พลังมหัศจรรย์ วัตถุมงคลหลวงพ่อกวย อยากให้มีไว้ใช้

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย MOUNTAIN, 20 มีนาคม 2006.

  1. gunta

    gunta Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +90
    เข้ามาสนับสนุนพี่ tongn005 ด้วยคนครับ พระชุดที่คุณ spiderman นำรูปมาให้ชมผมก็เห็นตอนที่เจ้าของพระนำมาลงประมูลเหมือนกัน ต้องคิดในใจไว้ก่อนเลยว่าพระแปลกๆ ของหลวงพ่อต้องหนีให้ไกลๆ ก่อน ยังมีอีกหลายรุ่นที่มีประวัติการสร้างชัดเจน ต้องไม่โลภ(เพราะพระที่ลงประมูลไม่แพงมาก) แต่ลองสังเกตุพระหลวงพ่อที่นำมาลงที่ไม่มีประวัติชัดเจนที่คนนำมาลงประมูลส่วนมากเนื้อหาค่อนข้างจัดดูสวยเก่าแก่มวลสาร ทำให้ล่อตาล่อใจพวกเราเหลือเกิน ต้องใจแข็ง พยายามไม่ให้หลงทางนะครับ
     
  2. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    ผมนำมาให้ชมนะครับ เพื่อสมาชิกทุกท่านจะได้ไม่ถูกหลอกจากคนที่นำมาให้ประมูล ทุกท่านอย่าเข้าใจผิดนะครับว่าผมเป็นเจ้าของ เอามาจากเว๊ปที่เค้าให้ลิ้งค์เข้าไปเลยเอามาฝากทุกท่านเป็นวิทยาทาน ไม่หลงกลคนพวกนี้
     
  3. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    ที่ผมดูน่าจะมีแหวกม่านองค์เดียวที่น่าจะแท้ครับ ใครคิดเห็นต่างกัน แนะนำกันนะครับ เป็นประโยชน์กับศิษย์หลวงปู่กวยทุกท่าน
     
  4. Paravatee

    Paravatee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +2,978
    ผมส่งที่อยู่ให้แล้วนะครับ พี่ tongn005 ส่งให้ทางเมล์ครับ
    ขอบพระคุณพี่มักๆๆเลยครับ
     
  5. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    วันที่ 7 เป็นวันพฤหัส สงสัยต้องลางานไปแล้วครับ ขอบคุณมากครับพี่วุฒิพร ที่มาบอกข่าวครับ
     
  6. Paravatee

    Paravatee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +2,978
    ขอความเมตตาช่วยวัดสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ให้แก่ภิกษุสามเณร

    ขออนุญาติพี่ๆๆ นำข่าวมาประชาสัมพันธ์หน่อยนะครับ ขอความเมตตาช่วยวัดสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ให้แก่ภิกษุสามเณร

    เผอิญวันนี้เพิ่งกลับมาจากวัดธรรมิกาวาส (วัดคังคาว) เห็นวัดกำลังสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมบาลีให้กับภิกษุสามเณรซึ่งจะได้สอนเณร 2 หลักสูตร คือให้เณรได้เรียนทั้งปริยัติธรรมบาลี และได้เป็นทั้งโรงเรียนกศน. สำหรับช่วยเด็กที่มาบวชเป็นเณร เพราะพ่อแม่ไม่มีเงินส่งให้เรียน จะได้เรียนทั้งพระธรรมบาลี และได้เรียนทั้งหลักสูตรสำหรับเด็กประถมที่ควรจะมี พอสึกจะได้มีความรู้ติดตัวเอาไปทำมาหาเลี้ยงตัวเองได้บ้าง เนื่องจากชาวบ้านแถวนั้นเท่าที่ดู บางคนไปทำไร่ทำนา พ่อแม่ก็มักให้ลูกมาบวชเป็นเณรอยู่กับวัดจะได้ไม่ต้องดูแล ไม่ได้ส่งให้ไปเรียนตามโรงเรียนสามัญกะเค้า เพราะไม่มีเงินส่งให้เรียน ที่วัดก็ดูแลให้ เห็นแล้วก็สงสาร

    ทางวัดจึงทำกฐินเพื่อหาเงินมาสร้างโรงเรียน ( เห็นแล้วน่าสงสารมาก ) ใครจะช่วยบริจาค 20 ,30 บาทก็ยังดี ถือว่าช่วยๆๆกัน อนึ่งถ้าช่วยตั้งแต่ 100 บาท ทางวัดก็จะมอบวัตถุมงคลหลวงพ่อเฒ่าให้ ,เหรียญหลวงพ่อเฒ่า 12 ราศี เป็นการตอบแทน, เงิน 100 บาทก็มีค่ามากนะครับสำหรับชาวบ้านธรรมดาๆๆแถวนั้น ตอนนี้รูปหล่อขนาดห้อยคอที่วัดหมดไปนานแล้ว ส่วนลพ.เฒ่าวัดคังคาวรุ่นใหม่ล่าสุดของปัจจุบัน แต่ตอนนี้ที่วัดจะหมดแล้วครับ ของที่นี่เสกมาเท่าไรก็หมดเท่านั้นอะครับ เพราะที่วัดทำมาน้อยเหลือเกิน และแต่ละรุ่นมีประสบการณ์ทั้งนั้น วัดนี้ดูแล้วไม่ได้หากำไร และเป็นวัดที่เป็นวัดจิงๆๆครับ

    ใครจะเอาซองกฐินไปช่วยกันรวบรวมเงินสร้างโรงเรียน จากเพื่อนร่วมงาน ก็ลงชื่อไว้ได้นะครับ ผมกะจะไปรวบรวมเงินจากเพื่อนๆๆ เหมือนกัน 20-30 บาท รวมๆๆกันเข้าก็เป็นร้อย เป็นพันได้เหมือนกัน

    หรือถ้าพี่ๆๆ สนใจร่วมทำบุญแต่ไม่สามารถไปทำบุญที่วัดได้ ก็ทำได้ที่ บัญชี: RUNGROT CHITL เลขที่บัญชี 097-2-24979-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยบิ๊กซีสะพานควาย พร้อมแจ้งชื่อที่อยู่ เวลาที่โอนเครื่อง ATM จำนวนเงินนะครับ ในกรณีตั้งแต่ 100 บาท ทางวัดจะมอบวัตถุมงคลหลวงพ่อเฒ่าให้ ผมจะจัดส่งให้ครับ แต่ช่วยค่าส่ง 10 บาทในกรณีติดแสตมป์ และEMS ช่วย 50 บาทครับ แต่ถ้ามารับเองสามารถรับได้ที่อนุเสารีย์ครับ ** สามารถรับวัตถุมงคลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปครับ

    P.S. ผมไม่ได้รู้จักหรือสนิทกับพระที่วัดนี้เท่าไรนัก และไม่เคยมีใครที่ไหนมาให้วัตถุมงคลหรือเคยไปเป่าอะไรกะคัยยังไง ไปก็แค่ไปไหว้รูปปั้นหลวงพ่อเฒ่า เอากล้วยไปให้ลิงกิน ซื้ออาหารปลาที่ริมสระถุง 5 บาท ถุงใหญ่ 10 บาท ให้ปลากิน นั่งเล่นชมธรรมชาติ แต่วันนี้ที่เห็นสงสารจิงๆๆ เลยหยิบเรื่องนี้มาเล่า

    รูปแรกเป็นภาพวัด,
    รูปสองเป็นลิงสมัยหลวงพ่อเฒ่านำลิงมา 1 คู่ ต่อมาขยายพันธ์เยอะมาก,
    รูปสามเป็นรูปหล่อขนาดเล็กห้อยคอที่หมดไปแล้ว ,
    รูปสี่เป็นภาพล็อกเก็ตหลวงพ่อเฒ่าวัตถุมงคลปัจจุบัน แต่ตอนนี้กำลังจะหมดแล้วเหมือนกัน - -"

    เบอร์โทรวัดธรรมิกาวาส Tel.0-5648-4024 ,mobile Phone: 0-6008-0856

    กำหนดการวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2549 ตั้งองค์กฐินสามัคคี
    วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2549 ถวายภัตตาหารเพลแด่ภิกษุสามเณรและถวายผ้าป่าสามัคคี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 180504A81.jpg
      180504A81.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26 KB
      เปิดดู:
      3,154
    • 180504A82.jpg
      180504A82.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.1 KB
      เปิดดู:
      3,049
    • ansPic_68630_1.jpg
      ansPic_68630_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      329
    • Pic_9900_1.jpg
      Pic_9900_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99 KB
      เปิดดู:
      255
  7. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    สมาชิกท่านใดพอมีรูปหล่อลอยองค์ ขนาดห้อยคอหลวงปู่เฒ่า (วัดคังคาว) แบ่งให้เช่าบูชา บ้างมั้ยครับ ผมไปที่วัด หลายรอบแล้วก็ยังไม่มีครับ ท่านใดกรุณาให้เช่าบูชา จะขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ
     
