พุทธชัยชนะของพระพุทธเจ้า ตอน ชนะด้วยปัญญา ต่อสัจจกนิครนถ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 10 กรกฎาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    พุทธชัยชนะของพระพุทธเจ้า ตอน ชนะด้วยปัญญา ต่อสัจจกนิครนถ์

    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะ กะวาทะเกตุง

    วาทาภิโรปิตะ มะนัง อะติอันธะภูตัง,
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิต๎วา มุนินโท

    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

    พระจอมมุนี รุ่งเรืองแล้วด้วยประทีปคือปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์

    ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มีใจในที่จะยกถ้อยคำ

    ของตนให้สูงดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือรู้

    อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนาขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่านด้วยเดช

    แห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,

    ณ กรุงไพศาลี แห่งแคว้นวัชชี สัจจกนิครนถ์ ซึ่งเป็นนักบวช

    ผู้เฉลียวฉลาด “มือวางอันดับหนึ่ง” ของลัทธิเชน เป็นพระอาจารย์

    สoนบรรดาราชกุมารในราชสำนักแห่งกษัตริย์ลิจฉวี มีความถือตน

    ว่าเป็นผู้เลิศล้ำทางปรัชญา อันลึกซึ้ง ในลัทธิศาสนาของตน และ

    ลัทธิศาสนาอื่นๆ เป็นอย่างดี จึงเที่ยวท้าทายโต้วาทีประลองความ

    รู้กับ เจ้าลัทธิตามเมืองต่างๆ เจ้าลัทธิทั้งหลายต่างพากันพ่ายแพ้

    ในความรู้ของสัจจกนิครนถ์ จนหมด

    กระทั่งวันหนึ่งกิตติศัพท์ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธ

    เจ้า ขจรขจายเข้าสู่นครไพศาลี ว่าพระองค์ทรงเป็นพระอรหันต

    สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุณอันเลิศ ประกอบด้วยพระมหาปัญญา

    ญาณ หาบุคคลใดจะเปรียบปานได้

    เมื่อสัจจกนิครนถ์ทราบถึงกิตติศัพท์ของพระบรมศาสดา ก็

    เกิดความอดรน ทนไม่ได้ ความอหังการก็กำเริบหนักขึ้นคิดไปว่า

    ถ้าได้ประลองวาทะกับพระสมณโคดม ผู้ที่มหาชนยกย่องว่าเป็น

    ผู้ล้ำเลิศทางปัญญา หากความ พ่ายแพ้ของพระสมณโคดมเป็น

    ที่ประจักษ์ต่อสายตามหาชนแล้ว เกียรติยศ ชื่อเสียง ของตน

    จักต้องปรากฏระบือลือไกลไปทั่วทุก ๆ แว่นแคว้น

    รุ่งอรุณหนึ่ง พระอัสสชิเถระเดินรับบาตรในเมืองไพศาลี

    สัจจกนิครนถ์เห็นพระภิกษุในพุทธศาสนา จึงตรงเข้ามาลองเชิง

    เลียบเคียงตั้งคำถามถึงพระสมณโคดม

    สัจจกนิครนถ์ ท่านบวชในศาสนาของพระสมณโคดมด้วยเหตุ

    ผลอันใดเล่า

    พระอัสสชิ อาตมาออกบรรพชาเพื่อประโยชน์ในมรรคผล

    นิพพาน

    สัจจกนิครนถ์ หลักคำสอนของพระสมณโคดมว่าอย่างไรเล่า

    พระอัสสชิ พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา

    สัญญา สังขาร วิญญาณ ) เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน )

