเหตุแห่งการปรุงแต่งและที่มาของการเกิดว่าเป็นเช่นนั้น ความเป็นไปอย่างนั้น เพราะเหตุปัจจัยอย่างนั้นๆ เป็นเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นๆ ..

    เพราะอวิชชามี อวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร สังขารเป็นปัจจัยของวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยของของสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยของผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยของตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยของอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยของภพ ภพเป็นปัจจัยของชาติ ชาติเป็นปัจจัยของ ชรา มรณะ ความพลัดพราก ความคับแค้นใจไม่ได้ดังใจ ฯลฯ

    ปรมัต ถธรรมเป็นธรรมที่อยู่เหนือสมมุติธรรม เป็นการเห็นสภาวะตามจริงของสรรพสิ่ง(ธรรมทั้งหลาย) ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ด้วยการมาประชุมกันตามเหตุปัจจัยในขณะหนึ่ง แล้วเสื่อมไปสลายไปด้วยเหตุปัจจัยเก่า หากไม่สร้างเหตุปัจจัยใหม่ ก็ไม่มีเหตุแห่งการเกิดใหม่ ไม่มีเหตุของการมารวมกันครั้งใหม่ ทุกข์ที่ตามมาจากการเกิดก็ไม่มีปัจจัย เพราะไม่มีปัจจัยในการสร้างตัวตนของการยึดถือ

    จึงเห็นว่าแท้แล้ว สมมุติธรรมนั้น เกิดขึ้นเพียงเพราะเข้าไปมั่นหมายว่าเป็นตัวตน(อัตตา) จากการมาประชุมทางปรมัตถ์สภาวะด้วย-รูป-จิต-เจตสิก หากเห็นธรรมชาติตามจริงด้วยสภาพปรมัตถธรรมที่มาประชุมกันนี้-หาได้มีความ เที่ยง-ทนอยู่ไม่ได้-หาตัวตนไม่ได้(อนิจัง-ทุกขัง-อนัตตา) การสำคัญมั่นหมายก็หมดไป (ดับอวิชชาหรือความรู้ในทางที่ผิด) เพราะทราบแล้วว่า เหตุแห่งการประชุมของรูปขันธ์นามขันธ์เหล่านี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้น (ปฏิจจสมุปบาท) เป็นแต่เพียงการสืบเนื่องของเหตุปัจจัยหรือสังขธาตุเท่านั้น ย่อมแจ้งทุกสิ่งแล้วว่า เป็นเพียงอนัตตาหรือสุญญตา มิได้เป็นอัตตาหรือเป็นอยู่จริง คือว่างไปจากโลกจากอัตตา

    อนัตตาหรือ สุญญตา มิใช่ว่างเปล่าหรือไม่มีสิ่งใด แต่ในสภาพของขันธ์ห้านั่นแหละที่ว่าง ไม่มีอยู่จริง มีสภาพเสื่อมไป ดับไป หาตัวตนมิได้ สักแต่ว่าเป็นสิ่งว่าง (ขอบคุณธรรมทานจากท่านเสถียรโพธินันทะ)

    4-นิพพาน หรือโลกกุตระภูมิ ที่อยู่เหนืออัตตาและอนัตตา(สุญญตา)
    ไม่ ว่าจะพิจารณตัวเรา ตัวเขา หรือพระพุทธเจ้า ให้ดีให้ถ่องแท้แล้วนั้น ย่อมเห็นแต่เป็นของว่าง มิได้มีความเที่ยงหรือมีอยู่จริง เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อหมดเหตุปัจจัยย่อมดับไป ส่วนการดับไปอย่างสิ้นเชิงของขันธ์ห้านี่เองที่เรียกว่านิพพาน คือมีสภาพวิมุตติ เป็นอสังขตธาตุ หมดเชื้อการเกิด จึงอยู่เหนือทั้งสภาพตัวตน(อัตตา) และมิใช่ตัวตน(อนัตตา) เป็นโลกกุตระภูมิปรมัตถสภาวะ เหนือโลกียภูมิปรมัตถสภาวะ (..ไม่รู้จะเขียนอย่างไรให้ไม่สับสน คือเป็นสภาพปรมัตถ์หนึ่ง แต่ไม่ตกอยู่ในเหตุแห่งการเกิด..)

    www.bloggang.com/viewdiary.php?id=whitespace&month=02-2008&date=08&group=8&gblog=36]Bloggang.com : whitespace :
     

แชร์หน้านี้

Loading...