  8. CheKuvara

    CheKuvara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,460
    ค่าพลัง:
    +19,342
    เพิ่งกลับมาจาก ชัยนาท ไปวัดเ้มื่อวันเสาร์ ก็ไปกราบหลวงพ่อ แล้วคิดว่าจะไปสักกับลุงล่วน ซึ่งผมได้กราบหลวงพ่อและบูชาวัตถุมงคลรุ่นปี 39 สมใจ รูปหล่อ 5 นิ้วเนื้อทองเหลืองยังมีอีก 3 องค์แต่มีคนจองหมดแล้ว ตอนนี้ยังเหลือเนื้อหินอ่อน 5 นิ้ว ราคา 500 เท่ากัน แต่ผมถามพระครูฯว่าเหมือนกันไหม แล้วท่านบอกว่าต่า่งกันนิดหน่อยตรงที่เนื้อหินอ่อนไม่ได้ใส่ทรายเสกของหลวงพ่อ
    แต่ผมบูชาเนื้อทองเหลืองทางไปรษณีย์ก่อนหน้านั้นแล้วองค์นึง เลยบูชาแต่พวก พระเนื้อผง กะเหรียญปี 39 แล้วก็รูปหล่อ ปี 49 มา ที่วัดของยังเหลืออีกหลายอย่าง น่าเสียดายที่สุดคือไม่ได้สักกะลุงล่วนบ้านอยู่ตรงหน้าวัดหลวงพ่อพอดี บ้านหลังเขียวๆเข้าซอยตรงข้ามหน้าวัดเพราะผมไปเย็นแล้ว(3 โมงเย็น) ซึ่งลุงล่วนนี้แกได้วิชาจากหลวงพ่อโดยตรง ผมถามว่าค่าครูเท่าไรแกบอก 30 บาทซึ่งถือว่าถูกมากๆ และที่ผมดูแล้วแกจะพิถีพิถันในการสักมาก อย่างผมจะไปสักหนุมานไว้ แกบอกสักไม่ได้เย็นแล้วเพราะต้องใช้เวลานาน แล้วต้องรดน้ำมนต์ และลงคาถาปลุกอีก ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง ใครสนใจลองไปถามๆแถววัดดูนะครับ
     
  9. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    วันนี้ผมได้ไปไหว้หลวงปู่กวย และ หลวงปู่เฒ่า มา ได้เก็บภาพเสาเอกกุฏิหลวงปู่เฒ่ามาให้ชมกันครับ และที่เห็นบนยอดเสาทางวัดได้ปั้นเป็นรูปลักษณะดอกบัวบนยอดเสาและทาสีทอง ได้คุยกับพระที่วัดท่านเล่าว่าเอารถแท็กเตอร์มาดึงเท่าไหร่ก็ไม่ออก รถออกแรงดึงเครื่องยนต์ก็ดับ จึงทำให้ทางวัดต้องสร้างฐานครอบด้านล่างและมีชาวบ้านไปกราบไหว้ได้โชคลาภกันมากมาย มีชาวบ้านท่านหนึ่ง เป็นน้าผู้หญิง เล่าให้ฟังว่าเค้าเคยเอาเสี้ยนไม้ของเสาไปเลี่ยมห้อยบูชาก็ไม่ได้มีอาการปวดหัวอย่างมาก ผมก็ถามท่านว่าแล้วคุณน้าไม่ได้ขอหลวงปู่เฒ่าเหรอครับ ท่านตอกว่า บอกหลวงปู่แล้วแต่พอไปเลี่ยมห้อยก็มีอาการปวดหัวมากจึงต้องนำกลับมาคืนท่านที่วัด หลวงปู่ท่านหลวงของที่อยู่ในวัดมาก ขนาดมีขโมยมาขโมยของที่วัดยังโดนดีไปเยอะ แต่ท่านเจ้าอาวาส ท่านบอกว่าแต่ขโมยเอาทำบุญไปหลวงท่านไม่ทำอะไร แต่ถ้าเป็นของที่วัดโดนดีหมด ท่านเจ้าอาวาสก็บอกว่าแปลกดี หลวงปู่หวงของที่วัด แต่ไม่หวงเงิน และมีน้าผู้ชายอีกท่านหนึ่ง เล่าว่า ท่านไปลาดตะเวนช่วงมีสงครามห้อยเหรียญหลวงปู่เฒ่า ไปด้วยตลอด ขนาดลาดตะเวนได้มีเพื่อนทหารของท่านไปเหยียบกับระเบิด พอระเบิดขึ้นเพื่อนคุณน้าท่านตาย 5 -6 นาย แต่ท่าน แค่มีแผลฉีกที่เท้าเท่านั้น ทั้งๆที่ท่านบอกว่าอยู่ใกล้กันกับคนที่เหยียบระเบิด แต่ท่านได้รับบาอเจ็บที่เท้าเท่านั้น แล้วท่านก็ยื่นเท้าให้ดู ส่วนเพื่อนทหารที่อยู่ห่างออกไปก็ไม่เป็นอะไร หลวงปู่ท่านศักดิ์สิทธิ์จริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12082006.jpg
      12082006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      550.5 KB
      เปิดดู:
      289
    • 12082006(001).jpg
      12082006(001).jpg
      ขนาดไฟล์:
      564.1 KB
      เปิดดู:
      297
  10. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    วันนี้ไปไหว้หลวงปู่กวย และได้คุยกับคุณน้าท่านหนึ่งที่ช่วยดูแลการเช่าบูชาพระ ท่านเล่าว่าวันที่พุทธาพิเษกใหญ่ หลวงพ่อที่มาร่วมพุทธาภิเษกบอกว่าหลวงปู่กวยท่านมาช่วยปลุกเษกด้วย และท่านยังอยู่ที่วัดไม่ได้ไปไหนยังอยู่ช่วยศิษย์ของท่านอยู่ และท่านรักวัดโฆสิตารามของท่านมาก หลวงพ่อที่บอกให้ได้รับรู้ คือ หลวงอุตตามะ ครับ
     
  11. yaboyabo

    yaboyabo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    289
    ค่าพลัง:
    +510
    ผมเปนคนหนึ่งครับที่นับถือหลวงพ่อกวย ตอนนี้ก็แขวนเหรียญรูปเหมือนหลังยันต์มงกุฎของท่านครับ ดูแล้วมีคนบอกว่าปลอม แต่ผมไม่ได้คิดมากครับเพราะเรานับถือท่าน อีกอย่างผมปริ๊นรูปท่านตามเวปมาบูชาครับ ขอเพียงเราทำดีไม่ว่าวัตถุชิ้นนั้นจะปลอมหรือแท้ท่านก็ช่วยเราเสมอครับ ขอบคุณครับ...
     
  12. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    แนะนำพระเกจิดีที่น่ากราบ ในปัจุบัน (มีชีวิตอยู่)<HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    จังหวัดนครปฐม
    1 พระครูประยุตนวการ (หลวงปู่แย้ม ฐานยุตโต) วัดสามง่าม อำเภอดอนตูม
    2 พระครูพัฒนาภินันท์ (หลวงพ่อแกละ) วัดลำลูกบัว อำเภอดอนตูม
    3 หลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี
    4 หลวงปู่อั๊บ วัดท้องไทร อำเภอนครชัยศรี
    5 พระครูสิริวิบูลย์ธรรม (หลวงปู่เพี้ยน) วัดตุ๊กตา อำเภอนครชัยศรี
    6 พระครูเกษมธรรมรักษ์ (หลวงพ่อยะ)วัดท่าข้าม อำเภอสามพราน
    7 พระครูสมุห์อวยพร วัดดอนยายหอม อำเภอเมือง
    8 หลวงปู่แผ้ว วัดกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน

    จังหวัดสมุทรสงคราม
    1 หลวงปู่ง้อ วัดดาวดึงษ์ อำเภออัมพวา (ศิษย์หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม รูปสุดท้าย)
    2 หลวงพ่ออิฏฐ วัดจุฬามณี อำเภออัมพวา
    3 หลวงพ่อวิไล ปุณสิริ วัดโพธิ์งาม อำเภอบางคณฑี

    จังหวัดราชบุรี
    1 พระครูวราโภคพินิต (หลวงปู่นนท์) วัดเหนือวน อำเภอเมือง
    2 หลวงปู่ม่วง วัดยางงาม อำเภอปากท่อ
    3 หลวงปู่บุญ วัดเขาน้อยบุญทวี อำเภอจอมบึง

    จังหวัดเพชรบุรี
    1 หลวงพ่อแล ทิตตัพโพ วัดพระทรง อำเภอเมือง
    2 พระครูวินัยวัชรกิจ(หลวงพ่ออุ้น) วัดตาลกง อำเภอท่ายาง
    3 พระครูญาณวัชราภรณ์ (หลวงพ่อห่วย) วัดห้วยทรายใต้ อำเภอชะอำ
    4 หลวงพ่อหวล วัดนิคมวชิราราม อำเภอชะอำ
    5 หลวงพ่อตัด วัดชายนา อำเภอท่ายาง