    สัจจกนิครนถ์ พระสมณโคดมมีหลักคำสอนเช่นนี้เองรึ เห็นที

    เราจักต้องเป็นผู้ปลดเปลื้อง ความเห็นผิดให้กับพระ

    สมณโคดมเสียแล้วกระมัง

    เมื่อสัจจกนิครนถ์ได้สนทนากับพระอัสสชิ และทราบถึง

    หลักคำสอนของ พระสมณโคดมแล้ว เกิดความลำพองใจ หมาย

    ใจมั่นว่าการท้าประลองวาทะครั้งนี้ ตนก็จักเป็นผู้มีชัย เช่นทุกครา

    ที่ผ่านมาเป็นแน่นอน

    วันต่อมา สัจจกนิครนถ์จึงเข้ากราบทูลกษัตริย์ลิจฉวี ว่า

    ประสงค์จักสนทนาเพื่อถามปริศนาธรรมกับพระสมณโคดม พร้อม

    ชักชวนสานุศิษย์เป็นสักขีพยานในการโต้วาทะครั้งนี้ด้วย

    ครานั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าสู่มหากรุณา

    สมาบัติแผ่ ข่ายสัพพัญญุตญาณ (พระปรีชาญาณหยั่งรู้ อดีต

    ปัจจุบัน อนาคต ) เล็งเห็นอุปนิสัย แห่งสัจจกนิครนถ์ จักประกอบ

    ด้วย ปัญญาสมบัติอันยิ่งยวดในอนาคตชาติ ด้วยพระมหากรุณา

    ธิคุณของพระพุทธองค์ทรงมีพระดำริจักเสด็จโปรดสัจจกนิครนถ์

    ในวันรุ่งขึ้น

    ครั้นอรุณรุ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระราช

    ดำเนินพร้อมภิกษุสาวกเข้าสู่กรุงไพศาลี เสด็จประทับ

    ณ กูฏาคารศาลา กลางป่ามหาวัน

    บ่ายคล้อยนั้น สัจจกนิครนถ์พร้อมสานุศิษย์กว่า ๕๐๐ คน

    เดินทางเข้าป่ามหาวันมุ่งตรงยังกูฏาคารศาลาอันเป็นที่ประทับของ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า

    สัจจกนิครนถ์เมื่ออยู่ต่อหน้าพระพักตร์แล้ว ด้วยความหยิ่ง

    ผยองลำพองตนก็ หาได้ทำการอภิวาทพระองค์ไม่ แล้วทูลว่า

    ข้าพเจ้าได้ยินกิตติศัพท์ความล้ำเลิศทาง ปัญญาของท่านขจรขจาย

    ทั่วกรุงไพศาลี ในกาลนี้ข้าพเจ้าจะขอซักถามว่าท่านแนะนำ สั่ง

    สอนสาวกด้วยหลักคำสอนใด

    ดูกร.....สัจจกนิครนถ์ เราแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายว่า

    ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    (การรับรู้ทางอายตนะ ๖) เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มี ตัวตน )

    สัจจกนิครนถ์ เป็นเช่นนั้นรึ...สมณะ หากบรรดาพืชพันธุ์ต่าง ๆ

    ยังคงต้องอาศัย ผืนแผ่นดินในการเจริญงอกงามฉันใด

    บุคคลก็จักต้องอาศัยรูปที่เป็น ตัวตนนี้ประกอบกรรมดี -

    ชั่วฉันนั้น หากท่านกล่าวว่า ขันธ์ ๕ อันมี รูป เป็นต้น ไม่มี

    ตัวตน (อนัตตา) แล้วบุคคลจักประสบบุญ - บาป ได้

    อย่างไรเล่า

    พระผู้มีพระภาค ดูกร....สัจจกนิครนถ์ ท่านกล่าวว่า ขันธ์ ๕

    เป็นตัวตน ของท่าน ใช่ หรือไม่

    สัจจกนิครนถ์ ใช่ ข้าพเจ้ายืนยันและเชื่อเช่นนั้นว่า รูป

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวตนของเรา

    ( อัตตา )

    พระผู้มีพระภาค หากท่านยืนยันดังคำที่กล่าว เราขอถามท่านว่า

    ๑. ท่านมีอำนาจสั่งการรูปว่าอย่าได้ป่วยชราได้หรือ?

    ๒. ท่านมีอำนาจสั่งการ เวทนา ว่าอย่าได้มีความ

    รู้สึกใดๆ ได้ หรือไม่?

    ๓. ท่านมีอำนาจสั่งการ สัญญา ว่าอย่าจำสิ่งนั้นสิ่งนี้

    ได้ หรือไม่?
    ๔. ท่านมีอำนาจสั่งการ สังขาร ว่าอย่าได้ปรุงแต่ง

    ความคิดได้ หรือไม่?
    ๕. ท่านมีอำนาจสั่งการ วิญญาณ ว่าอย่าได้รับรู้การ

    สัมผัสจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้หรือไม่?