    จังหวัดนนทบุรี
    1 พระครูนนทกิจพิบูลย์ (หลวงปู่เก๋) วัดปากน้ำ อำเภอเมือง
    2 พระครูนนทสิทธิการ (หลวงพ่อประสิทธิ์) วัดไทรน้อย อำเภอไทรน้อย
    3 พระครูปิยนนทคุณ(หลวงปู่แย้ม) วัดตะเคียน อำเภอบางกรวย
    4 หลวงพ่อสิริ วัดตาล อำเภอปากเกร็ด
    5 หลวงปู่วาสน์ วัดสะพานสูง อำเภอปากเกร็ด

    พระนครศรีอยุธยา
    1 หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน อำเภอเสนา
    2 หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง อำเภอเมือง
    3 หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม อำเภอเมือง
    4 หลวงพ่อรวย วัดกษัตราธิราช อำเภอเมือง
    5 หลวงพ่อเจือ วัดโคกหิรัญ อำเภอบางบาล
    6 หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร
    7 หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน อำเภอบางไทร
    8 หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม อำเภอเมือง
    9 หลวงพ่อพุฒ วัดขนอนเหนือ อำเภอบางปะอิน
    10 หลวงพ่อรวย วัดตะโก อำเภอภาชี
    11 หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ อำเภอท่าเรือ
    12 หลวงปู่ทิม วัดพระขาว
    13 หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน
    14 หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว
    15 หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
    16 หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์

    นครราชสีมา
    หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่

    กาญจนบุรี
    หลวงพ่ออุตตมะ (อาพาธ อยู่ ร.พ.ศิริราช)

    จังหวัดชัยนาท
    1 หลวงปู่นะ วัดหนองบัว
    2 หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้ อำเภอสรรคบุรี
    3 หลวงปู่มหาโพธิ์ วัดคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์
    4 หลวงพ่อสำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์

    จังหวัดอ่างทอง
    1 หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน วิเศษชัยชาญ
    2 หลวงพ่อหรุ่ม วัดบางจักร อำเภอวิเศษชัยชาญ

    จังหวัดสุพรรณบุรี
    1 หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส อำเภอสามชุก
    2 หลวงพ่อโกร่ง วัดไผ่โรงวัว อำเภอสองพี่น้อง
    3 หลวงปู่ดี วัดพระรูป
    4 หลวงพ่อพล วัดวังยายหุ่น อำเภอเมือง

    จังหวัดปทุมธานี
    1 หลวงพ่ออำภา วัดน้ำวน อำเภอเมือง
    2 หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย
    3 หลวงพ่อทองใบ วัดสายไหม อำเภอลำลูกกา
     
  13. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="94%">หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ บางระจัน (พระอาจารย์ หลวงปู่กวย วัดโฆสิตาราม)
    •••••••••••••••••••••••••
    ตัวเมืองสิงห์บุรี ในอดีตตั้งแต่เดิมตั้งอยู่ทางลำน้ำจักรสีห์ ที่ตำบลจักรสีห์
    อำเภอเมืองสิงห์บุรี บริเวณใกล้วัดหน้าพระธาตุ เพราะยังมีบ้านเก่าเรียก
    บ้านหน้าพระลานปรากฏอยู่ ต่อมาย้ายเมืองไปตั้งทางแถวแม่น้ำที่ตำบลโพสังโฆ
    อำเภอค่ายบางระจัน ใต้วัดสิงห์ลงมา
    ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เห็นกันว่าแม่น้ำใหม่
    เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ จึงย้ายเมืองสิงห์มาตั้งบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
    ริมฝั่งคลองนกกระทุงฝั่งใต้ปากบางต้นโพธิ์ ตำบลบางมอญ ปัจจุบันคือ ตำบลต้นโพธิ์
    อำเภอเมืองสิงห์บุรี และต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี
    จนปัจจุบันนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองอินทร์, เมืองพรหมบุรี,เมืองสิงห์บุรี มีอยู่ก่อนแล้วในสมัยเริ่มสร้าง
    กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่า ลงมืออยู่ก่อนแล้ว และคงอยู่ในสมัยสุโขทัย โดยพิเคราะห์
    จากการขุดค้นพบเมืองโบราณ ที่บ้านคูเมืองอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีซึ่งเป็นเมืองสมัยทวาราวดี มีความเก่าแก่เรื่อยมา
    ถึงสมัยลพบุรี และสุโขทัย จึงได้กลายเป็นเมืองร้างไปเมืองทั้งสามน่าจะเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย แต่ที่แน่ชัดตามหลักฐาน
    ประวัติศาสตร์ก็คือ มีอายุกว่า 800 ปีมาแล้ว เมืองอินทร์เป็นเมืองเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีน่าจะตั้ง
    เป็นเมืองในราวปี พ.ศ. 1900 ถึง พ.ศ. 1920 เพราะปรากฏชื่อเมืองอินทร์บุรีในพงศาวดารเมืองที่พระนครอินทร์โอรส
    ผู้ครองเมืองสุพรรณบุรีครองอยู่อินทร์มีฐานะเป็นเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2437 ได้มีการปกครองเป็นแบบ
    มณฑลเทศาภิบาล เพราะต้องการรอดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างเด็ดขาดเมืองอินทร์บุรี, เมืองสุพรรณบุรี เมืองสิงห์บุรี
    ได้ถูกจัดให้อยู่ในมณฑลเก่า (ในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนเป็นมณฑลอยุธยา) เมื่อปี พ.ศ. 2438 และในปี พ.ศ. 2430
    เมืองทั้ง 3 ดังกล่าวได้ถูกยุบให้เป็นอำเภอขึ้นอยู่กับเมืองสิงห์บุรี
    เมื่อมีการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลนั้น คำว่าจังหวัดก็มีใช้แต่เป็นที่ลักหลั่นกับอยู่เรียกเมืองบ้าง จังหวัดบ้าง
    จนถึง พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า " เมือง" เรียกว่า
    "จังหวัด" ผู้ว่าราชการเมืองเรียกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด เมืองสิงห์บุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    และในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบวิหารส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ จึงได้มีการยกเลิกการปกครองแบบ
    มณฑลเสีย เพราะต้องการจะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น ดังนั้นในปัจจุบันเมืองสิงห์บุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง
    ประกอบไปด้วยอำเภอต่างๆ 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี, อำเภออินทร์บุรี, อำเภอพรหมบุรี, อำเภอบางระจัน,
    อำเภอท่าช้าง และอำเภอค่ายบางระจัน

    โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และคณะกรรมการจังหวัดช่วยกันบริหารงานรับใช้ประชาชนให้ได้รับ
    ความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อย

    อำเภอที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสิงห์บุรีคงได้แก่อำเภอบางระจัน ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้เรียบร้อย
    ในเรื่องของวีรชนค่ายบางระจัน ซึ่งเคยมีผู้เสียสละเลือดเนื้อ ชีวิตเป็นชาติพลีมาแล้วอย่างสมเกียรติโชกโชน วีรกรรมและ
    ประวัติบุคคลสำคัญที่จารึกไว้นั้นเป็นการจารึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2308 ตรงกับรัชกาล
    ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์เป็นวีรกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญชาญชัย ความสามัคคี ความรักชาติ
    บ้านเมืองของคนไทยธรรมดาๆ กลุ่มหนึ่ง เป็นการรวมพลังขึ้นเองอย่างจริงใจ และฉับพลันในยามคับขัน บุคคลสำคัญ
    ที่ประกอบวีรกรรมครั้งนั้นหลวงวิจิตรวาทการ ท่านได้กลั่นกรองแต่งเป็นเพลงปลุกใจขึ้น ดังมีรายชื่อผู้ที่ประกอบวีรกรรม
    หลายรายด้วยกันคือ


    1. พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมอยู่วัดนางบวช แล้วมาอยู่วัดโพธิ์เก้าต้น มีความรู้ในทางวิทยาคม
    2. นายแท่น เป็นชาวบ้านสีบัวทองถืออาวุธสั้น ถูกปืนของทหารพม่าถึงแก่กรรมในการรบครั้งที่ 4
    3. นายโชติ เป็นชาวบ้านสีบัวทอง ถืออาวุธสั้น
    4. นายอิน เป็นชาวบ้านสีบัวทอง
    5. นายเมือง เป็นชาวบ้านสีบัวทอง
    6. นายทองแก้ว เป็นชาวบ้านโพทะเล
    7. นายดอก เป็นชาวบ้านกลับ
    8. นายจันทร์หนวดเขี้ยว เก่งในทางใช้ดาบถึงแก่ความตายในการรบครั้งที่ 8
    9. นายทอง แสงใหญ่
    10. นายทองเหม็น ขี่กระบือเข้าสู่รบกับพม่า ถูกพม่าทุบตีตายในการรบครั้งที่ 8
    11. ขุนสวรรค์ มีฝีมือเข้มแข็งถือปืนอยู่เป็นนิจ แม่นปืน
    12. พันเรือง

    หลวงวิจิตรวาทการได้แต่งเป็นเพลงต้นตระกูลไทย ดังที่เราได้ฟังกันอยู่ทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะผ่านพ้น
    มาแล้วเป็นอดีตถึง 218 ปีแล้วก็ตาม ก็เป็นเหตุการณ์ของกษัตริย์พระองค์ที่ 34 สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประชาชน
    ทั่วไปเรียกตามพระนามของท่านว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาอมรินทร์ (พระเจ้าเอกทศน์ พ.ศ. 2301-2310 เท่ากับ 9 ปี)
    กรมขุนอนุรักษ์มนตรี บางคนเรียกว่าขุนหลวงเอกทัศน์บ้าง ขุนหลวงสุริยาอมรินทร์บ้าง ฯลฯ พระองค์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย
    ของกรุงศรีอยุธยา ในราชวงศ์บ้านภูหลวง

    วีรกรรมของชาวบางระจันที่ได้รบขับเคี่ยวกับพม่าข้าศึกถึง 8 ครั้ง 8 คราวนั้น เรื่องเช่นนี้หรือเหตุการณ์เหล่านี้ คงจะไม่มี
    ใครปฏิเสธ เหตุที่ชาวสิงห์บุรี หรือชาวบางระจันมีความกล้าหาญต่อสู้ข้าศึกเป็นเวลานานนั้น เพราะเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองของ
    "คนที่มีความสามัคคี" กลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และยิ่งกว่านั้นชาวสิงห์บุรีมีเอกลักษณ์ในตัวเองอยู่เสมอ
    คือนับถือพุทธศาสนาซึ่งเป็นสิ่งที่ยึดมั่นและยึดเหนี่ยวมาเป็นเวลาช้านาน
    สิงห์บุรีเป็นดินแดน แห่งพระพุทธศาสนา และจะมีเกจิอาจารย์ที่มีคุณวิเศษอยู่หลายองค์ที่ทรงคุณทางไวยเวทย์
    ไสยศาสตร์ ปกปักรักษาเป็นเสมือนหนึ่งโล่กำบัง และช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ชาวสิงห์บุรี มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย ถึงแม้ว่า
    ปัจจุบันนี้ก็ยังมี เช่น หลวงพ่อจวบกับหลวงพ่อแพ แต่ที่แน่ๆ นั้นในอดีตที่ผ่านมานั้นคงได้แก่อาจารย์ของหลวงพ่อแพ และหลวงปู่กวย วัดโฆสิตาราม ชื่อของท่านนั้นไพเราะเสนาะหู พอเอ่ยปากชาวสิงห์บุรีและจังหวัดใกล้เคียงจะต้องรู้จักนามของท่านเป็นอย่างดี เพราะว่า
    ท่านเป็นพระรูปหนึ่งมีแต่เมตตาธรรมอันสูงส่ง ไม่สะสมทรัพย์นักน้อยถือสันโดษ เป็นพระที่น่าเคารพกราบไหว้ได้อย่าง
    สนิทใจทีเดียว สาธุชนทั้งหลายให้ความเคารพเลื่อมใสโดยทั่วถึง ท่านไม่สะสมทรัพย์สมบัติให้เกิดกิเลสใดๆ เพราะท่าน
    ถือตาหลักธรรมประจำจิตของท่านว่า "อนิจจัง อนัตตา" ของทั้งหลายเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ประชาชนชาวสิงห์บุรี
    และจังหวัดใกล้เคียงต่างเรียกชื่อของท่านว่า "หลวงพ่อศรี วาจาสิทธิ์" สมณศักดิ์ของท่านคือ พระครูวิริยะโสภิต (ศรี)
    วัดพระปรางค์ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

    วัดพระปรางค์ตั้งอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำน้อยด้ายทิศตะวันตก (ในอดีต) แต่ปัจจุบันแม่น้ำถูกปิดกั้นและถมดินกันไปหมด
    ไม่มีสายน้ำไหลผ่านดังแต่กาลก่อน อยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลเชิงกลัด เหนือที่ว่าการอำเภอบางระจันประมาณ 6 กิโลเมตรเศษ
    ถ้าเดินทางโดยรถยนต์จะไปได้ทั้ง 2 ฟากคือ ด้านทิศตะวันตก และด้านตะวันออกมีถนนเรียบร้อย วัดพระปรางค์อยู่ตรงข้าม
    กับตลาดชัณสูตร และวัดชัณสูตร ชัณสูตรนี้เป็นชื่อหนึ่งของตำบลเชิงกลัด เป็นที่ตั้งของเขื่อนๆ หนึ่งที่มีความสำคัญและ
    ใหญ่โตพอสมควรชาวบ้านเรียกชื่อเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนชัณสูตร" ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นประตูระบายน้ำบางระจันมีความสำคัญ
    เท่ากับเขื่อนเจ้าพระยา แต่มีขนาดเล็กกว่า เขื่อนนี้อำนวยประโยชน์ให้กับชาวบ้านชาวนาแถบนั้นเป็นอันมาก ประชาชนใช้น้ำ
    จากเขื่อนนี้ในการทำนา การเกษตร การกสิกรรม การอุตสาหกรรม การคมนาคม อาบดื่ม การทำนา ทำได้ถึง 2 ครั้ง
    คือ การทำนาปรังและทำนาปี เป็นการเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับครอบครัว และชาวบ้านแถบนั้นเป็นอย่างด

    วัดพระปรางค์นี้ เป็นวัดที่มีโบราณวัตถุ เป็นพยานหลักฐานอย่างดียิ่งคือ "พระปรางค์" นักโบราณคดีและนักวิชาการ
    ทั้งมวลได้สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น องค์ปรางค์สูงประมาณ 30 วา ฐานปรางค์กว้าง 10 วา
    ภายในองค์ปรางค์มีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขาด้วย
    พระปรางค์ภายในก่อเป็นรูปโปร่งกลวงตามลักษณะ
    รูปปรางค์ วัดนี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสิงห์บุรีประมาณ 17 กิโลเมตร ศิลปกรรมการสร้างสมัยอิทธิพลลพบุรี แต่สร้างใน
    สมัยอยุธยาเหตุผลก็คือ ปฏิมากรรมแตกต่างองค์พระปรางค์ก็ดี อิฐในการก่อสร้างก็ดี และลวดลายปูนปั้นนั้นเป็น
    สถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาแทบทั้งสิ้นปูนปั้นรูปบุคคล และรูปสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของภาพชาดก ที่นิยมตกแต่ง
    ฐานสถูปและฐานเจดีย์ หรือประดับองค์ปรางต่างๆ ในจังหวัดอยุธยา ก็มีส่วนใกล้เคียงและมีฝีมือคล้ายกันมากจึงคาดคะเน
    กำหนดตามนักวิชาการสันนิษฐานไว้ (ผิดถูกอย่างไรถามกรมศิลปากรอีกครั้ง) ในบริเวณวัดพระปรางค์นั้นตรงเนินดินสูง
    2 เนินด้านตะวันออก จะมีเตาเผาซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเป็นเตาเผาเครื่องถ้วยชามสมัยอยุธยา ค่อนข้างแน่ ชาวบ้าน
    เรียกโคกนั้นว่า โคกหม้อ ปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาที่ชำรุดเป็นเศษเล็กเศษน้อย กองเทินกันอยู่เป็นจำนวนมาก มีหลาย
    ลักษณะ และหลายรูปแบบ เช่น รูปครก กระปุก ถ้วย ชาม หม้อ ไห ท่อ โอ่ง เป็นต้น
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยและโบราณคดีทรงเชื่อว่าเป็นเครื่องถ้วยสังคโลก
    สมัยอยุธยา ตามหลักฐานที่กล่าวไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และทรงอธิบายไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
    ตอนหนึ่งว่า กษัตริย์พระองค์ที่ 6 สมเด็จพระอินทรราชาหรือสมเด็จพระนครินทราธิราช พ.ศ. 1952 ถึง 1967 (15 ปี)
    คือเจ้านครอินทร์เดิม ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 1952 เป็นราชวงศ์สุพรรณภูมิ ขึ้นครองเมื่อพระชันษา 50 ปีเศษ เคยเป็น
    เจ้าเมืองสุพรรณบุรี (อู่ทอง) มาก่อน เคยเสด็จไปราชสำนักกรุงจีนในสมัยราชวงศ์ไต่เหม็ง ณ เมืองนำกิ่ง เมื่อ พ.ศ. 1920
    จีนเข้ามาเมืองไทยในรัชกาลนี้ มีการนำถ้วยชามแบบจีน และสร้างเตาเผาอยู่ที่แขวงเมืองสิงห์บุรี (คือที่วัดพระปรางค์
    ปัจจุบันนี้เอง) โดยการผูกสัมพันธไมตรีด้วยการแต่งราชทูตระหว่างประเทศตลอดจนกระทั่งได้นำช่างทำเครื่องถ้วยชาม
    มาจากจีนด้วยเพื่อตั้งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ขึ้นในเมืองไทยในบริเวณดังกล่าว
    ฉะนั้นพระปรางค์แห่งนี้
    จึงมีโบราณวัตถุที่พอจะยืนยันแต่ท่านผู้อ่านอย่างกระจ่างชัด และท่าสามารถไปพิสูจน์ได้ด้วยตาของท่านเอง วัตถุโบราณ
    เหล่านี้ยังปรากฏอยู่ที่โคกดังกล่าว