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามสัจจกนิครนถ์ถึง ๒ ครั้ง

    สัจจกนิครนถ์ยังคงนั่งนิ่งมิยอมตอบ เหงื่อกาฬเริ่มแตกไหลไป

    ทั่วร่าง พระองค์จึงตรัสเตือนว่า

    พระผู้มีพระภาค ดูกร....สัจจกนิครนถ์ ใยท่านจึงนิ่งเงียบ

    ไม่ตอบคำถามเรา ท่าน ยังคงยืนยันและเชื่อว่า ขันธ์ ๕

    เป็นตัวตนของท่านอีกหรือไม่

    สัจจกนิครนถ์ ไม่พุทธเจ้าข้า ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจสั่งการ รูป

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้

    พระผู้มีพระภาค ดูกร.....สัจจกนิครนถ์ บัดนี้คำพูดของท่าน

    ขัดแย้งกันเอง เสียแล้ว คำก่อนเป็นอย่างหนึ่ง คำหลัง

    เป็นอีกอย่างหนึ่ง

    ขณะนั้น สัจจกนิครนถ์มิได้หลงเหลือสภาพของนักปราชญ์

    ใหญ่แม้แต่น้อย สูญเสียความมั่นใจรู้สึกร้อนรุ่มไปทั่วกาย เหงื่อกาฬ

    แตกไหลไม่หยุดหย่อน จึงตัดสินใจกราบทูลว่า

    สัจจกนิครนถ์ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดเป็น

    ที่พึ่งของข้าพเจ้า โปรดเมตตาให้หลักธรรมคำสอน

    เพื่อแจ้งในปัญญาของข้าพระองค์ ณบัดนี้เถิดพุทธเจ้าข้า

    พระผู้มีพระภาค ดูกร....สัจจกนิครนถ์ อันบรรดาพืชพันธุ์ต่างๆ

    มิได้เกิดมาจาก ผลกรรม เหตุเพราะมีแต่รูป แต่ไม่มีจิต

    (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) จึงสืบต่อผลกรรมมิได้

    แต่สรรพสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภพภูมิ มีทั้งรูปและจิต

    ( รวมเรียกว่า ขันธ์ ๕ ) โดยมีกิเลส ตัณหาเป็นผู้บงการ

    ให้กระทำกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญและบาป แล้ววิบากที่

    เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียน ว่ายตายเกิดใน

    สังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    สัจจกนิครนถ์ พุทธเจ้าข้า ข้าพระบาทมักเป็นผู้สำคัญตน คอย

    ลบล้างคุณความดีผู้อื่น ด้วยความคะนองวาจา บัดนี้ ข้า

    พระบาทพร้อมด้วยสานุศิษย์ทั้งปวงได้ รับพระมหากรุณาธิคุณ

    จากพระพุทธองค์แสดงพระสัทธรรมโปรด ขจัดมิจฉาทิฏฐิ

    (ความเห็นผิด ) ให้อันตรธานหายไปจนหมดสิ้น นับว่าเป็น

    มหากุศลอันยิ่งใหญ่สำหรับข้าพระบาทและสานุศิษย์ทั้งปวง

    และในวันรุ่งขึ้น ข้าพระบาทขอกราบอาราธนาพระพุทธองค์

    พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกฉันภัตตาหารยังอารามข้าพระบาท

    เถิดพุทธเจ้าข้า



    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระ

    อาการสงบ สัจจกนิครนถ์จึงทูลลาพระพุทธองค์ และค่ำนั้น

    สัจจกนิครนถ์ก็เร่งตกแต่งอาสนะอย่างประณีตเพื่อถวายการต้อนรับ

    พระพุทธองค์และหมู่สงฆ์สาวกในวันรุ่งขึ้น

    ครั้นรุ่งอรุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมพระสงฆ์สาวก

    เสด็จยังอารามแห่งสัจจกนิครนถ์ แล้วสถิตบนอาสนะอันประณีต

    นั้น สัจจกนิครนถ์ถวายภัตตาหาร แล้วนั่งในที่อันควร ครั้นพระ

    พุทธองค์ เสร็จภัตตากิจแล้ว จึงตรัสต่อสัจจกนิครนถ์ว่า
    [​IMG]
    “ ดูกร.....สัจจกนิครนถ์ บุญกุศลที่ท่านได้บำเพ็ญใน

    ภพนี้ จักไม่สูญหายไปพร้อมกับ การดับของจิต เพราะจิต

    ดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม เพื่อสืบต่อบุญที่

    ท่านสั่งสมไว้ ไปจนกว่าจะนิพพาน ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กรกฎาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...