    ท่านได้ทราบประวัติความเป็นมาของวัดพระปรางค์แล้ว ก็ควรจะรับทราบประวัติในอดีตของพระคณาจารย์ซึ่งเป็น
    เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์คือหลวงพ่อศรี หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระครูวิริยะโสภิตอดีตเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ อำเภอ
    บางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ผู้มีวิทยาคุณแก่กล้าในด้านไสยศาสตร์ดั่งเพชรน้ำหนึ่งในลำแม่น้ำน้อยหลวงพ่อแพ ซึ่งเป็น
    พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังยังมอบตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาคาถาอาคมจากท่าน จนชื่อเสียงของหลวงแพลือลั่น
    ทั่วประเทศในปัจจุบันนี้
    หลวงพ่อสี (หรือบางคนเรียกว่า หลวงพ่อศรีนี้) บ้านเดิมอยู่แสวงหา อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอู่ทอง เกิดปีมะแม
    พ.ศ. 2413 ชีวิตในเยาว์วัยของท่านเป็นไปในแบบฉบับลูกทุ่งที่ชอบศึกษาค้นคว้าตำรับตำราโบราณในทางไสยศาสตร์
    เวทย์มนต์ อุปนิสัยเป็นคนจริง ก่อนที่ท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์นี้ คุณสงวน ฉิมพลี ลูกศิษย์คนโปรดของ
    หลวงพ่อเล่าว่า เมื่ออายุท่านครบบวช บิดามารดาก็จัดการอุปสมบทให้ตามประเพณีไทยนิยม ที่วัดสุวรรณราชหงส์
    โดยมีพระอาจารย์หิน วัดโบสถ์ อำเภอวิเศษไชชาญ เป็นพระอุปชฌาย์ และอนุสาวนาจารย์ ไม่มีใครจำได้ อุปสมบทแล้ว
    ได้รับ ฉายาว่า "เกสโร" ขณะบวชเรียนอยู่ได้ศึกษาฝ่ายคันธุระและวิปัสสาธุระจนเชี่ยวชาญมีความรู้พอควรแก่สมณวิสัย
    เมื่อบวชเสร็จก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง มีความสนใจในเรื่องของวิปัสสนา มารดาของท่านมีชื่อว่า บุญมี
    หลวงพ่อศรี เกิดปีมะโรง เป็นคำกล่าวของคุณสงวน ฉิมพลี (อาจจะจำผิด) ไม่ทราบ พ.ศ. ก่อนที่ท่านจะมาอยู่ที่
    วัดพระปรางค์นี้ ท่านได้เดินธุดงค์คือการออกแสวงหาวิชา ได้เดินทางมากับพระภิกษุ 3 รูปด้วยกัน คือ พระอาจารย์เพชร
    พระอาจารย์พัด และพระอาจารย์ศรี (สี) ทั้ง 3 รูปนี้ได้เดินธุดงค์มาถึงเขตอำเภอบางระจัน ตำบลเชิงกลัด ได้มาปักกลด
    อยู่ที่โคกเตาหม้อในเขตวัดพระปรางค์ขณะนั้น ก็มีเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์อยู่ก่อนแล้วสำหรับเจ้าอาวาสสององค์แรก
    เฉพาะที่จำได้ก็คือ พระอาจารย์เพชร เมื่อพระอาจารย์เพชรและอาจารย์พัด 2 รูปได้ลาสิกขาบท แล้วก็ได้ภรรยาข้างวัด
    หลวงพ่อศรีหรืออาจารย์สี ก็ได้ถูกนิมนต์จากญาติโยมในบริเวณใกล้เคียง ให้เป็นสมภารแทน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ แต่ท่านก็ไม่วายที่จะไปศึกษาเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมกับพระอาจารย์ทั่วๆไป
    พระอาจารย์ที่ท่านให้ความเคารพและเรียนด้วยนั้น ชื่อ "อาจารย์ไกร" (หรือหลวงพ่อไกร) อยู่วัดใหญ่ท่าฉนวน
    อำเภอมโมรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยหลวงพ่อศรีเดินทางไปมอบตัวเป็นศิษย์ด้วยองค์หนึ่งหลวงพ่อไกร รับไว้ด้วยความ
    ยินดียิ่ง แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าหากจะเรียนจริงๆ ต้องขอกรรมฐานจากท่านเสียก่อน จะสามารถปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้
    สำเร็จเรียบร้อย ซึ่งจะเริ่มเรียนพุทธาคมได้ หลวงพ่อศรียินยอมและสามารถปฏิบัติได้ตามข้อเสนอ และเริ่มลงมือทดลอง
    ปฏิบัติภาควิชาที่ร่ำเรียนมาจากหลวงพ่อไกรขณะนั้นวัดพระปรางค์มีสภาพเต็มไปด้วยป่าไม่นานาชนิด เหมาะแก่การ
    วิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสถานที่วิเวกสงบเงียบ หลวงพ่อศรีได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยและปฏิบัติกิจทาง
    พุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ตามพระธรรมวินัย ทั้งยังสนใจศึกษาพระปฏิโมกข์จนจบ ตลอดจนกระทั่งหนังสือขอม
    หลวงพ่อเขียนได้คล่องแคล่วมาก จนเป็นที่เลื่อมใสของญาติโยมและชาวบ้านบางระจันมาก บทสวดมนต์หลวงพ่อ
    จะจารเป็นภาษาขอบแทบทั้งหมด ความชำนาญในเรื่องเวทย์มนต์คาถา ท่านเป็นพระคณาจารย์องค์หนึ่งที่มีกิตติศัพท์
    โด่งดังไปไกล จนเป็นที่ยอมรับของชนทั่วไปทั่งไกลและใกล้

    อุปนิสัยส่วนใหญ่ของท่านนั้น หนักไปในทางเมตตาสงสารให้ความอุปการะแก่คนยากไร้โดยทั่วไปไม่สะสม มีแต่
    เสียสละเพื่อความสุขความเจริญของคนอื่นเป็นที่พึ่งพานักแก่ผู้ยากไร้ ใครได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนอย่างไร
    หลวงพ่อมักจะชี้แนะในสิ่งที่ถูกที่ควรจนเป็นที่พออกพอใจ เกียรติคุณของหลวงพ่อก็ดังยิ่งขึ้น หลวงพ่อท่านจะพูดจา
    ประสาทะกับคนทุกชั้น ไม่เลือกว่าจะยากดีมีจนอย่างไรโดยพระคุณท่านพูดเสมอว่า "คนเรามีหรือจน มักก็คนเหมือนกัน"
    จะแบ่งชั้นกันไปทำไม

    จากปฏิปทนาด้วยอำนาจบารมีที่ท่านได้สร้างสมไว้นี้แหละเป็นแรงหนุนที่ดลบัลดาลให้ท่านมีอำนาจ มีตบะ มีเดชะ
    และวาจาสิทธิ์ จนมีคนกล่าวกันว่า หลวงพ่อสีปากพระร่วง พูดอย่างไรก็มักจะเป็นอย่างนั้น เช่นพูดว่า รวยก็รวยใจหาย
    พูดว่าจนก็จนใจหาย พูดว่าตายโหงก็ตายโหง พูดว่าจาหัก ก็หัก ตัวแตก ก็แตก เหล่านี้เป็นต้น คำพูดของท่านนั้นโดยมาก
    เป็นจริงคนทั้งหลายถึงเกรงและกลัวท่านมากและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ปากศักดิ์สิทธิ์" แม้แต่ นก หนู ปู ปลา กา ไก่
    กระรอก กระแต ลิง ค่าง ช้าง ม้า ไม่มีใครกล้าทำอันตราย สัตว์ที่มาอาศัยในวัดพระปรางค์จึงมีนานาชนิดมีผู้กล่าวว่า
    หลวงพ่อศรีท่านเรียกของท่านมาใครจะเอาปืนผาหน้าไม้มายิงก็ไม่ออก เพราะท่านเสกคาถากำกับไว้ในอาหาร
    บรรดาพวกนักจับสัตว์น้ำทั้งหลายไม่กล้าแตะต้อง เพราะเกรงกลัวท่านสาปแช่งมีผู้โจษขานกันว่า หลวงพ่อท่านสำเร็จ
    มหาจินดามนต์ สามารถเรียกสัตว์ได้ราวพระสังฆ์ในวรรคดีไทยทีเดียว น่าอัศจรรย์ และอัศจรรย์จริงๆ
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีนั้น ในสมัยที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์อยู่ ท่านเป็นพระรูปหนึ่งที่พัฒนาความเจริญ
    รุ่งเรือง มาสู่วัดพระปรางค์เป็นอันมาก ไม่ว่าการสร้างถาวรวัตถุหรือเสนาสนะภายในวัดเป็นอันมาก ท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความ
    จริงใจที่การสร้างสรรค์ถวารวัตถุในสมัยนั้นอย่างตั้งอกตั้งใจ ท่านเป็นพระรูปหนึ่งที่ขยันขันแข็ง ประกอบด้วยแรงศรัทธาของ
    ญาติโยมบริเวณใกล้เคียงเป็นกำลังอันสำคัญ ท่านมีความมานะอดทนทำอะไรทำจริง ปรากฏว่าในปี พ.ศ.2476 หลวงพ่อ
    ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น 1 หลัง ในการสร้างครั้งนั้นหลวงพ่อได้ออกเหรียญรูปเหมือนเต็มองค์ของท่านเป็นครั้งแรก
    มีลักษณะรูปพัดยศ (หยดน้ำ) หยักมุม ห่วงหูในตัว ด้วยเนื้อทองแดง มีกรอบ 2 ชั้นมีช่อชัยพฤกษ์ซ้ายขวา ในช่อจะมีรอย
    ขีด 9 การวางมือแบบสะดุ้งกลับ คือมือซ้ายจะพาดหัวเข่า มือขวาวางตรงหน้าตัก ซึ่งผิดแปลกกบัเหรียญพระคณาจารย์องค์อื่นๆ
    ด้านล่างมีตัวหนังสือ 3 แถวคือ แถวที่ 1 มีคำว่า "หลวงพ่อ" แถวที่ 2 "พระครู" แถวที่ 3 "ศรี" ตรงกลางมีรูปท่าน นั่งเต็มองค์
    หน้าตรง พาดสังฆาฎิ

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=100 align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#000000><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD>ด้านหน้า</TD><TD>ด้านหลัง</TD></TR></TBODY></TABLE>ด้านหลังเหรียญ เป็นภาษาไทยอ่านจากซ้ายมาขวาว่าที่ระลึกในงานสร้างศาลาวัดพระปรางค์ พ.ศ. 2476 คาถาขอมว่า
    อิ ติ มา นิ ท่านได้นำออกแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างศาลา
    การสร้างเหรียญหรือวัตถุมงคลอื่นใดก็แล้วแต่ หลวงพ่อท่านมักจะสร้างอย่างน่าศรัทธาเลื่อมใสคือแทนที่จะเอา
    เนื้อทองแดงมาปั๊ม แล้วเอากลับไปนั่งปลุกเสกเหมือนกับการสร้างในสมัยนี้ ท่านกลับไปทำเช่นนั้น ท่านจะต้องเอาทองแดง
    ที่จะนำมาปลุกเสกลงเลขยันต์ จนเป็นที่มั่นใจเสียก่อนจึงจะนำไปหลอมหล่อ กับทองแดงที่จะปั๊มเป็นเหรียญของท่าน
    (ถึงแม้ว่าการทำแหวนก็เช่นเดียวกัน) การปลุกเสกเหรียญของท่านนั้นเป็นการปลุกเสกเดี่ยวเหรียญของท่านจึงต้องดีแน่ๆ
    เพราะท่านได้แผ่เมตตาจิตลงไปในเหรียญจบครบถ้วนสมบูรณ์แบบตามวิธีการสร้างแบบโบราณกาลมาเป็นแบบฉบับ
    จึงไม่ต้องสงสัยว่าเหรียญของท่านนั้นจะไม่ขลัง แน่ๆ ขณะนี้เหรียญของท่านบางอัน (หมายถึงสมบูรณ์) ราคาเป็นหมื่น
    และหายากด้วยยิ่งต่อไปในอนาคต ก็คงจะไม่ค่อยได้มีโอกาสจะเห็น

    วัตถุมงคลอื่นๆ นอกจากเหรียญรุ่นแรกแล้ว ก็ยังมีอยู่หลายอย่างเช่น เชือกคาดเอว, ตะกรุดมหาอุตม์, ขี้ผึ้งเมตตา
    มหานิยม, น้ำมันมนต์, น้ำมนต์และแหวน หัวสี่เหลี่ยมและแหวนหัวเมฆพัตร์
    ซึ่งหลวงพ่อศรีได้รับตำราโบราณขนาดแท้มาจาก
    หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระคณาจารย์องค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงในการทำแหวน มี 2 ชนิดด้วยกันคือ
    แบบหัวแหวน เหลี่ยนเป็นรูปยันต์ 4 ซ้อนกันสองยันต์ซ้อน ตรงกลางยันต์ จะมีรูปพระองค์เล็กๆ นั่งอยู่ตรงกลางยันต์พอดี
    ข้างๆจะมีพระองค์เล็กๆ นั่งขัดสมาธิข้างละ 1 องค์ ประดับล้อมด้วยลายก้านขดแบบตัวยูล้อมองค์พระอีกทีหนึ่ง และที่ท้องวง
    มีอักษรขอม หางวงมีแต่ลายขัดแบบแหวนพิรอด (ทำสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง) อีกแบบหนึ่งทำด้วยหัวเมฆพัตร์ลักษณะอื่นๆ
    เหมือนแบบแรกทุกประการ แต่ผิดกันตรงที่หัวเมฆพัตร์จะมีลักษณะกลม มีลวดลายก้านขดแบบตัวยูเช่นเดียวกัน แหวน
    เมฆพัตร์นี้ มีคนกล่างกันว่าหลวงพ่อศรีท่านทำขึ้นจากตำราของท่านเอง โดยใช้คาถาทองเหลือง ขันลงหิน ตะบันหมาก
    ถาดสำริด แผ่นทอง มาหลอมหล่อ เป็นแหวนแล้วนำมาทำตามกรรมวิธีของท่านอีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้เริ่มหายากมาก
    เพราะท่านทำไว้ห้อยเป็นแหวนที่มีพุทธคุณกันเขี้ยวงาได้ร้อยแปดแคล้วคลาด และคุ้มครองป้องกันตัวดีนัก ถ้าท่านพบ
    ณ ที่ใดรีบขวนขวายเอาไว้เถิด เรื่องวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อนั้น มีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาหลายชั้นหลายตอนด้วยกัน
    พอสรุปเป็นสังเขปได้ดังนี้
    มีชายแก่คนหนึ่งซึ่งเป็นชายจีน ชื่อตาแป๊ะโล้ว เป็นผู้ไร้ญาติขาดมิตร ฐานะของแกยากจนมาก ได้อาศัยอยู่ใน
    วัดพระปรางค์ ยึดอาชีพเผาถ่านขาย หลวงพ่อมีความเมตตาสงสาร ช่วยเหลือเกื้อกูลมาโดยตลอด วัดหนึ่งตาแป๊โล้ว
    ทำน้ำตาลเมาเพื่อเอาไปกินตำรวจได้เข้าทำการจับกุมเอาตัวตาแป๊ะโล๊วไป พอหลวงพ่อทราบเข้า ก็พูดเปรยๆ ขึ้นมาว่า
    อ้ายพวกนี้จับกถมคนไม่ดูตาม้าตาเรือเหมือนไม่มีตา (มีตาแต่หามีแววไม่)

    พอวันรุ่งขึ้น ตำรวจที่จับตัวตาแป๊ะโล้ว ตาแดงกร่ำบวมเป่ง จนเกือบจะมืดมองอะไรแทบจะไม่เห็น สมจริงดังที่หลวงพ่อ
    พูดทุกประการ ตำรวจผู้นั้นต้องมาขอให้หลวงพ่อช่วยบำบัดรักษา ก็หายเป็นปลิดทิ้ง

    อีกเรื่องหนึ่ง มีคนชื่อ ตากิวเป็นคนในละแวกนั้น เป็นคนที่ชอบพอกับหลวงพ่อเป็นอย่างดีได้ขี่ม้ามาคุยกับหลวงพ่อ
    ขากลับ พอตากิวจะขี่ม้าหลวงพ่อท่านก็พูดขึ้นว่า

    " ตากิวระวังแกจะตกม้านะ" ตากิวพูดย้อนหลวงพ่อว่าไม่เป็นไรครับหลวงพ่อ ผมขี่มันจนเชื่องแล้ว" พูดเหมือนจะคุย
    โอ้อวดตัวเองว่า เคยขี่ม้าจนชำนาญไฉนเลยจะตก พอพูดขาดคำตากิวขยับเหยียบโกลและขี่ม้า ก็ต้องมีอันตกพลั้กลงมา
    กองกับพื้นดินทันตาเห็นญาติโยมและผู้หลักผู้ใหญ่ต่างทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดียิ่งแม้กระทั่งเด็กๆ ตัวเล็กๆ ก็สามารถ
    เล่าสืบทอดกันมาได้

    อีกเรื่องหนึ่งคือศิษย์ของหลวงพ่อคนหนึ่ง หากินในทางทุจริต เป็นเสือออกปล้นฆ่าเขาอยู่เสมอ เคยคล้องเหรียญ
    หลวงพ่อเพียงเหรียญเดียว ตำรวจไม่เคยยิงออกเลยสักครั้ง ภายหลังลืมคล้องเหรียญจึงถูกยิงตาย มีคนมาถามท่านว่า
    เพราะอะไรจึงยิงออก ท่านก็บอกไปว่า "เพราะกรรมมันตามทัน เคยสั่งสอนมันแล้วว่าให้ทำแต่ความดีมีศีลธรรม มันไม่เชื่อ
    ต่างหากแล้วหลวงพ่อก็อุทานขึ้นมาเบาๆ เป็นการตบท้ายว่า" "ใครเล่าจะหนีความตายพ้นทุกอย่างมันเป็นอนิจจัง"

    อีกเรื่องหนึ่งนั้น เป็นเรื่องราวของเด็กซึ่งเป็นศิษย์วัด มีนิสัยซุกซนชอบทะเลาะเบาะแว้งเป็นอาจิณ แล้วหลวงพ่อ
    ได้ยินเข้าเรียกมาหวดด้วยไม้ตะพด เป๊ก เป๊ก เป๊ก จนกระทั่งศิษย์เหล่านั้นร้องว่า หลวงพ่อแตกแตกแตก แทนที่จะแตก
    ดังที่เด็กร้อง หลวงพ่อกับพูดว่า "ข้าไม่ได้ตีให้แตก" และแข้งขาตาตุ่มที่หลวงพ่อหวดไปนั้น ไม่แตก เรื่องเหล่านี้เป็น
    เหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ ในอดีตของหลวงพ่อศรี และยังมีอีกหลายเรื่อง และยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่สามารถทำมาลง
    ให้ละเอียดละออได้ เรื่องของหลวงพ่อมีสาระน่าศึกษาน่ารู้ด้วยประการทั้งปวง ลูกศิษย์ลูกหาของท่านยังมีชีวิตอยู่ขณะนี้
    พอจะเล่าสู่กันฟังถึงอดีตที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี

    หลวงพ่อศรีเป็นพระที่สำรวม มีอารม์ดี คือเคร่งในพระวินัยมีวัตรปฏิบัติเป็นที่น่าศรัทธาเลื่อมใสท่านไม่ค่อยจะว่าใครง่ายๆ
    เพราะถ้าว่าหรือพูดอย่างไรแล้วมักจะเป็นไปตามคำพูดของท่านเสมอชาวบ้านจึงอยากเรียกท่านว่า "หลวงพ่อศรีปากพระร่วง"
    เวลาว่างของท่านนั้ หมดไปกับการจารบทสวดมนต์คัมภีร์ต่างๆ ตลอดจนพระปาฏิโมกข์โดยเขียนเป็นภาษาขอมทั้งสิ้น เพราะ
    มีความชำนาญเป็นพิเศษ พระครูวิริยสาร (หลวงพ่อมา) วัดสาธุ์การราม ตำบลท่าข้าม อำเภอค่ายบางระจัน เป็นสหธรรมิก
    ของหลวงพ่อศรีและพระครูวิริยสาร (สาลี่) เคยกล่าวว่าหลวงพ่อศรีเป็นพระคณาจารย์ ที่เรืองวิชาไสยศาสตร์มากองค์หนึ่ง
    ท่านวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอย่างไรมักจะเป็นอย่างนั้น
    หลวงพ่อศรีมีสมาธิและอำนาจจิตที่มั่งคง มีผู้ใกล้ชิดหลายรายทั้งเป็นศิษย์เก่าของท่านและชาวบ้านละแวกนั้น
    (ในวันพระที่มีการทำบุญ) จะมีคนเฒ่าคนแก่เล่าเรื่องของหลวงพ่อในขั้นตอนต่างๆ หลายๆ อย่าง หลายๆ เรื่อง เช่นหลวงพ่อ
    สำเร็จมหาจินดามนต์ สามารถเรียกเนื้อเรียกปลาและสัตว์แทบทุกชนิดได้ หลวงพ่อได้ให้คาถาเหล่านั้นแก่ศิษย์ของท่าน แต่ผู้ที่ได้ไปนั้นไม่กล้าทดลอง เพราะจิตยังไม่แน่วแน่จริง จึงไม่สามารถทำได้เหมือนท่าน หลวงพ่อมีความเมตตา
    ห้ามฆ่าสัตว์ ภายในวัดและบริเวณหน้าวัดจึงเต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์นานาชนิดมากมาย เพียงแต่ท่านเคาะไม้หรือเพียงแต่
    ท่านวักน้ำ 3 ครั้ง ทั้งกระรอกกระแตปลาจะพากันมาชุมนุมเป็นกลุ่มเป็นก้อน และไม่มีใครกล้าที่จะเข้ามาจับสัตว์ดังกล่าว
    ภายในวัดพระปรางค์เลย สัตว์ทั้งหลายจะอยู่อย่างปลอดภัย จนผู้คนทั้งหลายกล่าวกันว่า ท่านเป็นผู้ที่สำเร็จมหาจินดามนต์
    สามารถเรียกเนื้อเรียกปลาได้
    หลวงพ่อศรี ไม่ชอบกลองยาว แต่ชอบฆ้องหมุ่ยใหญ่ ฆ้องหมุ่ยเล็กมากที่สุด เหตุที่ไม่ชอบนั้นท่านเคยพูดว่า "หนวกหู"
    และประการสำคัญที่สุดท่านเคยพูดกับลูกศิษย์ของท่านว่า "วัวควายตายแล้ว ยังเอาหนังของมันมาทุบมาตีอีก คนเรานี่
    ชอบกล ช่างไม่สงสารเขาเลย" การบวชนาคถ้าวัดไหนมีกลองยาว ท่านจะบอกให้หยุดก่อนไม่หยุดไม่ยอมบวช" เพราะ
    ท่านเป็นอุปชฌาย์รุ่นนั้น หาอุปัชฌาย์ทำยายาก หลวงพ่อศรีท่านทำความเพียรจัด คือ การบิณฑบาตเป็นกิจวัตรปฏิบัติ
    ที่สม่ำเสมอ ออกพรรษาทุกปีจะต้องออกเดินธุดงค์เป็นประจำ โดยถือธุดงค์เป็นวัตร
    อาจารย์หรือเจ้าอาวาสของวัดพระปรางค์เท่าที่ปรากฏและจำได้คือ

    1. ก่อนอาจารย์เพชรไม่ทราบชื่อ
    2. อาจารย์เพชรไม่ทราบฉายา
    3.อาจารย์ศรี เกสโร (พระครูวิริยะโสภิต)
    4.อาจารย์สงวน ฉิมพลี
    5. อาจารย์ทอง
    6. อาจารย์ส่วน สุมัคโล (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)

    เนื้อที่ของวัดทั้งหมด 40 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบๆ ของวัดพระปรางค์ มีวัดเก่าแก่ที่อยู่ในละแวกเดียวกันก็มี วัดกำแพง
    วัดตาอ้อ วัดกรด วัดสิงห์ วัดต้นจันทร์ วัดพาเมือง วัดชัณสูตร
    หลวงพ่อศรี ถึงแม้ว่าท่าจะเก่งกาจสามารถสักเพียงใด คุณงามความดีของท่านก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความตายไปได้
    ท่านถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา ประกอบกับเป็นโรคฝีในท้อง หรือปัจจุบันเรียกว่าโรควัณโรคหรือมะเร็ง แล้วแต่แพทย์
    จะวินิจฉัยท่านถึงมรณภาพเมื่อปีพุทธศักราช 2485 ณ วัดพระปรางค์ สิริอายุได้ 72 ปี พรรษา 52 ทางวัดได้จัดเก็บศพ
    ของท่านไว้ประมาณ 6 เดือน จึงทำการฌาปฌกิจ เมื่อท่านมรณภาพได้ 7 วันก็มีความทำบุญกันตามประเพณ

    อาจารย์สงวน ฉิมพลี เป็นผู้หนึ่งที่จัดทำเมรุ โดยขอแรงชาวบ้านโค่นต้นยางทำเป็นรูปพระปรางค์จนกระทั่งถึงวันเผา และทำการอธิษฐานโดยใช้ธูปเทียนจุดบูชาที่**บศพ ถ้าธูปและเทียนไหม้หมดหมายถึงว่าหลวงพ่ออนุมัติให้เผาได้ ถ้าหาก
    ไหม้ไม่หมดก็จะไม่เผา บังเอิญธูปเทียนไหม้ จึงกำหนดวันเผา
    โดยมีอาจารย์ฟุ้ง อาจารย์ทองอาจารย์หมด เจริญศิริ ช่างสัก
    ช่วยกันจัดแจง เกี่ยวกับศพของท่านในวันฌาปนกิจศพ ปรากฏมีลูกศิษย์ลูกหาพากันหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ อย่างมืดฟ้า
    มัวดิน งานก็มี 7 วัน 7 คืน คนแน่นขนัดไปหมด แม้แต่ใต้ถุนผู้คนที่มาในงานก็ใช้เป็นที่นอนหลับ หุงหาอาหารเลี้ยงกัน
    ไม่หยุดมือบางคนร้องห่มร้องไห้เสียดาย ที่ต้องสูญเสียหลวงพ่อที่เคารพไปอย่างไม่มีวันกลับ วันเผาศพของหลวงพ่อแม้แต่
    จีวรของใช้ไม้สอยของท่านอันอยู่ใน**บศพ เมื่อเปิด**บศพประชาชนที่เลื่อมใสท่าน ได้เจ้าไปเยื้อแย่งเพื่อเป็นเครื่องราง
    และเป็นที่ระลึกครั้งสุดท้ายเกือบทั้งหมด และการฌาปนกิจศพครั้งนั้น ทางคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก
    ออกในงานฌาปนกิจศพ เป็นเหรียญรูปท่านอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะกลมเป็นจักรรอบๆ 16 จักร ตรงกลางจะมีรูปท่านครึ่งองค์
    ระบุชื่อเสียงของท่านไว้ชัดเจน เหรียญรุ่นนี้ท่านมิได้ปลุกเสก แต่ทางกรรมการวัดจัดทำขึ้นเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ
    ของหลวงพ่อ **บศพของหลวงพ่อช่างสักซึ่งเป็นช่างแกะสลักและแทงหยวกได้แกะด้วยฝีมือประณีงามมาก (เรียกว่าทำแบบ
    สุดฝีมือของช่าง) เวลาเผาลุก**บศพประมาณ 4 โมงเย็น ใต้ต้นโพธิ์ จะเป็นด้วยแรงอธิษฐานหรือด้วยการประกอบคุณงาม
    ความดีไว้แต่ปางก่อนก็ไม่สามารถจะทราบได้ วันเผาได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้นอย่างไม่คาดฝัน "นั่นคือดาวกลางวัน" สุกปลั่ง
    นวลปลั่ง เหมือนแสงดาวในเวลากลางคืน มองดูแล้วก็เลือนไปทีละน้อยๆ ปรากฏสูงขึ้นมาเรือยไป คนทำความดีบารมีก็
    ปรากฏให้มองเห็นไปในที่สูง ไม่ตกต่ำ อาจารย์สงวนพูดว่า เผาศพมานักต่อนักแล้วไม่เคยมีปรากฏแสงเดือนแสงดาว
    อะไรเลย เพิ่งมาปรากฏครั้งนี้เป็นครั้งแรก

    เมื่อเผาศพเรียบร้อยแล้ว ทางคณะกรรมการวัดก็ได้ทำการจัดสร้างหล่อรูปเท่าองค์จริงด้วยเนื้อโลหะประดิษฐาน
    อยู่ในมณฑป สวยงามทันสมัย มีโอ่งน้ำมนต์อยู่ข้างท่าน ด้านหลังเป็นสถูปสำริดยอดเม็ดทรงบัณฑ์ ภายในสถูปบรรจุอัฐิ
    ของหลวงพ่อ ประชาชนโดยทั่วไปต่างก็สักการะบูชารูปหล่อของท่านที่สถูปดังกล่าว

    หลวงพ่อศรีเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังกระฉ่อนไปทั่ว ถึงแม้ว่าหลวงพ่อแพ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงพ่อรักมาก
    ยังต้องฝากตัวเป็นศิษย์เพราะฉะนั้นเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคล ตลอดจนกระทั่งคาถาอาคมทั้งหมดของหลวงพ่อ
    มีอิทธิปาฏิหาริย์กับมหัศจรรย์ เป็นที่ยอมรับของชนทุกชั้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต วัตถุมงคลของท่านทุกอย่าง
    ดังและดีตลอดกาล
     
  14. spiderman5390

    spiderman5390 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +891
    รูปหลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ (พระอาจารย์หลวงปู่กวย วัดโฆสิตาราม)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. ชายเสรี

    ชายเสรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,950
    โห เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมานี่ มีคนไปกราบหลวงพ่อกวย หลวงปู่เฒ่าเยอะนะครับนี่ ที่คุยๆกันอยู่นี่ทั้งนั้นเลย
    ผมเองก็ไปมาเมื่อวันเสาร์นี่เองเหมือนกันครับ ไปกราบหลวงพ่อกวยก่อน พี่คนที่ช่วยหลวงพี่โจใจดีมากครับ ผมเช่าพระ
    หลวงพ่อปี 39 6 องค์ เช่าเสร็จก็ถือไปไหว้ต่อหน้าหลวงพ่อเพื่อขออนุญาตินำพระท่านไปอาราธนา พี่เค้าก็บอกให้
    นำพระไปวางกับมือหลวงพ่อเลย ( รูปปั้นหลวงพ่อหน้าโลงน่ะครับ ) แล้วอธิษฐานดีๆ ผมงี้ปลื้มใจมากเลยครับ
    อธิษฐานไป เย็นวาบๆไปทั้งตัวเลยครับ อาการปิติ รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้มากราบหลวงพ่อ ถึงแม้จะเป็นศิษย์รุ่นหลัง ที่ไม่ทันหลวงพ่อก็ตาม ขอบารมีหลวงพ่อกวยช่วยคุ้มครองศิษย์ทุกๆท่านครับ
     
  16. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    ไม่ใช่ลุงล่วนครับ ชื่อหล่อน หรือตาหล่อน ตอนลุงท่านบวช ท่านเป็นคนสักให้แทนหลวงพ่อ แล้วให้หลวงพ่อครอบอีกทีครับ ที่คุณไม่ได้สักเพราะเย็นแล้ว สายตาของลุงแกไม่ค่อยดีแล้วครับ และก็ใช้เวลานานจริงๆในการสัก ขั้นตอนมีดังนี้
    1. เลือกยันต์
    2. ยกครู 30 บาท (ค่าแรงแล้วแต่สมนาคุณ)
    3. สักยันต์ สักกระหม่อม
    4. อาบน้ำมนต์
    5. ครอบครู ปลุกยันต์ ทาน้ำมัน และรับฟังข้อห้ามต่างๆ

    ก็เท่านี้ครับ
     
  17. ชายเสรี

    ชายเสรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,950
    คุณธวัชชัยครับ พอจะแนะนำยันต์ด้านโชคลาภและเมตตาบ้างได้ไหมครับ ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสักยันต์เท่าไหร่
    แต่ถ้าเป็นสายของหลวงพ่อกวยนี่ ผมสนใจครับ ตัวผมเองไม่เคยสักมาก่อนเหมือนกันครับ
     
  18. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    ยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ครับ ที่เป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อ อย่างยันต์หลังสมเด็จปรกโพธิ์ 9 ใบนั่นแหละครับ และอีกยันต์คือสักหงษ์ครับ ผมบอกตรงๆเลยนะครับ ตั้งแต่ผมนับถือหลวงพ่อมา มากๆถึงทุกวันนี้ ผมก็สักมาครับ ชีวิตผมดีขึ้นเยอะครับ ไม่อดอยาก เงินเหลือบาน แต่ก่อนฝืดมากกกกก ผมสวดมนต์ทุกคืนนะครับ สวดพระสิวลี และ จินดามณีครับ รูปหลวงพ่อกวยก็รูปตามเว็บ แล้วเอาไปอัดเอาครับ พระหลวงพ่อก็ห้อยเหรียญจตุรพิธฯ และเกจิองค์อื่นๆด้วยครับ ขอให้เรามีศรัทธาครับ หลวงพ่อช่วยเราตลอดครับ คอยค้ำชู หนุนดวงครับ และต้องทำบุญด้วย ให้ทานด้วยครับ
     
  19. ชายเสรี

    ชายเสรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,950
    ขอบคุณมากครับ คุณธวัชชัย แล้วมีแบบสักน้ำมันไหมครับ
     
  20. ชายเสรี

    ชายเสรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    394
    ค่าพลัง:
    +1,950
    อีกนิดนึงครับ แล้วถ้าผมจะไปสักนี่ ผมจะติดต่อลุงได้ยังไงครับ คุณธวัชชัยมี เบอร์โทรลุงมั๊ยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...